หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


"ผบ.ทบ."แจงงบทหารพ้อได้รับงบประมาณน้อย

โดยคุณ : nok เมื่อวันที่ : 27/07/2009 23:27:48

 

เมื่อเวลา 13.00น. มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีพ.ศ.2553 ซึ่งได้พิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงกลาโหมจำนวน 154, 708,672,400 บาท โดยพล.อ. อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. และ พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. มาชี้แจง
พล.อ.อภิชาต ชี้แจงว่า กระทรวงกลาโหมมีแผนงานและยุทธศาสตร์ในการใช้งบประมาณ ประกอบด้วย 1.แผนงานเสริมสร้างความสมานฉันท์ความสามัคคีของคนในชาติและปฎิรูปการเมือง 2.แผนงานในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. แผนงานรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ 4.แผนงานเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ และ 5.แผนงานการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
“กระทรวงกลาโหมถือเป็นองค์กรนำในการสร้างหลักประกันความมั่นคงของรัฐและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อความผาสุกของประชาชนด้วยการพัฒนากองทัพให้มีศักยภาพ โดยประเทศต้องมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามทางทหาร” พล.อ.อภิชาต กล่าว
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตั้งแต่ 2540 -2549 งบประมาณของกองทัพถูกตัดลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยประมาณ 1.1% ของจีดีพี ขณะที่ความต้องการในการพัฒนาขีดความสามารถในการรบและการรักษาความมั่นคงมีตั้งสมมติฐานว่าควรอยู่ที่2%ของจีดีพี รวมทั้งหมดเท่ากับว่ากองทัพมีการขาดแคลนงบประมาณสะสมที่ควรได้เพื่อมาพัฒนากองทัพประมาณ 3 แสนล้านบาท ตรงนี้ถือว่ามีปัญหามากทั้งในด้านกำลังพล ซ่อมบำรุง ตรงกันข้ามกับประเทศเพื่อนบ้านที่ได้งบประมาณในการพัฒนากองทัพอย่างต่อเนื่อง
“ กองทัพเข้าใจดีในเรื่องของสภาวะทางเศรษฐกิจที่มีปัญหามาตั้งแต่ปี 2540 ส่งผลให้งบประมาณของกองทัพถูกลดทอนลง แต่เมื่อเข้าสู่ปีงบประมาณ2550-2552 กองทัพได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.69%ของจีดีพี แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับการพัฒนากำลังรบตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงกลาโหม โดย 3 ปีที่ผ่านมาจำนวนกระสุน น้ำมันที่ได้สำรองได้ถูกนำมาใช้ในจำนวนมากจนถึงขั้นเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ต้องควรมีสำรองเอาไว้” พล.อ.อภิชาต กล่าว
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2553 กระทรวงกลาโหมจะได้รับงบประมาณที่ลดลงซึ่งส่งผลต่อการพัฒนากำลังรบและการป้องกันอำนาจอธิปไตยของประเทศ โดยงบประมาณที่ลดลงทำให้การเสริมสร้างความเข้มแข็งทำและการพัฒนากองทัพจำเป็นต้องชะงักลดลงและขากดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามงบประมาณที่ได้รับลดลงในปีงบประมาณ 2553 แม้จะไม่สามารถจัดหายุทโธปกรณ์ได้ตามแผนที่วางเอาไว้แต่กระทรวงกลาโหมจะบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อความมั่นคงของประเทศ

 

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=395536

 

หัวข้อข่าวบอก ผบ.ทบ.  แต่ในเนื้อข่าวเป็นการคำพูดของปลัดกลาโหม?





ความคิดเห็นที่ 1




งดวิจารณ์ทางการเมือง น่ะึครับ



โดยคุณ Ronin เมื่อวันที่ 24/07/2009 10:02:42


ความคิดเห็นที่ 2


ลืมบอกไปครับ

อย่างที่คุณ Ronin บอกครับ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 24/07/2009 10:06:16


ความคิดเห็นที่ 3


ครับ เห็นด้วยครับว่า งบกองทัพควรจะอยู่ที่ 2 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีเป็นอย่างต่ำ ถ้าหากให้รั้วของชาติที่ต้องการไว้สำหรับปกป้องผืนแผ่นดินมีความพร้อม ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำก็ยังไม่สมควรที่จะต่ำกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ครับ การที่ดึงงบด้านความมั่นคงมาโปะอะไรก็แล้วแต่ผมว่าคิดผิดนะครับ อาจจะมีคนแย้งว่า "เราจะไปรบกับใคร เขาไม่รบกันแล้ว ภายในระยะช่วงนี้ยังไม่มีวี่แววว่าจะเกิดสงครามอะไร" ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่าหากคิดแบบนี้นั่นแสดงว่ากำลังตกอยู่ในความประมาท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางกองทัพเมื่อได้งบมาไม่ว่ามากหรือน้อยก็ย่อมต้องใช้งบประมาณนั้นให้คุ้มค่าที่สุดและควรพยายามให้เงินส่วนนั้นหมุนเวียนอยู่ในประเทศให้มากที่สุดครับ คงทราบว่าหมายถึงอะไร แต่ถ้าหากว่างบมันน้อยจนต้องระงับโครงการจัดซื้ออาวุธใหม่ก็ควรหาวิธีที่จะนำงบนั้นมาซัพพอร์ทอาวุธเดิมที่มีอยู่ให้คงใช้งานได้ต่อไป ยกเว้นแต่อาวุธที่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาแต่ต้องมีสต็อกอยู่ในคลังแสงอันนั้นยังไงก็ต้องหาทางเจียดงบที่ได้จัดหามาทดแทนของเก่าที่ต้องปลดทิ้ง รวมทั้งจัดการฝึกกำลังพลให้เข้มข้นและชำนาญอาวุธที่มีอยู่ให้มากที่สุดครับ การที่ได้งบน้อยแล้วไปตัดงบฝึกก็เป็นเรื่องไม่น่าทำเป็นอย่างมาก

ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวครับ และกองทัพอาจจะคิดเช่นนี้อยู่ก็ได้ ผิดพลาดประการใดให้ คุณnok รับผิดแต่เพียงผู้เดียวครับ ในฐานะเป็นเจ้าของกระทู้

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 24/07/2009 10:34:26


ความคิดเห็นที่ 4


GDP ติดลบครับท่าน ตอนนี้ก็ถูลู่ถูกังไปก่อน
โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 24/07/2009 11:54:02


ความคิดเห็นที่ 5


ขอบคุณ WM มากครับ

จะดีมากหากไม่ใช่งดวิจารณ์การเมือง รวมถึง เหน็บ ด้วยก็ดีครับ

ผมชอบคำพูดเคนเนดี้จังเลย...

อย่าถามว่าประเทศให้อะไรกับคุณ แต่คุณให้อะไรกับประเทศบ้าง

เวลานี้เราคงต้องอดทนขยันหมั่นเพียรตรากตรำทำงานกันครับ

และงดการทำร้ายประเทศทุกวิถีทางด้วย

*0* อนาคต ผมฝันอยากเห็นประเทศไทยผลิตอาวุธสงครามพึ่งพาตนเองได้พอสมควรจริงจริ๊ง

(สวีเดน9ล้านคนทำไมมันทำอะไรได้เยอะแยะขนาดนี้น้า)

ตอนนี้อาวุธใหม่ทัพบกผมยังไม่ซีเีรียสมาก แต่บำรุงขวัญกำลังใจทหารกล้าของเราที่ปักษ์ใต้ดีๆนะครับ ที่ทางชายแดนเขมรด้วย ให้พี่ๆน้องๆเขาทานข้าวทานน้ำให้อิ่ม ให้มีเบี้ยเลี้ยงบำรุงขวัญทหารเป็นสิ่งสำคัญครับ
จัดแจงที่อยู่ ยารักษาโรคให้ดีด้วย *0* ทหารไทยสู้ๆ

ปล ขอพ่วงหน่อยนะครับ ใครมีหนังสือประวัติศาสตร์ รวมถึงการเมืองสวีเดนแบบละเอียดๆ ดีๆแนะนำผมหน่อยก็ดีครับ ขอหลังไมค์
โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 24/07/2009 13:16:02


ความคิดเห็นที่ 6


อยากทราบถึงงบประมาณที่รัฐให้กับกองทัพในการวิจัยด้านอาวุธและการผลิตอ่ะครับ ว่ามากน้อยเพียงใด และเพียงพอหรือไม่ครับผม
โดยคุณ Nine เมื่อวันที่ 24/07/2009 15:44:30


ความคิดเห็นที่ 7


เอามาแปะเพิ่มให้ท่าน นก(กบ)ครับ อันนี้มีผบทบ ด้วยครับผม

คมชัดลึก :"กลาโหม"แจงงบทหาร พ้อได้รับงบประมาณน้อย ส่งผลต่อการพัฒนากองทัพ-อาวุธ ปกป้องอธิปไตยประเทศ ด้าน”อนุพงษ์”ชี้ปัญหาเขาพระวิหาร ใช้การเจรจาเป็นหลัก เดือดแจงสลายชุมนุม เม.ย.วิปโยค ชี้หน้า กมธ. ย้ำเป็นคนสีเขียว ไม่ใช่เสื้อเหลือง-เสื้อแดง แต่ทหารยืนข้างประชาชน ประกาศกร้าว ตราบใดเป็น ผบทบ. กองทัพไม่เป็นอาชญากรฆ่าประชาชน

เมื่อเวลา 13.00น.วันที่ 24 ก.ค. มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีพ.ศ.2553 ซึ่งได้พิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงกลาโหมจำนวน 154, 708,672,400 บาท โดยพล.อ. อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. และ พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. มาชี้แจง

 พล.อ.อภิชาต ชี้แจงว่า กระทรวงกลาโหมมีแผนงานและยุทธศาสตร์ในการใช้งบประมาณ ประกอบด้วย 1.แผนงานเสริมสร้างความสมานฉันท์ความสามัคคีของคนในชาติและปฎิรูปการเมือง 2.แผนงานในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. แผนงานรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ 4.แผนงานเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ และ 5.แผนงานการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

 “กระทรวงกลาโหมถือเป็นองค์กรนำในการสร้างหลักประกันความมั่นคงของรัฐและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อความผาสุกของประชาชนด้วยการพัฒนากองทัพให้มีศักยภาพ โดยประเทศต้องมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามทางทหาร” พล.อ.อภิชาต กล่าว

 พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตั้งแต่ 2540 -2549 งบประมาณของกองทัพถูกตัดลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยประมาณ 1.1% ของจีดีพี ขณะที่ความต้องการในการพัฒนาขีดความสามารถในการรบและการรักษาความมั่นคงมีตั้งสมมติฐานว่าควรอยู่ที่2%ของจีดีพี รวมทั้งหมดเท่ากับว่ากองทัพมีการขาดแคลนงบประมาณสะสมที่ควรได้เพื่อมาพัฒนากองทัพประมาณ 3 แสนล้านบาท ตรงนี้ถือว่ามีปัญหามากทั้งในด้านกำลังพล ซ่อมบำรุง ตรงกันข้ามกับประเทศเพื่อนบ้านที่ได้งบประมาณในการพัฒนากองทัพอย่างต่อเนื่อง

 “กองทัพเข้าใจดีในเรื่องของสภาวะทางเศรษฐกิจที่มีปัญหามาตั้งแต่ปี 2540 ส่งผลให้งบประมาณของกองทัพถูกลดทอนลง แต่เมื่อเข้าสู่ปีงบประมาณ2550-2552 กองทัพได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.69%ของจีดีพี แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับการพัฒนากำลังรบตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงกลาโหม โดย 3 ปีที่ผ่านมาจำนวนกระสุน น้ำมันที่ได้สำรองได้ถูกนำมาใช้ในจำนวนมากจนถึงขั้นเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ต้องควรมีสำรองเอาไว้” พล.อ.อภิชาต กล่าว

 พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2553 กระทรวงกลาโหมจะได้รับงบประมาณที่ลดลงซึ่งส่งผลต่อการพัฒนากำลังรบและการป้องกันอำนาจอธิปไตยของประเทศ โดยงบประมาณที่ลดลงทำให้การเสริมสร้างความเข้มแข็งทำและการพัฒนากองทัพจำเป็นต้องชะงักลดลงและขากดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 อย่างไรก็ตามงบประมาณที่ได้รับลดลงในปีงบประมาณ 2553 แม้จะไม่สามารถจัดหายุทโธปกรณ์ได้ตามแผนที่วางเอาไว้แต่กระทรวงกลาโหมจะบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อความมั่นคงของประเทศ ภายหลังจากการชี้แจงภาพรวมของพล.อ.อภิชาติ กมธ.ซีกฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างสอบถามถึงนโยบายของกองทัพในการแก้ปัญหาต่างเช่น ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การปราบปรามกระบวนการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกรณีพิพาทชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร

 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ชี้แจงว่า กรณีเขาพระวิหารรัฐบาลได้มอบนโยบายมาให้กองทัพแล้วว่าจะเน้นการเจรจาระดับทวิภาคีกับประเทศกัมพูชาโดยตรงยังไม่ให้เข้าสู่เวทีพหุภาคี ส่วนทางการทหารไม่มีนโยบายให้ใช้การเผชิญหน้า เรากับกัมพูชาเป็นเพื่อนบ้านมานานและไม่สามารถยกประเทศหนีกันได้ ซึ่งการใช้กำลังจะเกิดปัญหายาวนานและสิ้นงบประมาณและสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอีกมาก

 ดังนั้นทางที่ดีควรใช้การเจรจามากกว่า สำหรับการตรึงกำลังบริเวณชายแดนดังกล่าวกองทัพใช้กำลังจากกองทัพภาคที่ 2 เป็นหลัก ส่วนเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ตนเองก็ได้อนุมัติเต็มที่ เช่น เครื่องยิง RP7 ก็ได้จำหน่ายกำลงพลมากกว่า 1000 กระบอกเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพและมีการใช้ยานเกราะล้อยางแบบ 4*4 แต่เป็นรุ่นที่ใช้มานานแล้วเพราะยานเกราะล้อยาง 8*8 ตามที่ได้มีการขอจัดซื้อไปนั้นยังไม่ได้รับมาแต่อย่างใด

 พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า กองทัพมีโรงงานผลิตอาวุธอยู่แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ใช้เต็มศักยภาพ ซึ่งโรงงานผลิตอาวุธยังผลิตไม่ได้เต็มศักยภาพ เราสามารถผลิตกระสุนสำหรับการรบได้ 20 วัน ซึ่งในสมัยช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำเราสามารถผลิตได้เพียงพอกับการรบแค่ 10 วันเท่านั้นถือว่าล่อแหลมมาก แต่ปัจจุบันเราพยายามจัดผลิตอาวุธของเราเองควบคู่ไปกับการจัดซื้อซึ่งตอนนี้อยู่ในเกณฑ์รบได้ 20 วันส่งกำลังบำรุง ทั้งนี้เมื่อประเมินจากอาวุธและกำลังพลทั้งหมดหากมีการเผชิญหน้า

 “เรื่องขวัญและกำลังใจไม่ต้องเป็นห่วง กองทัพได้รับการดูแลมาอย่างดีตลอดในหลายรัฐบาล อย่างรัฐบาลของท่านสมัคร สุนทรเวช ได้ทำคุณประโยชน์ด้วยการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงในเรื่องอาหารของทหารพรานจาก 20 บาทเป็น 55 บาท ผมได้ให้อาวุธเข้าไปตอนนี้ ไม่ต้องเป็นห่วง และได้จัดเตรียมที่มั่นให้กำลงพลทุกส่วน เราจะไม่ยั่วยุประเทศเพื่อนบ้าน แต่เราจะสุภาพแบบพร้อมรบเต็มศักยภาพ ไม่มีการเหยียดหยาม เขาพร้อมหรือไม่เราไม่รู้แต่เราพร้อม ” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

 พล.อ.อนุพงษ์ ชี้แจงกรณีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ปัญหานี้มีมาอย่างยืดเยื้อยาวนาน โดยนโยบายที่ผ่านมาใช้รูปแบบการเมืองนำการทหารมาตลอด และการนำทหารลงไปพื้นที่ก็เพื่อทำความเข้าใจไม่ใช่ปราบปราม กองทัพเองก็มีเกณฑ์ในการประเมินผลการทำงานอย่างชัดเจน ถ้าหากจะให้ทหารถอนกำลังออกหมดก็ได้แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ลงไปอยู่กับประชาชน 2.1 ล้านคน มิเช่นนั้นผู้ก่อความไม่สงบจะเข้าไปครอบงำประชาชนทั้งหมด หากพลาดก็จะทำให้คนเหล่านี้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มโจรใต้

 ส่วนที่มีข้อสงสัยว่า ทำไมยังเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น ขอย้ำว่าทหารทำทั้งการเมืองและความมั่นคง ไม่สามารถแยกให้ชัดว่าใช้ทำเรื่องอะไรบ้าง กรณีตากใบ มีคนถูกจับตามกฎหมาย แต่ประชาชนไปรวมตัวไม่ยอมรับอำนาจรัฐ ส่วนเหตุการณ์มัสยิด ยังไม่ทราบเป็นฝีมือใคร แต่มีคนเข้าไปยิงประชาชนที่อยู่ในมัสยิดขณะละหมาด นัยยะคือต้องการฆ่าให้ตายทั้งหมด เชื่อว่าประชาชน 2.1 ล้านคนมีความเข้าใจและยอมรับอำนาจรัฐให้หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

 พล.อ. อนุพงษ์ กล่าวว่า ยังมีความจำเป็นต้องใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548 เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นฝ่ายใช้ส่วนนี้มากที่สุด ซึ่งผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายนี้เกิดกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลต่อผู้บริสุทธิ์ ถ้าไม่มีพ.ร.ก.ฯ ต่อไปการปฎิบัติหน้าที่จะยาก ทั้ง ๆ ที่ความจริงก็ต้องการยกเลิกใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อชนะใจคน 2.1 ล้านคนเอาไว้ แต่ถ้ายกเลิกจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่มีการก่อการร้ายได้ ถามว่าจะชนะเมื่อไหร่ต้องอยู่ที่การพัฒนา ถ้าการพัฒนาของเราชนะจิตใจเขาได้เราก็แก้ไขได้ ไม่ใช่มาถามทหารแต่อย่างเดียว เปรียบไปก็เหมือนกับนักมวยอย่างชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด เมื่อขึ้นชกก็รู้ว่าชนะแน่นอนแต่ชัยชนะนั้นต้องมีแผลบ้าง ซึ่งในปี2550-2551 ก็เริ่มเห็นแนวโน้มลดลงมาต่อเนื่อง ตนไม่โง่ที่จะส่งคนที่ไม่มีความสามารถเข้าไปทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ยังไงผมก็ต้องเอาคน2.1ล้านคนเอาไว้

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กมธ.ซีกฝ่ายค้านได้ซักถามพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา โดยนางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย ได้จี้ถามว่าทำไมกองทัพถึงไม่ดำเนินการกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแต่กลับมีการดำเนินการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการชี้แจงของพล.อ.อนุพงษ์ ได้ชี้แจงตอบโต้อย่างดุเดือดอย่างมีอารมณ์หลายครั้งโดยบางช่วงได้มีการยกนิ้วชื้ไปยังกมธ.หลายครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีส่วนราชการที่มาชี้แจงทำอย่างนี้มาก่อน

 “ผมเองนั่งอยู่ตรงนี้ไม่ได้เกลียดเสื้อแดงเพราะผมไม่มีสีเสื้อ ทุกวันนี้เสื้อสีเหลืองก็ด่าผมอยู่ทุกวัน ในกองทัพจะไม่มีสีใด ถ้าไปเลือกสีใดสีหนึ่งก็จะทำงานไม่ได้ ตนก็เป็นของผมอย่างนี้ ผมทำตามผู้ถืออำนาจสิ่งใดที่สั่งผมและกองทัพเสียหายผมไม่ทำ ในสมัยท่านสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี สั่งให้สลายการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นสิ่งเดียวที่ผมไม่ทำตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี แม้แต่ท่านอภิสิทธิ์ก็ได้เรียกผมเข้าไปหารือเรื่องม็อบที่ทำเนียบรัฐบาลผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้สลลายการชุมนุม เรื่องการเมืองสีเขียวไม่เกี่ยว ทหารเป็นของประชาชน 64 ล้านคน ผมเข้าเรียนท่านสมัครท่านเข้าใจแม้ท่านไม่ชอบใจผมก็ตาม ตราบใดผมเป็นผบ.ทบ.อย่างไรผมก็ไม่ทำ ถึงวันนั้นถ้าท่านสมัครจะปลดผมผมก็น้อมรับ” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

 พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่สุวรรณภูมิและดอนเมืองสมัยของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีเวลานั้น ท่านไม่ได้ใช้กองทัพเลย ตอนนั้นแต่งตั้งพล.ต.อ.โกวิท  วัฒนะ เป็นผู้ดูแลสถานการณ์ อยากให้ลองไปถามท่านโกวิทว่าท่านสีอะไรถึงไม่ใช้ ถ้าผู้ใดถืออำนาจรัฐและสร้างความเสียหายกองทัพจะไม่ทำตามเด็ดขาด

 “เหตุการณ์เมื่อเดือนเม.ย. ไม่ใช่การดำเนินการโดยสันติ ต้องพูดความเป็นจริง เหตุการณ์นั้นทำให้ชาติเสียหาย ปิดถนนใช้กฎอะไรไม่ทราบ ผมก็มีหน้าที่เพื่อแก้ปัญหาใน กทม. ปิดถนนทั้งกทม.ทำไม่ได้ ทหารขณะนั้นมี 6 กองร้อยทหารในกองทัพครึ่งหนึ่งเป็นคนอีสานก็รู้ดีว่าจะมาฆ่าคนไทยไม่มีใครตาย ถ้ากองทัพเป็นศัตรูกับประชาชนกองทัพก็อยู่ไม่ได้ประเทศชาติย่อยยับแน่นอน ในอนาคตพวกไม่ว่าจะเป็นนายกฯคนไหนท่านก็ต้องมีกองทัพเหมือนกันและก็ต้องอยู่กับท่าน ปัญหาวันนี้มาจาก 2 กลุ่มที่แย่งอำนาจกัน แต่เสื้อแดง เสื้อเหลือง ต้องอยู่ในไทยด้วยกันจะตีกันไม่ได้ และจะมาให้กองทัพมาเป็นอาชญากร ผมไม่ทำ”พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

โดยคุณ wingboy เมื่อวันที่ 24/07/2009 23:07:25


ความคิดเห็นที่ 8


พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ชี้แจงว่า กรณีเขาพระวิหารรัฐบาลได้มอบนโยบายมาให้กองทัพแล้วว่าจะเน้นการเจรจาระดับ ทวิภาคีกับประเทศกัมพูชาโดยตรงยังไม่ให้เข้าสู่เวทีพหุภาคี ส่วนทางการทหารไม่มีนโยบายให้ใช้การเผชิญหน้า เรากับกัมพูชาเป็นเพื่อนบ้านมานานและไม่สามารถยกประเทศหนีกันได้ ซึ่งการใช้กำลังจะเกิดปัญหายาวนานและสิ้นงบประมาณและสูญเสียโอกาสทาง เศรษฐกิจอีกมาก


ย้ำตรงข้อความที่ขีดเป็นตัวหนาและขีดเส้นใต้อีกทีนะครับ

ว่าทางทหารมีความคิดเห็นอย่างไรครับ

พวกนักรบหน้าคอมฯที่เอะอะ อะไรก็จะให้รบกัน คงจะเข้าใจบ้างนะครับ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 24/07/2009 23:28:22


ความคิดเห็นที่ 9


รบกวนถามครับว่างบที่ได้มากองทัพจะแบ่งส่วนกันอย่างไร

หากกองทัพเรืออยากได้เรือสักลำ   กองทัพอากาศอยากได้เครื่ิองบิน  และกองทัพบกอยากได้รถหุ้มเกราะจะมีการจัดหากันอย่าไร

จะแบ่งงบเป็นส่วนๆกันเลยหรือใช้งบร่วมกันแล้วดูว่าของใครสำคัญกว่าก็ซื้อก่อน

ปล.ส่วนตัวผมคิดว่างบกองทัพน่าจะอยู่ที่ 2.5 นะครับ เพราะดูจากอัตตาค่าเงินที่ถูกกว่าหลายประเทศในภูมิภาคนี้และพื้นที่ของประเทศที่ใหญ่กว่า(มีพื้นที่ต้องดูแลมากกว่า)  แถมทหารของเรายังถูกใช้ในเรื่องช่วยเหลือและพัฒนาประเทศด้วย.....เอาว่า ตั้งแต่น้ำท่วมยันปลูกป่าเลยครับ


โดยคุณ อีแอบ เมื่อวันที่ 25/07/2009 00:25:16


ความคิดเห็นที่ 10


ผมว่าน่าจะมองวิกฤติให้เป็นโอกาส

ถึงเวลาที่กองทัพต้องตอบคำถามกับตัวเองและประชาชนว่า

"ถึงเวลาที่จะยืนบนขาของตัวเองแล้วยัง"

แค่เราพึงพาตัวเองได้แค่ระดับ convensional weapon ทั้งหมดก็พอแล้ว

เช่นกระสุนปืนเล็ก ตัวลูกอาพีจี กระสุน ค. ระเบิดมือ อื่นๆ

จริงอยู่ของเหล่านี้เราทำได้เอง แต่ทำเองทั้งหมดที่ใช้ในกองทัพรึเปล่า

ความเป็นจริงวิจัย พัฒนา โชว์ผลงาน แล้วหายไปตามกาลเวลา

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 25/07/2009 06:15:12


ความคิดเห็นที่ 11


ถ้าใครติดตามอ่านเรื่อง งป.ปีหน้าของ กห.ใกล้ชิดหน่อยจะทราบว่า งป.ของ กห.จะลดลงจากปีที่แล้วประมาณ ร้อยละเก้า  คิดเป็นเงินก็กว่าหมื่นห้าพันล้านบาท คือไม่มีโครงการใหม่ๆแน่นอน  เอาแค่ซ่อมของเก่าใช้ไปก่อนก็แล้วกัน ในส่วนของ ทร.ปีที่แล้วได้รับงป.สามหมื่นสามพันล้าน ปีนี้คาดว่าได้สองหมื่นเก้าพันกว่าล้านบาท ทหารก็ต้องยอมรับอยู่แล้ว จะโวยอย่างไร รัฐบาลก็ไม่มีเงินให้

นอกจากนั้นมีบางท่านกล่าวถึง การพึ่งพาตนเอง  ผมเองก็เห็นด้วยว่า เราควรทำอะไรใช้เองได้มากกว่านี้ แต่...มีแต่อีกแล้วครับ ทหารควรเป็นผู้สร้างอาวุธเองหรือไม่  สหรัฐ สวีเดน อังกฤษ เยอรมัน ฯลฯ ไม่เห็นมีเลยที่กองทัพผลิตอาวุธเอง เช่น ต่อเรือเอง สร้างเครื่องบินเอง  อย่างมากที่สุดก็มีประเทศระดับกลางๆที่ผลิตลูกปืนใหญ่ กระสุนปืนเล็กใช้เอง ผมว่ารัฐบาลต้องให้นโบาย ให้บริษัทเอกชนของไทยเป็นผู้ทำ และร่วมกับหน่วยงานวิจัยของทหาร และของรัฐอื่นๆแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยด้วย

ที่บอกว่าสิ่งที่เราวิจัยแล้วได้แค่นำไปโชว์นั้นถูกต้องแล้วครับ เพราะพอถึงขั้นการผลิตจะให้หน่วยทหารหน่วยใหนผลิต มันต้องตั้งไลน์การผลิต ต้องทำจำนวนเท่าไรถึงจะคุ้มทุน ต้องหาตลาดนอกประเทศเสริมด้วยเพราะความต้องการในประเทศน้อยมากๆ เว้นกระสุนปืนเล็ก เช่น เอ็มสิบหก ที่พอจะผลิตคุ้มกับจำนวนที่ใช้  ขนาดนั้นยังผลิตแล้วแพงกว่าซื้อต่างประเทศเพราะเขาผลิตเยอะกว่ามาก  ดังนั้นเมื่อคิดถึงยุทโธปกรณ์ประเภทรถถัง เรือรบ เครื่องบิน ยิ่งต้องคิดมากกว่าเยอะ สำหรับเครื่องบินคงเริ่มได้แค่เครื่องฝึกก่อน  การต่อเรือเฉพาะตัวเรือไม่ยากครับ  การติดตั้งอาวุธปืน เซนเซอร์ก็ทำกันเองได้ ทำกันมาหลายลำแล้ว แต่เครื่องยนต์ ตัวอาวุธเอง ตัวเรดาร์ ตัวอาวุธปล่อย ยังอีกหลายสิบปีกว่าจะทำได้เอง(ถ้าเริ่มวันนี้) และราคาของพวกนี้มากกว่าราคาตัวเรือครับ ผมว่าพวกรถรบทั้งหลายนี่แหละครับที่เราน่าจะทำส่วนประกอบได้เองเยอะที่สุด เพราะมีอุตสาหกรรมยานยนต์รองรับพร้อมที่สุด ทั้งรถบรรทุก รถลากปืน รถคอมมานโด เดี๋ยวนี้กองทัพทุกกองทัพก็ซื้อรถในประเทศมากขึ้นแล้ว น่าจะส่งเสริมให้ดี  อีกเรื่องที่ทหารไทย หรือเอกชนไทยสามารถทำเองได้ และบางเรื่องทำได้ดีมากด้วยคือเรื่อง Software ไม่ว่าจะเป็นเครื่องฝึกจำลองยุทธ ระบบควบคุมบังคับบัญชา ควรหาทางใช้ศักยภาพอันนี้ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบพวกนี้มีราคาแพงมาก และแก้ไขปรับปรุงเองไม่ได้ถ้าไปซื้อเขามาแล้ว และที่สำคัญที่สุดใช้สมองอย่างเดียว ไม่ต้องการอุตสาหกรรมอื่นมารองรับ

ตอนนี้เรามีสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นองค์กรมหาชน ในกห.แล้ว หวังว่างานวิจัยที่ถูกทิ้งไปนาน กลับมามีชีวิตอีกครั้ง  แต่เมื่อจะผลิตใช้จริงหลังวิจัยเสร็จ คงต้องหาบริษัทเอกชนดำเนินการ หน่วยนี้วิจัยเป็นหลักครับ ผมถึงบอกว่าส่วนสำคัญที่กองทัพจะพึ่งตนเองได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทหาร หรือกองทัพ  แต่อยู่ที่อุตสาหกรรมของพลเรือนที่มีศักยภาพมากกว่าซึ่งพวกเราก็รู้ว่าอุตสาหกรรมหนักที่เกี่ยวข้องกับงานโลหะนั้น เมืองไทยยังมีน้อย ของเราเป็นอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนเสียเป็นส่วนใหญ่

โดยคุณ โย่ง เมื่อวันที่ 25/07/2009 10:28:31


ความคิดเห็นที่ 12


นักรบหน้าคอมฯ ......สงสัยจะเป็นโรโบค๊อป
โดยคุณ santik เมื่อวันที่ 26/07/2009 08:58:29


ความคิดเห็นที่ 13


อยากพูดจัง  แต่คุณ โย่งพูดไปหมดแล้ว และ ขอให้เศรษฐกิจดีขึ้น ขายของได้เยอะๆครับ กองทัพจึงจะมีอาวุธดีๆไว้ใช้งาน หรือเริ่มเปิดกว้างให้เอกชนได้หันเหจากทำเซ็นเซอร์ทางพานิชย์ขาย หันมาทำเซ็นเซอร์ ทางด้านอาวุธแทน เมื่อมีเซ็นเซอร์ก็ต้องมีตัวติดตามวัดผล อะไรๆอีกหลายๆอย่างก็จะตามมาเอง เปิดกว้างและเปิดกว้าง แล้วไม่แน่ไอ้งบที่น้อยๆนี่หละครับเอกชนเราอาจทำให้เป็นจริงได้  มันอาจจะช่วยราชสีห์ได้นะ....

จบ

โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 27/07/2009 03:13:49


ความคิดเห็นที่ 14


ผมเห็นด้วยอย่างมากกับคุณ น่าคิด นะครับคือทำอะไรให้มันเต็มที่เเละที่สำคัญต้องสามารถใช่งานได้จริงร้อยเปอร์เซนต์ด้วยไม่ใช่ว่าทำได้อย่างเดียวเพราะที่ผ่านมามันเห็นๆกันอยู่ สำหรับเรื่องงปผมว่ากองทัพของท่านทำตัวเองนะครับ(ความเห็นส่วนตัวครับ)

โดยคุณ cavary23 เมื่อวันที่ 27/07/2009 12:27:51