.........และแล้วหลังจากที่ กิปเปน ติดธงไตรรงค์ ได้เหินฟ้าเหนือยุโรปเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ...สร้างความปิติยินดีให้แก่หลายต่อหลายคนโดยเฉพาะกองทัพอากาศ แต่วันนี้ เรายังขาดอีกเยอะ...เรามีโอกาสเป็นเจ้าของเครื่องบินกิปเปน แค่ ๖ เครื่อง ที่มีนี้ไม่พอใช้งานกับการหมุนเวียนเข้าซ่อมบำรุงเป็นแน่ครับ... เลยทำให้เราต้องดอง F-5E รุ่นแรกที่จัดหามาตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ ไว้ต่อไปอีกหลายปี โดยกิปเปนชุดแรก จะเดินทางมาถึงเมืองไทยอย่างเป็นทางการ ในราวๆ เดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ตรงกับช่วงทีประเทศไทย ได้มีเครื่องบินเครื่องแรกมาทำการบินเหนือฟ้าสยาม ครบ ๑๐๐ ปี (ไม่ว่าจะนับ ปี ๒๔๕๓ หรือ ๒๔๕๔ ก็ตามที)
....มาสู่คำถามกันเลยครับ..."ท่านคิดอย่างไรกับการที่ ทอ.จะซื้อกิปเปน ให้ครบฝูง" ควรจะซื้อให้ครบ....ควรจะซื้อกี่เครื่อง...หรือควรยกเลิกมีแค่นี้พอ...หรือเปลี่ยนไปซื้อแบบอื่น (ในชั้นเดียวกัน)....แล้วจะมีเงินไหม...จะมีการเมืองหรือเปล่านะ....แล้ว..ฯลฯ
.....ช่วยแสดงความคิดเห็นแบบอิสระเสรี (แต่ขอใช้คำสุภาษณ์ หน่อยนะครับ) มีคนจำนวนมาก ทั้งผู้ทรงเกียรติใน.....และ......เขาอ่านอยู่ครับ....
....ถ้ามิตรรักแฟนเพลง "ท้าวทองไหล" ตัวจริง...คงจะเดาทางออกว่า...ทำไม อยู่ๆ ผมจึงมาตั้งคำถามแบบนี้ช่วงนี้...ฮึๆๆ...เอาเป็นว่า..ท่านเดาใจผมถูกว่าอะไร...แต่มาช่วยกันแสดงความคิดเห็นหลากหลายเยอะดีกว่าครับ...
แม้ว่า กริฟเฟ่น จะไม่ได้เป็นเครื่องที่ดีที่สุดในโลก!
แต่ผมว่า กริฟเฟ่น เป็นเครื่องที่เหมาะสมที่สุดกับประเทศไทยครับ!
สนับสนุนครับให้มี ครบ 18ลำ หนึ่งเสียงครับ!
และ กริฟเฟนเอ็นจี สำหรับ แทน เอฟห้า ฝูงที่เหลือ ครับ(ในอนาคต)
แสดงว่า กองทัพเปลี่ยนใจ ล๊อตสองนี่ เอา 12 ลำเลยหรือครับ
จู่ๆมาตั้งกระทู้แบบนี้ น่าคิดจริงๆ
ถ้าหมายความว่า Gripen ฝูง 701 1ฝูง มี 12ลำตามความต้องการแล้ว
มีความจำเป็นอย่างมากที่กองทัพอากาศต้องผลักดันให้มีการอนุมัติการจัดหา Gripen ชุดที่2 อีก6ลำครับ เพราะ Gripen ที่จัดหาชุดแรกนั้นประกอบด้วย Gripen D 2ที่นั่ง 4ลำซึ่งจะใช้ในการฝึกเป็นหลัก และ Gripen C ที่นั่งเดียวอีก2ลำ ซึ่งการปฏิบัติการรบทางอากาศหลักโดยทั่วไปจะใช้เครื่องที่นั่งเดียวปฏิบัติการแน่นอนว่า Gripen C เพียง2ลำย่อมไม่เพียงพอต่ออัตรารบขั้นพื้นฐานครับ
ถ้ามีการอนุมัติงบประมาณสำหรับจัดหาชุดที่2ใน งป.ปี ๒๕๕๔(ในปี๒๕๕๓) ก็จะได้รับมอบ Gripen C เพิ่มอีก 6ลำ ซึ่งจะทำให้เครื่อง Gripen C มีอัตราพร้อมรบสูงสุด 8เครื่อง ซึ่งพอในขั้นต่ำ คาดว่าถ้าได้รับการอนุมัติเครื่องในชุด2น่าจะได้รับมอบภายในปี ๒๕๕๕ เป็นอย่างเร็วครับ
แต่โดยส่วนตัวนั้นคิดว่าควรจะมีการจัดหา Gripen C เพิ่มอีก4ลำ เพื่อจะได้มีอัตราเครื่องพร้อมรบที่นั่งเดียว 12ลำ ซึ่งจำนวนฝูงบินอัตรา 16ลำนั้น น่าจะเหมาะกว่าในกรณีเผื่อบางเครื่องไม่พร้อมครับ
อย่างไรก็ตามเคยอ่านคำสัมภาษณ์ของ ผบ.ทอ. ท่าน พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ เกี่ยวความต้องการ Gripen C/D ใน1ฝูงบินครับว่า
"ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ ได้มุ่งเน้นที่จะสร้างกองทัพอากาศคุณภาพ โดยได้ให้ความสำคัญกับสมรรถนะ ขีดความสามารถ และคุณภาพของกำลังรบ มากกว่าปริมาณ"
ซึ่งนั้นหมายความว่าการจัดหา Gripen C/D 1ฝูงคงจะมีเพียง 12ลำเท่านั้นครับ แนวทางการปรับลดขนาดเครื่องประจำฝูงบินขับไล่นั้นลงก็มีในหลายๆประเทศครับ ซึ่งกองทัพอากาศไทยคงคงไปในแนวทางนั้นเช่นกันครับ
พูดถึงความลงตัว
อื้มม มีครบฝูงก็ดีนะครับ
โดยส่วนตัวคิดว่า การจัดฝูงรบนั้น จัดได้หลากหลาย
หากในอนาคต เราสามารถได้ F-35 มาจริง
จนครบตามความต้องการ อาจเปลี่ยนภารกิจของกริฟเฟน ไปเป็น โจมตีทางทะเลก็ดีนะครับ เพราะ ความสามารถในเรื่องโจมตีทางทะเลครับ
โดยส่วนตัวที่ชอบกริฟเฟ่น ก็เรื่อง ระบบสงครามอิเล็คโทรนิค แล้วก็ ดาต้าลิ้ง ครับ
เมื่อเลือก แจส-39 แล้วก็ขอให้จัดหามาให้ครบตามต้องการ..
ถ้าจะจัดหาเพิ่มอยากให้หาตัวใหญ่กว่านี้สักหน่อยแบบทีมฟุตบอลละครับมีตัวใหญ่ที่หน้า1กลาง2หลัง2 เอาไว้ขู่คู่ต่อสู้ที่เหลือมีพวกเร็วเล็ก...
และผมยังสนับสนุนการแลกสินค้ากับอาวุธอยู่นะครับถึงแม้ดูไม่สดวกกับกองทัพแต่เป็นประโยชน์กับประเทศโดยรวมครับ
ตกลง ทอ.ไทย จะใช้หลักนิยมมีเครื่องบินขับไล่ 2 แบบประจำการในช่วงเวลาเดียวกันใช่ไหมครับ เช่น ปัจจุบัน F-5 Vs F-16 อนาคตในอีกไม่นาน F-16 vs Jas-39 และอนาคตข้างหน้า Jas-39 vs F-35
ขอเปรียบกองทัพอากาศเหมือนกับบริษัทขนส่งหน่อยนะครับ ( ขอพูดแค่การบริหารงานองค์กร)
หากบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งมีและใช้รถบรรทุกหลายๆประเภทที่อยู่ในระดับเดียวกัน ความชำนาญของคนขับในแต่ละรุ่นของรถก็จะต่างกัน งบประมาณในการจัดการบุคคล อะไหล่ในบริษัทเพิ่มมากขึ้น ความเสียหายที่มีต่อตัวรถที่เกิดจากตัวบุคคลที่ไม่มีความชำนาญก็จะเกิดเพิ่มมากขึ้นไปด้วย
ถ้าหากบริษัทขนส่งเหล่านั้นมีและใช้รถบรรทุกในประเภทเดียวกันทั้งหมดก็จะทำให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง งบประมาณในการจัดการบุคคล อะไหล่ก็จะใช้น้อยลง ความเสียหายที่มีต่อตัวรถก็จะเกิดน้อยลงเนื่องจากเกิดความชำนาญในการขับ
เปรียบได้ว่าถ้าเราเลือกที่จะใช้ JAS 39 แล้วเราก็ต้องมีให้ครบฝูงเพราะแต่ละลำใช้งบประมาณในการจัดซื้อมิใช่น้อย การบริหารงานบุคคลนักบิน ฝ่ายช่างก็ต้องใช้งบประมาณมากหากได้มาแค่ 6 ลำแล้วไปจัดหาเครื่องบินแบบอื่นแทนก็คงไม่เกิดประโยชน์อย่างใด อาจจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไปหรือซื้อลิขสิทธิ์มาประกอบเองได้ยิ่งดีจะช่วยเสริมทักษะและเพิ่มการจ้างงานคนในประเทศเราอีกด้วย
ผมอยากให้ ไทยเรา ชื้อ F16 เท่านั้นครับ
มีความเป็นไปได้มั้ยครับ ที่ ทอ จะชื้อ F16 รุ่มใหม่ ล่าสุด เข้าประจำการ
ผมเชื่อว่าระบบ อิเล็คทรอนิค น่าจะสู้ jas ได้
อยากให้ ทั้งประเทศ ใช้ F16 เหมือน ๆ กันหมดครับ
wing 701
สำหรับภารกิจปัจจุบันกับอัตราเครืองบินรบ
ไม่สมดุลย์กันเลย 12 ลำ ถือว่าน้อยเมื่อเทียบ
กับภารกิจที่แบกรับ.........
ควรจะมา 18 ลำ. ต่อ 1 ฝูง
ควรเป็นวาระเร่งด้วยซ้ำครับท่าน
ตามความเห็นผม
ทอ.ควรจะมี Jas-39 ครบฝูง 12 ลำ ครับ...โดยผมคิดว่า ฝูงบินของ ทอ. ควรจะปรับลดเป็น ฝูง 12 ลำ แทน ฝูงละ 18 ลำ เพราะปัจจุบัน บ. มีราคาแพงมาก ราคาต่อลำ 80 - 100 ล้านเหรียญ แต่ในอดีต บ. ระดับนี้ จะอยู่ประมาณ ลำละ 28 - 45 ล้านเหรียญ
ในเมื่อ ทอ. ยอมที่จะชำระราคา ต่อ ลำ แพงขึ้น เพื่อจะใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ ที่มีการตรวจจับได้เร็วขึ้น แม่นยำขึ้น ประมวลผลได้ ณ เวลาสถานการณ์จริง...ทอ. ก็ควรจะให้ ทรัพยากรในการฝึก และซ่อมบำรุง ให้เพียงพอ และเต็มประสิทธิภาพ...
ซึ่งการที่ ทอ. มีฝูงบิน ฝูงละ 18 ลำ ทำให้ จำนวนชั่วโมงบิน ต่อ ลำ ต่ำ...ในขณะที่ เทคโนโลยี่ มีความก้าวล้ำ ขึ้นไปเรื่อย ๆ....ทำให้ บ.ทอ.ที่จัดหามา กลายเป็นจะล้าสมัยตามเทคโนโลยี่ไม่ทัน...เพราะ บ. ยังมี ชั่วโมงบิน เหลืออีกที่พอจะใช้ได้ไปอีก 20 ปี ซึ่ง เทคโนโลยี่ในอีก 20 ปีข้างหน้า ก็ไม่รู้จะนำสมัยไปขนาดไหน....
เมื่อเทียบกับมูลค่า บ. จำนวน 6 ลำ ที่ลดลง ก็ย่อมหมายถึง มูลค่างบประมาณ 400 - 500 ล้านเหรียญ ที่ ทอ. สามารถนำมาใช้ปรับปรุงเทคโนโลยี่ และอาวุธ ได้อีกมาก หรือ เตรียมงบประมาณเพื่อรองรับ ฝูงใหม่...
ในขณะที่ งบประมาณ ทอ. ในลักษณะการจัดหา กว่าจะผ่าน ครม. ก็ไม่ใช่ง่าย ๆ...ทอ. ต้องคำนึงถึงว่า ในปี 2571 เป็นต้นไป ทอ.จะต้องจัดหา F-35 อีก 2 ฝูง เพื่อมาทดแทน F-16 A/B ฝูง 103 และ 403...
และในปี 2559 เป็นอย่างช้า ที่ ทอ. จะต้องจัดหาฝูงบินอีก 1 ฝูง เพื่อมาทดแทน F-5 E/F ฝูง 211 อีก....
งบประมาณที่ ทอ. จะต้องใช้ในอีก 20 ปี ข้างหน้า...
ปี 2554 ฝูง 701 = Jas-39 เฟส 2 จำนวน 6 ลำ = 500 ล้านเหรียญ
ปี 2559 ฝูง 211 = อายุ F-5 E/F เป็น 35 ปี สมมติ จัดหา กริพเพนอีก 12 ลำ พร้อม อีรี่อายอีก 2 ลำ = 1,100 ล้านเหรียญ หรือ มากกว่า
ปี 2566 ฝูง 102 = อายุ F-16 ADF เป็น 20 ปี (รวมอายุเดิม เท่ากับ 40 ปี) สมมติจัดหา F-35 ในจำนวน 12 ลำ งบประมาณไม่น่าจะน้อยกว่า 1,500 ล้านเหรียญ
ปี 2571 ฝูง 103 = อายุ F-16 A/B เป็น 40 ปี สมมติจัดหา F-35 จำนวน 12 ลำ งบประมาณไม่น่าจะน้อยกว่า 1,500 ล้านเหรียญ
เมื่อลองพิจารณา จะเห็นว่า ทอ. ต้องมีงบประมาณ 1,100 - 1,500 ล้านเหรียญ ในทุก ๆ 5 ปี เพื่อจัดหา บ. ฝูงใหม่มาทดแทนของเดิม
ถ้า ทอ. ยังกำหนดฝูงละ 18 ลำ ทอ.จะต้องมีงบประมาณ 1,600 - 2,000 ล้านเหรียญ ของทุก ๆ 5 ปี เพื่อจัดหา บ.ฝูงใหม่มาทดแทนของเดิม...ซึ่งมันต่างกันกว่า 500 ล้านเหรียญ ต่อการสั่งซื้อทุกครั้ง...
และมันก็จะลำบาก ทอ. เอง ที่จะของบประมาณเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะแค่ฝูง กริพเพน ฝูงแรก ก็หืดขึ้นคอแล้ว และสุดท้าย ถ้างบประมาณออกมาให้ไม่ทันความต้องการ ฝูงบิน ทอ. ก็จะมีแต่ บ. ที่เก่าแก่กว่าประเทศเพื่อนบ้าน...
จากคำถามที่ว่า "คิดอย่างไรกับการที่ ทอ. จะซื้อ กริปเปน ให้ครบฝูง"
ผมขอคุยในส่วนนี้เท่านั้น โดยส่วนตัวเห็นด้วยอย่างยิ่ง
เพราะภาคใต้มีเพียงแค่ กองบิน 7 เท่านั้นที่ดูแลรับผิดชอบน่านฟ้าอยู่ซึ่งก็กว้างมาก ประกอบกับชนิดของเครื่องบินที่ประเทศเพื่อนบ้านมีประจำการอยู่นั้น แต่ละแบบก็น่ากลัวทั้งนั้น
ดังนั้น กองบิน 7 โดยเฉพาะฝูงบิน 701 ควรมีเครื่องประจำการให้ครบฝูง เพียงแต่ จะประจำการ 12 หรือ 18 ลำดี
ผมคิดว่าเราควรจะจัดหาให้ครบ16-18 ไปเลย ยื่งตอนนี้เศรฐกิจกำลังฟื้นตัวน่าจะไม่มีปัญหา และจำนวนแค่12 ผมคิดว่ามันไม่เพียงพออยู่แล้ว เพราะว่าการจัดหาเครื่องบินล่าสุดของเพื่อนบ้านเราเค้าจัดหา1ฝูง18 เครื่อง และจะจัดหาอีก18เครื่องทำให้ภัยคุกคามอยู่ในระดับสูงมากถ้าเกิดเหตุการขัดแย้งกันขึ้น ส่วนตัวผมคิดว่าที่จริงเราน่าจะโอนย้าย หรือ เพื่มเติมไปอีก1ฝูงบินนะครับ เพราะจะได้เทียบเท่าหรือ ไม่ด้อยกว่าเพื่อนบ้านเรา อย่างที่ว่า เรามีแค่กองบิน7 แค่กองบินเดียวที่ทำหน้าที่คุ้มครองภาคใต้ และถ้าเราได้เพื่มมาเป็น16- 18 เครื่อง เราก็ใช้ขับไล่12 เครื่อง และ อีกอีก 4 ทำหน้าที่ลาดตระเวณทางทะเล และต่อตีเรือรบ ส่วนอีกสองเครื่อง ก็ทำหน้าที่เครื่องบินฝึกไป น่าจะเหมาะสมกว่าใช้มั่ว เครื่องบินน้อยแต่ภารกิจเยอะ
ส่วนตัวผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับถ้าจะจัดหาให้ครบ16 เครื่อง ถึง18 เครื่อง จะเป็นการแบ่งเบาภาระและเราจะได้มีอำนาจต่อรองกับประเทศเพื่อนบ้านเราได้ครับ จำนวน16 เครื่องถ้าเทียบกับภัยคุกคามจริงๆ ก็ไม่น่าจะรอดนะครับ อยากให้มีอีก1 ฝูงบินจะดีมากเลย จะได้ต้านทาน เพื่อนบ้านเราได้พอสมน้ำสมเนื้อหน่อย
ป.ล.ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูถาวรในโลกใบนี้นะครับ จำไว้ให้ดี อะไรก็เกิดขึ้นได้ อย่าประมาท
อันนี้ ผมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในลักษณะ ทอ. มี บ.ฝูงละ 12 ลำ...คือ
เมื่อ ทอ. มีฝูงบิน 12 ลำ ทอ.จะช่วยลดงบประมาณของ บ. ไป จำนวน 6 ลำ แต่ประสิทธิภาพของ บ. จำนวน 12 ลำ จะได้รับการชดเชย ในแง่งบประมาณการซ่อมบำรุง และงบประมาณในฝึก ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะ ทอ. ประหยัดรายจ่ายของ บ. ไป จำนวน 6 ลำ...หรือ การร่วมทุนเพื่อเปิดศูนย์ซ่อมบำรุงในภูมิภาค...
การซ่อมบำรุง และรักษาเครื่องยนต์ตามวงรอบ ก็จะเหลือเพียง 12 เครื่องยนต์ ซึ่งมันจะช่วยพัฒนาในการจัดการ และ บริหาร การซ่อมบำรุง ของ ทอ. ที่จะต้องคิดกันใหม่ว่า จะทำอย่างไร เพื่อให้ความพร้อมของ บ. ครบตามยุทธการ...
เช่น แต่เดิม ความพร้อมรบอยู่ที่ 70% จากฝูงเต็ม 18 ลำ คือ 13 ลำ นั่นก็หมายถึงว่า ปัจจุบัน ทอ. ก็จัดเตรียมการซ่อมบำรุง และให้พร้อมรบอยู่ในจำนวน ฝูงละ 12 ลำ อยู่แล้ว คือ พร้อมรบ 100% ซึ่งจะทำให้ ชั่วโมงบิน ของ บ.แต่ละลำ มีจำนวนที่สูงมากขึ้น จากอายุประจำการ 40 ปี จะปรับลดมาเป็น อายุประจำการ 25 - 30 ปี...ทำให้ ทอ. จะได้รับ บ. ฝูงใหม่ ทดแทน และมีความทันสมัย เร็วขึ้นอีก 10-15 ปี...
เทียบได้จาก ทอ.มาเลเซีย ที่มีประจำการ F/A-18 D จำนวน 8 ลำ...ถ้าเป็นไปตามข้อมูลในเว๊ปไซด์ อนาคตก็จะถูกทดแทนด้วย บ.ฝูงใหม่ ที่กำลังจะจัดหา (ทดแทน Mig-29 ด้วย)....F/A-18 D ประจำการปี 1996 ปัจจุบันอายุ 13 ปี ระยะเวลากว่า บ.ฝูงใหม่จะประจำการ ก็น่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5-6 ปี...ตอนนั้น F/A-18D ก็จะมีอายุประมาณ 20 ปี เท่านั้น...
ส่วนมิก-29 ที่กำลังจะทะยอยปลดประจำการหมดในปี 2010 ก็จะมีอายุเพียง 15 ปี...
ซึ่งการที่ มาเลเซีย ปลดประจำการ Mig-29 เร็วขึ้น (อายุเครื่องยนต์ประมาณ 1,000 ชั่วโมง ต้องซ่อมใหญ่) และอาจจะรวมถึง F/A-18D ในอนาคต...ทำให้ มาเลเซีย จะได้ บ.ประจำการ ที่มีความทันสมัยมาทดแทน ในอีก 5-6 ปีข้างหน้า...ในขณะที่ ไทย ยังคงต้องประจำการ F-16 A/B ไปอีก 18-20 ปี เพราะ ชั่วโมงบิน ของ บ. ยังมีเหลือเพียงพอ...
จำเป็นมากๆ ครับ ที่จะต้องจัดหาเข้าประจำการให้ครบฝูง คือ 12 ลำ เพราะเพียงแค่ 6 ลำ แรกที่ซื้อมา ถึงเอาไปใช้ปฏิบัติภารกิจ ก็ไม่สามารถ ที่จะปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ และไม่สนับสนุนการซื้อเครื่องบินประเภทอื่นมาทดแทน เพราะ กริฟเฟน ถูกพิจารณา และทดสอบอย่างดีแล้ว จากกองทัพอากาศ และกองทัพอากาศก็มีการชี้แจง ประชาสัมพันธ์ ถึงเหตุผลที่ต้องจัดหากริฟเฟน อย่างสมเหตุสมผล ซึ่งมันเป็นเรื่องจำเป็น เราจึงต้องควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และสนับสนุนการจัดซื้อในล็อต 2 ให้ครบ 12 ลำ ตามความต้องการขั้นต่ำ
ไม่อย่างนั้น เหมือนเงินที่เราลงทุน ไปกับเครื่อง ล็อตแรก ก็จะศูนย์เปล่า
สนับสนุนเต็มที่ครับ เพราะเราได้การตอบแทนทางอุตสาหกรรมคืนจากประเทศ สวีเดน ด้วย คิดว่าเป็นบรรทัดฐานที่ดี ในการจัดหาอาวุธ ที่มีราคาแพง ของทุกเหล่าทัพ ควรมีเงื่อนไขลักษณะนี้ ไม่ตอบแทนทางอุตสาหกรรม ก็ต้องตอบแทน เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี ครับ
โลกเปลี่ยนไป ประเทศไทย ต้องเปลี่ยนตามโลก ให้ทันด้วย การเมืองประเทศไทย ก็ต้องเปลี่ยนตามโลก ให้ทันเช่นกัน
ที่แรกยังชอบตัวเลข 16-18 เครื่อง/ฝูง เท่าๆ กับ F-16 ทั้งสามฝูง....เท่าที่ผ่านมา ดูเหมือนกับว่า ทอ.ใช้งาน F-16 ด้วยชม.บินต่อลำต่ำ ผมว่าน่าจะต่ำไปหน่อย ดังนั้นที่ 12 เครื่อง/ฝูง น่าจะลงตัวที่สุด แล้วเก็บเงินไปซื้ออุกรณ์ต่างๆ ให้สมบูรณ์เท่านั้นน่าจะพอ
ก่อนอื่นต้องตั้งข้อสังเกตกันก่อนครับว่าทำไมต้องตั้งคำถามแบบนี้
มีเลศนัยอย่างไรหรือเปล่าหรือว่าทางผู้ใหญ่ใน ทอ. เปลี่ยนใจจะไม่ซื้อ
แจ้ส ให้ครบฝูง หรือผู้ใหญ่ใน ทอ.จะกลับไปหา เจ้า วีโก้ ( เอฟ-16)
อีกรอบ ซึ่งถ้าเป็นจริงก็แสดงว่าเราซื้อ แจ้ล ล็อตแรกเพื่อหวังของแถม
(อิริคอาย) เท่านั้นเอง เรื่องเครื่องบิน เป็นเรื่องรองครับ
จะว่าไปแล้ว เอฟ-16 บล็อค 50 ที่ติดถังน้ำมันเชื้อเพลิงอะไหล่แบบแนบ
ลำตัวได้นี่มันเหมาะมากสำหรับการรบระยะไกล ซึ่ง ไทยเรายังขาดอยู่
นาครับ จะเป็นรองแค่ ซู-30 หรือ เอฟ-15อี ของเพื่อนบ้านเท่านั้น
ส่วนแจ้ส นี่ไม่ต้องไปหวังกับมัน ว่าจะเอาไปใช้เชิงรุกที่ไหน ดูแล้ว
มีแจ็สเพื่มขึ้นมาอีก 6 เท่า ก็ไม่ต่างอะไรกับ หาเครื่อง เอฟ-16 เอเอ็ม
เพื่มอีก 6ตัว หรอกครับ แถมใช้เงินน้อยกว่าด้วย
คิดว่าในอนาคต ทอ. คงอย่างประหยัดเงินไปเอาตัว เอฟ-16 บล็อค 50
มาใช้มากกว่าครับ เอาไว้เสริม กับ เครื่อง เออ็ม/บีเอ็ม ของ 403 ซึ่ง
ถ้าเป็นจริง ตัวนี้คงเอามาลงที่ กองบิน1 แน่นอน( เดาเอาครับ)
งั้นแสดงว่า ท่าน DATA จะไม่อยากให้นักบินๆเครื่องบินอื่นเป็นเลยใช่ใหมครับ อยากให้ตามก้นมะกันไปตลอดกาลเลยใช่ปะครับ และอยากให้ไทยเป็นชาติสุดท้ายที่ซื้อเอฟ16 เข้าประจำการ ซ้ำรอยกับ เอฟ 16 เอ/บีที่เราซื้อเป็นชาติสุดท้ายก่อนที่เค้าจะเปลี่ยนไปเป็นซี/ดี และไม่เข็ดหรอครับที่จะขอซื้ออะไรแต่ขายให้อีกอย่าง หวงเทคโนโลยี ตามง้อเค้าอยู่ร่ำไป ทั้งๆที่มีเงินซื้อ แต่เค้าไม่อนุญาติ ผมล่ะไม่เอากับ F16 แล้ว น้อง แจสเหมาะสมที่สุดแล้ว และก็อยากให้มาทดแทน F5 ฝูงที่เหลือด้วย.ฃ
จะเป็นรองแค่ ซู-30 หรือ เอฟ-15อี ของเพื่อนบ้านเท่านั้น
ส่วนแจ้ส นี่ไม่ต้องไปหวังกับมัน ว่าจะเอาไปใช้เชิงรุกที่ไหน ดูแล้ว
มีแจ็สเพื่มขึ้นมาอีก 6 เท่า ก็ไม่ต่างอะไรกับ หาเครื่อง เอฟ-16 เอเอ็ม
เพื่มอีก 6ตัว หรอกครับ แถมใช้เงินน้อยกว่าด้วย..... แน่ใจหรอครับ?ลองหรือเปล่าครับ น้องแจ๊ส6 เท่ากับ Su30 หรือ F16 ใครจะอยู่ใครจะไปถ้าน้องแจ๊ส มีเมทิเออร์ผม ก็ไม่กลัวอะไรแล้วระยะยิงไกลกว่าAIM120 ตั้ง40 กิโลเมตร แค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ
ขออภัยที่นอกประเด็น
เนื่องจากเป็นสมาชิกใหม่แต่แอบอ่านมานานแล้ว
เห็นเปรียบเทียบกับ F16 เลยอยากทราบว่า จริงหรือเปล่าครับที่มีสมาชิกในเว็ปบอร์ดนี้ ที่บอกว่า F16 ของไทยเคยออกรบที่ร่มเกล้ากับช่องบกนะครับ�
เห็นเปรียบเทียบกับ F16 เลยอยากทราบว่า จริงหรือเปล่าครับที่มีสมาชิกในเว็ปบอร์ดนี้ ที่บอกว่า F16 ของไทยเคยออกรบที่ร่มเกล้ากับช่องบกนะครับ |
|
ขอบคุณครับ webmaster สำหรับคำตอบ
ผมลองไปค้นหาข้อมูลมา สงครามช่องโอบกกับร่มเกล้า เกิดปี 2530-2531 ซึ่งตอนนั้น F16 ยังไม่เข้ามาประจำการในกองทัพอากาศ F16มาหลังสงครามที่ร่มเกล้ายุติลงแล้ว
แสดงว่าข้อมูลที่ผมเคยอ่านหรือเคยได้ยินมาจากบอร์ดนี้หรือไม่ก็บอร์ดwing 21 ก็ผิดสิครับ อยากรู้จักใครเป็นคนเริ่มข้อมูลผิดๆแบบนี้
เอามาเลย เอามาสัก 18 ไปเลย
แถมด้วยอาวุธอิเล็กทรอนิกส์ ดีๆที่เขาใช้กัน
ให้ลูกทัพฟ้า ได้ภูมิใจและดีใจกับเขาหน่อย
จะได้ไม่ถูก คนอื่นว่า ขับแต่ มือสอง อะนะ
โครงการแจ้ส เฟส2 จำนวน 6 ลำมูลค่า 500 ล้านยูเอสดอลล่าห์ ผมว่ามันแพงไปนาครับ
ด้วยเงินจำนวนนี้ผมว่า เราสามารถ หาเครื่องบินมือสองในระดับเดียวกันได้ไม่ต่ำกว่า 2 ฝูงเชียวนาครับ ไม่ว่าแจ้ส มือสองหรือ เอฟ-16 ซี/ดี บล็อค25 /30ที่เราเคยอยากได้ หรือแม้แต่เอา เงินไปใช้อัพเกรด เครื่อง เอฟ-16 ทั้ง 3 ฝูงที่เรามีอยู่แล้วให้ทันสมัยเทียบเท่าแจ้ส เฟส แรก ก็ได้นาครับ
อย่าลืมว่าหลังจากนี้ไม่นานเครื่องเอฟ-5 อี/เอฟ ทั้งหมดของไทยต้องปลดประจำการในอนาคตอันใกล้ ทั้งเครื่องไทกรีส และ ไทเกอร์ (เครื่อง เอฟ-16 นั้นไม่ต้องห่วงครับ อายุการใช้งานยังบินได้อีก อย่างน้อย 20ปี)
เศษฐกิจไทย รวมทั้งของโลก ระยะใกล้ ผมว่าคงไม่ฟื้นง่ายๆครับ อาจลากยาวเป็นสิบปีก็ได้ครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การซื้อเครื่องบินมือสองก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีนาครับ ดีกว่าไปซื้อเครื่องบินใหม่ แกะกล่องอีก แค่ 6ลำ ทั้งๆที่ในอนาคตอันใกล้เราจะต้องปลดประจำการเครื่องบิน เอฟ-5 ทั้งหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ครับ แล้วจะหาเงินที่ไหนมาซื้อครับ
อีกทางเลือกหนึงคือเครื่องเอฟ-16 บล็อค52 ของสิงคโปร์ ในอนาคตข้างหน้า ถ้าหากเขาจะขายเครื่องบินส่วนเกินล็อตนี้ให้เราก็น่าสนครับ ดังนั้นถ้าทอ.สนใจก็อาจจะสงวนเงิน 500 ล้านนี้ไว้ซื้อเครื่องบินสิงคโปร์ก็ได้ครับ เพราะผมเองคาดว่าถ้า เอฟ-15 เอสจี พร้อมรบเมื่อไหร่ (ราว 2 ปีข้างหน้า) สิงคโปร์ คงต้องลดกำลังรบลงเพราะเอฟ-15 สองฝูง ใช้ทรัพยากร เท่ากับเอฟ-16 ถึง 4ฝูง รวมถึงนักบินที่ต้องใช้ ต้องเพื่มเป็น 2เท่าด้วย ดังนั้นเขาอาจจะขาย เอฟ-16 ที่เกินใช้งานให้เราครับ แต่นั่นก็เป็นเรื่องอนาคตครับ ยังไม่แน่นอน
หรือถ้า ทอ.อยากได้แจ้ส ใหม่แกะกล่องจริงๆอีก 6 ลำ ผมก็ไม่ขัดครับ แต่เราน่าจะขอให้เขาลดราคาลงมาอีกหน่อยครับ เพราะ ราคา ที่เขาขาย 6ลำ 500 ล้าน นี่มัน แพงเกินไปจริงๆครับ แม้ว่าจะอ้างว่ารวมของแถมเช่น เครื่อง อีริอาย มือสอง + เครื่องฝึกมือสอง ซาบ 340 อีกอย่างละเครื่องก็ตามครับ (ความจริงมันรวมในเฟสแรกแล้ว )
งบแค่500ล้านยูเอสเมื่อเทียบกับกรีเป้น6ลำ+อิริอาย1ลำ+:ซ๊าบ340 1ลำ
และอื่นๆๆอีกมากมายรวมถึงจรวดนำวิถีปราบเรือผิวน้ำRBS-15ผมก็ถือว่า
ถูกกว่าเราไปซื้อเอฟ-16ซีดีบล็อก50ซึ่งเมกาไม่แถมอะไรเลยหนำซ้ำถ้า
จะติดอาร์พูนอีกเราต้องนำเครื่องบินไปปรับปรุงอีกเสียเงินอีกรอบ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ....
ขอแก้ข่าวเรื่อง...บ้านร่มเกล้า นิดหนึ่งครับ....ความจริงเค้าว่าที่คนของเราเองตายเยอะเพราะระเบิดเลเซอร์ครับ.....เครื่องบิน F-5F ฝูง 403 ทำหน้าที่ชี้เป้า โดยติดอุปกรณ์ชี้เป้าที่นั่งหลังโดยนักบินหลังเป็นคนเล็งเป้า...ส่วน F-5E ฝูง 102 ทำการติดระเบิดเลเซอร์ไกด์บอมส์...ต้องติดเฉพาะฝูง 102 ครับ...เนื่องจากขณะนั้น ปี ๒๕๓๑ กองทัพอากาศปรับปรุง F-5E/F ฝูง ๔๐๓ เป็นชุดแรกโดยติด กระเปาะชาร์ฟ แฟร์ ที่ฝาล้อและหลังฝาล้อซ้าย....ทำให้ไม่สามารถติดระเบิดเลเซอร์ขนาดใหญ่ที่ใต้ลำตัวได้...เพราะปีกส่วนท้ายที่พับเก็บมันไปโดนเจ้ากระเปาะชาร์ฟ แฟร์ ครับ...
ปัญหาของการรบคือ..ดินบนเนินบ้านร่มเกล้า 1429 มันนุ่มและหนาในบางจุด ระเบิดมันเลยไม่ตรงเปาะลงจุดฝังหัวมุดดินระเบิด....กลับกระดอนไปหาเขาอีกลูกที่เรามีทหารอยู่.....เรื่องระเบิดกระดอน...เคยเกิดมาหลายครั้ง...แม้แต่การแข่งขันที่สนามใช้อาวุธทางอากาศน้ำพอง ขอนแก่น เคยมีระเบิดขนาดใหญ่ ตกถึงพื้นแล้วไม่ระเบิด..กระดอนขึ้นหาเครื่องบินที่ทิ้งเอง....จึงไม่มีการทิ้งระเบิดใหญ่ที่น้ำพองเหมือนที่เราเห็นที่ชัยบาดาล....หากใครไปดูชัยบาดาล...จะเห็นครับว่า...ระเบิดที่ทิ้งที่ชัยบาดาลแบบแม่นๆ...ดำดิน..เป็นระเบิดที่หน่วงความเร็ว...มีหาง มีคีบ หรือมีร่ม...
ท่าน RONIN ไม่ต้องไปตื่นเต้นตกใจครับ...ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในยุคก่อนปี 2532 ทั้งหมดเป็นความลับสุดๆๆๆ..ครับ...จะเห็นว่าหนังสือ "สมรภูมิ" และ "สงคราม" ยุคนั้นจึงขายดีมากๆๆ....เพราะเราไม่มีแหล่งข้อมูลข่าวสารอะไร..แตกต่างจากยุคปัจจุบัน ที่เรามีเน็ต..หนังสือ..ฯลฯ...จนเดี๋ยวนี้เรา(ในฐานะคนที่ไม่ได้เข้าร่วมรบ..ผมเองก็จบมารับราชการพอดีไม่ทันครับ) ยังสับสนข้อมูลอยู่เลยครับ....
ผมก็เพิ่งมาค้นคว้าข้อมูลไม่นานจึงทราบเช่นกันครับ...บังเอิญคงจำเรื่องที่ผมบอกว่าจะไปยืมหนัง 16MM ของ ทอ.มาฉาย...มีเรื่องนี้ด้วยครับ...การติดระเบิดเลเซอร์กับ F-5E ปัจจุบัน F-5E ไม่สะดวกในการติดดังกล่าว...และปัจจุบัน ทอ.พัฒนาออกแบบและสร้างระเบิดเลเซอร์ไกด์บอมส์ และระเบิดนำวิถีร่อน ได้หลายแบบแล้วครับ....
ปัญหาอีกอันของ "บ้านร่มเกล้า" คือการประสานงานในพื้นที่การรบ.หรือที่อย่างท่าน Ronin บอกคือ ผู้ตรวจการณ์หน้า หรือผู้ควบคุมอากาศยานหน้า หรือ FAC .เพราะการรบในวันนั้นเรามีศูนย์สั่งการอยู่ใต้ดินในดอนเมือง...แต่เป้าหมายอยู่บนดอยที่ชายแดน..เมื่อมีการอนุมัติเป้าหมายกำหนดวันเวลา น.ที่จะเข้าโจมตี .เครื่องบินติดอาวุธวิ่งขึ้น...คำสั่งยืนยันการทิ้งระเบิดยังมี...แต่กำลังภาคพื้นสามารถยึดเนินได้แล้ว...การรบเป็นวินาที...ประกอบกับฝ่ายตรงข้ามมีทั้ง SAM และ AAA น่าเห็นใจทุกฝ่ายครับ...
พอไปเที่ยวพิพิธภัณธฑ์ทหารลาว ที่เวียงจันทร์ (อยู่ใกล้ๆกับพระธาตุหลวง)จึงเห็นว่า....งานนั้นทำไมเราไม่ชนะขาด
เรียนคุณ nick01 ผมพอจะทราบครับว่าใครเป็นบอกว่า F-16 ไทยออกรบร่มเกล้ากับช่องบก
ตั้งแต่สมัย wing 21 แล้วครับ
บอกใบ้ให้นิดนึงคนเดียวกับที่เคยมาโพสแสดงความเห็นว่า F-16ของ ไทยเคยตกและเครื่องสำรอง 2ลำของ ADF ขายไปแล้วครับ
ถ้ายังสงสัยอยู่ส่งหลังไมค์มาสอบถามได้ครับ
ป.ล. ผมพึ่งสมัครสมาชิกได้ครับอ่านอย่างเดียวมานานแล้ว แต่เคยเป็นสมาชิกของบอร์ด wing21 ครับ ส่วนใหญ่อ่านอย่างเดียวเหมือนกันครับไม่ค่อยแสดงความเห็น ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
เห็นด้วยครับ ภาคใต้ของเราปัญหาความไม่สงบก็เยอะ แสนยานุภาพของประเทศเพื่อนบ้านก็น่ากลัวและพัฒนาขึ้นทุกที เราควรที่จัดหาให้ครบตามแผน กันไว้ดีกว่าแก้แย่แล้วแก้ไม่ค่อยทัน!
ขอบคุณทุกท่านสำหรับการช่วยแสดงความติดเห็น...และในเดือนธันวาคม 2552 นี้..ยังไงก็ช่วยเชียร์ เฟสสอง เข้า ครม.ด้วยนะครับ..
...ตามแผน..SAAB-340 จะมาถึงบ้านเราประมาณ วันที่ 17 ธันวาคม 2553 (ปีหน้า) และ Gripen 39 C/D จำนวน 3 เครื่องแรกจะมาราวๆ มกราคม 2554 ขณะที่อีก 3 จะมาในเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมจัดงานยิ่งใหญ่เชิญทุกท่านเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ในราวๆเดือนมีนาคม หรือเมษายน 2554 ที่ดอนเมือง ครับ....
มาช้าแต่ขอมาแจมด้วยคน
กริพเพน ซี/ดี น่าจะกลายเป็นกระดูกสันหลังของ ทอ.ไทยไปอีกสามสิบปีนะครับ โดยน่าจะเข้าทดแทนเครื่องบินสองถึงสามแบบ คือ เอฟ5 อี/เอฟ อัลฟ่าเจ๊ต และ เอ-7(ของ ทร.)? นอกจากล็อตสองแล้ว อาจจะพ่วงฝูงสองมาอีกก็เป็นได้ โดยฝูงสองนี้อาจจะเป็นมือสองจากสวีเดน เพราะทางนู้นก็มีแผนลดกำลังรบลง ทางสวีเดนใช้กริพเพนหลายภารกิจอยู่แล้ว ทั้งป้องกันภัยทางอากาศ ขัดขวางทางอากาศ สนับสนุนโดยใกล้ชิด ลาดตระเวนทางทะเล กริพเพนสามารถใช้อาวุธได้หลากหลายทั้งค่ายอเมริกา ยุโรป อิสราเอล อาฟริกาใต้ ฝรั่งเศส ซึ่งสามารถครอบคลุมภารกิจของเครื่องบินเก่าทั้งสามแบบที่ว่ามาด้วยเครื่องบินแบบเดียว ในราคาที่ยอมรับได้และค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานที่เหมาะสม ถึงจะมีจำนวนน้อยลงแต่ความพร้อมรบน่าจะมากขึ้น เครื่องเก่าสามแบบรวมกันเกิน70ลำ อาจจะลดเหลือ 24-36 ลำ
หลังเอฟ16เอ/บีแล้ว (ซึ่งจะอายุครบ30ปีในอีกเก้าปีหน้านี้เอง) ยังจะเป็นเอฟ35จริงหรือ? สถานะการณ์ของสหรัฐทางเศรษฐกิจและการสงครามในอิรัคและอัฟกานิสถานอาจจะส่งผลต่อการปรับลดขนาดกองทัพลงภายในห้าปีข้างหน้า แล้วเอฟ35เจ้าปัญหาจะแท้งหรือเปล่า? เอฟ16เอ/บี ของเราทั้ง50เครื่อง อาจจะทดแทนด้วย กริพเพน อี/เอฟ อีก 24-36 เครื่อง พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการประกอบและซ่อมทำในระดับโรงงาน หากเป็นเช่นนี้ ภายในแปดปีข้างหน้า กำลังรบทางอากาศอาจจะมีเครื่องบินรบอยู่ 50 -70 เครื่อง ที่เป็นพื้นฐานเทคโนโลยีเดียวกันหมด ซึ่งมีความพร้อมรบเพียงพอที่จะทดแทนเครื่องบินรบกว่า 120 เครื่องในปัจจุบัน เมื่อมีความสามารถในระดับโรงงานแล้ว ความพร้อมรบยิ่งเพิ่มขึ้นแม้ในยามสงคราม
อนุมัติให้ซื้อJAS-39 C/Dครบ16หรือ18ลำเลยครับ
เพราะF-35อีกนานกว่าจะเปิดสายการผลิต
ผมเชียร์เต็มที่ครับท่านท้าวทองไหล
ไม่ต้องกลัวหรอกครับคุณ data ครับ 500 ล้านเหรียญกับเครื่องบินที่ใช้งานอีก 40 ปีและการพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต สิ่งที่เราได้มามันคุ้มกว่ากันเยอะนะครับ เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดาตาลิงค์ ที่ตอนนี้ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทในไทยเรียบร้อยแล้วครับหรือ แม้แต่วัสดุคอมโพสิตที่ไม่มีประเทศไหนเขาถ่ายทอดให้กันง่ายๆหรอกนะครับและยังมีอีกหลายๆอย่างประเทศที่จัดหา Gripen ไปแล้วอย่างแอฟริกาใต้ เชค ฮังการี ทางสวีเดนเขาเข้าไปลงทุนตอบแทนในประเทศเหล่านั้นมากกว่าเงินที่เราจ่ายให้เขาอีกนะครับ
มาช้าไปรึเปล่าหว่าพึ่งเห็น
เท่าที่สังเกตุ...ผมว่าจริงๆแล้ว ทอ.น่าจะต้องการ 18 ลำน่ะ(หรือ 16 ลำเป็นอย่างน้อย) แต่ติดขัดด้านงบประมาณ
อยากลองเสนอแนวคิดว่า...หลังจาก 12 ลำแล้วน่าจะมีการจัดหา jas-39 มือสองดูครับโดยที่เป็น A/B ที่ปรับปรุงเป็น C/D น่าจะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดหาครับ
(จริงๆแล้วผมอยากให้F-16 7 ลำจากสิงคโปร์มาประจำการเพื่ออุดช่องว่างแทน 6 ลำที่ขาดนะ..แต่ไม่แน่ใจในด้านปัญหาการซ่อมบำรุงว่าจะยุ่งยากรึเปล่า)
ส่วน 211 นั้นก็น่าจะเป็น jas-39 นะครับ...ส่วน F-35 น่าจะเหมาะสมกับช่วงเวลาที่F-16 102 เราปลดพอดี...
ขอสนับสนุนในการจัดหา JAS - 39 ให้ครบฝูงบิน อย่างน้อยคือ 12 ลำ อย่างมาก ไม่น่าเกิน 16 ลำ เพื่อความคล่องตัวในการ สลับสับเปลี่ยน และความพร้อมรบ และ แน่น อาวุธที่ทันสมัย และระยะยิงที่ เป็นต่อ อย่าลืมว่า เพื่อนบ้าน ทั้งฝั้ง ซ้าย และด้านล่าง ครบฝูง และเป็น อาวุธที่น่ากลัวอยู่ไม่ไช่น้อย ดังนั้น เราเองต้องไม่ประมาท และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กองทัพ คงไม่นิ่งดูดาย ให้นักบินดีๆของกองทัพต้อง เสียชีพไปทีละท่าน จากปัญหาเครื่องบิน เก่า หมดอายุ และ เราอ้างว่า ไม่มีงบประมาณ ดังนั้น หากมองว่า ไม่สามารถและมีความเสียงสูงในการขึ้นบินนั้น กองทัพควรที่จะ สั่งระงับบิน ทั่งหมด และเร่งดำเนินการ จัดหา ครับ
ปล. 6 ลำที่เหลือ เป็นไปได้ ตัว NG ไปเลยครับ หรือ กองทัพออกระดมทุน หุ้นกู้ ประชาชนเลยครับ ผมจะเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุน
(ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวครับ ผิดพลากประการใดขออภัยด้วยครับ)
เห็นด้วยกับการจัดหาให้เต็มฝูงครับ เพราะถ้าครึ่งฝูงละก็ มีปัญหาเรื่องความพร้อมรบและความคุ้มค่า แน่ๆครับ
ตอนร่มเกล้า มีแค่ F5 A/B , F5 E/F และ OV-10 ครับ
ตอนนั้นถ้าเรามี F16 ชี้เป้าด้วย Laser แม่บ้านทหารบางหน่วยอาจจะไม่เป็นหม่ายครับ
^
^
^
เรื่องร่มเกล่า นั้น เอฟ 5 หมู่ 2 ทิ้งด้วย LGB ขนาด 2000 ปอนด์ครับ
ปัญหาสำคัญไม่ได้อยู่ที่ ความแม่นยำ หรือปัญหาทางเทคนิคเสียทีเดียว
ปัญหาใหญ่คือ ภารกิจครับ
ครั้งนั้นเป็น BAI หรือ CAS ถ้ามองตามรูปสถานการณ์ที่กระทำต่อเหนือยุทธบริเวณ และยังไม่เลยเส้น ของระยะยิงสนับสนุนของฝ่ายเดียวกัน มันควรจะเป็น CAS ครับ แต่ขั้นตอนการเข้าหาที่หมายและการใช้อาวุธ กลับเป็น BAI หรือ AI เพราะไม่มีการประสานและถ่ายทอดข้อมูลกับทหารภาคพื้นเหนือยุทธบริเวณ รวมถึงการอนุมัติในการปลดอาวุธจากหน่วยภาคพื้น สรุปคือ มันไม่ใช่CAS ทั้งๆที่ที่จริงมันควรจะเป็น CAS ครับ
เห็นสมควรจัดหามาให้ครบเป็นอย่างยิ่งครับ ส่วนตัวชอบ jas-39 อยู่แล้วครับ เขาว่าถ้ามันมาเป็นฝูงมันน่ากลัว อยากเห็นตัวจริงๆ และ ฟังเสียงเครื่องยนต์เจ้าเหยียวตัวนี้จัง วันเด็กปีไหนถึงจะได้เจอน่า.....
แล้วล๊อต2มันอีกนานไหมครับกว่าจะมา จำนวน 12 หรือ 18 ไม่ได้ทั้งนั้นครับ แต่อยากให้ มาไวๆๆหน่อย
ตอนนี้ได้ครบฝูงแล้วครับ 12 ลำ เป็นอันว่ากระทู้นี้ปิดลงได้
ผมมีข้อคิดอย่างนี้นะครับ
1.กริฟเฟน กำลังจะมีรุ่นใหม่อยู่ ไม่ว่าจะเป็น E,Fหรือ NG,DK ถ้าจะเอามาอีก 6 ลำ น่าจะรอรุ่นใหม่ตามที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น
2.ในตอนนี้ 12 น่าจะรับมือไหว โยกงบไปซื้ออย่างอื่นก่อนดีไหม เช่น รถถังหลัก เรือดำน้ำ หรือ เฮลิคอบเตอร์ที่จะแทน ฮิวอี้
3.อดใจไว้ซื้อ ไลนิ่ง 2 ไปเลย รออีกนิดนึง เอางบไปซื้ออย่างอื่นก่อนนอกเหนือจากอาวุธในข้อ2 ในส่วนของ F-16 นั้นก็ให้อัพเกรดแบบสมบูรณ์ไปเพื่อที่จะมีปริมาณเครื่องบินขับไล่พอใช้ในปริมาณที่พอ
**แต่ยังไงผมเห็นควรให้ 1ฝูงบินขับไล่ควรมี 18 ลำแต่กรณี 701 นั้นบรรจะ12 ลำไปก่อนเพราะตามเหตุผลที่ผมให้ไว้ใน 3 ข้อ**
^
^
...ทำไมเราครม.ถึงอนุมัติกริเพนอีก 6 เครื่อง ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจยังไม่ดี...เหตุผลก็คือมันเป็นเรื่องของความมั่นคงของชาติ ที่เหล่าทัพมีความจำเป็นต้องคงความพร้อมรบตามหน้าที่ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ...และกริเพนจำเป็นต้องมีให้ครบฝูงเพื่อคงความพร้อมนั่นเอง...สรุปง่ายๆ คือความพร้อมรบของกองทัพยังไงๆ ก็ต้องมีถึงแม้เศรษฐกิจหรือการเมืองจะไม่ดีก็ตาม มากน้อยก็ว่ากันไป แต่อย่าถึงกับละเลยเหมือนช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
กรณี F-35 ผมว่าคงยังอีกนานสำหรับทัพฟ้าไทย ไหนจะความล่าช้าของโครงการ ไหนจะความต้องการจากหลายประเทศ รวมไปถึงแผนการปลดประจำการบ.รบของเรา สงสัยยังต้องคบหาสวีเดนอีกนาน เชื่อว่า กริเพนจะมาอีกสองฝูงเป็นอย่างน้อย
^
^
ท่านลองเหวี่ยงสายตาขึ้นไปอ่านที่ผมโพสไว้ซักนิ๊ดนะครับ.........F-35 ผมก้อยากได้ ทอ.ก็คงปฏิเสธไม่ลงเช่นกัน ถึงเรามีเงินเต็มกระเป๋าก็คงจัดหามาได้เร็วที่สุดก็ 20 ปีขึ้นไปนับจากเวลานี้....จนถึงเวลานั้นบ.ของเราคงจะร่อแร่เหมือน F-5 ที่ฝูง 701 เวลานี้....ด้วยเหตุผลดังกล่าวสนับสนุนไงครับว่าเราจะมีกริเพนมาลงที่ฝูง 211, 102, 103 ตามลำดับ ถึงตอนน้นถ้าเราได้คิวของ F-35 ก็คงมาแทน F-16MLU ที่ฝูง 403 ที่จะปลดเป็นลำดับสุดท้าย....
พูดว่าอนาคตไทยนำ F-35 เข้าประจำการ คิดก่อนป่าวที่พูด หากราคามัน
เท่า EF-2000 ตอนนี้ อนาคตงบเราไม่ต่างอยู่ดี ก็หมดสิทธิ
ผมไม่ได้ห้าวคิดแต่ติติงอย่าเพ้อฝันให้มันมากนัก ถึงตอนนั้นเข้าประกวด
แค่ สเตลท์จากรัสเซีย จีน และซาบที่ปรับเป็นล่องหน
เมื่อก่อน F-16 ก็แพงนิครับ เรายังได้ซื้อเลย ??? F-35 ไม่เห็นจะเฟ้อฝันตรงไหนเลย ถ้าอย่างงั้น F-16 ตอนนั้นก็คงเฟ้อฝันเหมือนกันซิครับ???
ปล.ผมว่าถึงจะเห็นต่างจากคุณๆก็ไม่สมควรไปว่าเขา ไม่คิดก่อนพูดนะครับ...