ในช่วงนั้นกองทัพเรือไทยเองก็เพิ่งจะได้รับมอบเรือรบใหม่ๆที่มาจากแผนการปรับปรุงกำลังทางเรือในช่วงหลังปี ๒๔๗๕ ครับ เช่นเรือตอร์ปิโดเล็กชุด ร.ล.คลองใหญ่, เรือตอร์ปิโดใหญ่ ชุด ร.ล.ตราด, เรือสลุป ชุด ร.ล.ท่าจีน(ลำที่1) ,เรือปืนหนัก ชุด ร.ล.ศรีอยุธยา และเรือดำน้ำ ชุด ร.ล.มัจฉาณุ เป็นต้น รวมถึงการจัดตั้งกำลังอากาศนาวีครับ
อย่างไรก็ตามกองทัพเรือไทยในยุคนั้นก็ยังคงเป็นกองเรือขนาดเล็กครับ ซึ่งมีเรือเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัย ร.๕, ร.๖, ร.๗ อยู่มาก ถ้าเทียบกับประเทศมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสแล้ว
ในส่วนของยุทธนาวีเกาะช้างเองนั้น ส่วนตัวได้ให้ข้อสังเกตุถึงการรบระหว่าง ร.ล.ธนบุรี และกองเรือฝรั่งเศสที่มีเรือ Lamotte Picqute เป็นเรือธงนั้น สังเกตุว่าในช่วงที่ไทยมีการต่อเรือปืนหนักชุดนี้นั้น(ปลายช่วงปี 1930s) แทบจะไม่มีชาติใดต่อเรือแบบดังกล่าวแล้วครับ
ซึ่งเรือปืนหนักรักษาฝั่งหรือ Coastal Defence Ship นั้นมักจะเป็นเรือที่มีระวางขับน้ำใกล้เคียงประมาณเรือลาดตระเวนเบา แต่มีเกราะและปืนใหญ่หลักขนาดใหญ่พอๆกับเรือประจัญบานครับ ซึ่งเหมาะสำหรับประเทศเล็กๆในยุโรปที่มีพื้นที่ทางทะเลไม่ใหญ่มากนัก หรือประเทศมหาอำนาจสำหรับใช้ในน่านน้ำอาณานิคม ตัวอย่างประเทศที่ต่อเรือแบบนี้ก็เช่น เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน โดย ร.ล.ศรีอยุธยา และ ร.ล.ธนบุรี ซึ่งมีระขับน้ำเพียง 2,200 และติดปืน 8นิ้วนั้นจัดว่าเล็กที่สุดครับ
อย่างไรก็ตามเรือปืนหนักรักษาฝั่งก็มีจุดอ่อนเหมือนกับเรือประจัญบานที่เริ่มจะหมดยุคและล้าสมัยลงในช่วงปี 1940s ครับคือ มีความเร็วต่ำจากขนาดเรือเมื่อเทียบกับเกราะและอาวุธ ถ้าสู้กับเรือที่มีความเร็วสูงกว่าและยิงซ้ำได้เร็วกว่า รวมถึงใช้ Torpedo ด้วยแล้วจะเสียบเปรียบ และยังมีจุดอ่อนเรื่องการต่อสู้อากาศยานด้วยครับ ซึ่งผลการรบระหว่าง ร.ล.ธนบุรี และหมู่เรือฝรั่งเศที่มีอากาศยานสนับสนุนนั้นก็มีผลตามที่ทราบๆกันครับ
ท่านกบ...เดี๊ยดด เดี๋ยว ท่าน ส.ห. ตัวอักษรสีแดง...ก็มาหิ้ว ตัวอักษรพิมพ์ท่านไปหร๊อก...แล้วจะหาว่าไม่ เตือน...กั๊ก กั๊ก กั๊ก..(แซวเล่นนะคร๊าบ)...
ท่าน Tik ครับ...ความเห็นผมแค่มุมมองในความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ...แต่จากข้อมูลในหนังสือเก่า (จำชื่อไม่ได้) บอกว่า ร.ล.ศรีอยุธยา กำลังเข้าอู่ซ่อม...เมื่อได้ทราบข่าวว่า ร.ล.ธนบุรี ถูกโจมตีอย่างหนัก...ก็รีบให้ เคลียร์เรือ เพื่อจะออกไปช่วย...
และในบริเวณผลัดนั้น มี ร.ล.ระยอง (เรือเร็วตรวจการณ์ตอร์ปิโด) ที่น่าจะอยู่ใกล้จุด ยุทธนาวี ด้วย...แต่ก็ไปไม่ทัน เหมือนกัน....
ก็ตามที่ท่านกบ ว่าไว้...เรื่องการข่าว...ที่ตามข้อมูลว่า ฝรั่งเศส ได้รับทราบข่าวจาก บ.ตรวจการณ์ ว่ามีเรือจอดอยู่ จำนวน 1 ลำ (ร.ล.สงขลา) ก็กะจะรุม ร.ล.สงขลา แค่ลำเดียว...แต่มาถึงบริเวณ กลับ เจอเรือ 2 ลำ คือมี ร.ล.ชลบุรี ด้วย...แต่ กองเรือฝรั่งเศส ก็สามารถจมเรือได้ ทุกลำ ซึ่ง ร.ล.ธนบุรี ตามที่หลัง...ก็ยังพลาดท่า...
เรียกได้ว่า ใจ ของ ทหารเรือไทย เกิน 100%....แต่คงเป็นเรื่อง ยุทธวิธี การรบ ที่น่าจะยังขาด...และ การประมาท ในเรื่องประสิทธิภาพของอาวุธ...ที่ ปืนเรือ เป็นหัวใจสำคัญของเรือในการต่อต้านฝ่ายตรงข้าม มีสภาพไม่สมบูรณ์ ในขณะที่อยู่ในภาวะสงคราม
ได้อ่านยุทธนาวีเกาะช้าง มาหลายเวอร์ชั่น
(เลือกที่จะ)จดจำประโยคประทับใจไว้แค่ประโยคเดียว
"เลอมองปิเก้..อยู่นั้น เอามัน"
ความเห็นผม น่าจะเป็น เรื่องความไม่สมบูรณ์ของ เรือรบ และการขาดยุทธวิธี ทำให้ใช้ประสิทธิภาพของเรือรบ ไม่เต็มที่ครับ...
ตามบทความของ พล.ร.ท.พัน รักษ์แก้ว ในหนังสือ เมื่อธนบุรีรบ...ในส่วนของปืนเรือ ของ ร.ล.ธนบุรี มีปัญหา เรื่องการตกของกระสุนปืน...ซึ่งมีการทราบปัญหาแล้ว...แต่ยังไม่ได้ทำการแก้ปัญหานั้น...ประจวบเหมาะกับ พอดีกับการผลัดเปลี่ยนกำลัง...ทำให้ เรือออกรบ โดยสภาพของ อาวุธหลักของเรือ หรือหัวใจในการทำลายฝ่ายตรงข้าม คือ ปืนเรือ ไม่สามารถใช้งานอย่างหวังผลได้...
ซึ่งผมก็มีความเห็นว่า กว่าจะปรับระยะหวังผลได้...เรือ ก็ถูกทำลาย โดยฝ่ายตรงข้ามแล้ว...และสูญเสียผู้บังคับบัญชาไปแล้ว...ทำให้ เป็นการสู้รบโดยขาดยุทธิวิธี...
สภาพความไม่สมบูรณ์ของอุปกรณ์การรบ...
ในขณะที่ ได้รับการสนับสนุนทางอากาศจาก ทอ. แต่เครื่องบินของ ทอ. เอง ก็ไม่มีวิทยุติดต่อสื่อสารกันได้...ยังใช้ภาษามือติดต่อระหว่างเครื่องอยู่...และผมก็ไม่แน่ใจว่า ทอ. เอง ก็ต้องบินหาเป้าหมายด้วยรึเปล่า...ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ก็คงเสียเวลาไปพอสมควร...ทำให้ไปไม่ทันกองเรือฝรั่งเศส....ในขณะที่ ฝ่ายตรงข้าม มีเครื่องบินที่สมรรถนะด้อยกว่า...แต่สามารถส่งข่าวสารข้อมูลให้กับกองเรือได้...
ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีข้อกังขากันอยู่ว่า...มีการทิ้งระเบิดฝ่ายเดียวกันเอง...เพราะขาดการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน นั่นเอง....
การไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพหลักในการรบของ ร.ล.สงขลา กับ ร.ล.ชลบุรี ได้...
เรือทั้ง 2 ลำ เป็นเรือเร็วตรวจการณ์ตอร์ปิโด มีความเร็วกว่า 30 นอต...แต่ก็ไม่ได้ใช้ความเร็วของเรือ และอาวุธตอร์ปิโด ซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นของเรือ ได้มีโอกาสตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม....แต่เป็นการต่อสู้ด้วยปืนเรือ...
ในขณะที่ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งถ้าดูจากรูปแผนที่ในวิกีพีเดีย...ในความเห็นผมว่า...ฝรั่งเศส ในเรือสลุป เป็นเรือ...ล่อ...และโจมตีฉาบฉวย ก่อกวน ให้กองเรือไทย สับสน...ส่วน เรือลามอต ปิเกต์ เป็นเรือหลักในการ จมเรือฝ่ายข้าม คือ เล็ง และยิง...ซึ่งเรือ ลามอตฯ จะอยู่แนวหลังห่างจาก จุดการต่อสู้...จะสังเกตุจาก เรือฝ่ายไทย จำนวน 2 ลำ...ร.ล. ธนบุรี และ ร.ล.สงขลา (ไม่แน่ใจ) ถูกยิงจากปืนเรือ ลามอต ในตำแหน่งสำคัญ ทั้งสิ้น...ทำให้เกิดความสูญเสียเรือ...
ซึ่งถ้าเรือทั้ง 2 ลำ นี้ สามารถมีการตอบโต้จาก อาวุธตอร์ปิโด ได้บ้าง...หรือ สามารถใช้ความเร็วของเรือ ในการให้ฝ่ายตรงข้าม ยิงไม่ได้ง่ายนัก...ความสูญเสีย อาจจะไม่มากขนาดนี้ หรือ ร.ล.ธนบุรี อาจจะสามารถสร้างความเสียหายให้กับ กองเรือฝรั่งเศส ได้บ้าง....
สภาพความพร้อมรบ ของเรือรบ
ร.ล.แม่กลอง กับ ร.ล.ท่าจีน ในขณะนั้น น่าจะยังจัดอยู่ในสถานะของ เรือฝึก (จากบทความใน หนังสือ กระดูกงู ฉบับเดือน พ.ค. 52 ในเรื่อง กองเรือฝึก) และน่าจะรวมถึง เรือดำน้ำ ด้วย...เพราะเป็นเรือใหม่ทั้งสิ้น...และแม้จะจัดว่าเป็นเรือที่ทันสมัยสำหรับ ทร. ในขณะนั้น...แต่โดยสภาพจึง น่าจะจัดว่า ยังไม่พร้อมรบ...และเรือเหล่านี้ ผมก็ไม่ค่อยมีข้อมูลว่า มีบทบาท ในช่วงสงครามอินโดจีน...แต่จะมี บทบาท บ้าง ก็จะอยู่ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2...
สิ่งทีต้องปรับปรุงแก้ไข......................มีสองเรื่องครับ
1. ข่าวกรอง
2.การรบร่วม
เรื่องข่าวกรอง ผมเคยบอกแล้วว่า สายการข่าวฝ่ายกองทัพเราจะแย่อยู่สักหน่อย ผลงานเท่าที่ผ่านมาไม่ค่อยเข้าหูเข้าตาเลย .............................. จริงๆแล้ว การเคลื่อนไหวของกำลังรบ ระดับกองเรือ จะเข้าท่าออกท่านั้น มันเอิกเริก สะเทือนตึงๆอยู่ไม่น้อย........................... ที่สำคัญฐานทัพเรืออยู่ในเขมรนี่เอง คนเขมรกะคนไทยหน้าตาไม่แตกต่างกันมาก สายงานข่าวสายลับของเราไปอยู่ไหน ?????????????????????????????
การรบร่วม..................จะเห็นว่าการจัดกำลังรบของฝรั่งเศสครั้งนี้ เห็นกองทัพไทยเป็นแค่เด็กอมมือตัวน้อยๆ ด้วยจุดประสงค์จริงๆ เค้ามิได้ต้องการตีรบครอบครองสถาปนาชนิดแตกหัก เค้าแค่อยากสั่งสอน....................จริงๆแล้ว ด้วยยุทโธปกรที่เรามีอยู่ ถือได้ว่าเหนือกว่ากองเรือของฝรั่งเศสอยู่ทุกขุม เรามีเรือผิวน้ำที่มีประสิทธิภาพ เรามีเรือดำน้ำ จำนวนหนึ่งที่สามารถสกัดกองเรือรบข้าศึกได้(ข้อนี้จริงๆ ฝรั่งมันก็สารภาพภายหลัง ที่มันต้องรีบถอยกองเรือกลับ เพราะมันกลัวเรือส.เราแห่มาภายหลัง)...... เรามีกำลังทางอากาศที่ครองความได้เปรียบทั่วบริเวณน่านฟ้าของเรา ชนิดที่ข้าศึกมิอาจกล้าต่อกรด้วย..................
เพื่อนๆ แค่สองข้อนี้ เราก็เอาชนะกองเรือฝรั่งเศสได้ไม่ยากไม่มีปัญหา แต่ ท่านลองนึกดูสิ ข้าศึกจัดกำลังแค่เรือลาดตระเวณหนักหนึ่งลำกับเรือพิฆาตอีกไม่กี่ลำ เข้ามาแหย่ศักยภาพกำลังรบไทยระดับกองทัพ แสดงให้เห็นว่า ฝรั่งมังค่ามันประเมินแล้ว กองทัพไทยหน่อมแน้ม............................
แล้วก็จริงๆ...................... การข่าวไทยแย่ เรือข้าศึกแล่นออกท่ายังไม่รู้ ขณะที่ฝรั่งรู้หมดว่าเรือไทยจัดกำลังแบบไหน เรือส่วนใหญ่อยู่ไหน เรือ ส. แล่นอยู่ที่ใด.................... การรบร่วมล้มเหลว กำลังทางอากาศซึ่งน่าจะสร้างความได้เปรียบถล่มเป้าหมายยับเยิน กลับมาทิ้งระเบิดใส่พวกเดียวกันเอง..................ฮ่วย........................
ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง อีดี้อามิน และประเทศอูกันดา อ่านแล้วทำให้นึกถึงผู้นำและก็กองทัพของสารขัณฑ์ประเทศในยุคก่อน....................... กำลังรบมีไว้เพื่อเป็นเขี้ยวเล็บค้ำอำนาจ ในบทบาทป้องกันอธิปไตยมันหน่อมแน้มดีจริงๆ.......................... ไม่รู่สารขัณฑ์ประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทางใดแล้วในยุค พ.ศ.นี้
เรือพี่เรือน้องของเรือหลวงธนบุรี คือ เรือหลวงศรีอยุทธยา เรือปืนขนาด 8 นิ้ว อัน่าเกรงขาม จมลงกลางแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยการทิ้งระเบิดทางอากาศ ในกรณีกบฏเมษาฮาวาย........................... ชิท.............................
ได้อ่านคำอธิบายของคุณ juldus ช่วงเราควรใช้ ความสามารถหลักของ
เรือหลวงชลบุรีกับเรือหลวงสงขลาแล้ว อาจจะช่วยเรือหลวงธนบุรีได้
ผมมองเห็นภาพเลยครับว่า ขาดการประสานงานยุทธการ การรบ คงจะเป็นเพราะเรือ สลุป ของฝรั่งเศส เป็นตัวล่อ ทำให้การรบเป็นกระจุก และเรือธนบุรีถูกยิงอย่างหนักจนผู้บัญชาการเรือเสียไป
ผมว่าใครไปอยู่ในห้วงนั้นแล้ว อาจจะคิดไม่ถึงเรื่อง ความสามารถหลักของเรือที่เข้ามาช่วยได้ครับ
อ่านมาหลายรอบเหมือนกันแต่จับใจความไม่ได้ เรื่องเรือที่จะเข้ามาช่วยตอนนั้นครับ เพราะรายละเอียดเรือแต่ละลำไม่มีความรู้จริงๆ
เมื่อสมัยยังทำงานอยู่บริษัทเก่า ได้มีโอกาสใกล้ชิดร่วมงานกับหน่วยงานการไฟฟ้าของรัฐ................................ เคยนั่งทานข้าวร่วมโดยวกับผู้บริหาร .......................... ในวงสนทนานั้น หลังจาหร่ำไวน์ตึงกันได้ที่ การสนธนาเฮฮาครึกครื้นกลายมาเป็นการหบลัฟฟกันเอง เรื่องเริ่มจากความคิดเห็นในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้า............................ หนึ่งในประโยคเด็ดที่ผมยังจำได้ก็คือ.................................... "พี่ก็รู้ ว่าครั้งหนึ่งผู้บริหารระดับสูงของเราพยายามจะขยายฐานอำนาจ วิธีที่งายและได้ผลที่สุดคือการขยายองค์กร ก็รับกันเข้าไปสิคนหน่ะ............. ยิ่งคนเยอะก็ยิ่งใหญ่ ตำแหน่งอำนาจก็โตตาม แล้วตอนนี้มันเป็นยังไง"........................
ข้อนี้ผมเห็นด้วย เพราะช่วงปี 46-47 ที่ กฟผ.กำลังจะหลุดเข้าตลาดหุ้น มีการไฮปาร์คกันภายใน ถ้าใครเข้าไป อีแกต ในช่วงนั้นจะต้องสงสัย คนร่วมไฮปาร์คเรือนพัน กินนอนในเต้นท์เวลาทำงาน แล้วไหงงานการมันยังดำเนินต่อไปได้ ผมไปติดต่อราชการวางบิล ซื้อบิท ทุกอย่างโอเค..................ก็เลยสงสัยว่า ไอ้ที่มานั่งนอนกันเกลื่อนกลาดนี่ เป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อองกรจริงๆกี่มากน้อย...........................ที่สำคัญคือเงินเดือนท่านๆ ส่วนหนึ่งก็เป็นเงินภาษีจากผมเสียด้วย.............................
กลับมาที่กองทัพ.......................... นโยบายในการพัฒนากองทัพของเรา ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากนี้ ............................. ง่ายๆ คนเยอะ อาวุธเยอะ อำนาจก็เยอะ(งบประมาณเยอะอีกต่ะหาก)........................ ผมนิยมยุทธศาสตร์การปรับกำลังรบของท่านพ่อใหญ่ขงเบ้งจริงๆ ในคอนเสปท "จิ๋วแต่แจ๋ว" .......................... ไม่ต้องใหญ่มาก เอาให้พอเหมาะแต่คม......................... เมื่อพอเหมาะไม่ใหญ่ไม่เล้กไป งบประมาณก็พอดีประหยัด กำลังพล อาวุธ มีประสิทธิภาพ มีความชำนาญ รบเมื่อไหร่ก็หวังผลได้...............................
ผมยกตัวอย่างชัดๆ ในนยโยบายการจัดหาอาวุธของทัพเรือ........................ เมื่อไม่นานมานี้มีแผนจัดหาเรือฟรีเกตสมรรถนสูง ภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ สาเหตุเนื่องจากภัยคุกคามจากเครื่องบินรบสมรรถนสูงรอบๆบ้าน.......................... เมื่อภัยคุกคามมี โดยหน้าที่ก็ต้องจัดหา....................จะแห่เรือใหม่อีกสองลำ เอาไว้สอยเรือบิน.............ทำท่าจะเข้าพระเข้านางก็ให้เศรษฐกิจมีอันแอ้งแม้ง....................ก็เลยปรับแผนใหม่ จะเอาเรือเก่า(เรือหลวงนเรศวร)ไปรับการปรับปรุง..................................
อันนี้ถามนะ.............ผมถาม......................เรือชุดนี้แต่เดิมแผนแบบมาไว้เลิศเลอ แต่การเข้าประจำการจริงกลับแป้กอาวุธ เรือแจ่มแต่ไม่มีอาวุธยิงระยะไกล.......................... เมื่อภัยคุกคามหนักหน่วง ไอ้แผนการจะปรับปรุงดำเนินการมีบ้างมั๊ย..................................ฉันต้องซื้อ ฉันต้องเอา ฉันต้องเพิ่ม.............................ดูแล้วมันไม่ต่างจากที่ผู้บริหารการไฟฟ้า(ขบถ)ท่านนั้นว่าไว้จริงๆ............................
ท้ายที่สุดเมื่อเงินไม่มีก็ต้องหันกลับไปหาแนวทางที่ถูกต้อง............................จะว่าไปก็สะใจดีเหมือนกัน อยู่กันแบบยากจนค่นแค้นอย่างนี้แหล่ะ เหมือนเพลงลูกทุ่งเมื่อก่อนเค้าร้อง....................หมดเสียหล่ะดี มีละทำเป็นหยิ่ง มีเงินเข้าหน่อยทำแอ้ค...... มี้เงินหล่ะไหม่หด่ายจริงจริง มี้เงินหล่ะหม่ายหด่ายจริงๆ................................
กลับไปอ่าน หนังสือ เมื่อธนบุรีรบ อีกรอบ (แบบคร่าว ๆ)
ในส่วนของ ร.ล.ชลบุรี กับ ร.ล.สงขลา จอดอยู่โดยไม่ได้เตรียมเผาไฟสำหรับเดินเรือไว้ ซึ่งในการพร้อมเดินเรือ จะต้องใช้เวลาเผาไฟ ประมาณ 1 - 1.30 ชั่วโมง...เนื่องจาก ในการป้องกันฝั่ง นั้น...ได้มอบให้ ร.ล.ระยอง เป็นเรือลาดตระเวณ กลางคืน...และการโจมตี เกิดขึ้นในรุ่งเช้า...
จึงน่าจะเป็นอีกจุดหนึ่ง ที่ในภาวะสงคราม และเรือจอดอยู่ในเป้าหมายการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม...เรือรบ จอดอยู่ 2 ลำ...อย่างน้อย ควรจะมี 1 ลำ...ที่ควรจะจุดไฟเตรียมพร้อม ออกเรือได้ตลอด 24 ช.ม.
ซึ่งในหนังสือ ก็มีการกล่าวเรื่องนี้ ในเรื่องว่า ทำไม กองเรือถึงไม่จุดไฟเตรียมพร้อม 24 ชม. ซึ่งก็มีข้ออธิบายว่า ในความจริง คงไม่สามารถเตรียมความพร้อมได้ ตลอด 24 ชม. เพราะมีความสิ้นเปลืองมาก...และเป็นวิธีปกติ ในการพลางตัว...เพราะถ้ามีการจุดไฟ เตรียมพร้อม ฝ่ายตรงข้าม ก็สามารถเห็นควันไฟ และรู้ตำแหน่งได้....
จึงพอจะมองภาพได้ว่า เรือตอร์ปิโด ทั้ง 2 ลำ เป็นเป้านิ่ง จอดดวลด้วยปืนเรือ โดยสภาพไม่สามารถแล่นไปไหนได้....และในความเห็นผม ฝ่ายเรา ต้องเกิดความเข้าใจผิด ทั้งหมด คือเข้าใจว่า เรือสลุป ของ ฝรั่งเศส คือ ร.ล.ระยอง และ เรือ ลามอตฯ คือ ร.ล.ธนบุรี (ซึ่งในหนังสือ ก็มีกล่าวไว้ว่า ฝ่ายเราเข้าใจผิด คือว่า เรือลามอตฯ คือ ร.ล.ธนบุรี) และ เรือช่วยรบ ทั้ง 2 ลำ ของฝรั่งเศส คือ เรือสนับสนุน ที่มากับ ร.ล.ธนบุรี คือ ร.ล.หนองสาหร่าย กับ ร.ล.ช้าง...ซึ่งการที่เรือรบ แล่นมาด้วยฝีจักร ขนาดจะทำการสู้รบ...ควันไฟ มันก็น่าจะเห็น และจับสังเกตุได้มาแต่ไกล....เพราะ ฝ่ายเราเอง ก็ต้องมียามสังเกตุการณ์ในทะเล...แม้จะมี ทัศนวิสัย ที่ไม่ดีในวันนั้น...แต่ในภาวะสงคราม ก็ควรต้องมีการเฝ้าระวังที่มากกว่าปกติ...
ผมมองว่า
๑ เราไม่ได้เตรียมพร้อม ทั้งที่น่าจะทำ เพราะสงครามอินโดจีน เริ่มต้นเดือน ม.ค. ๒๔๘๔ ฝรั่งเศสรุกโต้กลับทางภาคพื้นดินวันที่ ๑๖ ม.ค. และเข้าตีทางเรือในวันที่ ๑๗ ม.ค. กำลังทางเรือน่าจะได้เตรียมพร้อมมากกว่านี้
๒. การเฝ้าตรวจ เหมือนกับไม่มี หรือมีไม่พอ กองเรืออยู่แบบโดดเดี่ยว ต้องแบ่งเรือออกไประวังหน้า นึกถึงการรบทางเรืออังกฤษ เสปญ คราว Queen Elizabeth I ปี1588 อังกฤษยังวางหน่วยเฝ้าระวังชายฝั่ง ทำให้รู้ตัวก่อน (นั่นสมัยพระนเรศวร) อย่างน้อยก็น่าจะใช้เรือเล็กเรือประมง ช่วยเป็นแนวร่วมทางเรือ
๓. เราหาปืนดีแปดนิ้ว เอามาไว้ขู่ให้ศัตรูเกรง แต่ถ้าเราไม่หมั่นฝึก หรือลงทุนเรื่องกระสุนในการฝึก ศํตรูก็จะอ่านออก ประเมิณค่าได้ อาวุธจะดีไม่ดีต้องฝึกใช้และต้องลงทุนเรื่องกระสุนฝึก
๔ การระบุเรือในสนามรบ กำลังที่เกี่ยวข้องจำนวนมากคงทำได้แค่แยกว่าเป็นเรือ หรือเครื่องบิน แต่ให้ระบุฝ่าย เรือลำไหนประเภท ชื่ออะไร น่าจะยาก สมัยนี้ก็เถอะคนเล่นโมอย่าไป ลองดีของจริงเขา เดี๋ยวโกรธกัน
๕ น่าจะเพราะความขัดแย้งทางการเมือง ก่อน ระหว่าง และหลัง สงครามอินโดจีน ทำให้ลดขีดความสามารถในการร่วมกันรบ เหมือน พลเอกกัตเตียรรี่ของอาร์เจนตินาตัดสินใจตีฟอลค์แลนด์
๖ ไม่อยากให้ยังโกรธศัตรูในประวัติศาสตร์ เพราะจะทำให้มองไม่เห็นการกระทำของชาติที่กำลังเอารัดเอาเปรียบเราต่อหน้าต่อตาในวันนี้ ครับ
บทเรียน...หมายความว่า จะต้องยอมรับได้ทั้งด้านบวกและลบนะคับ ในทัศนะคติของผมนั้น ร.ล.ธนบุรีไม่ใช่เรือเก่า เป็นเรือทันสมัยที่สุดที่พึงมีได้ในน่านน้ำไทยยุคนั้น วันที่ลงจากอู่ที่เมืองโยโกฮาม่านั้น ร.ล.ธนบุรีได้เคยพบปะกับลามอตต์ปีเก้มาแล้วในแบบสันติ.....
.....ร.ล.ธนบุรี ถึงจะมีระวางขับน้ำที่เล็กกว่าลามอตต์ปีเก้ต์ แต่ก้อติดปืนขนาด 8 นิ้วถึง 2 กระบอก ในขณะที่ลามอตต์ปีเก้ ติดปืนใหญ่ที่สุดคือ 4.5 นิ้วเท่านั้น และกระสุนจากลามออต์ปีเก้ที่ยิงสวน ร.ล.ธนบุรีกลับมาจนสะพานเดินเรือพังในการยิงชุดแรกนั้น เป็นกระสุนขนาด 3 นิ้วเท่านั้นคับ....
.....แน่นอนคับ เรือใหม่เอี่ยมอย่าง ร.ล.ธนบุรี ทั้งเรด้าร์ ระบบนำร่อง ระบบการเล็งยิงก้อย่อมต้องทันสมัยกว่าลามอตต์ปีเกต์อย่างไม่ต้องสงกะสัย...
....สมัยนั้น จุดที่ทำให้เราเสียเรืออย่างแท้จริง เราต้องยอมรับก่อนนะคับว่า เรายังใหม่ต่อระบบสงครามสมัยใหม่ ใหม่ต่อระบบอาวุธ ดังนั้นก้อไม่แปลกว่าทำไมเรือใหม่ ๆ ระบบใหม่ ๆ กลับยิงลามอตต์ปีเกต์ไม่โดนในการยิงชุดแรก....
.....ย้อนหลังไปในอีกสมัย ที่ฝรั่งเศสส่งเรือรบลำเล็ก ๆ เป็นเรือไม้มาจอดลอยลำหน้าสถานทูต แบ่บไร้ผู้ต่อต้าน ทั้งที่ปืนเสือหมอบที่ป้อมพระจุลต่างก้อระดมซัลโวอย่างหนัก แต่ก้อหาระคายผิวฝรั่งเศสไม่ นอกจากทำยอดเสาใบเรือรบฝรั่งเศสหักไปต้นหนึ่งเท่านั้น....
....ไม่ใช่เพราะปืนเสือหมอบกระจอกดอกคับ ถึงยิงฝรั่งเศสไม่โดน แต่เป็นเพราะว่า ปืนทั้ง 6 กระบอก ดันมีคนยิงเป็นแค่คนเดียว คือครูฝรั่งที่มาสอนทหารเรือไทยให้หัดยิงปืนเสือหมอบนั่นอ่ะคับ คนเดียววิ่งไปหลุมโน้น หลุมนี้ ยิงมันอยู่คนเดียว ถ้าโดนก้อฟลุคมากกว่าแม่นล่ะคับทั่น....
....สมัยนั้น เรามีเรือรบเหล็กลำแรก เป็นเรือพระที่นั่ง ติดปืนอานุภาพร้ายแรงพอจะป่นเรือรบฝรั่งเศสได้ทั้ง 3 ลำ มีคนพยายามจะเอาเรือลำนี้ออกไปสู้กับฝรั่งเศส แต่ก้อถูกห้ามไว้ ในความรู้สึกของผมก้อว่าถูกแล้วคับ แค่ปืนยังไม่มีใครยิงเป็น เรือรบกลไฟแล้วใครจะขับเป็น เอาไปหันรีหันขวางให้เรือเก่า ๆ ของฝรั่งมันสอยเล่นจะยิ่งเจ็บใจมากกว่า....
.....บทเรียนจากยุทธนาวีเกาะช้าง ขอสรุปด้วยบทพระราชนิพนธ์ ร.6 ที่ว่า....
.....แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้ครบสรรพ์ ศัตรูกล้ามาประจัน จะหาญสู้ริปูมลาย.....
.....ผมจึงวิงวอนขอร้องทั้งรัฐบาลและทหาร ซื้ออาวุธใหม่ไม่ได้ แต่ไม่ควรตัดงบซ้อมรบอย่างเด็ดขาดคับ ทหารควรต้องได้รับการฝึกปรืออยู่เสมอ กระสุนทุกนัดที่เสียไป จะต้องแลกกับข้าศึก 1 นัด ก้อ 1 ศพ ล่ะคับ ฮุนเซนถึงจะกลัว....