1.เค้า เลงกันยังไงครับ หรือ ยิงสุ่มเอา ว่า ศัตรอยู่ตรงนี้ หรือว่า เรา มอง จากกล้องดาวเทียว ครับ ถึงเห็น ศัตรู เลยสามารถแจ้งพิกัด ได้
2.แล้วจะรู้ได้ยังไง ว่าตรงนี้คือ ที่ตั่ง BM21หรือปืนใหญ่ ที่มันยิงมาหาเรา แล้ว เรา สามารถ ยิงสวน กลับได้ตรงจุดที่มันยิงมา แล้วจะรู้ได้ไงว่า เรายิงมันโดน
ไม่ได้ ยิงเลย ไปหลาย10กิโล
ไม่ทราบจิงๆๆครับ คงไม่ว่ากันนะครับ
ความคิดส่วนตัวนะครับ
เมื่อเราจะยิงปืนใหญ่ เราต้องทราบพิกัดที่แน่นอนของตำแหน่งที่ตั้งที่เราจะยิงปืนใหญ่ใส่อย่างชัดเจน
โดยจะมี ผตน. ย่อมาจาก ผีตานี - -" เล่นอีกล่ะ มุกนี้ ผตน. ย่อมากจากผู้ตรวจการณ์หน้าครับ
ทำหน้าที่แจ้งพิกัดโจมตีแก่ปืนใหญ่ ทำหน้าที่แจ้งพิกัดปรับมุมองศาเพื่อให้ปืนใหญ่ยิงได้ถูกเป้าหมายหมายขึ้น
อันนี้ค้นจากเว็บอากู่ http://www.navy.mi.th/marines/htm/arty1/observ.html
ส่วนเรื่องถ้าข้าศึกยิงปืนใหญ่มาแล้วเราจะทราบตำแหน่งที่ตั้งปืนใหญ่ของข้าศึกได้อย่างไรนั้น
เท่า ๆ ที่เคยอ่านจากบอร์ทนี้ ก็จะมีเรดาร์(รึเปล้่า) ที่คอยทำหน้าที่ตรวจจับตำแหน่งยิงของข้าศึก
ปล.ขอติเรื่องภาษาหน่อยนะครับ ปรับปรุงหน่อย เขียนภาษาไทยให้ถูกคงไม่ยากเท่าไรนะครับ ขอบคุณครับ ^^
1) หาด้วยสายตาของ ผตน. เปิดแผนที่ แล้วแจ้งผ่านวิทยุบอกพิกัดตนเอง พิกัดเป้าหมาย ชนิดของ payload หน่วยปืนใหญ่ทำการยิง ผตน แจ้งตำบลกระสุนตก ถ้าพลาดก็วิทยุปรับการยิง ถ้าโดนก็วิทยุบอกซ้ำมันให้ตาย ถ้า ผตน. มีความสามารถสูงหรือมีเครื่องวัดระยะเลเซอร์ โอกาศเข้าเป้าตั้งแต่นัดแรกมีสูงมาก
2) การยิงตอบโต้โดยอาวุธวิถ๊โค้งไปยังเป้าหมายที่เป็นอาวุธวิถ๊โค้งเหมือนกันเรียกว่า Counter Battery Fire
เมื่อมีการยิงหรือปล่อยอาวุธ ลูกปืนหรือจรวดอาจอยู่ในอากาศนานถึง 90 วินาที ถ้ามีเรดาร์พิเศษที่เรียกว่า Artillery Radar ก็จะสามารถทราบได้ว่ามีการยิงมาจากที่ใด และสามารถเล็งและยิงโต้ตอบได้ในเวลา 2-3 นาที การดวลอาวุธแบบนี้ใครแม่นกว่าไวกว่าคนนั้นได้ชัย ส่วนที่ว่ารู้ได้ยังไงว่าพังก็ดูได้จาก UAV หรือ ผตน. เท่านั้น
จากเว็บ http://www.navy.mi.th/marines/htm/arty1/observ.html
ผู้ตรวจการณ์หน้า เป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญยิ่งของระบบตรวจการณ์ของทหารปืนใหญ่โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเกี่ยวกับการที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดหลักยิง หรือระบบค้นหาเป้าหมาย ผู้ตรวจการณ์ต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าผู้ตรวจการณ์ซึ่งประจำที่ตั้งที่ตรวจการณ์ของกองพันหรือผู้ตรวจการณ์ ทางอากาศ ปกติแล้วจะมี จำนวนน้อยกว่า และอยู่หลังแนวยิ่งกว่าผู้ตรวจการณ์หน้าเป็นอันมาก ดังนั้น ผู้ตรวจการณ์หน้าย่อมมองเห็นเป้าหมายและผล ของการยิงที่กระทำไปได้ชัดเจนกว่า จึงกล่าวได้ว่าผู้ตรวจการณ์หน้าคือหัวใจของการตรวจการณ์ของทหารปืนใหญ่ในชุด หลักยิงของทหารปืนใหญ่ เปรียบผู้ตรวจการณ์หน้าไว้เสมือนตา คือสามารถมองเห็นเป้าหมาย นำตำบลระเบิดของกระสุนเข้าสู่เป้าหมายและเห็นผลของการยิงต่อเป้าหมายนั้นๆ ได้ด้วยตาของตนเองผู้ตรวจการณ์หน้าคือตาของชุดหลักยิงของทหารปืนใหญ่อย่าง แท้จริง
การตรวจการณ์ (Observation) หมายถึงการตรวจสอบ ศึกษาหรือพิจารณาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อให้ได้ข่าวสารทางทหารที่ มีค่ามาใช้ประโยชน์ เช่น การตรวจสอบภูมิประเทศ การตรวจหาที่ตั้งและการกระทำของข้าศึก เป็นต้น
การตรวจการณ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การตรวจการณ์โดยตรง ได้แก่ การตรวจการณ์หรือการพิจารณาต่อภูมิประเทศหรือข้าศึกนั้นๆ โดยตรง โดยใช้ตาเปล่า เครื่องช่วยการเห็น เช่น กล้องต่าง ๆ หรือเครื่องมืออิเลคโทรนิคทั้งหลาย เช่นเรดาร์ กำหนดที่ตั้งอาวุธ หรือเรดาร์ตรวจจับเป้าหมายเคลื่อนที่ เป็นต้น
2. การตรวจการณ์โดยอ้อม ได้แก่ การตรวจสอบพื้นที่ หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องจากการพิจารณาจากสิ่งอื่น ๆ เช่น จากภาพถ่ายทางอากาศ จากภาพถ่ายทางดาวเทียม หรือพิจารณาจากปรากฏการณ์หรือสิ่งบอกเหตุอื่น ๆ
เครื่องมือในการตรวจการณ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ กล่าวคือ
1. คน ได้แก่ ผู้ตรวจการณ์ ผู้ตรวจการณ์หน้า ผู้ตรวจการณ์ทางอากาศ เป็นต้น ทั้งที่ใช้ตาเปล่าและเครื่องมือช่วยการเห็น
2. เครื่องมืออิเลคโทรนิค เช่น เรดาร์หาที่ตั้งอาวุธ เรดาร์ตรวจจับเป้าหมายเคลื่อนที่ เครื่องหาทิศด้วยเสียง เครื่องหาทิศวิทยุ เครื่องมือเฝ้าตรวจทางพื้นดิน (Remote Sensor)
3. ภาพถ่าย ได้แก่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม การถ่ายภาพหรือการถ่ายทีวีของเครื่องบินเล็กบังคับด้วยวิทยุ เป็นต้น ด้วยเครื่องมือตรวจการณ์ที่ทันสมัยเหล่านี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ ที่แห่งใดในสนามรบ ข้าศึกอาจตรวจพบได้เสมอ
ความมุ่งหมายของการตรวจการณ์
ทหารปืนใหญ่ใช้การตรวจการณ์เพื่อความมุ่งหมายหลัก 4 ประการ กล่าวคือ
1. ค้นหาเป้าหมาย (Target Acquisition) เพื่อค้นหา พิสูจน์ทราบและกำหนดที่ตั้งเป้าหมายต่าง ๆ ให้ทันเวลาและมีความถูกต้องเพียงพอที่จะใช้อาวุธโจมตีอย่างได้ผล
2. ปรับการยิง (Adjustment of Fire) เพื่อแก้ไขหรือนำตำบลระเบิดของกระสุนเข้าสู่เป้าหมาย หรือพื้นที่ที่ต้องการเมื่อจำเป็น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการยิงขึ้น
3 . ตรวจผลการยิง (Surveillance Of Fires) ได้แก่ การตรวจผลการยิงที่เกิดแก่เป้าหมายในระหว่างและภายหลังการยิงและรายงานผล ให้ส่วนที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลทางการข่าวต่อไป
4. เฝ้าตรวจสนามรบและรายงานข่าวสาร (Battlefield Surveillance) หมายถึง การเฝ้าตรวจสนามรบตลอดเวลา แล้วรายงานทุกสิ่งที่ตรวจพบไม่ว่าจะเป็นข่าวเกี่ยวกับภูมิประเทศ ข่าวทางาอากาศ ข้าศึก และฝ่ายเรา อย่างถูกต้องรวดเร็วไปยังส่วนที่เกี่ยวข้อง ขีดความสามารถของเครื่องมือตรวจการณ์ต่าง ๆ และเทคนิคการใช้โดยละเอียด ให้ศึกษาได้จาก รส . 6 - 121
ที่ใช่หลักๆ เลยก็จะเป็น AN/TPQ-36 ครับ
ผู้ตรวจการหน้าคงไปไม่ถึง BM21 หรอก ตอนนี้ผู้ตรงการณ์หน้าจะเป็นหน้าที่ของ UAV ครับ
หลักการของเรดาร์คือ เรดาตัวนี้จะสาดคลื่นเรดาร์ไป ข้างหน้า แล้วถ้ามีลูกกระสุนปืนใหญ่ยิงมา ในระยะ เรดาร์จะคำนวน ค่าพาราโบลา วิถีโค้ง และอื่นๆ ของลูกกระสุน และเราจะสามารถระบุตำแหน่งได้ครับ
คลิปนี้หน้าจะเห็นภาพมากขึ้นครับ ดูนาทีที่ 2.14 ครับ
ท่าน spooky ผมได้ข่าวเรื่องเรดาร์ลูกครึ่ง จริงรึเปล่าครับ พอใบ้ให้ฟังได้บ้าวรึเปล่าครับ ขอบคุณครับ
เออ.....คือ ว่า.. มาถามแบบนี้ในเวลาช่วงนี้มันก็น่าแปลก อยู่ นะครับ
*-* ผมคน พิษณูโลก สองแคว พระนเรศ คนไทย แท้ๆๆครับ ไม่ใช่สาย เขมร นะครับ แค่ สงสัย เท่านั่นเองครับ
เคยได้ ยินว่า เขมรยิงมาเราจะรู้ที่ตั่ง เราสามารถยิงกับได้อย่างแม่นยำที่ๆมันยิงมา จนเครื่องยิงจรวดมันพัง ไปเยอะ เลยสงสัยครับ ว่า รู้ได้ไงถึงยิงได้ มีตาทิพย์หรือไง หรือเจ้าที่บอก ? แค่นี้เองครับ อิอิ
ขอโทษ ด้วยครับ พอดี อักษรแป้นพิมพ์ มันหาย
ขอบคุณ มากครับ แค่นี้ get แล้ววว..
ไม่ถึงกับไช้ผู้ตรวจการหน้านะ
ได้ข่าวว่า ไทยไช้เรดาตรวจจับการยิง แล้วก็เทคนิคชี้เป้าพิเศษ
ลูกปืนใหญ่ไทยนี้แทบจะไประเบิดในปากลำกล้องปืนใหญ่กระบอกที่ยิงมาเลย
ผตน (เหล่า ป.)ต้องเดินไปกับทหารราบ ขึ้นไปสังเกตุการณ์ ตามยอดเขา ปกติเหล่า ป. เขาอยู่ในที่ตั้ง ตำแหน่งนี้ น่าจะเหนื่อย สุดๆ
นั่งจิบกาแฟร้อน บนยอดเขา รอดู กระสุนลงเป้า ตูมๆ สว่างไสว สวยงาม
ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปรง จะได้อาหมวยมาครับ ซึ่งเป็นญาติกับ AN/TPQ-37 ครับ
ขอขอบคุณท่าน spooky พึ่งเห็นกันชัดๆ ก็งานนี้เอง
ไทยใช้เรดาหาตำแหน่งยิงของฆ่าศึกครับแล้วส่วนกลับไปในตำแหล่งนั้นๆ ตรวจแนวกระสุนตกด้วย UAV ครับ ไทยใช้ UAV มาตั้งแต่สมัยสรครามบ้านร่มเกล้าแล้ว