ระหว่าง A-19 Gotland ของสวิเดน และAmur 1650 รัชเชีย เรือดำน้ำชนิดใหนเหมาะกับไทยมากกว่ากัน
แล้วถ้าชื้อจริงๆราคาตกลำละเท่าไรครับ
ทร. ตั้งวงเงินงบประมาณไว้ 500 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาครับ...
ก็อยู่ที่ใครจะเสนอเงื่อนไขที่ดีกว่าในราคาดังกล่าว..ซึ่งผมว่า ถ้า ทร. ยังใช้เงื่อนไข ของราคาเป็นตัวกำหนด ระหว่าง 2 แบบนี้ เรือ รัสเซีย น่าจะมา..
ส่วน Gotland ถ้าจะมาตอนนี้ ก็น่าจะเป็นเรือมือสอง มากกว่า สร้างใหม่....อาจจะใช้เงื่อนไขเดียวกับ สิงคโปร์...และงบประมาณอาจจะลดลงเหลือ 250 ล้านเหรียญก็ได้...โดยได้มา 2 ลำเลย...
แต่ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ใน 2 แบบนี้...ผมว่า เรือจีน (ถ้าเข้าร่วมแข่งขันด้วย) อาจจะเข้าเส้นชัยแทน....เพราะตอนนี้ พี่บิ๊กจิ๋ว คัมแบ็ค มาแว๊ววววววว....
แต่ถ้า ทร. เปลี่ยนรูปแบบ โดยให้คำนึงถึงคุณสมบัติ มากกว่าราคา...คือ...ถ้าเรือตามคุณสมบัติที่ต้องการ ราคาลำละ 350 ล้านเหรียญ ในวงเงินจะได้เรือดำน้ำเพียง 1 ลำ...กับ เรือแบบที่ 2 ซึ่งตรงกับความต้องการประมาณ 60-70% ซึ่งน้อยกว่าแบบที่ 1 แต่จะได้ 2 ลำ...ทร. ก็ตัดสินใจที่จะซื้อ ลำเดียว คือเรือแบบที่ 1 จำนวน 1 ลำ...นั่นแหล่ะครับ...ถึงจะได้ลุ้นเรือฝั่งตะวันตก หรือ ยุโรป...แต่ยังใช้ ราคา เป็นตัวกำหนดให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ...ผมว่าแบบเรือ จะเป็นฝั่งรัสเซีย หรือ จีน มากกว่า....
เอาเป็น AMUR 950 แต่ใส่เครื่อง เยอรมัน โซนาร์เยอรมัน ได้ป่าว...
เพราะรู้สึกว่า หยวน จะใหญ่เหมือนกันน๊า...สูงประมาณ 10 เมตร...สมมติแล่นอยู่แถว ๆ เกาะกูด....ความลึกประมาณ 20-30 เมตร...กลัว ผบ.สั่ง โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ยังไม่ทันสิ้นเสียงคำสั่ง ก็โผล่พรวด ขึ้นผิวน้ำแล้วอ่ะ....
ซึ่ง มิติ AMUR 950 น่าจะใกล้เคียงกับ Type-212 หรือเล็กกว่าเล็กน้อย...และ Type-212 เล็กกว่า หยวน พอสมควรอย่างน้อยความยาว ก็น่าสั้นมากกว่า 10 เมตร...
งานนี้โหวตให้ Amur 1650
เรือรบของเรา ที่ต่อจากจีนนั้น...ชั้น เจ้าพระยา...จีน ไม่ยอมให้ติดตั้งอาวุธจากตะวันตกเองครับ...
ส่วนชั้น นเรศวร น่าจะถูกจำกัดด้วยงบประมาณ (เพราะสั่งซื้อตอนช่วงวิกฤติเศรษฐกิจพอดี) เลยต้องจำยอมในระบบบางอย่าง ที่ต้องใช้ของจีน...
ส่วนชั้น ปัตตานี ตัวเรือเป็นจีน เท่านั้น...นอกนั้นไม่มีระบบของจีนเลย...เพราะเราซื้อตอนมีเงินแล้ว...ขณะนี้ก็ยังไม่มีปัญหาการใช้งาน...
ในความเห็นส่วนตัว...ผมว่าไม่น่าจะเป็นปัญหานะครับ...ถ้า เครื่องยนต์ และโซนาร์ เป็นของฝั่งตะวันตก...เพราะไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอาวุธ...หรือการส่งข้อมูลภายนอก เป็นการใช้งานภายในเรือ....ที่อาจจะเป็นปัญหา อาจจะเป็นระบบการส่งข้อมูล (ถ้าใช้ของรัสเซีย) เพื่อให้เข้ากับ C3 I ของ ทร. เพื่อประสานการรบกับเรือลำอื่น...อันนี้ผมไม่รู้เหมือนกัน....
เหอะๆป๋าครับ จริงๆแล้วตัวเรือก็ใช้แค่ช่างจีนกับ อู่จีนครับ....แต่เหล็กที่ใช้ ซื้อจากญี่ปุ่น.....หุหุ
AMUR 950 รู้สึก รัสเซีย จะเปิดตลาด เรือดำน้ำ Littoral warfare เป็นแบบแรกในตลาดเรือดำน้ำ....ซึ่งเรือในขนาด 1,000 - 1,200 ตัน ขณะนี้ไม่มีใครผลิต ยกเว้นแต่ สวีเดน ที่ สิงคโปร์ จัดหาไปประจำการเรียบร้อยแล้ว แบบมือสอง ปรับปรุงใหม่ เตรียมเข้าประจำการ....
ซึ่งถ้า ทร. เน้นการป้องกัน มากกว่า เชิงรุก...ผมว่าเรือขนาดนี้ ก็ดูจะแคล่วคล่อง ดี สำหรับน่านน้ำ ความลึกอ่าวไทย...ในส่วนด้าน อันดามัน ก็อาจจะดูเล็กเมื่อเทียบภัยคุกคามในฝั่งด้านนั้น...แต่ผมว่า...ด้วยขนาด กับ ยุทธศาสตร์ของ ทร. ที่เน้นเรือรบผิวน้ำ ขนาด 2,000 ตัน...มันก็ดูสมส่วนกันดี...
สำหรับมาเลเซียที่จัดหา สกอร์ปิเน่ เพราะน่านน้ำที่จะเป็นข้อพิพาท เช่น หมู่เกาะสแปรลี่ย์ และ ฝั่งอันดามันช่องแคบมะระกา เป็นทะเลลึกขนาด 100 ม. - 200 ม. บางช่วงก็มากกว่า 200 ม. ซึ่งก็ต้องจัดหาเรือดำน้ำขนาดประมาณนั้น...ในขณะ ฝั่งอ่าวไทย ถัวเฉลี่ย 40 ม. - 60 ม. แถว ๆ สัตหีบ อาจจะประมาณ 20 ม. ยกตัวอย่างเช่น เรือชั้น กิโล สูงประมาณ 9.9 ม. ถ้าไปดำแถวนั้น....ยังไม่นับรวมระยะห่างจากพื้นทะเลมายังตัวเรืออีก ก็จะเหลือช่องระหว่าง ปลายบนสุดของเรือกับ ผิวน้ำ น้อยกว่า 10 เมตร...(ก็ประมาณความลึกสระว่ายน้ำ 5 ม. ของ ม.เกษตร ต่อกัน 2 สระ) ซึ่ง AMUR 950 จะสูงประมาณ 5.6 เมตร หรือ 6 เมตร ไม่แน่ใจ...ยังมีช่องว่างระหว่างผิวน้ำให้ดำเล่นมากกว่า....ซึ่ง Type-212 ก็จะมีความสูงประมาณ 6 เมตร เช่นกัน....
ส่วน สิงคโปร์ ในน่านน้ำ ที่อาจจะเกิดข้อพิพาท ความลึกระดับสูงสุด ก็น่าจะประมาณ 40 - 60 ม. ก็เลยจัดหาเรือขนาด 1 พันตันต้น ๆ...ไม่ได้จัดหาเรือขนาดใหญ่...แต่ตอนนั้น ตัวเก็งของ สิงคโปร์ ก็เป็น Type-206 มือสอง ของเยอรมัน...แต่ สิงคโปร์ เขี้ยวไปหน่อย...เรื่องมากไปนิ๊ด...เยอรมัน เลยไม่สนใจ...สวีเดน เลยมาเสียบแทน....
ซึ่ง เวียดนาม จัดหา เรือชั้น กิโล เข้าประจำการ เมื่อเทียบกับความลึก บริเวณหมู่เกาะสแปชรี่ย์ ที่ประมาณ 100 ม. กับ ความสูงประมาณ 9.9 ม. ก็ยังเหลือผลต่าง ปลายบนสุดของเรือกับ ผิวน้ำอีกกว่า เกือบ 10 เท่าตัว...หรือทะเลด้านแปซิฟิก มันก็เหมาะสมกับขนาดเรือ....
Amur 950 2 ลำ อ่าวไทย
Amur 1650 2 ลำ อันดามัน
ปล. ขอเป็น เครื่องยนต์เยอรมันกับเครื่องในตะวันตก
http://www.youtube.com/watch?v=Kiv9r7ytBX0
ขอมูลและภาพของ AMUR 1650
ฝากข้อมูลให้ท่าน Ronin ครับ...ทำไว้โพสนานแล้ว...ระดับความลึกอ่าวไทย และอันดามัน...ข้อมูลอาจจะเปลี่ยนแปลงไป...ไม่ยืนยันข้อมูลครับ...
อาณาเขตน่านน้ำ ของแต่ละประเทศ...
ฐานทัพเรือดำน้ำของ มาเลเซีย จะอยู่ทางรัฐซาบาร์....
ก็คือถ้าจะจาก ฐานเรือดำน้ำ ก็ต้องเข้าทางหมู่เกาะสแปชรี่ย์ หรือผ่านน้ำ บรูไน เวียดนาม หรือ อินโดนีเซีย ถ้าจะปิดอ่าวทางเดินเรือทะเล...
เว้นแต่ มาจาก ฐานทัพเรือลูมุต...
แผ่นภาพเปรียบเทียบ ความลึกระดับอ่าวไทย กับ ความสูงของเรือดำน้ำ แต่ละแบบ...โดยตัวเลขความสูงของเรือดำน้ำ ยังคลาดเคลื่อน เนื่องจากโดยข้อมูลที่ปรากฎ โดยส่วนใหญ่จะเป็นความกว้าง และความยาวของ แคปซูล เรือดำน้ำ ไม่ค่อยมีข้อมูลความสูงรวมความสูงที่เก็บกล้องเรือและเสาเรดาห์ ด้วย....ซึ่ง ผมจำไม่ได้แล้ว...ว่าเอาตัวเลขตามในแผ่นภาพ มาจากไหน...แต่ก็ดูไว้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ ครับ...
ซึ่งเรือขนาดใหญ่ 1,600 - 2,000 ตัน จะมีขนาดความสูงของเรือมาก เมื่อเทียบกับระดับความลึกที่ 20 เมตร ผมดำไป ก็เห็น...และถ้าระดับความลึก 30 ม. ความสูงของเรือกับระดับพ้นผิวน้ำ ก็น่าจะต่างกันประมาณ 1 เท่าตัวเท่านั้น...
ซึ่งดู ๆ แล้ว เรือ Type -212 และ 214 และ 209 ของเยอรมัน ด้วยขนาดมิติของเรือ ดูจะเหมาะสมกับทะเลขนาดอ่าวไทย ถ้าเทียบกับแบบอื่น...
ผมเลยเชียร์มาทาง AMUR 950 ที่มิติของเรือจะใกล้เคียงกับ Type-212 และน่าจะเล็กกว่า...โดยเขี้ยวเล็บ ก็พอสมควร...ถ้า ทร. เน้น ที่ป้องกันทางอ่าวไทย...
จากแผ่นภาพที่ 2 ในกรณีหมู่เกาะ สแปชลี่ย์...มาเลเซีย ในปัจจุบัน ถ้ามีภัยคุกคามจากเรือดำน้ำ ก็จะเป็น จีน กับ เวียดนาม...และ กรณีเกิดข้อพิพาทในน่านน้ำ กับ อินโดนีเซีย...
กรณีกับไทย...ในส่วนที่จะเป็นข้อพิพาท...คือ 3 จังหวัดชายแดน...ซึ่งจะทำแนว เศรษฐกิจทะเลไทย เปลี่ยนแปลงไป...ซึ่งจะครอบคลุมถึงแหล่งพลังงาน เขตสามเหลี่ยม ไทย-มาเลเซีย ด้วย...
เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ครับ...
อนาคต ถ้ากลัวจะมีปัญหากับ อาวุธทางเรือของ รัสเซีย...คงต้องปรึกษา Thales...ซะแว๊วววว...
29 June 2009
This amendment to the MoU, signed by Igor Sevastianov, Rosoboronexport Deputy General Director and Marc Darmon, Senior Vice President of Thales, Head of the Naval Division, allows the opening of co-operations in the naval domain.
This amendment will reinforce the partners potential for technological innovation and competitiveness of their commercial offers thus providing better access to new markets, in particular for export.
"Both our groups have a rich expertise to fulfil navies requirements. With our cooperation, we expect sharing our best know-how to deliver new competitive solutions in the world markets," said Marc Darmon.
"The cooperation with Western partners in the high-tech sector is very promising for the activities of Rosoboronexport. We know the high quality value of the systems produced by Thales. We are convinced that these partnerships will increase the export opportunities of theses joint developments in the international defence market, " said Igor Sevastianov.
About Thales:
Thales is a global technology leader for the Aerospace, Space, Defence, Security and Transportation markets. In 2008, the company generated revenues of 12.7 billion euros with 68,000 employees in 50 countries. With its 25,000 engineers and researchers, Thales has a unique capability to design, develop and deploy equipment, systems and services that meet the most complex security requirements. Thales has an exceptional international footprint, with operations around the world working with customers as local partners. www.thalesgroup.com
เห็นด้วยกับคุณลมหมุนวนครับซื้อของที่เขาง้อเราซื้อดีกว่า
เพราะย่อมได้ของดีกว่าที่เราไปง้อเขาอย่างเรือดำน้ำเรา
ก็ไม่เคยมีดังนั้นตัดปัญหาเรื่องความไม่เข้ากันของระบบนาโต้
ไปเลยของเมกายิ่งไม่ต้องพูดถึงเพราะเมกาเองก็ไม่มีเรือดำน้ำ
แบบธรรมดาหรือแบบดีเซลใช้งานเลยแม้แต่ลำเดียวและไม่มี
ผลิตออกขายด้วยดังนั้นเราอยากซื้อของรัสเซียหรือจีนได้เลย
ไม่ต้องห่วงของตะวันตกก็แพงลำหนึ่งเกือบเท่างบประมาณที่
เราตั้งใว้ถูกสุดก็ของสวีเดนอย่างเอ-19ซึ่งตอนนี้กลายเป็นมือ
2ไปแล้วถ้าอยากได้ของใหม่ต้องอาร์เมอร์950สำหรับอ่าว
ไทยส่วนฝั่งอันดามันต้อง1650ผมขอสนับสนุนให้ซื้อของ
รัสเซียดีที่สุดถูกด้วยประสิทธิภาพเยี่ยมไม่แพงเวอร์เหมือน
ของชาติตะวันตกของรัสเซียก็ใช่ว่าเลวร้ายเสมอไปบางอย่าง
ดีกว่าชาติตะวันตกซะด้วยซ้ำขึ้นอยู่กับเราจะซื้อมาหรือ
เปล่าอย่างจรวดต่อสู้รถถังของเขาก็สามารถจัดการรถถังM-1
A-2ที่ถือดีเยี่ยมของเมกาได้ภายในลูกเดียว
สเปกเรือ อาเมอร์ โดยทั่วไปก็ตามที่ปรากฎใน กูเกิ้ล แหล่ะครับ...แต่รู้สึกว่า สมรภูมิ เคยลงข้อมูลบ้างในสมัยที่ รัสเซีย เสนอแบบเรือดำน้ำ เพิ่มเติมจากชั้น กิโล...ซึ่งผมว่าจะสแกนมาให้อ่าน แต่ยังไม่ได้ทำสักที ตามกระทู้เดิม เรื่อง เรือดำน้ำ...แต่ข้อมูลก็รู้สึกจะไม่ค่อยมากเท่าไหร่...ถ้าผมจำไม่ผิด...เลยไม่ค่อยกระตือรือร้นที่จะสแกน หุ หุ หุ...
เสนอความคิดเห็นตามคำถามท่าน Nine...เรือพี่เลี้ยง เรือดำน้ำ ก็น่าจะมีครับ...ในเรื่องการกู้ภัย ก็น่าจะมีในระดับหนึ่ง...ซึ่ง เรื่องความปลอดภัยของลูกเรือ ดูเหมือนว่า สวีเดน จะค่อนข้างมั่นใจในเรื่องนี้ สำหรับเรือดำน้ำของเขามากครับ...ซึ่งในระดับความลึกของอ่าวไทย...น่าจะอยู่ในความสามารถของ ทร. อยู่แล้ว...แต่ถ้าในฝั่งอันดามัน อาจจะเหนื่อยหน่อย...
เรื่อง เรือดำน้ำ กับ เรือปราบเรือดำน้ำ ในความเห็นส่วนตัว มันก็ต้องมีทั้งคู่ครับ...เพราะมันใช้งานกัน ตามแต่ละสถานการณ์...บางที เรือดำน้ำ ที่เรามี มันอาจจะไม่อยู่ในบริเวณที่ เรือดำน้ำ ฝ่ายตรงข้าม ปฏิบัติการ...เรือปราบเรือดำน้ำ ก็ต้องปฏิบัติการ...หรือ เรือปราบเรือดำน้ำ ก็ทำหน้าเป็นคุ้มกัน เรือสินค้า ถ้ามีแนวโน้มจะถูกคุกคามจากเรือดำน้ำ...
เรือปราบเรือดำน้ำ ผมว่า ทร.ไทย ถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านน่าจะจัดเป็น อันดับ 1 เพราะมี ทั้งชั้น ร.ล.ตาปี 2 ลำ ร.ล.มกุฎราชกุมาร 1 ลำ เรือชั้น รัตนโกสินทร์ 2 ลำ เรือชั้น พุทธยอดฟ้าฯ 2 ลำ และเรือชั้น คำรณสินธุ อีก 3 ลำ รวม 10 ลำ...เมื่อเทียบกับน่านน้ำที่รับผิดชอบ...ซึ่งในขณะที่เราจัดหาประจำการเรือทั้งหมดนี้ ยังไม่มีภัยคุกคามจากเรือดำน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน มีเพียง อินโดนีเซีย จำนวน 2 ลำ เท่านั้น...
ส่วน อินโดนีเซีย มีจำนวนเรือคอร์เวต ปราบเรือดำน้ำ มากก็จริง (ชั้น ปราจิม 2 ของรัสเซีย ซื้อจากเยอรมัน ประมาณ 14 ลำ มากกว่าเรา 4 ลำ)...แต่เมื่อดูถึง น่านน้ำที่รับผิดชอบ กับภัยคุกคาม ( เรือชั้น คอลลินด์ ของ ออสเตรเลีย และ น่านน้ำที่ติดกับประเทศ อินเดีย ) ก็ยังไม่เพียงพอ จึงต้องจัดหา เรือดำน้ำ เพิ่มเติม อีกจำนวนมาก...
ส่วนมาเลเซีย ผมว่าแทบจะไม่มี คือ ต้องอาศัยภาระกิจรอง จากเรือรบที่มีภาระกิจหลักต่อต้านผิวน้ำ...
ส่วน สิงคโปร์ มีแต่เรือเร็วตรวจการณ์ติดท่อยิงตอร์ปิโด...โดยเพิ่งจะมีเรือที่มีภาระกิจ สามารถต่อต้านเรือดำน้ำในน้ำลึก ก็คือ เรือชั้น ฟอร์มิเดเบิล จำนวนไม่เกิน 5 ลำ...
เคยมีหลายคนเคยบอกว่าอ่าวไทยไม่เหมาะกับเรือดำน้ำ
เพราะตื้นมากอีกทั้งน้ำทะเลใสแจ๋วสามารถมองเห็นจาก
เครื่องบินได้ความคิดนี้ผิดโดยสิ้นเชิงจากการซ้อมรบที่
ผ่านๆๆๆการค้นหาเรือดำน้ำแบบว่าเห็นกันอยู่เลยบอกว่าจะ
ดำแล้วนะพี่ไทยเราขนทุกอย่างที่มีค้นหาเรือดำน้ำลำนั้น
แต่หายังงัยก็หาไม่เจอจนเขาจุดพลุสัญญาณขึ้นมาถึงรู้ว่า
เราแพ้เขาโดยสิ้นเชิงแต่มีแต่มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราดัน
เชื่อความคิดที่ว่านี้ทำให้เรื่องจัดหาเรือดำน้ำถูกพับเข้าลิ้นชัก
ไปไม่รู้กี่รอบแล้วชักเข้าชักออกทำยังกับเล่นชักคะเย้อกัน
พอจะจัดหาที่ไรก็ขุดความคิดแบบนี้ขึ้นมาคัดค้านทกครั้งไป
บอกว่าเอามาทำไมอ่าวไทยตื้นจะตายเดี้ยวเขาก็หาเจอ
เสียดายงบประมาณเปล่าสู้เอาเงินไปใช้อย่างอื่นดีกว่าเช่น
จัดหาเรือตรวจการปราบเรือดำน้ำดีกว่าแทนที่จะซื้อเรือดำน้ำ
นี้แหละคือเหตุผลที่ว่าทำไมเมืองไทยเราถึงไม่มีเรือดำน้ำกับ
เขาเสียทีทั้งๆๆๆทีเราเคยมีเรือดำน้ำมาก่อนใครในละแวกนี้แต่
ก็เมื่อเกือบ80ปีที่แล้วถ้าเหตุผลที่เขาชอบมาอ้างนั้นเป็นจริง
ทำไมเรือดำน้ำชั้นมัจฉานุถึงดำได้ดำดีในอ่าวไทยไม่ติดทราย
ใต้ทะเลที่บอกว่าตื้นนะ