มหากาฬอาร์เจนติน่ายังคงไม่มีตอนจบ เรื่องราวได้วนลูปกลับไปที่จุดแรกสุดอีกครั้งก็คือเครื่องบิน Kfir Block 60 ของอิสราเอล หลังจากที่มีตัวละครอย่าง SU-24 จากรัสเซีย Gripen ของสวีเดนแต่ผลิตโดยบราซิล และทำท่าจะจบลงอย่างhappy ending ที่FC-1 Xiaolong หรือ JF-17 Thunderของจีน แต่คนที่ไม่ใช่ทำอะไรก็ผิด นี่มันพล๊อตเรื่อง adge of tomorrow ชัดๆ
http://www.wantchinatimes.com/news-subclass-cnt.aspx?id=20150729000038&cid=1101
http://www.aseanmildef.com/2015/07/argentina-chooses-israel-over-china-for.html
Argentina has decided not to purchase the FC-1 Xiaolong, a multirole fighter jointly developed by China and Pakistan also known as the JF-17 Thunder, reports the Shanghai-based Guancha Syndicate.
Argentina has gone opted for Israel Aircraft Industries' Kfir Block 60 as its next-generation multirole fighter. Though the Xiaolong's lower price had been attractive, China refused to provide anti-ship missiles under diplomatic pressure from the UK, according to the Moscow-based Military Parade.
The price of the Xiaolong would not have been too much of a bargain in the end, since Argentina had insisted that China install avionics and weapons systems purchased from Israel as part of the deal.
Israel Aircraft Industries has declined to comment.
Internet users from Pakistan mocked Argentina's choice, saying the Kfir is an obsolete military aircraft introduced in the 1980s. It currently serves with the Israli Air Force in a ground attack role instead of aerial combat. Additionally, Argentina will be buying previously used planes.
เคิฟ บลอค 60 ดูดีสุดแล้วครับ ราคาไม่แพง ไช้ลูกสั้นลูกยาวได้ อาเจนเลือกได้ชาญฉลาดแล้ว เครื่องบินยิวอีกตะหาก ดูตัวเราสิ.....
สับขามากระวังสะดุดขาตัวเองล้มนะครับ...^_^
ถามว่าคฟีร์ บล็อค60ดีไหม ก็เหมือนเอฟ-5เอเอ็ม-บีเอ็ม ของ ทอ.บราซิล ที่ปรับปรุงให้ทันสมัยไม่ใช่เครื่องบินที่สร้างใหม่ทั้งลำ
(เท่าที่ผมเข้่าใจ) แต่ที่มันน่าสนใจคืออิสลาเอลนี่เก่งเรื่องพวกนี้มาก สามารทำให้เครื่องบินตกยุคกลายเป็นเครื่องบินสมัยใหม่ได้
ทอ.สนใจมาแทน เอฟ-5บ้างไหม
โครงการจัดหาบ.ใหม่ ทดแทนของเดิมที่ประจำการมานานของอาร์เจนฯเริ่มมาหลายปีแล้วครับ
แต่ติดที่เรื่องปัญหาเศรษฐกิจของอาร์เจนฯเองที่ยังไม่พื้นตัว ทำให้โครงการเลื่อนมาจนถึงทุกวันนี้
อาร์เจนฯให้เหตุผลที่ไม่เลือก Su-24 เพราะมันล้าสมัย แถมได้จำนวนน้อยกว่า FC-1 ในวงเงินที่ไม่แตกต่างกันมาก
ตอนแรก หลังจากปธน.อาร์เจนฯไปเยือนถึงปักกิ่ง ดีลนี้ทำท่าว่าจะสมหวัง พร้อมเงินกู้ก้อนโตจากแดนมังกร
แต่สุดท้ายไปไม่รอด เนื่องจากจีนโดนแรงกดดันจากอังกฤษ ทำให้ไม่สามารถขาย C-802 ให้กับอาร์เจนฯได้
(ตรงนี้ยังไม่แน่ใจว่าอังกฤษที่พาวเวอร์ขนาดไปบีบจีนได้ขนาดนั้นเลยหรือ)
รวมถึงต้องการให้ FC-1 ติดตั้งระบบประกอบการบินและใช้อาวุธตะวันตก เช่นระบบของอิสราเอลได้
ซึ่งนั่นหมายถึงการแก้ปัญหา ค่าเสียเวลา และค่าใช้จ่ายของจีนที่เพิ่มขึ้น จนอาจจะไม่คุ้ม
ทำให้ Kfir block 60 เป็นม้ามืดวิ่งปลายมาคว้าชัยครับ
Kfir block 60 จะเป็นการนำเครื่องบินเก่าที่อิสราเอลเคยประจำการในช่วงปี 1975 ถึง 1994 มาปรับปรุงใหม่ทั้งลำ ว่ากันว่าเครื่องบินบางลำจะได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ General Electric J79 ที่มีชั่วโมงใช้งานเท่ากับ0 โครงสร้างเครื่องบินจะได้รบการโอเวอฮอล์ติดตั้งอุปกรณ์สำคัญในการรบก็คือ Elta Systems EL/M-2032 active electronically scanned array radar สามารถติดตามเป้าหมายในภาระกิจ air-to-air and air-to-surface ได้ถึง 64 เป้าหมาย ส่วนอาวุธจรวดที่อาเจนติน่าสนใจยังไม่มีการยืนยันแต่เครื่องบินใช้จรวดจากค่ายตะวันตกได้ทุกชนิดอยู่แล้ว จำนวนที่คาดว่าจะสั่งซื้อคือ18ลำ คงต้องมารอดูราคารวมกันอีกที
ส่วนตัวจะว่าคุ้มก็คุ้มนะครับเพราะเครื่องบินใช้งานได้อีก20-25ปีสบายๆ แต่ค่าใช้จ่ายในการออกบินและค่าซ่อมบำรุงน่าจะสุงกว่า F-17 และโดยเฉพาะกริเพนมากพอตัว นอกจากนี้ยังจุกจิกกว่าตามสไตล์เครื่องบินรุ่นเก่าที่เน้นความเร็วเข้าว่า เครื่องบินติดจรวดต่อสู้เรือรบไม่ได้ความเอนกประสงค์ลดน้อยลงแน่นอน ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสรุปแล้วดีลนี้ดีหรือไม่ คุ้มหนะคุ้มแน่แต่รองรับภาระกิจไม่ครบเนี่ยสิ เพราะอีก3ลำติดจรวดต่อต้านเรือรบได้อย่างสบายเพียงแต่คนล่ะรุ่นกันเท่านั้นเอง
Kfirs Blockุ60 ล่าสุดทาง IAI จะติดตั้งเรด้าแบบ AESA EL/M-2052 และสามารถติดตั้งอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ Gabriel ได้ ทำให้เครื่องรุ่นนี้ดูน่าสนใจมากขึ้น
ฟังดูแปลกอยู่นะ อังกฤษกดดันจีนไม่ให้ขายขีปนาวุธได้ แต่ไม่สามารถกดดันอิสราเอลได้ เป็นอย่างนั้นจริงๆเหรอ
..
นี่ผมลืมตัวจิ๊ดไปได้อย่างไรปล่อยไก่แล้วเรา จรวดเกเบรียลของอิสราเอลก็ใช้ยิงต่อต้านเรือนี่นา
ประเทศไทยเองก็เคยมีประจำการกับเรือชั้นปราบปรปักษ์ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เรามักลืมกันเป็นประจำคือจรวดรุ่นนี้ที่ขายดีมากๆ มันเป็น Semi-Active Radar ต้องใช้เรดาร์ควบคุมการยิงจนกว่าจะถึงเป้าหมาย (ต่างจากฮาร์พูนหรือเอ็กโซเซต์ที่ยิงแล้วลืม) ต่อมาอิสราเอลพัฒนารุ่นยิงแล้วลืมสำเร็จ รวมทั้งรุ่นใช้งานกับเครื่องบินและรุ่นใหม่เอี่ยมมีระยะยิงไกลมาก เส้นทางของเกเบรียลคล้ายกับ C-801 ---> C-802 เพียงแต่ไม่ลงไปยังเรือดำน้ำ
ปัญหาก็คือไอ้รุ่นใหม่ๆนี่มีแค่อิสราเอลเท่านั้นที่ใช้ ปัญหาต่อมาก็คือมีการใช้งานจริงหรือเปล่ามีการผลิตออกมามากแค่ไหน มีประสิทธิภาพสุงแค่ไหนกัน เพราะเขาเองก็ใช้จรวดฮาร์พูนทัั้งบนเรือรบและอากาศยาน เป็นจรวดที่มีความลึกลับมากกว่าc-802 ที่ขายดีระเบิดระเบ้อไปแล้ว อาเจนติน่าอย่างเสี่ยงก็ลองดูนะครับแต่เป็นผมจะเลือกจรวดแบบอื่น ผมให้คะแนนความเชื่อมั่นต่ำกว่า ฮาร์พูน เอ็กโซเซ่ต์ C-802 RBS-15หรือจรวดจากรัสเซีย ที่ได้รับความนิยมกว่า เพราะปัจจุบันเกเบรียลหายไปจากตลาดนานแล้ว
Kfir C.10 ปี2013เคยจะเสนอให้ฟิลิปินส์ พิจารณาเป็นคู่แข่งกับFA-50
โดยรวมก็เป็นเครื่องที่ตอบโจทย์ได้มากพอควร สำหรับชาติที่ไม่มีบ.ข.ประสิทธิภาพสูงใช้งานมานานอย่างอาเจนฯ ยังรวมถึงชาติอื่นๆอย่างโคลัมเบีย บัลกาเรีย ที่มีชื่อเอี่ยวเสนอเครื่องรุ่นนี้เช่นกัน นอกจากเรดาห์AESA ยังมีRWS อลิซ่า ระยะตรวจจับ150กม. Link-16 คือระบบพื้นฐานนาโต้มีให้ครบ โดยแค่ระบบอิสราเอลก็ยกระดับทอ.อาเจนฯได้มากพอในระดับนึงเลยทีเดียว
นอกจากนั้นก็ต้องวัดประสิทธิภาพพวกระบบอำนวยการรบ/อาวุธ ว่าของอิสราเอล จีน/ปากีสถาน ใครจะให้มากกว่ากัน
เพราะอาเจนฯเองก็มีแผนอัพเกรดรถถังโดยอิสราเอลเป็นล้อตใหญ่พอสมควร
ส่วนประสิทธิภาพในการโ๗มตีโดยเฉพาะเรือรบนั้น อิสราเอลมี กาเรียล-4LR(ยังขายไม่ได้)รวมถึง Nimrod-2/3A ที่มีระยะยิงไกลได้ถึงราว50กม. รวมถึงDelilah ด้วยเช่นกัน