ถามหน่อยนะครับ คือคุยกับเพื่อนเรื่องเครื่องบินบนเรือ911 คือได้ข่าวว่าเครื่องบนโดนกราว์ด หมด เพื่อน ผมก็บอกว่าถ้าจัดทอดผ้าป่าซื้อเครื่องบินเดียวก็ได้ AV-8 มาเอง ตัวผมเลยบอกว่าถึงมีเงินแต่ทาง USA เค้าจะขายหรือไม่ต้องถาม สภาคองเกรสก่อน เพื่อนมันก็แย้งว่า ซื้อเครื่องบินรัสเซียก็ได้ คราวนี้เลยโต้เถียงกันใหญ่ว่าเป็นไปได้ไหมที่เครื่องบินรบรัสเซียจะประจำอยู่บนเรือจักรี แบบว่าประจำการบนเรือได้นะครับ(ไม่เกียวกับงบประมาณนะครับ เพราะเพื่อนผม บอก จะทอดผ้าป่าหามาซื้อ อิอิ)
เคยมีการกล่าวถึงประเด็นนี้มาแล้วครับ ปัจจุบันรัสเซียไม่มี บ.ขึ้นลงทางดิ่งสำหรับใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินในสายการผลิตครับ ซึ่งเครื่องที่เคยประจำการในอดีตเช่น Yak-38 นั้นก็ปลดไปนานแล้วและไม่เหมาะที่จะจัดหามาใช้เนื่องจากสภาพเครื่องและอะไหล่เนื่องจากมีผู้ใช้น้อยมากๆครับ(หลักๆมีเพียงอดีตสหภาพโซเวียต)
su33ลงเรือจักรีได้มะครับถ้าได้ก็เชียร์ตัวนี้ครับ..ขำๆนะ
สำหรับเครื่องบินประจำเรือจักรีนั้น คงต้องมองแต่ตระกูลAV-8อ่ะครับ
เพราะเจ้าSU-33 หรือSuper Hornetไม่สามารถขึ้น-ลงเรือจักรีได้
ที่น่าสนใจตอนนี้ก็คงจะเป็นAV-8B ของUS ครับแต่รู้สึกว่ากว่านย.สหรัฐจะปลดประจำการเจ้าAV-8B นี่ก็อีกนานครับ เพราะเค้าจะรอF-35เข้าประจำการ ส่วนซีแฮริเออร์ หรือ แฮริเออร์GR.9จากอังกฤษ ก็น่าสนใจครับแต่งบของทร.เรา จะสามารถให้บ.พวกนี้ใช้งานได้นานแค่ไหนล่ะครับ
เพราะตอนนี้เศรษฐกิจแย่ครับ ถ้าจะเอาบ.มาใช้กับเรือจักรีอีกครั้ง
คงอีกนานครับ
ปล.F-35B ไม่ต้องไปพูดถึงครับ ถ้าจะเอาจริง คงอีกนานนนนน
ถ้าซื้อ แฮริเออร์ จริงก็คงไม่ได้มือหนึ่งเหมือนเคย
เพราะว่า แฮริเออร์ทั้งทางฝังอักกฤษและไอ้กันปิดสายการผลิตไปแล้ว
ครับ ผมว่าช่วงนี้ทร.คงไม่ต้องเครื่องบินประเภทนี้เท่าไหร่ครับคงจะใช้
เรือจักรีเป็นเรือบรรทุกฮ.เต็มตัวก่อนรอจนกว่าจะได้F-35นู้นอะครับ
ดูจากโครงการทร.แล้วทร.มีแผนจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ป้องกันกองเรือ
และโจมตีภาคพื้นสนับสนุนหน่วยนาวิกอยู่แล้วครับ
ขั้นแรก 8 เครื่อง(ไม่รู้ว่าโครงการเริ่มรึยังตังยังไม่มี)
ซึ่งตามแบบแล้วน่าจะเป็นครื่องบินที่มีฐานบินบนบก
ผมเดาว่าคงหนีไม่พ้นF/A-18 E/F ซึ่งทร.ระบุไว้ว่าต้องเป็นเครื่องมือหนึ่ง
ลองไปหาอ่านดูมีโพลส์กันหลายเว็บ...อิอิ
สมมุติครับ ว่า กองทัพเรือได้งบจัดหาเครื่องบินมาประจำบน ล.ร.จักรีนฤเบศร์ แน่นอนครับหากต้องการที่จะใช้ได้เลยต้องเป็นตระกูล แฮริเออร์ เพราะเขาออกแบบมาให้เครื่องบินนี้ขึ้นลงได้ แต่จะได้ของมือสองเท่านั้นเช่นกันเพราะเขาปิดสายการผลิตไปแล้ว แต่จะได้แบบของอเมริกัน เช่น AV-8B , AV-8B+ หรือ จากอังกฤษ อย่าง แฮริเออร์ GR7 ,แฮริเออร์ GR9 ของอเมริกันจะเน้นไปทางด้านภารกิจโจมตีเป็นหลักขับไล่เป็นภารกิจรอง ในขณะที่ของ อังกฤษจะเน้นขับไล่เป็นหลัก โจมตีเป็นภารกิจรอง แต่ที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุดน่าจะเป็นของ อเมริกา แต่ว่าทั้งสองประเทศยังใช้งานอยู่ทั้งสองแบบ ยังไม่มีข่าวคราวว่าจะลดหรือปลดประจำการ แต่ถ้าหากว่าต้องการจะจัดหาเป็น F-35 รุ่นขึ้นลงทางดิ่ง อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับลิฟท์ยกหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ผมเชื่อว่าทุกอย่างสามารถปรับปรุงแก้ไขรองรับได้อย่างแน่นอน ร.ล.จักรีนฤเบศร์ สามารถบรรทุก AV-8 ได้สูงสุด 10 เครื่อง หากจัดหา F-35 เพียง 6-8 เครื่องก็น่าจะยังมีเนื้อที่พอที่จะรองรับแล้ว ซึ่งในความรู้สึกส่วนตัวของผม อยากให้ กองทัพเรือยังคงมีเครื่องบินลักษณะนี้ไว้ประจำการไปกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร์ ครับ เพราะสามารถสนุบสนุนกองเรือได้อย่างทันท่วงทีและสามารถที่จะลงฉุกเฉินบริเวณตามเกาะที่เตรียมการไว้รองรับได้โดยที่ไม่ต้องมีการสร้างสนามบินและรันเวย์ที่ยาวเหยียดมากนัก แต่ถ้าเป้นไปไม่ได้ทั้งของ มือหนึ่งหรือมือสองก็ต้องปรับภารกิจ ร.ล.จักรีนฤเบศร์ให้เป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เต็มตัวไปเลยครับ เพราะตั้งแต่เริ่มต้นโครงการเรือลำนี้ต้องการให้เป็นเรือบรรทุก เฮลิคอปเตอร์ อยู่แล้ว
มีทางเป็นไปได้ไหมสำหรับรุ้นนี้ CH-53E Super Stallion
ผมว่ารุ้นนี้ใช้งานได้หลากหลายดีน๊ะครับ อีกอยากเป็นรุ่นที่อยู่ในดวงใจผม ด้วยตัวที่มันเป็นรุ่นที่ สมถนะดีมาก บรรทุกดีใช้ได้ เเต่ไม่รู้ติดอาวุธได้อ้าเปล่า
ปล.เรื่องของเรื่องรุปลักษณ์มันดู ดุดัน ดีน๊ะ น่าจะมีไว้ใช้งานทั้ง 3 เหล่าทัพเลย อิอิ !
F-35 กว่าจะได้ใช้งานกันจริง ๆ น่าจะประมาณ 10 ปีได้มั้ง ช่วงนี้ F-35 อยู่ในช่วงทดสอบอะไรอีกเยอะเลย ยังไม่พร้อม แล้วถ้าผ่านการทดสอบเสร็จพร้อมที่จะผลิตเพื่อส่งออก มันก็ต้องให้ประเทศที่เขาร่วมลงทุนในการพัฒนา F-35 ก่อน ประมาณว่ารอคิว กว่าเราจะได้ใช้ F-35 จริง ๆ ไม่ล่อไป 30 ปีหรือครับ แล้วถึงตอนนั้น เรือจักรีของเรา สภาพมันจะเป็นยังไง
มีหวังได้ซื้อ เรือจักรี ลำใหม่ก่อนแน่
เรือหลวงจักรีนฤเบศร์ เราอาจจะเขียนย่อๆว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร์ ไม่ใช่ รล.จักรีนฤเบศร์ ครับ ร.ล.ย่อมาจากคำว่า เรือหลวง ถ้าเรียกว่า เรือรบหลวง ก็ผิดครับ ส่วนกองทัพเรือไทยนั้น จริงๆแล้วถ้าจะให้ถูกต้องเขาเรียกว่า ราชนาวีไทย เนื่องจากว่าเราเป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่เราเรียก กองทัพเรือไทย กันจนติดปากซึ่งแต่ก็เข้าใจกันในฐานะที่เรียกกันแบบไม่เป็นทางการครับ แต่บางท่านเรียกเรือรบง่ายๆโดยเรียกเป้นหมายเลขตัวเรือ เช่น เรียก ร.ล.จักรีนฤเบศร์ เล่นๆในกลุ่มกันเองว่า เรือ911 ก็ถือว่าไม่ผิดอะไรครับ แต่ว่าคนที่ไม่ทราบว่าเรือลำนั้นใช้หมายเลขนี้ก็อาจจะไม่ทราบว่าคือเรืออะไรเท่านั้นครับ คุณthepsexy ก็มีความรู้สึกดีและให้ความสำคัญกับการพิมพ์ชื่อเรือดีครับ แต่ใช้คำย่อผิดไปนิดหนึ่งเท่านั้นครับ สำคัญนะครับ กับตัวอักษรย่อ แค่ใช้จุดผิดความหมายก้เปลี่ยนนะครับ เช่น ร.ร.=โรงเรียน กับ รร.=โรงแรม คนละเรื่องกันเลยนะครับ ถึงแม้มันจะอยู่ซอยเดียวกันก็ตาม(แต่ อีตาnok ชอบใช้ รร. พาสาวไปเรียนวิชาภูมิศาสตร์และกายภาพศึกษา)
ปัญหาคือ "งบประมาณ" ของเราเอง
เครื่องบินที่เค้าเคยจะขายให้เราเพื่อประจำเรือมีทั้ง AV-8B , AV-8B+ และ ซีแฮริเออร์ F-2 เขาขายหมดครับ...เพียงแต่ที่เราจะซื้อต้องเป็นมือสอง...และที่สำคัญราคาเครื่องบินมือสองเหล่านี้...แพงกว่าราคา F-16 ลำต่อลำเลยครับ....ต้องเห็นใจกองทัพเรือ...เพราะระยะ ๒ - ๕ ปีนี้ต้องใช้งบในการปรับปรุงอาวุธหลักคือ "เรือฟิเกต" ที่มีอยู่ทั้งหมด...
5555+
เหมือนใจผมเลย แต่ไม่กล้าเอาออกนอกใจ
AEGIS ถ้าได้ซัก 2 ลำละก็ฮึๆ ทีนี้แหละ
แหล่มมมเลยย
|
|
ASTVผู้จัดการออนไลน์-- กองนาวิกโยธิน แห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีน เริ่มการซ้อมรบในทะเลจีนใต้ตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะมีการเชิญตัวแทนจากกว่า 40 ประเทศเข้าร่วม แต่สิ่งนี้ก็มีขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งในทะเลที่เป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลกแห่งนี้
ผู้เชี่ยวชาญในกรุงปักกิ่งกล่าวว่า งานนี้เป็นสัญญาณเตือนถึง "ผู้ที่เข้ามายุ่งเกี่ยวแทรกแซงในทะเลจีนใต้" เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งหมายความโดยตรงถึงสหรัฐฯ
ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัว การซ้อมรบประจำปีที่ใช้ชื่อรหัส "เจี่ยวหลง-2010" (Jiaolong-2010) จะมีเรือรบ เครื่องบินรบ เรือดำนำและยานอื่นๆ อีกอย่างน้อย 100 ลำ เข้าร่วมด้วย พร้อมกับนาวิกโยธินราว 1,800 นาย
นอกจากนั้นยังมีนักศึกษาวิชาการทหารกว่า 200 คนจาก 40 ประเทศและดินแดน เข้าร่วมสังเกตการณ์การซ้อมรบซึ่งจะมีปฏิบัติการโจมตี และยิงด้วยอาวุธจริง นักศึกษาเหล่านั้นจะมีโอกาสสอบถามและปรึกษากับบรรดาผู้บัญชาการในการซ้อมรบ ด้วย สำนักข่าวของทางการกล่าว
"โดยพื้นฐานแล้วการซ้อมรบครั้งนี้เป็นงานประจำอยู่แล้ว แต่ก็มีขึ้นในสถานการณ์สู้รบที่เป็นปัจจุบันในทะเลจีนใต้" นายหลี่เจี้ย (Li Jie) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทัพเรือในกรุงปักกิ่ง กล่าวกับ "โกลบอลไทมส์" ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาล
นักวิเคราะห์กล่าวว่าการแสดงขีดความสามารถทางทหารครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นกังวลของจีนในพื้นที่ที่เคยเป็นเขตแดนพิพาทกับ ประเทศต่างๆ
"มันไม่ได้เป็นสัญญาณพิเศษใดๆ แต่เราเลือกอาณาบริเวณแห่งนี้เป็นที่แสดงความเข้มแข็งและขีดความสามารถทาง ด้านกองทัพเรือของเรา" นายหลี่กล่าว
"มีบางประเทศได้เข้าแทรกแซงในทะเลจีนใต้ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เข้ามาร่วมซ้อมรบกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา ดังนั้นมันจึงเป็นเวลาที่เราจะต้องแสดงการต่อต้านการแทรกแซงเหล่านี้ด้วยการ เมืองแห่งอำนาจ" ผู้เชี่ยวชาญคนเดียวกันกล่าว
ทะเลจีนใต้เป็นเขตแดนพิพาทระหว่างเวียดนามกับจีนที่ยืดเยื้อมาเป็น เวลาหลายทศวรรษ นอกจากจากนั้นยังมีประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนอื่นๆ ที่กล่าวอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนและเกาะบางเกา คือ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ รวมทั้งที่อยู่นอกกลุ่มคือ ไต้หวัน
สหรัฐฯ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้งหนึ่ง ตามนโยบายใหม่ของรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้แสดงความห่วงใยต่อความขัดแย้งดังกล่าว เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้
นางฮิลลารี คลินตัน ได้เรียกร้องมาหลายครั้งให้แก้ไขกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ด้วยสันติวิธีและ โดยการเข้าร่วมของหลายฝ่าย อันเป็นข้อเรียกร้องที่ฝ่ายจีนบอกปัดปฏิเสธมาโดยตลอด และ ขอให้สหรัฐฯ เลิกยุ่งกับเรื่องต่างๆ ในภูมิภาคนี้
การซ้อมรบใหญ่ของจีนยังมีขึ้นหลังการประชุมผู้นำกลุ่มเอเชียตะวันออก 16 ประเทศที่จัดขึ้นในกรุงฮานอยสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีจีน นายเวินเจียเป่า (Wen Jiabao) เข้าร่วมด้วย หลายฝ่ายได้แสดงความวิตกต่อความขัดแย้งในทะเลแห่งนี้ รวมทั้งความบาดหมางระหว่างญี่ปุ่นกับจีนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
การซ้อมรบยังมีขึ้นในช่วงเดียวกันกับที่เวียดนามประกาศฟื้นฟูฐานทัพ เก่าของสหรัฐฯ ในอ่าวกามแรง (Cam Ranh) กลับมาใช้งานอีกครั้งหนึ่งภายใน 3 ปีข้างหน้า ซึ่งจะอนุญาตให้เรือรบ รวมทั้งเรือบรรทุกเครื่องบิน ตลอดจนเรือสินค้าของทุกประเทศ สามารถแวะจอดเพื่อการซ่อมบำรุงได้ โดยจะต้องเสียค่าบริการ.