เรือชุด Kedah class ใช้แบบของ MEKO 100 RMN
คุณลักษณะเรือเมื่อเปรียบเทียบกับเรือชุดปัตตานีของไทย
http://en.wikipedia.org/wiki/Kedah_class_OPV
http://www.navy.mi.th/ptrl/link/ptrl_pattani.php
ตัวเรือถูกออกแบบมาใช้ลดการสะท้อนเรดาร์มากกว่าด้วย
http://www.dromoz.com/video/watch/?spg=e8d3dda8a676ff140878f0a65386e892
นอกจากที่เห็นแล้วสะดุดตาคือ
เรือพร้อมปรับเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตทันทีเนื่องจากตัวเรือมีระบบโซน่าติดตั้งมาด้วย สำหรับผมมันสะท้อนให้เห็นถึงอะไรหลายอย่างว่าทำไมกองทัพไทยถึงพัฒนาได้แค่นี้
นั้นสิ ครับผมก็คิดเหมือนกัน....ทำไมกองทัพไทยเราถึงได้ ช้ากว่าเพื่อนบ้าน 1ก้าว ..ทั้งๆที่อะไรหลายอย่างในอดีตเราเคยเป็นที่ 1 ในภูมิภาคนี้ เช่นกองเรือดำน้ำ เราก็เป็นประเทศแรกที่มีเข้าประจำการ...
ก็มัวแต่คิดว่ามันไม่ประจำเป็น แต่ถ้าถึงเวลาจำเป็นจะใช้ละ จะทำยังไง....เห้อ..
แล้วเรือ ล.นราธิวาส จะเสร็จเมื่อไหร่ครับ ใครรู้บ้าง
ในมุมมองของผม
การติดตั้งโซน่ากับ OPV นั้นเป็นเรื่องที่มองถึงการตรวจจับจากชั้นนอกซึ่งอยู่ในระยะของการทำการของเรือ หากพบการผิดปกติประการใด ก็สามารถเตรียมการป้องกันได้ทัน หรือจะให้ ฮ.เข้าร่วมปฏิบัติการ ก็สามารถทำได้ทันที
เคดาร์เพียงแต่ติดตั้ง SSM และ แท่นยิงตอร์ปิโด ก็จะเป็นเรือฟริเกตทันที แต่ปัตตานีของเราล่ะ ขีดความสามารถในการค้นหาเรือดำน้ำจะสู้เรือหลวงล่องลมได้รึเปล่า
ที่กองทัพไทยพัฒนาได้แค่นี้ ผมมองในมุมที่ว่ายังขาดในเรื่องของ Forward Thinking
เหอะ....ให้เงิน 10 บาท แล้วจะกิน สเต็ก หรือครับ....อยากได้ดีๆอย่างเขา...แต่ไห้งบน้อบกว่าเขา.....เก็บไปคิดนะครับ
...
เรือที่เราออกแบบเองนี่ไม่ดีหรือครับ....เห็นให้คนอื่นออกแบบ...ก็บ่น...ทำไมไม่ทำเองมั่ง....ออกแบบเองอีก....ก็บ่น....ของที่เขาซื้อแบบมา...ดีกว่า....เอายังไง....
เห็นด้วยกับคุณ Skyman
Requirment คืออะไรต้องถามตัวเองและตอบให้ชัดก่อนครับ
ซื้อของมาแพงกว่ามันก็น่าจะดีกว่าของถูกอยู่แล้วละครับ
Option ดี ๆ ใคร ๆ ก็ชอบทั้งนั้นครับ แต่ซักกี่ครั้งที่จะได้ใช้งานมัน
อย่างงี้ซื้อมาก็ไม่คุ้มหน่ะซิ ใช้ครับความคุ้มค่ามันคนละเรื่องกัน
ราคาเท่านี้ได้ขนาดนี้ ผมว่าคุ้มแล้วละครับ :D
มองมุมกลับนะมาเลเซียซื้อเรืออะไรของเค้าครับ แพงระยับเลย โกงกันหรือเปล่าเนี่ย ^^
ก็ไม่แปลกนี่ครับ ที่เขาจะต้องซื้อของดี ประเทศเขาพัฒนามากกว่าเรา เขามีน้ำมัน และที่สำคัญเขาต้องมีกองเรือดีๆไว้งัดข้อกับสิงคโปร์ แต่ผมคิดว่าคงไม่เป็นภัยคุกคามกับเราเท่าไหร่ก็อย่างที่พี่ๆหลายคนบอกไว้แล้วว่า ทั้งสองประเทศต่างต้องการเป็นมิตรกับไทยเพราะจะได้คานอำนาจของอีกฝ่าย สิงโปร์มีอะไร มาเลย์ต้องมีเหมือนกันหรือมากกว่า สิงคโปร์ก็เกทับอีกทีมันก็เป็นเหมือนมินิสงครามเย็นแหละครับ ถ้าฝ่ายไหนฝ่ายหนึ่ง ประกาศตัวเป็นศัตรูกับไทย ก็เข้าทางอีกฝ่ายหนึ่งพอดี เพราะต่างต้องการแย่งไทยให้เป็นมิตรประเทศมากกว่าอีกประเทศนึงเท่านั้น ของเรามันต้องค่อยเป็นค่อยไป เราไม่มีเงินถุงเงินถังอย่างเขา ต้องทำใจครับ ตั้งแต่เจอ วิกฤติปี 40 กองทัพก็ไม่ค่อยได้พัฒนามา 10 ตอนนี้เป็นช่วงพักฟื้น ก็ดันเจอ วิกฤติปี 50 ซะอีก แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อของครับ ที่มีก็ใช้ไปก่อน ออกทะเลทีก็ต้องใช้เงิน เรือเก่าต้องปรับปรุงก็มี ถ้ามีงบกองทัพก็คงต้องซื้ออยู่แล้วครับ แต่เงินไม่มีก็ต้องทำใจหน่อย
ผมว่า ทร.อินโดฯ กับ ทร.มาเลฯ โครงการเขาซื้อเรือรบมากกว่าเรือตรวจการณ์ แต่ด้วยรูปแบบในเบื้องต้นภาระกิจของเรือ ก็เลยได้ชื่อว่า OPV และถ้าสังเกตุ ทั้ง ทร.อินโดฯ และ ทร.มาเลฯ มูลค่าการจัดซื้อเรือดูว่าแพงมาก...แต่...ทั้ง 2 ประเทศ ในส่วนของเรือลำหลัง ๆ จะใช้อุตสาหกรรมการต่อเรือในประเทศ ดังนั้น เงินส่วนหนึ่งจะหมุนเวียนอยู่ในประเทศ ในเรื่องราคาน่าจะเป็นในส่วนการซื้อเทคโนโลยี่ และแบบเรือของเจ้าของแบบ...ราคาจึงดูสูง...อย่างของ ทร.อินโดนีเซีย เมื่อต่อในอุตสาหกรรมในประเทศ ก็น่าจะหมายรวมถึงการวางระบบอาวุธทั้งหมดด้วย...เพราะเรือของ ทร.อินโดฯ มีอาวุธครบเหมือนเรือรบทางยุทธวิธี..
และน่าจะเช่นเดียวกับ เรือ OPV ที่ ทร. กำลังจะดำเนินการ ก็ราคาสูงในราคาลำละ 3,000 ล้านบาท ซึ่งผมว่า ก็น่าจะรวมถึง การซื้อเทคโนโลยี่ และแบบเรือ...
ส่วน เรือชั้นปัตตานี ตามข้อมูล ท่าน Tow จะเป็นเฉพาะราคาตัวเรือเท่านั้น ยังไม่รวมอาวุธและระบบอื่น ๆ ดังนั้น ราคาเรือชั้น ปัตตานี ผมว่า ต้นทุน ไม่น่าต่ำกว่าลำละ 2,000 ล้านบาท
คราวนี้ ผมเลยลองกลับมานั่งคิดว่า ทร. ซื้อเรือใหม่ ด้วยภาระกิจตรวจการณ์อย่างเดียว...เร็วเกินไปหรือเปล่า ?
ถ้าเมื่อดูถึงว่า การประจำการด้วยเรือ OPV จะช่วยประหยัดงบประมาณในภาระกิจ เมื่อเทียบกับ เรือฟริเกต ในปัจจุบัน...อันนี้ ผมว่า มันคงไม่น่าจะต่างกันมาก...
เพราะ ทร. ก็ต้องจัดซื้อเรือใหม่ ลำละ 1,800 - 2,000 ล้านบาท...
ทร.ต้องมี ทหารประจำเรือ เพิ่มขึ้นอีก ไม่ต่ำกว่า 200 นาย ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายบุคลากร จนถึงเกษียณอายุ...
ทร.ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง ต่อ ช.ม. เช่นเดียวกับ เรือฟริเกต ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน เพราะใช้เครื่องยนต์แบบเดียวกัน...
ทร.ต้องมีค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงประจำรอบเช่นเดียวกัน...
และเมื่อเทียบกับ การนำเรือฟริเกต ที่ประจำการอยู่ในปัจุจบัน ปฏิบัติภาระกิจเช่นเดียวกับ ชั้น ปัตตานี ต้นทุนที่จะเสีย ก็คือ ต้นทุนการซ่อมบำรุงที่จะมากขึ้น เท่านั้น...ส่วนค่าเชื้อเพลิง มันก็น่าจะใกล้เคียงกัน...
ผมเลยไม่แน่ใจว่า การมีประจำการเรือ OPV มันจะประหยัดค่าใช้จ่ายจริงรึเปล่า ?
เพราะสุดท้าย ทร. ก็ต้องจัดหา เรือฟริเกตทางยุทธิวิธี เพิ่มเติมอยู่ดี....
ในขณะที่ ทร. เอง ก็ยังขาดเรือฟริเกตทางยุทธวิธี อยู่...
ถ้าสมมติว่า ทร. จัดหา เรือฟริเกตทางยุทธวิธี ในตอนนั้น แทน การจัดหาเรือ OPV...และใช้ปฏิบัติภาระกิจในปัจจุบัน...ในแง่ค่าใช้จ่าย มันจะมากกว่าในปัจจุบันเพียงไร...อันนี้ ก็น่าจะนำมาคิดด้วยเหมือนกันครับ...
ขอเป็นกระทู้ที่ใช้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกนะครับ
คุณสกายแมนครับ
ในขณะที่ขีดความสามารถทำการรบของอีกฝ่ายสามารถทำได้ 3 มิติ
แต่เรือตรวจการไกลฝั่งของกองทัพเรือไทยมีขีดความสามารถในการตรวจจับ หรือค้นหาเป้าหมายได้แค่ 2 มิติ
คงมองเห็นภาพนะครับว่า ผมมองในมุมไหน
การที่เราจะมีเรือตรวจการไกลฝั่งทั้งทีเพิ่มเงินอีกนิด เพิ่มระวางขับน้ำอีกหน่อย แต่เพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับได้ทั้ง 3 มิติ มันจะคุ้มค่ากว่านี้ไม๊ครับ
คุณจูลดาส
มองมาในแนวทางเดียวกับผมครับ แต่ข้อเท็จจริงอีกอย่างนึงคือการที่เรือมีน้ำหนักมาก การใช้กำลังในการขับเคลื่อนก็สูงขึ้น นั่นหมายถึงการซดน้ำมันก็มากขึ้นเช่นกัน
แต่การติดตั้งโซน่าเข้าไป อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับขีดความสามารถของเรือ ผมมองว่าคุ้มครับ
เรือตรวจการไกลควรจะตรวจการได้ทั้ง 3 มิติ เรือหลวงตาปี กับเรือหลวงคีรีรัตน์ก็จะปลดประจำการอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การเตรียมพร้อมตรงจุดนี้ไว้ ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร เพราะถ้าเราไม่ได้เตรียมอะไรไว้ทดแทนเลยสองลำนี้เลย นั่นหมายถึงว่าในอนาคตอันใกล้นี้ กองทัพเรือจะขาดเรือที่มีโซน่าในการค้นหาเรือดำน้ำออกไปจากทะเลไทยอีกสองลำ
อืม เงิน.....เงิน......เงิน.....เงิน......เงิน มีใหมหว่า.....กู้......กู้.......กู้......กู้....กู้จนไม้มีใครให้กู้แล้ว......รอ......รอ.....รอ....รอ.....รออย่างเดียวครับรอให้เศรฐกิจพื้น
อืมถามถึงเสียโยอย่างนี้ เสียโยยอมได้ไงครับครับ เสีย แบ่งค่านายหน้า ซื้อกรีเป้น มาปรับปรุงเรือเลยครับ อิอิอิอิอิ มีเยอะระวังนะ จะรวย อิอิอิอิอิ
คือว่าผมก็อยากให้ปรับปรุงนะ อย่าว่าแต่เรือOPV เลยเรือฟริเกตุอย่างชั้นเจ้าพระยายังไม่ได้ปรับปรุงเลย เมื่อไหร่จะเสร็จซักทีไม่รุ้ สงสัยช่างจากจีนมัวแต่ไปดูแพนด้าน้อยเพลินไม่ได้มาปรับปรุงเรือแน่เลย เงินไม่มีครับ ต้องทำใจ อย่างที่ผมว่าเราไม่ได้มีเงินถุงเงินถังเหมือนกับเขา
OPV เราทำหน้าที่เป็นเรือฟริเกตุได้ในยามสงครามครับ แค่เอาฮาร์พูน มาเสียบปลั๊ก แล้วก็ออกรบได้เลย แต่ว่าตอนนี้มันยามสงบเขาเลยติดแค่ปืนพอแล้ว และผมคิดว่ามียังดีกว่าไม่มีนะครับ อย่างน้อยถ้า ทร.ซื้อเรือรบใหม่ เราก็ยังมี OPV ไว้สนับสุนอีกตั้ง2ลำ กันเหนียวได้อีกหน่อย
แต่เราไม่มี มันนี่ นี่สิครับ มันต้องค่อยเป็นค่อยไปๆ เรือดำน้ำทร.อยากได้แค่ไหนยังไม่ได้เลย ทำใจครับ ในรอบบ้านเรายังไม่มีภัยคุกคามอะไร เขมรก็ไม่มีเรือฟริเกตุ เรือดำน้ำ เรือเราทำอะไรได้สะบาย ถ้าจะทำ
เราไม่ได้จะขนอาวุธไปรบกับใครแค่ลาดตระเวณดูแลพี่น้องชาวเรือเฉยๆ คงไม่มีเรือรบหน้าไหนล่วงล้ำเข้ามาหรอก เอาอาวุธไปโดนไอเกลือให้ผุเปล่าๆ แค่OPV ก็พอแล้ว น้ำหนักบรรทุกน้อย จะได้ไม่เปลืองน้ำมัน
ตอนนี้เงินไม่มี มันนี่ไม่มีต้องทำใจครับ ทำไรไม่ได้
เรื่อง ร.ล.ตาปี กับ ร.ล.คีรีรัฐ ผมว่าน่าจะประจำการอีก 15 ปี...เพราะอายุประจำการเรือของ ทร. น่าจะอยู่ที่ประมาณ 50 ปี (เครื่องบิน ทอ. ถัวเฉลี่ยประมาณ 30 - 40 ปี)
ซึ่งเรื่องการจัดหาเรือ...ผมกลัวว่า จะเหมือนกับ ช่วงที่ ทร. จะจัดกองเรือสู่ บลูนาวี (ข้าม กรีนนาวีไปเลย) แต่เมื่อเจอภาวะเศรษฐกิจ กับภัยทางทะเลเปลี่ยนรูปแบบเป็นการก่อการร้ายทางทะเล ทร. ก็ต้องกลับมาสู่ Coastal Navy เหมือนเดิม...
แต่ในขณะนี้ ประเทศเพื่อนบ้าน ก็เริ่มประจำการอาวุธทางทะเลที่มีภัยคุกคามสูง เช่นเดียวกับ ที่ท่านอีแอบ กล่าวถึงเรื่องทรัพยากรทางทะเลที่ภาคใต้...
ซึ่งถ้า 3 จังหวัดชายแดนใต้ แบ่งแยกการปกครองได้...ผลประโยชน์ทางทะเลทั้ง 2 ฝั่งของไทย คือ อันดามัน (ปากทางช่องแคบมะระกา) และอ่าวไทย รวมถึง บริเวณสามเหลี่ยม ไทย-มาเลเซีย ก็จะหายไปทันที...ตกเป็นของการปกครอง 3 จังหวัดชายแดนใต้และอาจจะมีประเด็นการเหลื่อมล้ำทางน่านน้ำเป็นประเด็นใหม่ขึ้นมาอีก...
ซึ่งเมื่อพูดถึงความเสี่ยง ขนาด อินโดนีเซีย ภาครัฐที่มีความเด็ดขาดและโหดกว่า ไทย ยังต้องยอมให้ ติมอร์ มีเอกราชได้...โอกาสความเสี่ยงของ 3 จว.ชายแดนใต้...ก็ย่อมมีอยู่เช่นกัน...
เกริ่นมาข้างต้น (ชัก งง ตัวเอง 5 5 5)
เพื่อจะแสดงความเห็นว่า...ถ้าขณะนั้น ทร. จัดหาเรือรบเต็มประสิทธิภาพ มาให้เพียงพอก่อน แล้วค่อยจัดหา OPV น่าจะสร้างสมดุล ในสภาพปัจจุบันได้...
เพราะเมื่อดูสภาพปัจจุบันแล้ว โอกาสที่ ทร. จะได้เรือรบเต็มประสิทธิภาพ น่าจะยังอีกนาน...ยิ่งเรือดำน้ำ น่าจะปิดโอกาสไปอีก 6-8 ปี (โอกาสเช่า อาจจะเป็นไปได้)
เหมือนกับว่า ตอนนี้ ทร. จะได้เรือประจำการใหม่เพิ่มเพียง 1 ลำ และเป็นเรือปืน มีลานจอด ฮ. ในระยะ 3 ปีข้างหน้า...ในขณะที่ภูมิภาคนี้ กำลังจะมีเรือดำน้ำ ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น กิโล สกอร์ปิเน่ เวทเตอร์ก๊อตแลนด์ (AIP) ประจำการ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว...
ผมเห็นด้วยกับ คุณน่าคิด กับ ป๋าjuldas ครับ จริงอยู่ว่าช่วงไม่มีปัญหากับใครเราติดได้แค่นี้ถือว่าOK แต่หากเกิดปัญหาติดเพิ่มได้จริงแต่ใช่ว่าจะติดทัน ผมจึงมองว่าหากจะทำอะไรมีมันให้พร้อมดีกว่าพอจะใช้แล้วถึงวิ่งหา ถึงแม้เริ่มต้นมันมีไม่พอยังหามาติดไม่ได้ แต่พอมีมั่งก็ควรจัดหามาติด ง่ายๆนะครับ การมาคิดมาคาดว่าภายในปีนี้ปีโน้นหรืออีกกี่ปีประเทศไทยก็ยังไม่เกิดสงครามเป็นความคิดที่ผิดอย่างร้ายแรงและอยู่ในความประมาท ยกตัวอย่างง่ายๆ ซื้อรถที่มีออฟชั่นครบมี ABS มีถุงยาง เอ้ย ! ถุงลม อุ้ยจำเป็นซะที่ไหนไม่ค่อยได้ใช้ ไปซื้อรุ่นรองลงมา ไม่มี ABS กับ ถุงลม(อาจจะคิดว่าตูคงไม่ไปชนกับใคร) แต่รู้หรือไม่ถ้ามันไม่ดีเขาจะลงทุนวิจัยคิดค้นมาติดทำไม ใครเลยขับรถจะไม่เจออุบัติเหตุ กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน การจะจัดหาอะไรทั้งทีคิดถึงส่วนได้ส่วนเสีย เพาเวอร์ที่เพิ่มขึ้นอีกมากมายในการเจรจาต่อรอง ถามว่า สมมุติว่าเราอยู่ใกล้ยิว ยิวเล็กกว่าเรามาก เรากล้ามีปัญหากับยิวหรือไม่ เพราะอะไร เพราะอาวุธเขาพร้อมมากใช่ไหม แต่ผมเชื่อว่า เรือชุด ร.ล.ปัตตานี มีการออกแบบไว้รองรับแล้วแน่นอนครับ หากมีงบประมาณชงมาเมื่อไหร่ก็อยากให้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมขีดความสามารถอีกหน่อยครับ
ผมอาจจะเป็นนักรบหน้าคอมฯที่แว๊ดๆออกความเห็นอยู่นี่ แต่ผมก็มีความรู้สึกและคิดเหมือนกับสมาชิกหลายๆท่านที่ออกความเห็นเพราะเป็นห่วงกองทัพ อยากให้กองทัพพัฒนา รักประเทศชาติพอๆกับที่เต็มใจเสียภาษีเพื่อประเทศชาติ เพื่อข้าราชการที่เต็มที่เต็มใจรับใช้ประชาชนและประเทศชาติอย่างจริงใจ ใครจะรู้ครับ ว่านักรบหน้าคอมฯบางท่านที่ออกความเห็นกันมา คุยกันมาอาจจะเป็นนายทหารที่กำลังทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งอยู่ก็ได้ อิ อิ
ผมอยากให้เข้าใจกันสักนิดครับ ว่าเรามีเงินจำกัดครับ สิ่งใดเป็นความเร่งด่วนก็ต้องมาก่อน อันไหนรอได้ก็ต้องรอครับ
ถ้ามีตังค์ท่านไม่ต้องห่วงหรอกครับ จะเอาอะไรก็ว่ากันไป
แต่ตอนนี้ที่เราเร่งด่วนคือ เรือที่กำลังรอปลด จริงๆต้องปลดไปแล้วด้วยซ้ำ แต่ก็จำต้องทนใช้ต่อไป ก็เนื่องจาก งปบ่มีนี่ล่ะครับ
เรือตรวจการไกลฝั่ง ถ้าจะว่าตามคราสแล้ว ก็เรือฟรีเกต(สมรถนะไม่สูงนั้นเอง)ครับ ก็ในเมื่อระดับภัยคุกคามมันยังมองแล้วว่าที่มีอยู่เรารับได้
ส่วนที่เค้าเร่งสะสมกันก็เพราะเค้ามีภัยคุกคามต่างจากเรา มีคู่กรณีที่เข็มแข็ง เค้าก็ต้องเกตาม ส่วนเรารอบบ้านส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหาอะไรกัน ความขัดแย้งก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดที่จะเกิดการปะทะกันขนาดใหญ่
ส่วนที่มีปัญหากะเราอยู่ก็ไม่น่าห่วงนัก
เราจึงเลือกต่อเรือเพื่อทำหน้าที่แทน เรือเก่าที่รอปลดที่ปัจจุบันทำหน้าที่ ลาดตระเวณตรวจการไกลฝั่งอยู่ครับ
ที่เราต้องการคือเรือที่มีระวางขับน้ำที่สามารถทนทะเลสูงพอ ออกทะเลได้นานเพียงพอต่อภาระกิจ โดยไม่ต้องส่งกำลังบำรุง
และด้วยระดับภัยคุกคามต่ำนี้เอง ทำไมเราจำต้องนำเรือ สมรถนะสูง ออกทะเลเพื่อลาดตระเวณ ตรวจจับเรือผิดกฏหมาย โจรสลัด ที่มีเพืยงอาวุธที่มีประสิทธิภาพไม่สูง ซึ่ง
OPV ของเราก็เพียงพอต่อภาระกิจแล้วครับ
ส่วนเรื่องเรือฟรีเกตสมรถนะสูงนั้นก็คงต้องรอไปก่อนครับ ไม่ใช้ไม่เอาแต่ระดับความเร่งด่วนมันขนาดนั้นครับ
ด้วยภาวะทางการเงินของเราตอนนี้จึงเลือกที่จะ ปรับปรุงเรือบางชุดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก่อนครับ อย่างที่ทราบๆข่าวกันนั้นเอง
ด้วยความเคารพครับ
ขอความกรุณาซักนิดครับ
เรื่องปัญหา สามจังหวัดชายแดนใต้ นี้ ผมขอให้ระมัดระวังคำพูดกันซักนิดละกันนะครับ ถ้าไม่รู้ก็ไม่ควรมาพูดในลักษณะชี้นำในที่สาธารณะดีกว่านะครับ
ปัญหาเรากับที่อินโดฯต่างกันมากครับ ยังยากครับที่จะไปถึงตรงนั้น แต่ไม่ใช้ว่าจะไม่มีความพยายาม
เพราะฉะนั้นไม่ชี้นำให้เกิดความคิดไปสู่หายนะก็เป็นการดีที่สุดครับ สงสารคนที่เค้าอยู่ที่นี่ และส่วนที่ลงมาทำงานในพท.หน่อยเถอะครับ
เพราะท่านกำลังจะกลายเป็นเครื่องมือของเค้าให้เป็นกระบอกเสียง ช่วยไอ้ความพยายามริยำนี้ครับ
ด้วยความเคารพครับ
ท่าน วมต. หากเห็นว่าความเห็นผมไม่เหมาะสมกรุณาลบด้วยครับ ขอบคุณครับ
ผมเป็นทหารครับ ผมรักอาชืพนี้ครับ เงินเดือนไม่มาก จนบางคนไปหาอาชีพเสริมที่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดหรอกครับ ที่จะเป็นนักรบหน้าคอมฯ ผมชื่นชมมากซะอีก แต่บางกระทู้อ่านแล้วไม่สบายใจ เชื่อเถิดครับ ทหารไม่ใช่พวกเห็นแก่เงิน ทุกเหล่าทัพ อยากได้ F 22 อยากได้เรือ ราฟาแยล อยากได้ เลฟเพิล์ด 2 แต่เงินไม่มี ผมอยู่ทัพภาค บางครั้งเข้าไปที่สวนรื่นฯบ้างก็เห็น นายทหารบ้าง พลฯบ้าง เล่นเว๊ปนี้ อยู่อดอมยิ้มไม่ได้ แต่ทุกอย่างขอให้อยู่บนความเคารพสิทธิ์ของผู้ถูกกล่าวถึงบ้าง ว่าเข้าจะรู้สึกเช่นใด ขอบคุณครับ
ภาพของท่านเด็กทะเล..ลำนี้แหละแจ่มสุดไม่ต้องแต่งเดิมอะไรมากให้เปลืองตัง......5555+
ขอโทษด้วยนะครับ...ที่ผมไม่เห็นด้วยกับท่าน wingboy...ที่ไม่รู้อะไร ก็ไม่ต้องแสดงความคิดเห็น...ความคิดเห็นใน เว๊ป ไม่สามารถชี้นำใครได้ครับ...ถ้าข้อมูลสาธารณะจากส่วนที่รับผิดชอบ...มีเพียงพอที่สาธารณะจะรับรู้...และพิจารณา...เขาก็อาจจะแค่ อ่าน เป็นความคิดเห็นของคน ๆ หนึ่ง...
การไม่เปิดเผยอะไรเลย...และชี้นำให้คนในประเทศหลงประเด็น...นั่นแหล่ะ...จะทำให้ ความคิดเห็นใน เว๊ป หรือ ข่าวลือ...ข่าวเท็จ...กลายเป็นข่าวที่สร้างความน่าเชื่อ...จนฝ่ายความมั่นคง...ปวดหัวอยู่ในปัจจุบัน...เพราะประชาชน มีความแคลงใจในข้อมูล...และไม่เชื่อถือข้อมูลรัฐ เพียงพอ...ทำให้ ข่าวลือ ข่าวเท็จ ความเห็นที่มีลักษณะเดียวกับความคิดที่เขากำลังคิดอยู่...กลับมีน้ำหนักมากเกินความเป็นจริง...
ซึ่งสภาพความคิดเห็นของสังคมในปัจจุบัน ที่ไม่อยู่ในอินเตอร์เนต...ท่านก็น่าจะทราบว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร...มันแย่กว่ากลางปี 49 ขนาดไหน...ผมคงไม่ต้องชี้แจง...แล้วฝ่ายความมั่นคง รู้สึกตัวเองรึยังว่า วิธีการที่ผ่านมา คุณคิดผิด...
และความคิดเห็นในอินเตอร์เนต จะเป็นแค่ความคิดเห็นอันหนึ่ง เท่านั้น...ถ้าไม่มีใครมาสะกิด ว่าอย่าแสดงความคิดเห็น...เพราะมันจะกลายเป็นสร้างน้ำหนักให้เกินความเป็นจริง...สร้างความสงสัยเข้ามาทดแทน...
ต้องขออภัยท่าน juldas ด้วยครับ คือผมคงใช้คำผิดไปตรงนี้ใช้มั้ยครับ
เรื่องปัญหา สามจังหวัดชายแดนใต้ นี้ ผมขอให้ระมัดระวังคำพูดกันซักนิดละกันนะครับ ถ้าไม่รู้ก็ไม่ควรมาพูดในลักษณะชี้นำในที่สาธารณะดีกว่านะครับ
ถ้าเป็นตรงนี้ก็ต้องขออภัยอีกครั้งครับ ผมใช้คำผิดไปจริงๆ
ผมเพียงแต่ขอให้ระมัดระวังเท่านั้นครับ เพราะทุกวันนี้สื่อที่นำเสนอข่าวออกไป แรงเกินกว่าความเป็นจริงมากครับ เหมือนกับช่วยรายงานผลงานของเค้านั้นเองครับ
ผมขอยกตัวอย่างเหตุการจริงของที่นี่สักเรื่องละกัน
มีการดักยิง รอง หน.ไฟฟ้า บาดเจ็บ และหลังจากส่งไปรพ.แล้ว จนท.ได้พท. เกิดเหตุระเบิดในโพรงหญ้าข้างๆที่ทำการ ไฟฟ้า
แต่สื่อเสนอข่าวว่า
ยิงรอง หน.ไฟฟ้า ดับคาที่ ซุกระเบิดใต้ศพ จนท.เข้าเคลียร์เจ็บ
ลองพิจรณาดีละกันครับ ว่าเป็นการปิดหรือเปิดเผยในข้อมูลที่ผิดๆครับ
และผมเห็นว่าพท.ตรงนี้ เป็นพท.ที่พูดคุยกันได้ เราน่าจะบอกกล่าวกัน และให้ระมัดระวังกันได้ก็เท่านั้นเองครับ
ส่วนน้องเด็กทะเลผมก็คงจะต้องขอโทษด้วยที่อาจจะต้องทำให้ผิดหวังเพราะผมมิได้มีเจตนาจะทะเลาะกะใครครับ
ด้วยความเคารพครับ
ก็ต้องขออภัยกลับท่าน wingboy ด้วยเช่นกันครับ...ถ้าในความเห็นผม เกิดความรู้สึกไม่สบายใจครับ...
เรื่องการโต้แย้งทางความคิดเห็น...มันก็ต้องมี สีสรร แบบนี้ล่ะครับ...บางครั้งเราต้องการสื่อเพื่อความเข้าใจอย่างหนึ่ง...แต่เวลาพิมพ์ มันก็จะสื่อไปอีกอย่างหนึ่ง...
แต่ผมเชื่อว่า ขาประจำใน TFC จะค่อนข้างรู้ว่า บุคลิกในการโพส แต่ละท่านเป็นอย่างไร...บางครั้งไม่ว่าใคร จะหลุดไปบ้าง...ก็คิดซะว่า..เป็นโต้แย้งทางความคิดเห็นรึกันครับ...ขนาดเพื่อนซี้กับเราเอง...บางครั้งเรายังทะเลาะกันเลย...แต่พอจบเรื่อง...เราก็ชนแก้วกันต่อ...เพราะ ข้าพเจ้าไม่ได้ดื่มด่ำกับรสชาดสุรา แต่ข้าพเจ้าดื่มด่ำกับบรรยากาศการร่ำสุรา....
( คำเตือน สำหรับเยาวชน...สุรา เป็นสิ่งไม่ดี และผิดศีล 1 ใน 5 ข้อ...เป็นการเปรียบเปรยสำหรับ ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เท่านั้น ผู้โพสจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ถ้าคำเปรียบเปรยนี้จะมีผลต่อท่าน เมื่อมีอายุครบ 40 ปี บริบูรณ์ แล้วจะจิบ ไวน์ สักจิบ สองจิบ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย กั๊ก กั๊ก กั๊ก )
ครับคุณBloodRoyal
น้อมรับครับท่าน และมิได้มีเจตนาละเมิดสิทธ์ในการแสดงความคิดเห็นครับ
หากยังทำให้เข้าใจผิดอีกก็ต้องขออภัยทุกท่านด้วยครับ
ด้วยความเคารพครับ
ถ้าเรียกน้องเด็กทะเล ว่าลุงเด็กทะเล อย่างนี้ผมจะขนาดไหนเนี่ย 555
เรื่องอื่นไม่รู้ แต่ถ้าเรื่องอายุผมไม่เป็นรองใครครับ 555
ขอบคุณที่เข้าใจครับ
สังเกตได้ว่าหลายอย่างที่เป็นความคิด หลายคนก็คิดได้อยากมีสิ่งที่ดี แต่คนที่รับผิดชอบโดยตรงปัจจัย,องค์ประกอบ,ความจำเป็นต้องนำมาตัดสินทั้งเรื่องส่วนตัวหรือส่วนรวม และบางอย่างคงต้องให้รู้เท่าที่ให้รู้ และบางสถานการณ์ต้องการแค่คนทำตามคำสั่ง ของเขาใช่แต่ของเรามีได้เท่านี้
ก่อนอื่นผมต้องขอโทษก่อนนะครับ เนื่องจากผมจั่วหัวกระทู้แบบชวนหาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่เมื่อว่าตอนโพสไปได้หน่อยนึง มีงานเข้ามาพอดี เลยทำให้โพสข้อความไม่ทั้งหมด เลยทำให้สภาพกระทู้ออกมาแบบนี้
แต่ก็ให้อยู่บนฐานที่ว่า "แตกต่าง ไม่แตกแยก"
ภาพคู่แข่ง M18 FAB ของกองทัพเรือไทย
ข่าวด่วน ขณะนี้ไทยได้ส่งอาหารฮาร๊าลไปขายอิสลามทั่วโลกกำไรมหาศาล เพราะคนอิสลามทั่วโลกมีไม่ต่ำกว่า 400 ล้านคน และ ไทยได้ขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยมาใช้สำเร็จพร้อมส่งออก รวมทั้งปตทสผ ส่งก๊าซให้เหล่าประเทศอาเซียน รัฐบาลเห็นควรอนุมัติกระทรวงกลาโหม
1.กริปเป้น ภาค2 ครบฝูง
2.ดำน้ำ อาเมอร์ 4 ลำ อ่าวไทย - อันดามัน
3.เพิ่มงบ 10,000 ล้านสำหรับผลิต จรวดพิสัยกลาง ทั้ง3เหล่าทัพ
4.เพิ่มงบ 30,000 ล้าน สำหรับระบบอำนวยการรบ 3 มิติ ทั้ง 3 เหล่าทัพ
5.สร้างโรงงานผลิตเครื่องบินโจมตีเบา โดยการสนับสนุนจากจีน
มีคำถามเพิ่มเติมครับ เห็นแผนการจัดหาเรือรบฟรีเกต และอื่นๆอีกมากมาย
อยากทราบจริงๆว่า กองเรือฟรีเกตของกองทัพเรือ มีเพียงพอต่อภารกิจทางทะเลหรนือยังครับ เอาแบบเนียนๆว่าครอบคลุมต่อการป้องกันทางทะเลเลยครับ
เอาแบบว่า จัดหากันจนอิ่มเลยอะคร้บ
สมัย พล.อ.ชาติชาย เป็นนายกฯ...ความต้องการ เรือขนาดฟริเกตของ ทร. ประมาณ 20 ลำ...จะครอบคลุมเศรษฐกิจทางทะเล ทั้ง 3 ภาคเรือ...
ในสมัยปี 2526 ทร.มีเรือขนาดฟริเกตประจำการจำนวน 6 ลำ (ก่อนสั่งต่อเรือชั้น รัตนโกสินทร์) เป็นเรือสมัยใหม่ในขณะนั้น จำนวน 3 ลำ คือ ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ และ ร.ล.มกุฎฯ มีเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 3 ลำ คือ ร.ล.ท่าจีน ร.ล.ประแส และ ร.ล.ปิ่นเกล้า...มีเรือฝึก 1 ลำ คือ ร.ล.แม่กลอง...ทร.จึงได้สั่งต่อเรือสมัยใหม่และทันสมัยที่สุดใน อาเซียน คือ ชั้น ร.ล.รัตนโกสินทร์ จำนวน 2 ลำ ในราคาลำละประมาณ 1,300 ล้านบาท ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศในช่วงนั้น ก็ไม่ได้ดี....
ในสมัยช่วงปี 2534 ทร.จึงมีเรือประจำการเพิ่มเติมอีก 4 ลำ คือชั้น ร.ล.เจ้าพระยา และในปี 2538 เพิ่มเติมอีก 2 ลำ คือชั้น เรือพุทธฯ และในปี 2540 อีก 2 ลำ คือ ชั้น ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.จักรีฯ...เรือจำนวน 9 ลำ ที่เพิ่มเติม เป็นสมัยการอนุมัติสมัย พล.อ.ชาติชาย ที่เป็นผลต่อเนื่องกันมา...ทำให้ ทร. มีเรือขนาดฟริเกต รวมทั้งสิ้น 14 ลำ (ไม่นับรวมชั้น ร.ล.ท่าจีน ที่ปลดประจำการไปจำนวน 2 ลำ) กับเรือบรรทุก ฮ. จำนวน 1 ลำ...ซึ่ง รัฐบาลชาติชาย ก็ถูกรัฐประหาร ด้วยเหตุผลเดิม ๆ ของทุกครั้งที่มี...
หลังจากที่ได้รัฐบาลหลังการรัฐประหาร...ก็ไม่ได้มีการจัดหาเรือรบเพิ่มเติมอีกเลย...จนถึงรัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ก็มีเรือรบเพิ่มเติมอีก 2 ลำ คือ เรือชั้น ปัตตานี....และหลังจากนั้นก็ได้รัฐบาลหลังการรัฐประหาร ก็ไม่ได้มีการจัดหาเรือรบเพิ่มเติมอีกเลย...จนถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญที่มีการลงประชามติ...ก็ได้จัดหาเรือยกพลขึ้นบกเพิ่มเติม จำนวน 1 ลำ ซึ่งไม่ใช่เรือรบฟริเกต ครับ...เป็นข้อมูลว่า ประวัติศาสตร์การจัดหาอาวุธของกองทัพ เกี่ยวพัน กับการเมืองอย่างไรครับ....
ถ้ายังจำได้ ปี 2550 มีข่าวการลงนามจัดหา Sadral จำนวน 4 หน่วย...โดยข่าวในตอนนั้นว่าจะติดบน ชั้น ร.ล.นเรศวร จำนวน 2 ลำ ชั้น ปัตตานี จำนวน 2 ลำ...
ซึ่งถ้าชั้น ร.ล.ปัตตานี มีคุณลักษณะตามภาพนี้...ผมว่า ก็พอจะดูน่ารักขึ้นนะครับ...
งานนี้สนุกครับ เสื้อเหลืองกับเสื้อแดงจะมาประจันบานกันแล้ว สองทุ่มตรง ใครรักใครเชียร์ใครตามสบาย ผมเด็กปืน(ไม่ใช่เด็กป๋าปืน) เชียร์เสื้อเหลืองก่อนครับ
ปล.ภาพจากเว้บสยามสปอร์ตด็อทคอม^ ^
ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมว่าการตั้งกระทู้ลักษณะชวนตีแบบที่คุณ"น่าคิด"(ชอบ)ตั้งนั้น ไม่เหมาะสม แบบนี้ไม่น่าเรียกว่า"แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก"บอร์ดน่าจะติติงหรือวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าการกระทบกระเทียบเปรียบเปรย หรือด่าเขาเอามัน คนในบอร์ดนี้ ที่แวะเวียนเข้ามาออกความเห็น มีทั้งคนในกองทัพ และที่เรียกตัวเองว่านักรบหน้าคอม ความจริงเป็นเรื่องมีประโยชน์สำหรับทุกคนที่อ่านนะครับ
บางครั้งการจัดหาอาวุธของกองทัพ ก็ต้องเป็นไปตามนโยบาย และคำสั่งของรัฐบาล ไม่เช่นนั้น ทร.คงไม่มีเรือฟริเกต เรือน้ำมัน จากจีน เพราะถ้าถามคนในทร.ก็คงอยากได้เรือจากยุโรปมากกว่า รวมทั้งเรือ OPV ชั้นปัตตานี การคัดเลือกครั้งแรกก็เป็นแบบจากเนเธอร์แลนด์(schelde) ต้องไปสืบดูเองว่าว่าใครเป็น รมว.กห.ในขณะนั้น และให้นโยบายอย่างไร เพราะอะไรที่เรือจักรีตอนแรกเป็นเรือบรรทุก ฮ.แท้ๆแบบของBremer Vulkan (เยอรมัน) เมื่อมีปัญหา Export Licence จึงกลายเป็นเรือบรรทุก บ.จากเสปน
เรื่องงบประมาณไม่พอเพียงก็มิใช่เรื่องที่ใช้อ้างเพื่อแก้ตัว กองทัพความจริงก็มีระดับการพัฒนาเท่าๆกับประเทศ ลองดูระดับการพัฒนาของไทยเวลานี้เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ และมาเลเซียดูก็ได้ครับ ว่าไทยต่ำลงกว่าเดิมหรือเปล่า ถ้าไทยต่ำลงทั้งประเทศ แล้วกองทัพพัฒนามากกว่าสองประเทศนั่นสิจึงจะแปลก
ปีงป.๕๓ การพัฒนากองทัพไทยจะยิ่งดิ่งลงไปอีก เพราะไม่มี งป.ในการพัฒนาเริ่มใหม่เลย จะให้จัดหาเรืออะไรไปเทียบกับมาเลเซีย จะซ่อมเรือให้ดีเท่าเดิมยังยาก การพัฒนาการบริหารจัดการให้ดีขึ้นแค่ใหนแต่ไม่มีเงินซื้ออาวุธ ก็คงไม่มีทางเจริญกว่านี้ครับ มีทางเดียวคงต้องปลดคนไปสักครึ่งกองทัพเพื่อเอาเงินมาซื้ออาวุธ
เวลาตั้งกระทู้ก็ขอให้ช่วยคำนึงถึงใจของคนในกองทัพที่เข้ามาอ่านด้วยครับ ขอบคุณครับ
ขอบอกตามตรงนะครับว่าผมไม่ได้มีความรู้เรื่องเรือรบเลย(จริ๊งๆ)
แต่ตั้งแต่เห็นหัวกระทู้ก็พอเดาได้แล้วครับ "เอาละเว้ยงานนี้กระทู้นี้HOT และยาวแน่ๆ" (ฮา)
ผมขอให้เรทกระทู้นี้คือ เรือรบ+สาวๆ+3จว.ชายแดน+ฟุตบอล+ออกทะเล 555 คุ้มค่ามีสาระจริงๆ
ผมเข้าใจนะครับว่าท่านน่าคิดไม่ได้มีเจตนาที่จะสบประมาทหรือว่าอะไรกองทัพประเทศเราหรอกครับ แต่เขาคงแค่จะอยากเตือน ว่าตอนนี้เพื่อนบ้านไปถึงไหนแล้ว แล้วลองย้อนกลับมามองกองทัพตัวเองก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า เวลารบจริงๆจะเสียเปรียบเค้า
แต่ผมก็ไม่ได้สนับสนุนที่จะให้ตั้งหัวกระทู้ในลักษณะ"ดูหมิ่น ดูแคลน"กองทัพประเทศตนเองนะครับ เพราะผมคิดว่ามันเป็นการผิดกฏกติกาของเว็บบอร์ดนี้ตั้งแต่หัวข้อกระทู้แล้วครับ เห็นหลายๆความคิดเห็นแล้ว อยากจะลบเสียจริงๆ เพราะผิดกติกาชัดๆจะๆ
ถ้ากระทู้นี้ตั้งว่าOPVของมาเลเซีย เรื่องมันก็จบไปตั้งนานแล้วครับ ที่เรื่องไม่จบก็เพราะมีการ ยกคำว่า"เหนือกว่า"มานี่แหละครับ เรื่องมันเลยลามปาม จนท่านๆแอ็ดมินต้องสรรหาเรื่องมาพากระทู้นี้ให้ออกไปนอกมหาสมุทรโน่น
อย่าลืมกันสิครับว่าเว็บบอร์ดนี้ตั้งมาเพื่ออะไร?
เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีทางทหารไม่ใช่เหรอครับ? ไม่ใช่สร้างมาเพื่อด่าประเทศตนเอง ประเทศเพื่อนบ้าน ด่าว่าคนนู้นไม่ดี ด่าว่าสมาชิก ด่าว่าทำไมไม่ซื้อ ทำไมไม่มี ทำไมๆและทำไม ลืมแล้วเหรอครับว่าคราวที่แล้วทำไมเว็บถึงเกือบโดนปิด
เวลาตั้งกระทู้ก็ขอให้ช่วยคำนึงถึงใจของคนในกองทัพที่เข้ามาอ่านด้วยครับ ขอบคุณครับ
โดยคุณ : โย่ง
คำพูดนี้ของท่านโย่งนี่โดนมากๆครับ เวลาเราจะโพสความเห็นอะไรนี่ ก็ควรดูก่อนนะครับว่า"อะไรควรไม่ควร" เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง มีอะไรในใจลึกๆถ้ามันไม่สมควรก็อย่าพิมพ์ออกมาเลยครับ
อย่าลืมนะครับเมื่อคุณคลิกOKไปแล้วความเห็นของคุณไม่ได้มีแต่คุณเห็น แต่ทุกคนบนโลกสามารถอ่านมันได้ และมันย่อมส่งผลกระทบต่อคนอื่นด้วย
ก็แค่มาแนะนำครับ อย่าเห็นว่าเป็นการติติงบุคคคล หรือด่าใครเลยนะครับ ผมก็แค่มาพูดตามเหตุผลอันสมควร หากเห็นว่ารกกระทู้เปล่าๆก็เชิญลบทิ้งเลยครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
เรือดำน้ำคืออาวุธที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถทำลาย ก่อกวน เล็ดลอด ถึงแม้จะถูกไล่ล่า แต่ฝ่ายไล่ล่าก็ต้องทุ่มทั้งกำลังคน กำลังเงิน อย่างสูงเพื่อทำลายเรือดำน้ำลำเดียว ซึ่งเรื่องนี้มีให้เห็นเป็นบทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่สอง
ถึงแม้เรือดำน้ำจะเป็นอาวุธเชิงรุกที่กองทัพเรือยังไม่สามารถจัดหาเข้าประจำการได้ แต่อาวุธเชิงรับ ก็น่าจะจัดให้เหมาะสมกับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่
คุณจูลดาสครับ ผมมีมุมมองกับเรือชุดปัตตานีดังนี้ครับ
1.ขีดความสามารถเรือยังไม่สามารถตรวจการได้ทั้ง 3 มิติ
2.อำนาจการยิงในขณะนี้ยังเป็นรอง เรือหลวงชลบุรี ซึ่งเป็นเรือโจมตีปืน จริงอยู่ที่ปืนบนเรือหลวงชลบุรีเป็นรุ่นเก่ายิงได้แค่ 85 นัด/นาที แต่อย่าลืม มีสองกระบอกนะครับ ประกอบกับปืน 40 ม.ม.อีก
3.ถึงภาพประกอบในแนวทางของคุณจูลดาส จะเป็นจริงขีดความสามารถในการค้นหาเรือดำน้ำก็ยังสู้เรือหลวงล่องลมไม่ได้
ว่าแต่คุณจูลดาสลืมติดตั้ง SSM ให้กับเรือด้วยรึเปล่า
ตอบท่าน น่าคิด...
สเปคตามรูปของ เรือชั้น ปัตตานี ที่ผมนำเสนอนั้น...จะเป็นสเปค ใกล้เคียง กับ โอลิเวอร์ ฮารด์ซาส์ด ของ ทร.สหรัฐ ในปัจจุบันครับ..นั่นคือ ปัจจุบัน ทร.สหรัฐ ใช้ภาระกิจ SSM จาก SH-60B โดยใช้ เพนกวิน มิสไซส์...ซึ่งความเข้าใจของผม...OPV ของ สหรัฐ ก็คือ โอลิเวอร์ ฮาร์ดซาส์ด...สหรัฐ จึงถอน ระบบยิงจรวด SM-1 และ ฮาร์พูน ออกไป....และมีการปรับปรุงระบบเดินเรือ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย...
ในเมื่อภาระกิจของ ชั้น ปัตตานี คือ ลาดตระเวณไกลฝั่ง...
ระบบอาวุธ SSM ของ 511 ก็น่าจะเป็น Super Lynx ติด ซีสกัว...น่าจะเพียงพอ...เพราะเท่าที่ดูระบบเรดาร์ตรวจจับของชั้น ปัตตานี เป็นระบบเรดาร์ที่ ทร.ฝั่งยุโรป ใช้มีความสามารถไม่เบา....
เช่นเดียวกับ...OPV ของ มาเลเซีย ที่ใช้ภาระกิจการต่อต้านเรือผิวน้ำ โดยใช้ Super Lynx ติด ซีสกัว โดยยังไม่มีการติดตั้งระบบ SSM บนตัวเรือ....
ซึ่งเมื่อเทียบระหว่าง OPV ของ มาเลเซีย กับ ชั้น ปัตตานี จุดที่รองรับภาระกิจ ที่ด้อยกว่า ก็มีในเรื่องเดียว ระบบโซนาร์ ตามที่ท่าน น่าคิด ว่าไว้...ซึ่ง OPV ในปัจจุบันของ มาเลเซีย มีการติดตั้งระบบโซนาร์ แต่ยังไม่ติดตั้งแท่นยิงตอร์ปิโด...น่าจะเนื่องจาก ภาระกิจ ใต้น้ำ ในความเห็นส่วนตัว...ทร.มาเลเซีย น่าจะมอบภาระกิจให้กับ เรือดำน้ำ โดยเฉพาะ... OPV น่าจะเป็นผู้ชี้เป้า หรือ ช่วยสนับสนุนการค้นหา...หรือไม่ OPV ในปัจจุบันของ มาเลเซีย ที่ติดระบบโซนาร์ ก็จะใช้ภาระกิจใต้น้ำ ในส่วนของการตรวจจับทุ่นระเบิดในเบื้องต้น หรือ เรือดำน้ำจิ๋ว ที่ลักลอบขนยาเสพติดแบบโคลัมเบีย...ยังไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลัก ในการปราบเรือดำน้ำ...
ซึ่ง OPV ที่มีภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำ จะเป็นโครงการ 2 ต่อจาก OPV ชุดแรก ประจำการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว...
แต่ในขณะเดียวกัน ทร. ก็มีประจำการเรือชั้น คำรณสินธ์ ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ระบบโซนาร์ เทียบเท่าเรือฟริเกต...ซึ่งเมื่อดู ๆ แล้ว เรือชั้น คำรณสินธ์ ก็เกือบ ๆ จะเป็นเรือ OPV แล้ว เพียงแต่ระวางขับน้ำ อาจจะยังไม่ถึง และไม่มีลานจอด ฮ.
ตามรูปที่ผมนำเสนอ
ภาระกิจ ลาดตระเวณไกลฝั่ง
ค้นหาและช่วยเหลือ
ฮ.ซุปเปอร์ ลิงค์
ต่อต้านภัยผิวน้ำ
ปืนเรือ 76 ม.ม.
ปืนเรือ 20 ม.ม.
ฮ.ซุปเปอร์ ลิงค์ ติด ซี สกัว มิสไซส์
ต่อต้านภัยทางอากาศ
ปืนเรือ 76 ม.ม.
ซาดรัล/มิสทรัล มิสไซด์
ต่อต้านภัยจากอาวุธนำวิถี
ปืนเรือ 76 ม.ม.
ซาดรัล/มิสทรัล มิสไซด์
ต่อต้านภัยใต้น้ำ หรือ ลักลอบขนย้ายสิ่งผิดกฎหมายใต้น้ำ
ยังไม่มี
ช่วยให้ความเห็นท่าน Nine...ในส่วนของคำถามแรก...ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน คงต้องให้ท่านผู้รู้ช่วยตอบให้...ในส่วนของคำถามข้อที่ 2 และ 3...ผมก็ไม่ทราบอีกเช่นกัน...เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ ก็อาศัยอ่านตามที่เปิดเผยโดยทั่วไป...
แต่คิดว่า...ถ้าแหล่งน้ำมัน ในน่านน้ำทับซ้อน ระหว่าง ไทย กับ กัมพูชา มีการตกลงผลประโยชน์ลงตัว และมีความร่วมมือด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย...การจัดวางกำลังทางเรือของไทย ก็คงเปลี่ยนแปลงแน่ ๆ....
และในขณะเดียวกัน ถ้าแหล่งน้ำมัน ในน่านน้ำทับซ้อน ระหว่าง ไทย กับ กัมพูชา ผลประโยชน์ไม่ลงตัว และมีการ แทรกแซง ทางการทหารของประเทศที่ 3 การจัดวางกำลังทางเรือของไทย ก็คงเปลี่ยนแปลงแน่ ๆ....
แต่ถ้าผลประโยชน์ทางทะเล ยังคงสภาพเหมือนปัจจุบัน และไม่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ๆ....เรื่องความต้องการกำลังทางเรือของไทย...ผมก็คงต้องใช้ข้อมูล ตามที่เคยมีการปรากฎของข้อมูล คือ ขนาดเรือฟริเกต ประมาณ 20 ลำ ( OPV ก็เป็นขนาดเรือฟริเกตเหมือนกัน )
เพิ่มเติมข้อความ เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น (รึเปล่า ไม่รุ๊)
" แต่คิดว่า...ถ้าแหล่งน้ำมัน ในน่านน้ำทับซ้อน ระหว่าง ไทย กับ กัมพูชา มีการตกลงผลประโยชน์ลงตัว และมีความร่วมมือด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย...การจัดวางกำลังทางเรือของไทย ก็คงเปลี่ยนแปลงแน่ ๆ....ในลักษณะหนึ่ง
และในขณะเดียวกัน ถ้าแหล่งน้ำมัน ในน่านน้ำทับซ้อน ระหว่าง ไทย กับ กัมพูชา ผลประโยชน์ไม่ลงตัว และมีการ แทรกแซง ทางการทหารของประเทศที่ 3 การจัดวางกำลังทางเรือของไทย ก็คงเปลี่ยนแปลงแน่ ๆ....ในอีกลักษณะหนึ่ง "
ตอบท่าน Nine ครับ...อันนั้น เป็นความคิดเห็น และความเข้าใจเป็นส่วนตัวครับ...ในลักษณะข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร...อันนี้ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ....
ขั้นแรก คงต้องเข้าใจว่า 511 ในภาระกิจ เรือลาดตระเวณตรวจการณ์...โดยภาระกิจ ก็คือ ณ เวลาปัจจุบัน เราไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้น...เมื่อตรวจการณ์พบ ณ เวลาปัจจุบัน คุณลักษณะเรือก็ควรต้องสามารถต่อต้านภัยคุกคาม หรือรักษากฎหมายเฉพาะหน้าได้ ครับ...ซึ่ง ณ เวลาปัจจุบันนี้ ยังไม่มีภาวะที่จะเกิดสงคราม โดยคุณลักษณะปัจจุบันของภัยคุกคามทางทะเล คุณลักษณะของเรือขณะนี้ ก็คงเพียงพอ...
แต่สมมติว่า เริ่มที่จะเกิดความระหองระแหง กับเพื่อนบ้าน...แต่ยังไม่ถึงกับว่าจะเกิดภาวะสงครามเต็มรูปแบบ...
511 อาจจะประจำการด้วย ฮ.ติดอาวุธนำวิถี สำหรับเผื่อภาระกิจ ไว้ก่อนก็ได้...(เผื่อไว้ ไม่เสียหาย)
เดี๋ยวค่อยมาต่อนะครับ...ไปกินข้าวก่อน....
เรื่องประสิทธิภาพ ของกองเรือ...ในปัจจุบัน ก็คงมีประสิทธิภาพเพียงพอ ครับ...
อันนี้ เป็นข้อคิดเห็น ตามความเข้าใจของผมนะครับ...
การมีอาวุธประจำการ จำนวนเท่าไหร่ นั้น...หมายถึงว่า เราคงสภาพความพร้อมรบอย่างไรครับ....เช่น มีเรือประจำการอยู่จำนวน 100 ลำ ก็ไม่ได้หมายความว่า เรือทั้ง 100 ลำ จะมีความพร้อมรบ ครบ 100 ลำ ตลอด 24 ช.ม. นะครับ...
สภาพความพร้อมรบ สมมติ มีอยู่ 60% ก็หมายความ จะมีเรือจำนวน 60 ลำ ที่พร้อมปฏิบัติภาระกิจ เมื่อเกิดสงคราม ณ เวลาปัจจุบัน...และ เรือจำนวน 60 ลำ ดังกล่าวนั้น ก็หมายถึงว่า ครอบคลุมและเพียงพอสำหรับภัยคุกคามทางทะเล แล้ว...
ส่วนอีก 40% ที่เหลือ คือ อีก 40 ลำ ก็คือ เรือที่ต้องเตรียมสภาพพร้อมรบหลังจากที่เรือ 60 ลำแรก ทำสงครามและเกิดความสูญเสีย เรือที่เหลือ ก็จะเข้าปฏิบัติภาระกิจแทนเรือที่สูญเสียอย่างต่อเนื่องทันที จนกว่าสงครามจะยุติ...
เช่นเดียวกัน สมมติว่า ความต้องการเรือรบเต็มรูปแบบ ของ ทร. คือ 20 ลำ คงสภาพความพร้อมรบ 60% คือ 12 ลำ...เรือจำนวน 12 ลำ ก็จะเพียงพอสำหรับภัยคุกคามปัจจุบัน...และเมื่อเกิดสงคราม เกิดความสูญเสีย ทร. ก็จะยังมีเรืออีก 8 ลำ ที่สามารถจะเข้าทดแทนเรือที่สูญเสีย เพื่อไม่ให้เสียยุทธการ...และสามารถยืดเยื้อจนกว่า สงครามจะยุติ....
และจากข้างต้น สมมติ ทร.มีเรือรบเต็มรูปแบบ จำนวน 12 ลำ พอดีเป๊ะ...ซึ่งคลอบคลุมเพียงพอกับภัยคุกคาม และเพียงพอกับยุทธการ...
แต่เมื่อ เกิดสงครามและเกิดความสูญเสีย...ทร. จะไม่มีเรือที่จะสามารถเข้าทดแทนเรือที่สูญเสียนั้นได้อีก...ดังนั้น ยุทธการของสงคราม ก็จะต้องไม่ยืดเยื้อ...เพราะยืดเยื้อ และเกิดความสูญเสียไปเรื่อย อาจจะส่งผลต่อ ยุทธการ หรือ อาจจะสูญเสียจำนวนมากในช่วงแรกของสงคราม เนื่องจากคาดการณ์ประสิทธิภาพฝ่ายตรงข้ามผิด...จะทำให้ ทร. ไม่มีโอกาสแก้ตัวได้อีก และอาจจะทำให้พ่ายแพ้ต่อสงครามได้...
ดังนั้น ผมจึงคิดว่า มันก็ยากที่จะบอกว่า จำนวนเท่าใดถึงจะพอ...แต่ในเบื้องต้น มันก็ควรจะมีจำนวนตามที่ ยุทธการของกองทัพ กำหนดไว้ให้ได้ก่อน...มันถึงจะหาจุดลงตัวได้ว่า ควรจะเพิ่ม หรือ ลด...
เพราะถ้า เรา สามารถมีได้ครบตามที่ เรา กำหนดไว้แล้ว...ฝ่ายตรงข้าม ก็ย่อมจะประเมินว่า เราสามารถรบได้ตามแผน ยุทธการ ที่วางไว้...ฝ่ายตรงข้าม ก็จะต้องปรับสภาพกองทัพ เพื่อเตรียมรับมือ...และการที่เขาจะปรับสภาพได้เพียงใด ขนาดไหน...มันก็จะตอบโจทย์เอง ว่า เรา มี มากเกินไป หรือ ยังต้องการเพิ่มอีกนิ๊ดดดดดดด...นึง....
เรือรบปัตตานี ที่ ทร ออกแบบเองและจ้าง ประเทศจีน ต่อ ถือเป็น สุดยอดแล้วครับ ผู้ตั้งกระทู้ เนื่องจาก เราใช้ งบประมาณเพียง 3400 ล้าน บาทต่อ OPV ได้สองลำ สามารถ บรรทุก ฮ. ไปกับเรือได้ และมีระบบอาวุธและอำนวยการรบที่ดีพอสมควร โดยระบบอาวุธนำวิถีต่างๆ เราสามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ และเราสามารถซ่อมบำรุงเรือได้เองทั้งหมดถ้าเทียบประสิทธิภาพการลงทุน กับชิ้นงานที่ได้มา ผมขอยืนยันว่า กองทัพเรือไทย ดีกว่ามาเลเซียครับ และในอนาคตเราจะต่อ OPV ในประเทศไทยด้วย แสดงว่าอุตสาหกรรมต่อเรือในไทย ไม่ธรรมดา ครับ เนื่องจาก มาเลเซียต้องใช้เงินมากกว่า ไทยถึง 3-4 เท่าแต่ได้ชิ้นงานเท่ากันและประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมาก สุดท้ายผมขอ บอกกับทุกท่านว่า ประเทศไทยของเรา มีน้ำมันเท่ากับ มาเลเซียครับ หรืออาจมากกว่าด้วยซ้ำเพราะ เรามีแหลงผลิตน้ำมันทั้งบนบกและในทะเล อ่าวไทย เกือบ 50 แหล่ง ในอ่าวไทยที่เป็น บ่อก็าซธรรมชาติ ถ้าขุดลึกลงไปจะเป็นน้ำมันครับเพราะน้ำมันเมื่อถูกบ่มเพาะนานๆจะกลายเป็นก็าซครับ และอยากบอกว่าในภาคอีสานจังหวัดไหน พบกระดูกไดโนเสาร์ พื้นที่นั้นมีน้ำมันแน่นอนครับ เราผลิตน้ำมันดิบได้ในประเทศไทย 190000 บาเรล(1 บาเรลเท่ากับ 159 ลิตร) สรุปเราสามารถผลิตน้ำมันจากแหล่งในประเทศรวมน้ำมันทุกชนิต 30 ล้านลิตรต่อวัน อันที่จริง ปตท ส่งออกน้ำมันในประเทศไปขายครับ ประเทศไทยถ้าเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันในประเทศ ไทยไม่ต้องนำเข้าน้ำมันสักหยดเดียวครับ เราจะขายน้ำมัน เบนซินลิตรละ 8 บาท ยังทำได้เลยครับ ผมสงสัยว่าน้ำมันทั้งหมดที่ขายในเมืองไทย คือน้ำมันที่ผลิตได้เองในประเทศแต่ ปตท ขายในราคาที่หลอกประชาชนว่าต้องนำเข้าจากสิงคโปร์ เพราะโรงกลั่นน้ำมันในประเทศทั้งหมดเป็นของ ปตท ครับ ปตท ถึงมีรายได้ ถึงปีละ 2 ล้านๆบาทจากทุกรายได้ แต่คนไทยใช้น้ำมันแพงกว่าประเทศที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันเองได้ อย่างสิงคโปร์
ขอเพิ่มเติมอีกหน่อยครับ ไม่ต้องห่วงเรื่อง เรือของมาเลเซียที่ออกแบบให้มีหน้าตัดเรด้าลดลงหลอกครับ เพราะ เรือผิวน้ำที่ต่อด้วยเหล็ก ยังไงเรด้าตรวจการผิวน้ำที่มีกำลังส่งสูงและมีความไวในการรับสัญญาณได้ดี (เรด้ารุ่นใหม่ทั้งหลายนั้นแหละ) ตรวจจับได้อยู่แล้ว เราไม่ต้องห่วงเลย ที่น่ากลัวจริงๆ คือเรือดำน้ำมาเลเซียต่างหาก เพราะตรวจจับได้ยากมาก อันที่จริง ผมอยากให้ ทร ฝังไมโครโฟน เซ็นเซอร์ ทั้งบริเวณอ่าวไทย และอันดามันจะดีกว่าครับ ตรวจจับได้แน่นอน
คุยกันด้วยเรื่องอาวุธหรือการทหารอย่างเดียวแบบนี้
ผมของสนับสนุนเต็มที่ครับ^^
เรือชั้น Nakhoda Ragam ของบรูไนนั้นต่อโดย BAE System โดยใช้แบบแผนเรือฟริเกตแบบ F2000 ซึ่งเป็นแบบแผนเดียวกับที่ใช้กับเรือชั้น Lekiu ของมาเลเซียครับ แต่เรือของบรูไนเป็นแบบย่อส่วน
ซึ่งว่าไปแล้วเรือชั้น Diponegoro ของอินโดนีเซียและชั้น Nakhoda Ragam ของบรูไน จะดูเป็นเรือรบหลักมากกว่า เรือชั้น Kedah ของมาเลเซียและชั้นปัตตานีของไทยครับ เพราะติดระบบอาวุธเต็มเท่ากับเรือรบหลักมากกว่า OPV ถ้าดูจากข้อกำหนดของภารกิจ
สำหรับโครงการต่อเรือ ตกก.ใหม่ของไทยนั้นบริษัทอู่กรุงเทพจะเป็นผู้ต่อเรือ ตกก.ชุดนี้ โดยมีการลงนามใช้แบบเรือของบริษัท BVT Surface Fleet ในงบประมาณราว 1,700ล้านบาท
ซึ่ง BVT Surface Fleet เป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง BAE Systems กับ Vosper Thornycroft Group โดยถือหุ้นอย่างละครึ่งครับ
ซึ่งแบบเรือที่ตามข่าวว่าจะใช้ของบริษัท BVT นำมาเป็นแบบนั้น ก็ยังไม่ทราบครับว่าจะเป็นแบบเรือของ Vosper เดิมซึ่งไทยเคยต่อเรือโดยใช้แบบจากบริษัทนี้มาบาง เช่นเรือตรวจการปราบเรือดำน้ำชุด ร.ล.คำรณสินธุ์ หรือแบบของ BAE เช่น Nakhoda Ragam
แต่ราคาตัวเรือ1ลำนั้นอยู่ที่ราว $50 Million ซึ่งใกล้เคียงกับการต่อเรือชั้นปัตตานีครับ
ขอแสดงความเห็น เรื่อง บ.ไอพ่นโจมตีทางทะเล ของท่าน Nine....
ในความเห็นผม...ถ้า Data Link มัน Link ได้จริง ๆ ระหว่าง กองทัพเรือ กับ กองทัพอากาศ และสามารถใช้อย่างหวังผลได้ ตามโฆษณาของ Saab...ผมก็คิดว่า กองทัพเรือ ก็ไม่จำเป็นต้องมี บ.ไอพ่นโจมตีทางทะเล...ครับ
คราวนี้ ก็ต้องลองมานั่งคำนวณดูว่า...งบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายในการ ติดตั้งระบบ Link ประสานกับ กองทัพอากาศ...จะต้องใช้เท่าไหร่ เพียงใด...
และในขณะนั้น กองทัพอากาศ สามารถที่จะมี บ. รองรับปฏิบัติทางทะเล ได้ขนาดไหน....ถ้า สถานะภาพงบประมาณ ทร. ยังไม่สามารถมีเรือรบต่อต้านภัยทางอากาศ ประจำการได้....
โดย สมมติ ว่า ทอ. ยังไม่สามารถจัดหา บข. 20 มาเพิ่มเติมให้ครบฝูงได้ ในระยะ 10 ปี...เพราะต้องงบประมาณ 1,000 ล้านเหรียญ และ ทร. ไม่สามารถจัดหาเรือรบใหม่ได้ เช่นกัน...เพราะต้องใช้งบประมาณ 500 ล้านเหรียญ....แต่ในขณะนั้น...มีการขาย F/A-18 D มือสอง ที่มีอายุใช้งานเหลืออยู่ 15 ปี...ในราคาลำละ 10 ล้านเหรียญ...
ในความเห็นผม...ทร. ก็น่าจะจัดหามาประจำการ จำนวน 6 ลำ โดยใช้งบประมาณ 60 ล้านเหรียญ...รวมออฟชั่นอาวุธ อากาศ สู่ อากาศ ทั้งระยะใกล้ และระยะปานกลาง, อาวุธ อากาศ สู่ พื้น และปรับปรุงระบบ บ. ให้ประสานกับกองเรือ อีก 40 ล้านเหรียญ รวมเป็น 100 ล้านเหรียญ...เพื่ออุดช่องว่าง ในด้านต่อต้านภัยทางอากาศทางทะเล...และสามารถ เพิ่มความสามารถต่อต้านเรือผิวน้ำ ได้อีกทางหนึ่ง....
ตามความเห็นผมข้างบน...ถ้าคำนวณการคิดค่าเสื่อมราคา ในการจัดหาอาวุธประจำการ
ทอ. จัดหา บข.20 จำนวน 6 ลำ ในราคา 500 ล้านเหรียญ มีอายุใช้งาน 40 ปี ก็เท่ากับ ทอ.มีค่าใช้จ่ายในการป้องกันน่านฟ้า ปีละ 12.50 ล้านเหรียญ
ทร. จัดหา เรือป้องภัยทางอากาศ จำนวน 2 ลำ มูลค่า 500 ล้านเหรียญ มีอายุใช้งาน 50 ปี ก็เท่ากับ ทร. มีค่าใช้จ่ายในการป้องกันน่านน้ำ ปีละ 10 ล้านเหรียญ
ถ้า ทร. จัดหา F/A-18 D จำนวน 6 ลำ สมมติ ตามที่ให้ความเห็น รวมมูลค่า 100 ล้านเหรียญ มีอายุใช้งาน 15 ปี ก็เท่ากับ ทร. มีค่าใช้จ่ายในการป้องกันน่านน้ำ โดยทางอากาศ ปีละ 6.67 ล้านเหรียญ....
ก็คือ ไม่ว่าจะจัดหาในรูปแบบใด มันก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น...เพียงแต่ ณ ขณะนั้น งบประมาณ มีเพียงพอที่จะจัดหาอาวุธ เพื่อมาอุดช่องว่าง (ถ้าคิดว่า เป็น) ได้ขนาดไหน...ก็ต้องหาวิธีเลือกใช้งบประมาณ ครับ...
กระทู้นี้ กำลังจะกลายพันธุ์ เป็นกระทู้ระหว่าง เรา 2 คน ซะแร๊วววว...5 5 5 5
สำหรับ F-35 ของ ทร. น่าจะหมดสิทธิ์โดยสิ้นเชิง...ซึ่งถ้าระบบ Data Link ระหว่างทั้ง 3 เหล่าทัพเป็นจริง...ผมว่า ทร. ก็ไม่จำเป็นต้องมี บ.ขับไล่ไอพ่น สมรรถนะสูง..ประจำการ...และด้วยวิธีการหางบประมาณจัดซื้ออาวุธในปัจจุบัน ก็ปิดโอกาสโดยสิ้นเชิง ด้วยครับ....
ปัจจุบัน กองทัพไทย ได้ทำลาย แผนพัฒนากองทัพ 9 ปี ออกไปซะแล้ว....ซึ่งแต่เดิม ผมมีความเข้าใจ รัฐบาลก่อนหน้านี้ ปี 49 ที่ให้จัดทำแผนพัฒนากองทัพ 9 ปี...ก็เพื่อนำงบประมาณการจัดซื้ออาวุธ เชื่อมเข้ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ...จึงมีการนำการจัดซื้ออาวุธ มาอิงกับการแลกเปลี่ยนผลิตผลของประเทศ...(คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่มีการนำเอาการพัฒนากองทัพ เข้าไปร่วมแบบเนียน ๆ)
ดังนั้น ปัจจุบัน งบประมาณการจัดหาอาวุธในขณะนี้ จึงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ณ เวลานั้น ๆ...คือ คอยดูภาวะเศรษฐกิจก่อน แล้วค่อยของบจัดหา...จากแต่เดิม แผน 9 ปี...วางแผนจัดหาก่อน แล้วต้องหางบมาจัดซื้อตามแผน...
ส่วน Herrier โอกาส ผมว่าก็น่าจะเป็นไปตามที่ท่าน AAG_th1 เคยให้ความเห็นไว้ว่า...ปัจจุบัน ประเทศที่มีประจำการอยู่ ก็ไม่ค่อยพอใช้...โอกาส บ. มือสอง ระหว่าง F/A-18 กับ Herrier ดูแล้ว F/A-18 จะมีโอกาส มากกว่า...(เช่น ออสเตรเลีย เป็นต้น เมื่อมีการนำ F/A-18 E/F เข้าประจำการ)
ส่วน 911 ผมว่า งบประมาณติดตั้ง VLS สัก 1 ระบบ ก็มีอายุอยู่ได้จน 911 ปลดประจำการ น่าจะถูกกว่า จัดหา บ.ขับไล่ มือ 1 เช่น F-35 (สมมติว่า สามารถประจำการบนเรือได้)...และ data link กับ บข.20 (ที่มีประจำครบฝูง) ก็น่ากลัวเพียงพอครับ...ในความเห็นส่วนตัว...แต่ถ้าติดขัดด้วยงบประมาณยังไง ๆ ก็ไม่สามารถซื้อ VLS ได้....แต่สามารถจัดหา Herrier มาได้ในราคาถูกจริง ๆ ก็คงต้องใช้ตัวเลือกนี้ เหมือนกัน....
ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ ครับ....คิดเล่นสนุก ๆ ครับ....
ตาราง OPV ของ อาเซียน
จากตารางของ ท่าน juldas
คงตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีเลยครับ เหอะๆ
ก็หวังว่าในอนาคต ทร.คงจะอัพ เรือชุดนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มระดับการรองรับกับภัยคุกคามที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
แต่ผมกลับเป็นห่วงเรื่อง โครงสร้างของตัวเรือเองมากกว่าประสิทธิภาพที่สามารถ อัพได้ในอนาคตครับ
ขอบคุณท่าน juldas มากครับ
ปล.ผมติดตามอ่านกระทู้นี้ตลอดนะครับเพียงแต่ ช่วงหลังมิได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมครับ เดี๋ยวทั้งสองท่านจะน้อยใจ ^ ^
ข้อมูลของระบบ Mistral Tetral
www.mbda-systems.com/mbda/site/docs.../pdf07_tetral.pdf
ขนาดย่อมกว่า sadral แต่ใหญ่กว่า simbad
น่าสนดีเหมือนกันน้อ...
เห็นตารางแล้วเข้าใจแล้วใช่ไม๊ครับว่าทำไมผมจั่วหัวแบบนี้
ขอแก้ตัวระบบ tetral
http://www.mbda-systems.com/mbda/site/docs_wsw/fichiers_communs/docs/pdf07_tetral.pdf
ถ้าเทียบทั้ง 4 แบบ กับ ราคา แล้ว...ผมว่า ของ ทร.อินโดนีเซีย น่าสนใจที่สุดครับ...และดู ๆ แล้ว ก็เหมาะสมกับประเทศไทยดีครับ...เมื่อเทียบกับเขตน่านน้ำแล้ว ผมดู ๆ ก็ไม่น่าจำเป็นต้องมีโรงเก็บ ฮ. ครับ...เพราะเมื่อดูราคา จาก ฐานบินจากฝั่ง ถึง เขตทะเล ไม่น่าจะใช้เวลามาก...เราในภาระกิจปัจจุบัน OPV ของเราก็คงไม่ได้ออกไปทะเลลึก เขตน่านน้ำสากล ขนาดนั้น...
ราคาของ ชั้น ปัตตานี ดูราคาถูกก็จริง แต่เป็นแค่ ราคาตัวเรือ กับ ระบบเรดาร์ กับอาวุธพื้นฐาน...
สมมติถ้า ชั้น ปัตตานี ติดตั้งระบบ ซาดรัล...ติดตั้ง ระบบอาวุธ SSM และในส่วนของ Integrated Platform Management ผมก็ไม่แน่ใจว่า ปัจจุบัน ทร. ได้ติดตั้งในชั้น ปัตตานี รึยัง ? และถ้าติดตั้งระบบโซนาร์ และระบบยิงตอร์ปิโด เพิ่มเข้าไป เพื่อให้สมรรถนะ เทียบเท่ากับ เรือของ ทร. อินโดนีเซีย....
ผมว่า มูลค่าการติดตั้ง อาจจะมากกว่า ราคาตัวเรือ ถ้าจำไม่ผิด ระบบ ซาดรัล น่าจะอยู่ระบบละประมาณ 25-30 ล้านเหรียญ (ตามข่าวที่เคยปรากฎ...แต่ขอตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งครับ) ผมว่า เมื่อรวม ๆ การติดตั้งระบบเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สมรรถนะเทียบเท่า ของ ทร.อินโดฯ ต้นทุนต่อลำ อาจจะร่วม 120 ล้านเหรียญ...แต่ เราจะได้ตัวเรือของ จีน แทน ไม่ใช่ของฝั่งยุโรป...
ในความเห็นส่วนตัว...ดู ๆ แล้ว เรือของ ทร.อินโดฯ ดูจะคุ้มค่า สมราคาดี ครับ...
ส่วนของ บรูไน...ดู ยังไง ๆ ก็เรือฟริเกต มากกว่า ภาระกิจ OPV และราคาต่อลำ ก็ร่วม ๆ เกือบ 500 ล้านเหรียญ ราคาเกือบได้เรือดำน้ำลำนึงเลย...ตอนนี้ ก็ประกาศขายอยู่...ประเทศไทย ก็อยู่ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ของเขาด้วยเหมือนกัน....แต่คิดว่า ประเทศไทย ไม่น่าจะซื้อ....แต่ถ้าลดราคาลงมา อยู่ประมาณ 150 - 170 ล้านเหรียญ ต่อลำ...ผมว่า ก็น่าสนใจอยู่เหมือนกันครับ...
(ปัจจุบัน ทร. สั่งต่อเรือฟริเกต ถัวเฉลี่ย ตันละ 1 ล้านบาท สมมติเรือขนาด 1,500 ตัน ก็จะใช้งบประมาณต่อลำ ประมาณ 1,500 ล้านบาท...จะมีก็แต่เรือชั้น รัตนโกสินทร์ ที่ ทร. ต่อเรือ ต้นทุนต่อตัน ตกตันละประมาณ 2 ล้านบาท....สมมติว่า ทร.ขยายงบประมาณ ออกเป็น เรือฟริเกตราคาตันละ 2 - 3 ล้านบาท ขนาดเรือของ บรูไน ที่ 1,940 ตัน จะอยู่ต้นทุนของ ทร.ไทย ประมาณลำละ 3,880 - 5,820 ล้านบาท ก็จะอยู่ในมูลค่าเงินเหรียญ ประมาณ 114 - 170 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ)
ในส่วนต้นทุนของ เรือ ทร.มาเลเซีย เป็นราคา ออฟเซต 30 % ....ในความเข้าใจของผม เรือจำนวน 4 ลำ ที่ต่อขึ้นในประเทศ มาเลเซีย คงจะใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ภายในประเทศมาเลเซีย ประมาณ 30%...ดังนั้น ต้นทุน ดอลล่าร์ ที่ฝรั่งจะได้ไป น่าจะตกอยู่ลำละประมาณ 163 - 170 ล้านเหรียญ...ส่วนที่เหลือผลต่าง ประมาณ 30 กว่าล้านเหรียญ คือ เงินที่ยังอยู่ในกิจการภายในประเทศ...ราคาต่อลำจึงน่าจะใกล้เคียงกับ อินโดนีเซีย....
ตามข้อมูลของท่าน AAG_th1 ในราคาต่อเรือที่ 1,700 ล้านบาท โดยมีวงเงินงบประมาณ 3,000 ล้านบาท...ส่วนที่เหลือน่าจะเป็นระบบอาวุธและระบบตรวจจับต่าง ๆ โดยราคาพวกระบบต่าง ๆ และอาวุธ...น่าจะใกล้เคียงกับตัวเรือ....
ส่วนเรือของ ทร.มาเลเซีย ผมว่า ถ้ามีการติดตั้ง RAM กับ ระบบ SSM ราคาต่อลำ ก็น่าจะอยู่ไม่ต่ำกว่าลำละ 300 ล้านเหรียญ ตามโครงการ...แต่ด้วย ทร.มาเลเซีย มีส่วนหนึ่งที่ประกอบโดยอุตสาหกรรมในประเทศ...ถ้าเทียบกับสกุลเงิน ที่จะต้องชำระออกให้กับประเทศต้นแบบ ราคาต่อลำ อาจจะอยู่ที่ประมาณ 250 ล้านเหรียญ...เชียว...
ซึ่งแต่เดิม โครงการเรือชั้น ปัตตานี โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว...มันก็ควรจะต่อเรือ ขึ้นในประเทศไทย และแบบเรือ ก็จะเป็นของเนเธอร์แลนด์...และ สมมติ ว่า ในโครงการเรือชั้น ปัตตานี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง....เรือ ตกก. ลำที่กำลังต่อนี้ ก็จะกลายเป็นเรือ ลำที่ 3....
แต่เนื่องด้วยทางการเมือง และอิทธิพลทางการเมืองของประเทศจีน...เราจึงได้แบบเรือชั้น ปัตตานี มา ในราคาที่สูงกว่า ครั้งแรก ที่อู่ต่อเรือประเทศจีนเสนอ...
และจากข้อมูลของท่าน AGG_th1 ที่แบบเรือ...ดูแวว...น่าจะเป็นมาจาก ฝั่งประเทศอังกฤษ....ในความเห็นส่วนตัว...ผมไม่ค่อยเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศอังกฤษ เท่าไหร่ครับ...ถ้าเทียบกับ เนเธอร์แลนด์ กับ อังกฤษ ผมว่าฝั่งประเทศ เนเธอร์แลนด์ ดูจะมีความจริงใจ และสมราคามากกว่า...
ก็คงต้องรอชมกันต่อไปครับ.....
มีส่วนไหนที่ผิดพลาด ช่วยกรุณาชี้แนะด้วยครับ...
โดยเฉพาะพวก ESM กับ ECM และ Surface Search ต่าง ๆ ที่มันจะพ่วงอยู่กับ เรดาร์หลัก....ผมจะค่อนข้าง...มั่ว...นิดหน่อยครับ...เพราะ ภาษาอังกฤษ กับ ผม...มันเป็น เอกราช ต่อกัน....ไม่ค่อยลงรอยกันเท่าไหร่ครับ...5 5 5 5 5
คราวนี้...ถึง ครา...ผมถามบ้างล่ะ...
ว่าตามที่มีลูกศร ชี้ มันคือ เรดาร์ อะไรบ้างครับ...
อย่าบอกว่า...ความลับ...ทางราชการนะครับ...
เพราะมันติด...โด่...อยู่ขนาดนั้น...มันไม่ (ลับ) แล้วครับ...
ถ้าไม่มีใครตอบ...เดี่ยว อุจจาระสะบัดปลาย...(ขี้งอน)....
สำหรับท่าน Nine อันนั้น ผมทราบครับ...
พอดี...ฝากถามท่านผู้รู้ นะครับ...เช่น พวกแอบลักหลับ..เอ๊ย...แอบดู...พวกชอบสะสม คลิ๊ป...
หรือ แบบ ว่าที่ ร.อ.(ร.น.) น่ะครับ...
ผมว่า...การที่กองทัพจะใกล้ชิดกับประชาชนนั้น...ถ้าดูจาก รูปลักษณ์ภายนอกของอาวุธต่างๆ ที่ประจำการอยู่ในกองทัพไทย...ถ้าชี้แจงได้ ว่ามันเขียนภาษาอังกฤษว่าอะไร...ผมว่า ก็ชี้แจงไปเถอะครับ...
เพราะ สมัยนี้ เทคโนโลยี่ มันสามารถอยู่ในแผ่น DVD ในแผ่นเดียวแล้วครับ...แม้แต่ ประเทศผู้ขายสินค้าให้กับประเทศไทย...ยังมีการโฆษณา...ซึ่งมันคงไม่เป็นเรื่องยากเลย...สำหรับ Lab Top ตามกระทู้ท่าน มาโคโปโร.....เว๊ปนี้มีประโยชน์...
โดยเฉพาะ ประเทศญี่ปุ่น...ผมหาหนังสือเกี่ยวกับเรือรบประเทศญี่ปุ่นมาได้มากมาย...แต่ปัญหาของผมก็คือ...ผมอ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออกสักตัว...ซึ่งประเทศที่...คาดว่า...จะเป็น ปรปักษ์ กับประเทศญี่ปุ่น ก็ไม่เกินความสามารถที่จะจ้างนักแปลหน้าละ 200 บาท มาแปลได้ครับ...
ดังนั้น...ปัจจุบัน อะไรก็ตามที่ปรากฎให้สาธารณะชน ได้เห็น....มันคือ ไม่มีความลับ...และประชาชน สามารถรับทราบข้อมูลได้โดยทั่วไป...
จึงเป็นสิ่งที่ กองทัพ ควรจะประชาสัมพันธ์ ว่า...เรามีอะไร...เพื่อประชาชน จะได้รับทราบว่า...เรามี...น้อย หรือ มาก....กว่า ภัยคุกคาม...ที่คาดว่าน่าจะเกิด....
มันจะได้ไม่มีข้อเปรียบเทียบ....ระหว่าง JAS-39 จำนวน 1 ลำ กับ งบประมาณเรียนฟรี จำนวน 1 ปี ครับ....
อ๊ะ..อ๊ะ..คำถามดักคอ ?
เผื่อมีท่านใด...สงสัยว่า...เนเธอร์แลนต์...กับ อังกฤษ มีความจริงใจ แตกต่างกันอย่างไร...
เบื้องต้น...ผมก็ตอบว่า...ท่านก็ดูว่า...เรือรบ ของ ทร.อินโดฯ กับ เรือรบ ของ ทร.บรูไร...ราคามันต่างกันอย่างไร ?
ระบบ ESM กับ ECM ของ ทร.บรูไน....เท่าที่ผมค้นหาข้อมูล เป็นระบบประมาณยุค 80 ครับ...
ผมจึงเข้าใจว่า...ทำไม...บรูไน...ถึงไม่อยากรับมอบเรือชุดนี้...เพราะ...(ความเห็นส่วนตัว)...มัน โค-ตะ-ระ แพง ครับ...
ที่เห็นเป็นระบบ Radar นำร่องสำหรับเดินเรือของ Raytheon รุ่น NSC-25ครับ
ขอบคุณครับ...ท่าน AAG_th1....
ตอบท่าน Nine ก็มาจากเว๊ปนี้แหล่ะครับ....ก่อนหน้านี้ ก็มาจากเว๊ป wing21 ผมก็อ่านอย่างเดียว ไม่รู้เรื่องเหมือนท่านเนี่ยแหล่ะครับ...แต่ก็ค่อย ๆ อ่านมาก ๆ ขึ้น ไล่เก็บหากระทู้เก่า ๆ อ่าน...ก็รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่อง...บ้าง...ก็ใช้เวลาหลายปีอยู่...ถึงพอจะร่วมแสดงความเห็นได้บ้าง...และก็จาก กูเกิ้ล...ลองหาวิธีหาข้อมูลดูครับ...
ปัจจุบัน ผมก็ไม่ได้จัดว่ารู้เรื่องอะไรหรอกครับ...ผมแค่เพียงแต่รู้ว่า มีเรืออะไรบ้าง ติดอะไรบ้าง เท่านั้นครับ กับสมรรถนะคร่าว ๆ....และก็หาซื้อหนังสือตามอินเตอร์เนต...เอามาดูรูปบ้าง...
คำตอบที่จะให้ ก็คือ ท่านลองกลับไปอ่านกระทู้เก่า ๆ หรือ Search หาจากกูเกิ้ลครับ...และอ่านเยอะ ๆ...และเว๊ปลิงค์ข้างล่าง ทั้ง thaiarm หรือ เว๊ปของท่าน AAG_th1 ก็เก็บข้อมูลข่าวสารมากมายครับ...ก็ลอง คลิ๊ก เข้าไปอ่านดูครับ...มันจะได้ช่วยลดประเด็นในเรื่องการตั้งกระทู้ ถามคำถามซ้ำ หรือขอความเห็นซ้ำ ๆ ในเว๊ปได้ด้วยครับ...
เมื่ออ่านแล้วก็ลองทำความเข้าใจกับม้น...ถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจ...ก็ลอง Search หาอีกที...น่าจะพอมีคำตอบให้ได้เกือบทุกคำถาม...กระทู้ที่ผมตั้ง ก็จะเป็นกระทู้ นำเสนอข้อมูลที่รวบรวม ค้นหามา...ซึ่งความสมบูรณ์มันก็ไม่ได้ 100% มีจุดที่ผมไม่รู้อยู่...
แต่ตรงนั้น มันได้ผ่านกระบวนการค้นหา และช่วยให้เราเข้าใจได้ในระดับหนึ่งมาแล้ว...และพอเราตั้งคำถาม และมีผู้ตอบคำถามให้เรา...ก็จะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น ครับ....
โพสต์รูปไม่ขึ้น ลองใหม่
OPV 511 Royal Thai Navy
เฉลยความในใจของการตั้งกระทู้นี้
1. นอกจากดูในเรื่องของระวางขับน้ำเรือ
2. การตรวจการณ์ 3 มิติ
3. ความเร็วเรือ
4. ราคาเรือ
ประกอบกับ บอร์ดเงียบเหงาในช่วงนี้
และเหตุที่บอร์ดนี้ขาด "กระทู้ล่อเป้า" แบบนี้มานานแล้ว
ตอนแรกผมนึกว่าผมเห็นจุดบอดคนเดียวซะอีก งานนี้ต้องขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับคุณ จูดาส ที่ขยายข้อข้องใจของหลายๆคนให้เห็นตรงกันได้
ผมอยากเห็นแค่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของเรามีขีดความสามารถในการตรวจจับได้ทั้ง 3 มิติ
ผมเคยคิดเล่นๆว่าถ้าเราขยายแบบเรือหลวงล่องลมขึ้นไปเป็น3 เท่า 1500 ตัน น่าจะเป็นเรือตรวจการไกลฝั่งที่ดีเลย ตัดแท่นยิงและรางปล่อยระเบิดลึกออกไป เพิ่มโรงเก็บ ฮ. อย่างไร มันก็แค่ความคิดเพ้อฝัน
ท่านน่าคิด...ที่ผมเสนอข้อมูลก็เป็น ผลิตผล ที่เกิดจาก ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ของผู้ตอบกระทู้...นั่นแหล่ะครับ...
ก็เพราะ จากการถกเถียง โต้แย้ง ในช่วงแรกของกระทู้....เลยทำให้เกิด ไอเดีย ในการลองรวบรวมข้อมูลของเรือแต่ละลำ...และขยายผลไปถึง เรือของ ทร.บรูไน ที่ไม่อยู่ในการถกเถียงนั้นด้วย ครับ...
ก็กลายเป็น ผมและบางท่านได้รู้จัก เรือชั้นนี้ ของบรูไน มากขึ้น...ซึ่งก็เป็นผลจากการโต้แย้ง เช่นกัน...
การถกเถียง โต้แย้ง ในกระทู้...ผมว่า มันก็เป็นสีสรร อย่างหนึ่ง...ในการที่เราจะหาข้อมูล มา...ยัน...กัน...และอยากให้เหมือนการ เล่นฟุตบอล น่ะครับ...ที่ในเกมส์ ก็อาจจะมีการเล่นที่รุนแรงบ้าง เล่นฟาวส์ กันบ้าง...แต่เมื่อหมดเวลา ก็ถือว่าจบแล้ว...ก็จับมือกัน แลกเสื้อกัน...หรือ อาจจะไป ชนแก้ว กัน....แล้วก็เตรียมตัว ดวลแข้ง นัดล้างตา กันใหม่..5 5 5 5
และขอขอบคุณรูปของท่าน seacat36 ด้วยครับ...ผมว่า ผมยังไม่เคยเห็นจากที่ไหนมาก่อนนะครับ....พวกชอบต่อโมเดล ชอบนักแหล่ะครับ...เห็นรายละเอียดบนลำเรือ ชัดเจนดีครับ...ถ้ามีอีก ก็ขอรบกวนอีกนะครับ....
ตามความเห็นส่วนตัวนั้นการกำหนดคุณสมบัติของเรือตรวการณ์ไกลฝั่ง ของกองทัพเรือนั้นโดยความเข้าใจส่วนตัวคราวๆ เรือ ตกก. ก็คือเรือตรวจการปืนหรือเรือเร็วโจมตีปืนที่ขยายขนาดให้ใหญ่เท่ากับเรือคอร์เวตเพื่อให้สามารถมีพิสัยปฏิบัติการได้ไกลและนานขึ้นครับ
แน่นอนว่า เรือ ตกป. และ เรือ รจป.นั้นเป็นเรือที่มีขีดความสามารถในการรบครอบคุม3มิติที่จำกัด เช่นการต่อสู้เรือรบผิวน้ำ ต่อสู้อากาศยาน และการปราบเรือดำน้ำ
ดังนั้นแนวคิดหลักในการต่อเรือ ตกก.ของกองทัพเรือไทยจะต่างกับเรือชั้น Diponegoro ของอินโดนีเซีย ซึ่งถูกต่อเพื่อเป็นเรือรบโดยตรงแทนเรือรุ่นเก่าครับ รวมถึงเรือชั้น Nakhoda Ragam ของบรูไนซึ่งเป็นเรือรบโดยตรงด้วย แต่จะคล้ายคลึงกับเรือชั้น Kedah ของมาเลเซียมากกว่า ในแง่ของการออกแบบเรือตามภารกิจและการรอบรับการติดตั้งอาวุธเพิ่มในอนาคต
อย่างไรก็ตามแนวทางการต่อเรือ ตกก.ของกองทัพเรือไทยก็คงจะเป็นในรูปแบบนี้ครับ ซึ่งก็เหมาะสมสำหรับรูปแบบภัยคุกคามหลักตามภารกิจเรือในปัจจุบัน
ท่าน X-1 เป็นสีสรรค์ประจำบอร์ดไปแล้วครับบ
มั่วทุกสถานการณ์
ต้องทำความเข้าใจตรงนี้นิดนึงก่อนนะครับ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการค้นหาเรือดำน้ำ ก็คือ โซน่า ซึ่งก็มีทั้งแบบ พาสซีฟ และ แอคทีฟ
ในบรรดาเรือรบของไทยที่ติดตั้งโซน่าไว้กับเรือก็มี
1. ชุดนเรศวร 2 ลำ
2. ชุดพระพุทธยอดฟ้า 2 ลำ
3. ชุดเจ้าพระยา 4 ลำ
4. ชุดคำรณสินทร์ 3 ลำ
5. ชุดตาปี 2 ลำ
ส่วนเรือตรวจการไกลฝั่งของเรานั้น ตรวจการได้แค่สองมิติ ไม่สามารถค้นหาเรือดำน้ำได้ครับ
เกร็ดความรู้เล็กน้อยเกี่ยวกับโซน่า
http://www.marinerthai.com/comms/view.php?No=6102005
ส่วนถ้าใครพอมีสตางค์กับเค้าอยู่บ้างลองหามาเล่นดูก็ได้นะครับ
เรือชุด ร.ล.ปัตตานีนั้นต่อนขึ้นมาเพื่อทดแทนเรือที่ทำการปลดประจำการไปแล้วเช่น ร.ล.แม่กลอง, ร.ล.ท่าจีน และ ร.ล.ประแส และ เรือ ตกก.ชุดใหม่ก็จะต่อแทน ร.ล.โพสามต้น(น่าจะใกล้ปลดหรือปลดแล้ว) และ ร.ล.ปิ่นเกล้า ซึ่งปลดไปไม่ไม่นานนี้ครับ
เรือเรือที่ปลดประจำการในข้างต้นส่วนใหญ่จะเป็นเรือฟริเกตที่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำด้วยตัวเรือเองครับ สำหรับ เรือ ตกก. คือเรือชุด ร.ล.ปัตตานีที่ตัวเรือไม่ได้ติด Sonar นั้นการปราบเรือดำน้ำจะขึ้นอยู่กับ ฮ.ที่ปฏิบัติการจากเรือครับ ซึ่งการปราบเรือดำน้ำของเรือผิวน้ำในปัจจุบันก็จะเป็นการใช้ ฮ.ค้นหาและทำลายครับ แต่ก็แน่นแอนว่ายังมีข้อจำกัดครับ
คุณ AAG_th1 ไมทักกันเลยปล่อยให้ผมหน้าแตกอยู่ได้
ผมให้ข้อมูลขาดไปอีกสองลำที่ติดตั้งโซน่าไว้ ถือได้ว่าเป็นเรือที่ดีทีสุดของกองทัพเรือไทยที่ขนาดไม่เกิน 1000 ตัน
ร.ล.รัตนโกสินทร์
ร.ล.สุโขทัย