ไปพม่าทางเครื่องบินก็ต้องลงทีย่างกุ้งก่อน เดียวนี้มีสายการบินโลว์คอสต์อย่างแอร์เอเชียบินทุกวัน สนนราคาก็แล้วแต่จะจองล่วงหน้านานหรือค่อนข้างกระชั้นชิด ถ้าล่วงหน้านานหน่อยก็ยิ่งถูก ตั๋วไปกลับที่ผมได้ก็ตกสามพันกว่าบาท เทียบกับไปกลับสมุยเก้าพันกว่าแล้วคุ้มครับ
แต่โลว์คอสต์ไม่fixที่นั่ง อยากนั่งตรงไหนก็เลือกเอา ถ้าไปไม่ตรงวันหยุดยาว หรือหน้าปิดเทอมที่นั่งจะเหลือเยอะแยะ นั่งๆนอนๆเอาตามสบาย
บึงใหญ่กลางเมืองย่างกุ้ง
ย่างกุ้งเป็นเมืองที่เขียวขจีสวยงาม
มองเห็นเจดีย์ทองชะเวดากองยืนเด่นเป็นสง่าแต่ไกล
เมื่อมองจากโรงแรมที่พัก
สาวที่มารับ
ผิวพม่านัยน์ตา(ไม่ค่อย)แขก(เท่าไร)
แต่น่ารักดีเนาะ
ของเขาดูเขียวขจีทั้งเมือง แม้แต่ที่นี่ ในร้านอาหารสไตล์บูติก แห่งหนึ่ง | |||
|
เด็กๆนักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้าน ชอบชุดนักเรียนเขา เสื้อขาว ผ้าถุงหรือโสร่งเขียว ดูเรียบร้อย พิทักษ์รักษาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าได้ดีเยี่ยม |
เจดีย์ระดะฟ้ายามพลบ ถ้ามากราบเจดีย์ชะเวดากองให้มาตอนค่ำๆ สวยทั้งเจดีย์ และผู้คนทุกเพศทุกวัยที่มานั่งปฏิบัติธรรมรายรอบองค์พระธาตุ บ้านเขาแทบไม่มีสถานบันเทิงยามค่ำคืน คนหนุ่มสาวนักศึกษามานั่งสมาธิภาวนาที่นี่เยอะมาก |
เด็กๆนักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้าน ชอบชุดนักเรียนเขา เสื้อขาว ผ้าถุงหรือโสร่งเขียว ดูเรียบร้อย พิทักษ์รักษาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าได้ดีเยี่ยม |
เด็กๆนักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้าน ชอบชุดนักเรียนเขา เสื้อขาว ผ้าถุงหรือโสร่งเขียว ดูเรียบร้อย พิทักษ์รักษาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าได้ดีเยี่ยม | |||
|
เจดีย์ระดะฟ้ายามพลบ ถ้ามากราบเจดีย์ชะเวดากองให้มาตอนค่ำๆ สวยทั้งเจดีย์ และผู้คนทุกเพศทุกวัยที่มานั่งปฏิบัติธรรมรายรอบองค์พระธาตุ บ้านเขาแทบไม่มีสถานบันเทิงยามค่ำคืน คนหนุ่มสาวนักศึกษามานั่งสมาธิภาวนาที่นี่เยอะมาก |
เจดีย์ระดะฟ้ายามพลบ ถ้ามากราบเจดีย์ชะเวดากองให้มาตอนค่ำๆ สวยทั้งเจดีย์ และผู้คนทุกเพศทุกวัยที่มานั่งปฏิบัติธรรมรายรอบองค์พระธาตุ บ้านเขาแทบไม่มีสถานบันเทิงยามค่ำคืน คนหนุ่มสาวนักศึกษามานั่งสมาธิภาวนาที่นี่เยอะมาก |
เด็กๆนักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้าน ชอบชุดนักเรียนเขา เสื้อขาว ผ้าถุงหรือโสร่งเขียว ดูเรียบร้อย พิทักษ์รักษาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าได้ดีเยี่ยม | |||
|
เด็กๆนักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้าน ชอบชุดนักเรียนเขา เสื้อขาว ผ้าถุงหรือโสร่งเขียว ดูเรียบร้อย พิทักษ์รักษาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าได้ดีเยี่ยม | |||
|
เด็กๆนักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้าน ชอบชุดนักเรียนเขา เสื้อขาว ผ้าถุงหรือโสร่งเขียว ดูเรียบร้อย พิทักษ์รักษาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าได้ดีเยี่ยม | |||
|
เด็กนักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้าน
ชอบชุดนักเรียนเขา เสื้อขาว ผ้าถุงหรือโสร่งเขียว
ดูเรียบร้อย พิทักษ์รักษาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าได้ดีเยี่ยม
ชะเวดากองสวยสง่ายามค่ำคืน
สมเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คน
จากย่างกุ้งไปเที่ยวไหนต่อดี
ขอเลือกไปพุกาม(Bagan)ไว้ก่อน
แอ่งอารยธรรมโบราณขนาดใหญ่ที่ขนาบเมืองไทยมีสองแอ่ง
ทางตะวันออกคืออารยธรรมขอม
ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือก็คือพุกามนี่เอง
ขอมอยู่ใกล้ๆ คิดถึงเมื่อไรก็นั่งรถไปเที่ยวได้
แต่พุกามออกจะไกลเสียหน่อยต้องนั่งเครื่องบินถึงสองต่อ
กรุงเทพฯไปย่างกุ้ง ย่างกุ้งไปพุกาม
เดี๋ยวนี้สายการบินในประเทศพม่ามีหลายสาย
ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องATR ขนาด50ที่นั่ง บ้านเราหรือในลาวก็ใช้เยอะ
สะดวกสบายและปลอดภัย
เครื่องบินกำลังร่อนลงสนามบินพุกาม
เห็นแม่น้ำอิรวดี(เอยาวดี)คดโค้งสวยงามมาแต่ไกล
เริ่มเห็นโบราณสถานเมืองพุกามบ้างแล้ว
ชักตื่นเต้ลลครับ
คนพม่าอพยพจากดินแดนหิมาลัยตะวันออกลงใต้มานมนากาเลแล้ว
มาปักหลักปักฐานบริเวณลุ่มน้ำอิรวดีซีกเหนือ
จากบ้าน กลายเป็นเมือง จากเมืองกลายมาเป็นอาณาจักรพุกามที่เกริกไกรสูงสุดในยุคพระเจ้าอโนรถา หรืออนุรุทธมหาราช(พ.ศ.1587-1620)
ก่อนหน้าพม่า มีชนชาติปยูเข้ามาตั้งอาณาจักรศรีเกษตรอยู่บริเวณภาคกลาง(แถวๆเมืองแปร)มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่8 ถัดลงไปทางใต้ใกล้ทะเลเป็นอาณาจักรสะเทิม(Thaton) หรือสุธรรมวดีของมอญ
พม่ากลืนปยูได้สำเร็จ ต่อมาก็รุกคืบลงใต้เอาชนะมอญได้(ชั่วคราว)ในสมัยพระเจ้าอโนรถา
จากนั้นก็นำพระไตรปิฎก พระภิกษุสงฆ์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต ตัวหนังสือ และช่างฝีมือมอญกลับไปสร้างสรรค์พุกาม
ภูมิปัญญามอญมีส่วนสำคัญในการผสมผสานต่อยอดให้กับภูมิปัญญาพม่า เนรมิตเมืองพุกามให้ยิ่งใหญ่ เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา เต็มไปด้วยศาสนสถานสวยงาม มากมายละลานตาอย่างเหลือเชื่อ
ป่าเจดีย์ที่เหลือสองพันกว่าองค์เป็นประจักษ์พยานความยิ่งใหญ่ของพุกามในอดีต
การชมป่าเจดีย์ให้ได้ภาพตระการตาต้องชมจากที่สูง
จุดชมวิวสำคัญแห่งหนึ่งคือที่เจดีย์วิหารตะโยกปิเยมิน(Tayokepyaymin)
ตะโยกคือจีน ปิเยคือวิ่งหนี มินคือเจ้า แปลรวมว่าเจ้าผู้วิ่งแจ้นหนีจีน
จีนในที่นี้คือกองทัพมงโกลของกุบไลข่านที่ยึดเมืองจีนแล้วเข้ามาโจมตีพม่าในปีพ.ศ1826
ตรงกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง
พระเจ้านรสีหบดีหนีจากพุกามไปอยู่เมืองแปร ก่อนเจรจายอมแพ้มองโกล
กองทัพมงโกลยึดพุกามได้ระยะหนึ่งแล้วถอนตัวกลับไป
วิวป่าเจดีย์ มองจากบนเจดีย์วิหารเจ้าหนีจีน
อีกแห่งหนึ่งที่เป็นจุดชมวิวสำคัญ
เป็นแก๊กทางการท่องเที่ยว แบบพนมบาเค็งที่เสียมเรียบ
คือเป็นจุดชมตะวันตกดิน ท่ามกลางมวลมหาป่าเจดีย์ล้อมเรียงราย
นี่คือวิหารเจดีย์ชเวซานดวา (ชเวคือทอง ซานดวาคือพระเกศาธาตุ)
ต้องปีนกันชันหน่อย แต่ก็คุ้มค่า
นักท่องเที่ยวที่มีใจรักการถ่ายภาพขึ้นไปลั่นชัตเตอร์กันมือเป็นระวิง บ้างก็รอคอยด้วยความอดทนที่จะได้รถม้าวิ่งมาเข้าฉากสักคัน |
นักท่องเที่ยวที่มีใจรักการถ่ายภาพขึ้นไปลั่นชัตเตอร์กันมือเป็นระวิง
บ้างก็รอคอยด้วยความอดทนที่จะได้รถม้าวิ่งมาเข้าฉากสักคัน
คราวนี้รถม้าเรียงแถวมาเข้าฉากแบบยกชุด เรียกเสียงฮือฮาแก่บรรดาเซียนกล้องทั้งหลาย (ผมเดาเอาเองว่านี่เป็นแก๊กอย่างหนึ่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จริงเท็จประการใดโปรดอย่าพึ่งเชื่อ) |
|
คราวนี้รถม้าเรียงแถวมาเข้าฉากแบบยกชุด เรียกเสียงฮือฮาแก่บรรดาเซียนกล้องทั้งหลาย (ผมเดาเอาเองว่านี่เป็นแก๊กอย่างหนึ่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จริงเท็จประการใดโปรดอย่าพึ่งเชื่อ) |
|
คราวนี้รถม้าเรียงแถวมาเข้าฉากแบบยกชุด เรียกเสียงฮือฮาแก่บรรดาเซียนกล้องทั้งหลาย (ผมเดาเอาเองว่านี่เป็นแก๊กอย่างหนึ่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จริงเท็จประการใดโปรดอย่าพึ่งเชื่อ) | ||
|
ศาสนสถานที่พุกามเคยมีมากมายถึงสี่พันกว่าแห่ง
ปัจจุบันเหลือ2217แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่รกร้างอย่างที่เห็น
แต่ก็มีบางแห่งที่ผู้คนยังให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างสูง
ยังมีการประกอบศาสนกิจทะนุบำรุงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
อย่างเช่นเจดีย์ชเวซิกอน
องค์พระเจดีย์ยังเป็นสีทองเหลืองอร่ามแบบเดียวกับเมื่อเก้าร้อยปีก่อน
เณรน้อยแห่งชเวซิกอน | ||
|
บรรยากาศภายในตลาดสดพุกาม
เด็กหญิงทาแป้งตะนะคาเสียขาววอก
เป็นจุดขายที่นักท่องเที่ยวมักจะขอถ่ายรูป
แล้วคุณหนูก็ได้ตัง
นักท่องเที่ยวสเปนชอบเที่ยวพม่ามากกว่าใคร
ตามมาด้วยฝรั่งเศส ไปเที่ยวที่ไหนก็มักเจอสองชาตินี้
ถัดจากนั้นก็เป็นญี่ปุ่น และอังกฤษ
ผมลองถามไกด์ว่ามีคนไทยมาบ้างหรือเปล่า
ไกด์ที่พุกามตอบว่าพอมีอยู่บ้าง
แล้วเป็นยังไงคนไทย
เขาอึ้งนิดนึงก่อนจะตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า
คนไทยยุ่งยากเฉพาะเรื่องกิน กินอาหารแปลกๆใหม่ๆแทบไม่ค่อยได้เลย
ต้องจัดแต่อาหารที่เคยชินให้ แต่เรื่องอื่นง่ายนะ
ง่ายอย่างไร ผมถาม
ถ้าไปโบราณสถาน ปกติผมต้องบรรยายละเอียด แขกจะต้องซักไซ้ไล่เรียงน่าดู
แต่กับคนไทย ใช้เวลาพูดน้อยมาก เพราะไม่ค่อยมีคำถาม พอถ่ายรูปเสร็จก็เตรียมไปที่อื่นต่อ
คนไทยถามน้อย แต่ชอปปิ้งนาน ผมเลยสบาย(ฮา)
การทาแป้งของเขามีหลายสไตล์
แบบที่ทากันมากคือ ทาเป็นวงกลมขาวเด่นตรงกลางแก้ม
เหมือนน้องที่พายเรือนั่นไง
อีกแบบคือประๆบางๆเป็นลาย | |||
|
อีกแบบคือประๆบางๆเป็นลาย
บางคนเป็นลายใบไม้ดูแปลกดี
อีกแบบคือประๆบางๆเป็นลาย | |||
|
รายนี้ผัดหน้าเสียขาววอกทั้งหน้า
เข้าใจได้เพราะน้องคนนี้เป็นแม่ค้าขายเจ้าท่อนไม้ที่ใช้ทำแป้งนั่นเอง
จึงต้องเน้นตัวผลิตภัณฑ์ให้เด่นชัด
อมรปุระ (Amarapura)หรือ city of immortality เคยเป็นราชธานีช่วงสั้นๆก่อนย้ายไปมัณฑะเลย์ ปัจจุบันเป็นเมืองชนบทเล็กๆที่คึกคัก รถราวิ่งขวักไขว่ เห็นพระเณรห้อยโหนหรือนั่งหลังคารถ ถือเป็นเรื่องปกติในพม่า | |||
|
อมรปุระ (Amarapura)หรือ city of immortality เคยเป็นราชธานีช่วงสั้นๆก่อนย้ายไปมัณฑะเลย์
ปัจจุบันเป็นเมืองชนบทเล็กๆที่คึกคัก
รถราวิ่งขวักไขว่ เห็นพระเณรห้อยโหนหรือนั่งหลังคารถ ถือเป็นเรื่องปกติในพม่า
ร้านขนมริมทาง
หนุ่มที่ถือกระบั้งถ่ายรูป คือหนึ่งในก๊วนคนไทยที่ชอบนุ่งโสร่งเที่ยว
ระหว่างทางเข้ามัณฑะเลย์ มีจุดแวะเที่ยวอีกแห่งคือสะพานไม้อูเบียน มีเรือกอนโดลาให้นั่งแบบเวนิซเลย แต่ผมติดใจกระยาจกชราคนนี้มากกว่า เป็นริ้วรอยแห่งชีวิตเคี่ยวกรำ ที่กำลังโรยรา |
ระหว่างทางเข้ามัณฑะเลย์ มีจุดแวะเที่ยวอีกแห่งคือสะพานไม้อูเบียน มีเรือกอนโดลาให้นั่งแบบเวนิซเลย แต่ผมติดใจกระยาจกชราคนนี้มากกว่า เป็นริ้วรอยแห่งชีวิตเคี่ยวกรำ ที่กำลังโรยรา |
รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม เป็นลักษณะเด่นของประวัติศาสตร์แดนดินพม่า อาณาจักรพุกามคือการรวมแผ่นดินเป็นครั้งแรก แล้วกองทัพมงโกลก็เข้ามาทำให้องค์เอกภาพนั้นล่มสลาย เกิดศูนย์อำนาจใหม่ๆขึ้นทดแทนหลายที่ สามพี่น้องไทยใหญ่นำโดยสังขยาตั้งศูนย์อำนาจไทยใหญ่ที่อังวะ(Ava)ใกล้ๆอมรปุระในปัจจุบัน ถัดลงมาที่ภาคกลางเกิดศูนย์อำนาจของกลุ่มคนพม่าที่ตองอู(Toungoo) คนมอญนำโดยเวรารุ หรือมะกะโท(พระเจ้าฟ้ารั่ว) สนับสนุนโดยสุโขทัย รุกคืบจากเมาะตะมะเข้ามายึดหงสาวดี(Bago)สร้างศูนย์อำนาจมอญได้อีกครั้ง เวลาผ่านไปก็เกิดวีรบุรุษเข้ามารวมแผ่นดินได้อีก นั่นคือบุเรงนอง(Bayinnuang) แห่งตองอู ปราบได้ทั้งมอญ ไทยใหญ่ ยะไข่ ล้านนา ล้านช้างและกรุงศรีอยุธยา หมดยุคบุเรงนอง ดินแดนพม่าก็แยกเป็นเสี่ยงๆเหมือนเดิม มีวีรบุรุษมารวมแผ่นดินได้เป็นครั้งคราวก็แตกอีก จนถึงยุคพระเจ้าอลองพญารวมแผ่นดินได้ใหม่ เป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ราชวงศ์อลองพระมีบทบาทในการยึดเชียงใหม่ และตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองโดยใช้กำลังเพียงห้าหมื่นคน มีบทบาทในการตั้งเมืองตะเกิง (Dagon) ชุมชนเล็กๆของมอญให้เป็นหัวเมืองเอกฝ่ายใต้จนกลายเป็นย่างกุ้งในปัจจุบัน ชื่อเจดีย์ชเวดากองมีที่มาจากชื่อเมืองเดิมนี่เอง Shwe=ทอง dagon=ตะเกิง(ตามสำเนียงไทย) ราชวงศ์นี้ทำสงครามกับอังกฤษยุคล่าเมืองขึ้น จนถูกอังกฤษหาเรื่องยึดได้ทั้งประเทศในปีพ.ศ.2428 ในสมัยพระเจ้าสีป่อ(Thibaw) โดยมีมัณฑะเลย์เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายในยุคราชอาณาจักร ครับ เราก็เดินทางมาถึงมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของพม่ากันแล้ว แลเห็นกำแพงพระราชวังตั้งเด่นอยู่กลางเมือง |
สวยมากเลยครับพุกาม ในชีวิตนี้ถ้ามีโอกาสได้ไป ชมปราสาทนครวัดกับพุมกามสักครั้งนี่คงจะดีไม่น้อยเลย
เจดีย์จำนวน729องค์แห่งวัดกุโสดอ เชิงเขามัณฑะเลย์
จารึกพระไตรปิฎกให้ผู้คนได้ศึกษาพระธรรม
การท่องเที่ยวในพม่าเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเข้าวัดมากกว่าอย่างอื่น
และการเข้าวัดต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง
การเตรียมรองเท้าแตะบางๆที่ใส่ง่ายถอดง่ายติดตัวไป จะช่วยให้สะดวกเที่ยวเป็นอย่างมากครับ
ไม่ไกลจากเมืองมัณฑะเลย์เป็นแหล่งหินอ่อนขนาดใหญ่ของประเทศ
จึงพบงานหัตถกรรมแกะสลักหินอ่อนอยู่ตามชานเมืองหลายต่อหลายร้าน
พิธีสรงน้ำพระพักตร์พระมหามัยมุนี พระพุทธรูปที่ชาวเมืองมัณฑะเลย์เชื่อมั่นศรัทธาในพุทธบารมีเป็นอย่างยิ่ง
พิธีสรงน้ำพระพักตร์กระทำเวลาตีสี่ของทุกวัน
มีชาวเมืองมาร่วมพิธี และปฏิบัติธรรมอย่างเนืองแน่นทุกวันเช่นกัน
เห็นได้ว่าศรัทธาเขามากล้นแค่ไหน
พวกเราต้องตื่นตั้งแต่ตีสามเพื่อจะไปเข้าร่วมพิธีนี้
เสร็จแล้วต้องเดินทางต่อไปอินเลในตอนเช้า
(ใครมีโอกาสมาเยือนวัดนี้ ในตอนกลางวันอย่าลืมแวะไปชมประติมากรรมสัมฤทธิ์ รูปช้างเอราวัณ สิงห์ และทวาลบาล แห่งสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7 ที่เจ้าสามพระยาไปตีเอามาจากขอม แล้วพม่าก็ยึดเอาไปตอนเสียกรุงครั้งที่หนึ่งอีกที)
การท่องเที่ยวในพม่าครั้งนี้ผมมีไฮไลท์ในใจสองแห่ง แห่งแรกคือความยิ่งใหญ่ของพุกาม ส่วนอีกแห่งคือความงามแห่งชีวิตชาวน้ำที่ทะเลสาบอินเล นี่เอง อินเล อยู่ที่ไหน ลองนึกภาพสามเหลี่ยมหน้าจั่วดู ให้มัณฑะเลย์อยู่มุมบน พุกามอยู่มุมล่างซ้ายมือ อินเลก็จะอยู่มุมล่างขวามือ หรือนึกภาพว่าเรากำลังยืนอยู่กลางเมืองแม่ฮ่องสอน หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออีกสัก180กม.ก็จะถึงอินเล ทะเลสาปน้ำจืดแห่งนี้อยู่ในรัฐฉานครับ อินเลไปได้หลายวิธี นั่งรถ นั่งรถไฟ หรือนั่งเครื่องบินไปลงสนามบินเฮโฮ ทุกวิธีต้องนั่งรถมาที่เมืองยวงชเว แล้วต่อเรือหางยาว เข้าอินเลอีกที ภาพชีวิตระหว่างนั่งเรือเที่ยว ชาวบ้านพายเรือด้วยเท้ากลับจากหาปลา |
เด็กๆพายเรือไปโรงเรียน
ที่นี่เป็นสังคมชาวน้ำ ทุกครัวเรือนล้วนใช้เรือในกิจวัตรประจำวัน เป็นอีกโลกหนึ่งที่แทบจะตัดขาดจากโลกภายนอก ความงามแห่งชีวิตที่อินเลนั้น พม่ารักษาได้ดียิ่งกว่าหลวงพระบางของลาว | |||
|
ชาวบ้านที่อินเลมีสองกลุ่มใหญ่ คืออินทา กับปะโอ ไม่นับกลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่ม
กลุ่มหลักก็คือชาวน้ำที่เราพบเห็นทั่วไปที่เรียกตนเองว่าอินทา
พวกเขาตั้งบ้านเรือนอยู่ตามชายน้ำดังที่เห็นในภาพ
ดูๆไปก็คล้ายๆคนเหนือบ้านเรานี่เอง
ชาวอินทาทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าใยบัว(ปั่นด้ายจากใยบัว)ได้สวยงาม
ดูจากกางเกงที่ผู้ชายสวม ผมอดคิดไม่ได้ว่า ชาวอินทาเป็นกลุ่มย่อยของไทยใหญ่หรือเปล่า | |||
|
หนุ่มๆก็ไม่ยอมน้อยหน้า พากันนุ่งเตี่ยวแทนโสร่ง ส่วนหนึ่งก็ไปแข่งเรือ | |||
|
มีเพื่อนคนหนึ่งถามคุณลุงชาวบ้าน(ผ่านล่าม)เหมือนกันว่า
ทำไมต้องยืนใช้ขาพายเรือ ไม่ใช้แขนแล้วนั่งพายเรือ
ชาวบ้านหัวเราะก๊าก ย้อนถามว่า
ขากับแขนอันไหนแรงมากกว่ากัน
ขาครับ เพื่อนผมตอบ
ก็นั่นแหละ ขาแรงมากกว่า แล้วไปใช้แขนพายเรือให้เมื่อยทำไม
แฮ่ๆ ข้าน้อยขอเอาเหตุผลของชาวบ้าน มาตอบลุงคลำซีก็แล้วกัน
ผมดูชาวบ้านแข่งเรือก็วิ่งปรู๊ดปร๊าดรวดเร็วใช้ได้ทีเดียว
ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวอินเลเขาละกัน
ภาพวันนี้เป็นชนเผ่าปะโอครับ ไปเที่ยวตลาดอินเลแล้วเจอพวกเขาออกมาจับจ่ายซื้อของกันเยอะ บ้านปะโออยู่ไม่ไกลจากตลาดนี่เอง | ||
|
แหมบินสู่เมืองหลวงเลยทีเดียว ไม่ได้อยากทำลายบรรยากาศนะครับ แต่ว่าบ้านเขาเหมือนบ้านเราอยู่อย่างนึงนะครับ เมืองใหญ่ดูดี แต่พอออกมาเมืองที่อยู่รอบนอก อดอยากปากแห้งกันเป็นทิวแถว ที่เราเห็นก็เป็นเพียงส่วนนึงของการสร้างภาพของประเทศเขา การรักษาวัฒนธรรมยังมีอยู่ในเมืองท่องเที่ยวครับ ส่วนชายแดนนี่รบกับชนกลุ่มน้อยเหมือนเดิม
ลูกจ้างเลี้ยงเด็กหลานผมเป็นชนกลุ่มน้อยที่หนีเข้าเมืองมา แต่อยู่ไทยก็หลายปีแล้วเล่าให้ฟังถึงความโหดของทหารพม่าบางกลุ่ม ย้ำ บางกลุ่มนะครับ เล่าถึงการรบในป่าสนุกดีเหมือนกันเขาว่างั้น อดอยากก็อยู่กันไปรบไปวันๆเท่านั้นครับ ส่วนในเมืองหลวง ชาวพม่าที่หลบหนี อพยพเข้ามาก็สร้างความเดือดร้อนเหมือนเดิม จังหวัดที่ติดชายแดนเช่นเดียวกับบ้านเกิดผมนั้นทราบถึงปัญหานี้ดีครับ พ่อผมเป็น ตชด. สายข่าวอยู่ชายแดนตลอด ตอนนี้เสียชีวิตแล้ว เอารูปมาดูตอนวันชาติกะเหรี่ยง ดูเขาตั้งหน้าตั้งตารบกันน่าดู เด็กที่พอเหนี่ยวไกปืนได้ก็ออกรบแล้ว ดูแล้วหดหู่ครับ อยากให้คิดกันในอีกแง่มุมนึงของความสวยงามที่เราได้เห็นแค่นั้นเอง ถ้ามีโอกาศจะนำรูปเหล่านั้นมาให้ดูครับ
เข้ามาบอกว่า ที่คนไทยเอ่ยชื่อกันคุ้นปากว่า เจดีย์ชเวดากอง ถ้าเป็นภาษาพม่า (แบบคนทั่วไปพูด ไม่ใช่ไกด์พูด) เขาจะเรียกว่า ชุยดากง ครับ ชุย แปลว่า ทอง
นอกจากนี้ เรื่องพิธีสรงน้ำ หลวงพ่อพระมหามัยมุนี หลังจากที่สรงเสร็จแล้ว เขาก็จะมีพิธีถวายข้าวด้วยนะครับ ชาวมัณฑเลย์เขาเชื่อกันว่า หลวงพ่อพระมหามัยมุนี เป็น พระพี่น้องกับ พระแก้วมรกต ที่บ้านเราครับ
วันหลังถ้าไปไหว้หลวงพ่อพระมหามัยมุนีใหม่ ลองพกพระแก้วมรกตไปด้วยสิครับ รับรองจะมีแต่คนแห่มาล้อมหน้าล้อมหลังแน่นอน...เป็น SuperStar ไปโดยไม่รู้ตัว
ส่วนประวัติศาสตร์พม่าหลังยุค บุเรงนอง ต้องบอกว่า ก็ไม่ได้รวมได้ทั้งหมดเป็นอาณาจักรใหญ่เหมือนพระเจ้าบุเรงนองครับ เพราะ มอญเองก็แยกตัวเองเป็นอิสระได้อยู่ตั้ง ๒๐๐ กว่าปี
พม่าหลังยุคบุเรงนองจะเป็นศึกสายเลือดเสียมากกว่า เพราะ จะแย่งกันเป็นใหญ่ระหว่างบรรดา ลูก ๆ ของบุเรงนอง (พระเจ้าแปร,พระเจ้าเชียงใหม่) รวมไปถึงลูกเขย (พระเจ้าตองอู) ด้วยครับ