มันน่าจะต้องมีทั้งชอฟแวร์ และฮาร์ทแวร์ หละครับ....แต่ RBS-15 ทอ.จัดหามาพร้อมกับ Gripen 39 ถือเป็นจรวดอากาศสู่เรือแบบแรกของ ทอ.ที่มีประจำการครับ
ส่วนการยืมผมไม่คิดว่าจะมีการยืมครับ...สำหรับ ฮาร์พูน รุ่นอากาศสู่พื้น...เพราะเชื่อว่า..จำนวน ฮาร์พูน รุ่นนี้ มีน้อยกว่า RBS-15 ที่ ทอ.จะมี...และกว่าจะถึงกรณีนั้น...คงหมดทั้งคู่หละครับ...ถ้าเรือข้าศึกยกโขยงมามากขนาดนั้น..พูดจริงนะครับไม่ได้ประชด..ถ้าเราเชื่อมั่นในคำโฆษณาที่ว่า ฮาร์พูน หรือ RBS-15 ๑ ลูกเท่ากับเรือ ๑ ลำ นะครับ.....
กลัวแต่ว่า...จรวดจะหมดอายุ..แล้วไม่มีงบประมาณซื้อเวลา..เกิดเหตุจะลำบากมากกว่าครับ...
ดูแล้ว น่าจะติดได้อยู่แล้วนะครับ โดยไม่ต้องเพิ่มโปรแกรมอะไร เพราะJAS 39 สามารถใช้ได้ทั้งอาวุธของ มะกันยุโรป และ อิสราเอลได้อยู่แล้วนี่ครับ
ถ้าหากต้องการติดตั้ง ฮาร์พูน ก็คงต้องมีการติดตั้งซอร์ฟแวร์และอุปกรณ์เพิ่มมั้งครับ
ส่วนกรณีที่มีสงครามและใช้จรวดนำวิถีโจมตีเรือนั้นคาดว่ามันไม่เหมือนการยิงเป้านิ่งที่ใช้ซ้อมแน่นอน เนื่องจากเป้าย่อมเคลื่อนที่ตลอดเวลา รวมทั้งย่อมต้องมีอุปกรณ์ต่อต้านจรวดนำวิถี ถ้าจะให้ม่นใจอย่างน้อยน่าจะซัลโวไปซักสองลูก ปกติจรวดแบบนี้สามารถตั้งโปรแกรมการเข้าโจมตีได้ เช่น แบบซีสคิม(บินเรี่ยน้ำ) หรือแบบ ป็อปอัพ(บินขึ้นแล้วปักหัวลงมาหาเป้าหมาย) และจรวดนำวิถีรุ่นหลังๆสามารถตั้งการเลี้ยวของจรวดได้ 2-3 จุด ทำให้สามารถบินอ้อมเข้าไปหาเป้าหมายได้โดยที่เป้าหมายอาจจะไม่ได้หันเป้ามาที่ตัวเรือที่ทำการยิงได้(เช่น เรือเป้าหมายหันหัวเรือมาทางเรือยิง เรือยิงสามารถตั้งจรวดให้บินอ้อมไปโจมตีด้านกราบข้างของเรือเป้าหมายได้) ดังนั้นการโจมตีเรือที่ขณะทำสงครามไม่จำเป็นต้องยิงตามกันไปทางเดียวครับ ลูกหนึ่งอาจจจะยิงแบบ ซีสคิม อีกลูกยิงไปแบบ ป๊อปอัพ อาจจะทำให้ข้าศึกพะว้าพะวงในการต่อต้านได้ครับ
ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวครับ อยู่ที่ข้อมูลและความเห็นส่วนบุคคลในการตัดสินใจเชื่อนะครับ
คิดว่าได้และไม่ได้ครับ
ไม่ได้ เพราะ Software เป็นเรื่องใหญ่มาก
ระยะของอาวุธ ค่าต่างๆที่ต้องใส่ไปใน
computer ของเครื่องบิน ที่จะเป็น Display ให้นักบินดู
ซึ้งต้องระบุรุ่น ให้ชัดเจน การใส่อาวุธเข้าไป ถึงแม้ว่าจะชนิดเดียวกัน
แต่คนละแบบ ก็ต้องการ Software เพิ่มเติม
ได้ เพราะ ถ้าเราขอเพิ่มก็คงจะได้ แต่คงต้องเพิ่มเงินเข้าไปอีก
(เป็นความคิดส่วนตัวครับ)