หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สงครามอาหรับ-อิสราเอล รัฐยิวหลังประกาศเอกราช

โดยคุณ : omaha เมื่อวันที่ : 29/08/2009 08:45:12

ภายหลังการก่อตั้งประเทศ อิสราเอลได้นำระบอบประชาธิปไตย แบบตะวันตกมาใช้ท่ามกลาง หมู่ประเทศอาหรับ ในตะวันออกกลาง รัฐเกิดใหม่แห่งนี้
ต้องทำสงครามประเทศ ข้างเคียงเป็นระยะๆ ขณะที่ภายในประเทศ ก็มีการผลัดเปลี่ยน การขึ้นครองอำนาจ ระหว่างพรรคการเมือง สายเหยี่ยวกับสายพิราบ

ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 เมื่อระบบการปกครองแบบ อาณัติของอังกฤษเหนือดินแดนปาเลสไตน์หมดอายุลง ฝ่ายชาวยิวก็ประกาศ สถาปนารัฐอิสราเอลขึ้นทันที

คำประกาศก่อตั้งประเทศได้ชักชวนให้ชาวยิวซึ่งมีสายสัมพันธ์ กันทางศาสนาและจิตวิญญาณเข้าไปอาศัยในแผ่นดินอิสราเอล โดยไม่ได้ ระบุขอบเขตพรมแดนที่แน่ชัด มีการให้หลักประกันต่อเสรีภาพทางศาสนาและ ความคิดทางการเมือง ภาษา การศึกษา และวัฒนธรรม

พร้อมกับกำหนดกรอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการว่าด้วยเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพ และเรียก ร้องความสัมพันธ์อย่างสันติกับบรรดาประเทศอาหรับ

มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นบริหารประเทศ โดยมี เดวิด เบน-กูเรียน ประธานองค์การชาวยิว (Jewish Agency) เป็นนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานองค์การชาวยิว คาอิม ไวซ์มานน์ เป็นประธานาธิบดี

สหรัฐและสหภาพโซเวียตได้ให้การรับรองรัฐบาลชุดนี้ในทันที เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ

สันนิบาตอาหรับประกาศสงครามกับประเทศเกิดใหม่แห่งนี้ อย่างไม่รอช้า โดยอียิปต์ ทรานสจอร์แดน (ปัจจุบันคือจอร์แดน) ซีเรีย เลบานอน และอิรัก ประกาศจะส่งกองทัพเข้าไปในพื้นที่นั้นเพื่อฟื้นฟูความ สงบเรียบร้อย

กองกำลังปกป้องอิสราเอล (Israel Defense Forces-IDF) ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากบรรดาองค์กรทหารก่อนที่จะมีการประกาศเอกราช ได้ผลักดัน กองทัพของฝ่ายอาหรับสำเร็จ ซึ่งการสู้รบได้ดำเนินต่อมาจนถึงต้นปี 1949 กระทั่งอิสราเอลกับทุกประเทศที่มีชายแดนติดกับอิสราเอลได้ลงนามในข้อ ตกลงพักรบ ทว่าอิรักซึ่งไม่ได้มีพรมแดนติดกับอิสราเอลไม่ได้ลงนามด้วย

ข้อตกลงนี้ทำให้อิสราเอลสามารถควบคุมพื้นที่ได้มากกว่าแผน การจัดสรรพื้นที่ของสหประชาชาติ ในขณะที่พื้นที่บางส่วนซึ่งยูเอ็นแบ่งให้ชาว อาหรับปา เลสไตน์ก็ได้ตกอยู่ในความควบคุมของอียิปต์กับจอร์แดน โดยอียิปต์ได้เข้าครองฉนวนกาซา และจอร์แดนได้คุมเวสต์แบงก์ ส่วนนครเยรูซาเล็มถูกอิสราเอลกับจอร์แดนแบ่งกันครอง

ชาวอาหรับหลายแสนคนได้อพยพจากอิสราเอลไปยังดินแดนที่ ปลอดภัยกว่า คือในฉนวนกาซา เวสต์แบงก์ และประเทศอาหรับต่างๆ

ในจำนวนประชากรชาวอาหรับดั้งเดิมในปาเลสไตน์ มีเพียง 160,000 คนที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ที่กลายเป็นประเทศอิสราเอล  ตอนแรกก็คิดกัน ว่าเมื่อสงบศึกกันแล้ว  ทั้งสองฝ่ายจะนั่งลงเจรจาหาทางสร้างสันติภาพถาวรให้ เกิดขึ้นต่อไป แต่เหตุการณ์ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะฝ่ายอาหรับปฏิเสธที่จะ รับรองหรือเจรจากับอิสราเอล

เมื่อเลิกราจากการสู้รบ อิสราเอลก็มีเวลาตั้งหลัก ในการเลือก ตั้งช่วงต้นปี 1949 ชาวอิสราเอลได้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (Knesset) ชุดแรกเข้าทำหน้าที่แทนรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งปรากฏว่าพรรคแรงงาน  (Mapai) ได้ที่นั่งมากที่สุด เบน-กูเรียน หัวหน้าพรรค จึงจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรค แนวสายกลางและแนวศาสนา โดยเบน-กูเรียนกับไวซ์มานน์ยังคงดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีต่อไป

ในการยืนยันหลักการของไซออนนิสต์ สภาผู้แทนฯ ได้ประกาศอ้างเอาเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล แม้ว่าอิสราเอลจะ ได้ครองเยรูซาเล็มเพียงส่วนเดียวก็ตาม

ในระดับสากล อิสราเอลได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 ของสหประชาชาติในเดือนพฤษภาคม 1949

อิสราเอลยืนยันสิทธิของชาวยิวทุกคนที่จะอาศัยในประเทศ อิสราเอล และสนับสนุนให้ชาวยิวเข้าไปอยู่ในประเทศแห่งนี้โดยไม่จำกัดจำ นวน ด้วยการยกร่างกฏหมายคืนสู่แผ่นดินเดิม (Law of Return) ในปี 1950

ในช่วง 4 เดือนแรกของการประกาศเอกราช มีชาวยิวราว 50,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของพวก นาซี เข้าไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในอิสราเอล

ถึงสิ้นปี 1951 ชาวยิวได้เข้าสู่อิสราเอลประมาณ 687,000 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้อพยพกว่า 300,000 คนจากประเทศอาหรับ เช่น โมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนีเซีย และลิเบีย ทำให้ประชากรชาวยิวเพิ่มขึ้นเท่าตัว

ขณะเดียวกัน ชาวอาหรับจำนวนหนึ่งก็ได้กลับไปอยู่กับครอบ ครัวซึ่งตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอิสราเอลต่อไป ทำให้มีชาวอาหรับใน อิสราเอลทั้งสิ้นประมาณ 167,000 คน

การที่มีคนเข้าไปอยู่มากมายในชั่วเวลาอันสั้นเช่นนี้ยิ่งทำให้ เศรษฐกิจฝืดเคืองหลังจากเสื่อมโทรมมาแล้วในช่วงสงครามปี 1948-1949 รัฐบาลต้องหาทางเลี้ยงดู จัดที่พักอาศัยและการงานให้แก่คนที่เข้าไปอยู่ใหม่ ซึ่งเป็นภาระหนักเอาการ

ด้วยเหตุนี้ อิสราเอลจึงใช้นโยบายรัดเข็มขัด และรับความ ช่วยเหลือก้อนโตจากนอกประเทศ โดยเฉพาะจากสหรัฐและชุมชนชาวยิวทั่ว โลก และในปี 1952 ก็ยอมรับค่าชดเชยจากรัฐบาลเยอรมันตะวันตกซึ่งจ่ายให้ ประเทศและเหยื่อที่ได้ถูกพวกนาซีฉกชิงทรัพย์สินไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ความช่วยเหลือจำนวนมหาศาลเอื้ออำนวยให้อิสราเอลมีกองทัพ ที่เข้มแข็ง และสามารถทำโครงการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจได้ รวมทั้งเปิดพื้นที่เกษตรกรรมใหม่ๆ สำหรับพวกที่เพิ่งย้ายเข้าไปอยู่

การเมืองของอิสราเอลค่อนข้างนิ่งตลอดทศวรรษ 1950 เบน- กูเรียนเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงปี 1953 โดยได้วางมือทางการเมืองชั่วคราว แล้วลงไปอยู่ตามชุมชนพัฒนาที่เรียกว่า คิบบุทซ์ (kibbutz) ในทะเลทรายเนเก ฟเพื่อทำตัวเป็นตัวอย่างให้แก่เยาวชนชาวอิสราเอล   ก่อนที่จะกลับมาเป็น นายกรัฐมนตรีอีกครั้งในปี 1955 กระทั่งลาออกในปี 1963 โดยมี เลวี เอชโคล (Levi Eshkol) ซึ่งมาจากพรรคแรงงานเช่นกัน เป็นหัวหน้ารัฐบาลผสมชุดต่อ มา

ในช่วงปี 1953-55 รองหัวหน้าพรรคแรงงาน คือ โมเช ชาเร็ต (Moshe Sharett) ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ส่วนไวซ์มานน์ได้ถึงแก่กรรมในปี 1952 โดยมี อิทซัค เบน- ซวี (Itzhak Ben-Zvi) แกนนำพรรคแรงงาน เป็นประธานาธิบดีจนถึงแก่กรรม ในปี 1963

เมื่อเอชโคลถึงแก่กรรมในปี 1969 พรรคแรงงานอิสราเอล (Israel Labour Party) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1968 เพื่อรวมพรรคแรงงานเข้ากับ พรรคแนวซ้าย อาห์ดูท อาโวดาห์ (Ahdut Avodah) กับพรรคราฟี (Rafi) อันเป็นพรรคที่เบน-กูเรียนแยกไปตั้งขึ้นในปี 1965 โดยร่วมมือกับพลตรีโมเช ดายัน (Moshe Dayan) ได้เลือกนาง โกลดา แมร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และเลขาธิการพรรคแรงงานอิสราเอล ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พลเอก ยิตซัค ราบิน (Yitzhak Rabin) ซึ่งเป็นคนที่เกิดใน อิสราเอล ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1974 แต่ปัญหาเงินเฟ้อ ความแตกแยก ในรัฐบาลผสม การเพลี่ยงพล้ำในสงครามโยมคิปปูร์ปี 1973 และความไม่พอ ใจของชาวยิวที่มีรกรากในทวีปแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางที่เรียกว่า ชาวยิวตะวันออก (Oriental Jew) ที่มีต่อการครอบงำทางการเมืองของชาวยิว ที่มาจากยุโรป ได้นำไปสู่ชัยชนะของพรรคลิคุด (Likud) ซึ่งเป็นพรรคแนว ขวา ส่งผลให้ เมนาเชม เบกิน (Menachem Begin) ขึ้นนั่งเก้าอี้นายก รัฐมนตรีในเดือนพฤษภาคม 1977

เบกินลาออกในปี 1983 โดยรัฐบาลผสมของพรรคลิคุดยังคงมี อำนาจต่อไปภายใต้การนำของ ยิตซัค ชามีร์ (Yitzhak Shamir)

ในปี 1984 ทั้งพรรคแรงงานและพรรคลิคุดต่างก็ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้เอง ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงกันตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

ภายใต้ข้อตกลงเป็นพันธมิตรกันนี้ ผู้นำพรรคแรงงาน ชิมอน เปเรส (Shimon Peres) ได้เป็นนายกรัฐมนตรี  และชามีร์เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศจนถึงปี 1986 จากนั้นก็สลับเก้าอี้กัน ซึ่งระหว่างร่วมงานกันนี้ พรรคการเมืองทั้งสองมีนโยบายขัดแย้งกันอย่างแหลมคม มีปัญหาตกลงกันไม่ได้บ่อยๆ แต่ก็ช่วยกันคลี่คลายปัญหาเงินเฟ้อลงไปได้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1988 พรรคลิคุดกับพรรคแรงงานได้ที่นั่งไล่เลี่ยกัน จึงตกลงเป็นพันธมิตรกันอีกครั้ง ชามีร์ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเปเรสไปนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีคลัง

ทั้งสองพรรคยังคงเห็นต่างกันในเรื่องท่าทีต่อการต่อต้านของชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม 1987 และยังมองเรื่องกระบวนการสันติภาพกันคนละมุมด้วย

พรรคลิคุดไม่เห็นด้วยกับการหารือเรื่องสันติภาพในระดับนานาชาติ สนับสนุนให้มีการตั้งถิ่นฐานชาวยิวในดินแดนยึดครองเพิ่มขึ้น   และต้องการครองดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาไว้ต่อไป พรรคแรงงานมีนโยบายตรงข้ามกับเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด จึงได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล

ในวันที่ 15 มีนาคม 1990 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศนี้ ที่สภาฯ ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล รัฐบาลผสมพรรคลิคุดได้นำพาประเทศอิสราเอลฝ่าวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียกรณีอิรักบุกคูเวต และสงครามปี 1990-91 ที่สหรัฐถล่มอิรัก และนำพาชาติเข้าสู่การเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอาหรับ

ในการเลือกตั้งปี 1992 ยิตซัค ราบิน ได้นำพรรคแรงงานสู่ชัยชนะโดยได้รับเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นจากคนหลายกลุ่ม  อาทิ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากสหภาพโซเวียตและบรรดาประเทศบริวาร คนว่างงาน ชาวยิวตะวันออก และบรรดาคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่างประเทศของพรรคลิคุด

ยิตซัค ราบิน ผู้นี้แหละที่นำพาสันติภาพมาสู่ตะวันออกกลาง ด้วยการประนีประนอมกับฝ่ายปาเลสไตน์ แต่ก็ถูกนักศึกษาอิสราเอลคนหนึ่งลอบสังหารไปอย่างน่าเสียดายในปี 1995

ในตอนนี้   เราได้รู้จักกับตัวผู้นำจากยุคตั้งประเทศอิสราเอลมาจนถึงยุคร่วมสมัยแล้ว เราจะไปดูกันให้ชัดๆ ในตอนหน้าว่า  กว่าดินแดนตะวันออกกลางจะพอมองเห็นแสงเรืองรองของสันติภาพนั้น อาหรับกับอิสราเอลต้องทำสงครามรบพุ่งกันมาอย่างไรบ้าง

http://www.geocities.com/sacrificesite/story2.htm