หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ชุดเกาะทหารไทย

โดยคุณ : aristotum เมื่อวันที่ : 22/09/2009 17:37:37

ช่วงหลังที่ผ่านมาผมเห็นภาพทหารไทยที่ชายแดนใส่เสื้อกักตัวหนาๆ มีปกตั้งขึ้นมาเล็กน้อย อยากทราบว่านั่นคือชุดเกาะหรือป่าว สามารถทนกระสุนในระดับใด แล้วทำไมทหารพรานถึงไม่ใส่




ความคิดเห็นที่ 1


ด้วยความเคารพนะครับ

 

ขอความกรุณาใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยครับ

 

"ชุดเกราะ" ครับ ไม่ใช่ "ชุดเกาะ"

 

ขอบคุณครับ

โดยคุณ spit เมื่อวันที่ 20/09/2009 14:30:46


ความคิดเห็นที่ 2


ผมว่ามันก็ชุดเกราะนั่นแหล่ะ แต่ของนอกแน่ๆ ที่ม.มหิดล กำลังทำ ม.ราชมงคลธัญบุรีก็ทำ เบา ทน ถูก ไม่ยักกะมีผู้ใหญ่สนใจจริงๆจัง

ภาษามันดิ้นได้ จริงๆนะ (^.^)/
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 20/09/2009 14:55:32


ความคิดเห็นที่ 3


ความเห็นที่ 2

คือไม่ได้ว่าของไทยไม่ดีนะครับ
แต่บอกตรงๆ ผมเองก็ถ้ามีให้เลือกก็ขอใช้ของนอกครับ เป็นความรู้สึกส่วนตัวนะครับ


ของแบบนี้ ความเชื่อมั่นและมั่นใจ คือสิ่งสำคัญ ครับ
คงต้องใช้เวลาครับ ต้องทำการพิสูจน์ให้เกิดความเชื่อมั่นให้ได้นะครับ

ซึ่งผมมองว่าคนผลิตและทดลอง บางทีไม่ค่อยสนใจในจุดนี้นะครับ

แต่ของเอกชนไทยก็ ทำตรงนี้ได้ดีมากๆ เลยขอยอมรับ แต่การประชาสัมพันธ์ ก็ยังไม่ค่อยดี อาจจะเพราะข้อจำกัดด้านกฏระเบียบของเราก็ได้

แต่คิดว่าที่ใช่อยู่ในรูปน่าจะเป็นของไทยนะครับ คิดว่า
โดยคุณ ++++ เมื่อวันที่ 20/09/2009 22:10:05


ความคิดเห็นที่ 4


จะของไทย หรือ ของนอก  ขอให้มีการทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบ ก็ถือว่าโอเคครับ   หากของที่ผลิตในประเทศ แล้วผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน  ผมก็สนับสนุนของไทยครับ   แต่ถ้าทำแล้วไม่มีการทดสอบตามมาตรฐาน ก็เอาของที่ได้มาตรฐานดีกว่าครับ

เสื้อเกราะกันกระสุนประจำบุคคล ไม่ใช่แค่กันกระสุนไม่ให้ทะลุอย่างเดียวครับ ต้องคำนึงถึงการลดแรงปะทะ รวมถึงรูปทรงและน้ำหนักเพื่อไม่ให้เป็นการสร้างปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สวมใส่ครับ

เสื้อเกราะมาตรฐาน ทบ.ปัจจุบัน อยู่ในระดับ Revel 3 ครับ คือ กันกระสุนในคลาส 5.56x45  แล 7.62x 39   หรือถ้าพูดแบบชาวบ้านก็คือ กระสุน เอ็ม 16 และ กระสุน อาก้า ครับ

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 20/09/2009 22:35:49


ความคิดเห็นที่ 5


อีกนิด ปัญหาของเสื้อเกราะมาตรฐาน ทบ ปัจจุบัน คือ รูปแบบทรงเสื้อและการที่เสื้อไม่สามารถปรับได้(เย็บตายตัว)ครับ  ซึ่งบางคนจะมีปัญหา หากร่างกายไม่เหมาะสมกับเสื้อ(เพราะเสื้อมันไม่สามารถปรับตามร่างกายได้)     

ยกตัวอย่าง  บางคนใส่เสื้อเกราะแล้ว ชายล่างเสื้อเกราะหุ้มเลยเข็มขัดลงมา  พอเวลานั่งคุกเข่าแล้ว มันจะดันตัวเสื้อขึ้น และเกราะอ่อนตรงคอ มันจะค้ำคอ ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายลำบากครับ

หากได้รับการปรับปรุงเรื่องแบบดีไซน์เสื้ออีกเล็กน้อย จะดีขึ้นมากครับ

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 20/09/2009 22:40:02


ความคิดเห็นที่ 6


ชุดเกราะนั้น ทหาร ตำรวจ เขาใช้กัน แต่ชุด เกาะ(อก) นั้นสาวๆ เด็กสก๊อย เขาใช้กัน
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 21/09/2009 00:07:55


ความคิดเห็นที่ 7


ถามอะไรกันเหรอ อะแฮ่มๆๆ 
โดยคุณ semakutek เมื่อวันที่ 21/09/2009 09:13:58


ความคิดเห็นที่ 8


เสื้อเกราะเราไม่กัน 5.56 


เพระาเป็นเกราะระดับ 3A


 
โดยคุณ semakutek เมื่อวันที่ 21/09/2009 09:15:52


ความคิดเห็นที่ 9



เกราะ Level 3A ป้องกันกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ แบบ FMJ
ที่มีหัวกระสุนหนัก 124 เกรนและมีความเร็วไม่เกิน 1,400 ฟุต/วินาที
และกระสุนในขนาด .44 แม็กนั่ม แบบ SJHP 
ที่มีหัวกระสุนหนัก 240 เกรนและมีความเร็วไม่เกิน 1,400 ฟุต/วินาที
รวมไปถึงป้องกระสุนในระดับ 1, 2 และ 3 

ส่วนเสื้อเกราะมาตรฐาน ทบ สามารถอัพ level พิเ้ศษเพื่อให้กัน 5.56 ได้ครับ
สังเกตให้ดีตรงด้านบนเสื้อเกราะ (ทั้งหน้าและหลัง) จะมีซิบแนวยาวแอบอยู่
เอาไว้ใส่้หนังสือพิมพ์ไปอ่านได้ ไม่ต้องพับ (ฮ่า)


คือถ้าใส่เพลท  (Plate Carrier) ใส่เสริมเข้าไปได้อีกครับ
เท่าที่ลองใส่้ ลองถือดู (ขอเค้าหน้าด้านๆ) ไม่มีแผ่นเพลท ก็ไม่หนักเท่าไหร่ครับ น่าจะัสัก 3 โล(กะเอา)

เท่าที่สังเกต (ถามคนใส่) เฮียท่านบอกว่าตรงแผงคอกันกระสุน แต่ข้างลำตัวไม่กัน -*-
เพราะมันเป็นแผ่นผ้าไว้ปิดล็อคธรรมดา เหมือนเกราะของ BB

โดยคุณ semakutek เมื่อวันที่ 21/09/2009 09:25:34


ความคิดเห็นที่ 10


แล้วชุดเกราะข้างบนนี่นำเข้ามาหรือผลิตเองครับ

ดูจากผ้ากับงานเย็บแล้วผมนึกว่าผลิตเองมาตลอด

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 21/09/2009 09:38:14


ความคิดเห็นที่ 11


ท่าน FW190

พูดได้ถูกต้อง เห็นด้วยครับ แต่ของผมมันค้ำพุงครับ 
โดยคุณ ++++ เมื่อวันที่ 21/09/2009 12:08:50


ความคิดเห็นที่ 12


สังเกตุจากเกราะทหารไทยส่วนใหญ่ยังไม่ต้องพูดถึงของในบ้านเรา แต่เอาแค่ของนอกก่อน
ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นเก่าๆแล้วทั้งนั้น ประมาณสงครามอ่าวฯ แถมรูปแบบเสื้อก็เป็นอย่างท่าน FW190 บอก คือปรับไม่ได้
แล้วตัวเสื้อเองก็ยังไม่ได้เป็นแบบ module (แบบที่สามารถจะย้ายตำแหน่งกระเป๋าต่างๆไว้ตรงไหนก้ได้ แล้วแต่ชอบ)
และที่เป็นปัญหาที่สุดคือ เทอะทะ น้ำหนักมากกกก เพราะใช้แผ่นเหล็กในการกันกระสุน แทนที่จะเป็นแผ่นเซรามิกแบบที่เค้าใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ต้นทุนอาจจะน้อยกว่าแต่ก็หนักกว่ามากอยู่

ผมยังไม่เคยจับเสื้อเกราะที่ทำในประเทศตัวเป็นๆ แต่จากที่เห็นในรูป ก็ยังเป็นปัญหาเดิมๆคือทุกอย่างเย็บตายตัว ไม่สามารถปรับอะไรได้เลย
แถมผ้าที่ใช้ก็ไม่สามารถทนทานการใช้งานหนักๆได้ ใช้ไปสักพักก็จะขาดรุ่งริ่งไปหมด
แต่เท่าที่เคยดูผลการทดสอบโดยเอา M-16 และ ak-47 ยิงอัดจ่อๆหลายๆนัด ก็ยังไม่ทะลุ
แต่ไม่แน่ใจว่าการใช้แผ่นเหล็ก สะเก็ดกระสุนจะสะท้อนไปหาใครหรือป่าว?

ผมว่า ไปเอาเสื้อเกราะ BB เกรดดีๆ มาใช้ก็ได้นะ เดี๋ยวนี้ทำดีมากๆ แบบพวกที่ใช้ผ้า cordura ที่ใช้กับเสื้อเกราะจริงๆก็มีถมไป คุณภาพก็ไม่ได้ด้อยกว่าเลย
ขาดอย่างเดียวแค่แผ่นเกราะกันกระสุนยัดเข้าที่ ก็กลายเป็นเกราะกันกระสุนแท้ๆแล้ว

http://www.pokbbgun.com/images/1225378140.jpg

หรือจะไปเซ้งต่อโครงการ pinnacle body armour หรือ "dragon skin" ของเมกาที่แพ้ interceptor มาก็ได้นะครับ
เจ๋งมากเลย กันทั้งตัว ไม่ได้ใช้เกราะสี่เหลี่ยม แต่เป็นแผ่นกลมๆเล้กๆๆแปะๆต่อกันเหมือนเสื้อเกราะจีนโบราณ ทำให้มีความยืดหยุ่นมาก


โดยคุณ beam408 เมื่อวันที่ 22/09/2009 04:47:26


ความคิดเห็นที่ 13


Dragon Skin มีหลักฐานบน SFTT.org ว่าการทดสอบของกองทัพบกมีข้อสงสัยหลายประการ เช่นมีร่องรอยแก้ไขในใบรายงาน แถมเอาไปแช่น้ำมันรถตั้งสองชั่วโมง (กะให้ทหารไปว่ายในน้ำมันนานขนาดนั้นเชียวรึ) แต่ปัญหาที่ทุกคนเห็นตรงกันคือราคาแพงกว่าเสื้อ Interceptor พอสมควรครับ

ส่วนตัวก็อยากให้เราใช้ระบบ MOLLE แบบอเมริกันครับ ในสายตาของคนเล่นแอร์ซอฟท์ (ที่ความต้องการไม่ได้ต่างจากทหารจริงมากนัก) ใช้แบบนั้นจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการมีกระเป๋าตายตัวที่บางทีก็ไม่รู้จะเอาไปใส่อะไรเพราะไม่ใช่ภารกิจ

โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 22/09/2009 05:39:48


ความคิดเห็นที่ 14


เสื้อเกราะหลักที่ใช้งานอยู่ใน จชต. เป็น เรเวล 3 ครับ ท่านsemakutek   ยกเว้นบางหน่วย ยังมี เรเวล 3 เอ แบบเก่าอยู่

หลักๆ จะมี 2 แบบ  โดยแบบหลักก็เป็นแบบที่ ท่าน semakutek   นำรูปมาลง    แบบนี้ภายในตัวเสื้อจะเป็นแผ่นเคฟล่า หรือเกราะอ่อน เรเวล 3 เอ(กันกระสุนปืนพก)  โดยจะมีช่องหน้า-หลัง สำหรับสอดใส่แผ่นเพลท เพื่อเพิ่มเป็น เรเวล 3 (เกราะอ่อน+แผ่นเพลท) เฉพาะตรงที่มีเพลทอยู่ ตรงอื่นที่เหลือก็ยังเป็น เรเวล 3 เอ เหมือนเดิมครับ

ส่วนอีกแบบคือ แบสแตนด์ อโลน  คือมีแต่เพลท เรเวล 3 อย่างเดียว

 

ปัญหาของเสื้อเกราะหลักอย่างที่กล่าวคือ ไม่สามารถปรับได้  ส่วนมากกำลังพลที่พอจะมีเงินหลือ จากรายได้อันน้อยนิด  ก็จะสั่งตัด หรือซื้อ เพลท แครีเออร์ กันเอาเองตามทุนที่มี แล้วถอดเอาแผ่นเพลทจากของหลวงมาใส่เพลทแครีเออร์ของตัวเอง   ก็เพื่อชีวิตของตัวเอง     ซึ่งส่วนมาก งบก็ไม่มากพอที่จะจัดหา คอนดูล่า ได้  ส่วนใหญ่ก็เป็น ไนล่อน กับ ผ้าธรรมดา   ซึ่งความทนทานก็ต่ำลงไป โดยเฉพาะการลุกติดไฟ(ความจริงมีบทเรียนมาหลายเคสแล้วนะครับ)  แต่ก็ยังดีตรงที่ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับของหลวงที่ไม่สามารถปรับได้

 

ไม่มีใครอยากเสียเงินหรอกครับ หาก ของที่ให้มาสามารถใช้งานได้ดีจริง   ในการฝึกอาจจะไม่มีคนสนใจ เพราะฝึกจบก็แล้วกันไป  แต่ในการทำงานที่เอาชีวิตจริงเข้าแลก  มันก็ต้องลงทุนกันหน่อย  

คำถามคือ  ใครควรจะลงทุนกันแน่

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 22/09/2009 06:37:39