22 ก.ย. ครม.อนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหาหลายรายการ
โดยอนุมัติ ให้กองทัพเรือก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ ฮ.ซีฮอว์ก วงเงิน 989,985,400 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี 2552-2554 โดยวิธีพิเศษ
น.อ.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รน. ผู้อำนวยการกองประชา สัมพันธ์ กองทัพเรือ ชี้แจงว่า งบที่อนุมัติเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำของเฮลิคอปเตอร์ ปราบเรือดำน้ำ แบบ S-70 ซีฮอว์ก ที่ประจำการอยู่แล้วจำนวน 6 ลำจากกองทัพสหรัฐที่สนับสนุนให้
พร้อมกับเรือรบหลวงจักรีนฤเบศรเข้าประจำการกอง ทัพเรือตั้งแต่ปี 2540
ช่วง 12 ปีที่ผ่านมาต้องถือว่าการใช้งานของ ฮ.ซีฮอว์ก และอุปกรณ์เสริมในการสกัดเรือดำน้ำคุ้มค่ายิ่ง
เพราะขณะที่ประเทศไทยยังไม่สามารถจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการได้
ประเทศเพื่อนบ้านก็ทุ่มงบประมาณจัดซื้อเรือดำน้ำเข้าประจำการเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการต่อรองและคุ้ม ครองผลประโยชน์ทางทะเล
ทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินเดีย
ประกอบด้วยการจัดหาระบบโซนาร์แบบชักหย่อน และปรับปรุงระบบควบคุมและประมวลผลทางยุทธวิธี
ซีฮอว์ก หรือ Navy Hawk ตามนามเรียกขานของกองทัพเรือ เป็นเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำที่ใช้ปฏิบัติการร่วมกับเรือ มีขีดความสามารถหลากหลาย ไม่เพียงปราบเรือดำน้ำเท่านั้น ยังสามารถสนับสนุนกำลังทางเรือ กำลังนาวิกโยธิน
ตลอดจนค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลอีกด้วย
S-70 B สามารถบรรทุกทหารได้ 11 นาย พร้อมอุปกรณ์หรือปืน Howitzer ขนาด 105 mm รวมกระสุน 30 ชุด และเจ้าหน้าที่อีก 6 คน
รวมน้ำหนักบรรทุก 2,600 ปอนด์ (1,170 ก.ก.) หรือใช้ sling load ได้ 9,000 ปอนด์ (4,050 ก.ก.)
ภายหลังจากเดินทางมาถึงประเทศไทยไม่นานนัก เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ตัวเมืองชุมพร ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด เสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก
กองทัพเรือจัดส่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร พร้อมอากาศยานประจำเรือซึ่งรวมถึงเฮลิคอปเตอร์แบบ S-70 B ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ภารกิจในครั้งนั้นใช้เฮลิคอปเตอร์บินหาเป้าหมายที่ถูกน้ำท่วม ส่งเสบียงอาหารให้แก่ผู้ที่ติดค้างอยู่ในพื้นที่ ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บหรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ช่วยเหลือลูกเรือประมงที่ลอยคออยู่กลางทะเลจำนวนมาก
รวมทั้งได้ให้ความช่วยเหลือหญิงที่ใกล้คลอดนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว เฮลิคอปเตอร์แบบ S-70 B ยังปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอีกหลายครั้ง
อาทิ ช่วยเหลือประชาชนผู้บาดเจ็บและนักท่องเที่ยวในสถานการณ์คับขันในทะเล ในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ปี พ.ศ.2543
เหตุการณ์จลาจลที่ประเทศกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ.2546
และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเก็บกู้ศพผู้เสียชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิ ปลายปี พ.ศ.2547
การขออนุมัติ ครม.จัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติมครั้งนี้ เพื่อเสริมการปฏิบัติภารกิจหลักคือการตรวจจับและสกัดกั้นเรือดำน้ำให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
ในยามที่ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ในทะเลเพิ่มมูลค่าสูงขึ้น
และทวีความแหลมคมขึ้น
มีไว้ก็ดี นะ....