หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กห.ตั้ง "องค์การมหาชน" ผลิตอาวุธป้อนกองทัพ

โดยคุณ : nok เมื่อวันที่ : 28/09/2009 18:45:50

ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ องค์การมหาชน (สปท.) พล.ท.ดร.ฐิตินันท์ ธัญญศิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ซึ่งถือเป็นหน่วยขึ้นตรงใหม่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยมีรูปแบบการทำงานแบบเอกชน
พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานแรกของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีภารกิจสำคัญในการวิจัยพัฒนาด้านยุทโธปกรณ์ที่นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้งานในกองทัพ เป็นการพึ่งพาตนเองในด้านยุทโธปกรณ์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อประชาชนไทยทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งหลายประเทศก็ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วเพื่อลดค่าใช้จ่าย ขณะที่ประเทศไทยยังจัดหายุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่จากต่างประเทศถึง 90 %
“สถานะขององค์การ คือ องค์กรเอกชน ต้องมีผลประกอบการเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน ซึ่งเราต้องสร้างให้ลูกค้าไว้เนื้อเชื่อใจให้มากที่สุด เพื่อที่จะเปิดตลาดออกไป และให้องค์กรอยู่ได้ ส่วนการจะนำเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาจากผลประกอบการ ถ้าคณะกรรมการฯ เห็นว่าสามารถดำเนินการได้ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ซึ่งมีการกำหนด กฎ ระเบียบ ในการปฏิบัติอยู่แล้ว” พล.อ.อ.ธเรศ กล่าว
พล.ท.ฐิตินันท์ กล่าวว่า แผนงานที่สำคัญในระยะแรก คือ การวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้อง ตามแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยมาตั้งแต่ปี 2549 รวมระยะเวลาดำเนินการไปแล้ว 5 ปี ซึ่งในชุดแรกจะดำเนินการแล้วเสร็จและนำเข้าประจำการในกองทัพบกในช่วงปลายปีงบประมาณ 2554 และตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากองทัพ จะมีการจัดตั้งกองพันจรวดหลายลำกล้องขึ้นในกองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน จรวดชุดแรกก็จะเข้าประจำการในกองร้อยแรก จำนวน 9 ชุดยิง ชุดยิงละ 10 นัด วงเงินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ให้ความสนใจ
พล.ท.ฐิตินันท์ กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบจากการยิงจากลำกล้องเดียวจะเห็นได้ว่าจรวดหลายลำกล้องที่สถาบันได้พัฒนาให้มี 4 และ 6 ลำกล้องจะมีอำนาจการยิงที่เหนือกว่า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการพัฒนา วิจัย และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมิตรประเทศให้กับเรา แต่ไม่สามารถบอกได้ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ในเบื้องต้นจะต้องมีการซื้อจรวดเหล่านั้นมาเป็นต้นแบบในการวิจัยก่อน จากนั้นเมื่อเราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลิตเองได้ ก็จะดำเนินการผลิตเอง โดยใช้โรงงานอาวุธที่นครสวรรค์ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างผลิตจรวดเหล่านี้
“สินค้าที่เราผลิตออกมาต้องได้มาตรฐานและทำให้ลูกค้าไว้ใจ เริ่มต้นก็คือกองทัพบก ถ้าสินค้าได้มาตรฐาน คุณภาพดี ก็จะทำให้สั่งซื้อจากเราตลอด โดยวิธีการจัดหานั้น อยากให้กองทัพจัดหางบประมาณผูกพันไว้ จากนั้นองค์การก็จะเจรจากับกองทัพบกว่าในงบประมาณนั้นจะดำเนินการได้แค่ไหน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องผลประกอบการและหนี้สิน เมื่อองค์การมีความเข้มแข็งมีกำไรก็ต้องดำเนินการวิจัย พัฒนา ยุทโธปกรณ์อื่นๆ อีกต่อไป และในอนาคตตลาดที่เราวางเป้าหมายไว้คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหากตลาดในประเทศเรามั่นคง ต่อไปก็ต้องไปทำตลาดต่างประเทศ เบื้องต้นใช้งบประมาณในการดำเนินการ 617 ล้านบาท” พล.ท.ฐิตินันท์ กล่าว
ผอ.สถาบันเทคโนฯ กล่าวว่า เราจะวิจัยพัฒนาต่อยอดยุทโธปกรณ์ที่กองทัพดำเนินการมาแล้วให้นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้งาน เช่นที่ผ่านมากองทัพเรือเคยวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็กไว้ เราก็จะนำมาดูเพื่อพัฒนาและผลิตเพื่อใช้ เพราะประโยชน์ในการใช้งานมีมากกว่างานทางด้านการทหาร เช่น สามารถสำรวจท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลของ ปตท.ได้ หรือกรณีของจรวดเห่าไฟ ขนาด 2.75 นิ้ว ที่เป็นจรวดที่ยิงจากเฮลิคอปเตอร์สู่พื้นดินที่กองทัพอากาศเคยวิจัยไว้ก็สามารถนำมาพัฒนาต่อไปได้ เพราะบุคลากรขององค์กรมีความสามารถ มีทั้งพลเรือน 70 % และทหาร 30 % เหตุที่จำนวนข้าราชการทหารที่เข้ามาอยู่น้อย เพราะการเป็นพนักงานขององค์กรต้องลาออกจากราชการก่อน ทำให้บางคนยังลังเล ทั้งที่หลายคนมีความรู้และเชี่ยวชาญ ทั้งที่ในกองทัพมีคนจบระดับด็อกเตอร์และปริญญาโท มีความสามารถจำนวนมาก
สำหรับคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ประกอบด้วย พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี เป็นประธานคณะกรรมการ ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วย พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.รัชกฤต กาญจนวัฒน์ เสนาธิการทหาร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบก พล.ร.อ.รพล คำคล้าย เสนาธิการทหารเรือ และ พล.อ.อ.มานิต สพันธุพงษ์ เสนาธิการทหารอากาศ

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=407384




ความคิดเห็นที่ 1


กลาโหมตั้งองค์การมหาชนผลิตอาวุธ มั่นใจไม่เจ๊ง
   ของไทรัฐ ครับแต่งงๆๆ


ชื่อเป็นแนวทางประหยัด พึ่งตนเอง หลังพบไทยซื้ออาวุธจากต่างประเทศ 90% / ทบ. เงื้อค้าง ลงนามสัญญา รถเกราะล้อยางยูเครน กลัวพิษ ม.190....

วันนี้(24  ก.ย.)พล.ท.ดร. ฐิตินันท์ ธัญญศิริ ผอ.สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สปท. (องค์การมหาชน) ได้วิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้อง ตามแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งในชุดแรกจะดำเนินการแล้วเสร็จ และนำเข้าประจำการในกองทัพบกในช่วงปลายปีงบประมาณ 2554 ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากองทัพ จะมีการจัดตั้งกองพันจรวดหลายลำกล้องใน กองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

“สินค้าที่ผลิตต้องได้มาตรฐาน ทำให้ลูกค้าไว้ใจ เริ่มต้นที่กองทัพบก ถ้าสินค้าได้มาตรฐาน คุณภาพดีจะทำให้สั่งซื้อมากขึ้น โดยอยากให้กองทัพจัดหางบประมาณผูกพันไว้ จากนั้นองค์การจะเจรจากับกองทัพบกว่าในงบประมาณนั้นจะดำเนินการได้แค่ไหน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องผลประกอบการและหนี้สิน เมื่อองค์การมีความเข้มแข็งมีกำไรก็ต้องดำเนินการวิจัย พัฒนา ยุทโธปกรณ์อื่นๆ ต่อไป ในอนาคตตลาดที่เราวางเป้าหมายไว้คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหากตลาดในประเทศเรามั่นคง ต่อไปก็ต้องไปทำตลาดต่างประเทศ ในเบื้องต้นมีการใช้งบประมาณในการดำเนินการ 617 ล้านบาท” ผอ.สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าว

ด้านพล .อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าวว่า สถาบันฯ เป็นหน่วยงานแรกของกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของรมว .กลาโหม มีภารกิจในการวิจัยพัฒนาด้านยุทโธปกรณ์ที่นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้งานใน กองทัพ เป็นการพึ่งพาตนเองด้านยุทโธปกรณ์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศอย่าง ยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อประชาชนไทยทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งหลายประเทศก็ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วเพื่อลดค่าใช้จ่าย ขณะที่ประเทศไทยยังจัดหายุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่จากต่างประเทศถึง 90 %

“สถานะ ขององค์ คือ องค์กรเอกชน ต้องมีผลประกอบการเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน ซึ่งเราต้องสร้างให้ลูกค้าไว้เนื้อเชื่อใจให้มากที่สุด เพื่อที่จะเปิดตลาดออกไป และ ให้องค์กรอยู่ได้ ส่วนการจะนำเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาจากผลประกอบการ ถ้าคณะกรรมการฯ เห็นว่าสามารถดำเนินการได้ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ซึ่งมีการกำหนด กฎ ระเบียบ ในการปฏิบัติอยู่แล้ว” พล.อ.อ.ธเรศ กล่าว

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการจัดหายานเกราะล้อยางรถยานเกราะของประเทสยูเครน รุ่น BTR 3 E 1 ที่กองทัพบกจัดหาเข้าประจำการใน กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จำนวน 48 คัน มูลค่า 4,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ได้ไม่มีความคืบหน้า หลังจากเกิดปัญหา บริษัทผู้ผลิตยังจัดหาอุปกรณ์และ เครื่องยนตร์จากประเทศเยอรมันไม่ได้ เพราะการจัดหาต่างๆต้องลงนามสัญญาแบบรัฐต่อรัฐ จึงจำเป็นต้องชะลอไปก่อน เนื่องจากติดปัญหาจาก ม.190 ตาม รธน.


http://www.thairath.co.th/content/pol/35273
โดยคุณ topza เมื่อวันที่ 24/09/2009 11:56:01


ความคิดเห็นที่ 2


อืม..เป็นข่าวที่ดีมากๆและให้ความกระจ่างขึ้นเยอะ สรุปว่า จรวดหลายลำกล้องที่กำลังพัฒนาจะผลิตส่งให้กองทัพได้ในช่วงปี 2554 และจะทำการพัฒนาผลิตจรวด ต่อสู้อากาศยาน เป็นลำดดับต่อไป

ส่วนโรงงานที่ตั้งอยู่ นครสวรรค์ นั้นถือว่าเหมาะสมมากครับ เพราะที่ นครสวรรค์ ก็เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตวัตถุระเบิดอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะซัพพอร์ตเรื่องตัวหัวรบที่เป็นวุตถุระเบิดได้เป็นอย่างดี

หวังว่าจะมีการสนับสนุนองค์กรณ์นี้ต่อไปตลอดนะครับ ถือว่าเป็นการพลิกโฉมหน้าใหม่ของกองทัพเลยทีเดียว

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 24/09/2009 22:17:17


ความคิดเห็นที่ 3


"เห่าฟ้า" ชื่อนี้ไม่ได้ยินมานานแล้ว....เสิรช์เจอใน Thai Flight Simulator ที่ http://www.thaiflight.com/mach/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=20346&highlight=

โดยท่าน Uthor เลยขออนุญาตก๊อปมาให้อ่านกันนะครับ

การพัฒนาเทคโดย น.อ.เจษฎา คีรีรัฐนิคม โนโลยีจรวดของ ศวอ.ทอเทคโนโลยีจรวดของ ทอ. เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน จากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับเหตุการณ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาลดความช่วยเหลือทางการทหาร อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้ ทอ. ขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์ เช่นจรวดอากาศ กระสุนปืน และลูกระเบิด ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อความมั่นคง ของชาติโดยส่วนรวมในขณะนั้น ทอ. ได้มีแนวความคิดที่จะผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์ขึ้นใช้เอง พล.อ.ต.ประภา เวชปาน (ยศขณะนั้น) ขณะดำรงตำแหน่ง จก.สพ.ทอ. จึงได้ริเริ่มรวมกลุ่มคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อทดลอง หาความเป็นไปได้ในการ ผลิตจรวดอากาศขึ้นใช้งาน ประกอบด้วย น.ท.มรกต ชาญสำรวจ(ยศขณะนั้น) เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับ น.ท.สมศักดิ์ รักงาม (ยศขณะนั้น) และ น.ท.สมหมาย ยอดประสิทธิ์ (ยศขณะนั้น) กับ น.ท.พินิจ สุระกูล (ยศขณะนั้น) ร่วมกันจัดตั้ง โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดอากาศ เมื่อ ๑๔ ก.พ.๑๗ ซึ่งต่อมา ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง หน่วยงานวิจัยขึ้นเรียกว่า "สำนักงานวิจัยและพัฒนาอาวุธยุทธภัณฑ์"

ผลการวิจัย บรรลุเป้าหมาย จรวด "เห่าฟ้า" นัดแรก ติดตั้งกับ บ.ต.๒ (O-1A) ทดลองยิงจาก อากาศสู่พื้นเมื่อ ๔ พ.ย.๑๘ ทอ.สร้างโรงงานผลิตจรวดที่ บน.๒ และที่ทุ่งสีกัน มีการพัฒนาจรวด เพื่อเพิ่มความเหมาะสม ในการใช้งาน และเพิ่มความแม่นยำได้แก่ จรวด ๒.๒๕ นิ้ว เห่าฟ้า-๑ หางเลื่อน จรวด ๒.๒๕ นิ้ว เห่าฟ้า-๒ หางนิ่ง ลำตัวหมุน จรวด ๒.๒๕ นิ้ว เห่าฟ้า-๓ หางพับ โดยจรวด เห่าฟ้า-๒ ผ่านการ รับรองมาตรฐานระบบอาวุธของ ทอ. ในปี ๒๑ กับได้มีการนำไปใช้ งานทางยุทธการ (ใช้กับ บ.O-1A) และจรวดชนิดนี้ได้รับรางวัลที่ ๑ สาขาวิศวกรรม จาก คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี ๒๓ ส่วนจรวดเห่าฟ้า-๓ ได้ผ่านการ รับรองมาตรฐานระบบอาวุธของ ทอ. เมื่อ ก.พ.๒๗ต่อมา ในปี ๒๕ สำนักงานวิจัย และพัฒนาอาวุธยุทธภัณฑ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานพัฒนา การสร้างอาวุธ (สพอ.ศวอ.ทอ.) เป็นหน่วยขึ้นตรงของ ศวอ.ทอ. และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ศวอ.ทอ. จึงเป็นแหล่งรวมเทคโนโลยีจรวดของ ทอ. จรวด ๒.๒๕ นิ้ว "เห่าฟ้า" ในช่วงแรกเป็นจรวดที่ใช้ดินขับ ชนิดสองฐาน (Double Base) ผลิตขึ้นโดยใช้วัสดุในประเทศ ทั้งสิ้น แท่งดินขับ เป็นแบบดินเปลือย ไม่มีการหุ้มดินขับ เนื่องจากขณะนั้น ยังขาดวัสดุซึ่งจำเป็นสำหรับการหุ้มดินขับ จรวดจึงมีสมรรถนะจำกัด เนื่องจาก ต้องใช้ท่อจรวดที่สร้าง จากเหล็กที่ทนความร้อน จากการเผาไหม้ของดินขับจรวด จึงมีน้ำหนักมากต่อมา ในปี ๒๘ ทอ. มีวัสดุสำหรับการหุ้มดินขับจรวด และมีเทคโนโลยีในการหุ้ม (Inhibit) ดินขับ จึงได้ทำการพัฒนาจรวดเห่าฟ้า-๓ เป็นจรวดเห่าฟ้า-๓ ไอ (Inhibited) ซึ่งจรวดแบบนี้ได้ใช้ยิงแสดง ในการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศ เมื่อวันที่ ๒๖ ธ.ค.๓๒ และนับเป็นการ สาธิตการใช้กำลังทางอากาศครั้งสำคัญของ ทอ. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราช ดำเนิน ทอดพระเนตร พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร นอกจากการวิจัย และพัฒนาดินขับจรวดชนิดสองฐานแล้ว ศวอ.ทอ. ยังได้สั่งสมเทคโนโลยีเกี่ยวกับดินขับจรวดชนิดฐานผสม หรือ Composite มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีดินขับจรวดที่ทันสมัย และมีสมรรถนะสูงกว่า ดินขับจรวดชนิดสองฐาน โดยในปี ๒๖ ได้ทดลองจรวดดินขับ Composite ขนาด ๒.๕ นิ้ว "เห่าฟ้า ๔" ประสบความสำเร็จ มีการนำไปยิงแสดง ในการสาธิตการใช้อาวุธ เมื่อปลายปี ๒๖ ด้วยจำนวนหนึ่ง ในช่วงปี ๒๗ ศวอ.ทอ. มีขีดความสามารถสูงพอ ที่จะดำเนินการวิจัยและพัฒนา จรวดขนาดใหญ่ได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบ โดยได้รับการสนับสนุนจาก พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. ในขณะนั้น จึงดำเนินการวิจัยและพัฒนาจรวด ขนาด ๑๔๐ มม. จรวดขนาด ๑๔๐ มม. เป็นจรวดที่ยิงจากภาคพื้น พัฒนาขึ้นเพื่อการวิจัย บรรทุกน้ำหนักได้สูงสุด ๒๔ กก. มีระยะยิง (จากการคำนวณ) ประมาณ ๗๐ กม. ได้มีการผลิตและจุดทดสอบ ทั้งภาคสถิตและยิงจริงภาคพลวัตรวม ๑๕ นัด การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาในช่วงแรก นับเป็น การปูพื้นฐาน ทางเทคโนโลยี ดินขับจรวด ส่วนการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาดมาตรฐานโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตทดแทนจรวดแบบที่กองทัพจัดหามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ราชการ เริ่มต้น จากการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว โดยในปี ๒๙ ศวอ.ทอ. ได้รับ อนุมัติให้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาจรวดอากาศ ขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite ใช้ชื่อว่า "จรวดเห่าฟ้า-๕ MOD 1" ซึ่งได้ดำเนินการจนประสบผลสำเร็จ และได้มี การทดลองยิงจรวดดังกล่าวจาก บ.จ.๕ (OV-10C) จำนวน ๒ ครั้ง ใช้จรวดรวม ๖๐ นัด ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ จรวดทำงานได้อย่างถูกต้อง และมีความแม่นยำต่อมาในปี ๓๑ สพ.ทอ.ได้ปรับปรุงโรงงานผลิตจรวดที่ บน.๒ เพื่อผลิตจรวดอากาศขนาด ๒.๗๕ นิ้ว แบบ Mk 40 อันเป็นจรวดสมรรถนะปานกลางที่ใช้ในการฝึก ซึ่ง คณก.มาตรฐานระบบอาวุธ ทอ. ได้รับรองมาตรฐานจรวดอากาศขนาด ๒.๗๕ นิ้ว Mk 40 ของ สพ.ทอ. เมื่อปี ๓๔ และมีการผลิตใช้งานใน ทอ. สืบต่อมา ในช่วงเวลา ประมาณปี ๓๐ - ๓๔ ทอ.ของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศในกลุ่ม NATO และทอ.ไทย ได้รับจรวดอากาศขนาด ๒.๗๕ นิ้ว แบบใหม่เข้าประจำการคือ จรวด CRV - 7 (Canadian Rocket Vehicle - 7) ผลิตในประเทศแคนาดา เป็นจรวดซึ่งใช้ดินขับ Composite มีสมรรถนะสูงกว่าจรวด ๒.๗๕ นิ้ว ที่ใช้ดินขับ Double Base แบบเดิม ศวอทอ.จึง พัฒนาปรับปรุงจรวดเห่าฟ้า-๕ MOD 1 ให้มีสมรรถนะสูงเทียบเท่า จรวดมาตรฐาน NATO โดยเรียกชื่อว่า "จรวดเห่าฟ้า-๕ MOD X" ทั้งนี้มีเป้าหมายที่ จะพัฒนาคุณภาพ ของจรวดที่ผลิตให้มีความปลอดภัย ในการใช้งาน และมีความเชื่อถือได้สูงอยู่ใน ระดับมาตรฐานสากล เช่นเดียวกับ จรวดมาตรฐาน NATO ด้วย กรรมวิธีการวิจัย และพัฒนาจรวด ให้มีสมรรถนะ เทียบเท่ากับจรวดมาตรฐาน NATO ใช้ข้อมูลสมรรถนะของจรวดมาตรฐาน NATO เป็นตัวตั้ง แล้วจึงออกแบบจรวดให้มีสมรรถนะตามตัวตั้งนั้น แต่ด้วยข้อจำกัด ของงบประมาณ จึงมิได้มีการซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูปมาจากต่างประเทศ เทคโนโลยีที่ใช้ ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และ อุปกรณ์เครื่องมือ กับมิตรประเทศ ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนิน การวิจัยพัฒนาจรวดชนิดเดียวกัน การทดสอบความ เป็นมาตรฐาน ของจรวด ได้ดำเนินการทดสอบตามมาตรฐานต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการยิงทดสอบจรวดจำนวน ๓๑๔ นัด และการทดสอบ จำลอง สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตามมาตรฐาน MIL-STD-810 ของ กห.สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบจำลองสภาพแวดล้อมรุนแรงต่าง ๆ เช่น การตกกระแทก การแช่ในน้ำ สภาพอุณหภูมิต่ำ-สูง -๕๔ ถึง +๖๖ องศาเซลเซียส การสั่นสะเทือนจากการติดตั้งกับอากาศยาน และจากการ ขนส่งทางบก รวมถึงจำลองสภาพการเก็บรักษาเป็นเวลานาน ๑๐ ปี จรวดจะต้องใช้งานได้เป็นปกติหลังจากผ่านการทดสอบเหล่านี้มาแล้ว..............มีต่อ

 

 

 

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 25/09/2009 01:25:39


ความคิดเห็นที่ 4


การพัฒนาจรวดให้มีสมรรถนะเทียบเท่าจรวดมาตรฐาน NATO นับเป็นเป้าหมายที่บรรลุได้ยากพอสมควร เนื่องจากจรวดแบบนี้มีสมรรถนะสูง จนอาจเรียกได้ว่ามีสมรรถนะสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านดินขับ Composite ที่มีอยู่ในโลกขณะนั้น การดำเนินงาน ในครั้งแรกประสบปัญหาทางเทคนิคในบางขั้นตอน เช่นยังขาดอุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพในการผลิต และสารเคมี ที่เป็นวัตถุดิบเสื่อมสภาพ ลงตามระยะเวลา ในระหว่างที่ยังมีข้อขัดข้อง ในการวิจัยจรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ศวอ.ทอ.ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาจรวดควัน Smokey Sam ขึ้น ตามความต้องการทางด้านยุทธการ โดยจรวดควัน Smokey Sam เป็นจรวดที่มีลำตัวสร้างจากกระดาษและโฟม บรรจุดินขับ Composite ชนิดควันมาก ได้พัฒนาขึ้นเพื่อจำลองการยิงของอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ SA-7 สำหรับใช้ฝึกทางยุทธวิธี ของนักบินให้มี ความคุ้นเคยกับการถูก ต่อต้านจากกำลังภาคพื้น ทอ.ได้รับรองมาตรฐานจรวดควัน Smokey Sam เมื่อต้นปี ๓๕ และให้ผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช ้ราชการ สืบต่อมาในปี ๓๘ ศวอ.ทอ. ได้รับงบประมาณจาก สวพ.กห. มาซื้อวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือที่ยังขาดอยู่ จึงสามารถดำเนินการวิจัยจรวด ขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite ได้จนบรรลุวัตถุประสงค์ จรวดผ่านการทดสอบตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงการยิงภาคอากาศจาก บ.ขฝ.๑ (L-39) จำนวน ๑๐๐ นัด และ ทอ.ได้รับรองมาตรฐานของจรวด เมื่อต้นปี ๔๑ แม้ปัจจุบัน ยังไม่มี การดำเนินการผลิต จรวดชนิดนี้ขึ้นเพื่อใช้งาน แต่ในการวิจัยและพัฒนาได้กำหนดกรรมวิธีและ รปป.ต่าง ๆ สำหรับทุกขั้นตอนการผลิต และการตรวจสอบควบคุมคุณภาพ ดังนั้น ศวอ.ทอ. จึงสามารถดำเนินการผลิตได้ทันที เมื่อกองทัพมีความต้องการมาโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของ ทอ. ประจำปี ๔๒ และยังได้รับรางวัลชมเชย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ประจำปี ๔๓ จากสภาวิจัยแห่งชาติ

ผลที่ได้รับ จากการดำเนินโครงการวิจัย และพัฒนาจรวด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite นอกจากจะเกิด ความร้ ูความ ชำนาญ ในการผลิต จรวด สมรรถนะสูง ที่เป็นมาตรฐานแล้ว ผลที่นับว่ามีคุณค่าอย่างมากคือ ได้เทคโนโลยีในการออกแบบ ผลิต ควบคุมคุณภาพ และทดสอบจรวด รวมถึงการจำลองสภาพแวดล้อม (Environmental Test) และการจำลองการเก็บรักษา (Aging) เทคโนโลยีเหล่าน ี้ได้ นำมาใช้พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ และใช้ทดสอบ เพื่อเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณา ยืดอายุใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ในเวลาต่อมา รวมทั้งการ พิจารณายืดอายุอาวุธนำวิถีด้วย ตัวอย่าง การนำเทคโนโลยี ที่ได้รับมาใช้ พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้แก่ โครงการจรวดลากระเบิดสาย ซึ่งกรมการทหารช่าง (กช.) ดำเนินการวิจัยร่วมกับ ศวอ.ทอ. มีวัตถุประสงค ์เพื่อ พัฒนาอุปกรณ์ สำหรับ ใช้เจาะช่องในสนามทุ่นระเบิด เพื่อให้รถถังเคลื่อนที่ผ่านได้ โดยใช้จรวดลากสาย ซึ่งเป็นท่ออ่อนบรรจุวัตถุระเบิด ให้สายระเบิดนั้นตกลงมาพาดผ่าน สนามทุ่นระเบิด แล้วจุดให้ สายระเบิด เกิดการระเบิดแรงอัดจะทำลาย ทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่โดยรอบ เป็นช่องทางให้กำลังฝ่ายเราเคลื่อนที่ผ่านไปได้ ศวอ.ทอ.ดำเนินการในส่วนของจรวดครั้งแรกการเก็บรักษา (Aging) เทคโนโลยีเหล่าน ี้ได้ นำมาใช้พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ และใช้ทดสอบ เพื่อเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณา ยืดอายุใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ในเวลาต่อมา รวมทั้งการ พิจารณายืดอายุอาวุธนำวิถีด้วย ตัวอย่าง การนำเทคโนโลยี ที่ได้รับมาใช้ พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้แก่ โครงการจรวดลากระเบิดสาย ซึ่งกรมการทหารช่าง (กช.) ดำเนินการวิจัยร่วมกับ ศวอ.ทอ. มีวัตถุประสงค ์เพื่อ พัฒนาอุปกรณ์ สำหรับ ใช้เจาะช่องในสนามทุ่นระเบิด เพื่อให้รถถังเคลื่อนที่ผ่านได้ โดยใช้จรวดลากสาย ซึ่งเป็นท่ออ่อนบรรจุวัตถุระเบิด ให้สายระเบิดนั้นตกลงมาพาดผ่าน สนามทุ่นระเบิด แล้วจุดให้ สายระเบิด เกิดการระเบิดแรงอัดจะทำลาย ทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่โดยรอบ เป็นช่องทางให้กำลังฝ่ายเราเคลื่อนที่ผ่านไปได้ ศวอ.ทอ.ดำเนินการในส่วนของจรวดครั้งแรกเมื่อปี ๓๗ -๓๘ ทดลองใช้จรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ลากสายระเบิด แต่แรงขับสูงเกินไป ทำให้สายระเบิดขาด จึงได้มีการชะลอโครงการไว้ และดำเนินการต่อในปี ๔๑ หลังจาก เสร็จสิ้นการวิจัยและพัฒนาจรวด ขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite โดย ศวอ.ทอ.ได้ออกแบบจรวดขึ้นใหม่ เป็นจรวดขนาด ๑๖๙ มม. ซึ่งออกแบบ ให้มีแรงขับเหมาะกับการลากระเบิดสายโดยตรง การวิจัย ได้ผลตาม ความต้องการ โดย กช. พัฒนา รถพ่วงบรรจุสายระเบิด พร้อมแท่นยิงจรวดและระบบ สายบรรจุวัตถุระเบิด นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ออกแบบระบบหน่วงให้สายระเบิดตึงเมื่อตกลงพาดพื้น ผลของโครงการทำให้ ศวอ.ทอ. ได้รับเทคโนโลยีสำคัญหลายประการเช่น เทคโนโลยีการออกแบบ ระบบ ฉนวนกัน ความร้อน และดินขับสำหรับจรวดขนาดใหญ่ กับเทคโนโลยี การใช้แบบ จำลอง ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับ การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบจรวดให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการใช้งาน นอกจากนั้น ศวอ.ทอ. ยังดำเนินการศึกษา เทคโนโลยีพื้นฐานเกี่ยวกับดินขับจรวด เช่นการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตดินขับ Composite ชนิดแอมโมเนียมไนเตรท เพื่อทดลองใช้สารแอมโมเนียมไนเตรทที่ผลิตได้ในประเทศ และมีราคาถูก มาเป็นตัวให้ออกซิเจน ในการผลิตดินขับ จรวดราคาต่ำ เช่น จรวดสำหรับ ส่งเครื่องบินเป้าขึ้นจากรางปล่อย หรือ ในอุปกรณ์การผลิต ก๊าซความดันสูง สำหรับขับพื้น บังคับ ของอาวุธ นำวิถี และจากผล การศึกษาพบว่า แอมโมเนียมไนเตรท มีข้อจำกัดหลายประการ เช่นจุดตัวได้ยาก เผาไหม้ได้เฉพาะ ในสภาพความดันสูง และดูดความชื้นได้รวดเร็ว การใช้งานจึงกระทำได้เพียง ในบางกรณี ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาต่อไปโครงการวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นก้าวต่อไปของเทคโนโลยีจรวดของ ศวอ.ทอ. คือโครงการพัฒนาส่วนลำตัวจรวด ขนาด ๑๒๗ มม. ที่มุ่งเน้นการออกแบบ และผลิตส่วนขับเคลื่อนจรวดขนาดใหญ่ให ้มีสมรรถนะพิเศษตามแบบที่ต้องการ ในปัจจุบัน อัน เป็นยุคของ อาวุธนำวิถีความแม่นยำสูง ระยะยิงไกลพ้นระยะสายตา อาจมองว่าการขับเคลื่อนของจรวดเป็นเทคโนโลยีต่ำ มีความสำคัญ ลดน้อยลง แต่วิชาการในด้านนี้ก็ยังมีความจำเป็นในระบบอาวุธต่าง ๆ อยู่มาก เทคโนโลยีจรวด จึงยังคงเป็น สิ่งที่จำเป็นต้องติดตาม และพัฒนาขีดความสามารถต่อไป ซึ่งในระยะสั้นนอกจากจะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้สร้างอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์เครื่องช่วยฝึกต่าง ๆ แล้ว ประโยชน์ที่สำคัญคือ การใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ ในการให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บังคับบัญชา เพื่อการตกลงใจ เลือกแบบ อาวุธนำวิถี หรือพิจารณายืดอายุ การใช้งานของอาวุธนำวิถี และอุปกรณ์อื่น ๆ ในลักษณะผู้ซื้อและผู้ใช้ที่ชาญฉลาด ส่วนในระยะยาว อาจนำเทคโนโลยี มาใช้ใน การผลิตดินขับเพื่อทดแทนหรือ ปรับปรุงส่วนขับเคลื่อน ของอาวุธนำวิถีที่ดินขับเดิม เสื่อมอายุไปแล้ว หรือใช้เทคโนโลยีออกแบบส่วนขับเคลื่อนของอาวุธนำวิถีที่เป็นของประเทศไทยเอง ซึ่งต้องมีการพัฒนาต่อไป..........มีต่อ

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 25/09/2009 01:29:29


ความคิดเห็นที่ 5







ที่มา http://www.wing21.rtaf.mi.th/wboard/question.asp?GID=1559

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 25/09/2009 01:31:14


ความคิดเห็นที่ 6


     นับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีมากของกองทัพและประเทศไทย  เพราะการที่เราสามารถผลิตอาวุธเองได้จะก่อเกิดความมั่นคงทางอาวุธเพราะปัจจุบันอาวุธไทยเราต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศจำนวนมาก  อีกทั้งวันดีคืนดีเกิดผิดใจกับประเทศเหล่านั้นไม่ขายอาวุธให้เราๆก็แย่  ฉะนั้นการพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  จากอดีตที่ผ่านมาเรามีบทเรียนกรณีก่อนเสียดินแดนที่ฝรั่งเศสนำเรือรบมาปิดปากอ่าวไทยเพราะขณะนั้นไทยเรากองทัพเรือยังไม่เข้มแข็ง  จะหวังพึ่งอังกฤษ  รัสเซีย หรือประเทศอื่นๆก็ไม่ได้เพราะต่างคนต่างมีผลประโยชน์ค้ำคอกันอยู่ จนทำให้ในที่สุดเราต้องเสียดินแดน!!!  ถ้าวิเคราะห์สาเหตุแล้วส่วนหนึ่งที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยคือแสนยานุภาพทางทหารในขณะสู้ตะวันตกไม่ได้ทำให้เราอยู่ในภาวะที่ต้องจำยอม

     ฉะนั้นจากบทเรียนในอดีตล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นแล้วว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนดีที่สุด  ประเทศไทยควรผลิตอาวุธและยุทโธปกรณ์ได้ลดการพึ่งพาต่างชาติและสร้างความมั่นคงทางทหาร อีกทั้งยังสามารถขายต่างชาตินำรายได้เข้าประเทศได้อีกด้วย

    อนึ่งรายได้อันดับ1ของสหรัฐอเมริกาคือมาจากการขายอาวุธ  ฉะนั้นการพัฒนาการผลิตอาวุธเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจ  การเมือง การทหารและสังคม เผื่อว่าสักวันไทยอาจเป็นชาติมหาอำนาจของโลกก็เป็นได้

    

โดยคุณ crash เมื่อวันที่ 28/09/2009 07:45:52