กองทัพเรือไทยไม่มีอาวุธป้องกันภัยทางอากาศเลย หากเกิดสงครามจริงกับประเทศที่มี su30 ติดbramos หรือ su27 ติด kh31 ความเร็ว 3-4 มัค ทั้ง2 แบบ เรือฟริเกตไทย ชั้น knox ทั้ง 2 ลำ ติดฟาลังค์ก็ไม่น่าจะรอด(เพราะฟาลังค์ยังไม่เคยยิงอะไรตกในการรบจริงๆ http://en.wikipedia.org/wiki/Phalanx_CIWS )
เรือชั้น นเรศวร 2 ลำก็ยังไม่มี missile มีแต่ปืน 37 คงจะไม่รอดอีกเช่นกัน
เรือ ชั้น สุโขทัย มี aspide ความเร็ว 2 มัค ต้องรับมือกับ kh31 ความเร็ว3-4 มัค แถม aspide เป็นเทคโนโลยี 20 ปีที่แล้ว โอกาสรอดไม่ถึง 50%
เรือจักรีนฤเบศ ติดระบบ sadral นำวิถีด้วย infrared ความเร็ว 2 มัค ไม่มีระบบคำนวนวิถีดักหน้า จะตาม kh31 ความเร็ว 3-4 มัค ทันได้อย่างไร
ส่วนเรือชั้นเจียงหู ชั้นปัตตานี คงไม่รอดแน่ๆ
ก่อนที่เราจะอยากได้เรือดำน้ำ หรือ f35 B มาประจำการบนเรือจักรี นี่ช่วยเอางบมา ซื้อ essm หรือ aster 15,30 หรือ ถ้าไม่มีงบก็ ซื้อ crotale naval ระยะยิง 20 km หรือ ที่คล้ายกันจาก รัสเซียก็ได้ ราคาแค่ 10-20 ล้าน us$ ระบบป้องกันภัยทางอากาศน่าจะจำเป็นมากกว่าเรือดำน้ำ f35 หรือ ฮ.sea hawk นะครับ
ในรูปข้างล่างติดบนเรือชั้น lafayette ครับ
เรือป้องกันภัยทางอากาศจากเกาหลีน่าจะจำเป็นรองลงไปจากระบบป้องกันภัยทางอากาศ ติดเรือชั้น สุโขทัย เจียงหู นเรศวร knox ปัตตานี และเรือจักรี ทั้ง 13 ลำครับ เพราะหากเกิดสงครามกับประเทศที่ประจำการด้วย su 30,su27 ติด bramos,kh31 เรือที่กล่าวมาทั้ง 13 ลำ คงรอดยาก เหลือแต่เรือป้องกันภัยทางอากาศที่ต่อใหม่จากเกาหลี 1-2 ลำ
ส่วนเรื่องระบบรัสเซีย จีน เข้ากับระบบ ยุโรปไม่ได้นั้น แก้ปัญหาได้ไม่ยาก เนื่องจาก รบบ crotale naval ของฝรั่งเศส และ ระบบ khatan เป็นระบบที่ใช้ระบบควบคุมการยิงของตัวเอง เรือจีนหลายๆลำก็ติด crotale naval ครับ แต่ถ้า crotale naval ติดไม่ได้ ก็ติด khatan ของรัสเซีย บนเรือจีน ส่วนเรือยุโรปก็ติด crotale naval 13 ลำ ใช้งบไม่ถึง 150 mus$ ราคานี้ซื้อ f 35 ได้ไม่ถึง 2 ลำ แต่ความคุ้มค่าต่างกันเยอะครับ
ผมว่าระบบ Kashtan ไม่น่าจะติดกับชั้นเจ้าพระยากับชั้นนเรศวรได้นะ เพราะนอกจากจะใหญ่แล้วยังหนักมากอีกด้วย ยิ่งเป็นแบบ Reload อัตโนมัติพื้นที่ใต้ตัวเรือก็น่าจะมีขนาดพอตัว คงยัดเข้าไปไม่ได้ ถ้าจะติดคงได้แค่เรือจักรีฯ กับสิมิลัน
เห็นด้วยครับ...ในเรื่องจุดด้อย การป้องกันภัยทางอากาศ...
ซึ่งตามแผนในโครงการ เรือชั้น นเรศวร คงติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศ แน่นอน...เพียงขณะนี้ ชะลอโครงการ...ซึ่งระยะเวลาในดัดแปลงปรับปรุง...คงไม่ได้ใช้ระยะเวลามาก...เมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณ...โดยผมว่า น่าจะทันการณ์กับ ภัยคุกคามที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้น...เมื่อ บ.รบ SU-30 หรือ SU-27 ที่จะมีประสิทธิภาพในการปล่อยอาวุธนำวิถี Kh31...
ผมไม่ยืนยันข้อมูล...แต่ในภูมิภาคนี้ Kh-31 ถ้าจะมีก็น่าจะเป็น มาเลเซีย...เท่านั้น....โดยติดตั้งบน Su-30 ที่เพิ่งจะได้รับมอบประจำการ...โดยขณะนี้ ผมว่า Su-30 ยังไม่มีนักบินพร้อมรบในทุกมิติ ขนาดนั้น...คงต้องใช้เวลาฝึก อีกพอสมควร....ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่เขาพร้อมรบ ทุกมิติ...ผมว่า ก็น่าจะทันกับที่ ทร. ได้รับอนุมัติงบประมาณ...
คราวนี้ ในมิติ ป้องกันภัยทางอากาศ แม้ ทร. จะไม่โดดเด่นในอาวุธที่ติดดั้งประจำเรือ...แต่มันยังมีระบบการเตือนภัย การตรวจจับของ ทอ. ที่ครอบคลุมอยู่...การที่ กองเรือ ถูกโจมตีจาก บ.ฝ่ายตรงข้าม ได้...ก็ต้องย่อมหมายถึง ประสิทธิภาพการตรวจจับของ ทอ. และ สอ.รฝ (ทร.) มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่...
(การที่ บ.ฝ่ายตรงข้าม สามารถบินมาปล่อยอาวุธนำวิถีในน่านฟ้าไทย และสามารถบินค้นหาจนพบกองเรือ...ในภาวะสงคราม...ก็น่าจะหมายความว่า ระบบตรวจจับอากาศของ ทอ. และ สอ.รฝ. จับเป้าหมายไม่ได้ ในระยะเวลาเพียงพอที่ ทอ. พร้อมจะส่งฝูงบิน ขึ้นสะกัดกั้น)
ซึ่งผมมองการถูกโจมตีด้วยอาวุธนำวิถีจาก บ. ในน่านน้ำไทย...ควรจะเป็น กรณีที่ บ. ได้เล็ดรอด หรือ มีชัย ในทางอากาศ ผ่านจากด่านการต่อต้านของ ทอ. แล้ว...
ในความหมายก็คือ ในแง่การป้องกันภัยทางอากาศ ยังพอมี ทอ. ที่จะช่วย ลด ข้อด้อยได้บ้าง....ซึ่งระบบประสานข้อมูล แต่เดิม ทร. ได้ทำ C3 I โดยได้ทำไปแล้วไม่ต่ำกว่า 2 เฟส ปัจจุบันไม่ทราบว่าครบเฟส ตามโครงการรึยัง.....โดยระบบดังกล่าวจะเชื่อมข้อมูลเข้ากับ ระบบของกองทัพไทย ซึ่งหมายถึงรวมกับ ทอ. ด้วย..
แต่ในมิติ ภัยคุกคามใต้น้ำ ที่เกิดมานานแล้ว โดย กองเรือไทย ยังไม่มีระบบการป้องกันภัยคุกคาม ที่เพียงพอ...โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน...ในขณะที่ กำลังจะมีภัยคุกคามจากเรือดำน้ำ ที่อนาคตกำลังจะมีประจำการเพิ่มมากขึ้น....แต่ระบบอาวุธของ ทร. ยังเท่าเดิม เพียงแต่ปรับปรุงระบบโซนาร์ เท่านั้น....
ซึ่งในการมีประจำการด้วย เรือดำน้ำ ยังต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง เฉพาะตัวเรือและความพร้อมรบของตัวเรือ ไม่น่าจะต่ำกว่า 5 ปี...และระยะเวลาในการฝึกของบุคคลากร กับ เรือดำน้ำ ที่ประจำการ ก็ไม่น่าจะน้อยกว่า 5 ปีเช่นกัน...รวมระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี...ที่ เรือดำน้ำ จะมีศักยภาพ พร้อมรบเป็นที่วางใจได้...
ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่มีแนวโน้มการจัดหา หรือ สั่งซื้อ ในระยะ 1-2 ปีนี้...
โดยตัวเลขสมมติว่า มีการอนุมัติในอีก 2 ปีข้างหน้า...อีกประมาณ 1 ปี มีการคัดเลือกแบบและลงนามในสัญญา...อีกระยะ 5 ปี ในการก่อสร้างและตัวเรือพร้อมใช้...รวมกับระยะเวลาอีกประมาณ 5 ปี ที่ฝึกสร้างความชำนาญ และพร้อมรบมีศักยภาพตามยุทธการ...รวมระยะเวลาขั้นต่ำ 13 ปี...ซึ่งถ้ามีขยายระยะเวลาการจัดหาไปเรื่อย ๆ...เวลามันก็จะบวกเพิ่มไปเรื่อย เป็น 14-15-16 ปี ตามลำดับ...
ในขณะที่ เวียดนาม น่าจะเริ่มมีเรือดำน้ำเข้าประจำการในอีก 5 ปีข้างหน้า...และถ้าใช้สมมติฐานในตัวเลขระยะเวลาเดียวกันในการพร้อมรบ...ในอีก 10 ปีข้างหน้า เวียดนาม ก็พร้อมรบด้วยเรือดำน้ำแล้ว...
ส่วนมาเลเซีย ใช้สมมติฐานระยะเวลาเดียวกัน ในอีก 5 ปีข้างหน้า เรือดำน้ำก็พร้อมรบแล้ว...เพราะเรือดำน้ำ เข้าประจำการแล้ว
สิงคโปร์ ใช้สมติฐานระยะเวลาเดียวกัน ในอีก 5-6 ปี ข้างหน้า เรือดำน้ำที่กำลังจะประจำการใหม่ ก็พร้อมรบแล้ว เพราะเรือดำน้ำ เตรียมเข้าประจำการแล้ว
อินโดนีเซีย ปัจจุบันก็พร้อมรบด้วยเรือดำน้ำอยู่แล้ว....แต่กำลังจะมีเพิ่มขึ้น...ครับ...
เรือชั้นนเรศวรจะมีการติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศแน่นอนครับ ถ้าจะไม่ผิด เมื่อปีงบประมาณ 51 หรือ 52 (จำไม่ค่อยได้) ทร.ได้เสนอแผนแบบการปรับปรุงเป็นวงเงินทั้งสิ้น 3800 ล้านบาท แต่ถูกตีกลับมาให้พิจารณาใหม่ ซึ่งในปีงบประมาณ 53 ทร.ก็ได้ยื่นแผนแบบการปรับปรุงอีกครั้ง โดยปรับลดงบประมาณในการปรับปรุงเหลือ 3000 ล้านบาท แต่ก็ดันมาเจอวิกฤตเศรษฐกิจเสียก่อน...เลยต้องรอปีงบประมาณหน้า
SA-400 ถอยมาเลยจบ
ล้อเล่นนะครับ
ผมเกลียดคำว่า ระบบเราเป็นของตะวันตกเมกา
ไม่เข้ากับระบบอาวุธรัสเซีย จีน
ผมว่าบุคลากรที่ทำงาน พวกเขาคงไม่ดักดานเหมือน
นายทหารแน่ๆ ข้อร้องอย่าคิดแทนยัดเยียดให้พวกเขา
ใช้ GT-200 คนอย่างผมวัยย่างเข้าเลข4ยังชอบศึกษา
ค้นคว้า (พูดแล้วเดี่ยวรุนแรงอีก)