อยากรู้ว่าถ้าหากเกิดการต่อสู้กันจริง ๆ แล้ว ไทยส่ง F16 ไปช่วย แล้ว เขมร ยิง ปตอ ต่อสู้ โอกาสที่จะโดน ยิงตกมีกี่ % ครับ
แล้วการจัดทับ เวลา ต่อสู้โดย F16 นั้นเค้าจัดกันยังไง จะมีเครื่อง ทิ้งระเบิด กี่ลำ เครื่อง ทำลายเรด้า และ ปตอ ของข้าศึก กี่ลำ ครับ
ก็แค่อยากรู้วิธีการรบ ทางอากาศ ไม่ได้หมายความว่าจะรบกันจริง ๆ ครับ
100%
ไม่เชื้อก็ลองบินไปให้เค้ายิงดูสิ
ไม่แน่ใจว่าไอ้ที่ฮุนเซนขู่นั้นแค่คำโวตามประสาเขมรหรือเปล่า และเท่าที่รู้ก็เคยเห็นแค่อาวุธประทับบ่ายังแบบแซม และ การ์ดที่ซื้อจากรัสเซีย ไม่น่ากลัวครับ
อันนี้ถ้ามีจริงอย่างที่ขู่ไม่แน่ใจว่ามีอะไรแต่ไม่ต้องกลัวหรอกครับ ถ้ารบจริงเขมรจะขยาดเราไปอีกนาน ถ้าจำได้มีช่วงหนึ่งที่ชนชาติว้าบังอาจมากำแหงจะยึดเชียงใหม่ใน 2 ชั่วโมง ตอนนี้ลองไปหาอ่านดูนะครับว่า ชนชาตินี้หายไปไหนทำไมไม่มีใครกล่าวถึงเลยครับ
***ปล.รักชาติยิ่งชีพ**
โอกาสยิงตกคือ0.1%เพราะไม่มีใครบินเข้าไปหรอกเพราะก็เค้าบอกเเล้ว
ว่ามีอาวุธต่อต้านเเละที่สำคัญระเบิดที่ติดอยู่กับเครื่องบินยิงไปสู้เป่าหมายได้ไกลหลายกิโลโดย ตายโดยที่ยังไม่ได้ยินเสียงเครื่องบินเเน่นอน
เครื่องบิน F-16 ของเราก็บินอยู่ในประเทศเราแหละครับ ไม่ได้บินเข้าไปประเทศเขมรหรอก มันยิงเราไม่ตกแน่ครับ เราบินในประเทศเราก็ปลดลูกระเบิดในประเทศเรา แต่ลูกระเบิด มันลอยเข้าไปในประเทศเขมรครับ อีกอย่างความเร็วของ F -16 กับเพดานการบินที่สูง ผมว่า ปตอ. คงยิงตกยากครับ
ดาวเทียมเราก็มีครับ มันก็ช่วยเราได้เยอะ
แล้วแต่โอกาศครับ โดนไหม....อาจจะโดน....ร่วงไหม....อาจจะร่วง
แล้วทำไมถึงร่วง....ถ้าหากเราล้ำน่านฟ้าเข้าไป เพื่อทำการโจมตี ก็มีโอกาศถูก ปตอ.ยิงตกได้ครับ อาจจะโดนแค่แผลไม่ใหญ่มากหรือถากๆไป แต่อาจเกิดอาการที่เรียกว่า แผลฉีก ด้วยความเร็วสูงของตัวอากาศยานตัวลมปะทะจะเป็นตัวฉีกแผลครับ แต่ถ้าทิ้งละเบิดแบบที่ท่านด้านบนบอกคงไม่มีปัญหามากนักครับ ^-^ แต่ถ้าเป็นการดำเพื่อยิงปืน อาจโดนได้เช่นกัน นอกจากนี้สิ่งที่น่ากลัวมากๆ คือ อาวุธนำวิธีต่างหากครับ
เรื่องการจัดทัพนั้น คงต้องดูการร้องขอครับ ไม่ใช่การรบสมัยก่อนที่ต้อง มีพลหอก มีกองปืนใหญ่ บุกลุยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ถ้าทำแบบนี้ตายครับ
ที่ยืนพื้น คือ บ.คุ้มกันครับมีพวก AIM-9 AIM-120 แล้วอาจจะติดพวกถังเชื้อเพลิงสำรองด้วยเพื่อเพิ่มเวลาในการอยู่บนน่านฟ้า ส่วนลำที่เหลือ อาจมีการติดระเบิด เช่นพวก Mk.82 GBU-12 เป็นต้น หรือ MISSILE พวก AGM-65 เพื่อต่อสู้กับรถถังครับ การเข้าโจมตีนั้น ไม่จำเป็นต้องทำลายหน่วย ปตอ.หรอกครับ บินมาในระดับสูง เข้าโจมตีในระดับต่ำอย่างรวดเร็วและหันหัวกลับให้เร็วที่สุด โชคดีอย่างคือ คาดไว้ว่าทางเขมรไม่มีเครื่องบินรบครับ แต่ก็ไม่แน่อาจมี MIG-21 อยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่น่ากลัวนักครับ
ปล.บ้านเราไม่มีบ.ที่เฉพาะทางแบบทอ.สหรัฐครับ จึงไม่มีการกำหนดบ.จำพวก ทิ้งระเบิดหรือทำลายเรดาร์ ก็คงใช้พวก F-5 F-16 ไปครับ ส่วนตัวคิดว่า F-5 ก็น่าจะเอาอยู่ครับ F-16 คงแค่เตรียมพร้อมหรือไม่ก็โจมตีทางลึกครับ....
Post แล้วไม่ขึ้นง่ะ แปลกจัง ดีนะเนี่ยที่ Save ไว้ ^^
เท่าที่ผมทราบข้อมูลเรื่องระบบป้องกันภัยทางอากาศของกัมพูชามีข้อมูลอยู่น้อยครับ แต่เชื่อว่าน่าจะมี SA-3
ที่หลงเหลือจากทำลาย ปตอ. 55 mm. , 37 mm, ทั้งแบบนำวิถีด้วย Radar และแบบเล็งด้วยตาครับครับ
นอกจากนั้นก็เป็น SAM แบบประทับบ่ายิ่งแบบ SA-7,HN-5,FN-6,FN-12 ประมาณนี้ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Royal_Cambodian_Army
ในกรณีของ ปตอ.
โอกาสที่ยิงโดนน่าจะน้อยมาก ๆ ครับ ทั้งนี้ถ้าเราไม่บินต่ำจริง ๆ (<6000 ft ) และบินตรง ๆ ให้ยิ่งก็คงไม่โดน
เนื่องจากข้อจำกัดของ ปตอ. คือระยะเวลาที่กระสุนเดินทางถึงเครื่องบินมันนานเป็นหลักวินาที อีกทั้งตำแหน่งของ
เครื่องบินก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถึงแม้นว่าจะทำการเล็งยิงด้วย Radar แบบดักหน้าก็ทำได้ยากครับ ยิ่งถ้าเป็น
เครื่องบินที่คล่องตัวแล้วยิ่งยากไปใหญ่ครับ แต่ก็ระวังอย่าเข้าไปหามันใกล้ ๆนะ
ในกรณีของ SAM แบบประทับบ่ายิง
ตามที่พอจะหาข้อมูลได้ SAM พวกนี้แม้นจะเป็นรุ่นใหม่ล่าสุน Probability of kill จะอยู่ที่ประมาณ 0.3 (30%)
แต่เทคนิคการใช้ SAM แบบนี้คือยิงปริมาณมาก ๆ ไปยังเป้าหมายเป้าเดียวกันจะทำให้ P(k) เพิ่มมากขึ้นได้ครับ ยกตัว
อย่างกรณีบ้านร่มเกล้าที่ F-5E ของเราโดยยิงตก โดยต้องใช้ลูกจรวดถึง 7 นัด ทั้งนี้วิธีการคำนวณสามารถคิดได้ดังนี้
ครับ P(K) = 1-(1-0.3)^7 จะได้ค่า P(k) ออกมาเป็น 0.91 ครับ ซึ่งถือว่าสูงมาก แต่จะใช้งาน SAM แบบนี้ได้นั้นเครื่อง
บินของเราต้องอยู่ต่ำกว่า 10000 ft นะครับ เพราะต้องใช้คนสังเกตและเล็งด้วยตาครับ
ในกรณีของ SA-3
จรวด SA-3 นั้นถือได้ว่าเป็นของเก่าเอามาก ๆ ครับ แต่ก็ไม่ใช้ว่าจะเป็นงูที่ไร้พิษสงนะครับ ถ้าไม่ระวังอาจจะโดนฉก
เราได้ทุกเมื่อครับ ทั้งนี้ตามข้อมูล SAM ชนิดนี้เคยยิงทั้ง F-16 และ F-117A มาแล้วครับ อ๋อ...ที่ยิงตกไปนั้น ไม่ได้โดนจัง ๆ
หลอกนะครับ แต่เนื่องจากหัวรบของจรวดรุ่นนี้บางรุ่นมีน้ำหนักถึง 70 Kg (มากกว่า Aim-120 3 เท่ากว่า ๆ)เพราะฉะนั้น
แค่เฉียด ๆ แรงระเบิดและเสก็ดก็ส่งผลต่อเครื่องบินที่เป็นเป้าหมายแล้ว และเชื่อว่าเขมรน่าจะยังไม่ได้ปรับปรุงระบบ Radar
ของ SAM ชนิดนี้ การ Jamer ระบบ Radar น่าจะทำได้ไม่ยากเย็นนักครับ ส่วนระยะความสูงของ SAM รุ่นนี้นั้น สามารถยิง
ได้สูงมากถึง 60000 ft -0- แต่นั้นก็ต้องบังเอิญบินอยู่ใต้ SAM site พอดีด้วยนะ
http://www.martinfrost.ws/htmlfiles/locherbie3.html
สำหรับเทคนิคการป้องกัน SAM ง่าย ๆ ครับคืออย่าบินต่ำกว่า 30000 ft การทิ้งระเบิดและการสนับสนุนทางอากาศให้ใช้ FLIR
ในระยะแรกไปก่อน จนกว่านะมันใจว่าไม่มี SAM ที่มีศักยภาพสูงอยู่ในบริเวณนั้นครับ
เขมรนั้นผมว่าอันดับแรกทำสงครามสื่อแข่งกับเค้าก่อนก็ดีครับ แล้วค่อยทำสงครามจริง ๆ แบบรัสเซียทำกับจอร์เจีย (ถ้ามันเหลืออด)
แล้ว L29 กับ Alfa jet นั้นมีโอกาส ได้ ออกรบมั้ยครับ
ถ้ารบกันจริง L-39 และ Alpha Jet ได้ออกรบแน่ครับ เพราะเป็นหัวใจ
สำคัญสำหรับภาระกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (Close Air Support)
เพื่อให้กำลังภาคพื้นดินสามารถเคลื่อนที่เข้าไปได้อย่างสะดวกครับ
แต่ในระยะแรก ๆ ผมคิดว่าเราควรต้องจำกัดการปฏิบัติการให้มีแค่ F-16 และ F-5
เท่านั้นก่อนเพื่อทำให้มันใจให้ได้ว่าไม่มี SA-3 เหลืออยู่แล้วครับ หลังจากนั้นถึง
ส่ง L-39 และ Alpha jet เข้าไปได้ครับ
ปล.รู้สึกกลัว ๆ อย่างไงไม่รู้ว่าเค้ากำลังจะบีบให้เรารบกับเค้า
ถ้าหากเกิดการสู้รบ กันจริง ๆ แล้ว สถานะการขนาดไหนครับ
ถึง จำเป็นต้องปล่อย F16 ออกมา
แล้วต้องปล่อยออกมากี่ลำครับ
poom1.1
ตอบใกล้เคียงที่สุด
ยิงถูก
กับ
ถูกยิง
มันคนละเรื่องกัน
ถ้า ป.ต.อ. ไม่มีขีดความสามารถในการสังหาร คงต้องถูกปลดประจำการไปทางกองทัพทั่วโลกไปแล้ว
เพิ่มเติมหน่อยละกันครับ
ก็เห็นด้วยครับว่า ปตอ. ยังมีขีดความสามารถ แต่มันสามารถป้องกันได้เป็นจุดเล็ก ๆ เท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับระยะยิงของจรวดหรือระเบิด ของเครื่องบิน jet สมัยใหม่ ทำให้มันมีโอกาสน้อย
มาก ๆ ที่จะยิงใครเขาตก เพราะเขาจะใช้อาวุธและหลบออกไปตั้งแต่อยู่นอกระยะยิงหวังผลของ ปตอ.
แต่ ปตอ. ยังเป็นภัยคุกคามที่สำคัญของ ฮ. และเครื่องบินใบพัดครับ
บ้านเรามี จรวดเสมิร์ช บ้างรึป่าว .คงจะหลายตัง...
ยิงที่เป็นห่าฝน ส่งเขมรลงลุม ทั้งกองพัน5555.. ใครรู้ตอบหน่อย นะครับ
ขึ้นอยู่กับ TACTIC ที่ใช้ครับ ผมว่าบอกไม่ได้หรอกว่า เครื่องอะไรมาแล้ว ยิงตก หรือ ไม่ตก ถ้าเอามา บินเข้ามาในระยะ สายตา และอยู่ในระยะ อาวุธ ก็มีโอกาศทั้งนั้น
ส่วนใหญ่ก่อนจะเริ่มสงคราม เค้าจะหาข่าวก่อนเลยครับ
หา Position ของ RADAR
จากนั้นก็จัดลำดับความสำคัญ เป้าหมาย
จากนั้นก็จะคำนวญ ค่า DMPI ของเป้าหมาย +++ อะไรต่ออะไรอีก เช่น CEP,Weather,Weapon
จากนั้นก็จะส่ง SEAD ไปก่อน กรณีที่ เค้าไม่มี RED AIR หรือว่า ALERT ก็ค่อนข้างจะง่าย ถ้ามี ก็ ส่ง SWEEPER ขึ้นไปด้วย เอาแบบ ให้ ครองอากาศ ได้ ซัก หนึ่ง ช.ม. SEAD จะได้ไม่ต้องกังวลใจ
ต่อมาก็สู้กับ GND THREAT อย่างเดียว ก็มาดูว่าเค้ามีอะไร SA-3 ใช่ไหม JAM ก่อนเลย จากนั้นก็ เอา GBU10 ไปซักสองลูก แล้วก็ BDA
โอเค SA-3 หมดแล้ว เหลือแต่ IR missile กับ AAA ก็ไปมันสูงๆ ตอนนี้ A-JET หรือ L-39 ก็ไปได้ ขึ้น อยู่กับ ภัยคุกคาม
อันนี้เอาแบบง่ายๆนะครับ
ก็อย่างที่บอก กี่ เปอร์เซ็นต์ตอบไม่ได้ ขึ้น อยู่กับ TACTIC
ถ้าเขาไม่มี SA3 เหลืออยู่ ก็แสดงว่ามีแต่ อาวุธต่อสู้อากาศยานระดับต่ำ ทั้งนั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วถ้ายังจะเลือก โลแน๊บ ป็อป อัพ เข้าไปเสี่ยงหน้าแหกตูดโบ๋ ก็ตามใจ มีแต่ระดับต่ำ ก็ ไฮโล เอ๊ย ไฮ เดลิเวอรี่ ด้วย LGB สถานเดียว ดังนั้น เปอร์เซ็นต์น้อยสุดๆ สำหรับการโดนอาวุธต่อสู้อากาศยานยิงตก ภารกิจ AI BAI และ SEAD ไม่น่าเป็นห่วง
แต่ช็อตเด็ด อยู่ที่ CAS ละครับ ถ้าเอาตามหลักนิยมปัจจุบัน ฝูงบินที่ดีไซด์มาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ ก็ 231 และ 411 ที่ประจำการด้วย เอเจ็ต และ แอล 69 เอ๊ย 39 ที่นี่มาดูอาวุธกัน ก็คงหนีไม่พ้น อาวุธสุดฮิต เจเนรัลโพโพส มาร์ค 82 ไอ้ครั้นจะโลแน๊บ ป๊อบอัพ ก็เสี่ยงหน้าแหก ตูดโบ๊ จะไฮ เดลิเวอรี่ ก็เสี่ยงลงกระบาลพวกเดียวกัน
ภารกิจ CAS เหมือนเป็นภารกิจที่ถูกลืม ทั้งๆที่ CAS มีขั้นตอนยุ่งยากและมากกว่าภารกิจอื่นๆ เมื่อก่อนสมัยยุคสงครามระหว่างแนวความคิดระบอบการปกครอง เราใช้เครื่องบินที่บินช้า สำหรับภารกิจนี้ เพราะปัจจัยภูมิประเทศที่เป็นป่ารกทึบ เพื่อเพิ่มโชคในความแม่นยำและลดการเสี่ยงลงกระบาลพวกเดียวกัน แต่แต๊แต่ ลืมไปหรือเปล่าว่า ยุคนั้น อาวุธอากาศ สู่ พื้น นำวิถี ยังไม่แพร่หลาย เลยต้องใช้วิธีนั้นถึงเครื่องจะเสี่ยงโดนสอยปีกหัก ก็ตาม
มา ณ ปัจจุบัน ยุค ที่มีอาวุธนำวิถีใช้งานแพร่หลาย แต่ทำมั๊ย ทำไม ยังจะเลือกเครื่องสมรรถนะต่ำ บินเอาระเบิดโง่ ไปทอย ใส่ข้าศึก ในภารกิจดังกล่าวอีก
ย้อนไปยุคกรณี ร่มเกล้า สักหน่อย ยุคนั้น เอาเครื่องสมรรถนะสูง แบก LGB ไปทอยซะด้วย แต่แต๊แต่ ลืมไปหรือเปล่าว่า ภารกิจ CAS หัวข้อสำคัญที่แบ่งแยก CAS ออกจากภารกิจอื่น คือ การ คอนแท็ก กันระหว่าง ภาคพื้น กับ นักบิน และผู้ที่จะสั่งให้นักบินปลดอาวุธได้ คือ จนท. ภาคพื้นเท่านั้น ภารกิจครั้งนั้นจึงไม่ใช่ CAS แต่เป็น BAI ที่กระทำต่อพื้นที่ แนวที่ มันจะต้องเป็น CAS ผล ก็อย่างที่ทราบ(แบบคลุมเครือ)กัน
กลับมาปัจจุบันต่อ ด้วยปัจจัย ความแม่นยำของอาวุธประเภท LGB ที่เรามี ทำไมเราไม่ใช้ประโยชน์ เพื่อลดการเสี่ยงในการสูญเสีย ปัจจัยตามมาคือ การชี้เป้าด้วย เลเซอร์ ให้กับ LGB ยุคร่มเกล้า ชี้ด้วยเครื่องบิน แต่ภาวะความกดดันของนักบินในการรบ และไม่มีการคอนแท็กกับภาคพื้น เพราะหลงภารกิจ ผลก็อย่างที่ทราบ และถ้าเปลี่ยนเป็น ให้ภาคพื้นชี้เป้าให้ละ ซึ่งภาคพื้นจำเป็นต้องเห็นเป้าหมายอยู่แล้ว และก็อยู่นิ่งไม่ต้องทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ความแม่นยำสูง แต่ถ้ามันยังสะเหร่อ เฟ๊อะฟ๊ะ ชี้ ใส่พวกเดียวกันอีก ก็ปล่อยมันตายไปซะ (แต่ถ้าชี้ เข้าหา คอมแมน โพส ก็ไม่แน่55555 สงสัยที่ไม่ซื้อเลเซอร์ชี้เป้า ต้องด้วยเหตุผลนี้แน่ๆ)
สงสัยก็คือภารกิจ CAS ทำไม ไม่ซื้อ เลเซอร์ชี้เป้า ให้ภาคพื้นดิน ชี้ให้ แล้วเอา F 16 แบก LGB บินมาเข้า CP ไป IP แล้วก็ แอคชั่น เข้า เคลียร์ ฮ็อต ต่อที่หมายไปซะ ด้วยวิธีการทิ้งสอดคล้องกับภัยคุกคามจากภาคพื้น ถ้าอย่างกรณี เขมร ก็ ไฮเดลิเวอรี่ ไปเลย เพราะระเบิดนำวิถี อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องลงมาดูเป้าด้วยตัวเอง ที่สำคัญก็คือ ฝึก ฝูง F 16 ให้ทำ CAS ได้ด้วย
แต่ถ้ายังจะดื้อดึง เอา เอเจ็ต กับ แอล 39 มาCAS ให้ได้ เพราะไม่รู้จะมอบภารกิจอะไรให้ ก็ จัดหา LGB ขนาด 500 ปอนด์มาใช้ ซะ เอเจ็ต กับ แอล 39 จะได้แบกไปได้
ราคา เลเซอร์ชี้เป้า แบบใช้งานภาคพื้นดิน กับ ระเบิด LGB ขนาด 500 ปอนด์ เมื่อเทียบกับ ราคาเครื่องบินที่ลงไปเสี่ยงถูกยิงตก กับชีวิตทหารฝ่ายเดียวกันที่ภาคพื้น อันไหนมันคุ้มค่ากว่ากัน
ทอ มัวมองแต่การโจมตีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในภารกิจ AI อย่างเดียว(ความจริง AI กับ BAI มันแถบไม่ต่างกัน มันต่างกันที่บริเวณของเป้าหมาย ตามแนว ที่ทหารกำหนดเท่านั้นเอง) แต่ละเลย CAS ถามว่า เปอร์เซ็นต์ที่จะเกิดสงครามขนาดใหญ่ ที่ต้องโจมตีเป้าหมายยุทธศาสตร์ มีเท่าไหร่ และเมื่อเทียบกับ การกระทบกระทั้งกันตามแนวชายแดน ที่ต้องใช้ CAS อันไหนมีความน่าจะเป็นมากกว่ากัน และภารกิจไหนมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียของกองกำลังฝ่ายเดียวกัน ทั้งจากการกระทำของฝ่ายตรงข้ามและการกระทำของพวกเดียวกัน มากกว่ากัน บทเรียนก็มี ไม่ใช่ไม่เคยมี เจ็บไม่จำ แต่ดันปิดบังซ่อนความผิดพลาด (เพราะกลัวเสียหน้ามั้ง) มันพลาดกันได้ แต่พลาดแล้ว จะแก้ไข หรือไม่ เพราะถ้ามัวอายแล้วปิดบัง มันจะทำให้ไม่มีการแก้และจะนำไปสู่ ความผิดพลาดครั้งต่อไป และอาจจะเจ็บมากกว่าเดิม (สงสัยต้องรอให้ ดรั๊มบอมบ์ ตกใส่ คอมแมนโพส ขณะ CAS ละมั้ง ถึงจะจำ)
สมมุติ นะครับ เกิดการสู้รบกัน จริง แล้วไทย โดน ยิง เครื่องบินรบตก
ไม่ว่าจะเป็น L39,Alpla Jet,F5,F16 หรือ อื่น ๆ ลำเดียว +-
ถือว่าประสิทธิภาพ การต่อสู้ทางอากาศ ไทยเรา ต่ำหรือเปล่าครับ
แล้วควร ชื้อ บินรบ เพิ่มมั้ยครับ
ถามแบบ ไม่รู้นะครับ.....
ถ้า ป.ต.อ. ไม่มีขีดความสามารถในการสังหาร คงต้องถูกปลดประจำการไปทางกองทัพทั่วโลกไปแล้ว
น่าคิด
แต่ ปตอ. ยังเป็นภัยคุกคามที่สำคัญของ ฮ. และเครื่องบินใบพัดครับ
Red@Baron
ตอบ เห็นด้วยกับทั้งสองท่านอย่างแรงครับ เพราะปตอ.สมัยนี้เค้าควบคุมการยิงด้วยเรดาห์แล้วนะครับ ปตอ.ใหม่ๆที่ทำกันออกมาก็น่ากลัวนะครับ แต่ไม่มีโอกาสได้สำแดงอำนาจให้เห็นก็เท่านั้นเอง เราจะเห็นๆก็แต่ปตอ.เก่าๆของโซเวียตที่โดนถล่มในสงครามอ่าวก็เท่านั้นละครับ เลยดูๆกันว่าปตอ.หมดยุคไปแล้ว แต่ความจริงเป็นเพราะพี่กันแจมเรดาห์หมดแล้วปตอ.อิรักเลยเดี้ยงครับ
แต่ตอนมะกันบุกอิรักครั้งล่าสุดนี่ไม่เหมือนกันนะครับ
1.ทหารหน่วยพิเศษ(รีพับบิคคั่น การ์ด)ใช้ปืนอาก้าสอยฮ.อาปาเช่ของสหรัฐร่วง!
2.ฝ่ายต่อต้านอิรักเอาแซม7(หรือไม่ก็อิ๊กล่า) ใส่ท้ายกระโปรงรถเก๋ง พอถึงที่ก็เปิดฝาประกอบจรวดแล้วก็ยิง สอยเอฟ16มะกันร่วงไปลำ
3.ฮ.แบล็คฮอคโดนอิรักเอาอาร์พีจีสอยร่วง
จะเห็นได้ว่าถึงจะไม่มีปตอ.ก็ยังสามารถสอยฮ.ร่วงได้ และอาวุธประทับบ่าก็ยังเป็นอาวุธที่น่ากลัวอยู่ดีสำหรับบ.เพราะสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้ ไม่มีที่ตั้งที่แน่นอน พวกปตอ.นี่หากพรางดีๆแล้วยิงฮ.หรือบ.ตอนอยู่ใกล้ๆหรือบินต่ำๆโอกาสยิงโดนมีสูงมาก เพราะปตอ.มันไม่ระบบล็อคเป้า การทำงานเป็นอนาล็อคล้วนๆ นักบินไม่มีทางจะรู้ตัวเลยเพราะมันไม่ได้ล็อกออนแบบจรวดนำวิถี เผลอๆก็โดนยิงจนพรุนไปหมดแล้ว
ตัวอย่างมันมีมาเยอะครับเอาที่ดังๆก็สงครามเวียดนามนี่ละครับ ฮ.มะกันกลัวมากเป็นพิเศษเพราะเวียดกงเค้ามีปืนกลต่อสู้อากาศยานดีเอสเอชเค ขนาด.51 (12.7x108 มม.) ยิงทีฮ.แทบจะขาดครึ่ง ถ้าโดนเต็มๆรัก พวกเครื่องใบพัดนี่ก็เจอสอยบ่อยๆ เอาแค่ปืนอาก้านี่โดนทีฮ.ก็พรุนไปหมดแล้ว หากโดนจุดสำคัญก็มีสิทธิ์ร่วงได้ไม่ยาก ยังไม่นับอาร์พีจีที่บินว่อนไปทั่ว และปืนค.ที่จะยิงถล่มจุดLZ (Landing Zone) และกับระเบิดที่วางดักจุดลงของฮ.อีกโอ้ยสารพัด
ทำให้ฮ.มะกันจะไม่ลงแตะพื้นเลยตั้งแต่นั้นมา แต่จะให้ทหารกระโดดลงเอา เพราะลงไปจอดเมื่อไหร่ เป็นเป้านิ่งเมื่อนั้นไม่โดนอาก้าถล่ม ก็เจออาร์พีจีแหลกคาพื้นโดยไม่รู้ตัว
ไม่เฉพาะมะกันนะครับ ในอัฟกานิสถานโซเวียตเองก็เจอเด็ดกว่านี้อีก พวกมูจาฮิดีนชอบเอาปืนกลต่อสู้อากาศยาน ทั้งดีเอสเอชเค หรือพวก ZPU 1 ขนาด14.5มม. ไปจนถึงZU-23 37มม. ไปตั้งไว้บนเขาสูง ทีนี้พอพวกฮ.หรือบ.โซเวียตผ่านมาเป็นได้ลิ้มรสทุกที เพราะไอ้การตั้งไว้บนเขาสูงทำให้ปตอ.อยู่ในระดับไม่ห่างจากบ.หรือฮ.เท่าไหร่ เผลอๆอยู่สูงกว่าด้วยซ้ำ อีกวิธีที่แสบก็คือพวกเอาจรวดประทับบ่าขนโดยหน่วยกล้าตายไม่กี่คน ไปดักรออยู่ใกล้ๆสนามบิน พอเครื่องบินโซเวียตจะลงจอด หรือเท็คออฟก็ยิงซะ ซึ่งช่วงนี้ละที่บ.หรือฮ.โซเวียตไม่สามารถจะหลบหลีกได้เหมือนปกติ(เล่นทีเผลอนี่หน่า) เลยเจอจรวดไปเต็มๆรัก ว่าแล้วพอยิงเสร็จพวกมูจาฯก็เปิดแน่บ ตอนหลังๆก่อนบ.หรือฮ.โซเวียตจะขึ้นลงสนามบินเป็นต้องได้ปล่อยแฟลร์ พลุนำความร้อนเพื่อล่อจรวด ซึ่งจรวดที่มูจาฯใช้ก่อนได้สติงเกอร์มาจากมะกัน คือแซม-7 นั้นเอง
เขมรเองก็มีระวังไว้บ้างก็ดีนะครับ
เล่ามาซะยืดยาวเลยมันส์มือไปหน่อย
ไหนๆก็พูดถึงเรื่องปตอ.แล้ว ผมก็ขอเสนอเกี่ยวกับระบบต่อสู้อากาศยานของเขมรครับ
ตัวแรกเริ่มมาก็เสียวเพราะเป็นตัวล่าสุดครับท่าน
ลับสุดยอดจากวิกิพีเดีย(ฮา)
On June 25, 2009, the National Television of Cambodia (TVK) showed Cambodian soldiers with FN-6 missiles to be deployed near the Thai-Cambodian border in the 2008 Cambodian-Thai stand-off.
แปลได้ว่า
25 มิถุนายน 2009 สถานีโทรทัศน์แห่งชาติกัมพูชา ได้โชว์ทหารเขมรซึ่งประจำอยู่บริเวณชายแดนเขาพระวิหาร ระหว่างวิกฤตการณ์ชายแดนไทย-เขมร ถือจรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่ารุ่น FN 6 ผลิตโดยจีน
http://en.wikipedia.org/wiki/FN-6
คุณสมบัติแค่ไหนนั้นผมก็ไม่รู้นะครับ(เพราะพึ่งรู้จักตะกี้) เล่าคราวๆจากวิกิก็คือ FN6 FNย่อมาจาก FeiNu ซึ่งมีความหมายว่า Flying Crossbow (หน้าไม้บิน เท่ห์ซะไม่เมี๊ยะ) เรียกอีกอย่างว่าHongYing 6 คุณสมบัติ(แปลเอาเอง)
Specifications
System length: N/A
System weight: 16kg
Missile length: 1.495m
Missile diameter: 0.072m
Missile weight: N/A
Propulsion: Single-stage solid rocket
Operating altitude: 0.015~3.5km
Operating range: 0.5~6km
Maximum Speed: 360m/s (head-on); 300m/s (tail-chasing)
Guidance: Infrared
Warhead: N/A
http://www.sinodefence.com/army/surfacetoairmissile/hongying6.asp
ผู้ใช้ตัวนี้ก็คือจีนแผ่นดินใหญ่
อีกประเทศก็คือมาเลเซียครับ ซึ่งเชื่อว่าซื้อเทคโนโลยีไปผลิตเป็นของตัวเอง
ส่วนอีกประเทศหลุดจากเอเชียไปแอฟริกาโน้นคือซูดานครับ เชื่อกันว่าจีนขายให้ เพราะไปโผล่ในการสวนสนามของทหารในวันชาติซูดาน ปี2007
อีกรายก็เขมรเรานี่ละครับไปดูได้ใกล้ๆเพราะเค้าเอามาไว้แถวๆเขาพระวิหารนี่เองครับ
วันนี้ขอพอแค่นี้ก็ครับไว้พรุ่งนี้มาต่อ ท่านใดจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมก็เชิญตามสบายครับ