อยากทราบว่าทางกองทัพไทยมีการฝึก Auto Rotation (เป็นการฝึกเพื่อประคองเครื่องลงสู่พื้นเมื่อเครื่องยนต์ดับ โดยใช้หลักการเดียวกับลูกยาง ซึ่งอาศัยแรงยกของโรเตอร์ที่ยังหมุนอยู่)ไหมครับ แล้วคุณสมบัติด้านนิรภัยช่วงล่างของ ฮ.เรารองรับการฝึกแบบนี้ได้รึเปล่า อีกอย่างหนึ่งคือระยะความสูงจำกัดที่เท่าไหร่ครับถึงจะสามารถทำ auto rotation ได้ ผมคิดว่าถ้าสูงไปแรงยกโรเตอร์หมด ฮ.คงควงสว่านลงมา
Auto Rotation เท่าที่ทราบนะครับ
v
v
v
คือการนำเครื่องลงสนามบินฉุกเฉินของ Helicopter ซึ่งวิธีการที่เครื่องใช้ปกติคือการลดรอบของโรเตอร์หลักให้อยู่รอบต่ำสุดที่ยังสามารถบินประคองเครื่องได้ โดยเป็นลักษณะการร่อนลงพื้นที่กำหนดเหมือนเครื่องบินร่อนลงสนามบิน ความสูงที่ใช้อยู่ที่ 500 ฟุต + Elervation ของสนามบินหรือพื้นที่ต้องการจะลงการทำ Auto Rotation ในเรื่องความสึกหรอของเครื่องยนต์ก็คงต้องให้ผู้มีความรู้ด้านช่างให้ข้อมูลต้อไปครับ
แล้วถ้าหากกรณีเครื่องยนต์ดับเลยล่ะครับยังสามารถใช้ได้หรือเปล่า
เออ ขอนอกเรื่องหน่อยนะคับ คืออยากทราบว่า น้ำมันเครื่องบิน กับ น้ำมันรถยนต์ ใช้เหมือนหรือต่างกันอย่างไรอ่ะคับ
แล้วน้ำมันอันไน๋แพงกว่ากันคับ
Auto Rotation คือ การบังคับเฮลิคอปเตอร์โดยไม่อาศัยแรงฉุดของ เครื่องยนต์ การปฏิบัติ Auto Rotation คล้ายกับการขับรถลงเนิน แล้วใช้แรงหน่วงจากระบบเกียร์และเครื่องยนต์ ช่วยชะลอความเร็ว เป็นขั้นตอนการปฏิบัติในยามฉุกเฉิน
สำหรับเฮลิคอปเตอร์ การทำ Auto Rotation เมื่อเครื่องยนต์ขัดข้องถือเป็นท่าไม้ตาย กระบวนหนึ่ง ซึ่งนักบินเฮลิคอปเตอร์ต้องได้รับการเรียนรู้และฝึกฝน เมื่อเครื่องยนต์เสีย จนไม่สามารถส่งแรงขับออกไปหมุนใบพัดหลักได้ จะทำให้ไม่สามารถรักษาความสูงไว้ได้ แต่นักบินจะบังคับเครื่องให้ร่อนลง ต่อไปได้ ด้วยมุมร่อนชันกว่าปกติ เพื่อให้อากาศรักษาความเร็วการหมุนของโรเตอร์ไว้ การร่อนเช่นนี้ จะเป็นการลดระดับความสูงอย่างเร็วมาก จึงต้องระวัง เมื่อใกล้จะพื้น นักบินจะต้องปรับมุมใบพัดให้พอดี การปรับมุมใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ คล้ายกับการเพิ่มมุมปะทะของเครื่องบิน จะทำให้ได้แรงยกตัวคืนมา พอที่จะพยุงเครื่องไว้ในอากาศได้เพียงชั่วขณะ ในขณะเดียวกัน นักบินดึงหัวเครื่องให้เชิดขึ้น เพื่อให้วางตัวอยู่ในท่าเหมือนจะลงตามปกติ ขณะนั้นโรเตอร์จะหมุนช้าลงด้วย เพราะมุมใบพัดถูกปรับให้กินลม และต้านทานอากาศมากขึ้น นักบินมีโอกาสเพียงครั้งเดียว มีกระสุนนัดเดียว ที่จะแก้ไข หากกระทำช้าไป หรือเร็วไป ย่อมส่งผลให้เครื่องตกกระแทกพื้นอย่างแรง