หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สงครามอาหรับ-อิสราเอล วิกฤตการณ์คลองสุเอซ

โดยคุณ : omaha เมื่อวันที่ : 29/08/2009 08:49:52

ความที่อิสราเอลกับประเทศอาหรับโดยรอบไม่มีการบรรลุข้อ ตกลงสันติภาพกันภายหลังข้อตกลงหยุดยิงในปี 1949 ซึ่งอาหรับได้ทำ สงครามกับรัฐยิวในทันทีที่ก่อตั้งประเทศนั้น ยังผลให้ภูมิภาคตะวันออกกลางมี บรรยากาศตึงเครียดอยู่โดยตลอด
แล้วต่อมาก็ปะทุเป็นวิกฤตการณ์คลองสุเอซ



วิกฤตการณ์คลองสุเอซ (Suez Crisis) เป็นการเผชิญหน้ากันใน ระดับนานาชาติในปี 1956 ซึ่งอียิปต์ได้ท้าชนกับกองทัพของอิสราเอล อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยอียิปต์ได้ยึดการบริหารงานคลองสุเอซมาเป็นของตน   ทำให้ทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียตต้องยื่นมือเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย  และจบลง ด้วยการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติไปคอยห้ามทัพ

วิกฤตการณ์ครั้งนี้เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรีของอียิปต์ (ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดี) กามาล  อับเดล นัสเซอร์ ก้าวขึ้นสู่อำนาจใน ปี 1954 ตอนแรกเขาเดินงานการทูตแบบนิยมตะวันตก แต่ต่อมาก็หันไปโดด เด่นในขบวนการของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด  คือไม่ผูกพันอย่างเป็นทาง การกับสหรัฐหรือโซเวียต แต่จะขอความสนับสนุนจากทั้งสองค่ายพี่เบิ้มแห่ง โลกยุคสงครามเย็น

ในเดือนกันยายน 1955 นัสเซอร์ซื้ออาวุธโซเวียตจำนวนมาก จากเชกโกสโลวะเกีย ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันก็ได้รับคำมั่น สัญญาจากรัฐบาลสหรัฐและอังกฤษว่า จะสนับสนุนเงินแก่โครงการสร้างเขื่อน อัสวานที่จะกั้นแม่น้ำไนล์

รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส ไม่ชอบใจที่นัสเซอร์ทำตัวสนิทสนมใกล้ชิดกับค่ายคอมมิวนิสต์ จึงขัดขวาง การให้เงินสร้างเขื่อนอัสวานจนเป็นผลสำเร็จ

เดือนกรกฎาคม 1956 นัสเซอร์ตอบโต้ด้วยการถ่ายโอน กรรมสิทธิ์ของบริษัทที่ดูแลคลองสุเอซซึ่งเป็นของอังกฤษและฝรั่งเศสให้มาเป็น ของรัฐบาลอียิปต์ โดยบอกว่าจะเอาผลกำไรปีละ 25 ล้านดอลลาร์ของบริษัทนี้ มาใช้สร้างเขื่อนดังกล่าว

เขาอ้างความชอบธรรมว่า คลองสุเอซเป็นทรัพย์สินของอียิปต์ และจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่บรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว พร้อมกับจะเปิด ให้เรือของทุกชาติเข้าใช้คลองสายนี้ได้ (ตอนแรกอียิปต์จะไม่ให้อิสราเอลใช้)

รัฐบาลอังกฤษกับฝรั่งเศสยอมรับไม่ได้ที่จะปล่อยให้คลองสายนี้ หลุดมือไป เพราะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่ใช้ขนส่งน้ำมันจำนวนมหาศาล จากตะวันออกกลางไปยังยุโรป อังกฤษกับฝรั่งเศสเรียกร้องให้นัสเซอร์เปลี่ยน ใจ เมื่อการเดินเกมทางการทูตล้มเหลว ทั้งสองชาติก็หันไปชวนอิสราเอลให้ ร่วมเป็นพันธมิตรทางทหาร อิสราเอลก็ตอบตกลง

เหตุที่อิสราเอลเอาด้วยกับอังกฤษและฝรั่งเศส ก็เพราะถูกอียิปต์ ห้ามเรือของอิสราเอลหรือเรือของชาติใดที่บรรทุกสินค้าหรือมุ่งสู่อิสราเอลใช้ คลองสุเอซมาตั้งแต่ปี 1949 และอียิปต์ยังปิดช่องแคบทิรันที่ปากอ่าวอะกาบา มาตั้งแต่ปี 1951 ทำให้อิสราเอลหมดทางออกสู่ทะเลแดง และพวกนักสู้จร ยุทธ์ก็ใช้ฉนวนกาซาซึ่งอยู่ในความดูแลของอียิปต์เป็นฐานเข้าโจมตีอิสราเอล หลายครั้ง

หลังจากร่วมวางแผนอย่างลับๆ กับอังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ หลายเดือน อิสราเอลก็เปิดฉากโจมตีซึ่งเรียกกันในภายหลังว่าสงครามสุเอซ- ซีนาย (Suez-Sinai War) ด้วยการบุกคาบสมุทรซีนายในวันที่ 29 ตุลาคม 1956

ภายในวันเดียว กองทัพอิสราเอลดาหน้าไปทั่วแหลมซีนายจน อยู่ห่างจากแนวคลองสุเอซแค่ไม่กี่กิโลเมตร ในวันที่ 30 ตุลาคม อังกฤษกับ ฝรั่งเศสก็เดินตามแผนขั้นต่อมา ด้วยการยื่นคำขาดเรียกร้องให้ทั้งอิสราเอลและ อียิปต์ถอนทหารออกจากแนวคลองสุเอซ เพื่อให้กองกำลังร่วมของอังกฤษและ ฝรั่งเศสเข้ารักษาการณ์ตลอดความยาวของคลองสายนี้

นัสเซอร์ไม่ยอมทำตามคำขอนี้ ในวันที่ 31 ตุลาคม กองทัพอังกฤษกับฝรั่งเศสจึงทิ้งระเบิดใส่ฐานทัพต่างๆ ของอียิปต์ ทำลาย เครื่องบินของอียิปต์ที่จอดอยู่เป็นจำนวนมาก กองทัพอียิปต์ในคาบสมุทรซีนาย ถูกตีแตกพ่าย ภายในหนึ่งสัปดาห์ อิสราเอลก็ควบคุมคาบสมุทรซีนายได้เกือบ หมด

นัสเซอร์สั่งให้จมเรือ 40 ลำในคลองสุเอซเป็นการตอบโต้ ซึ่งเป็นการปิดคลองไปโดยปริยาย

งานนี้สหรัฐกับโซเวียตตั้งตัวไม่ทัน เพราะมัวแต่สนใจกรณี ลุกฮือขึ้นต่อต้านคอมมิวนิสต์ในประเทศฮังการีในช่วงปลายเดือนตุลาคม  มหา อำนาจทั้งสองเรียกร้องให้มีการหยุดยิงตลอดแนวลำคลองโดยทันที โซเวียตขู่ จะใช้จรวดพิสัยไกลช่วยกองทัพอียิปต์ ขณะที่สหรัฐก็ขู่จะสกัดกั้นการส่งน้ำมัน จากอเมริกาใต้ไปยังยุโรปทั้งหมด

แรงกดดันเหล่านี้ รวมทั้งข้อมติที่แข็งกร้าวของสหประชาชาติที่ เรียกร้องการหยุดยิง โดยการสนับสนุนของมหาอำนาจทั้งสอง บังคับให้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิสราเอลต้องยอมรามือ โดยถอนทหารออกมา แล้วให้กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติจัดทหารเข้าไปประจำการณ์ตาม แนวชายแดนของอียิปต์กับอิสราเอล

เมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 1956 คลองสุเอซและคาบสมุทรซีนายก็ กลับมาอยู่ในความควบคุมของอียิปต์ นัสเซอร์กลายเป็นวีรบุรุษนักชาตินิยม ของชาวอาหรับ ส่วนอิสราเอลไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลองสุเอซ แต่ก็ได้ใช้ ช่องแคบทิรันเป็นการแลกเปลี่ยนกับการถอนทหารออกจากฉนวนกาซาในตอน ต้นปี 1957

ภายหลังวิกฤตการณ์คลองสุเอซ อาหรับกับอิสราเอลก็ยังคงไม่ มีการเจรจาสันติภาพกัน ทำให้มีการปะทะตามแนวชายแดนกันเป็นระยะๆ

เมื่อว่างเว้นจากการทำศึกภายหลังสงครามปี 1956 เศรษฐกิจ ของอิสราเอลก็มีการพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมทำให้รัฐบาลสามารถยกเลิกมาตรการรัดเข็มขัดต่างๆ ได้ การส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ผลผลิตภายในประเทศก็เพิ่มขึ้นมาก ข้าวของที่ เคยต้องสั่งนำเข้าก็เริ่มผลิตใช้เองในประเทศได้ เช่น กระดาษ ยางรถยนต์ วิทยุ และตู้เย็น

ภาคการผลิตที่โตวันโตคืนก็คือ เหล็ก เครื่องจักร สารเคมี และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกพืชหลายชนิดเพื่อป้อน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและส่งออกสินค้าสด การค้าเจริญรุ่งเรืองมาก ถึงกับมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นที่เมืองอัชดอด ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

งานด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ขยายตัว มีการสาน ไมตรีกับสหรัฐ กลุ่มประเทศในเครือจักรภพ ประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ และเกือบทุกประเทศในละตินอเมริกาและแอฟริกา มีการส่งผู้เชี่ยวชาญของ อิสราเอลไปช่วยงานพัฒนาในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา

ด้านการทหารก็ใช่ย่อย อิสราเอลกระชับความร่วมมือทางการ ทหารกับฝรั่งเศส ขณะที่สหรัฐตกลงขายอาวุธให้อิสราเอลในปี 1962 และเยอรมนีตะวันตกก็ยังคงให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหาร โดยในปี 1965 อิสราเอลได้แลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตกับเยอรมนีตะวันตก ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ถูกดองมานานเนื่องจากความทรงจำอันขมขื่นของ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

เบน-กูเรียนลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1963 โดยมีรัฐมนตรีคลังของเขา คือ เลวี เอชโคล เข้ามาแทน สองปีให้หลัง เบน- กูเรียนก็ก่อตั้งพรรคฝ่ายค้านขึ้นใหม่ คือพรรคราฟี เพื่อแยกตัวออกจากพวกหัว เก่าในพรรคแรงงาน โดยมีสมาชิกชั้นนำของพรรคแรงงานหลายคนตามมาเข้า พรรคใหม่นี้ด้วย เช่น โมเช ดายัน (Moshe Dayan) และ ชิมอน เปเรส (Shimon Peres)

ในเมื่อความบาดหมางยังไม่สิ้น  ในช่วงกลางทศวรรษ  60  ฝ่าย อาหรับกับอิสราเอลก็ปะทะกันอีกครั้งในสงครามหกวัน