01/07/2557 01.15 น. ThaiArmedForce.com - คสช.อนุมัติ ทบ. จัดหาทบ.เตรียมจัดหา SAM ระยะกลาง-ไกล 1 ระบบ
ในการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติให้กองทัพบกดำเนินการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะกลาง ภายใต้โครงการจัดหาระบบอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง-ไกลแบบที่ 1 จำนวน 1 ระบบ งบประมาณ 53 ล้านยูโร โดยเป็นงบประมาณผูกพันตั้งแต่ปี 2557-2560
ทั้งนี้ กองทัพบกเคยมีระบบจรวดต่อสู้อากาศยานแบบ Spada ประจำการอยู่ระยะเวลาหนึ่ง และกำลังต้องการระบบจรวดต่อสู้อากาศยานแบบใหม่ทดแทน Spada โดยมีข่าวว่ากองทัพบกให้ความสนใจจัดหาระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้-กลาง เช่นระบบจรวด VL Mica จากบริษัท MBDA ของประเทศฝรั่งเศสและเชื่อว่าบริษัท Diehl BGT Defence ได้เสนอระบบ IRIS-T ให้ทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศพิจารณาเช่นกัน โดยคาดว่ากองทัพบกอาจเลือกแบบ VL Mica
ThaiArmedForce.com ยังไม่ทราบถึงนิยามของคำว่าระยะกลาง-ไกลของกองทัพบกว่าจะเป็นจรวดที่มีระยะยิงเท่าใด จึงยากที่จะชี้จัดว่าในครงการจัดหาระบบอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง-ไกลกองทัพบกสนใจจรวดต่อสู้อากาศยานที่มีระยะยิงไกลเกินกว่า 50 กิโลเมตรขึ้นไป หรือมีระยะยิงเพียง 20-50 กิโลเมตร โดยในกรณีที่กองทัพบกต้องการจรวดระยะยิงราว 20-50 กิโลเมตร ก็มีความเป็นไปได้สูงที่กองทัพบกจะจัดหา VL Mica แต่ในกรณีที่กองทัพบกต้องการจรวดต่อสู้อากาศยานระยะไกลกว่า 50 กิโลเมตร ก็มีตัวเลือกเช่น HQ-9 หรือ FD-2000 ของบริษัท CPMIEC ประเทศจีน S-300 ของ Almaz-Antey ประเทศรัสเซีย MIM-104 Patriot ของบริษัท Raytheon ประเทศสหรัฐอเมริกา Aster ของบริษัท MBDA ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น TAF จะนำความเคลื่อนไหวมานำเสนอต่อไป
สมาชิก TAF ที่สนใจสามารถร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นได้ที่กระทู้
SPLITED: ระบบต่อสู้อากาศยานของทบ.ไทย
http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=5&t=2600
http://thaiarmedforce.com/taf-military-news/53-rta-news/697-rta-buy-himad-sam.html
HQ-9
Aster
Starstreak ของทบ. ซึ่งจัดหาทั้งหมด 8 ชุดยิง มูลค่า 378 ล้านบาท
ตกไปภาพนึงครับ
HQ-9
HQ-9 1 เสียงครับ เพราะยังไงจีนเค้าให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้วนี่ครับ ส่วน Patroits กับ Aster คงผ่านไปได้เลย เพราะราคาสูงลิ่วเลยก็เป็นได้
ใน Wikipedia มีไทยใช้เจ้านี้ด้วย HQ-9 ด้วยแงะ
http://en.wikipedia.org/wiki/HQ-9
ตอบกลับคุณ K-ONE วิกิพีเดียใครๆก็แต่งกันได้ครับ แต่ข้อมูลนั้นจะจริงหรือเท็จแค่นั้นเอง
ตอบกลับคุณ K-ONE วิกิพีเดียใครๆก็แต่งกันได้ครับ แต่ข้อมูลนั้นจะจริงหรือเท็จแค่นั้นเอง
ขอบคุณครับ
ผมเดาว่าหวยคงจะออกจีนไม่ก็รัสเซีย 555+
Offers เฉยๆ ครับ เรายังไม่ได้จัดซื้อครับ
ราคานี้ ไม่ได้FD-2000(HQ-9)หรอกครับ (จริงๆผมว่าในรายการอวป.ระยะกลาง-ไกล Patriot FD-2000 S-300 Aster Barak 8 แพงเกินงบทั้งนั้น)
ไม่แน่อาจจะเป็นSPYDER ราคาใกล้เคียงอยู่...BukกับHQ-16ก็เป็นไปได้
ตอบกลับคุณ Phu2000 SPYDER สิงคโปร์มีใช้แล้วนี่ครับ ที่คุณ Phu2000 พูดว่า HQ-16 หรือ Buk จะเกิด น่าจะเกิดจริงมั้ง 555+
ก็ไม่แน่หรอกครับนี้มันยุคทหารนะครับเปรียบได้ก็เหมือนกับสมัย คมช.นั้นแหละอยู่ดีๆกริฟเพ่น ที่ถูกดองเข็มเอาไว้ก่อนหน้านั้นก็โผล่ออกมาหน้าตาเชยเลย อะไรที่ว่าแพงๆก็สามารถซื้อได้ครับแต่ผมว่า HQ-9 ของจีนก็น่าลองน่ะอยากรู้ว่าจีนมันจะ mod ได้เหนือกว่าS300 ของรัสเซียได้มากน้อยซักแค่ไหน แถมราคาก็ยังถูกกว่าด้วย
คงจะไม่เกิน ความคาดหมาย สำหรับ FD2000 จำนวน 1 ชุด ครับ
ที่ยืนยันว่า FD2000 เพราะเห็นอนุมัติเป็นค่าเงินยูโร เนื่องจากจีนกับรัสเซียจับมือกันเลิกใช้เงินสกุลดอลลาร์ไปเรียบร้อยแล้ว และยุโรปแบนการทหารของเราไปแล้ว ฟันธง อาหมวยแน่นอนครับ
ยุโรปแบนจริงเหรอครับ วันก่อน ยังเห็น ผบ ทร เซ็นซื้อเรด้าค้นหาเป้ากับ ซ๊าบอยู่เลย กริฟเฟนก็ซื้อตอนปฎิวัติ
ตอบกลับคุณ skysky
ajaydf เค้าอาจจะพูดถึง ยุโรปบางประเทศที่แบนครับ ไม่ได้หมายถึงสวีเดนด้วย เพราะสวีเดนเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองไทย Gripen ยังส่งได้ปกติครับ มันเป็นธรรมดาอยู่แล้วสวีเดนเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองไทย แต่ยังมียุโรปบางประเทศยังคงแบนไทยอยู่ เพราะอยากให้เราเลือกตั้งไวๆทั้งๆที่ความขัดแย้งยังไม่หมดไปจากไทย
ตอบคำถามเรื่องสวีเดนนิดหนึ่งครับ
1.สวีเดนไม่ได้ร่วมในสนธิสัญญา NATO ฉะนั้นเรื่องการทหาร สวีเดนไม่จำเป็นต้องแบนไทย
2.สวีเดนใช้เงิน Krona หรือ Kroner
3.สวีเดนอยู่ในเขตเศรษฐกิจ EURO แต่ว่าสวีเดนไม่ใช้เงินสกุลยูโรเพราะในปี 2003 ลงประชามติด้วยเสียง 56.1%ว่าจะไม่ใช้เงินยูโร
แต่สวีเดนสามารถค้าขายผ่านเงิน EURO แล้วค่อยแลกเปลี่ยนเป็นเงิน Krona ได้
...................
เมื่อ 24 May 2013 สวีเดนต้องการจัดหาจรวดพื้นสู้อากาศภายใต้งบประมาณ 1 พันล้านKrona หรือประมาณ 100 ล้านEURO
ซึ่งสวีเดนต้องการระบบของ Iris-t SLM แต่ต้องไม่ลืมว่าสวีเดนเป็นคนร่วมขันลงทุนพัฒนาประมาณ 18%ของโครงการ
iris-t slm
...........
จำนวนเงิน 53 ล้านยูโรที่อนุมัตินั้นเป็นไปเพื่อจัดหาระบบปืนต่อสู้อากาศยานครับไม่ใช่ระบบจรวด อ่านดูดีๆ
PS. Iris-t SLM คือจรวดพื้นสู่อากาศพิสัยกลาครับ
iris-t slm
องค์กรที่แบนเรา คือ EU ไม่ใช่ NATO นิครับ แล้ว สวีเดน ก็อยู่ใน EU ผมเลยมองว่าเป็นเรื่องของ แต่ละประเทศที่จะขายหรือไม่ขาย เยอรมันคงไม่ขาย อังกฤษ ฝรั่งเศษไม่แน่ ส่วนเรื่อง ที่บอกว่าเป็น ปตอ ผมว่าหมายถึงจรวดครับ เพราะ มีระบุว่าระยะ กลาง/ไกล ถ้าเป็น ปตอ คงไม่บอกระยะ น่าจะบอกเป็นขนาดลำกล้องแทน
แต่ถ้าตีความว่างบประมาณผูกพัน 2557-2560 นั้นคือ 4 ปี งบที่อนุมัติปีนี้ 53 ล้านยูโร 4 ปีก็รวมแล้ว 212 ล้านยูโร
คิดๆแล้วโอกาสได้ Iris-T SLM เต็มเปี่ยม (อิงตามงบที่สวีเดนตั้งไว้ที่ประมาณ 100 ล้านยูโร)
ถ้า Iris-T SLM ขายที่ราคา 200 ล้านยูโร มั่นใจว่าเราได้ของแถมทั้งเทคโนและต่างๆอีกพอสมควร
ว่าแต่ไอ้คำว่างบประมาณผูกพัน 2557-2560 มันหมายความว่า ให้เบิกใช้ได้ปีล่ะ 53 ล้านยูโรรึเปล่าครับ หรือ53หาร4 กันแน่เนี้ย
สืบมาแล้วพบว่า Buk M1-2 ราคาประมาณ 120 ล้านดอลล่าหรือประมาณ 87 ล้านยูโรครับ
S-400 ประมาณ 400 ล้านดอลล่าหรือประมาณ 290 ล้านยูโร
S-300PMU-2 200 ล้านดอลล่าหรือประมาณ 145 ล้านยูโร
S-300PMU-1 160 ล้านดอลล่าหรือประมาณ 116 ล้านยูโร
ตอบกลับคุณ 461
งานนี้หวยคงออกของจีนน่าดู HQ-16 ไม่ก็ HQ-9 ถ้าเราซื้อของรัสเซีย ยิ่งงามเลย 555+
มาเชียร์ของสวีเดนครับ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนเรื่องจรวดอยากให้ใช้บริการ DTI ของไทยเองนี่แหละครับ โครงการจรวดเพื่อความมั่นคง เห็นว่าปรับปรุงเพิ่มระบบนำวิถี ไม่รู้ไปถึงไหน และต่อยอดออกมากี่ระบบแล้ว ตอนนี้เป็นโอกาสอันดีในการพึ่งพาตนเองครับ
น่าจะ 53 หาร 4 ครับ ราคาขนาดนี้มีอะไรได้บ้าง ตระกูล s300 ไม่น่าจะได้หรือเปล่า
หาร4นั่นล่ะครับ ผ่อนจ่าย
ราคาเท่านี้ ประมาณ70ล้านดอล ใกล้กับ SPYDERมาก
ส่วนAster Barak8 S-300 FD-2000 หรือแม้แต่Buk เงินเท่านี้ไม่พอครับ
ราคาประมาณนี้ ที่ผมพอนึกออกก็มีSPYDER-MRกับHQ-16(ไม่รู้ราคาเท่าไหร่ แต่น่าจะแพงกว่าKS-1Aไม่มาก)และ....Spada2000+ (ราคาทั้งระบบนะคนับ)
53 ล้านยูโรนี้น่าจะเป็นวงเงินทั้งหมดแล้วนะครับ งบนี้คงได้ Spyder ของยิว
โครงการจัดหาระบบอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง-ไกลแบบที่ 1 จำนวน 1 ระบบ งบประมาณ 53 ล้านยูโร
พิจารณาจากงบประมาณแล้วตัวนี้หรือเปล่า ปืน4เรดาร์ควบคุม1พร้อมอะไหล่จำนวนหนึ่งราคาก็น่าจะประมาณนี้
ผมว่า HQ9 ก็น่าสนนะครับ
เพราะทางพม่าที่อยู่ติดกับเรามี HQ12 อยู่
ถ้าเราจัด HQ9 ที่น่าจะเหนือกว่า HQ12 มาน่าจะทำให้เราพอจะเข้าใจหลักการทำงานของระบบจรวดต่อสู้อากาศยานของทางจีนที่มีใช้อยู่ในพม่า เวลาที่เราอาจจะต้องไปเจอแถวชายแดนพม่าจะได้มีโอกาศรอดมากขึ้น
เงินยูโรก็ใช่จะซื้อของยุโรปเสมอไปนะครัชช งานนี้หวยน่าจะออกของจีนชัวร์ครับ ดูแล้วของจีนน่าจะเป็นไปได้มาก อาจจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ก็ได้ ไม่รู้จะชื่ออะไรก็แล้วแต่
สืบมาแล้วครับ Spyder ราคาประมาณ 40 ล้านยูโรครับ เป็นจรวด 4ลำกล้อง พิสัยกลาง ของอิสราเอล
ส่วน HQ-16 ของจีน(Buk เวอร์ชั่นจีน)ราคาไม่ทราบ
ส่วน FD-2000 ของจีนที่เชียร์ๆกันราคาประมาณ 131 ล้านยูโร พอๆกับS-300PMU-2 เลย แพงกว่า S-300 อีก
สำหรับ FD-2000 ของจีนราคานี้ยังไม่รวมถ่ายทอดเทคโนโลยีนะครับ ดีลของตุรกีที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีประมาณ 2.4 พันล้านยูโร
สำหรับFD-200 ราคาอิงตามดีลตุรกีนะครับจากราคา 3.4 Bil USD ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าเป็นระบบพิสัยไกล ที่เราจะจัดหาคือพิสัยกลาง
ถ้าอย่างนั้นมันก็เป็นแค่การโฆษณาชวนเชื่อของกองทัพอีกแล้วที่ว่าจะจัดหาระบบ MSDS ระยะไกลเพราะงบที่ตั้งไว้มันจัดหาได้แค่ระยะกลางเท่านั้น ของ Spyder ราคา อยู่ที่ 65-70 ล้านUSD ต่อ 1 ระบบ (refer 2009) งบกองทัพตั้งไว้ 53 ล้านEURO = 53x1.365 = 72 ล้านUSD (http://nationcreation.wikia.com/wiki/Modern_Day_Military_Pricing_List)
ถ้างบแค่นี้ก็จัดหาได้แค่ Spyder เท่านั้นครับ
ระบบที่ว่ามานี้ระยะป้องกันมิสไซด์ 35-55km ถ้าเป็นรุ่น Spyder(MR) ซึ่งจะพอๆกันกับ ESSM ที่ใช้อยู่บนเรือรบเลย
ส่วน HQ-16 ของจีนก็เป็นระบบ MSDS ที่ติดตั้งอยู่บนเรือ Type 054A ระยะป้องกัน Max = 50 km
*** เฮ้อได้แค่นี้เองหรือประเทศไทย
ของสอ.รฝก็มีซื้อด้วยอีกหนึ่งระบบนิงบ 1250 ล้าน ซื้อพ่วงแล้วต่อราคาส่วนลดไปเลย ถ้าซื้อแยกแล้วทบ.ราคาแพงกว่าเดียวจะไม่งาม
ในกรณีที่ Saab ลงนามสัญญากับ ผบ.ทร. เป็นระบบตรวจจับเป้าหมาย ซึ่งน่าจะกระทำในลักษณะของ เอกชน มากกว่าในนาม รัฐบาล ครับ ที่มีการตกลงในการสั่งซื้อไปก่อนนี้ แต่ยังไม่ได้ทำพิธีการลงนามในสัญญา
สำหรับ กริพเพน ของ สวีเดน นั้น
เป็นแค่ ครม.อนุมัติงบประมาณจัดหาครับ ในเดือน พ.ย. 50 ซึ่งในอนุมัตินั้น ประเทศไทย ได้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว และมีประกาศการเลือกตั้ง ในเดือน ธ.ค. 50 ครับ
และทำการจัดซื้อในปี 51 ครับ หลังจากมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้วครับ
ไม่มีการลงนามจัดหาใน รัฐบาลชั่วคราว ครับ
ปัจจุบัน ประเทศไทย ไม่มี รัฐธรรมนูญการปกครอง ครับ
กฎหมายสูงสุด ของประเทศไทย ในขณะนี้ คือ คำสั่ง คสช. ครับ
ก็คือ ประธาน คสช. มีอำนาจสูงสุดในประเทศไทย ครับ ซึ่งในตอนนี้ คงยังไม่มีใครจะตอบตกลงขายให้ได้ ถ้าจะมี คงจะรอหลังมี รัฐบาลชั่วคราว ก็อาจจะเป็นแค่ MOU ยังไม่มีการลงนามในสัญญา
ดังนั้น ผมเชื่อว่า ตอนนี้ มีแค่ข่าว เท่านั้น แต่การจัดหา ไม่มีทางจะเกิดขึ้นในระบบอาวุธ ตะวันตก แม้จะมี รัฐบาลชั่วคราว เกิดขึ้น
ถ้าจะมีเกิดขึ้น ก็มีแค่ รัสเซีย กับ จีน เท่านั้น
ส่วนเรื่องเงินสกุล ยูโร ก็คงเป็นเพราะ ไม่สามารถซื้อด้วยเงิน สกุลดอลล่าร์ ได้ มากกว่าครับ ซึ่งน่าจะติดเรื่อง การแบน คงไม่มีการจำหน่ายดอลล่าร์ เพื่อให้ประเทศไทย ซื้ออาวุธได้
ก็น่าจะเป็นไปตามความเห็นของสมาชิกข้างต้น ครับ ว่า จะใช้การชำระด้วยยูโร ผ่าน จีน หรือ รัสเซีย แทน
ตามที่เคยให้ความเห็นมาตลอดว่า ตัวเต็งหนึ่ง น่าจะมาจาก ประเทศจีน ส่วน เต็งสอง ก็น่าจะเป็น รัสเซีย
antsir-S1 systems produced by the Russian KBP Instrument Design Bureu are known to be in service with the military forces of Russia, Syria and the UAE, which was the launch customer for the system. Few systems have also shown up in Iran. Pantsir-S1 can be employed as a truck-mounted (mobile) short range air defense system or in stationary positions, where the air defense complex is removed from its truck. Each unit is deployed is self-sufficient, with an integral radar, passive electro-optical targeting system, twelve 57E6 short-range air defense missiles and twin-barrel 30mm 2A38M cannon. The missiles have a maximum range of 20 km while the guns can reach 4,000 meters and reach an altitude of 3,000 meters. The system can effectively engage fast and slow aircraft, helicopters, as well as unmanned aerial vehicles (UAV) and some types of guided weapons. Pantsir-S1 systems currently supplied to the UAE are employed with 8×8 MAN trucks, while the versions to be delivered to Brazil are likely to be mounted on locally built trucks.
china integrated air defense system (NORINCO)
แล้วอิสราเอลละครับ สมัยรัฐประหารครั้งก่อนยังซื้อ Tavor ได้เลย
russia integrated anti aircraft system
สิงหาคม ปี 2550 พระราชทานรัฐธรรมนูญปี 2550
กันยายน ปี 2550 ครับ
กองทัพเสนอครม.ซื้อปืนอีกเกือบพันล้าน
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 25 กันยายนนี้ กระทรวงกลาโหมจะเสนอ ครม.พิจารณาขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ในโครงการจัดหาปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร จำนวน 15,000 กระบอก พร้อมจัดหา SPARE PARTS AND GAUGE-LEVEL A ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยเป็นการผูกพันงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550-2552 ในวงเงิน 28,571,400 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 960,856,182 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 33.63 บาท) ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และให้ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลของอิสราเอลว่าด้วยการซื้อขายปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลเมิตร TAVOR แบบ TAR 21 ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย โดยให้รวมถึงการลงนามในเอกสารแก้ไขความตกลงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
ทั้งนี้ การจัดซื้ออาวุธปืนครั้งนี้ เป็นการจัดซื้อโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ประกอบด้วย 1.ปีงบประมาณ 2550 จำนวน 144,128,427 บาท 2.งบประมาณปี 2551 จำนวน 432,385,282 บาท และ 3.ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 384,342,473 บาท ทั้งนี้ กองทัพบกให้เหตุผลการจัดทำร่างข้อตกลงซื้อขายดังกล่าวว่า จัดทำบนพื้นฐานของความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และได้รับประโยชน์ร่วมกันจนได้ข้อยุติระหว่างรัฐบาลไทยกับอิสราเอล
เดือน ธันวาคม 2550 มีการเลือกตั้ง ครับ
ในวันที่ 9 ก.ย. 2551, คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กองทัพบกจัดหาปืนเล็กยาว TAR-21 Tavor จากอิสราเอลจำนวน 15,037 กระบอก และปืนกลเบา Nagev จากอิสราเอลจำนวน 553 กระบอก ซึ่งเป็นการจัดหาในล็อตที่สอง นอกจากนี้ยังอนุมัติให้จัดหาจรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่ารุ่น Igla จำนวน 36 หน่วยจากรัสเซียอีกด้วย ทั้งนี้ ทบ.สั่งซื้อ TAR-21 Tavor ล็อตสามรวม 13,868 กระบอก[5] ในวันที่ 15 ก.ย. 52 ล็อตที่4 ในเดือนเดียวกัน 22 ก.ย. 52 อีก 14,264 กระบอก รวมทั้งหมด 58,206 กระบอก ทบมีความต้องการ ปลย. รุ้นใหม่เพื่อมาทดแทน M16A1 ที่ใช้งานมากว่า 40 ปี ทั้งหมด 106,205 กระบอก
การดำเนินการทั้งหมด จะเริ่มภายหลังมี รัฐบาลจาก การเลือกตั้ง ครับ ก่อนหน้านั้น เป็นแค่การอนุมัติ
คาดว่าน่าจะออกที่จีน เพื่อนำมาศึกษา เช่นเดียวกับการจัดหา SR-4 ที่จัดหาแค่ 1 ระบบเท่านั้น ถึงจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแต่ก็คงต้องศึกษากับของจริงเช่นกัน
เอาเถอะ ครับ ศึกษา ไว้ สักชุด... แต่ ต้อง หลบ Drone ให้ได้...ค่อยนำมา พัฒนา กันไป...ขอให้แม่น เเละเสถียร ควบคุม ดูแลง่าย ก็ ok
ตามที่ท่านจูดาสว่า คือ ประมาณหวยจะออกที่จีนหรือไม่ก็รัสเซีย
ก็แสดงว่ากองทัพตั้งงบประมาณจัดซื้อที่ 53 ล้าน EURO เพื่อซื้อระบบ MSDS ทั้งระบบทั้งระยะใกล้ กลาง และไกล แต่จะเริ่มจัดซื้อระยะใกล้และระยะกลางก่อนเป็นชุดแรกแล้วค่อยจัดหาในระยะไกลแล้วเอามา อินทิเกรตกันทีหลังหรือเปล่าครับ ???
ผมยังไม่เข้าใจเป้าหมายหรือแผนการจัดซื้อจัดระบบ MSDS กองทัพบกครับ
เอาข่าวเก่าๆมาให้ดูครับ
"โครงการจัดหา ปตอ. ๘ ชุดยิง พร้อมเครื่องช่วยฝึก วงเงิน ๓๗๘,๐๐๐,๐๐๐.- บาทอยู่ระหว่างจัดทำแผนจัดหา โดย ทบ. อนุมัติให้สพ.ทบ.ดำเนินการจัดหาอาวุธนำวิถีแบบ Starstreak"
ข่าวนี้สมัยซื้อ starstreak จะเห็นได้ว่า ทบ เรียก โครงการที่ซื้อ starstreak ว่าโครงการจัดหา ปตอ ๘ ชุดยิง ดังนั้น โครงการนี้ก็อาจจะเหมือนกันคือ ไม่ใช่ปืนแต่เป็นจรวด อ้างอิงจาก post เก่าๆ ใน TAF
ไม่รู้ใช้ตัวนี้หรือเปล่า... แต่ราคาผิดไปเยอะ.. หรือจะเป็นในตระกูลนี้ อย่าง asbidy
เครดิตภาพ คุณสมพงษ์
ขอโทษด้วยภาพใหญ่ไป... อย่าลืมอ่าน ตรงที่ คุณสมพงษ์เขียนบอกไว้นะครับ
Starytreak เป็น Manpad อาจจะใช้ความหมาย ปืนต่อสู้อากาศยาน เพราะด้วยตัวอุปกรณ์ มันก็เป็นลักษณะปืนอยู่เหมือนกันครับ
และถ้าให้ความหมายของ อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน ใช้ศัพท์เช่นเดียวกับ ปืนต่อสู้อากาศยาน
ก็น่าจะอยู่ในหมวด Medium To Long Range Anti Aircraft Missile
ในค่ายรัสเซีย ก็ดูน่าจะเป็น BUK-M2E-1 ที่มีข่าว ไทย ให้ความสนใจอยู่ และมีหลายประเทศจัดหาไปประจำการ เช่น เวเนซุเอล่า ก็เพิ่งจัดหาไป
ถ้าจำไม่ผิด
BUK-M2E-1 รู้สึกกองทัพเรือ (สอ.รฝ) จะสนใจอยู่ แต่ก็เป็นการคลาดเดากัน เพราะไม่มีใครออกมายืนยัน
missile iris t ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นกองทัพอากาศ สนใจอยู่ อันนี้รู้สึกจะเป็นข่าว ให้พวกเรามา mouse กันอยู่พักหนึ่ง
missile vl mica อันนี้ กองทัพบก สนใจอยู่ ตามที่ บก.สมพงษ์ ให้ข่าวไว้ เห็นตอนน้ัน มีไปดูงานที่สิงค์โปร์ แต่สุดท้ายก็เลือก vl mica
แล้วอินเดียละครับ วันนี้ขอนำเสนอ Bharat 8 ที่อินเดียพัฒนาร่วมกับอิสราเอล ระยะยิง 70 กม. ระบบพร้อมเรดาห์และชุดยิง แค่ 24 ล้านเหรียญ
ที่น่าสนใจคือจรวดรุ่นนี้สามารถใช้ติดตั้งบนเรือได้ มีขีดความสามารถในการยิงพอกับ ESSM
สำหรับท่านที่นิยมอาวุธจีนและต้องการระบบnetworkระหว่างทั้ง3กองทัพ วันนี้ผมมีสินค้าพิเศษมานำเสนอนั่นคือ LY-60 / FD-60 / PL10 จรวดมีระยะยิง20กม.จากบนพื้นและ60กม.ถ้าอยู่บนฟ้า(PL-10)
สำหรับกองทัพบกยังสามารถปรับปรุงแท่นยิงแอสปิเด้เก่าให้ใช้จรวดFD-60ได้ด้วยงบประมาณอันน้อยนิด หมายถึงท่านจะมีแท่นยิงเพิ่มอีก1ไปโดยปริยาย
กองทัพเรือสามารถนำจรวดLY-60ไปติดกับเรือเราได้อย่างสบายมาก เรือฟริเกตสมรรถนะสุงของเราติดเข้าไปทั้งหน้าและหลังเรือไม่ต้องง้ออเมริกาอีกต่อไป เรือหลวงเจ้าพระยาทั้ง4ลำก็ติดได้ในงบประมาณไม่แพงเลย เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงจักรี เป็นอาวุธมาตราฐานไปเลย เรือหลวงรัตนโกสินทร์โมใส่แท่นเก่า8นัดเลยครับงานนี้
สำหรับกองทัพอากาศก็ต้องPL-10เลยสิครับ ระยะยิงไกลพอตัวยิงย้อนกลับด้านหลังได้ด้วย ตอนนี้ซื้อจรวดมาก่อนไว้อนาคตค่อยไปถอยเครื่องบินลำนี้มาอีกทีแล้วกัน ไม่ต้องใช้F-35ราคาแสนแพงและมีปัญหามาก
ในความเห็นของผม ถ้ามีงบประมาณจำกัดและข้อจำกัดกีดกันในการขอซื้อจากต่างประเทศ
กรณีทัพบก ผมสนับสนุน Mica ถ้าหากว่าการซื้อ Mica พร้อมระบบ แล้วสามารถนำไปสู่การปรับปรุงระบบ Spada ให้ใช้งานร่วมกันได้ นั้นเท่ากับว่า ทบ. จะมี ระบบเรดาร์ควบคุมการยิง 1 ระบบ ใช้กับจรวด Mica 1 ระบบ พ่วงด้วยจรวด Spada(ปรับปรุง) อีก 6 ระบบ นำมาวางกระจายในรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตรรอบฐาน ก็จะได้รัศมีการป้องกันออกไปเกือบ 50 กม. รอบฐาน
กรณีกองทัพเรือ ผมสนับสนุน LY60 จากจีนในการนำไปติดให้เรือฟริเกตเก่าชั้นเจ้าพระยาและกระบุรีจำนวน 4 ลำ เรือชั้นปัตตานี 2 ลำ และหน่วยรักษาฝั่ง เพราะเป็นระบบที่เรียนแบบมาจาก Aspide ทร. น่าจะคุ้นเคยดี และน่าจะสามารถขอถ่ายทอดเทคยโลยีให้กับ DTI ได้ง่ายกว่า
ทั้ง 2 แบบเราจะได้จำนวนฐานยิงจรวดมากกว่ามากๆ ถึงแม้จะมีข้อจำกัดเรื่องระยะยิงและความทันสมัยบ้างก็ตาม ครับ
ฝากของจีนใหม่เอี่ยมๆ 2ตัว
FK-3 ระยะยิง100ก.ม. ลดสเป็คจากHQ-9
KS-1C ระยะยิง70ก.ม.
ทั้ง2รุ่นยิงเป้าหมายได้สูง27ก.ม.
ถ้าอ้างอิงจาก TAF คือ ทบ จัดหา SAM ระยะกลาง-ไกล 1 ระบบ ในวงเงิน 53 ล้านยูโร = 72 ล้านเหรียญ = ประมาณ 2350 ล้านบาท
ถ้าอ้างอิงจากเว็บนอก ซึ่งส่วนใหญ่จะอ้างอิงจาก Janes คือจัดหาในวงเงิน 80 ล้านเหรียญ = ประมาณ 2550 ล้านบาท
โดยในเว็บนอกกล่าวว่า มีแหล่งข่าวบางแห่งบอกว่าอาจเป็น VL-Mica จากฝรั่งเศส
ซึ่งตามที่ บก.สมพงษ์เคยโพสไว้ในเฟสบุ้คเมื่อประมาณปีที่แล้วว่า ในปี 2557 จะมีการจัดหา VL-Mica ในราคา 3520 ล้านบาทซึ่งไม่ตรงกับราคาในข่าวที่ออกมาตอนนี้
ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอาจจัดซื้อระบบอื่นเพราะเรากำลังมีปัญหากับอียูด้วย เค้าอาจไม่ขายให้เลยต้องเปลี่ยนจากที่จะซื้อ VL-Mica เป็นอย่างอื่น
ระบบที่พอจะเป็นไปได้ในตอนนี้ตามที่หลายๆท่านเดากันคือ HQ-9(FD2000) / HQ-16 / S-300 / Buk-M2e / Spyder-MR / Iris-T slm
เมื่อมาดูราคากันจะพบว่า
HQ-9(FD2000) ราคามากกว่า 150 ล้านเหรียญ
HQ-16 ไม่ทราบ
S-300 รุ่นถูกสุดประมาณ 160 ล้านเหรียญ
Buk-M2e ประมาณ 120 ล้านเหรียญ (ราคาที่เวียดนามซื้อ)
Spyder-MR ประมาณ 70 ล้านเหรียญ
Iris-T slm ไม่ทราบ
ดังนั้นจะเหลือตัวเลือกที่เป็นไปได้คือ HQ-16 / Spyder-MR / Iris-T slm
แต่ Iris-T slm ผลิตในเยอรมัน คงไม่ยอมขายให้ในดีลนี้แน่ๆ
เลยเหลือ HQ-16 จากจีน และ Spyder-MR จากอิสราเอล
ซึ่ง Spyder-MR มีราคาใกล้เคียงกับในข่าวปัจจุบันมากสุดรวมทั้งกองทัพเคยให้ความสนใจมาก่อน ซึ่งน่าจะเป็นตัวที่เป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้
คิดๆดูแล้วกว่าจะได้อาวุธแต่ละอย่าง ทั้งกองเชียร์กองแช่ง ลุ้นกันจนเหนื่อยกว่าจะได้ ข้ามเดือนข้ามปี ...ยกตัวอย่างรถถังเป็นต้น ผมล่ะคิดถึงท่าน Yukikaze จริงๆ 5555
งานนี้ของรัสเซีย ไม่ก็จีนคงจะเกิดนะครับ ดูท่าแล้วของสวีเดนคงไม่เกิดในทบ.แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะไม่อยากใช้ซ้ำกับทอ. เงิน 53 ล้านยูโร ผมว่าทบ.คงรู้ดีว่าเงินดอลล่าร์เป็นอย่างไรบ้างในตอนนี้ เพราะจีนกับรัสเซียเริ่มปฏิเสธซื้อขายด้วยเงินดอลล่าร์ไปแล้ว หันมาใช้เงินหยวน เงินรูเบิลกันแล้ว อีกอย่างอียูแบนเราในด้านการทหารของไทย แต่ไม่ทั้งหมดในประเทศแถบอียูครับ จริงอย่างที่จขกท.พูดเอาไว้ ขนาดทร.ยังซื้อของสวีเดนได้เลย
เท่าที่ดูนะครับ น้ำหนักตอนนี้น่าจะไปทางจีน รัสเซียมากกว่า แต่ของอิสราเอลที่บางคนคิดว่าจะเกิด ไม่รู้อิสราเอลจะคว่ำบาตรเราด้วยหรือเปล่าไม่รู้ เงิน 53 ล้านยูโรก็ใช่จะเป็นคำตอบนะครับ
หรืออาจเป็น จรวด RBS-23 ของสวีเดน ระยะยิงน่าจะเกิน 20 km โดยไทยอาจเป็นลูกค้ารายแรกก็ได้ โดยเฉพาะ ทัพเรือ
ต่อจากคุณ MIG-31
มิสไซด์ FK-3 ระยะยิง100ก.ม. เอ่ออันนี้เข้าท่าดีครับระยะ 100 กม.อย่างนี้ถึงจะถูกเรียกได้ว่าในระยะไกลสำหรับไทย ถ้าสเป็คอย่างHQ-9 ผมก็มองว่ามันออกจะเกินความจำเป็นทั้งในเรื่องของระยะป้องกันและราคา เพราะเพื่อนบ้านในระแวกใกล้เคียงยังไม่มีใครมี อาวุธระดับชั้นขีปนาวุธจำพวกballisticไว้ใช้ก็ คงไม่จำเป็นถึงขั้นนั้น ( ในความคิดของผมเท่านั้นนะ)
ส่วน KS-1C ระยะยิง70ก.ม.ไม่เหมาะเพราะดูแล้วมันจะระยะไกลก็ไม่ไกลจะระยะกลางก็ไม่กลาง
คือ ซื้อ ระยะกลางแบบ HQ-16 ระยะป้องกัน 50 km
ระยะไกล แบบ FK-3 ระยะป้องกัน 100 km (ในอนาคต)
ส่วนระยะใกล้ผมเห็นว่าใช้ ปืนกลอัตตราจร แบบมีเรด้าร์ชี้เป้า คล้ายๆ CIWS เป็นปราการณ์ด้านสุดท้ายก็พอแล้วครับ
อย่างนี้ผมเชียร์สุดใจขาดเลยครับ
เวียดนามมี Scud-B/Scud-C
พม่ามี Hwasong-6 จำนวน 11 ลูก
http://dtad.dti.or.th/images/handbook/asean.pdf
น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่เราต้องจัดหา นอกจากจะมาแทนของเก่าด้วย
FK-3 มันเป็นระบบเดียวกัน กับ HQ-9 ครับลดสเปกร์เรื่องระยะการยิงหรือป้องกันลงไปครึ่งหนึ่งแต่ไม่รู้ว่าสามารถใช้ต่อต้านจรวดBallistic ได้รึเปล่า???