ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารที่ 15ก.ย. กระทรวงกลาโหมเตรียมเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติให้กองทัพบกก่อหนี้ผูกพันข้าม ปีงบประมาณโครงการจัดหาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ระยะที่ 4 (ทบ.1399) จำนวน 13,868 กระบอก วงเงิน 27,777,604 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 964,993,963บาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 15 พ.ค. 2552 อัตรา 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.74 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบปรมาณ พ.ศ. 2552-2554 โดยมีแผนการใช้จ่าย ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ชำระจำนวน 200 ล้านบาท ปีงบฯ 2553 ชำระ 200 ล้านบาท และปีงบฯ 2554 ชำระ 564,993,963 บาท เพื่อแจกจ่ายให้หน่วยกำลังรบหลักของกองทัพบกให้มียุทโธปกรณ์ตามอัตรา และแจกจ่ายให้แก่หน่วยเป้าหมายทดแทนของเดิมที่มีสภาพเก่าล้าสมัย และชำรุดเนื่องจากการใช้งานมานาน สภาพทั่วไปของปืนส่วนใหญ่ลำกล้องสึกหรอ โครงปืนมีสภาพหลวมคลอน ขาดความแม่นยำในการยิง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถกำลังรบตามแนวทางการสร้างความสมบูรณ์หรือความพร้อมรบด้านยุทโธปกรณ์ให้หน่วยกำลังรบหลัก รวมทั้งสร้างความพร้อมรบของหน่วยกำลังรบหลักให้สามาถต้านทานภัยคุกคามได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความล่อแหลมต่ออันตรายในระหว่างการสู้รบเอาชนะภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ
มีรายงานว่า กองทัพบก ได้พิจารณาเลือกแบบปืนเล็กยาว แบบ TAVOR TAR-21 ตามผลการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ จากบริษัท Israel Weapon Industeies (IWI) Ltd. ประเทศอิสราเอล
ผมว่ากองทัพกำลังจะเปลี่ยนระบบประจำการปืน ให้เป็นปืนแบบ บลูปั๊ป ให้ทันสมัยและทัดเทียมนาๆประเทศ และมีความคล่องตัว สั้น กระทัดรัด ในการเล็งยิง ผมเคยได้ยินมาว่า เวลาปะทะกับกลุ่มโจร กว่าจะวาดปืนขึ้นได้ กว่าจะประทับเล็ง โจรมันก็วิ่งไปไหนแล้ว ไม่มีความคล่องตัว เข้าบังเกอร์ก็ เก้ๆ กังๆ ปืนยาว ปากกระบอกก็โผล่อีก โจรก็เห็นอีก ผมว่าเป็นความคิดที่ดีที่สุดๆ แล้วครับที่เราเลือกซื้อ TAR 21 มากกว่า M16 A4 ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับเรื่องลูกกระสุนนะครับ น่าจะทำซื้อสิทธิบัตรมาผลิต คงไม่เกินฝีมือช่างผู้ชำนาญการ กรมสรรพวุธอยู่แล้ว ลูกปืนใหญ่ยังผลิตได้เลย ช่างไทยเก่งอยู่แล้ว
อืมส่วนตัวอยากทราบว่า TAR21 จะสามารถใช้กระสุนปืน M198 ได้หรือเปล่าครับ อยากทราบเหมือนกัน M16 A2 ใช้ได้ แต่ประสิทธิภาพจะลดลงไปไม่ทราบว่า ถ้า TAR 21 ใช้M 198 จะมีปัญหานี้เหมือนกันเปล่าครับ
โครงการณ์ต่อไปในใจผมอยากให้ ท.บ. จัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดกลาง มาทดแทน DRAGON กับ TOW ซักทีเพราะเก่ามากแล้วน่าจะเป็นการจัดหาแบบเร่งด่วนนะครับ
ป.ล. ส่วนพี่ : Oldtimer ไม่ต้องกลัวครับ สิงคโปร์ขาย ลูกปืนเล็กให้เรา แต่เราเทพกว่า เราขายลูกปืนใหญ่ให้สิงคโปร์นะครับ ใครเทพกว่ากัน 5555+
แสดงว่า ปืนดีมีคุณภาพถ้าเทียบกับ M-16 จึงมีการจัดหา TAR-21 เพิ่มเติมอีก ในส่วนตัวคาดว่า ความแม่นยำในการยิงแบบเล็งนั่งแท่นหรือซุ้มโจมตีนั้นมีมากกว่าด้วยระบบกล้องเล็ง และความคล่องตัวจากตัวปืนที่สั้นแต่ไม่เสียระยะหวังผลด้วยคุณสมบัติแบบ บูลพับ แต่คงต้องมีการดูแลที่มากกว่าเดิมแน่นอน จริงๆแล้ว ปืนแบบ บูลพับ นั้นมันทำให้ระยะ ศูนย์เล็ง ระหว่าง ศุนย์หน้า กับ ศูนย์หลัง มันใกล้กันมากทำไห้การเล็งยิงนั้นขาดความแม่นยำ เมื่อเทียบกับ ปลย.แบบ M-16 จึงมีการติดกล้องเล็งเพื่อชดเชยข้อเสียนี้ และแน่นอนว่า การดูแลรักษาก็คงต้องเพิ่มการดูแลกล้องเล็งเข้าไปด้วย อีกทั้งระบบกลไกการยิงก็มีความซับซ้อนมากกว่า ปลย.แบบ M-16 พอสมควร
ส่วนเรื่องลิขสิทธิการผลิต กระสุนปืน นั้นถ้าเราจะทำเรื่องขอซื้อมาผลิตเองก็น่าจะกระทำได้ แต่จะทำหรือไม่เท่านั้น สิงคโปร์ ซื้อสิทธิบัตรมาผลิตแล้ว ใช่ว่าจะห้ามไม่ให้เราซื้อสิทธิบัตรมาผลิตเองนี่นา หรือว่า เขามีสัญญาตกลงกันไว้ว่า ห้ามขายสิทธิบัตรการผลิตกระสุนปืนแบบนี้ให้ไทย
ฮัมวี่ ถูกมากมายครับผมมม
เท่าที่ทราบตอนนี้ทาง ทบ. ก็ผลิตทั้ง M193 และ M855 ( SS 109 ) เองอยู่
ไม่ได้ซื้อจากสิงคโปร์เลย
เครื่องจักรและอุปกรณ์ ก็มีการปรับปรุงเพื่มเติมอยู่เป็นระยะ เท่าที่งบฯ จะอำนวย
ปืนดีๆหามาให้น้องๆทหารเขาใช้เถอะครับ อย่างน้อยเขาก็ได้พึ่งพาตอนเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายได้ ราคาของปืน TAVOR จะแพงกว่า M-16 หรือ M-4 ก็ประมาณสองหมื่น เป็นมูลค่าของนวัตกรรมใหม่และค่ากล้องเล็งระยะประชิดนะครับ ใช้ยิงที่ระยะ 0-300เมตร(ศูนย์รบ)
ปืนเล็กยาวนี่ซื้อแล้วคุ้มครับ ตอนนี้ก็ใช้ในพื้นที่สามจังหวัด น้องทหารบอกชอบมากๆ คล่องตัวมาก ควบคุมการยิงได้ดี ศูนย์เล็งจับเป้าได้เร็ว ยิงตอบโต้กลางคืนได้ดี โดยรวมแล้วดีกว่า M-16 และ M-4 ครับ ตอนเลือกแบบทางศูนย์การทหารราบและ ผบ.หน่วยทหารราบก็เป็นผู้เลือกแบบกันเองครับไม่มีใครมาบังคับ คนเลือกซื้อเองได้ใช้เอง(ไม่เหมือนโลงครับ คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ)
ปืนเล็กยาวนี่ถือเป็นอาวุธยุทธศาสตร์นะครับ เราใช้มันในการป้องกันประเทศ ตั้งแต่เรายังไม่ได้รบกะใคร(ใช้ที่พระวิหารใช้ในสามจังหวัด) แม้กระทั่งเวลารบหนักเป็นสงครามเต็มรูปแบบปืนเล็กยาวก็เป็นหลักในการรบในแนวหน้าครับ หรือแม้ว่าบ้านเมืองเราจะสูญสิ้นอิสระภาพไป กองโจรสายเลือดไทยก็จะใช้อาวุธปืนเล็กยาวนี่หละครับเป็นอาวุธหลักที่จะกู้ชาติของเรา นักรบเดินเท้าเราอยากได้ของที่ดีครับ
ซื้อเถอะครับไม่แพงหรอก ขอเฉพาะพวกที่เดินเท้าเข้ารบก็ได้ เราปกป้องพวกคุณแล้ว ใครหละครับที่จะปกป้องเรา
คืนนี้นอนหลับให้สบายนะครับ เราจะตื่นตาคอยลาดตระเวนรักษาสามจังหวัด แดนพระวิหาร ยืนระวังยามโดยรอบขอบประเทศนี้ให้กับพวกคุณเองครับ
ทบ. เคยคิดเหมือนกันครับ แบบที่เป็นชิพขนาดเล็กที่ประเทศอเมริกาใช้ติดตามสุนัขที่หาย หลงทาง หรือถูกขโมยไป แต่ตอนนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีแบบนี้ และไม่รู้จะได้ผลหรือเปล่าถ้าพวกโจรเอาปืนไปฝังดินครับ
แต่ในภาพรวมแล้วก็ดีนะครับ ใช้กลศึกแบบม้าไม้โทรจัน(ทรอย)หลอกให้มันกลืนเบ็ด เราติดชิพไปซักพันสองพันกระบอกจับได้สักห้าหกรายก็คุ้มมากแล้วครับ
มาคิดอีกทีก็น่าสังเวชใจนะครับ ถ้าโจรมันโจมตีแล้วยึดปืนได้ กรณีนี้ส่วนมากจะตายยกทีมโจรถึงจะเอาปืนไปได้ แบบกรณีทหารพรานที่พลีชีพล่าสุด ถ้าเป็นแบบนี้ ตำรวจ ทหาร อส.ทั้งหลาย ที่สละความสุขส่วนตัวไปปฏิบัติหน้าที่อีกนัยหนึ่งก็คือเหยื่อนั่นเองนะครับ
คือ สิงคโปร์ หลังจากที่เขาผลิต M-16A1 ภายใต้สิทธิบัตรแล้ว เขาเอาประสปการณ์มาพัฒนาปืน ไรเฟิลจู่โจมแบบ SAR80 ครับ คุณOldtimer ลำกล้องปืนและพานท้ายนำของ M-16A1 มาใช้ ตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร หัวหิน เคยเอามาทดลองใช้และประเมินค่า ผลการยิงก็ถือว่าใช้ได้ถ้าเทียบกับ M-16A1 หรือ HK-33 แต่ว่ามันมีหลายอย่างที่รวมแล้วไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ เช่น ดึงคันรั้งลูกเลื่อนแล้วต้องใช้มือกดล็อกไว้ ถ้าปล่อยลูกเลื่อนก็กลับเข้าที่ ไม่มีล็อกค้างไว้ให้เหมือน M-16A1 หรือ HK-33 แต่ว่าต่อมาที่น่าทึ่งคือ สิงคโปร์ พัฒนาปืนแบบใหม่ทรง บูลพัพ ที่เรียกว่า SAR21 ออกมาและผลการทดสอบทั้งเรื่องการเล็งยิงและภาคสนามเหนือกว่า M-16 เสียอีกครับ
ในรูปนี้เป็น SAR80 ครับ
ที่บอกว่า นำทาเวอร์ มาใช้งานในพื้นที่ จชต. นั้น พื้นที่ไหนครับ อำเภออะไร เพราะปัจจุบัน พึ่งบรรจุ และหน่วยที่นำลงปฏิบัติงานนั้น ถือเป็น เปอร์เซ็นต์ที่น้อยมากๆครับ ในปีงบประมาณหน้า อาจจะเห็นจำนวน 1 ฉก.สองตัว แต่ก็ยังเป็น % ที่น้อยครับ
ทาเวอร์ใช้ศูนย์ ออปติก รีเฟร็กไซน์ ซึ่งออกแบบมาสำหรับการยิงฉับพลันในการรบระยประชิด ดังนั้นการจับเป้าได้เร็วในการเล็งสองตา ได้เร็วกว่า เอ็ม 16 ซีรี่ ที่ยังคงใช้ศูนย์เปิด หรือ ไอออนไซน์ ก็ไม่น่าจะแปลกอะไร แต่ถ้าหากว่า เทียบกับเอ็ม 16 ซีรี่ หรือ เอ็ม 4 ซีรี่ ที่ติดกล้องในลักษณะเดียวกันละ
ผมยังสงสัยว่า กล้อง MePro 21 ที่ติดในทาเวอร์นั้น หากไม่ใช้งานร่วมกับ เอ็นวีจี ดีไวน์ แล้วมันจะสามารถยิงในเวลากลางคืนได้ดีกว่า เอ็ม 16 หรือ เอ็ม 4 ซีรี่ได้อย่างไร ในเมื่อมันไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยเล็งในเวลากลางคืน
แต่ที่ดีกว่าหน่อยคือ ในสภาวะแสงน้อย และมองเห็นจุดเล็งในกล้อง หากตรวจการณ์พบแสงไฟปากลำกล้องจากการยิงของฝ่ายตรงข้าม ก็ยังพอสามารถทาบจุดยิงได้ แต่มันก็ไม่ใช่จะเหนือกว่าโดยสิ้นเชิง
ตรงการยิงในเวลากลางคืนนั้น อย่าไปมองที่ตัวปืนครับ ให้มองที่อุปกรณ์ช่วยตรวจการณ์และช่วยเล็งยิงในเวลากลางคืนครับ เพราะอุปกรณ์พวกนี้สามารถติดตั้งกับปืนได้เกือบทุกชนิดครับ
ยกตัวอย่างง่ายๆ ระหว่าง ทาเวอร์ติดแค่กล้อง MePro21 กับ เอ็ม1คาร์ไบน์(ปสบ.87) ที่เมาท์ติ้ง ติด AN/PEQ2A พร้อม NVG ประจำบุคคล หากทำการรบในเวลากลางคืน ผมเลือกตัวหลังครับ
ที่บอกว่าผบ หน่วยทหารราบเป็นผู้เลือกนั้นเป็น ผบ หน่วยระดับไหนครับ
ส่วนตัวแล้ว การทดสอบเพื่อเลือกแบบปืนนั้น โดยเฉพาะประเทศที่มีงบไม่มากไม่สามารถเปลี่ยนแบบได้บ่อยๆและการส่งกำลังที่ไม่ดีอยู่แล้วนั้น ไม่ควรแค่ทดสอบการยิงเฉพาะในสนามยิงปืน และเปรียบเทียบข้อมูลทางเทคนิกหรือจำลองสภาวะเพียงอย่างเดียว หากเป็นไปได้ จัดชุดกรรมการจากหน่วยที่ต้องใช้งานจริง และส่งเข้าทดสอบในสนามจริงเลยครับ สนามจริงหมายถึงในสภาวะภูมิประเทศและอากาศจริง กับ ภารกิจต่างๆ และเปรียบเทียบคะแนน รวมกันทุกหัวข้อ
แต่ถ้า การเปลี่ยนแบบครั้งนี้ เป็นจริงตามข่าวสาร คือ จะจัดหาในระยะยาวและใช้งานเป็นหลัก รวมถึงมีแผนในการได้รับเทคโนโลยีไปจนถึงขั้นการพัฒนาเองแล้ว ถือได้ว่า เป็นหัวข้อที่ดีเลยละครับ ก็จะถือว่าเป็นการเลือกแบบที่ไม่เลว แต่ถ้าหากเป็นตรงกันข้าม คือ เป็นการจัดซื้อในระยะสั้นจำนวนไม่มาก แล้วละก็ จะเป็นการเพิ่มแบบปืนและสายการส่งครับ