หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ขอถามเรื่อง PT91 ของมาเลนะครับ

โดยคุณ : Nine80 เมื่อวันที่ : 21/07/2009 13:03:43

จากเวปของท่าน SKyman นะครับ มีคล้ายๆ ถังน้ำมัน 200 ลิตร กับข้างที่คล้ายๆ รถ 10 ล้อบ้านเราเอาไว้กันเม็ดกรวดทรายกระเด็นมาโดน มันคืออะไรครับมีไว้เพื่ออะไรครับ.
http://www.thaiarmedforce.com/forum/viewtopic.php?f=19&t=214




ความคิดเห็นที่ 1


^
^
ปัจจุบันหัวรบของจรวดต่อสู้รถถังส่วนใหญ่จะเป็น tendom HEAT ครับ
คือเอาหัวรบ HEAT มาต่อกันสองอัน อันแรกจะระเบิดเกราะปฏิกิริยา(ERA) ทิ้ง
เพื่อเปิดทางให้อัึนที่สองเข้าไปซ้ำตรงที่ ERA โหว่อยู่ครับ

ส่วนรถถังก็แก้ปัญหาโดยกันแปะ ERA ไปสองชั้น
และจรวดก็เกทับด้วยการมีหัุวรบสามชั้น -*-
โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 19/07/2009 02:51:07


ความคิดเห็นที่ 2


ไม่แน่ใจนะว่าอันไหน แต่ถ้าเป็นคล้ายๆกล่องรอบรถ มันคือเกราะป้องกันครับ จำไม่ได้แล้วว่ามันชื่ออะไร แต่เมื่อมีจรวดหรือลูกปืนรถถังมาชนมันจะระเบิดออกแล้วสลายพลังของหัวรบที่เมื่อชนเป้าหมายจะรวมพลังเข้าชนเป้าหมายเป็นจุดเดียวให้สลายแตกออกไปทำให้ไม่สามารถทำอันตรายรถถังได้มาก แค่ช้ำๆ ผมละอยากเห็นรถถังของไทย อัฟเกรดเกราะอย่างนี้บ้างจังเลย น่าจะช่วยให้รถถังเราปลอดภัยขึ้นบ้าง ไม่รู้ทำไมไม่ทำกัน ถ้าเราอัฟรถถังเราคงเท่น่าดู

อืมผมก็อยากจะทราบเหมือนกันครับว่าถ้าเอาถังน้ำมันมาไว้ข้างหลังอย่างนี้ ถ้าโดนรถถังซัลโว เข้าท้ายเครื่องโดนถังน้ำมันพอดีแล้วมันจะเหลือหรอคับ ผมน่าจะทายไม่ผิดว่า PT 91 น่าจะมีแบบแผนเดียวกับรถถังรัสเซียที่ เอาห้องกระสุนไปไว้กับท้ายเครื่องยนต์พอดี ถ้าเกิดรถถังโดนยิงท้ายตูดรถพอดี เครื่องยนต์ระเบิด โดนห้องกระสุน เกมส์ คนขับ พลยิง พลกระสุน โดนฌาปณกิจหมู่โดยไม่ต้องหนีแน่เลย

แล้วผมอยากทราบเหมือนกันครับว่า ถ้าเราเอาเอ็ม 72 ยิงเข้าท้ายเครื่องยนต์ มันพอจะมีโอกาสหยุดเจ้าPT 91 ได้หรือไม่ครับ อืมดูในภาพพลร่มแล้วยิ่งใหญ่มากเลย อยากเห็นภาพพลร่มของกองทัพไทยบ้างจัง มันจะยิ่งใหญ่ขนาดไหน

โดยคุณ champ thai army เมื่อวันที่ 18/07/2009 12:13:31


ความคิดเห็นที่ 3


ถังสองร้อยลิตรนั่นถังน้ำมันแน่นอนครับพี่แกไม่เคยกลัวใครปล่อยโล่ง ๆ แบบนี้แหละดียิงง่าย >.<
ส่วนแผ่นยางนั้นด้านหลังแบบในรูปก็ไว้กันโคลน(ใช้ไปนาน ๆ ก็จะไม่ต้องกันมันล่ะครับ อิ อิ) ด้านหน้าเข้าใจว่าติดเพื่อความสวยงามหรืออาจจะไว้กัน RPG ก็ได้(มันกันได้มั้ย???)
Image

อันที่น้องแชมป์ว่านั้นของมาเลย์จัติดด้านหน้าป้อมอย่างเดียวครับ(บางคันก็ไม่ติด)กล่องแบบนี้เรียกว่าเกราะอีร่า(ERA)กันกระสุนพวก HEAT ได้ดีแต่ลูกสองที่เดิมก็ไม่เหลือนะ
Image

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 18/07/2009 16:27:42


ความคิดเห็นที่ 4


รูปไม่ขึ้น ขอลองอีกทีครับ
โดยคุณ Nine80 เมื่อวันที่ 18/07/2009 10:28:34


ความคิดเห็นที่ 5


รถถังรัสเซียรุ่นก่อนๆอย่าง T-72หรือ80รุ่นแรกๆ ไม่มีการแบ่งระหว่างห้องเครื่องกับตัวป้อมน่ะครับ ประมาณยิงโดนห้องเครื่องระเบิดอาจจะส่งผลต่อป้อมบินหายไปด้วย แต่ในรุ่นอย่าง T-80 U/BV/UK มีการออกแบบภายในมีการกั้นระหว่างห้องเครื่องและตัวป้อมน่ะครับ ถึงจะยิงโดนเครื่องยนต์ ถังน้ำมันรถก็ไม่เสียหายทั้งคัน  แต่การแบ่งกั้นระหว่างห้องเครื่องและตัวป้อมมีในรถถังตะวันตกมานานแล้วล่ะครับ

แต่เห็นแล้วติกเกราะเสริมประหยัดจริงๆ ถ้าเป็นรถถังที่ผลิตในรัสเซียหรือในยูเครนเองจะใช้เกราะปิดทุกส่วนที่ปิดได้ทับด้วยแผ่นเหล็กกันกระสุนปืนกลหนักมาปะทะแผ่นเกราะเสริมน่ะครับเช่นรุ่น T-80BM เป็นต้น  แต่ปัจจุบันหัวรบจรวดปราบรถถังพัฒนาไปมาก หรือ กระจุนพลังงานจลล์ เองก็อันตรายอย่างยิ่งไม่มีเกราะรถถังรุ่นใดป้องกันได้น่ะครับ  เลยออกแนวเจอก่อนยิงก่อน หรือ ครองอากาศแล้วจึงส่งรถถังเข้าไปลุยอีกที

 

 

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 20/07/2009 05:28:32


ความคิดเห็นที่ 6


ที่เป็นเเผ่นติดอยู่ด้านหน้าและหลังนั้นผมเคยได้ยินมาว่าเค้าไว้กันพวก จรวดบุคคลอย่างพวก RPG ได้นะครับ คือยิงมาโดนพวกนี้ก่อนเเล้ว ระเบิดจึงก็ไม่โดนตัวถังรถครับ  เคย เห็นรถกู้ซ่อมติดครับ m551 ไม่รู้จำผิดเปล่าครับ 

โดยคุณ cavary23 เมื่อวันที่ 20/07/2009 12:56:53


ความคิดเห็นที่ 7


ขอโทษครับลืมถามไป ในกรณีที่รถถังของเราอยู่ในระยะของปืนกลคิดว่าเราสามารถยิงปืนกลนำไปก่อนตรงเกราะ ERA (มันจะระเบิดไหม)แล้วตามด้วยปืนถังเราจะสามารถทำลายรถถังได้ไหม ผู้รู้และใครที่มี ช.ก.ท ช่วยชี้แนะด้วยครับ
โดยคุณ cavary23 เมื่อวันที่ 20/07/2009 13:04:23


ความคิดเห็นที่ 8


กระสุนหัวยูเรเนียมด้อยไอโซโทปและการทำงาน

                กองทัพสหรัฐฯ ใช้กระสุนหัว DU หลายชนิดและจำนวนมาก เพราะนอกจากมีคุณสมบัติดีดังกล่าวมาแล้วข้างต้น บริษัทผลิตกระสุนยังได้รับ DU ฟรีจากรัฐบาล เนื่องจากเป็นผลิตผลพลอยได้ของโรงผลิตยูเรเนียมเข้มข้นซึ่งเป็นของรัฐบาล (ยูเรเนียมเข้มข้นนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงนิวเคลียร์และทำอาวุธ) และอีกประการหนึ่ง ถ้าใช้โลหะทังสเตนทำกระสุนเจาะเกราะ สหรัฐฯ จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (ส่วนใหญ่จากจีน) ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณความต้องการทั้งสิ้น

                DU ที่ใช้ทำลูกกระสุนต้องทำให้มีความแข็งขึ้นด้วยการลดปริมาณคาร์บอนและผสมกับโลหะไทเทเนียมร้อยละ 0.75 โดยน้ำหนัก (ร้อยละ 3.7 โดยปริมาณสัมพันธ์) ก่อนนำไปขึ้นรูปทำแกนลูกกระสุน (projectile) รูปลูกดอก เพื่อใช้กับกระสุนพลังงานจลน์ต่อสู้ยานเกราะ หรือแผ่บุด้านในของหัวรบที่บรรจุดินระเบิดโพรง กระสุน DU ที่ใช้ในกองทัพสหรัฐฯ มีหลายขนาดและหลายชนิด สำหรับใช้กับระบบอาวุธทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
สหรัฐฯ ไม่ใช่ประเทศเดียวในโลกที่มีกระสุน DU อย่างน้อยมีอีก 17 ประเทศที่มีกระสุน DU อาทิ สหราชอาณาจักรฯ ฝรั่งเศส รัสเซีย กรีซ ตุรกี อิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน อียิปต์ คูเวต ปากีสถาน ไทย เกาหลีใต้ และไต้หวัน แต่สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ส่งออกรายใหญ่
http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=6554.0

กระสุนแบบนี้ใช้เจาะเกราะรถถังข้างบนได้มะงับ


โดยคุณ aeeclub เมื่อวันที่ 21/07/2009 02:03:44