หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทะเลไทย

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 07/09/2012 10:09:51

จากหนังสือ สมรภูมิ ฉบับที่ 556 วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2534 ครับ




ความคิดเห็นที่ 1


โอ๊ยยยย...เซ็งงงงง...เครื่องผมเป็นอะไรเนี่ยยยย....กด คลิ๊กละ 5 นาที....


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 00:16:02


ความคิดเห็นที่ 2


สู้ๆครับ รอชมอยู่


โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 09/08/2009 01:47:04


ความคิดเห็นที่ 3


จนด้วยปัญญาแล้วครับ...

Log In ใช้เวลา 5 นาที

กดเข้ากระทู้ อีก 5 นาที

โพสรูปไม่ได้ครับ...

และพอกดโพสความเห็น ต้องรออีก 5 นาที ถึงจะกลับเข้ามากระทู้ได้...

รวมเวลา 15 นาที สำหรับ 1 ความเห็น...

เลยไม่ทราบว่า เป็นที่เครื่องผม หรือ ที่ เว็ป ครับ...

เพราะพวก รูปภาพ หรือ Avator ของเว๊ปทุกช่อง ตอนนี้ของผมเป็น กากบาท หมดเลยครับ...

ซึ่ง ลองไปดูเว๊ปอื่น ก็ไม่มีปัญหา...

เดี๋ยวลองกด โพสภาพอีกครั้งครับ...ถ้าไม่ผ่าน ก็ บ๊าย บาย...ครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 03:00:38


ความคิดเห็นที่ 4


มาแว๊วววว....ต่อกันครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 03:02:00


ความคิดเห็นที่ 5


หน้า 3


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 03:03:07


ความคิดเห็นที่ 6


หน้า 4


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 03:04:23


ความคิดเห็นที่ 7


ความเห็นส่วนตัว แผ่นที่ 1


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 03:05:52


ความคิดเห็นที่ 8


ความเห็นส่วนตัว แผ่นที่ 2


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 03:07:01


ความคิดเห็นที่ 9


ความเห็นส่วนตัว แผ่นที่ 4

เสร็จแล้ว เดี๋ยวผมขอไปดู ระเบิดเทิดเทิง ก่อนนะคร๊าบบบบ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 03:08:41


ความคิดเห็นที่ 10


ในส่วนตัวคิดว่า เรือในชั้นเจ้าพระยาตามความคิดท่าน juldas    ถอดฟาลังซ์ หน้าออกใส่ ชาดัล แทนส่วนแท่นหลังคงไว้ เพื่อลดงบประมาณ แท่นยิงฮาร์พูน ย้ายไว้กลางลำ  ตอร์ปิโดไว้ท้ายลำ  ส่วนแท่นปืน 76 ม.ม. ท้ายลำถอดแล้วใส่พวกอาวุธปล่อยเช่น แอสไปด์ นาวีโครตาล ดีป่ะครับจะได้รบได้3มิติ  คล้ายๆเรือชั้น สุโขทัย

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 09/08/2009 06:55:49


ความคิดเห็นที่ 11


ดูเหมือนว่าเดิมทีนั้นในส่วนของเรือที่กองทัพเรือสั่งต่อจากจีนก็มีความพยายามที่จะลดแบบระบบอาวุธและอุปกรณ์เรือให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับเรือที่ประจำการอยู่แล้วครับ

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงนั้นแบบเรือจากจีนในยุคนั้นคือเรือชั้น Type 053H2 ถึงแม้จะมีมีการปรับปรุงรูปแบบตัวเรือในทันสมัยมากขึ้นแต่เนื่องจากตัวเรือนั้น Technology ยุคเก่าซึ่งมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ตัวเรือ ประกอบกับข้อจำกัดระบบอาวุธและอุปกรณ์จากจีนทำให้ไม่สามารถทำให้เรือ Type 053H2 และ Type 053HT นั้นสามารถติดตั้งระบบในลักษณะเดียวกับเรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ได้ครับ

ซึ่งเรือที่กองทัพเรือต่อในช่วงหลังจากนั้นคือ Type 025T หรือ ชุด ร.ล.นเรศวร นั้นก็มีการปรับปรุงในส่วนนี้มากขึ้นและเป็นช่วงเดียวกับที่กองทัพเรือจีนมีการปรับปรุงกองเรือเข้าสู่ยุคใหม่พอดีครับ (แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่เช่นกัน)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 09/08/2009 07:08:52


ความคิดเห็นที่ 12


ท่าน MIG31 ภาพดังกล่าว...จัดทำรูป ตาม สเปค ที่ ทร. มีความต้องการในระบบอาวุธ เริ่มแรก ของโครงการ เรือชั้น เจ้าพระยา ครับ....ตามเนื้อความในบทความครับ...

ส่วนเรื่องการติดตั้ง...ผมว่า ปัญหา น่าจะอยู่ที่ ทร.จีน ต้องการขาย เรือจีน โดยเฉพาะ ถ้าจำไม่ผิด ช่วงนั้น เป็นช่วง ที่จีน เปิดตลาดขายอาวุธอย่างขนานใหญ่....

การที่ตัวเรือจีน แต่ระบบอาวุธ เป็นของตะวันตกทั้งหมด ไม่น่าจะใช่ภาพที่ดี สำหรับการทำตลาดอาวุธในขณะนั้น...และช่วงนั้น ก็ไม่มีใคร สั่งซื้อ เรือรบจีน เท่าไหร่...นอกจาก ทร. ไทย ที่สั่งซื้อ รวมถึง 6 ลำ...และเป็น เรือที่ใช้ระบบอาวุธ จีน ทั้งหมด...และการสั่งซื้อเรือจากจีน ในครั้งนั้น...ผมว่า ก็น่าจะมีส่วนในเรื่องสายสัมพันธ์ และอิทธิพลทางการเมืองของจีน ประกอบด้วย...และจากเหตุผล ในบทความ ก็ได้กล่าวถึงว่า...เมื่อรวมราคาเรือแล้ว มันจะออกมามูลค่าสูง เกินกว่าการซื้อเรือใหม่....(ซึ่งในความเห็นผม ยังไม่เชื่อน้ำหนักในข้อนี้นัก...เพราะราคาระบบอาวุธใหม่ ถึงจะติดตั้งในเรือใหม่...มันก็ควรจะเป็นราคาเดิม...แล้วมันจะราคาสูงกว่า เรือเก่าได้อย่างไร...)

ในความคิดเห็นส่วนตัว...เรือในชั้น เจียงหู ถ้าจะใส่ระบบอาวุธตะวันตก ตามสเปค ทร. ผมว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหามาก...เพราะเราเอาแต่โครงเรือ เรื่องระบบต่าง ๆ ก็ไม่ได้ใช้ของจีนเลย...ซึ่ง ระบบอาวุธ ดังกล่าว ก็ไม่ได้แตกต่างจากเรือชั้น เจียงเว่ย ของจีน มากนัก...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 07:52:18


ความคิดเห็นที่ 13


โดยเรือชั้น เจียงเว่ย มีระวางที่ประมาณ 2,250 ตัน ส่วนเรือชั้น เจียงหู มีระวางที่ 1,920 ตัน...ระวางเรือ ก็จะแตกต่างกันในเรื่องที่ เรือชั้น เจียงเว่ย มีโรงเก็บ ฮ. และ ลานจอด ฮ. และติดตั้ง ระบบจรวด พื้น สู่ อากาศ ด้วย...

และในส่วนของ ฟาลังซ์ กับ ปืน ออโต เมลารา ก็ค่อนข้างจะเป็น ระบบ อัตโนมัติ ที่ค่อนข้างจะมีความอิสระในตัว โดยใช้ระบบอำนวยการรบช่วยเพิ่มเติม....ซึ่ง ปืนเรือ ตามสเปคในภาพ ระบบช่วยรบ ก็ไม่น่าจะต่างจาก เรือชั้น ชลบุรี....

เท่าที่ผมดู...สเปค อาวุธของเรือชั้น เจ้าพระยา ก็คล้าย ๆ กับ เรือชั้น ชลบุรี แต่เพิ่ม ระบบอาวุธ พื้น สู่ พื้น และติดตั้งระบบเรดาร์ ที่ทำไกล ขึ้น....โดยมี สมรรถนะ ใกล้เคียงกับ เรือชั้น รัตนโกสินทร์....

ปัญหาที่ดูเหมือนจะเกิดกับเรือจีนในปัจจุบัน...ผมว่า น่าจะเป็นที่ มันมีการผสมผสาน ระหว่าง ระบบเรือจีน กับ ระบบอาวุธ ตะวันตก...แต่ไม่น่าจะมีผลกับ ระบบโครงสร้างตัวเรือ....ซึ่ง ระบบโครงสร้างตัวเรือ ผมว่า มันน่าจะมีผลกระทบกับ ระบบเครื่องยนต์ของตะวันตก ที่จะเป็นปัญหามากกว่า...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 08:04:01


ความคิดเห็นที่ 14


เมื่อลองมองย้อนกลับไป...ถ้ามีการต่อเรือรบใหม่ และมีประเทศจีน เข้าเสนอราคาด้วย...เรือจากประเทศจีน จะได้ไปทุกครั้ง....

เรือชั้น เจ้าพระยา, นเรศวร, ปัตตานี  เรือรบต่อใหม่ล่าสุดของ ทร. มาจากประเทศจีน ทั้งหมด...(เรือชั้นปัตตานี ก็มีการพลิกสถานการณ์ จนได้ออร์เดอร์ไปในที่สุด)

เรือรบล่าสุด ที่ ทร.สั่งซื้อ มาจากฝั่งตะวันตก คือ เรือชั้นพุทธฯ ซึ่งเป็นการซื้อเรือมือสอง ราคาถูก...ไม่ใช่เรือต่อใหม่

ส่วนเรือชั้น จักรีนฤเบศร ด้วยที่ประเทศจีน ยังไม่มีเทคโนโลยี่การต่อเรือในชั้นนี้...

ส่วนเรือ LST ใหม่ของ ทร. ที่สั่งต่อจาก สิงคโปร์ ก็ด้วยประเทศจีน ยังไม่มีการต่อเรือประเภทนี้ออกขาย....

ซึ่ง ผมว่า ถ้าเรือในทั้ง 2 ชั้นใหม่ ดังกล่าว ประเทศจีน มีเทคโนโลยี่ในการต่อเรือออกขาย...ความรู้สึกผมว่า น่าจะไม่พลาด ที่เป็นเรือต่อมาจากประเทศจีน....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 08:13:09


ความคิดเห็นที่ 15


สเปคของ ทร. ในเรือชั้น เจ้าพระยา เดิม...ผมว่า คอนเซ็ป น่าจะมาจากเรือชั้น WU CHIN III ของ ทร.ไตหวัน...ที่มีการติดตั้งระบบปืน ออโตเมราล่า ฟาลังซ์ ระบบอาวุธนำวิถี พื้น สู่ พื้น บนตัวเรือสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 เรือชั้น Gearing...(ซึ่ง อาจจะทำให้ จีน เคือง อยู่เล็ก ๆ ก็ได้...มาต่อเรือเราราคาถูก แต่ไปใช้ระบบอาวุธตะวันตก เหมือนของ ไตหวัน ซะด้วย)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 08:20:36


ความคิดเห็นที่ 16


WU CHIN III  ในการปรับปรุงล่าสุด มีการติดตั้ง จรวด SM-1 MR ด้วย..


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 08:40:44


ความคิดเห็นที่ 17


แล้วเรือหลวงกระบุรีและสายบุรีหลังปรับปรุงจะมีหน้าตาอย่างไรครับ หลังติด C-802Aแล้ว จะต้องเปลี่ยนระบบควบคุมการยิงและเรดาร์หรือไม่ครับ
โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 09/08/2009 10:03:17


ความคิดเห็นที่ 18


ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี...ผมคิดว่า รูปลักษณ์ ภายนอกคงเหมือนเดิม...แต่ในส่วนเรดาร์พื้นน้ำ น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากแบบเดิม ที่ใช้สำหรับ C-801 มาเป็นเรดาร์ตรวจจับพื้นน้ำ สำหรับ C-802 ที่น่าจะมีระยะไกล และมีประสิทธิภาพดีขึ้น....

ส่วนการปรับปรุงที่คาดว่า จะมองไม่เห็นในรูปลักษณ์ภายนอก น่าจะเป็นในส่วนภายใน เช่น ระบบอำนวยการรบ และแท่นแสดงจอภาพต่าง ๆ และดีไม่ดี อาจจะเปลี่ยนระบบโซนาร์ใหม่...และน่าจะมีการติดตั้ง ท่อยิงตอร์ปิโด เพิ่มขึ้น...( เพราะภูมิภาคนี้ มีประจำการเรือดำน้ำใหม่เพิ่มขึ้น ในแง่การป้องกันตัวเองของเรือรบ ก็น่าจะปรับตัวตาม )

และตามแผนของ ทร. เรือชั้น เจ้าพระยา กับ ชั้น ร.ล.กระบุรี ก็ถึงระยะเวลาการปรับสภาพเรือช่วง ครึ่งอายุใช้งานแล้ว...จึงน่าจะปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพไปตามภัยคุกคามปัจจุบัน....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 20:23:11


ความคิดเห็นที่ 19


จากข้อสังเกตุ ในเรื่อง อิทธิพลทางการเมืองของ จีน ที่มีต่อ กองทัพเรือ...ในบทความ เราก็จะเห็นในส่วนของ เรือดำน้ำ ที่ ทร. เลือกแบบ 209 ของเยอรมัน แต่สุดท้ายแผนก็ปรับไปเป็นปรับปรุง เรือชั้น โรมิโอ ของจีน แทน...โดยใช้ระบบอาวุธของตะวันตก...

ซึ่งเมื่อมองโลกในแง่ร้าย...ในส่วนของ ทบ. ดีไม่ดี อาจจะมี พลิกโผ กลับไปซื้อ รถหุ้มเกราะล้อยาง จากจีน เหมือนเดิม ตามโครงการ ลำไย แลก รถเกราะ....แต่คราวนี้ เปลี่ยนเป็นจ่ายเงินสดแทน ในราคาที่ถูกกว่า รถเกราะจากยูเครน...ก็ได้ครับ...(เพราะ ตอนนี้ ยังไม่เห็น แวว ว่าจะสำเร็จตามการจัดซื้อจากยูเครน...และไม่น่าจะมีความเป็นไปได้...ที่สุดท้าย จะยอมรับในการใช้เครื่องยนต์ของยูเครน แทน เครื่องยนต์จากเยอรมัน...เพราะมันน่าจะผิดระเบียบในการจัดซื้อทางราชการ...)

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 20:30:21


ความคิดเห็นที่ 20


ท่าน: juldas   ครับเราไม่ได้เลือกเครื่องยูเคนครับ...เปลี่ยนไปใช่เครื่องยนต์ดเมริกันแทนครับ


Ukrainian APCs to get US engines

http://www.bangkokpost.com/news/local/15483/ukrainian-apcs-to-get-us-engines

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 09/08/2009 21:35:15


ความคิดเห็นที่ 21


ขอบคุณครับ ท่าน tow...ก็คงต้องรอผล การทดสอบ ซึ่งน่าจะรู้ผลภายในเดือนนี้....และคงต้องดูราคาด้วย...ว่าจะมีการปรับลด ลงไปหรือไม่...เพราะผิด สเปค ตามงบประมาณการจัดซื้อ...

ซึ่งยังมีแสงร่ำไรโอกาส ที่จะมีการ สอดแทรก พลิกโผได้...ว่าแต่...ผบ.ทบ. เกษียณ ปีไหนครับ...ถ้าเป็นปีนี้...อาจจะมีลุ้นกันอีกรอบ ก็เป็นได้ครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/08/2009 22:24:40


ความคิดเห็นที่ 22


แผ่นภาพ เปรียบเทียบ ความต้องการ กับ สภาพปัจจุบัน...เป็นรัศมีแบบ เหมา นะครับ...เพราะ ผมทำรูปครึ่งวงกลม ไม่ได้...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/08/2009 19:43:39


ความคิดเห็นที่ 23


....


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/08/2009 19:45:00


ความคิดเห็นที่ 24


เมื่อดูจากแผ่นภาพ เมื่อ เรือชั้น เจ้าพระยา ติดตั้ง C-802 ก็จะทำให้ สถานะของ เรือชั้น เจ้าพระยา เป็นไปตามความต้องการของ ทร.

ต่อไปก็คงเป็นเรื่อง ความแม่นยำ และความหวังผลได้ ของระบบอาวุธจีน...ที่ ทร. มีความพึ่งพอใจหรือยัง...ซึ่งถ้าสามารถ มีระบบอำนวยการรบ และระบบตรวจจับ ที่ดีพอ จนเป็นที่พอใจ...ดูแล้ว เรือชั้นนี้ น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าความต้องการเดิม...คงเหลือเฉพาะในส่วนของ ท่อยิงตอร์ปิโด ที่ผมคิดว่า ทร. คงต้องมีการติดตั้งเพิ่มแน่....

ส่วนเรือชั้น นเรศวร และ ร.ล.จักรีนฤเบศร ถ้าได้ติดตั้งระบบ VLS ก็คงจะครบถ้วนตรงตามความต้องการ และ เรือชั้น รัตนโกสินทร์ ถ้ามีการปรับปรุงอาวุธนำวิถี เป็น เอสปิเด้ 2000 หรือ ซี สแปร์โร่ว (ซึ่งไม่แน่ใจว่า แท่นยิง อัลบาทรอส จะสามารถปรับปรุงใช้แทนได้หรือไม่)...ก็น่าจะช่วย ขยายระยะเวลา ความต้องการ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ออกไปได้เหมือนกัน...เพื่อเตรียมงบประมาณ เป็นการจัดหา เรือดำน้ำ แทน...

ทร. ก็จะมีความสามารถป้องกันภัย ครบ 3 มิติ ตรงตามความต้องการเดิม ( เกือบ 20 ปี ผ่านมา )...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/08/2009 20:02:59


ความคิดเห็นที่ 25


จากการออกข่าวของ สหรัฐ ในเรื่อง พม่า กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์....

ซึ่งคงต้องรอดูว่า สหรัฐ มีความต้องการอะไรในภูมิภาคนี้....

แต่ก็น่าจะเป็นโอกาส ที่ ทร. ไม่แน่อาจจะได้ VLS พร้อม SM-3...มาประจำการ เพื่อเตรียมพร้อมรับภัยคุกคามที่คาดว่าน่าจะเกิด...ถ้า ข่าว ของ สหรัฐ มีเค้าโครงความน่าเชื่ออยู่...

หรือ เรือรบสมรรถนะสูง 2 ลำ อาจจะมาเป็นไปตามแผน คือ โอลิเวอร์ ฮาร์ดซารด์ มือสอง พร้อมแท่นยิง และลูกจรวด Standard Missile...สำหรับ ประจำการฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะ...

โดยผมมองว่า เป้าหมายของ พม่า คงไม่ใช่ไทย...แต่น่าจะเป็น กองกำลังทางเรือของสหรัฐ ที่จะยกพลขึ้นบกในประเทศพม่า...มากกว่า...

จากทะเล ตะวันออกกลาง มา พม่า สะดวกสุด....ถ้า ยกพล ผ่านประเทศไทย...จะต้องมีแรงต่อต้านจากคนไทย แน่นอน....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/08/2009 20:32:10


ความคิดเห็นที่ 26


เรือชั้น Perry ติด SM-3 ไม่ได้ครับ เพราะ SM-3 นั้นเป็นจรวดแบบยาวซึ่งต้องใช้แท่นยิง Mk 41 รุ่น Strike แบบลึก 7.7เมตร แบบเดียวกับที่ติด Tomahawk ครับ ซึ่งเรือที่ติด Mk 41 ลักษณะนี้ต้องเป็นเรือพิฆาต Aegis หรือระบบที่ใกล้เคียงอย่าง APAR ระวางขับน้ำอย่างน้อย 5,000-6,000ตันขึ้นไปครับ

นั้นหมายความว่าถ้ากองทัพเรือต้องการเรือป้องกันภัยทางอากาศที่ต่อต้านขีปนาวุธได้ต้องต่อเรือใหม่เท่านั้นครับ (ปัจจุบันคงจะเรียกเรือชั้น Perry ว่าเรือสมรรถนะสูงไม่ได้แล้วครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 10/08/2009 22:35:48


ความคิดเห็นที่ 27


โดยส่วนตัวแล้ว อยากให้เรามีเรือพิฆาตที่มีระบบเอจิส ซัก 2 ลำแหละครับ

แฮะๆ แต่ว่าโอกาสนั้นไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้แค่ไหน เพราะคิดว่า น่าจะป้องกัน

ภัยขีปนาวุธจากพม่าได้มากพอสมควรเลยทีเดียว อยากให้กองทัพเรือได้

มีเรือใหม่ไปเลยครับผม...........อาจจะเพิ่มศักยภาพของ ทร.ในภูมิภาคนี้

ได้อีกโข และถ้ายิ่งมีเรือดำน้ำมาประจำการซัก 2 ลำ เหมือนตามที่ท่าน

จูลดาสวางไว้ในแผนภาพดังกล่าว แถวนี้คงได้ร้อนๆ หนาวๆ กันแน่นอนครับ

แต่ถ้าให้ผมเลือกจริงๆ อยากจะได้ เรือพิฆาตแจ่มๆ มากกว่าครับผม ซึ่ง

โอกาสนั้นคงจะน้อย เพราะค่าใช้จ่าย ของเจ้าพิฆาตที่มีระบบ AEGIS นั้น

คงมากพอสมควรครับสำหรับในการออกทะเลแต่ละครั้ง
โดยคุณ Nine เมื่อวันที่ 11/08/2009 02:18:50


ความคิดเห็นที่ 28


ขอบคุณครับ ท่าน AAG_th1 สำหรับข้อมูล SM-3...ไม่คิดว่าต้องใช้ระบบ เอจิส ในการทำงานด้วย...นึกว่า แค่จับเป้าหมายได้ แต่สามารถยิงเข้าสู่เป้าหมายได้ในระยะไกลขึ้น และในระยะที่สูงกว่าเดิม ครับ....

ในส่วนของ โอลิเวอร์ ฮาร์ดซาร์ดฯ พอดี...ผมไม่ทราบว่ามันเป็น SM-1 หรือ SM-2 สำหรับล่าสุดที่เคยติดตั้งในเรือชั้นนี้ ก่อนถอนแท่นยิงออก....เลยใส่ข้อมูลไว้กว้าง ๆ ว่า...Standard Missile ครับ...

ในเรื่อง ขีปนาวุธ ของพม่า...ในความคิดเห็นผม...ไม่น่าจะถึงขนาดข้ามทวีปแบบเกาหลีเหนือ...เพราะดูเป้าหมาย ประเทศที่น่าจะคุกคามได้ ก็ไม่น่าจะไกลต้องใช้ขนาดใหญ่ ขนาดนั้น...ถ้า พม่า ไปติดตั้งแถบทางเหนือ ใกล้จีน....จีน คงไม่ชอบ...ไปใกล้ อินเดีย...อินเดีย ก็คงไม่ชอบ อีกเช่นกัน...

ผมเลยมองว่า พม่า น่าจะใช้รูปแบบ จรวดขนาดปานกลาง เป้าหมายน่าจะเป็นกองกำลังทางเรือขนาดใหญ่ในทะเล...สำหรับประเทศไทย ผมไม่เชื่อว่า จะเป็นประเทศในกลุ่มเป้าหมายใช้อาวุธนิวเคลีย์...เว้นแต่ ประเทศไทย จะเป็นที่ตั้งกองกำลังต่างชาติขนาดใหญ่ สำหรับการรุกราน พม่า...

ผมเลยมองไปที่ว่า...ด้วยศักยภาพในการทำลาย ขีปนาวุธขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง ในทะเล...จรวด SM-1 หรือ SM-2 จะสามารถสกัดได้หรือไม่...(ถ้าท่านใดมีข้อมูลขอความเห็นด้วยครับ...เพราะขี้เกียจหา...5 5 5 5)

และด้วยสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย...ในลักษณะเรือใหม่ คงเป็นไปได้ยาก...แต่ถ้าเป็นเรือมือสอง เช่น โอลิเวอร์ฯ โดยความช่วยเหลือทางทหาร หรือ สามารถปรับปรุงยิงจาก VLS จาก ร.ล.จักรีฯ ในลักษณะเพื่อป้องกันความผิดพลาดของ พม่า ในการทดลองขีปนาวุธทางทะเล...น่าจะพอเป็นไปได้หรือเปล่าครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 03:29:14


ความคิดเห็นที่ 29


SM-2 Block IV น่าจะมีศักยภาพได้...

Raytheon Standard Missile-2 Destroys Target

Raytheon Standard Missile-2 Destroys Target

This was the third test of the modified SM-2 Block IV missile against short range ballistic missiles and the latest in a series of tests using the SM-2 Block IIIA. Raytheon is also working with the Missile Defense Agency to develop a far-term, sea-based terminal capability.
by Staff Writers
Point Mugu CA (SPX) Apr 02, 2009
A Raytheon Company Standard Missile-2 Block IV missile intercepted and destroyed a ballistic missile target at the U.S. Naval Air Warfare Center Weapons Division. The SM-2 Block IV engagement demonstrated a near-term, sea-based capability for destroying short-range ballistic missiles in their terminal or final phase of flight.

During the same test, a Raytheon SM-2 Block IIIA missile intercepted and destroyed a low-altitude, anti-ship cruise missile target.

The first-of-its-kind test simultaneously demonstrated an air warfare capability against a low-altitude, anti-ship cruise missile and a ship system engagement capability.

The crew of the guided missile destroyer USS Benfold (DDG-65) fired both SM-2 surface-to-air missiles. The ballistic missile target was launched from San Nicolas Island, Calif., while the anti-ship cruise missile target was launched from Point Mugu.

"These intercepts once again prove SM-2, whatever the mission, is the best option for protecting our warfighters at sea," said Frank Wyatt, Raytheon Missile Systems vice president of Naval Weapon Systems.

"SM-2 Block IV can destroy incoming short-range ballistic missiles through direct impact or by detonating a blast-fragmentation warhead close to the target. SM-2 Block IIIA offers the best advanced fleet protection against all air warfare threats."

This was the third test of the modified SM-2 Block IV missile against short range ballistic missiles and the latest in a series of tests using the SM-2 Block IIIA. Raytheon is also working with the Missile Defense Agency to develop a far-term, sea-based terminal capability.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 04:17:38


ความคิดเห็นที่ 30


แท่นยิง MK 13 ของเรือชั้น Perry นั้นติดได้เฉพาะ RIM-66 SM-1MR ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยพิสัยกลางมีระยะยิง25ไมล์ทะเล โดยปัจจุบัน SM-1MR ได้ปลดประจำการไปแล้วดังนั้นเรือ Perry ที่ประจำการในปัจจุบันจึงถอดแท่นยิง Mk13ออกครับ

และโดยภารกิจหลักของเรือชั้น Perry นั้นถูกออกแบบมาสำหรับการคุ้มกันกองเรือจากเรือดำน้ำ โดยเฉพาะเรือสินค้าครับ เรือชั้นนี้จึงไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการป้องกันภัยคุกคามทางอากาศครับ

ปัจจุบันมีข้อมูลว่าพม่ามีการจัดหาขีปนาวุธพิสัยใกล้แบบ Hwasong จากเกาหลีเหนือซึ่งลอกแบบจาก SCUD ครับ ระยะยิงประมาณ 700กิโลเมตร ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถใช้ระบบ SAM พิสัยไกลเช่น Patriot สกัดได้ ซึ่งการสกัด Cruise Missile และ SRBM นั้นน่าจะใช้ RIM-156 SM-2ER Block IV ระยะยิง 130ไมล์ทะลสกัดได้ครับ

แต่โดยทั่วไปเรือที่ติด Mk41 ที่สหรัฐฯส่งออกนั้นจะเป็นรุ่น Mk 41 Tatical ลึก 6.75เมตร สำหรับ SM-2MR Block IIIA/IIIB ในระยะ 90ไมล์ทะเลซึ่งก็น่าจะสกัด SRBM ได้ครับ

แน่นอนว่าเรือแบบดังกล่าวต้องเป็นเรือต่อใหม่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 11/08/2009 08:11:52


ความคิดเห็นที่ 31


ตามข้อมูลใน ไฟล์ PDF

http://www.dtic.mil/ndia/2009gunmissile/7744newell.pdf

SM-2 block III/IIIA สามารถใช้งานได้จาก แท่นยิง MK-13 ได้ครับ...แต่ต้องมีการ อัพเกรด แท่นยิง และในเรือชั้น โอลิเวอร์ฯ ก็ต้องการ อัพเกรด CMS เพิ่มเติม ตามลิงค์ครับ...

ซึ่งในเรือชั้น โอลิเวอร์ฯ ในหลายประเทศ ได้ปรับปรุงเพิ่มศักยภาพเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศ เช่น ออสเตรเลีย และ ตุรกี ซึ่งทั้ง 2 ประเทศ ได้ปรับปรุงให้สามารถปล่อย จรวด SM-2 ได้จากแท่นยิง MK-13

รวมถึง ไตหวัน ที่มีประจำการด้วยเรือชั้น โอลิเวอร์ และ ชั้นเรือ คิดส์ ก็มีความต้องการสั่งซื้อ SM-2 Block IIIA ด้วยเช่นกัน

http://www.deagel.com/news/FMS-Taiwan-Seeks-144-SM-2-Block-IIIA-Standard-Missiles_n000002716.aspx

ดังนั้น ผมว่าในเรือชั้น โอลิเวอร์ฯ ในส่วนของแท่นยิง MK-13 เมื่อได้ทำการปรับปรุง ไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับ SM-2 Block IIIA ครับ... 

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 11:05:56


ความคิดเห็นที่ 32


โดย ออสเตรเลีย ได้ติดตั้งระบบ VLS ที่สามารถใช้ยิง SM-2 ได้...และ ตุรกี ก็มีแผนติดตั้ง VLS สำหรับ ESSM...

กรณี สำหรับ ไทย....สมมติ...สหรัฐ ยอมที่จะขาย โอลิเวอร์ฯ ในราคาถูกในลักษณะความช่วยเหลือทางการทหาร...แต่ ไทย ต้องชำระค่า ปรับปรุงระบบต่าง ๆ...เพื่อสำหรับปล่อย SM-2 เอง...มันจะน่าสนใจรึเปล่า....แต่ทั้งนี้...มันก็ต้องมีข้อพิสูจน์ พอสมควร หรือ มากทีเดียว ว่า พม่า มีแนวโน้มจะมีการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์....

ในความเห็นผมนี้...ผมตั้งสมมติฐานว่า...พม่า ไม่ได้มีเป้าหมายกับ ประเทศไทย...แต่ ประเทศไทย ก็ต้องมีความปลอดภัยด้วย กรณี ที่ พม่า มีการทดสอบอาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์...และผมมองว่า แนวโน้มการทดสอบยิงจรวดในทะเลโดยไม่ติดหัวรบนิวเคลียร์ น่าจะมีมากกว่า...

ซึ่งผมมองความรุนแรง หัวรบนิวเคลียร์ ของ พม่า น่าจะเป็นลักษณะ การระเบิดที่มีความรุนแรง คล้าย ๆ กับ ASROC ติดหัวรบนิวเคลียร์ของ ทร.สหรัฐ...แต่ไม่น่าจะ ระเบิดเป็นรูป ดอกเห็ดขนาดใหญ่ ขนาดนั้น....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 11:28:19


ความคิดเห็นที่ 33


และเมื่อมองโอกาสว่า พม่า จะถูกรุกราน จากกองทัพขนาดใหญ่...เช่น สหรัฐ....

ถ้ามาจากฝั่งประเทศไทย ก็ย่อมหมายถึงว่า ประเทศไทย ร่วมมือกับ สหรัฐ รุกรานประเทศเพื่อนบ้าน...ซึ่งผมว่า คนไทย ไม่น่าจะยอมรับ...

หรือมาจาก ฝั่ง อินเดีย หรือ จีน ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ประเทศเหล่านั้น จะยอมให้กองกำลังต่างชาติ ตั้งอยู่ในดินแดนประเทศตนเอง...จะมีก็แต่ บังคลาเทศ...ซึ่งการที่ กองทัพต่างชาติจะมาตั้งอยู่ใน บังคลาเทศ ก็ต้องมาทาง เรือ โดยส่วนใหญ่...และยังต้องผ่านน่านน้ำของ อินเดีย ด้วย...ซึ่ง ทั้ง อินเดีย และ จีน ก็ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ที่ดี กับ พม่า....

ผมเลยมองว่า ถ้าสมมติเป็น สหรัฐ เป็นผู้รุกรานพม่า ก็น่าจะมาทางน่านน้ำสากลฝั่งอันดามัน หรือ ออกมาทาง ช่องแคมมะระกา....

โดยเมืองสำคัญที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง และใกล้เคียงกับจุดยกพลขึ้นบกมากที่สุด ก็คือ ย่างกุ้ง นั่นเอง...( มิน่าล่ะ...ทำไม...ถึงย้ายเมืองหลวง ) ลองดูในแผนที่โลกกันครับ....

ผมเลยมองแนวโน้มว่า อาวุธปล่อยติดหัวรบนิวเคลียร์ แนวโน้ม น่าจะใช้ในทะเล เพื่อทำลายกองเรือยกพลขึ้นบก มากกว่าบริเวณอื่น....

ซึ่ง ก็น่าจะมองได้ว่า ประเทศไทย มีความเสี่ยงทางสงครามนิวเคลียร์ในแถบทะเลอันดามัน หรือ แถบมหาสมุทรอินเดีย

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 11:43:31


ความคิดเห็นที่ 34


กองเรือยกพลขึ้นบก นี่หมายรวมถึง เรือบรรทุกเครื่องบิน ด้วยนะครับ...ที่น่าจะเป็นเป้าหมายของ อาวุธจรวดโจมตีติดหัวรบนิวเคลียร์...เพราะ สหรัฐ ต้องส่ง เรือบรรทุกเครื่องบินมาทอดสมอ สนับสนุนกองกำลังกรณีเกิดสงคราม แน่นอน....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 11:48:16


ความคิดเห็นที่ 35


นั่นก็หมายความว่า กองทัพเรือเองนั้น ก็ไม่จำเป็นถึงต้องมีขนาดเรือพิฆาต

ลำใหญ่ๆ ที่มีระบบ AEGIS เหรอครับผม ????

เพียงแต่ ต่อเรือรบที่สามารถต่อต้านจรวดพิสัย ใกล้และกลาง ของพม่า

เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว หรือไม่ครับท่านทั้ง 2

ถ้าอย่างนั้น จำเป็นต้องมีระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน บริเวณชายแดนที่ติด

กับพม่าด้วยหรือไม่อย่างไรครับ
โดยคุณ Nine เมื่อวันที่ 11/08/2009 12:24:36


ความคิดเห็นที่ 36


ผมนั่งอ่านดูแล้วนึกถึงแนวคิดสงครามข่าวสาร และการตั้งเป็นสงครามตัวแทนระหหว่างประเทศมหาอำนาจด้วยกันดังนี้ครับ

ในส่วนของข่าวคาว ฉาวโฉ่จากสหรัฐ ก็คือดีดสีใส่ไข่ให้กับ

พม่าโดยมีคนค้ำคอคือเกาหลีเหนือ ว่าด้วยเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ๆๆๆๆๆ

ทั้งนี้ทั้งนั้น หลังจากปรักปรำกันพอหอมปากหอมคอ ทางสหรัฐก้ต้องเล่นบทผู้สื่อข่าวที่ดีในการนำเสนอให้ชาวโลกได้ เชื่อ และตกหลุมในการพะวงหน้าพะวงหลัง เกี่ยวกับสถานการณ์นิวเคลียร์ในคาบสมุทรอินเดีย

ซึ่งทางกลุ่มอาเซียนที่กำลังเป็นปึกแผ่นดีๆ ก็จะเริ่มแตกคอ เป็นสองฝ่าย

ก็คงไม่พ้นประเทศในคาบกลุ่มอินโดจีนลุ่มน้ำโขง และประเทศประชาธิปไตยเต็มใบและครึ่งใบรวมตัวกัน มาทะเลาะกัน แล้วยังไงละทีนี้

อเมริกาก็สามารถขยายการขายอาวุธให้กับประเทศเหล่านี้ได้มากยิ่งขึ้นในราคา โปรโมชั่นจากข่าวที่ดีดสีตีข่าวให้พม่า นิวเคลียร์อีกละ

ทั้งภาคบก ทะล อากาศขายแหลก ให้กับประเทศในกลุ่มอาเซียนมากยิ่งขึ้น

เผลอๆยุไปยุมา ทำให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนทะเลาะกันอีก ถึงขั้น

ยกทหารห้ำหั่นกัน ส่วนมหาอำนาจสองประเทศอย่างจีน อินเดียก็หวานหมูเขาสิ ได้ขายอาวุธอีกละ ให้กับประเทศพม่า อีกทั้งให้เช่าเครื่องบิน

ให้เช่าเรือรบให้กับพม่า ซึ่งมันก็คือสงครามตัวแทนระหว่างกันจากสองค่ายมหาอำนาจยักษ์เพียงแต่เปลี่ยนภูมิภาคกการทะเลาะกันเป็นสองฝ่ายเท่านั้นเอง สรุป ประเทศมหาอำนาจขายอาวูธให้ กินเงินอิ่มหมีพีมัน ส่วน

ประเทศในอาเซียนสะบักสะบอมจากสงครามตัวแทน

เพราะถึงยังไงก็ตาม ทางสหรัฐก็คงไม่เอาทหารตัวเองมาเป็นเป้านิ่งตายอยู่ในภูมิภาคอินโดจีนซ้ำสองแน่นอน เพราะเข็ดจากสงครามเวียดนามแต่เป็นการสนับสนุนต่อต้านการก่อการร้าย ให้ประเทศในอาเซียนด้วยกัน ทะเลาะกันเอง ยังผลให้เกิดการแทรกแซงของสหรัฐที่มีต่อภูมิภาคอาเซียนยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่  และบทลูกน้องที่ดีต่อมหาอำนาจอย่าง ไทย สิงคโปร์ กัมพูชาก็คง ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่จะมากน้อยขึ้นกับ ภาวะทางการเมืองด้วยเช่นกัน

        ส่วนการวีโต้ผ่านสหประชาชาติในห้าชาติมนตรีความมั่นคง

ที่ยอมยกมือให้มีการรุกรานเกิดสงคราม ก็ไม่พ้นชาติตะวันตก

ยกกันให้พรึ่บ ส่วนสองชาติที่เหลือ รัสเซียน และจีน เป็นเสียงข้างน้อยก็ได้แต่นั่งตาปริบๆ แต่ก็ยังคงสนับสนุนอาวุธกันต่อไป

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ คงวินาศกันอีกแล้วละครับดังนั้น ขอให้ชาติอาเซียน

เป็นปึกแผ่นไว้มากๆครับอย่าให้คนอื่นเข้ามาสอดได้เป็นอันขาดไม่งั้นตายครับตาย

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 11/08/2009 12:34:21


ความคิดเห็นที่ 37


ท่าน Nine เรือ เอจิส ใคร ๆ ก็อยากมีกันทั้งนั้นแหล่ะครับ...แต่สิ่งไหน ซึ่งมันไม่สามารถจะมีได้...(งบประมาณพัฒนาประเทศที่จำเป็น ยังไม่พอเลยครับ)..เราก็ต้องตัดทิ้งไปก่อน...แล้วพิจารณา สิ่งที่จะสามารถจัดหาได้...แม้จะสัก เล็กน้อย แต่ก็ดีกว่า ไม่มี เลย นะครับ...

เบื้องต้น ผมมองประเด็นไปที่ แหล่งพลังงาน ทั้ง พม่า และ กัมพูชา...ที่ สหรัฐ ต้องการในเบื้องต้น....

สงครามตัวแทนในเบื้องต้น มันเห็นด้วยกับท่าน siamman18...ซึ่งผมกำลังมองไปที่ กัมพูชา มากกว่า พม่า...โดยใช้ พม่า เป็นสิ่งหักเห ให้สหรัฐ สนับสนุนไทย ในเรื่องอาวุธ....

แหล่งพลังงานในน่านน้ำอ่าวไทย ระหว่างไทย กับ กัมพูชา...ถ้า กัมพูชา ดื้อดึง...และมีข่าวจากเว๊ป ประชาไท...ว่า ฝรั่งเศส จะส่ง เรือบรรทุกเครื่องบินมาเยือนกัมพูชา โดยจะถอดถอนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ นิวเคลียร์ ออก เพื่อระมัดระวังในเรื่อง นิวเคลียร์ สำหรับภูมิภาคนี้...

สมทบกับ ข่าวที่ กัมพูชา ให้ สัมปะทาน ฝรั่งเศส ในเรื่องขุดเจาะน้ำมัน โดยแหล่งที่สำคัญ มีความต้องการมากที่สุด ก็คือ จุดข้อพิพาท ไทย-กัมพูชา นั่นเอง...

โดยผู้ที่เคยสำรวจแหล่งพลังงานดังกล่าว คือ เชฟรอน ของสหรัฐ...

ผมเลยคิดว่า สหรัฐ ต้องการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ตรงนี้ด้วย...

และผลประโยชน์ที่ สหรัฐ จะได้รับ ก็คือ การสนับสนุนอาวุธให้กับ ประเทศไทย...และคล้ายกับ บีบบังคับไทย กลาย ๆ ว่า...ถ้า ยู อยากมีเงินมาซื้ออาวุธ เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่คาดว่าน่าจะเกิด โดยพัฒนาไปถึง อาวุธนิวเคลียร์ ด้วยแล้ว...

ยู คงต้อง เจรจา กับ กัมพูชา เพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันในแหล่งพลังงานดังกล่าว....และถ้า ฝรั่งเศส มีการแสดงออกถึง การคุ้มครองผลประโยชน์ของฝรั่งเศส อย่างชัดเจน...อาวุธในปัจจุบันของ ยู คงไม่เพียงพอ ที่จะรับมือ ความขัดแย้ง ทั้งจากฝั่ง พม่า กับ กัมพูชา แน่...

ไอ จะคอยสนับสนุน ยู...แต่เมื่อ ยู ตกลงผลประโยชน์กับ กัมพูชา ได้เรียบร้อยแล้ว...ไอ คิดว่า...เราคงร่วมมือกันในการ ลงทุนขุดเจาะ และจำหน่ายพลังงานด้วยกันนะ...จุ๊บ จุ๊บ....

แผ่นภาพ ตามข้อมูลที่ท่าน AAG_th1 แจ้งว่า รัศมี 700 ก.ม. ของ SCUD ที่ พม่า น่าจะ หรือ อาจจะ มีประจำการ....ว่ามีรัศมี ครอบคลุม ในลักษณะใด ได้บ้าง ( เดา ) 

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 21:16:29


ความคิดเห็นที่ 38


อุ๊ยตาย...พิมพ์ผิดครับ...พิมพ์เร็วไปด้วย...เดี๋ยวความหมายจะผิดครับ...ขอแก้ไข "มันเห็นด้วยกับท่าน siamman18" เป็น "ผมเห็นด้วยกับท่าน siamman18" ครับ..
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 21:19:33


ความคิดเห็นที่ 39


Hwasong ซึ่งลอกแบบจาก SCUD นั้นเป็นระบบอัตราจรที่เคลิ่อนที่ฐานยิงล้อยางซึ่งการตั้งยิงจากเขตชายแดนนั้นเรียกได้ว่าครอบคลุมพื้นที่ของไทยแทบจะเกือบทั้งหมด

อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายเพื่อตั้งยิงจริงๆนั้นในภูมิศาสตร์ของชายแดนไทย-พม่าเป็นพื้นที่ป่าภูเขารกทึบและสูงชัน ซึ่งการเคลื่อนย้ายระบบขนาดใหญ่อย่าง SCUD นั้นคงไม่สามารถทำได้ง่ายครับ (ยกเว้นแต่ว่าระบบดังกล่าวจะเคลื่อนที่โดยใช้ "ขา")

กลับมาที่เรือชั้น Perry ปัจจุบันหลังการปลดของ SM-1MR แล้วกองทัพเรือสหรัฐฯได้ทำการถอดแท่นยิง Mk 13 ออกครับ ซึ่งทำให้เรือชั้นนี้ไม่สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีได้อีกต่อไปไม่ว่าจะเป็น SM-1MR หรือ Harpoon ได้ ซึ่งจากคุณสมบัติตัวเรือดังเดิมและปัจจุบันแล้วเรือชั้น Perry ไม่เหมาะต่อการนำมาใช้เป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศครับ

เนื่องจากเรือป้องกันภัยทางอากาศนั้นจำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยยิงเข้าใส่เป้าหมายได้พร้อมๆกันหลายนัดซึ่ง Perry ไม่สามารถทำได้ อีกประการคือเดิมที่กองทัพเรือก็มีความสนใจเรือชุดนี้ครับแต่เนื่องจากเรือใช้ ย.Gas Turbine ล้วนซึ่งมีอัตราสิ้นเปลืองสูงมาก ประกอบกับอายุการใช้งานแล้วดูจะไม่คุ้มค่าที่จะจัดหามาครับ

ในส่วนของการปรับปรุงเรือชั้น Perry ที่ประจำการในประเทศอื่นเช่นชั้น Adelaide ของออสเตรเลียนั้น ดูเหมือนว่านอกจากการปรับปรุงที่ทำไปก่อนหน้านี้แล้วกองทัพเรือออสเตรเลียเลือกที่จะจัดหาเรือใหม่คือชั้น Hobart ซึ่งพัฒนามาจากชั้น Alvaro de Bazan ของเสปน แทนเรือชั้นนี้ทั้งหมดในปี 2013-2014ครับ (ตามข้อมูลปัจจุบันการปรับปรุงเรือชั้น Adelaide ก็ไม่ได้เป็นไปตามแผนเดิมทั้งหมดครับ อย่างSM-2MRก็ไม่น่าจะมีการติดครับ ซึ่งปัจจุบันเรือชั้นนี้ก็ปลดไปแล้ว2ลำครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 11/08/2009 22:18:30


ความคิดเห็นที่ 40


ตามข้อมูลของท่าน AAG_th1 ครับ...ที่ ทร.ออสเตรเลีย รอเรือป้องกันภัยทางอากาศชุดใหม่ จำนวน 4 ลำ...

แต่ ทร.ออสเตรเลีย ได้ปรับปรุง เรือชั้น Adelaide ทำหน้าที่ป้องกันภัยอากาศแทนไปก่อน...ซึ่ง เรือชั้น โอลิเวอร์ ไม่ใช่เรือป้องกันภัยทางอากาศ 100% ทาง ทร.ออสเตรเลีย กับ ตุรกี จึงมีความต้องการระบบ VLS ติดตั้งบนเรือ...เพื่อทำหน้าที่นั้น ให้สมบูรณ์ขึ้น...

ทร.ออสเตรเลีย จึงทำการอัพเกรด เพื่อรอการประจำการเรือลำใหม่ ทำหน้าที่แทน...

ส่วนการปลดประจำการเรือชั้นนี้ จำนวน 2 ลำ เป็นเรือรุ่นท้ายสั้นครับ...ซึ่งไม่มีการอัพเกรด...เรือที่ทำการอัพเกรด เป็นเรือรุ่นท้ายยาวทั้งหมดครับ...

ข่าวการอัพเกรด Fire Control ของ เรือชั้น Adelaide สำหรับรองรับ SM-2 ครับ...

http://www.highbeam.com/doc/1G1-169066476.html

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 23:10:45


ความคิดเห็นที่ 41


และตามข่าวที่ ไตหวัน มีความต้องการ SM-2 Block IIIA ซึ่งรวมถึง

16 Telemetry missiles ด้วย...ผมไม่รู้ว่าหมายถึง อุปกรณ์อะไร...แต่เมื่อนับจำนวนแท่นยิง SM-1 ของเรือที่ประจำการในปัจจุบันของ ทร.ไตหวัน...ประกอบด้วย

เรือชั้น โอลิเวอร์ฯ จำนวน 8 ลำ รวมแท่นยิง MK-13 จำนวน 8 หน่วย

เรือชั้น คิดส์ จำนวน 4 ลำ รวมแท่นยิง MK-26 จำนวน 8 หน่วย

รวมทั้งสิ้น แท่นยิง SM-1 ของ ไตหวัน เท่ากับ 16 หน่วย เท่ากับความต้องการดังกล่าวขั้นต้น...

ผมจึงมองว่า ไตหวัน มีความต้องการ SM-2 Block IIIA สำหรับเรือที่ประจำการในปัจจุบัน ไม่ใช่ เรือใหม่...

และตามที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นว่า ถ้า ร.ล.จักรีฯ และ เรือชั้น นเรศวร ติดตั้งแท่นยิง VLS แล้ว...

การป้องกันทางอากาศ โดยไม่ต้องจัดซื้อ เรือใหม่...

จะประกอบด้วย เรือชั้น นเรศวร กับ จรวด ESSM และ เรือชั้น โอลิเวอร์ฯ ติดตั้ง SM-2 สำหรับการป้องกันภัยทางอากาศ...

และ ติดตั้ง VLS ให้กับ 911 ที่สามารถยิง SM-2 ได้...

การวางกำลังในสภาพงบประมาณ ไม่สามารถจัดหาเรือใหม่ ได้...

ฝั่งอันดามัน ชั้น นเรศวร-ESSM กับ ชั้น โอลิเวอร์-SM-2

ฝั่งอ่าวไทย = 911-ESSM + SM-2

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 23:22:14


ความคิดเห็นที่ 42


เรือชั้น โอลิเวอร์ฯ ของสหรัฐ ที่ถอนการติดตั้ง MK-13 ก็ถอนเฉพาะอุปกรณ์การยิง ซึ่งมันสามารถนำกลับมาติดใหม่ได้...

แต่เนื่องจาก ภาระกิจของ โอลิเวอร์ฯ ในปัจจุบันของ สหรัฐ...ผมเคยให้ความเห็นไว้ว่า...เป็นเรือลาดตระเวณ ตรวจการณ์ หรือ OPV สไตล์สหรัฐ...จึงไม่มีความจำเป็นต้องติด MK-13 เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในภาระกิจ...เพราะภาระกิจภัยทางอากาศ ก็ไปอยู่ที่เรือชั้น Arleigh Burke แล้ว...และ รอเรือ LCS มาทดแทน โอลิเวอร์ฯ....

โดยผมมองประเด็นที่ว่า...สมมติ พม่า มีศักยภาพทางอาวุธนิวเคลียร์ จริง...และศักยภาพ นั้น มันก็สามารถคุกคามภัยทางทะเลได้ด้วย...

ในการจัดงบประมาณ เพื่อจัดหา เรือใหม่ ที่มีภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศโดยเฉพาะ...ซึ่ง อาจจะได้ งบประมาณสำหรับ เรือใหม่ ที่ติดตั้ง จรวด ESSM เท่านั้น...เพราะถ้า เรือใหม่ จะสามารถปล่อย จรวด SM-2 ได้...มันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องอัพเกรดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรือเก่า เรือใหม่...ในสภาพงบประมาณปัจจุบัน หรือในอนาคต ที่รวมถึงติดตั้ง VLS ให้กับ เรือชั้น นเรศวร ด้วย...จะสามารถมีงบประมาณจัดนำเข้ามาประจำการได้หรือไม่...ในขณะที่ ความต้องการ เรือดำน้ำ ของ ทร.เอง ก็มีความต้องการที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน....

แต่ถ้าใช้งบประมาณ ในการติดตั้ง VLS ให้ เรือชั้น นเรศวร กับ เรือมือสอง ที่อัพเกรดสามารถปล่อยจรวด SM-2 ได้...โอกาสในการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดนำเข้าประการ น่าจะได้อยู่ ครับ...และงบประมาณ ก็ไม่น่าจะกระทบต่อการจัดหา เรือดำน้ำ มาพร้อมกันด้วยมากนัก....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 23:40:00


ความคิดเห็นที่ 43


และข่าวความต้องการ SM-2 Block IIIA ของไตหวัน...จะมีมูลค่าประมาณ 272 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประกอบด้วย SM-2 จำนวน 144 ลูก และ อุปกรณ์สำหรับแท่นยิง มิสซายส์ 16 หน่วย....

ไตหวัน มีเรือ โอลิเวอร์ฯ จำนวน 8 ลำ มีแท่นยิง MK-13 รวมจำนวน 8 หน่วย

เรือ คิดส์ จำนวน 4 ลำ มีแท่นยิง MK-26 รวมจำนวน 8 หน่วย หรือ เท่ากับ 16 แท่นยิง

รวมทั้งสิ้น จะมีแท่นยิง ต่อ 1 ลูก เท่ากับ 24 หน่วยยิง

จรวด SM-2 จำนวน 144 ลูก หาร 24 หน่วยยิง จะเท่ากับ ไตหวัน ให้ลูกจรวด SM-2 จำนวน 6 ลูก ต่อ 1 แท่นยิง

เรือชั้น โอลิเวอร์ฯ จะมี จรวด SM-2 ลำละ 6 ลูก

เรือชั้น คิดส์ จะมี จรวด SM-2 ลำละ 24 ลูก

ต้นทุนต่อหน่วย รวมการอัพเกรด เครื่องยิง รวมลูกจรวดจำนวน 6 ลูก และอุปกรณ์อื่น ๆ ต่อ 1 หน่วยยิง จะเท่ากับ 272 ล้านเหรียญ หารด้วย 24 หน่วยยิง เท่ากับ 11.33 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/08/2009 23:55:57


ความคิดเห็นที่ 44


เมื่อรวมราคามูลค่าการอัพเกรดโดยประมาณ ปน มั่วเล็กน้อย ถึง ปานกลาง ไปจน มากที่สุด....เอาหลาย ๆ ข่าวมารวมกัน

ต้นทุน อัพเกรด MK-92 ประมาณ 20 ล้านเหรียญ ( ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด ว่าจำนวนเงินดังกล่าว สำหรับเรือกี่ลำ จึงขอหาร 4 ลำ ตกลำละประมาณ 5 ล้านเหรียญ )

ต้นทุน อัพเกรด แท่นยิง MK-13 พร้อม จรวด 6 ลูก ประมาณ 11.33 ล้านเหรียญ ตามความเห็นข้างต้น

รวมต้นทุนการอัพเกรดในเบื้องต้น ให้สามารถ ยิง SM-2 ได้ พร้อม จรวด 6 ลูก จะประมาณ 16.33 ล้านเหรียญ

คราวนี้ ก็คงเป็นเรื่องราคาในสภาพพื้นฐานเรือ โอลิเวอร์ฯ (ที่ปรับปรุงแล้ว) ปัจจุบันของ ทร.สหรัฐ ว่าจะตีราคาต่อลำ ได้เท่าไหร่...สมมติว่า ตีราคาที่ 100 ล้านเหรียญ...(และคงใช้การซื้อแบบ ความช่วยเหลือทางการทหาร)

รวมราคาอาจจะประมาณ 116.33 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ...ซึ่ง ตัวแปร ที่เป็นสาระสำคัญ คือ ราคาเรือ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 00:07:47


ความคิดเห็นที่ 45


อยากทราบเกี่ยวกับแผนที่รัศมีการยิงSCUD น่ะคับ

ในแผนที่มีุจุดยิงสามจุด สำหรับผมแล้วถ้ายิงจากย่างกุ้งมีโอกาสเป็นไปได้

แต่การที่จะแบกเข้ามายิงใกล้ชายแดนไทย(เห็น 2 จุด คือ มะละแมง กับอีกที่ที่ใดผมไม่ทราบ) มีโอกาสเป็นไปได้หรือคับ
จากที่พี่บอกมาว่ามันมีโอกาสเป็นไปได้ถ้าใช้ขา แต่นี้มันขีปนาวุธนิวเคลียร์ นะคับไม่ใช่ปืนใหญ่สมัยเดียนเบียนฟู ไม่ทราบว่าถ้าใช้ขา จริงๆมันจะเป็นไปได้ไหมคับอยากทราบ

ถ้าเป็นไปได้ ผมขอรัศมีจากเนปีดอที่เป็นเมืองหลวงใหม่พม่าได้ไหมคับ
โดยคุณ alpha35818 เมื่อวันที่ 12/08/2009 00:36:16


ความคิดเห็นที่ 46


อู้วส์...ท่าน alpha35818...แผ่นภาพผม อย่าเอาเป็นสาระ หรือ อ้างอิงนะครับ...

แผ่นภาพที่ผมจัดทำ แค่ลองวางรัศมีดูว่า ถ้า รัศมี SCUD ให้ครอบคลุม น่านน้ำ ทั้ง อันดามัน และ อ่าวไทย...มันควรจะอยู่ตรงไหนครับ....ซึ่ง พอลาก วงกลมไป มันก็ไปอยู่ตรงนั้น น่ะครับ...ไม่ได้มี เหตุผล ทางยุทธการอะไร....

และด้วย รัศมียิงไกลกว่า 700 ก.ม. ทำไมต้อง ปีน ขึ้น เขา ด้วยล่ะครับ...ยิงบนถนนข้างล่างก็ได้...ยังไง ๆ มันก็ไป ถึง....เพราะ ความสูง มันก็น่าจะพ้นทิวเขาอยู่แล้ว...หรือ ก็ต้องพิจารณาว่า แท่นยิง ของ พม่า เป็นอย่างไร...เป็นท่อยิงแนวตั้ง หรือ ราง แนวเฉียง...ซึ่ง ก็ยังไม่มีภาพถ่ายให้เห็น...

ปัญหาของ พม่า ที่ผมสงสัย ก็คือ...พม่า จะใช้ อะไร ชี้พิกัด ยิง ?

ถ้า พม่า จะยิงเฉพาะที่ตั้ง สนามบิน สนามเรือ...ก็เป็นไปได้...ซึ่งนั่น ก็หมายความว่า มีเป้าหมาย ประเทศไทย โดยตรง...

แต่ถ้า พม่า มีเป้าหมายที่ กองกำลังขนาดใหญ่ ไม่ว่าทางบก หรือ ทางทะเล ที่มีการเคลื่อนที่ หรือ จุดตั้งวางกองกำลังชั่วคราว....

พม่า...จะมีอะไร เป็นยุทธวิธี ชี้พิกัด และ ยิง จรวด เข้าสู่เป้าหมาย ?

ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยในตรงนี้...ผมจึงคิดว่า โอกาส ที่ พม่า จะเกิดผิดพลาดในพิกัด กรณี ทดสอบอาวุธ...น่าจะมีความเสี่ยง ที่จะหลงเข้ามาใน น่านน้ำ หรือ น่านฟ้า ของไทย....

และการจัดหา อาวุธตามที่ผมให้ความคิดเห็น...ก็ในลักษณะ จัดหามาเพื่อป้องกันความผิดพลาดของ พม่า...ไม่ว่า พม่า จะเกิดสงครามกับใครก็ตาม ครับ...ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐ อินเดีย จีน ลาว บังคลาเทศ...ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการป้องกันตนเองของไทยด้วย...กรณีเกิดสงครามกับ ไทย....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 01:18:42


ความคิดเห็นที่ 47


สำหรับที่ผมวางเป็น จุด เรียง 3 จุด นั้น...

ผมมองที่ว่า ถ้ามี กองกำลังยกพลขึ้นบกที่แถบทะเลอันดามัน ตรงแถบย่างกุ้ง....

รัศมีของ SCUD ที่จะยิงเป็นระลอก จากจุดที่ 1 ยิง...จุดที่ 2 ยิงตามสมทบ...จุดที่ 3 ยิงสนับสนุนปิด หรือยิงสนับสนุนสมทบ...ซึ่งทั้ง 3 จุด ก็มีจุดที่ตั้งรัศมีห่างกัน....

แต่ถ้าพ้นจากจุดรัศมีที่จะทำลาย กองกำลังยกพลในแถบชายฝั่งบริเวณดังกล่าวแล้ว...รัศมีที่ยิงลึกจากตรงนั้นไป...มันก็จะตกลงบนฝั่งของ พม่า เอง...ทำนองนั้น น่ะครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 01:37:09


ความคิดเห็นที่ 48


  ปัจจุบันกองทัพเรือต้องการระบบป้องกันภัยทางอากาศให้แก่กองเรือในภาวะงบประมาณจำกัด หากเป็นดังที่คุณ Juldas กล่าวไว้  สรุปว่าหากไม่จัดวื้อเรือใหม่ ก็จะเป็นดังนี้ใช่หรือไม่ครับ

1.  ติดตั้ง VLS ให้กับ ร.ล. จักรีฯ ที่สามารถยิง SM-2 กับ ESSM

 2. ร.ล.ชุด นเรศวร ติดตั้ง ESSM

 3. เช่า/ซื้อเรือชั้น โอลิเวอร์ หรือเรือชั้นอื่นประมาณ 2 ลำและปรับปรุงให้ใช้ SM-2

 ไม่ทราบว่าร.ล.ชุดพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จำนวน 2 ลำ จะสามารถปรับปรุงอะไรเพิ่มได้บ้างครับในกรณีที่ไม่มีงบซื้อหรือเช่าเรือรบเก่าได้จริงๆ หรือว่าไม่สามารถทำได้ตามเงื่อนไขการเช่ากับอเมริกัน ( หรือทร.เน้นเรือชุดนี้ไว้ปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก )

 

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 12/08/2009 02:31:02


ความคิดเห็นที่ 49


ในส่วนของระบบอาวุธปล่อยนอกจากระบบของสหรัฐฯคือ SM-2 แล้วระบบของยุโรปเช่น Aster 30 ซึ่งมีระยะยิง 120กิโลเมตร ก็ยังเป็นตัวเลือกหนึ่งที่เป็นทางเลือกครับ เพราะอย่างเรือชั้น Formidable ของสิงคโปร์นั้นก็ติดตั้ง Aster 15/30 ในแท่นยิง Sylver A50 VLS จำนวน 32ท่อยิง

แต่ประเด็นสำคัญของเรือที่จะใช้ในการสกัดกั้นขีปนาวุธนั้นก็คือระบบอำนวยการรบครับ ตามที่กล่าวไปในข้างต้นว่าเรือประเภทนี้จำเป็นจะต้องทำการการจับเป้าหมายและยิงอาวุธเข้าหาเป้าหมายได้พร้อมๆกันเป็นจำนวมากครับ ซึ่งอย่างระบบของเรือชั้น Formidable นั้นระบบ Radar แบบ Herakles สามารถจะตรวจับเป้าหมายได้หลายร้อยเป้าในระยะ 250กิโลเมตร และควบคุมการยิงให้จรวดAsterเข้าโจมตีเป้าหมายได้ 8-16นัดพร้อมกัน

เพราะเนื่องจากว่าการยิงขีปนาวุธหรืออาวุธปล่อยร่อนนั้นโดยมากไม่ได้ยิงมานัดเดียว และโชคการยิงนั้นถึงจะเป็นระบบรุ่นล่าสุดก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถสกัดได้100%ภายในนัดเดียวเสมอไปครับ ถ้าดูจากการใช้ Patriot ยิงสกัด SCUD ในช่วงสงครามอ่าวฯที่ผ่านๆมา

แน่นอนว่าเรือชั้น Perry นั้นเป็นระบบในยุคปลายปี 1970s ซึ่งมีข้อจำกัดครับ ซึ่งถ้ามองในแง่ความคุ้มค่าการรับมือภัยคุกคามในอนาคตแล้วส่วนตัวคิดว่าไม่ค่อยคุ้มที่จะจัดหามาแล้วทำการปรับปรุงเท่าไรครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 12/08/2009 03:09:37


ความคิดเห็นที่ 50


แล้วไม่ทราบว่าจากแผนภาพของท่าน มีภาพหนึ่งที่SCUD สามารถยิงมาถึงเกือบๆกรุงเทพได้

อยากทราบว่า ถ้าพม่ามีศักยภาพทำตามที่ในแผนภาพทำได้ เราจะเกิดวิกฤติการนิวเคลียร์คาบสมุทรอินเดีย เหมือนเกาหลีเหนือไหมคับ ? พอดีจารย์เค้าเหมือนกับให้เขียนบทความด้านความมั่นคงในอาเซียน

เอกผมเรียนเกี่ยวกับพวกเอเชีย ไม่เห็นมีใครสนใจพม่าซักคน
ข่าวลอยๆว่านิวเคลียร์จะมาจ่อคอหอยเราอยู่แล้ว ผมถามในเอกไม่เห็นมีใครรู้ซักคน แปลก
โดยคุณ alpha35818 เมื่อวันที่ 12/08/2009 03:24:45


ความคิดเห็นที่ 51


ตามแบบแผนเดิมนั้น ร.ล.จักรีนฤเบศรมีแผนที่จะติดแท่นยิง Mk 41 VLS สำหรับ RIM-7 Seasparrow 8นัดครับ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนไปติด Sadral จำนวน3แท่นเป็นระบบป้องกันระยะประชิดแทน ซึ่งจากภารกิจของเรือแล้ว ร.ล.จักรีนฤเบศรคงไม่มีความจำเป็นต้องติด VLS สำหรับ ESSM ครับ(เรือ Principe de Asturias ของสเปนเองก็ติดเพียงระบบปืน CIWS 20mm ครับ)

ส่วนเรือชุด ร.ล.นเรศวรเองนั้นตามแผนเดิมก็จะมีการติดตั้ง Mk41 VLS 1ชุด 8ท่อยิงสำหรับ Seasparrow เช่นกัน แต่ก็ไม่มีการติดตั้งจนกระทั้งมีข่าวการสำรวจเพื่อปรับปรุงระบบของเรือที่ผ่านมาครับ ซึ่งการปรับปรุงตัวเรือก็คงจะคล้ายๆกับเรือที่มีแบบแผนคล้ายคลึงกันอย่างเรือชั้น Anzac(MEKO 200) ของออสเตรเลีย ซึ่งติดแท่นยิง Mk41 1ชุดสำหรับ Seasprrow 8นัดเช่นกัน โดยได้เปลี่ยนเป็น ESSM แบบ Quad-Pack 32นัดแทนซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม ESSM นั้นเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางแบบ เฉพาะจุดซึ่งป้องกันได้เฉพาะภัยทางอากาศเฉพาะตัวเรือเองและหมู่เรือที่อยู่ใกล้ๆครับ ซึ่งการปรับปรุงให้ติด SM-2MR สำหรับแท่นยิง Mk41 เพียง1ชุดนั้นดูไม่ค่อยเหมาะนักครับ

สำหรับเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึ่งเป็ฯเรือชั้น Knox นั้นในต่างประเทศเช่นไต้หวันเองก็มีแผนที่จะปรับปรุงเรือให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นอยู่ครับ(แต่ก็ติดปัญหางบประมาณ) อย่างไรก็ตามเนื่องจากภารกิจหลักของเรือชุดนี้ที่มีหน้าที่ในการปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก ซึ่งส่วนตัวคิดว่าถ้าเทียบกับเรือแบบอื่นๆที่มีอายุการใช้งานและทันสมัยกว่าแล้วกองทัพเรือไม่น่าจะมีแผนที่จะปรับปรุงเรือชุดนี้เท่าไรครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 12/08/2009 04:32:56


ความคิดเห็นที่ 52


ผมเห็นด้วยครับ...ในลักษณะการติดตั้ง VLS ก็เป็นลักษณะคุ้มกันหมู่เรือ และตัวเรือเอง...

ซึ่งมันก็ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่หรือครับ...ถ้าเรามองเป้าหมายของ จรวด พม่า คือ การทำลายหมู่เรือ...วิ่งเข้าหา หมู่เรือ....และด้วยรูปแบบการจัดกองเรือของ ทร. ไทย ก็จัดเป็นหมู่เรือ แบบละ 1 ลำ...

การติดตั้ง SM-2 ก็เพื่อสกัดกั้น ได้ไกล ขึ้น...เพื่อ เผื่อ จะมีเวลาเพิ่มขึ้น...สำหรับ ลูกที่เหลือ....

และเมื่อเราไม่ได้มองว่า พม่า คือ คู่สงคราม

การจัดหาอาวุธในเบื้องต้น ก็เพื่อสำหรับป้องกันความผิดพลาด สำหรับ SCUD 1-2 ลูก....

และการ ติดตั้ง ซาดรัล ของ 911 ก็เป็นการติดตั้งแทน โครงการเดิม คือ ฟาลังซ์...ไม่น่าจะเป็นการติดตั้งแทน VLS ครับ...

และด้วยคุณสมบัติอย่างหนึ่งของ 911 คือ การป้องกันภัยทางอากาศให้กับหมู่เรือ ด้วย..ผมมอง ซาดรัล คือ การป้องกันภัย 911 ตนเอง มากกว่า หมู่เรือ...แต่ด้วย 911 มีประจำการด้วย AV-8S ก็ยังไม่มีความต้องการ VLS ได้...

แต่ปัจจุบัน 911 ไม่มี AV-8S แล้ว...ในภาระกิจป้องกันทางอากาศของหมู่เรือ...มันก็ป้องกันได้ รัศมี 5 ก.ม. นับจากจุดศูนย์กลางคือ เรือ 911....ในขณะที่เป้าหมายของ อาวุธนำวิถี ที่สามารถยิงมาได้ในระยะไกล 20-30 ก.ม. และก็ไม่รู้ว่า อาวุธนำวิถี จะวิ่งเข้าเป้าเรือ ลำไหนในหมู่เรือ...

การติดตั้ง VLS และติดตั้งจรวด ESSM มันก็น่าจะช่วยสะกัดกั้นได้ก่อนที่ อาวุธนำวิถีจะจับเป้าหมาย เรือลำใด ลำหนึ่งได้....อาจจะที่ระยะ 10 - 20 ก.ม. ก่อนถึงกองเรือ....ซึ่งผมว่า น่าจะเรียกว่า ป้องกันภัยทางอากาศให้กับหมู่เรือ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 06:57:06


ความคิดเห็นที่ 53


และการสกัดกั้น ความผิดพลาดของ พม่า...ก็ไม่ได้หมายถึงว่า สกัดกั้น ได้ตั้งแต่ระยะไกล ๆ ...เช่น จะมีการทดสอบยิง ขีปนาวุธ ในบริเวณ A ซึ่งใกล้เคียงกับในน่านน้ำของ ไทย และใกล้กับ หมู่เกาะ B ของไทย...

การสะกัดกั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาด...ทร. ก็ต้องจัดหมู่เรือ ที่มีอาวุธป้องกันภัยทางอากาศ ใกล้บริเวณ หมู่เกาะ B เพื่อป้องกันความผิดพลาดของ การทดลองยิง ขีปนาวุธ...ที่จะเข้ามาในบริเวณ หมู่เกาะ B...คงไม่ได้หมายถึงการสะกัดกั้น ตั้งแต่ ขีปนาวุธ เฉียดน่านฟ้า เหนือน่านน้ำไทย...ครับ...

และเมื่อดูถึงความคุ้มค่า...ราคาระบบอาวุธ ไม่ว่าจะติดตั้งบนเรือใหม่ หรือ เรือเก่า...ราคาระบบอาวุธมันก็ ราคาเดียวกัน ครับ...เพียงแต่ ราคาเรือใหม่ มันจะสูงจน ทร. สามารถติดตั้งระบบอาวุธได้หรือเปล่า...เช่นเดียวกับ ทร.ออสเตรเลีย...ที่ต้องพัฒนาและติดตั้ง บนเรือที่มีประจำการก่อน เพื่อให้สามารถรับภัยปัจจุบันในเฉพาะหน้า...ขณะรอรับเรือที่สมบูรณ์มาประจำการ ในภายหลังครับ...

ซึ่งการป้องกันภัยทางอากาศ มันก็ต้องมีการประสานร่วมระหว่าง ทางบก และ ทางอากาศ...คงไม่ใช่จะเฉพาะว่า ทร. จะต้องรับผิดชอบน่านฟ้า บนน่านน้ำ ทั้งหมดครับ...ในการแสดงความคิดเห็นของผม ก็จะเฉพาะในส่วนทางทะเล ที่ถ้าเกิดถูกการโจมตี...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 07:14:59


ความคิดเห็นที่ 54


ตอบท่าน Mr.Bean ครับ...

1. ก็ในเมื่อปัจจุบัน 911 ยังไม่ได้มีการติดตั้ง VLS และถ้ามีโครงการ จะทำการติดตั้ง VLS...มันก็ควรจะติดตั้งแบบที่สามารถยิงจรวด ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่มีความเสี่ยงภัยคุกคาม เช่น เกาหลีใต้ ไตหวัน ญี่ปุ่น มีความต้องการ SM-2 Block IIIA...ซึ่ง ถ้า พม่า มีความสามารถยิง ขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ได้...ประเทศไทย ก็น่าจะจัดอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยง เหมือนทั้ง 3 ประเทศ

2. ถ้าเรือชั้น นเรศวร ไม่ติด VLS...คุณสมบัติของ เรือชั้น นเรศวร ก็ไม่ต่างอะไรกับ เรือชั้น เจ้าพระยา ครับ...และคุณสมบัติอาจจะด้อยกว่า ชั้น รัตนโกสินทร์ เล็กน้อยในเรื่อง SAM

3. ผมมองที่ ทร. มีความต้องการ เรือดำน้ำ ในขณะนี้...ในขณะที่ ข่าว การครอบครองนิวเคลียร์ของ พม่า...ก็ยังไม่น่าไว้วางใจ สหรัฐ เท่าไหร่ ครับ ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร และมีจริงหรือไม่...หรือหาเหตุอะไร....แต่ก็ กันไว้ดีกว่าแก้...ด้วยงบประมาณจำนวนหนึ่ง ที่น่าจะสามารถจัดหาอาวุธป้องกันภัยทางอากาศได้ในระยะที่ไกลขึ้น...และทำให้ไม่กระทบกับแผนการจัดหา เรือดำน้ำ....ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นว่า...เรือ โอลิเวอร์ฯ มือสอง ก็น่าจะช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้...

ซึ่งถ้า ทร. จัดหา เรือป้องกันภัยทางอากาศมือใหม่จริง ๆ...มันก็เป็นสิ่งที่ ทร. ต้องเลือกว่า จะเอา เรือป้องกันภัยทางอากาศ หรือ เรือดำน้ำ อย่างใด อย่างหนึ่ง...เพราะสภาพงบประมาณของ ทร. ผมไม่คิดว่า ทร. จะสามารถจัดหาทั้ง 2 อย่างได้ ครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 07:28:18


ความคิดเห็นที่ 55


ท่าน thepsexy...ผมไม่ค่อยเชื่อว่า จีน จะถ่ายทอดเทคโนโลยี่ทางทหารให้...เพราะลูกค้า จีน มีไม่กี่ราย...จีน คงต้องให้ จัดซื้อไปเรื่อย ๆ...หรือ จีน จะถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้...เราก็ต้องเป็นผู้ร่วมลงทุนกับจีน เพื่อสำหรับจำหน่ายให้กับประเทศอื่นด้วยครับ...คงไม่ปล่อย บินเดี่ยว....

แต่ปัจจุบัน ทร. ก็กำลังต่อเรือใกล้เคียงฟริเกตแล้ว...คงไม่น่าจะต้องพึ่ง จีน ครับ....

ส่วนคำถามท่าน alpha35818 ผมคงไม่มีความรู้ทางวิชาการขนาดนั้นน่ะครับ...ทั้งหมด ก็เป็นความ นึกคิด ส่วนตัว เอาข่าวสารโดยทั่วไป มาปะติด ปะต่อ แล้วจินตนาการ สร้างข้อสมมติ เพื่อทำความเข้าใจไปเรื่อย ๆ น่ะครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 07:38:54


ความคิดเห็นที่ 56


แล้วซื้อหนังสือ MILITARY เล่มใหม่กันรึยังครับ...ผมชอบหน้าปก และเรื่องการฝึก CARAT 2009 มาก...รอซื้อ DVD ที่ลงข้อมูลว่าจะทำออกมาจำหน่ายด้วย...

ในหนังสือ จะเห็นการจัดหมู่เรือ ดังนี้

ลำที่ 1 ร.ล.นเรศวร

ลำที่ 2 ร.ล.คีรีรัฐ

ลำที่ 3 ร.ล.รัตนโกสินทร์

ลำที่ 4 ร.ล.จักรีนฤเบศร์

ก็จะเห็นได้ว่า ร.ล.นเรศวร ซึ่งเป็นเรือชั้นแนวหน้าของไทย...ก็ต้องอาศัย SAM จาก ร.ล.รัตนโกสินทร์ ...

ผมเลยตั้งข้อสมมติว่า....ถ้ามี อาวุธนำวิถี วิ่ง เข้ามา 2 ทาง คือ แนวทางด้านหน้า แนว ร.ล.คีรีรัฐ กับ ร.ล.นเรศวร กับทางด้านแนวหลังของ 911...

แนวทางด้านหน้า ก็พอจะใช้ SAM จาก ร.ล.รัตนโกสินทร์ ต่อต้านได้...ซึ่งถ้าหลุดการต่อต้านมาได้...เรือแต่ละลำก็ต้องป้องกันตนเอง จากอาวุธปืนต่าง ๆ

แล้ว แนวหลังล่ะ...ร.ล.รัตนโกสินทร์ จะเร่งสปีด ไปสนับสนุน 911 ได้ทันการณ์หรือไม่...และ 911 ต้องรอให้ อาวุธนำวิถี วิ่งเข้าระยะทำลายของ ซาดรัล ที่ประมาณ 5-6 ก.ม. เชียวหรือ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 07:53:27


ความคิดเห็นที่ 57


ระบบควบคุมการยิงสำหรับเรือชั้น Perry นั้นมีสองแบบครับคือ CAS (Combined Antenna System) และ STIR (Separate Track &
Illumination Radar) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Radar ควบคุมการยิงแบบ Mk 92 Mod 2 (ระบบนี้พัฒนามาจาก WM-25 ซึ่งเรือของไทยหลายลำติดตั้งครับ)

CAS นั้นจะทำการควบคุมการยิงได้ทั้งปืน Mk 75 (76mm/62cal) และ Standard Missile อย่างใดอย่างหนึ่ง และ STIR นั้นจะควบคุมได้เฉพาะ Standard Missile เท่านั้น ซึ่งทั้งระบบ CAS และ STIR นั้นสามารถโจมตีเป้าหมายทางอากาศได้พร้อมกันเพียง 1-2เป้าเท่านั้นครับ ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้ว เรือชั้น Perry จะยิง Standard Missile เข้าใส่เป้าหมายได้ครั้งละ1นัดเท่านั้น

CAS STATUS/ STIR STATUS: Two fire control radars are available on the FFG: CAS (Combined Antenna System) and STIR (Separate Track &Illumination Radar). CAS can guide SM-2 missiles or control the gun. STIRcan only guide the SM-2 missile. A fire control radar can track only one target at a time. The Harpoons do not require a fire control radar
assignment.
Both the CAS and STIR STATUS areas allow for assigning (and deassigning) a radar system to a target and for shutting down the missile onceit is launched.

ปะเด็นสำคัญคือหลังจากที่กองทัพเรือสหรัฐฯปลด SM-1MR ไปแล้ว เรือชั้น Perry ที่มีอยู่ทั้งหมดได้ทำการถอดทั้งแท่นยิง Mk 13 และ Radar ควบคุมการยิง STIR ออกทั้งหมดครับ ซึ่งถ้ามองว่ากองทัพเรือจะจัดหาเรือชั้น Perry มือสองมาติด STIR และแท่นยิง Mk13 ใหม่แล้ว (ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะยังหาได้หรือไม่เพราะระบบค่อนข้างเก่า)

ส่วนตัวคิดว่าเอา STIR ที่จะจัดหามาใหม่นี้ไปติดให้เรือชุด ร.ล.นเรศวรเพิ่มอีก1ชุดแทนแล้วปรับปรุงให้ใช้ได้ทั้ง SM-2 และ ESSM กับแท่นยิง Mk 41 1ชุดจะดูคุ้มค่ากว่าครับ (Mk 41 VLS 8ท่อยิงติด ESSM 16นัด SM-2MR 4นัด ยังพอได้ครับถ้าจะสกัด SCUD หรือ Cruise Missile 1-2ลูกพร้อมกัน)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 12/08/2009 08:11:53


ความคิดเห็นที่ 58


STIR ของเรือชั้น Perry นั้นน่าจะเป็นคนละแบบกับ STIR ที่ติดกับเรือชุด ร.ล.นเรศวรครับคือเป็นแบบที่พัฒนาจาก AN/SPG-60

ส่วนระบบควบคุมการยิง Mk 92 ก็คล้ายคลึงกับ WM-25 ที่ติดในเรือหลายลำของกองทัพเรือไทยครับ

ที่ GlobalSecurity นั้นลงข้อมูลว่า ระบบMk 92 นั้นสามารถโจมตีเป้าหมายได้พร้อมกัน 4เป้าครับ

The MK 92 Fire Control System (FCS) is deployed onboard FFG 7 PERRY-Class ships in conjunction with the MK 75 Naval Gun and the MK 13 Guided Missile Launching System. The MK 92 FCS integrates target detection with multichannel antiair and antisurface missile and gun systems control, engaging up to four targets simultaneously. The MK 92 track-while-scan radar employs the Combined Antenna System (CAS), which houses both search antenna and tracker antenna inside a single egg-shaped radome. A Separate Target Illumination Radar (STIR) designed for the PERRY-class MK 92 FCS application provides a large diameter antenna for target illumination at ranges beyond CAS capabilities. The MK 92 FCS is in service with a number allied fleets, and in additional cases, is onboard US Navy FFG 7-Class ships slated for transfer to international navies.

http://www.globalsecurity.org/military/systems/ship/systems/mk-92-fcs.htm

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 12/08/2009 08:27:31


ความคิดเห็นที่ 59


ภาพของ AN/SPG-60

ระบบควบการยิง STIR ของเรือชั้น Perry นั้นจะติดอยู่หน้าปืน 76mm

จากที่ค้นข้อมูลเพิ่มอีกเล็กน้อย ระบบควบคุมการยิงของเรือชั้น Perry นั้นจะมีช่องสัญญาณควบคุมการยิงเป้าหมายได้พร้อมกัน 4เป้าจริงครับคือ เป้าหมายผิวน้ำ 2ช่องสัญญาน และเป้าหมายทางอากาศอีก2ช่องสัญญาณ ตามปฏิบัติแล้วเรือชั้น Perry จะสามารถโจมตีเป้าหมายทางอากาศได้พร้อมกันอย่างน้อย 2เป้า แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้วการใช้อาวุธปล่อย Standard Missile นั้นมีข้อจำกัดเกี่ยวกับระบบอยู่ครับ ทั้งระบบ Radar ตรวจจับทางอากาศคือ AN/SPS-49 ซึ่งรุ่นที่ติดให้เรือชั้น Perry นั้นเป็นรุ่นที่มีขีดความสามารถจำกัด และ โครงการปรับปรุงที่ผ่านๆมาของเรือก็ถูกยกเลิกไปหลายโครงการครับ

http://www.globalsecurity.org/military/systems/ship/ffg-7-elec.htm

http://www.globalsecurity.org/military/systems/ship/ffg-7-weaps.htm

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 12/08/2009 08:55:02


ความคิดเห็นที่ 60


ขอบคุณครับ...ท่าน AAG_th1 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ...

เรือ FFG ของสหรัฐฯ ล่าสุดมีการปรับปรุงเพียง 4 อย่าง วัตถุประสงค์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภาระกิจ...ประกอบด้วย

1. เปลี่ยน Detroil Dissel Electrical Generator เป็น Modern Caterpillar

2. ถอน แท่น MK-13 ออก

3. อัพเกรด ปืน ฟารังซ์ เป็น Block 1B (สามารถทำลายเป้าเหนือน้ำได้ เช่น พวกเรือเร็วต่าง ๆ)

4. ติดตั้ง MK-53 DLS Nulka

โดยแผนจะทำการปรับปรุงเสร็จ ทั้ง 30 ลำ ปี 2011

ซึ่งเท่าที่ผมดูภาพล่าสุดของเรือชั้นนี้ ที่ปรากฎเป็นภาพถ่าย ก็น่าจะปรับปรุงตามข้างต้นเรียบร้อยแล้ว...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 10:11:24


ความคิดเห็นที่ 61


ความรู้อย่างเยอะเลย.....โหสุดยอด...
โดยคุณ kittikornbf1 เมื่อวันที่ 12/08/2009 13:34:43


ความคิดเห็นที่ 62


อยากทราบครับว่าเหตุใดท่านจูลดาสถึงเชียร์ เรือชั้นเพอรี่ครับผม

เพราะว่าจากการใช้งานของเจ้าเรือลำนี้ค่อนข้างเก่ามากทีเดียว มันสามารถ

ติดอาวุธใหม่ๆ และรองรับระบบตรวจการณ์ใหม่ๆ ได้หรือไม่ครับ .......

ถ้าเกิดว่าเกิดความตึงเครียดในภูมิภาคนี้จริง ไม่มีโอกาสเหรอครับที่เราจะ

มีเรือระบบเอจิส อยากทราบครับว่า มูลค่าของเรือที่มีระบบนี้ตกลำเท่าไหร่

ครับผม...?????
โดยคุณ Nine เมื่อวันที่ 12/08/2009 14:05:58


ความคิดเห็นที่ 63


อยากทราบครับว่าเหตุใดท่านจูลดาสถึงเชียร์ เรือชั้นเพอรี่ครับผม
เพราะว่าจากการใช้งานของเจ้าเรือลำนี้ค่อนข้างเก่ามากทีเดียว มันสามารถ
ติดอาวุธใหม่ๆ และรองรับระบบตรวจการณ์ใหม่ๆ ได้หรือไม่ครับ .......
ถ้าเกิดว่าเกิดความตึงเครียดในภูมิภาคนี้จริง ไม่มีโอกาสเหรอครับที่เราจะ
มีเรือระบบเอจิส อยากทราบครับว่า มูลค่าของเรือที่มีระบบนี้ตกลำเท่าไหร่
ครับผม...????? เพราะผมคิดว่าอย่างไรแล้ว มูลค่าประเทศก็ไม่น่าจะเทียบ
กับเรือลำหนึ่ง ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งความมั่นคงในภูมิภาค และช่วยเพิ่มความ น่าเกรงขามต่อประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางทะเล และ ชายฝั่งของชาติที่มีมูลค่า มากกว่า 1ล้านล้านบาทต่อปี ไม่แน่ครับเราอาจจะได้มาก็ได้ อิอิ ขำๆ ครับ แต่ก็อยากได้จริงๆ เพราะดูแล้ว เรือของเราที่มีอยู่
ไม่น่าจะเพียงพอต่อการป้องกันจรวด(ถ้าพม่ามีจริง)ยังไงก็ขอความรู้จาก
ท่านจูลดาสด้วยครับ
โดยคุณ Nine เมื่อวันที่ 12/08/2009 14:10:27


ความคิดเห็นที่ 64


มันเป็นเรื่อง สมมติ น่ะ ท่าน Nine....

เรือที่มีระบบ เอจีส ลำหนึ่ง ราคาคงไม่ต่ำกว่า 1,200 - 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ...

และระวางขับน้ำของเรือที่มีระบบ เอจีส คงจะไม่ต่ำกว่า 4,000 ตัน...

ซึ่งถ้าสังเกตุเรือที่ประจำการในน่านน้ำของ ทร. จะเป็นเรือขนาด 2,000 - 2,500 ตัน ด้วยสภาพของอ่าวไทย จะเหมาะสมกับเรือในขนาดนี้...แต่ถ้าจะประจำการแถว อันดามัน เป็นหลัก ขนาดเรือ 4,000 ตัน ก็เหมาะสม...

ส่วนเรือชั้น พุทธฯ ขนาดเรือ 4,000 ตัน ก็เพราะมันเป็นเรือมือสอง มันก็ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้....และ ภาระกิจหลัก ก็เป็นเรือปราบเรือดำน้ำ...เนื่องจาก ทร. เอง ก็ถูกยกเลิกการจัดซื้อ เรือดำน้ำ...มันก็จำเป็นต้องจัดหาเพื่อความสมดุล...โดยในขณะนั้น สิงคโปร์ ก็จัดซื้อ เรือดำน้ำ แล้ว...และ มาเลเซีย ก็ออกข่าว กำหนดความต้องการเรือดำน้ำ และจัดเตรียมหาแล้ว....

ทั้ง ๆ ที่ ทร. มีความต้องการเรือป้องกันภัยทางอากาศ มากกว่า...คือ เรือชั้น ชาลล์ เอฟ อาร์ดัม ติดจรวดสแตนดาร์ดมิสไซด์...แต่ สหรัฐ ไม่ขายให้ เราจึงได้ เรือชั้น น๊อกซ์ มาแทน

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 20:56:54


ความคิดเห็นที่ 65


ตามความเห็นผม ไม่ได้หมายความว่า ต้องการเรือชั้น เพอรรี่ นะครับ....แต่เผื่อไว้ว่า...ถ้ามีการขายเรือมือสอง เกิดขึ้น...ซึ่งมันก็อาจจะไม่มีก็ได้...

ในส่วนเรือเพอรรี่ ก็น่าจะลองพิจารณาดูอีกครั้งหนึ่ง ถ้าราคามันถูกจริง และ สหรัฐ เสนอจะช่วยเหลือทางการทหารให้ หรือ สหรัฐ อาจจะเสนอให้ยืม แต่ให้ ทร. รับค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง จรวด เอง...โดยในขณะที่ เรือชั้น นเรศวร ก็อาจจะยังไม่ได้มีโครงการติดตั้ง VLS...และเป็นโอกาส ที่ ทร. จะได้ Standard Missile ประจำการ...และข่าวที่ออกมาจาก สหรัฐ ก็ยังไม่แน่ใจว่า น่าเชื่อถือ หรือ มีวัตถุประสงค์อะไร...การที่จะเท งบประมาณขนาดใหญ่ เพื่อเรือป้องกันภัยทางอากาศ เลย...เรา อาจจะเต้นผิดจังหวะไปก็ได้...ถ้าเกิดความจริง มันไม่ได้เป็นอย่างที่ สหรัฐ ออกข่าว...

แต่ถ้า ทร. มีงบประมาณจำนวนหนึ่ง ที่ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง โดยหลัก ทร. ก็คงเลือกที่จะติดตั้ง VLS ให้กับ เรือชั้น นเรศวร อยู่แล้ว...เรือ เพอรรี่ มือสอง ก็คงไม่ใช่ตัวเลือก....

เพราะตอนนี้ ผมว่า ทร. ก็ตั้งเป้าหมายงบประมาณขนาดใหญ่ที่ เรือดำน้ำ อยู่...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 21:10:04


ความคิดเห็นที่ 66


ในความคิดผม ที่เสนอมา ก็คือ

1. ปรับปรุงติดตั้ง VLS ให้กับ เรือชั้น นเรศวร กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร์

2. ถ้ามีโอกาส ได้รับข้อเสนอ เป็นเรือเพอรรี่ (เพราะ สหรัฐ อาจจะอยากสร้างน้ำหนักให้กับ ข่าวอาวุธนิวเคลียร์ของ พม่า ก็ได้) ก็น่าจะพิจารณาอีกครั้ง และหาวิธีสร้างเงื่อนไข ถ้าต้องมีการชำระเงิน และกำหนดอาวุธที่จะมาพร้อมกับเรือให้เหมาะสม กับ ข่าว ที่สหรัฐ ออกมาเปิดเผยต่อชาวโลก เพื่อไม่ให้กระทบกับแผนจัดหา เรือดำน้ำ ครับ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/08/2009 21:19:28


ความคิดเห็นที่ 67


เกี่ยวกับเรื่องเรือจักรีฯ  นึกย้อนไปถึงปี 37-38  ตอนนั้น เห่อมากไทยจะมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์   ราคาถูกมาก ประมาณ 7,000 กว่าล้าน(ค่าเงินในยุคนั้น)

แต่มารู้อีกทีว่า ราคานี้ยังไม่รวมถึงราคาของแผนงานที่วางไว้ ทั้งระบบอาวุธ,เฮลิคอปเตอร์ ฯลฯ  เบ็ดเสร็จรวมแล้ว ประมาณ 20,000 กว่าล้าน

แต่โครงการทั้งหลายก็ไปไม่ถึงฝั่งฝัน  เพราะเจอต้มยำกุ้งเข้าไป  ไม่อย่างนั้น ทร.จะมีเรือที่บัญชาการรบได้ทั้ง 3 มิติ เฮ้อ 


โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 12/08/2009 22:38:08


ความคิดเห็นที่ 68


เรือชั้น Perry นั้นมีประเด็นสำคัญตามที่กล่าวไปข้างต้นคือเรือค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการครับ โดยชุดนี้ใช้เครื่องจักรใหญ่เป็น ย.Gas Turbine ล้วนสองเครื่องไม่มี ย.ดีเซล ซึ่งนั้นหมายความว่ามีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่สูงมากครับถ้าเทียบกับเรือรบหลักแบบอื่นๆของกองทัพเรือในปัจจุบัน ซึ่งนั้นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ในอดีตกองทัพเรือไม่พิจารณาเรือชุดนี้ครับ

สำหรับเรือระบบ Aegis นั้นก็ใช้ว่าจะไม่มีแบบเรือขนาดเล็กระวางขับน้ำต่ำกว่า4,000ตันครับ ตัวอย่างเช่นเรือ AFCON Corvette ของอู่ Navantia สเปน ซึ่งใช้ Radar แบบ AN/SPY-1K รุ่นเล็ก ระวางขับน้ำปกติ 2,600ตัน ย.CODAD ความเร็วสูงสุด 27-29+ knots โดยสามารถขยายแบบสำหรับรุ่นป้องกันภัยทางอากาศได้ประมาณ 3,000กว่าตันครับ(เช่นเดียวกับแบบเรือ La fayette ที่มีการปรับแบบให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ เช่นติด Mk41 VLS เพิ่ม) ซึ่งเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากที่สุด

http://www.afconships.com/corvette.html

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 12/08/2009 22:50:05


ความคิดเห็นที่ 69


  ส่วนตัว เรือฟริเกต สมรรถนะสูง มีความสามารถป้องกันภัยทางอากาศได้ รวมถึงคุณลักษณะ Stealth ด้วยล่ะก็

  ผมขอเชียร์ LA FAYETTE CLASS FRIGATE  ลอกแบบ เอาเหมือนของ สิงคโปร์ ก็ได้

  ขอให้ติด เรดาร์ Herakles พร้อมกับ ASTER-30 มาด้วย่ะครับ

 ถ้าเงินเหลือใช้เยอะหน่อย

  ก็ขยับขึ้นมาดู FREMM FRIGATE รุ่นป้องกันภัยทางอากาศ หรือที่ เรียกว่า FREDA Version

  เรดาร์ ใช้เรดาร์ Herakles สำหรับ ฝรั่งเศส  และ Empar สำหรับ อิตาลี่

อาวุธที่ขนไปกับเรือ สำหรับเจ้า FREDA  ก็มี MICA VL  24 ลูก

 หรือถ้าจะเอา ASTER-30 ไปกับเรืออย่างเดียว ก็ขนไปได้ 32 ลูก

 หรือแบบ ผสมผสาน ทั้งทางบก ทางอากาศ ก็ขน ASTER-30 กับ SCALP NAVAL ไปได้อย่างล่ะ 16 ลูก

 

 **มันเป็นตัวเลือกที่ดีเลยทีเดียว............แต่ก็อย่างว่า ระวางขับน้ำ ต้อง 6,000 ตัน ราคามันคงจะแพงน่าดู

 

  ผมว่า เอา LA FAYETTE CLASS เหมาะกับเมืองไทยที่สุด

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 13/08/2009 03:43:14


ความคิดเห็นที่ 70


เรือ AFCON รุ่นมาตรฐาน จะติด MK-41 แบบ 4 เซล ถ้าจะขยายเป็น 8 เซล ก็คงต้องขยายขนาดเรือเพิ่มตามความเห็นท่าน AAG_th 1

คราวนี้มาประมาณ ราคาเรือใหม่ โดยทั่วไปประมาณราคาคร่าว ของฝั่งยุโรป ตันละ 100,000 + เหรียญ ถ้าเป็นระบบ เอจีส อาจจะประมาณ 125,000+เหรียญต่อตัน

แต่สมมติที่ 100,000 เหรียญต่อตัน...เรือ AFCON ในขนาด 2,600 ตัน จะราคาคร่าวๆ จะประมาณ ลำละ 260 ล้านเหรียญ...

ซึ่งในปี 2006 แอฟริกาใต้ สั่งซื้อเรือดำน้ำ รุ่น U-209-1400 ในราคาลำละ 285 ล้านเหรียญ...

จึงเป็นสิ่งที่ ถ้าจะเลือก ทร. จะเลือกเอาอะไรก่อนน่ะครับ...

ส่วนเรือชั้น เพอรรี่...ทร.สหรัฐ ได้ปรับปรุงเรือเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน...ดังนั้น...เรือมือสองของสหรัฐ ในขณะนี้ ก็ควรจะมีค่าใช้จ่ายในภาระกิจ ที่ถูกกว่าของเดิมครับ...

และต้องลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงด้วยครับ...เพราะถ้าค่าใช้จ่ายลดน้อยกว่า มูลค่าที่ปรับปรุงเรือไปแล้ว...ผมว่า ทร.สหรัฐ ก็ไม่น่าจะทำการปรับปรุงครับ...ในแง่นักบัญชี....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/08/2009 05:34:58


ความคิดเห็นที่ 71


เชียร์เรือใหม่ครับผม อิอิ อยากได้เรือดำน้ำเหมือนกัน แต่ว่าโอกาสก็มีแต่น้อย อยากให้มีเรือผิวน้ำลำใหม่เอี่ยม ไว้เพื่อป้องกันภัยได้ 3 มิติมากกว่า

ท่านจูลดาสครับ จะเพียงพอหรือไม่ครับ ถ้าติดตั้ง VLS ให้แก่เรือชุดนเรศวรและเรือหลวงจักรีนฤเบศร ...แล้วเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของเราสามารถติดพวกแซมได้หรือไม่ครับ นอกจากฮาร์พูน

ถ้ามีโอกาส ได้รับข้อเสนอ เป็นเรือเพอรรี่ (เพราะ สหรัฐ อาจจะอยากสร้างน้ำหนักให้กับ ข่าวอาวุธนิวเคลียร์ของ พม่า ก็ได้) ก็น่าจะพิจารณาอีกครั้ง และหาวิธีสร้างเงื่อนไข ถ้าต้องมีการชำระเงิน และกำหนดอาวุธที่จะมาพร้อมกับเรือให้เหมาะสม กับ ข่าว ที่สหรัฐ ออกมาเปิดเผยต่อชาวโลก เพื่อไม่ให้กระทบกับแผนจัดหา เรือดำน้ำ<<<อันนี้ของท่านจูลดาส

หมายความว่าเรือดำน้ำยังเป็นสิ่งที่กองทัพเรือกำลังจะจัดหามาเข้าประจำการใช่หรือไม่ครับ ภายใน 10 ปีนี้เราจะได้เห็นเรือดำน้ำใช่มั้ยครับ ตามแผนของทร.
โดยคุณ Nine เมื่อวันที่ 13/08/2009 11:43:08


ความคิดเห็นที่ 72


จากคำถาม ที่ว่าภายใน 10 ปีนี้ เราจะได้เห็นเรือดำน้ำใช่ไหมครับ...

มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้นน่ะครับ...

ปัจจุบัน

ASEAN

สิงคโปร์ = มี

มาเลเซีย = มี

อินโดนีเซีย = มี

เวียดนาม = กำลังจะมี

ไทย = ไม่มี

พม่า = ไม่มี

ฟิลิปปินส์ = ไม่มี

กัมพูชา = ไม่มี

ลาว = ไม่มีวันที่จะมี เพราะไม่ติดทะเล

อีก 10 ปี ข้างหน้า ถ้าประเทศไทย ยังไม่มี เรือดำน้ำ

ASEAN

สิงคโปร์ = มี ผ่านประสบการณ์มาไม่น้อยกว่า 10 ปี

มาเลเซีย = มี ผ่านประสบการณ์มา 10 ปี

อินโดนีเซีย = มี ผ่านประสบการณ์มา มากกว่า 10 ปี

เวียดนาม = มี ผ่านประสบการณ์มา ไม่น้อยกว่า 5 ปี

ไทย = ไม่มี

พม่า = ไม่มี

ฟิลิปปินส์ = ไม่มี

กัมพูชา = ไม่มี

ลาว = ไม่มีวันที่จะมี เพราะไม่ติดทะเล

และตามที่ผมยกตัวอย่าง ราคาเรือจากฝั่งยุโรป กับ เรือดำน้ำ...โอกาส ทร. ก็คงน่าจะเลือก เรือดำน้ำ มากกว่าครับ...และถ้าสามารถติดตั้ง VLS ให้กับ เรือชั้น นเรศวร ได้ หรือกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร์ ได้...ทร. ก็มีเรือรบสมมรรถนะ ครบ 3 มิติ แล้วครับ...และคิดว่า จะเป็นเรือรบผิวน้ำชั้น แนวหน้าในแถบ ASEAN รองจาก ฟอร์มิเดเบิ้ล ของ สิงคโปร์ เท่านั้น ครับ...

แต่ ทร. ยังไม่มี เรือดำน้ำ ครับ...และมันไม่สามารถมีอะไรมาทดแทนได้...ซึ่งปัจจุบัน ทร. ก็มีเรือปราบเรือดำน้ำ ที่มีศักยภาพเพื่อมาลดข้อด้อยตรงนี้...แต่มันก็เป็น ศักยภาพ สมัยยุคปี 70-80..ในขณะที่ เรือดำน้ำ ที่กำลังจะมีประจำการในภูมิภาค ASEAN เป็นเรือดำน้ำยุค ปี 90 - 2000

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/08/2009 20:46:17


ความคิดเห็นที่ 73


ป๋า  แล้วถ้าเผื่อสมมุติ  ทร. แก้ปัญหาโดยการขอเช่าเรือดำน้ำจาก สวีเดนหรือจีน  มาใช้ก่อนจะเป็นไปได้หรือไม่ครับ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 13/08/2009 22:06:07


ความคิดเห็นที่ 74


งบประมาณในแผนบริหารราชการแผ่นดิน 2552 - 2554 ส่วนของกองทัพเรือนั้นมีการตั้งงบประมาณในการจัดหาเรือดำน้ำใหม่2ลำจำนวน 40,000 ล้านบาท หรือราว $1.1 Billion ใกล้เคียงกับการจัดหาเรือแบบ Scorpene ของมาเลเซียครับ ซึ่งงบประมาณส่วนนี้นอกจากตัวเรือแล้วยังร่วมถึงการก่อสร้างสถานที่รองรับระบบเรือดำน้ำแบะการฝึกด้วยครับ

ปัจจุบันสวีเดนมีเรือดำน้ำประจำการอยู่5ลำครับเป็นชั้น Sorderman ที่ปรับปรุงจากชั้น Vastergotland(A17) 2ลำ ที่เหลือปรับปรุงและขายให้สิงคโปร์ในชื่อชั้น Archer และชั้น Gotland(A19) อีก3ลำ ซึ่งสวีเดนคงไม่น่าจะมีการขายหรือให้เช่นเรือที่มีอยู๋ในขณะนี้ครับ

นอกจากนี้ยังมีเรือชั้น Nacken (A14) อีก1ลำเก็บสำรองไว้ ซึ่งติดระบบ AIP โดยเคยให้เดนมาร์กนำไปทดสอบช่วงหนึ่งแต่เรือลำนี้มีอายุการใช้งานราว30ปีแล้วครับ

สำหรับจีนนั้นก็เคยมีข่าวลือว่าเคยเสนอเรือชั้น Type 039 Song ให้เช่าครับ แต่ทั้งนี้จีนเองก็ต้องสำรองเรือไว้เผื่อกรณีการใช้กำลังทางเรือกับประเทศอื่นเช่น ไต้หวัน และ Technology เรือดำน้ำของจีนเองก็ยังไม่มีประใดที่สนใจจะจัดหาครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 13/08/2009 23:20:33


ความคิดเห็นที่ 75


ถ้างบประมาณเป็นไปตามข้อมูลของท่าน AAG_th1...สงสัยก็คงไม่ต้องเช่าล่ะครับ...ท่าน nok

แต่แนวโน้ม ผมว่ามันยังไม่ใช่ใน 2-3 ปีนี้...แค่ งบประมาณ บ.ใหม่ ของ ทอ. ในปัจจุบัน กับ ภาษีที่จะเก็บได้ในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า..ผมว่าก็ หืด ขึ้นคอ แล้วครับ...และงบประมาณประจำปี ของกลาโหม ก็น่าจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้น...

งบประมาณ ซื้ออาวุธขนาดใหญ่ 20,000 - 40,000 ล้านบาท...ผมว่าโอกาสของ ทร. น้อยมาก...แถม ภาวะการเมือง ก็ยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ....

แต่ผมมอง โอกาส ที่น่าจะมีของ ทร. ในเรื่อง เรือดำน้ำ คือ น่าจะเป็นของ สิงคโปร์ ครับ...

ปัจจุบัน ในความเห็นผมว่า....สิงค์โปร์ มี เรือดำน้ำ มากเกินความจำเป็น...

และเมื่อ สิงคโปร์ ได้รับมอบ เรือดำน้ำรุ่นใหม่ จำนวน 2 ลำ จาก สวีเดน เรียบร้อยแล้ว...คงปลดระวาง เรือดำน้ำ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 4 ลำ ทั้งหมด...

และ ทร. ยังมีโครงการ ต่อเรือ LST เพิ่มอีก 1 ลำ จาก สิงคโปร์...การแลกเปลี่ยน เรื่องขอยืม เรือดำน้ำเก่าของ สิงคโปร์ + การเอื้อเฟื้อของ ทอ. ที่อาจจะให้ยืมใช้สนามบินฝึก แลกเปลี่ยนเงื่อนไขนี้...ก็อาจจะมีก็ได้ครับ...

โดย ทร. ก็ของบประมาณในส่วนของเรือดำน้ำ ที่จะเป็นไปได้ คือ ของบประมาณปรับปรุงฐานทัพเรือ และอุปกรณ์ เพื่อรองรับการประจำการเรือดำน้ำ...

และตามความเห็นของท่าน AAG_th 1 ในเรื่อง สกอร์ปิเน่ นั้น...ผมว่า ถ้า ทร. เลือก เรือชั้นนี้...ทร. ต้องมีความคิดที่มากกว่า การมีประจำการด้วยเรือดำน้ำ แน่....อาจจะถึงขึ้น ซ่อมบำรุงและสร้างเรือดำน้ำ เอง...(เพราะตอนนี้ ก็เซิรฟ์ ๆ ยานใต้น้ำอยู่แล้ว)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/08/2009 23:51:12


ความคิดเห็นที่ 76


ซึ่งเรือดำน้ำของ สิงคโปร์ หมายถึงว่า ทร. นำมาฝึกเพื่อหาความชำนาญ ก่อน และเตรียมความพร้อม...ในช่วงระยะที่ยังไม่สามารถของบประมาณ จัดซื้อ เรือดำน้ำได้...

จะทำให้ ทร. ไม่ทิ้งห่างประสบการณ์ใต้น้ำ จากประเทศที่มีประจำการด้วยเรือดำน้ำ ใน ASEAN มากเกินไป น่ะครับ...

และยังมีเหตุผล ในการจัดหางบประมาณ เพื่อสร้างฐานเรือดำน้ำ และจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นในเบื้องต้น เพื่อเตรียมรองรับประจำการ เรือดำน้ำ ไว้ก่อน....และบางที มันอาจจะช่วยสนับสนุนในการพัฒนา ยานใต้น้ำ ของ ทร. ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันอีกด้วยครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/08/2009 00:09:11


ความคิดเห็นที่ 77


อย่างที่ ป๋าจู กล่าวก็น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้เหมือนกันครับ กับกรณีเรือดำน้ำ สิงคโปร์ เพราะทางด้านการทหารเราค่อนข้างจะแนบแน่นกัน แต่ว่า สิงดโปร์ จะขายให้ก็อาจจะมีข้อแลกเปลี่ยนแน่นอน หรือไม่ก็สิงคโปร์อาจจะไม่ขายให้ก็ได้ครับ หากเขาต้องการจะวางเรือดำน้ำของเขาไว้ที่อื่นนอกประเทศ เว้นเสียแต่มีมากไปจนกำลังพลมีไม่เพียงพอ
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 14/08/2009 01:41:20


ความคิดเห็นที่ 78


ท่านจูลดาสครับ แล้วแบบนี้มาเลย์จะไม่มองเราเป็นภัยคุมคามมากขึ้นกว่าเดิมเหรอครับ ยิ่งเราใกล้ชิดกับสิงคโปร์มากแบบนี้ ผมว่าก็ดีนะครับถ้าสิงให้เรามายืมจริง แต่ว่า อาจจะส่งผลกระทบกับปัญหาภาคใต้เพิ่มขึ้นหรือเปล่าครับ  อันนี้เป็นข้อสงสัยของผมครับ
โดยคุณ Nine เมื่อวันที่ 14/08/2009 01:51:28


ความคิดเห็นที่ 79


ท่านเด็กทะเล ผมจับข้อสังเกตุทีว่า เราเคยเห็นภาพ เรือดำน้ำ ทร.สิงค์โปร์ แล่นโชว์ตัวบ้างไหมครับ...ผมว่า ผมไม่ค่อยได้เห็นเท่าไหร่...ถ้าเข้าใจไม่ผิด..รู้สึกว่า เรือดำน้ำของ สิงคโปร์ ไปฝึกอยู่ แถวกองเรือดำน้ำ ประเทศมาเลเซีย จำไม่ได้ว่าเคยอ่านเจอที่ไหน...เลยอาจจะไม่ค่อยมีใครได้ถ่ายภาพก็ได้...

ซึ่งผมคิดว่า ทร.สิงคโปร์ ไม่น่าจะมี กำลังพลประจำเรือได้ครบทั้ง 4 ลำ...น่าจะใช้งานเพียง 2 ลำ อีก 2 ลำ อาจจะจอดสำรองไว้...และไม่เกิน 1-2 ปี นี้ สิงคโปร์ ก็น่าจะได้รับมอบเรือดำน้ำใหม่ ครบถ้วน...อย่างน้อย สิงคโปร์ ก็น่าจะมีเรือดำน้ำ เกินความจำเป็นอยู่ประมาณ 2 ลำ...

ผมเลยจินตนาการไปว่า...ในโอกาสหน้า (หรือ ถ้ามีโอกาสอย่างอื่น) เมื่อ ทร. ต้องมีการสั่งซื้อเรือ LST เพิ่ม ก็น่าจะเรียกร้องของแถม เป็นยืมเรือดำน้ำ สัก 1 ลำ...และอาจจะทำ MOU ไว้...ว่า ทร. จะชำระค่าเรือดำน้ำ เฉพาะเมื่อมีการซื้ออะไหล่ สำหรับการซ่อมแซมในอนาคต โดยให้ สิงคโปร์ คิดค่าอะไหล่ได้ไม่เกินวงเงิน XX ล้านเหรียญ (โดยมี ลิสต์อะไหล่กำกับราคาแนบท้าย) โดยมีอายุใช้งานเรือดำน้ำ 10 ปี...และ ทร. จะส่งมอบเรือดำน้ำ คืนให้ อาจจะก่อน หรือ ครบตามสัญญา...

แต่ถ้า ทร. ได้รับอนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำ ในปี 1-2 ปี...จินตนาการ ผมก็สลาย...เพราะว่า มันกลายเป็นความจริงไปแว๊วววววว...5 5 5 5

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/08/2009 06:00:42


ความคิดเห็นที่ 80


เรือดำน้ำชุดแรกที่สิงคโปร์จัดหามาจากสวีเดนนั้นคือชั้น Challenger หรือเดิมคือชั้น Sjoormen(A12) ของสวีเดน ซึ่งต่อและเข้าประจำการในช่วงปลายปี 1960s ซึ่งนั้นหมายความว่าเรือชั้นนี้มีอายุการใช้งานมากกว่า 40ปีแล้วครับ

ซึ่งถ้าสิงคโปร์ตัดสินใจขายหรือมอบเรือชุดนี้ให้ไทยจริง น่ากลัวว่าตัวเรือจะไม่น่าจะอยู่ในสภาพที่สภาพปฏิบัติการได้แล้วครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 14/08/2009 08:19:33


ความคิดเห็นที่ 81


น่าจะยังได้อยู่นะครับ...

เพราะ ค๊อทคูม ก็ปรับปรุงสภาพใหม่ และลงน้ำเพื่อประจำการใหม่ในปี 1997 ของ ทร.สิงคโปร์

http://www.kockums.se/submarines/challenger.html

ซึ่ง ทร.ไตหวัน มีเรือดำน้ำประจำการ ชั้น Haishih ซึ่งเป็นเรือเก่าของ ทร.สหรัฐ ชั้น Guppy II ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประจำการครั้งแรกปี 1945 โดยมีการปรับปรุงสภาพใหม่ และประจำการใน ทร. ไตหวัน เมื่อปี 1973 ซึ่งตาม วิกีพีเดีย เรือชั้นนี้ จะถึงเวลาปลดประจำการในเดือน ก.ค. 2009 ซึ่งก็น่าจะเป็นเดือนที่มา รวมเวลาประจำการทั้งสิ้น 64 ปี

และเรือชั้น A-12 ของ สวีเดน เป็นเรือขนาด 1,100 ตัน ซึ่งยังมีความทันสมัยกว่า ถ้าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 50 ปี (เวลาประจำการมาตรฐาน ทร.ไทย) น่าจะยังใช้การได้นะครับ...

http://en.wikipedia.org/wiki/ROCS_Hai_Shih_(SS-791)

และถ้า ทร. ประจำการเพื่อเป็นเรือฝึก ซึ่งคงใช้รหัส TSS (Training Submarine) ผมว่าน่าจะยังมีอายุอีกหลายปี...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/08/2009 12:08:24


ความคิดเห็นที่ 82


ลองลงลิงค์ใหม่ครับ...

http://en.wikipedia.org/wiki/ROCS_Hai_Shih_(SS-791)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/08/2009 12:11:33


ความคิดเห็นที่ 83


ลิงค์ที่ให้ข้างบน เวลากดลิงค์เสร็จ ต้องใช้ วงเล็บปิด    )   ปิดท้ายด้วยนะครับ...มันถึงจะไป...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/08/2009 12:13:52


ความคิดเห็นที่ 84


มองได้สองกรณีครับ

1.ถ้าเรือชั้น Challenger ของสิงคโปร์ยังสามารถปฏิบัติการได้ดีเป็นเวลานานสิงคโปร์อาจจะเก็บเรือนี้ไว้ใช้เองจนกว่าจะปลดครับ 

2.การที่เรือ Hai Shih ของใต้หวันที่ทำการปรับปรุงแล้วมีระยะการเข้าประจำการเป็นเวลานาน ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าช่วง 5-10ปีหลังนั้นเรือยังสามารถปฏิบัติการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ครับ เพราะอย่างเรือผิวน้ำที่ต่อใหม่เองถ้าอายุเรือเกิน 25-30ปี ก็ต้องมีการตรวจสอบสภาพใหญ่แล้ว ซึ่งเรือดำน้ำนั้นมีความซับซ้อนกว่ามากครับ

ปัจจุบันไต้หวันยังมีเรือดำน้ำชั้น Hai Lung ซึ่งต่อจากเนเธอร์แลนด์ในช่วงปี 1980s อีก2ลำครับ ซึ่งคงจะใช้งานไปอีกนานเช่นกัน

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 14/08/2009 23:07:32


ความคิดเห็นที่ 85


จากกระทู้ thaiarmedforce.com

http://www.thaiarmedforce.com/forum/viewtopic.php?f=6&t=636&start=30

ถ้า ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี  ทำครบ 3 เฟส...ภาพเรือมันก็จะออกแบบนี้ รึเปล่า หนอ ?

คุณสมบัติเรือ ก็จะออกมาคล้ายกับเรือ F-22P ที่ จีน ต่อ ให้ ปากีสถาน เชียว...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/08/2009 22:49:27


ความคิดเห็นที่ 86


ตามข่าวที่ BVT ได้ลงนามสัญญาเป็นผู้ออกแบบ และสนับสนุนดูแลการต่อเรือ OPV ของ อู่เรือกรุงเทพฯ...ซึ่งเป็นเรือขนาด 90 เมตร...

ในเว๊ป defense-studies.bolgspot.com เลยลงภาพ แบบเรือขนาด 90 เมตร ที่ BVT กำลังต่อให้ประเทศ ทรินิแดท แอนด์ โทบาโค...ว่าแบบเรือน่าจะแบบใกล้เคียงกัน...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/08/2009 22:54:15


ความคิดเห็นที่ 87


รูปดีไซน์แบบเรือ OPV ขนาด 90 ม. ที่ BVT ต่อให้ ทรินิแดท


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/08/2009 22:55:16


ความคิดเห็นที่ 88


คุณลักษระเรือ ถ้า ร.ล.กระบุรี ทำได้ครบ 3 เฟส โดย ร.ล.เจ้าพระยา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/08/2009 23:40:40


ความคิดเห็นที่ 89


ถ้าเรือ OPV ของ ทร.ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

การคาดเดา ในจิตนาการของ ผมนะครับ...

เรือบรรทุก ฮ. = 1 - ร.ล.จักรีนฤเบศร์

เรือฟริเกต ต่อต้านเรือผิวน้ำ, ต่อต้านภัยทางอากาศ ติดตั้งท่อยิงตอร์ปิโด

ต่อต้านภัยทางอากาศระยะไกล

เรือชั้น นเรศวร = 2 (ติดตั้ง VLS)

ต่อต้านภัยทางอากาศระยะปานกลาง

เรือชั้น รัตนโกสินทร์ = 2 (เอสปิเด้)

เรือชั้น กระบุรี = 2 (FM-90 SAM)

ต่อต้านภัยทางอากาศระยะใกล้

เรือชั้น ปัตตานี = 2 (มิสทรัล) + ฮาร์พูน

เรือฟริเกต ต่อต้านเรือผิวน้ำ

เรือชั้น เจ้าพระยา = 2

กองเรือปราบเรือดำน้ำ

ชั้น มกุฎราชกุมาร = 1

ชั้น ตาปี = 2

ชั้น พุทธยอดฟ้าจุฬาโกล = 2

 ชั้น คำรณสินธุ์ = 3

กองเรือตรวจอ่าว

เรือ OPV โดยอู่ ทร. = 3

เรือเร็วโจมตี ติดอาวุธนำวิถี

เรือชั้น ราชฤทธิ์ = 3

เรือเร็วโจมตี ปืน

เรือชั้น ปราบปรปักษ์ = 3

เรือตรวจการณ์ ปืน

เรือชั้น ชลบุรี = 3

เรือชั้น สัตหีบ = 6

เรือชั้น หัวหิน = 3


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/08/2009 23:57:06


ความคิดเห็นที่ 90


กองเรือยามฝั่ง

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง

หมวดเรือที่ 1

เรือ ต.991 - 9912 = 12

หมวดเรือที่ 2

เรือ ต.91 - 99 = 9

เรือ ต.81 - 83 = 3

เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง

หมวดเรือที่ 3 

เรือ ต.213 - 226 = 13

เรือ ต. 231 = 1

เรือ ต. 227 - 230, 232 - 237 = 10

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/08/2009 00:06:30


ความคิดเห็นที่ 91


ป๋าจู ครับ ผมยังติดใจเรื่องเรือดำน้ำอยู่ ป๋าเปลี่ยนเรื่องไปโผล่ผิวน้ำซะแล้ว งั้นผมขอแวะย้อนดำกลับมาใต้น้ำนิดหนึ่งครับ กรณีเรือดำน้ำมือสองนี่ ถ้าสมมุติว่า เกิดต้องการที่จะเช่าเรือดำน้ำมือสองไว้ฝึก นอกจากสิงคโปร์แล้ว นอกนั้นผมว่าน่าจะมีของประเทศอื่นที่ยื่นเสนอให้เราได้ อีกทั้งกองทัพเรืออาจจะฝึกการค้นหาเรือดำน้ำโดยใช้  ยานใต้น้ำ ที่วิจัยสร้างขึ้นมาเองในการฝึกล่วงหน้าได้ และเมื่อมีเรือดำน้ำของจริงมาก็จะสามารถฝึกกำลังพลประจำการในเรือดำน้ำได้ด้วย คือว่า ผมไม่ค่อยจะกล้าหวังเรือดำน้ำมือสองจากที่เดียวมากนักครับ แต่น่าจะมีทางเลือกให้ได้หลายทาง
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 16/08/2009 02:32:50


ความคิดเห็นที่ 92


ท่านเด็กทะเลครับ...เดี๋ยวนี้ ผมสุขภาพไม่ค่อยดี...ปวดเส้นคอด้านขวามากครับ...เพราะใช้ เม้าส์ บ่อย...ช่วงนี้เลย พอดำน้ำนาน ๆ แล้วปวดคอคับ...เลยต้องโผล่มาขึ้นมาผิวน้ำครับ....นี่ ผมก็ไป ดำน้ำแถว รัชดา มา 2-3 รอบแล้ว...แต่ไม่สำเร็จสักที..มาววววว หลับทุกทีเลยครับ...อุ๊ย...คุยเรื่องอะไรเนี่ยยยย....กั๊ก กั๊ก กั๊ก....

พอดี เห็นกระทู้น่าสนใจดีครับ...เลยทำภาพประกอบสักหน่อยครับ...5 5 5 5

ในความเห็นผม แยกเป็นกรณี ดังนี้ ครับ...

1. กรณี ทร. จัดซื้อเรือดำน้ำ แน่นอน..ประเทศผู้ขาย คงส่งมอบ เรือดำน้ำ ให้มาฝึก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน แน่นอนครับ...และ ผมมองในกรณี ที่ ทร. ให้ผู้ขาย สกอร์ปิเน่ มาพูดคุย...ก็อาจจะ ยื่นไมตรี เพื่อขอใช้ อากุสต้า ของ ทร.มาเลเซีย มาใช้ต่อก็ได้ครับ...เพราะ มาเลเซีย ก็เตรียมรับมอง เรือดำน้ำแล้ว...อาจจะคงต้องคืน เรืออกุสต้า ที่ให้ยืมใช้ แก่ ฝรั่งเศส...แต่ พอ ฝรั่งเศส ได้รับ สัมปะทานน้ำมัน จาก กัมพูชา...เลยไม่ค่อยแน่ใจ...เรื่องท่าทีของ ทร. ต่อ เรือดำน้ำสัญชาติฝรั่งเศส ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปครับ...

2. และถ้า ทร. มองแล้วว่า ในระยะ 2 - 5 ปี ข้างหน้า ยังไม่มีโอกาสได้ยื่นขออนุมัติจัดซื้อ เรือดำน้ำ...โอกาส ที่จะเช่าเรือดำน้ำ มาฝึก เพื่อไม่ให้สงครามใต้น้ำของ ทร.ไทย ถูกทิ้งห่างจากประเทศเพื่อนบ้านมากเกินไป...ผมมองไปที่ จีน ครับ...และถ้า ทร. เลือกเช่าเรือฝึกจาก จีน...อนาคต อาจจะเป็น เรือดำน้ำ จากประเทศจีน ที่ ทร. อาจจะจัดซื้อเข้าประจำการ...เพราะ ถ้า ทร. ไม่จัดซื้อ เรือดำน้ำ จากจีน ผมว่า ทางการจีน บีบ การเมืองไทย ให้วุ่นวายและแทรกแซงในการจัดซื้อ เรือดำน้ำ ถ้ามีการเลือกเรือดำน้ำ ที่ไม่ได้มาจากจีน แน่...

3. ทร.ไทย จัดส่ง นายเรือ ไปฝึกและขอเช่าเรือฝึก ไปฝึกที่ประเทศที่ คาดว่า เป็นประเทศเป้าหมายในการจัดซื้อ เรือดำน้ำ ในอนาคต แทน...เพื่อเลี่ยงเกิดเหตุ กรณีที่ 2...โดย น่าจะของบพิเศษจากรัฐบาล ในงบเตรียมการเบื้องต้น สำหรับการจัดซื้อ เรือดำน้ำ ในอนาคต....เพื่อไม่ให้กระทบกับแผนการปรับปรุงเรือที่ประจำการในปัจจุบัน...และจะได้ใช้หลักสูตรการฝึก เหมือนการมีเรือดำน้ำประจำการเอง...

4. ถ้าสรุปสุดท้ายว่า จะเช่าเรือดำน้ำจริง ๆ เพื่อมาใช้ในประเทศไทย...ผมก็ เห็นตัวเลือกที่พอจะมี เรือดำน้ำ ให้เช่าชั่วคราว ก็คือ ฝรั่งเศส กับ จีน ซึ่งความเห็นผมก็เข้ากรณีที่ 1 กับ 2 ครับ...

ฝรั่งเศส ก็ อกุสต้า....

จีน ก็ โรมิโอ...กับ Ming class ซึ่ง โรมิโอ ก็เก่าแก่มาก ทร.เอง ก็คงไม่กล้าเสี่ยง...แต่ ทร.จีน ก็ใช้เป็น เรือฝึก กำหนดการปลดในปี  2010...แนวโน้ม ก็อาจจะไปที่ Ming class...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/08/2009 04:53:51


ความคิดเห็นที่ 93


  ซื้อแพคเกจ จาก ฝรั่งเศส ครับ เรือฟริเกต ป้องกันภัยทางอากาศ เอาเรือชั้น Lafayette 2 ลำ ลอกแบบมาจาก Formidable ของ สิงคโปร์

  ส่วนเรือดำน้ำ ก็เอา Scorpene อีก 2 ลำ

 

 มองไกลๆ อนาคต เรือฟริเกต Share อะไหล่ ร่วมกับ สิงคโปร์ ส่วนเรือดำน้ำ Share อะไหล่ ร่วมกับ มาเลเซีย

 

   เป็นไงครับ มองไกลมั๊ย

 

 อย่าคิดแต่จะเอาเรือป้องกันสิครับ...............ถ้า พม่า เห็นเรามี เรือ ฟริเกต ป้องกันภัยทางอากาศ เขาก็ไม่ยิงทางทะเลก็ได้

   แต่จะเปลี่ยนมายิง ทางบก ข้มมาทาง อ.แม่สอด จ.ตาก เข้ามากรุงเทพ แทน

  ถ้าวันนั้น พม่า มี นิวเคลียร์จริง เราต้องเตรียม แผนการไว้ ทั้ง 3 มิติ

 

ทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศ

  ทัพบก - ต้องมี PATRIOT MISSILE

 ทัพเรือ - ต้องมี เรือฟริเกต ป้องกันภัยทางอากาศระยะไกล ไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตร ( หมายถึง จรวดน่ะ ที่ยิงได้ ไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตร )

ทัพอากาศ - ต้องมีเครื่องบิน ที่มีหน้าที่ บินไปโจมตี ฐานยิงขีปนาวุธ ของ พม่า...........ก่อนที่เขาจะยิงเรา หรือ กำลังยิง

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 16/08/2009 04:56:00


ความคิดเห็นที่ 94


ส่วนของ ทร.สิงคโปร์ ผมกลับมาหาดูข้อมูลใหม่....

ปัจจุบัน ทร.สิงคโปร์ น่าจะใช้เพียง 3 ลำ อีก 1 ลำ จะเป็น Spare part...

โดยลำแรก คือ ชั้น ชาแลนเจอร์ น่าจะเป็นเรือฝึก...เท่านั้น...

ส่วนเรือลำที่ 2 เซ็นจูเรียน กับ คองเกอเร่อร์...เรือ 2 ลำ นี้ น่าจะเป็นเรือทางยุทธวิธีของ สิงคโปร์...

ส่วนเรือลำที่ 3 ชีพเท่นส์ น่าจะเป็น เรืออะไหล่...

และอายุการใช้งานของ เรือดำน้ำ สิงคโปร์ น่าจะใช้เรือลำละ 6 เดือน...ต่อปี...

ผมเลยประเมินในความคิดส่วนตัวว่า เซ็นจูเรียน ถ้านับจากปี 1998 ถึง 2008 รวม 10 ปี...อายุใช้ปฏิบัติงานจริง น่าจะอยู่ 5 ปี...เช่นเดียวกับ คอลเกอเร่อร์...ส่วน ชาแลนเจอร์ อายุปฎิบัติงาน น่าจะใกล้เคียงกับอายุเข้าประจำการ...อาจจะ 5 - 8 ปี

โดยสมมติว่า สิงคโปร์ รับมอบเรือ 2 ลำล่าสุด ครบในปี 2010 - 2012...เรือที่สิงคโปร์ น่าจะปลด คือ ชาแลนเจอร์ กับ เซ็นจูเรียน หรือ คองเกอเร่อร์...และถ้า สิงคโปร์ จะใช้เช่า น่าจะเป็น เซ็นจูเรียน หรือ คองเกอเร่อร์...ส่วน ชาแลนเจอร์ น่าจะเก่ามากเกินไป...ซึ่ง สิงคโปร์ ก็จะยังมีเรือดำน้ำ เหลืออีก 1 ลำ สำหรับเป็นเรือฝึก...

และถ้าสมมติว่า การปรับปรุงของ ค๊อทคูม คือ ปรับปรุงให้สามารถมีอายุใช้งานได้ 15 ปี (ครึ่งหนึ่งของอายุใช้งานเรือประจำการปกติ 30 ปี) โดยลักษณะการใช้งาน คือ ใช้ลำละ 6 เดือน ต่อ ปี สลับกัน...ก็จะเท่ากับ อายุใช้งานปฏิบัติงานจริงเต็มปี คือ 7.50 ปี...

ปัจจุบัน เรือ เซ็นจูเรียน กับ คองเกอเร่อร์ อาจจะเลือกอายุใช้งานประมาณ 5 ปี แต่ต้องใช้ลักษณะใช้งาน ลำละ 6 เดือน ต่อ ปี....กรณีที่ สิงคโปร์ ตกลงให้ยืม จำนวน 1 ลำ มาใช้เป็นเรือฝึก และ ทร.ลักษณะใช้งาน 3-4 เดือน ต่อปี ก็อาจจะขยายให้ เรือชั้นนี้ประจำการไปได้อีก 8-10 ปี...ในช่วงระยะที่ ทร. รองบประมาณ จัดหา เรือดำน้ำ....เป็นความคิดเห็นส่วนตัว น่ะครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/08/2009 05:18:34


ความคิดเห็นที่ 95


ผมว่า พม่า คงไม่ได้มองประเทศไทย เป็นภัยคุกคาม หรอกครับ....

มันอยู่ที่ว่า ประเทศไทย จะวางตัวอย่างไร ที่จะไม่ให้เป็นทางผ่าน หรือที่ตั้ง สำหรับภัยคุกคามของ พม่า....

ดังนั้น ถ้า ประเทศไทย ไม่มีนโยบาย เป็นทางผ่านบนบก หรือ ที่ตั้งบนบก สำหรับภัยคุกคามของ พม่า...เป้าหมายของอาวุธ ก็ควรจะเป็นบริเวณ ที่จะมีการยกพลขึ้นบก โดยกองกำลังขนาดใหญ่....ซึ่งมันน่าจะเป็นบริเวณชายฝั่ง และทะเล ฝั่งทะเลเบงกอล อันดามัน....

เพราะตามแผนที่ ประเทศที่ล้อมรอบพม่า ก็คงไม่ยินยอมให้มีการตั้งกองกำลังขนาดใหญ่ ภายในประเทศแน่...ยกเว้น บังคลาเทศ กับ ไทย...ที่พอจะมีโอกาสบ้าง...

ซึ่ง บังคลาเทศ ก็เพิ่งจะมีเรื่องทางทะเลาะกับ พม่า ในเรื่องแหล่งขุดเจาะน้ำมัน เหมือนกัน....

ส่วนประเทศไทย...โอกาสการตั้งกองกำลังขนาดใหญ่ โดยความยินยอมของคนภายในประเทศ ก็น้อยมาก...ยกเว้น สหรัฐ จะแสดง หรือ สร้างเรื่องให้เป็นที่ยอมรับได้ว่า มีนิวเคลียร์จริง และ ตั้งเป้าหมาย มาที่ประเทศไทย...

ซึ่งถ้าประเทศไทย มีเงินสามารถซื้อเพคเกจ ได้ขนาดที่ท่าน ท๊อป ซีเครท ว่าไว้...ผมว่าท่านลืม พ่วง ราฟาล ไปด้วยนะครับ...แต่ผมว่า ถ้ามีเงินขนาดนั้น...รัฐบาล คงเอาไปใช้หนี้เงินกู้ 8 แสนล้านก่อนล่ะครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/08/2009 05:32:24


ความคิดเห็นที่ 96


แหม......ป๋าจูล  ผมว่ากันไว้ก็ดีกว่าแก้น่ะ

   ไม่รู้ว่า พม่า มันอยากจะ รำลึก ถึงประวัติศาสตร์ อีกเมื่อไหร่

 เคยได้ อยุธยา ไปแล้ว 2 ครั้ง

  ไม่แน่เขาอาจ จะอยากได้ กรุงเทพ ก็เป็นได้

 

*แต่มันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะยุคนี้ มันยุค โลกาพิวัฒน์  ไม่สามารถ นึกจะทำอะไรก็ทำ ได้เหมือนสมัยก่อน อยากรบ ก็รบ

  ถ้ามาจริง  อเมริกา มหามิตร ต้องช่วยเราแน่

 แต่ต้องช่วยตัวเองก่อนน่ะ...........เราต้อง พึ่งพาตัวเองก่อนครับ

 

 ถ้า พม่า ไม่คิดจะครอบครอง อวุธ นิวเคลียร์ เราก็ไม่ต้องซื้อ หรอก ของพวกนี้

 แต่ถ้าเขาคิดจะมี  เราก็ต้องมีไว้ป้องกันบ้านเราด้วย

 อย่าให้มันมาตูมเราก่อน แล้วค่อยหาทางแก้

 

 จะเข้าสำนวนที่ว่า วัวหาย ล้อมคอก  หรือจะเอาแบบ ที่มันเกี่ยวข้องกัน ก็ต้องว่า  กรุงหาย ค่อยป้องกันเมือง............ครับ เจ้านาย

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 16/08/2009 06:16:10


ความคิดเห็นที่ 97


อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้นที่มีความเป็นไปได้ที่จะติดตั้งบนเรือชุด ร.ล.กระบุรีครับ ซึ่งตามข้อมูลที่เคยออกมานั้นน่าจะเป็น LY-60 ซึ่งมีสมรรถนะใกล้เคียงกับ Aspide ครับ อย่างไรก็ตาม แท่นยิงของจรวดแบบดังกล่าวก็มีขนาดใหญ่ซึ่งเคยแสดงความเห็นไปก่อนหน้านี้แล้วว่า จะติดได้หรือไม่ครับ เพราะความสูงของตัวแท่นยิงและควันดินขับที่เกิดหลังการยิงนั้นน่าจะบดบังทัศนะวิสัยของสะพานเดินเรืออยู่ครับ ซึ่งเรือชุดนี้มีโครงสร้างจำกัด

ส่วนตัวคิดว่าพยายามตัดเรื่องเรือดำน้ำมือสองจากจีนดีกว่าครับ เพราะปัจจุบันจีนเองก็ยังมีTechnology ไม่สูงพอที่จะพัฒนาเรือดำน้ำสำหรับส่งออก โดยเฉพาะเรือดำน้ำเก่าที่ต่อก่อนชั้น Type 039 Song ลงไปอย่าง Type 035 Ming นั้นเป็น Technology เก่ามากซึ่งดูไม่คุ้มค่าที่จะจัดหามาในปัจจุบันครับ 

แต่ถ้าจำเป็นต้องจัดหาเรือจีนจริงมองไปที่ชั้น Type 041 Yuan รุ่นใหม่ล่าสุดดีกว่าครับ แต่ว่าปัจจุบันโครงการพัฒนาเรือชั้นนี้ดูจะไม่ค่อบคืบหน้านักครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/08/2009 08:29:08


ความคิดเห็นที่ 98


เรื่องเรือดำน้ำ จีน ตามความคิดเห็นนั้น เป็นในลักษณะการเช่า ครับ..

ซึ่งผมก็ให้ความคิดเห็นไปว่า...ถ้า เช่า เรือดำน้ำ จีน ซึ่งคงเป็นที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่ มาเลเซีย ได้รับ อกุสต้า จากฝรั่งเศส มาใช้ฝึกก่อนประจำการเรือ สกอร์ปิเน่ น่ะครับ...

ซึ่งผมก็มองว่า ถ้า ทร. เกิดตัดสินใจนำเรือดำน้ำ จีน ไม่ว่าจะเช่า หรือ ยืม มาใช้ก่อน...เป็นไปได้ว่า อนาคตเรือดำน้ำ จีน จะมาประจำการแน่...ครับ...

ซึ่งในปี 2007 จีน ก็เสนอขายเรือดำน้ำ ชั้น Song ให้ไทย...ซึ่งผมไม่น่าใช่ปัญหาว่าจีนจะไม่มีเรือดำน้ำขาย...หรือตอนที่ ทร. ไทย จัดหาคัดเลือกแบบเป็น 209 ก็ยังต้อง พลิกโผ เป็น โรมิโอ โมดิฟายส์ ตามข้อมูลในบทความครับ...

ต่อมา ทร. คัดเลือกเป็น ก๊อตแลนด์ และเตรียมจะอนุมัติแล้ว ก็โดนการเมือง จนต้องยกเลิกไป...แถม อนาคตเศรษฐกิจของประเทศไทย ก็ยังมองไม่เห็นโอกาสสวยหรู งบประมาณเรือดำน้ำขนาด 20,000 ล้านบาท ต่อ 1 ลำ...ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีประจำการอยู่ในปัจจุบัน ในภาพการเมือง คือ การเพิ่มอาวุธประจำการ ในวงเงินขนาดใหญ่...เมื่อเทียบกับ ทอ. ที่เหตุ-ผล คือ ทดแทนของเก่า ยังพอโดนโจมตีน้อยหน่อย...และ ทอ. ก็เตรียมจะขอ ฝูงที่ 2 อีก...

ผมเลยมองโอกาสของ ทร. ในงบประมาณ 20,000 ล้านบาท ว่า น้อยมาก ครับ....

อิทธิพลทางการเมือง และนายหน้าขายอาวุธจีน...ในเมืองไทย ผมว่า มีบทบาทต่อการหาอาวุธจาก ทร. พอสมควร...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/08/2009 20:12:24


ความคิดเห็นที่ 99


โดย จีน ซึ่งเป็นนักการค้า และ มีอิทธิพลทางการเมืองในไทย...เสนอ ให้ยืม เรือดำน้ำ ฝึก...และเสนอขาย เรือดำน้ำชั้น Song ให้ในราคาถูก คือ จ่ายเงินสดส่วนหนึ่ง แลกผลิตทางการเกษตรส่วนหนึ่ง...

ทร. จะปฏิเสธ อย่างไร เท่านั้นครับ...และในแง่ การเมือง จะตอบเหตุ ผล ต่อสังคม ที่ยังต้องการงบประมาณลงทุนอีกจำนวนมาก อย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาในความคิดเห็นผม ที่อาจจะเกิดขึ้น...และไม่ได้ตัดตัวเลือก จากจีน ไป 100% ครับ...( ขนาดเรือชั้น ปัตตานี ยังพลิกโผ ยกเลิกกลางอากาศ...ผมว่า จีน ก็มี พาวเวอร์ ไม่เบาเหมือนกันครับ )

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/08/2009 20:17:51


ความคิดเห็นที่ 100


ส่วน ร.ล.กระบุรี...ผมก็สงสัยเหมือนท่าน AAG_th 1 เหมือนกัน ว่าจะติดอย่างไร...ซึ่งในรูป ผมต้องดัดแปลง ต่อเติมพื้นเรือหน้าสะพานเดินเรือ ด้านหน้าออกไปอีก เพื่อใช้ติด เครื่องยิงจรวด SAM...

และด้วยขนาดน้ำหนัก ปืนขนาด 100 ม.ม. แท่นคู่ ด้านหน้า ซึ่งมีน้ำหนักมาก....ด้านหน้าเรือ มันจะยังรับน้ำหนักได้อีกหรือ...

ยกเว้นถ้า ด้านเรือ ติดตั้งปืน 76 ม.ม. ซึ่งมีน้ำหนักน้อย ตามที่แสดงเห็นในกระทู้ Thaiarmedforce ผมว่าการต่อเติมพื้นยกระดับจากหน้าสะพานเดินเรือ หรือ ปรับลดระดับบริเวณที่ติดตั้งปืน 37 ม.ม.ในปัจจุบัน สำหรับติดตั้งแท่นยิง และขยายพื้นที่ออกไปใกล้ บริเวณปืนเรือหน้า ยังน่าจะทำได้อยู่...เช่นเดียวกับ การปรับปรุง เรือชั้น ตาปี...

หรืออีกแนวหนึ่ง คือ ติดตั้ง เครื่องยิงจรวด พื้น สู่ อากาศ บริเวณท้ายเรือ โดย ถอนปืนเรือ 37 ม.ม. ออก และเครื่องควบคุมการยิงออก...ก็จะเป็น สไตล์ ชั้น รัตนโกสินทร์...ก็ไม่ต้องปรับปรุงสภาพตัวเรือมาก...ซึ่งขนาดน้ำหนัก เครื่องยิงจรวด พื้น สู่ อากาศ น่าจะใกล้เคียงกับ ปืนเรือ 100 ม.ม. ที่ติดตั้งท้ายเรือชั้น เจ้าพระยา...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/08/2009 20:34:24


ความคิดเห็นที่ 101


แบบติด SAM ท้ายเรือ แทน ปืน 37 ม.ม.


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/08/2009 10:59:51


ความคิดเห็นที่ 102


จากภาพร่างแบบเรือของคุณ Julads เป็นไปได้หรือไม่ครับคุณ Juldas ที่ทร.ติดแท่น C-802A เฉพาะตำแหน่งหลังสะพานเดินเรือ ( หน้าปล่องควัน ) และที่ตำแหน่งหลังปล่องควัน ต่อเติมดาดฟ้ายกขึ้นเพื่อรองรับแท่นยิง อวป. พื้นสู่อากาศ  คล้ายแบบชุดรล.ตาปี รองรับปืน 76/62 

    โดยยังคงตำแหน่งปืนหลังไว้ เพื่อติดตั้งปืน 37 มม. รุ่นใหม่หรือปืนแบบอื่น  เพราะหากถอกปืน 37 มม. เดิมออกและเพิ่มแท่นยิง อวป. พื้นสู่อากาศเข้าไป อำนาจการยิงทางด้านท้ายเรือจะไม่มีเลยน่ะครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 17/08/2009 11:45:12


ความคิดเห็นที่ 103


แบบภาพแก้ไขนี้ครับ ( ขอโทษคุณ Juldas ด้วยครับที่ copy ครับ )


โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 17/08/2009 11:55:48


ความคิดเห็นที่ 104


หรือเพิ่มแท่นตอร์ปิโด 2 แท่น และไม่ทราบว่าแท่นยิง C-802A เป็นแบบแท่น 2 ชั้นหรือไม่ครับ


โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 17/08/2009 12:08:43


ความคิดเห็นที่ 105


ตามสบายครับ...ท่าน Mr.Bean...5 5 5 5 มีคนร่วมสนุกเพิ่มอีกคนแหร่ะ...

ตามรูป ผมก็จัดอาวุธตาม เฟส ที่ ท่าน bravo3 จากข้อมูลในกระทู้ของ Thaiarmedforce ตามกระทู้ที่ลิงค์ไว้น่ะครับ...

ส่วน C-802 ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะติดตั้งในรูปแบบ แท่น 4 ได้หรือไม่...

แต่คิดว่า ในการติดตั้งอาวุธ มันต้องมีส่วนประกอบของการเชื่อมระบบการยิง กับ ระบบอำนวยการรบน่ะครับ...ในเบื้องต้นที่เปลี่ยนเฉพาะแบบของอาวุธนำวิถี ก็คงน่าจะเป็นรูปแบบเดิม คือ แท่น 2 แนวนอน...

ผมก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันว่า ระบบอำนวยการรบในและการกดปุ่มยิง มันเป็นอย่างไร...แต่ถ้าเราเคยดูในหนัง เวลาเครื่องบิน ยิงจรวด หน้าจอ มันก็จะมีการแสดงตำแหน่งที่ตั้งของ จรวด ว่า เราปล่อย จรวด จาก ตำแหน่งไหน..

ซึ่งผมคิดว่า อาวุธที่ติดตั้งบนเรือ ก็น่าจะเหมือนกัน...และบนแผง แสดงตำแหน่งอาวุธ มันก็น่าจะติดตั้งระบบแจ้งเตือน ความผิดพลาดของ ระบบอาวุธด้วย...

ดังนั้น ในตอนนี้ ถ้าเรือชั้น กระบุรี ยังไม่เปลี่ยนแปลงระบบอำนวยการรบ...แผงแสดงตำแหน่งอาวุธ ในศูนย์ควบคุมการรบ ก็น่าจะยังเหมือนเดิม...ตำแหน่งของอาวุธ ก็น่าจะยังคงเหมือนเดิม....

แต่ถ้าเกิดมีการ เปลี่ยนแปลงระบบอำนวยการรบใหม่ และปรับปรุงระบบอาวุธทั้งหมด...ผมว่า มันก็น่าจะเป็นไปได้.... 

ส่วนท่อยิงตอร์ปิโด ในความคิดเห็นผม มันก็น่าจะมีการติดตั้งเพื่อป้องกันตนเอง....แต่จากข้อมูลในกระทู้ที่ท่าน Bravo3 กล่าวถึง ก็ไม่มีเฟส การติดตั้งอยู่ด้วย...

ซึ่งการติดตั้งท่อยิงตอร์ปิโด ก็ต้องประสานกับระบบโซนาร์ ด้วย...ตามที่ผมเคยดูภาพประกอบเกี่ยวกับ ระบบอำนวยการรบ....ระบบโซนาร์ จะเชื่อมต่อระบบอำนวยการรบ และจะส่งข้อมูลไปยังตำแหน่ง ยิงตอร์ปิโด เพื่อยิงตอร์ปิโด ไปยังจุดเป้าหมาย...หรือ เพื่อยิงตอร์ปิโด ในการลวงเป้า

ซึ่งแต่เดิม เรือชั้น กระบุรี ไม่เคยติดตั้งระบบตอร์ปิโด ในระบบอำนวยการรบปัจจุบัน จึงน่าจะยังไม่มีการเชื่อมต่อในส่วนนี้...แต่ในอนาคต ก็ไม่แน่ใจว่า จะมีการติดตั้งเพิ่มเติมหรือไม่...

และการติดตั้งตำแหน่ง ท่อยิงตอร์ปิโด ก็คงต้องคำนึงถึงว่า ลูกตอร์ปิโด จะขนออกจากคลังอาวุธ จากตรงตำแหน่งไหน และสะดวกไปยังท่อยิงตอร์ปิโด น่ะครับ....

ซึ่งถ้าเป็นในรูป มันมีแท่นตำแหน่งยิง SAM ยกพื้นขึ้นมา ก็น่าจะสามารถอยู่ในตำแหน่งนั้นได้เหมือนกันครับ ถ้าแท่นที่ยกขึ้นมานั้น สามารถลำเลียงลูกตอร์ปิโด หรือเป็น คลังเก็บลูกตอร์ปิโด ในบริเวณนั้น...ในความคิดเห็นส่วนตัว นะครับ...

คราวนี้ ก็คงมาดูว่า ด้วยระวางขับน้ำขนาด 1,900 กว่า ๆ ตัน...การเพิ่มของ น้ำหนักระบบอาวุธ SAM จำนวน 1 ระบบ และยังคงระบบอาวุธเดิมไว้หมด จะมีผลต่อเรือว่ารับน้ำหนักได้หรือเปล่า และประสิทธิภาพในความเร็ว หรือความคล่องตัว ในการรบ...ซึ่งอันนี้ ผมก็ไม่มีความรู้เหมือนกันครับ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/08/2009 21:17:40


ความคิดเห็นที่ 106


ดูแบบเรือของท่าน Mr.Bean จากคุณล้กษณะ เรือชั้น เจียงหู กลายเป็น ชั้น เจียงเว่ย เลย นะนั่น...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/08/2009 21:51:57


ความคิดเห็นที่ 107


ข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านbravo3 ครับ

bravo3 wrote:เท่าที่ทราบครับโครงการปรับปรุงเรือ กระบุรีและสายบุรี
เปลี่ยน อวป.พื้นสู่พื้น เป็น C-802A , เปลี่ยนเรดาร์พื้นน้ำใหม่เป็นของสหรัฐฯ นอกเฟส อะครับ
เฟส 1 เปลี่ยนปืน 100 มม.radarควบคุมการยิง เรดาร์ตรวจการณ์อากาศ/พื้นน้ำ ระบบ อำนวยการรบ cms
เฟส ๒ ติดตั้ง ปืนแทนปืน37 มม.๒แท่นท้าย อาจจะเป็น ak630จีน or 30 msi อังกฤษ พร้อม radarควบคุมการยิง
เฟส ๓ ถอดปืน๓๗ ๒แท่นหัว ติดตั้ง อวป.พื้นสู่อากาศพร้อม radarควบคุมการยิง และ ระบบสงครามอิเลคทรอนิคส์
เท่าที่ดูชัวร์คือเฟส ๑ ครับ เฟสอื่นรอลุ้นครับ

http://www.thaiarmedforce.com/forum/viewtopic.php?f=6&t=636&start=45

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 17/08/2009 22:09:10


ความคิดเห็นที่ 108


ในความเห็นผม ท่าน Mr.Bean อาจจะต้องปรับ เรดาร์ ท้ายเรือ มาอยู่หลัง แท่นยิง SAM ครับ โดยให้มีตำแหน่งสูงกว่า SAM อาจจะปรับระดับแท่นยกในส่วนของ SAM ลง...เพราะ เรดาร์ ท้ายเรือที่ผมใส่ไว้...เป็น เรดาร์ สำหรับ SAM ครับ...ซึ่งตำแหน่งเรดาร์ ควรจะจับเป้าหมายได้ เกือบ 360 องศา ครับ..

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/08/2009 22:16:44


ความคิดเห็นที่ 109


เรือชุดนี้คงจะไม่สามมารถติดแท่นยิง C-802A แบบ 1แท่น 4นัดได้ครับ เนื่องจากข้อจำกัดโครงสร้างเรือ(เช่น พื้นที่และการรับน้ำหนัก) อีกประกาคือการปรับปรุงเพื่อติดแท่นยอง แบบ1แท่น 2นัเน้นก็ทำไปแล้วครับ คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีก

ตามที่เคยกล่าวมาก่อนหน้านี้ครับว่าเรือชุดนี้มีโครงสร้างจำกัดการปรับปรุงติดอาวุธที่ต่างไปจากเดิมมากๆนั้นบ้างอย่างอาจจะทำไม่ได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 17/08/2009 22:34:26


ความคิดเห็นที่ 110


ในความเห็นส่วนตัวนะครับ..

เรื่อง แท่นคู่  หรือ แท่นสี่...ของ C-801 กับ C-802 ผมว่า มันจะอยู่ที่ กล่องใส่จรวด มากกว่านะครับ...

เพราะ แท่งกล่องใส่จรวดของ C-801 จะเป็นเดียวกับ จรวด เอ็กโซเซท ซึ่งแท่งกล่องแบบนี้ ไม่มีแบบ แนวตั้ง หรือ แท่นสี่...จะมีแบบแนวนอนอย่างเดียว...และไม่มีการวางซ้อนทับกัน...

แต่กล่องใส่จรวดของ C-802 จะเป็นแบบเรียบ และดูแล้วน่าจะมีน้ำหนักเบากว่า และสามารถจะวางเรียง เป็น แท่นเดี่ยว, แท่นคู่ หรือ  แท่น 3 แนวนอน ได้ หรือว่า ซ้อน แท่น 4 แบบ เรือ F-22P ของปากีสถานได้...ซึ่ง กล่องใส่จรวดของ C-801 ไม่สามารถวางซ้อนกันได้...

จึงเป็นที่ว่า ถ้าติดตั้ง C-801 รูปแบบการวางก็จะต้องวางเรียงเป็นแนวนอนอย่างนั้น...แต่ถ้าเป็น C-802 ความยืดหยุ่นของกล่องยิงจรวด สามารถ ปรับใช้ได้ตามขนาดของเรือ...โดยกล่องของ C-802 จะมีขนาดเล็กกว่า กล่องของ C-801 เช่น C-802 ที่ติดตั้งบนเรือเร็วโจมตี และเรือฟริเกต ของพม่า...และ C-802 ที่ติดตั้งบน เรือเร็วโจมตีของ อินโดนีเซีย...

ผมเลยมองประเด็นที่ว่า ด้วยรูปแบบระบบอำนวยการรบ และแผงการควบคุมของ ศูนย์การรบ ยังเป็นแบบเดิม...การจัดวางตำแหน่งอาวุธ จึงต้องจัดวางในตำแหน่งเดิม...เช่น ถอนปืน 37 ม.ม. ออก แล้วติดตั้ง จรวด พื้น สู่ อากาศ...แผงแสดงการควบคุม ในตำแหน่ง ปืน ก็จะต้องเปลี่ยนแสดงภาพจาก ปืน เป็น แท่นยิง SAM แทน...

ดังนั้น รูปแบบการจัดวางแท่น 4...ก็น่าจะเป็นไปได้...ไม่น่าจะเกี่ยวกับโครงสร้างตัวเรือ....แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยน แผงควบคุมอาวุธ ที่แสดงสถานะความพร้อมของอาวุธด้วยเช่นกัน...ซึ่งก็ต้องเกี่ยวกับระบบการวางสายไฟควบคุม และสายเชื่อมต่อระบบอาวุธด้วย...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/08/2009 02:48:02


ความคิดเห็นที่ 111


วกไปเรืองเรือดำน้ำนิดนึงนะครับ ท่านจูลดาส ในเมื่อเรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับสวีเดน เป็นไปได้ไหมครับที่เราอาาจะจขอเช่าของสวีเดนมา หรือไม่ก็ซื้อเรือดำน้ำจากสวีเดนครับ ???
โดยคุณ Nine เมื่อวันที่ 21/08/2009 09:04:33


ความคิดเห็นที่ 112


ภาพล่าสุดครับจากเว๊ปกองเรือฟรีเกตที่ 2 http://www.navy.mi.th/frigate2/News/saiburi/sainews37.htm

 

ร.ล.สายบุรี ได้ทำการออกเรือ เพื่อทดสอบความพร้อมของระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบอาวุธ ระบบหางเสือ
ระบบศูนย์ยุทธการและการสื่อสารและทดลองหาความเร็วเรือที่ความเร็วรอบต่าง ๆ ในพื้นที่ อ่าวไทยตอนบน

ซึ่งผลการทดลองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ณ อรม.อร. อ.สัตหีบ  จ.ชลบุรี

เมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒

ดูแหมือนยงไม่มีการทำอะไรกับปืน 100 มม. และปืน 37 มม. แต่มันตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2552


โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 24/08/2009 12:47:17


ความคิดเห็นที่ 113


ตามข้อมูลของท่าน Bravo3 ขณะนี้ยังเป็น เฟส 1 ครับ ท่าน Mr.Bean

ซึ่งปืนเรือใหม่ และเรดาร์การยิง ใหม่ จะอยู่ใน เฟส 2  น่าจะพอจะมีข่าวคงในปีหน้าโน่น ครับ...

ตอนนี้ คงได้เห็นเพียง แท่นยิง C-802A กับ เรดาร์ตรวจการณ์ ที่เป็นแท่งสี่เหลี่ยม สีขาว ยาว หมุนรอบตัวเอง ก่อนครับ...

ส่วนเรือดำน้ำตามที่ท่าน Nine ถามนั้น...คงเป็นไปตามที่ท่าน AAG_th1 ให้ความเห็นไว้ครับ...ว่า สวีเดน น่าจะเพียงพอตัวเองใช้...แต่ก็ไม่แน่ว่า  ถ้าจะมี ก็จะเป็นเรือ Gotland ที่ ทร.สหรัฐ เคยเช่าเพื่อประเมินค่าจาก สวีเดน แต่ก็เป็นการเช่าระยะสั้น...

ซึ่งคงอยู่ที่ ทอ. กับ ทร. จะประสานเสียง ในส่วนของ Jas-39 เฟส 2 ว่าพอจะมีโอกาสไหม....

ส่วนเรือดำน้ำของ สวีเดน อดีต คือ เรือชั้น Gotland ที่ ทร.เคยตกลงเลือกที่จะซื้อ แต่ถูก การเมือง ตีล่มไปซะก่อน....ซึ่งผมว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจาก บทความที่ผมสแกนให้อ่านข้างต้น...ว่า ทร. ต้องเปลี่ยนแบบจาก Type-209 เยอรมัน มาเป็น Romeo โมดิฟายส์ จากจีน แทน...แต่ในขณะนั้น ทร. ยังไม่มีเงินเพียงพอ...จึงยังไม่ดำเนินการ...

แต่เมื่อ ทร. สามารถเจรจา รัฐบาล จนเห็นด้วยที่จะมีเรือดำน้ำ...ทร. กลับคัดเลือก เรือชั้น Gotland จาก สวีเดน แทน...มันจึงไม่ง่ายสำหรับ ทร. ไทย ในการจะมี เรือดำน้ำ...ถ้าไม่ใช่ จีน....ในขณะนั้น...

ซึ่งในปี 2007 ทร.ไทย ก็ตั้งแผนจะมีเรือดำน้ำอีก...และรัฐบาลขณะนั้น ก็เปิดโอกาสให้... จีน จึงได้เสนอขายเรือดำน้ำชั้น Song ให้ไทย...

ไม่แน่ใน อนาคต นอกจาก เราจะมี หมีแพนด้า ที่น่ารักแล้ว...เราอาจจะมี เรือดำน้ำ ออกเสียงเป็นภาษาจีน ก็ได้น๊า....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/08/2009 21:59:18


ความคิดเห็นที่ 114


ไม่แน่นะป๋าJudas  อาจจะมีก็ได้

เพราะไอ้ตรงพื้นที่ทับซ้อน มันมีมูลค่ากว่า 5 ล้านล้าน บาท

ถ้าเราไม่อยากเสียประโยชน์ อาจจะต้องมีเพิ่มเข้ามา  แม้อาจจะเป็นการเช่าก็ได้
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 25/08/2009 03:15:56


ความคิดเห็นที่ 115


นั่นนะซิ ท่าน nok...ผมว่า กองทัพไทย เสียโอกาสไปมาก สำหรับเหตุการณ์ไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง....

เหตุการณ์ในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ กองทัพไทย สามารถปรับเปลี่ยนยุทโธปกรณ์ ให้ทันสมัยและเพียงพอ กับการรักษาผลประโยชน์ในอาณาเขตมาก...เพราะปัจจัยภายนอก ก็แสดงภาพถึงการจะถูกคุกคามผลประโยชน์ ของประเทศ.....แต่สภาพเศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางการเมือง...การจะดันงบประมาณเพื่อจัดหาอาวุธ แม้จะมีความจำเป็น ก็น่าจะผ่านด้วยความยากเย็นมาก...รวมถึง ศักยภาพ ของ รัฐ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่คิดว่าแค่จะใช้หนี้ 8 แสนบาทที่กู้มาบางส่วนแล้ว และกำลังจะกู้ในอนาคต ปัจจุบันก็ยังไม่มีความน่าเชื่อมั่น แต่อย่างใด ว่าจะทำได้สำเร็จ...แล้วกับงบประมาณทางทหารที่จะซื้ออาวุธใหม่กว่า แสนบาท ซึ่งไม่ใช่งบลงทุน ที่จะมีผลตอบแทน กลับมาได้...มันจะยากเย็นแสนเข็ญขนาดไหน....

และเมื่อลอง จินตนาการ ในระยะอีก 8 - 10 ปีข้างหน้า...

1. ปัญหาทางผลประโยชน์ เช่น ในทะเลทับซ้อน กับ กัมพูชา...จะเข้าสู่จุดสุกงอมยิ่งขึ้น...ที่ว่า ไทย จะเอาอย่างไร...

2. ทางฝั่งพม่า ก็กำลังมีการพัฒนาอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถึงขั้นติดหัวรบนิวเคลียร์ (ถ้ามี)...ซึ่งมันจะติดสำเร็จ ไม่สำเร็จ ก็คงอยู่ในระยะเวลานี้...และพม่า ที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้ง และทดลองใช้ประชาธิปไตย..อาจจะมีการรัฐประหาร ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และจะมีความรุนแรงมากขึ้น...

3. เหตุการณ์การเมืองภายในประเทศ ที่จะระส่ำระสาย อย่างหนัก เพราะการแบ่งขั้วอำนาจ และผลประโยชน์ทางการเมือง ที่จะแยกเป็นภาคเหนือ ใต้ อิสาน กลาง...จากสาเหตุอะไร ไม่ขอกล่าว....

ผมเลยยังมองไม่เห็น อนาคต ที่สดใส สำหรับ กองทัพไทย ในปัจจุบัน นัก ครับ...และถึงจะจัดหามาได้...ในอนาคต อาจจะได้แค่มาประจำการไว้...แต่การซ่อมบำรุง หรือ ความพร้อมในการใช้งาน อาจจะไม่มี...หรือ มีไม่เพียงพอ เมื่อภัยคุกคามมาถึง...

ก็ได้แต่หวังว่า กองทัพไทย ควรจะอยู่เฉย ๆ กับการเมือง ได้แล้ว...ถ้ายังทำเหมือนเดิมในระยะที่ผ่านมา 2-3 ปีนี้...ผมว่า เรามานั่งต่อโมเดลและติดสติ๊กเกอร์ กองทัพไทย...น่าจะมีความสุขกว่าครับ...5 5 5 5 5

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/08/2009 05:02:05


ความคิดเห็นที่ 116


" ผมว่า เรามานั่งต่อโมเดลและติดสติ๊กเกอร์ กองทัพไทย...น่าจะมีความสุขกว่าครับ...5 5 5 5 5 " 

ใช่แล้วครับคุณ Juldas ไม่ทราบว่าคุณ Juldas ต่อโมเดลเรือ 1/700 หรือไม่ครับ ผมต่ออยู่ตอนนี้กำลังต่อเรือหลวงตากสินครับ ทำสีรองพื้นแล้ว กะเก็บไว้ก่อน จะรอว่าหลังกองทัพเรือปรับปรุงแล้วหน้าตาจะออกมาเป็นเช่นไรถึงจะติด อาวุธครับ......

 

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 25/08/2009 08:30:48


ความคิดเห็นที่ 117


แหมมม...เจอคอเดียวกันซะด้วยครับ...ท่าน Mr.Bean

ผมต่อเรือไทยครับ...ตอนนี้ ผมกะว่าจะเล่นโมเดล เฉพาะ เรือรบ กับ อากาศยานนาวี ทั้งไทยและต่างประเทศ ในส่วนเรือรบ จะเล่นเฉพาะเรือรบสมัยใหม่ครับ...

ตอนนี้ ผมมีโมเดล 1/700 กองเรือฟริเกตไทย เกือบครบทุกลำแล้วครับ...(ยังไม่ได้ประกอบเลย) คงเหลือ ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ และ ร.ล.มกุฎราชกุมาร...เท่านั้นครับ...

กองเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

1. ร.ล.ธนบุรี (ยังไม่ได้ประกอบ)

2. ร.ล.ศรีอยุธยา (ยังไม่ได้ประกอบ)

3. ร.ล.ท่าจีน (ลำที่ 1) (ยังไม่ได้ประกอบ)

กองเรือปราบเรือดำน้ำ

1. ร.ล.ท่าจีน (ทำสำเร็จแล้ว)

2. ร.ล.ประแส (ยังไม่ได้ประกอบ)

3. ร.ล.บางปะกง (ลำที่ 1) (ยังไม่ได้ประกอบ)

4. ร.ล.แม่กลอง (ยังไม่ได้ประกอบ)

5. ร.ล.ปิ่นเกล้า (ทำสำเร็จแล้ว)

กองเรือบรรทุกเครื่องบิน

1. ร.ล.จักรีนฤเบศร์ (ยังไม่ได้ประกอบ)

กองเรือฟริเกตที่ 1

1. ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ยังไม่ได้ประกอบ)

2. ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย (ยังไม่ได้ประกอบ)

3. ร.ล.คำรณสินธุ์ (ยังไม่ได้ประกอบ)

4. ร.ล.ล่องลม (ยังไม่ได้ประกอบ)

5. ร.ล.ทะยานชบ (ยังไม่ได้ประกอบ)

กองเรือฟริเกตที่ 2

1. ร.ล.นเรศวร (ทำสำเร็จแล้ว)

2. ร.ล.ตากสิน (ยังไม่ได้ประกอบ)

3. ร.ล.เจ้าพระยา ( ทำสำเร็จแล้ว แต่ตำแหน่งปล่องควัน ยังผิดอยู่ จึงได้ซื้อเรือมาใหม่ เพื่อทำ ร.ล.เจ้าพระยา อีกครั้ง (ยังไม่ได้ประกอบ) )

4. ร.ล.บางปะกง (ยังไม่ได้ประกอบ)

5. ร.ล.กระบุรี (ยังไม่ได้ประกอบ)

6. ร.ล.สายบุรี (ยังไม่ได้ประกอบ)

ตอนนี้ ก็รอลุ้นว่า ยี่ห้อที่ทำเรซิ่น เรือไทย ขาย จะทำ ร.ล.ตาปี กับ ร.ล.คีรีรัฐ ออกมาจำหน่ายรึเปล่า...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/08/2009 21:47:24


ความคิดเห็นที่ 118


และในส่วนเรือฟริเกตของ กองกำลังป้องกันตนเองประเทศญี่ปุ่น ผมก็สะสมเรือฟริเกต ที่ประจำการใน ฐานทัพเรือ โยโกสุกะ ครบทุกลำแล้ว ขนาด 1/700 ยังไม่ได้ประกอบเหมือนกัน เพิ่งเริ่มทำไปได้ 3 ลำ...ซึ่งเป็นเรือที่ประจำการในฐานทัพเรือ ช่วงระหว่างปี 2007 ครับ...

ปัจจุบัน เมื่อเดือน พ.ค. 52 ที่ผ่านมา กองกำลังป้องกันตนเองของประเทศญี่ปุ่น ได้ปรับเปลี่ยนเรือประจำการของ ฐานทัพเรือทั้ง 4 แห่ง ใหม่แล้ว...ผมจัดทำแผ่นภาพเรียบร้อยแล้ว ไว้จะนำมาเสนอให้ชมกันต่อไปครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/08/2009 21:52:46


ความคิดเห็นที่ 119


ร.ล.ท่าจีน ที่ตอนนั้นผมเมล์สอบถามเรื่อง ร.ล.นาคา ขนาด 1/700 ของยี่ห้อ loose cannon และเมล์ภาพเรือที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเขาไปให้ดู...ร.ล.ท่าจีน ขนาด 1/700 เลยได้ไปโชว์ธงในเว๊ปเลย

http://home.earthlink.net/~loosecannonproductions/Kit20.html

ส่วน ลิงค์ นี้ เคยไปโพสเป็น กองเรือรบ กะว่าเขาจะโพสลงตรงกับวันที่ 20 พ.ย. แต่ดันส่งรูปช้าไป เลยช้าไปเกือบเดือน....

http://www.modelshipgallery.com/gallery/dio/amphib/thai-700-ls/ls-index.html

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/08/2009 22:02:59


ความคิดเห็นที่ 120


เหมืนกันเลยครับคุณ Juldas  สมัยเริ่มต่อโมเดลใหม่ๆ ผมเล่นเครื่องบินไทย 1/72 เพราะไปเห็นโมเดลที่ร้านตัวแทนของ Hasegawa แถว RCA จึงอยากเล่นครับ ( จำชื่อร้านไม่ได้แล้วครับ เสียดายที่ปิดตัวไป ) หลังๆมาก็ไปซื้อที่ร้านจูน ครับใกล้บ้านดี แต่เลิกเล่นเมือประมาณปี 2544 ได้ เพราะไฟหมดครับ

ปัจจุบันผมเล่นแต่เรือไทยขนาด 1/700 เล็กดีจัดเก็บสะดวก หันมาเล่นเรือไทยเมื่อประมาณปี 49 เพราะเห็นโมเดลของคุณ Nyenawa ครับ

เรือที่ผมมีสะสมตอนนี้คือ

1. ร.ล.ปิ่นเกล้า 413 (ทำสำเร็จแล้ว)

2. ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ( 95% รอ decal ลานจอด ฮ.)

3. ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ( 95% รอหาDecal ลานจอด ฮ. )

4. ร.ล.นเรศวร หรือตากสิน ( ประมาณ 60%  ยังไม่ได้เลือกว่าจะติด Decal เลขอะไร และจะรอว่าทร.จะปรับปรุงอย่างไรบ้าง ปัจจุบันติดแค่ปืน 5 นิ้ว,  harpoon, ตอร์ปิโด แค่นั้นครับที่เหลือรอดูก่อน  )

5. ร.ล.เจ้าพระยา ( ทำสำเร็จแล้ว )

6. ร.ล.บางปะกง ( เหลือติด Decal )

7. ร.ล. ช้าง 712 ( เสร็จแต่เหลือหา decal ลานจอด ฮ. )

ส่วนี่ซื้อมานานแล้วเหลือแค่ อีก 1 กล่องคือ HMS Newcastle ครับ ดูคล้ายๆเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ครับ กะว่าจะเอามาดัดแปลงเอา แต่ปัญหาคือไม่มีแบบ 3 วิว และหากทำจริงคงต้องตัดแต่งมากครับ จึงดองไว้ก่อนครับ

 ถ้ามีใครทำโม ร.ล.ตาปี กับ ร.ล.คีรีรัฐ ออกมาก็ดีครับ แต่ตอนนี้ฐานทัพเรือของผมมันแน่นแล้วครับ สงสัยต้องทำอีกฐานครับ เพื่อรอรับเรือหลวงกระบุรีและสายบุรีในอนาคต ผมเพิ่งได้อู่แห้งของ skywave มาครับ 

 แต่ตอนนี้ผมกำลังดูงบประมาณอยู่ครับ ว่าจะทำฐานทัพแบบมีอู่แห้งก่อนหรือว่าจะถอย ร.ล.กระบุรีกับสายบุรี มาครับ แต่คงจะทำแบบติด C-802 ครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 25/08/2009 23:49:15


ความคิดเห็นที่ 121


    เกือบลืมไปผมประกอบและทำสีเรือฟรีเกต Oliver Hazard Perry ไว้ 1 ลำครับ กะว่าอนาคต กองทัพเรือไทยอาจจะเช่าหรือซื้อมาครับ เพราะว่าสังหรณ์ใจยังไรไม่ทราบ ว่ามันจะได้หมายเลข 471 ครับ

ปัยหาของการเล่นเรือไทยตอนนี้คือไม่มี decal ตัวเลขและลานจอด ฮ. ครับ อยากให้ทาง siamscale ทำครับ แต่ราบครับว่าคงไม่คุ้ม เมื่อเทียบกับขนาดของตลาด

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 26/08/2009 00:00:08


ความคิดเห็นที่ 122


สำหรับท่าน NyeNAVA นี่เป็น Idol ของคนเล่นเรือไทยเลยครับ...และสำหรับความคิดเห็นผม...ท่าน NyeNAVA นี่จัดเป็น ระดับ World Class ไปแล้วครับ....

ตอนแรก ผมก็กะจะลงทุน ก๊อป 911 ออกจำหน่าย แต่พอดีเกิดอกหัก จาก ก.ย.49 เลยยกเลิกไป...

ในส่วนของ Decal เรือไทย ผมก็มีความคิดไว้ในหัวเหมือนกันครับ...เพียงแต่รอเวลาอันสมควรก่อน คาดว่าจะติดต่อกับ ป้าแช่ม เพื่อขอความช่วยเหลือในการจัดทำ....

โครงการในหัว เบื้องต้น คือ เป็นตัวเลขเรือ 1 - 0 ในจำนวนหลาย ๆ บรรทัด และหลาย ๆ ขนาด ภายใน 1 แผ่น และป้ายชื่อเรือ ครบทุกลำ ใน 1 แผ่น...โดยผมมอง เป้าหมายว่า จะฝากขายกับเว๊ป fleetnet.jp บางส่วน เป็นลักษณะ บาร์เตอร์เทรด แลก โมเดลเรือ...

และคงต้องอาศัย ข้อมูลจากท่าน NyeNAVA ในเรื่อง ขนาด และ แบบตัวอักษร หรือ สมาชิก ทร. ในเว๊ปนี้แหล่ะครับ...ในมาตรฐาน ขนาดเลขเรือ และแบบตัวอักษร ป้ายชื่อ ทร. ครับ...

สำหรับกองเรือล่าสุด ที่ผมต่อสำเร็จ ก็จะเป็น กองเรือ JMSDF ประกอบด้วย DE-226 Ishikari  DE-227 Yubari  TV-3508 Kashima และ PG Hayabusa Class อีก จำนวน 2 ลำ...

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/08/2009 00:33:49


ความคิดเห็นที่ 123


สด ๆ ร้อน ๆ ผลงาน ระดับ World Class ของท่าน NyeNAVA

http://www.modelshipgallery.com/gallery/ff/htms/prasae-700-nn/nn-index.html

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/08/2009 05:53:33


ความคิดเห็นที่ 124


คุณ Juldas ทำ decal เรือไทยออกมาเมื่อไร ผมอุดหนุนแน่ครับ

 ปล. นอกจากทำเลขและป้ายชื่อเรือแล้ว น่าจะเพิ่มเส้นวงกลมและเส้นขาวสำหรับลานจอดฮ. ด้วยครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 26/08/2009 23:44:52


ความคิดเห็นที่ 125


มาเพิ่มเติม บทความ จากหนังสือ สมรภูมิ ครับ....

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/02/2012 10:55:02


ความคิดเห็นที่ 126


หน้า 2

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/02/2012 10:55:41


ความคิดเห็นที่ 127


หน้า 3

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/02/2012 10:56:09


ความคิดเห็นที่ 128


หน้า 4

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/02/2012 10:56:42


ความคิดเห็นที่ 129


ผมสงสารประเทศนี้จัง ท่านจุล....

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 05/03/2012 10:57:59