เนื่องจาก เครื่องคอมฯ ที่บ้านผม น่าจะเป็น วินโดว์ Home เวลาเข้าเว๊ป TAF จะต้องคอย รีเฟรส หน้าจอเสมอ ไม่งั้นหน้าจอมันจะเป็นสีขาว และตัวอักษรจะซ้อนทับกัน...
ทำให้ ณ เวลา 6.50 น. ยังไม่สามารถสมัครสมาชิกได้...(ต้องไป สมัครสมาชิกคอมฯ เครื่องที่ทำงาน) เพราะหน้า ลงทะเบียน ผมก็ต้อง รีเฟรส ด้วย...ทำให้ ลงทะเบียน เบิ้ล ไป...
พอดีวันนี้ เห็นกระทู้น่าสนใจดีครับ...เลยอยากร่วมแสดงความเห็นด้วย ตามนี้ครับ
http://www.thaiarmedforce.com/forum/viewtopic.php?f=6&t=861&start=135
ความเห็นผม
กล่อง C-802 สามารถติดตั้งเป็น แท่น 3 ได้ ครับ...
ดังนั้น ร.ล.สายบุรี และ ร.ล.กระบุรี จะสามารถติตดั้ง C-802 ได้สูงสุดลำละ 12 ลูก
และ โดย จีน จะมีกล่องให้เพิ่มลำละ 4 กล่อง ทำให้เรือแต่ละลำมี 16 กล่อง คือ
ของเดิม จะติดประจำเรือ 8 กล่อง สำรอง 4 กล่อง รวม 12 กล่อง...จีนให้เพิ่มอีก 4 กล่อง รวมเป็นลำละ 16 กล่อง ต่อ ลำ
จะทำให้ เรือชั้น สายบุรี ถ้าเกิดภาวะสงคราม และมีการติดตั้งจรวดในอัตราปกติที่ ลำละ 8 ลูก...จะมี C-802 จำนวน 1 เท่า...ที่เตรียมพร้อมอยู่ในกล่องอีก 8 ลูก พร้อมติดตั้งทันที...
หรือถ้าติดตั้งประจำเรือ ลำละ 12 ลูก จะมี C-802 จำนวน 1/2 เท่า ที่เตรียมพร้อมอยู่ในกล่อง ( 6 ลูก ) พร้อมติดตั้งทันที....
ระยะโครงการ 3 ปี
ปีนี้ ปีที่ 1 มีการทดสอบและทดลอง ติดตั้ง และรับมอบแล้ว 13 ลูก...
ปีที่ 2 ถึง ปีที่ 3 น่าจะรับมอบอีก ปีละไม่ต่ำกว่า 12 ลูก...
รวมในโครงการ ผมว่า C-802 คงมีประจำการไม่ต่ำกว่า 36 ลูก....
ส่วน C-801 เมื่อรวมเรือทั้ง 4 ลำ น่าจะมีไม่ต่ำกว่า 64 ลูก...เมื่อ ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง จัดความพร้อมของ C-801 เหมือนกับ C-802 คือ มีจำนวน 1 เท่า...คือ ประจำเรือ ลำละ 8 กล่อง มีกล่องพร้อมบรรจุสำรองอีก ลำละ 8 กล่อง รวมลำละ 16 กล่อง เท่ากัน...ก็จะมีจรวดพร้อมรบอยู่ รวม 36 กล่องง
เรือชั้น เจ้าพระยา จึงจะมีโอกาส
ความสามารถต่อต้านระยะ 100 ก.ม. ขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 36 ครั้ง
ความสามารถต่อต้านระยะ ไม่เกิน 45 ก.ม. ไม่ต่ำกว่า 36 ครั้ง
รวมความสามารถต่อต้านระยะ ไม่เกิน 45 ก.ม. ไม่ต่ำกว่า 72 ครั้ง...
ก็จัดได้ว่า ความสามารถต่อต้าน ผิวน้ำ แบบ พื้น สู่ พื้น แค่เรือเพียงชั้นเดียว ก็ไม่เบา เลยครับ...
เอ๊า....ตาย..คูณผิด...16 x 2 มันต้องได้ 32 ซิ...ทำไมเป็น 36 หว่า...
อืมมม...พอดี ผมลืมอธิบายไปว่า...ในความเห็นของผม 36 ลูก มาจาก...
1. ประจำเรือ ลำละ 8 ลูก รวม 2 ลำ เท่ากับ 16 ลูก
2. สำรอง ลำละ 8 ลูก รวม 2 ลำ เท่ากับ 16 ลูก
3. จีนให้เพิ่ม ลำละ 4 ลูก รวม 2 ลำ เท่ากับ 8 ลูก แต่ผมไปรวมเป็นเท่ากับ 4 ลูก ซึ่งถ้าคำนวณตามนี้ C-802 ก็น่าจะมีไม่ต่ำกว่า 40 ลูก
ซึ่งจะไม่เท่ากับ กล่อง
1. กล่องประจำเรือ ลำละ 8 กล่อง รวม 2 ลำ เท่ากับ 16 กล่อง
2. สำรอง 4 กล่อง รวม 2 ลำ เท่ากับ 8 กล่อง
(รวมลำละ 12 กล่อง)
3. จีนให้เพิ่ม ลำละ 4 กล่อง รวม 8 กล่อง
(รวมลำละ 16 กล่อง)
รวมทั้งสิ้น มีกล่องยิง 32 กล่อง
รวมทั้งหมด กล่องยิง 32 กล่อง และ C-802 จำนวน 40 ลูก
คำถาม ? กล่องยิง เมื่อยิงเสร็จแล้ว...นำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่ ?
ท่านเด็กทะเล...ระบบบอกให้รออีกสักหน่อยครับ...แต่ผมคิดว่า น่าจะยังเป็นปัญหาเหมือนเดิม เพราะเครื่องคอมฯ ที่บ้านผม...เดี๋ยวนี้ มักจะมีปัญหากับเว๊ปรูปแบบใหม่ ๆ ครับ...เปิดหน้าหนึ่งที บางครั้งต้องคอย รีเฟรส ตลอดครับ...เหมือนกับความเร็วหรือความละเอียดหน้าจอของผมไม่ได้ครับ....คงไว้ค่อยสมัครสมาชิกเครื่องที่ทำงานครับ...
ดังนั้น คงต้องรวมความหมายใหม่...
เป็น เรือชั้น เจ้าพระยา มีโอกาสต่อต้าน เรือผิวน้ำ ในลักษณะพร้อมรบ
ในระยะไกลกว่า 100 ก.ม. จำนวน 32 ครั้ง
ในระยะไม่เกิน 45 ก.ม. จำนวน 64 ครั้ง
ทร.ไทย ในเพียงเรือชั้นเดียว คือชั้น เจ้าพระยา เมื่อเทียบกับ เรือขนาดฟริเกต ในประเทศเพื่อนบ้าน
มาเลเซีย
ชั้น ลิเคียว MM-40 รวมประจำเรือ 16 ลูก สำรอง 16 ลูก (คาดเดา) รวม 32 ลูก
ชั้น Kastori MM-40 รวมประจำเรือ 16 ลูก สำรอง 16 ลูก (คาดเดา) รวม 32 ลูก
รวมทั้งสิ้น 64 ลูก
สิงค์โปร์
ชั้น Formidable-Harpoon รวมประจำเรือ 48 ลูก สำรอง 24 ลูก (คาดเดา) รวมทั้งสิ้น 72 ลูก (คำนวณจากเรือจำนวน 6 ลำ โดยเรือ RSS.Supreme ยังไม่ได้ประจำการ)
อินโดนีเซีย
ชั้น Ahmad Yani-Harpoon รวมประจำเรือ 48 ลูก สำรอง 24 ลูก (คาดเดา) รวม 72 ลูก
หมายเหตุ ไม่นับรวมเรือ คอร์เวต โอพีวี เรือเร็วโจมตี
อ๋อ...ผมนึกได้แล้ว...
ถ้าเราสังเกตุรูป จะเห็น ทร. ติดตั้ง C-802 แท่น 2 จำนวน 3 แท่น จะเท่ากับ 6 ลูก...ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัย ทำไม ไม่ติดให้ครบ 8 ลูก ?
จึงเป็นไปได้ว่า ทร. อาจจะเปลี่ยนติดตั้ง แท่น 4 จำนวน 3 แท่น แทน...ก็จะได้ C-802 ประจำเรือ 12 ลูก พอดี...
สมัครได้เรียบร้อยแล้วครับท่าน...
พอดีเมื่อตะกี้ ลองสังเกตุดี ๆ มันจะมีให้กรอก รหัส สมัครสมาชิก...ผมดันไม่ได้กรอกลงไป...เลยทำให้สมัครสมาชิกไม่ได้...พอดีหน้าจอผม มันเป็นสีขาว ไม่ใช่สีน้ำเงิน เลยมองไม่ค่อยเห็นครับ...พอดี แก่แล้ว...สายตาฝ้าฟาง...ผมเห็นได้แต่ เด็กหน้าใส ๆ น่ะครับ...ที่พอจะชัดเจนครับ...กั๊ก กั๊ก กั๊ก...
ว่าจะเปลี่ยนเหมือนกันครับท่านเด็กทะเล...แต่กะว่า จะเปลี่ยนเป็น โน๊ตบุ๊ค แทน...แต่ก็เกรงว่า ถ้าเรามี โน๊ตบุ๊ค เมื่อไหร่...บริษัทฯ ก็จะสามารถให้ผมทำงานได้ตลอด 24 ช.ม. น่ะซิ...เลยเอาไว้เครื่องคอมฯ มันสุด ๆ ก่อนครับ...ตอนนี้ เครื่องผมก็เหลือเนื้อที่ว่างสำหรับข้อมูลประมาณ 1 กิ๊กเองครับ...กะเอาให้ไม่เหลือ 5 5 5 5
ปืนเรือก็มีความสามารถ ต่อต้านเหมือนกันครับ (JMSDF ให้ความสำคัญพอๆ กับ อาวุธนำวิถี ครับ)...ถ้าฝึกบ่อย ๆ...5 5 5 5
ตามกระทู้ใน TAF ที่ท่าน bravo3 เคยแจ้งไว้ ในเฟส 3 เรือชั้น กระบุรี จะทำการติดตั้งระบบอาวุธนำวิถี อากาศ สู่ พื้น...ครับ...มันก็คงน่าจะติดได้ครับ...
เพียงแต่ ด้วยงบประมาณอันจำกัด...บางที เราคงต้องจัดภาระกิจ ให้เหมาะสม เช่น กรณีเกิดภาวะสงคราม
ในระยะไกลฝั่ง จะใช้เรือชั้นไหน ลำไหน เป็น เรือหลักทางยุทธการต่อต้านในระยะแรก....
และ เรือลำไหน ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือต่อต้านในระยะต่อมา...
และเรือชั้นไหน ลำไหน เป็น เป็นเรือต่อต้านในระยะใกล้ฝั่ง...
ซึ่งถ้า หลุด จากระยะใกล้ฝั่ง ก็จะเป็นเรือชั้นไหน ลำไหน ต่อต้าน...การยกพลขึ้นบก...(เพราะถ้าหลุดมาได้ขนาดนี้ ก็น่าจะหมายถึง ถูกปิดอ่าว แล้ว)
ซึ่งสมมติว่า ด้วยงบประมาณอันจำกัด จึงดูแล้วว่า ในเรือชั้น เจ้าพระยา เรือที่เหมาะสมที่สุด ในการต่อต้านระยะไกล และสกัดกั้นในระยะแรก...น่าจะเป็น ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี เพราะมี ลานจอด ฮ. ที่สามารถปฏิบัติการได้ในระยะไกล โดยตรวจการณ์ให้กองเรือ โดยการสนับสนุน ฮ. จาก 911 หรือ สนามบินอู่ตะเภา...
ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี จึงควรมีอาวุธครบทั้ง 3 มิติ ในการป้องกันตนเอง เพราะตั้งยับยั้งการ รุก ในระยะแรกของสงคราม....จึงควรมีระบบอาวุธต่อต้ายภัยทางอากาศ ด้วย....
ส่วน ร.ล.เจ้าพระยา กับ ร.ล.บางปะกง ไม่มีลานจอด ฮ. จึงไม่ตอบสนอง ในการตรวจการณ์ เรือทั้ง 2 ลำ จึงควรเป็นเรือต่อต้าน ในระยะต่อมา ถ้าข้าศึก สามารถรุก และเอาชนะ กองเรือในระยะแรกได้...
หรือ เป็นเรือสนับสนุนเสริม...ซึ่งก็จะเป็นช่วงของระยะเวลาที่ผ่านมาในหลาย ช.ม. ของการปะทะ...ดังนั้น ภัยจากทางอากาศ จึงลดประสิทธิภาพลง หรือ ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว หรือ บ.ข้าศึก ต้องบินกลับฐาน ด้วยเชื้อเพลิง....
ดังนั้น เรือ 2 ลำ นี้ จึงยังไม่ต้องดำเนินการในขณะนี้...ด้วยงบประมาณอันจำกัด...และได้จัดเป็นเรือที่มีภาระกิจสนับสนุน หรือ เสริมกำลัง...
และคาดการณ์ว่า ในช่วงระยะเวลาที่งบประมาณมีเพียงพอ ที่จะสามารถติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้กับเรือทั้ง 2 ลำได้...ก็อาจจะเป็นช่วงระยะเวลาที่ ต้องจัดหา เรือต่อต้านภัยทางอากาศโดยเฉพาะ อยู่แล้ว...โดยจะมาทำภาระกิจ เป็นกำลังหลัก ในระยะแรก ของสงคราม...แทน ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี...และให้ ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี จากกำลังหลัก...มารับภาระกิจ สนับสนุน และเสริมกำลัง แทน...และให้ ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง จากภาระกิจ สนับสนุน และเสริมกำลัง...มาเป็น ต่อต้านในระยะใกล้ฝั่ง แทน....
ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง จึงไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศ เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด.....ละมั๊ง ครับ...
แฮ่ะ แฮ่ะ แฮ่ะ...ใช่แล้วครับ...ท่าน Ronin...พิมพ์เร็วไปนิ๊ดดดดด...นึง...สงสัยช่วงนี้ สมองผมชักจะเริ่มค่อย ๆ ลดประสิทธิภาพลงแล้วครับ...หลายครั้ง ที่ผมมักจะพิมพ์สลับแบบ อากาศ สู่ พื้น น่ะครับ...และเดี๋ยวนี้ ขี้ลืม บ่อยมาก...กลัว อัลไซเมอร์ จริง ๆ....เคยกิน แบรนด์เม็ด แบบหนูดี...ก็รู้สึกว่า ยิ่งขี้ลืม กว่าปกติ...เลยต้องหยุดกิน....
ท่านลมหมุนวน ผมว่าน่าจะฝึกอยู่ประจำครับ อย่างน้อยก็ใน ซิมูเลเตอร์....แต่สำหรับ เป้าบิน ไม่แน่ใจในส่วนของ เรือชั้น เจ้าพระยา
ส่วน ชั้น นเรศวร กับ รัตนโกสินทร์ ค่อนข้างจะฝึกกับ สหรัฐ บ่อยหน่อย...คงน่าจะมีประสบการณ์กับ เป้าบิน พอสมควร...
เออ...พอมานึกเล่น ๆ....มีใครพอจะจำได้ไหมครับว่า....เรือชั้น เจ้าพระยา เคยฝึกร่วมกับ เรือจากสหรัฐ บ้างหรือเปล่า ?
ลืมตอบท่านลมหมุนวน เรื่อง มีเงินก็ติด SAM ได้ใช่ไหม...ก็น่าจะเป็นอย่างนั้นน่ะครับ...
เพราะตามกระทู้ ทะเลไทย...เรือชั้น เจ้าพระยา แต่เดิม เริ่มแรก ก็จะเป็นเรือที่มีระบบป้องกันตนเองแบบ ฟาลังซ์...และมีการติดตั้งปืน 76 ม.ม. ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่า 100 ม.ม. ในปัจจุบันมาก...ดังนั้น ในเรือชั้นเจ้าพระยา ถ้าถอนปืน 100 ม.ม.ออก น่าจะสามารถทำอะไรได้อีกพอสมควร...และเรือก็มีระวางขับน้ำเต็มที่ ประมาณ 1,900 ตัน...ก็อยู่ที่ว่า ในสภาพอาวุธปัจจุบัน เรือมีระวางขับน้ำอยู่เท่าไหร่ครับ...แต่ผมว่าก็น่าจะได้นะครับ...กรณี สมมติว่าปัจจุบันระวางขับน้ำปกติที่ 1,800 ตัน ครบ แต่เรือสามารถมีระวางขับน้ำได้เต็มที่ 1,924 ตัน จึงยังมีผลต่างอีก 124 ตัน...ที่จะสามารถเติมอะไรลงไปได้อีก...แต่มันก็คงต้องมีผลกระทบต่อความเร็ว ความสิ้นเปลือง และระยะปฎิบัติการ เหมือนกัน...
เอ...อันนี้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน นิ...
แต่น่าจะปกติเหมือนทั่ว ๆ ไป...ถ้าจะเป็นปัญหาคงเป็น ระยะทาง ว่า รัศมีตรวจจับได้ไกลแค่ไหน...แต่น่าจะสมดุลย์กับ อาวุธที่ติดตั้งอยู่ในปัจจุบัน...
ถ้าสังเกตุในเรือชั้น กระบุรี ที่เปลี่ยนการติดตั้ง C-802A จะมีการติดตั้ง เรดาห์ ตรวจจับเพิ่มขึ้น ที่มีรัศมีตรวจจับ ได้ไกลกว่าเดิม เพื่อให้สมดุลย์กับ ระบบอาวุธนำวิถี ที่มีระยะไกลกว่า 100 ก.ม.
ส่วนเรื่องระบบอำนวยการรบ...ระบบอำนวยการรบ ก็น่าจะตีความหมายได้ว่า เป็นสิ่งที่จะทำให้รบ ได้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น หรือตัดสินใจได้เร็วขึ้น...
โดยหลัก...ผมคิดว่าไม่ว่าจะมีระบบอำนวยการรบ แบบใด...ก็ต้องขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพ ของผู้ควบคุมแต่ระบบอาวุธ และระบบตรวจจับ และ ผบ.เรือ ที่จะตัดสินใจ ในทางเลือกที่ดีที่สุด ในช่วงระยะเวลาอันจำกัด....โดย ระบบอำนวยการรบ เป็นเพียงผู้เสนอข้อมูลให้เท่านั้น...
ซึ่งถ้ามีการฝึกอยู่เป็นประจำ และฝึกเสมือนการรบจริง สม่ำเสมอ...ความเห็นผมว่าก็น่าจะเพียงพอ สำหรับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดในภูมิภาคนี้ครับ....