ตามความคิดผม น่าจะเป็นกรณีดังนี้
1. ไม่น่าจะมีการซื้อ Jas-39 เพราะมี F-18 C/D ทำหน้าที่แล้ว
2. บข.21 อาจยังไม่มี แต่ ทอ. อาจต้องซื้อ F-18 E/F มาใช้เพื่อความต่อเนื่องคุ้นเคย เพราะ F-18 C/D ปิดสายการผลิต และปกติทอ.ไทยไม่ค่อยซื้อเครื่องบินขับไล่รุ่นใดรุ่นหนึ่งใช้แค่ฝูงเดียว (อย่าง F-5 F-16) 3. ถ้าไม่ซื้อ F-18 E/F ตามข้อ 2 อาจจะซื้อ F-18 C/D มือสองต่อจาก ทร.สหรัฐ เพื่อให้ครบฝูง หรือฝูงที่ 2
4. F-16 ADF คงไม่ไปซื้อแน่ เพราะใช้งบประมาณไปซื้อ F-18 แล้ว
ผมคิดว่านะ F-18 E/F นะเพราะอย่างที่บอกแหละครับ เป็นการต่อยอดไง สำหรับกรณี F-18 C/D มือสองก็น่าคิดครับ แต่อะไรก็เอาทั้งนั้นแหละครับ
ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าการที่ ผอ.ทอ.ใช้คำคำว่า "ปรับปรุงเพื่อยืดอายุการใช้งาน" ของ F-5 ฝูง 701 นั้นหมายความว่าอย่างไรครับ แต่จากที่ได้ทราบข้อมูลจากบางท่านคิดว่าน่าจะหมายถึง "ปรับยืดระยะเวลาประจำการออกไปอีก" มากกว่าครับ เพราะอายุการใช้งานเครื่อง F-5 ฝูง 701 นั้นคงไม่คุ้มค่าที่จะทำการปรับปรุงใดๆต่อแล้วและกองทัพอากาศเองคงไม่น่าจะมีงบประมาณสำหรับการปรับปรุงเครื่องแบบดังกล่าวด้วยครับ
จำไม่ได้ครับว่าในการจัดหา F/A-18D 8ลำที่ยกเลิกไปในช่วงปี ๒๕๔๐ นั้นจะลงประจำการที่ฝูงใด แต่โดยทั่วไปแล้วถ้ามีการจัดหา บ.เพิ่มในฝูงเดียวกันนั้นถ้ามีการลงนามจัดหา Boeing ก็คงจะยังเปิดสายการผลิตอยู่ครับ ซึ่งหมายความว่าไทยอาจจะเป็นประเทศสุดที่มีการสั่งซื้อ F/A-18D ก่อนที่จะปิดสายการผลิตและเริ่มสายการผลิต F/A-18E/F แทน แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นเหตุการที่เกิดขึ้นจริงครับ
ก็คิดว่าในส่วน บ.ข.๒๑ นั้นก็คงจะเป็นโครงการที่จัดหามาแทน F-5T Tigris ฝูง 211 ครับ ซึ่งเครื่องที่เข้าแข่งขันคัดเลือกก็คงมีหลายแบบทั้ง Gripen NG, F-35, F/A-18F, Typhoon และ Rafale เป็นต้นครับ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะลงฝูงไหนด้วยครับ เพื่อให้กำลัง บ.ขับไล่ครบ 5ฝูง
F-16 จะมี 2 ฝูง คือ 101และ 403 >>> น่าจะเป็นฝูง 103 กับ 403 นะครับ
หากช่วงนั้นเราได้ F/A-18C/D มาจริง ขั้นต้นนั้นเราจัดหามา 8 เครื่อง ซึ่งคงต้องมีการจัดหาล็อตสองอีก 8 เครื่องเพื่อให้ครบฝูง 16 เครื่องอย่างแน่นอน และ F-16ADF ก็ไม่ได้เกิดแน่นอน นั่นหมายถึง การจัดหาครั้งต่อมาคงต้องรอให้ F-5 ฝูง เตรียมปลดและจัดหาเครื่องบินใหม่มาทดแทน กรณีนี้ตามที่ คุณnok(หรืออีตาnok) ตั้งไว้ เครื่องบินที่จะมาเข้าแข่งขันนั้นขอตาม คุณAAG_th1 เลยครับ ตรงที่คิดไว้ทั้งหมดครับ
ผมว่า ตอนนั้น F/A-18 C/D จะลงที่ ฝูง 102 เหมือนเดิมครับ...เพราะ ฝูง 102 เป็นฝูงบินไม่มี บ. และรอ บข.20 แต่เมื่อยกเลิก F/A-18 ก็ใช้ L-39 มาประจำการชั่วคราว...จนเมื่อได้ ADF...ก็ย้าย L-39 ออกไป...
ประวัติฝูง 102 ก็ล้วนแต่ประจำการด้วย บ.ที่ทันสมัยของ ทอ. ตลอดมา
ปี 2499 - 2506 ประจำการ F-84 G
ปี 2506 - 2511 ประจำการ F-86 L
ปี 2520 - 2534 ประจำการ F-5 E/F (ฝูงแรก และย้ายไป 701)
ปี 2537 - 2542 ประจำการ L-39 บ.ฝึกแบบแรกที่มีระบบควบคุมการปล่อย อาวุธ และระบบเดินอากาศที่ใช้ LASER GYPO
ปี 2546 - ปัจจุบัน ประจำการ F-16 ADF
ดังนั้น เมื่อสมมติ มี บข.20 เป็น F/A-18 C/D (แสดงว่า ไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ) จำนวนฝูงบิน ทอ. ก็ยังคงเหมือนเดิม...เพราะ F-5 B/E ยังมีอายุใช้งานเหลืออีกกว่า 10 ปี...
ฝูง 102 = F-18 C/D
ฝูง 103 = F-16 A/B
ฝูง 211 = F-5 E/F
ฝูง 403 = F-16 A/B
ฝูง 701 = F-5 B/E/F
และถ้า สมมติว่า ทอ. จัดหา F-18 C/D มาจนครบฝูง (ผมว่าน่าจะฝูง 16 ลำ)...ทอ. ก็คงจะจัดหา ฝูงบิน ใหม่ มาทดแทน 701 เหมือนเดิม....และตัวเลือก ก็น่าจะเป็นเหมือนเดิม คือ JAS-39 กับ F-16 C/D...และแนวโน้ม ผมว่าจะเป็น F-16 C/D มือสอง...เพราะ ทอ. คงจะเพิ่งใช้งบประมาณในการจัดหา F/A-18 C/D ฝูงที่ 2 ไปไม่นาน...และ สมมติว่า ไม่เกิดเหตุการณ์ ปี 2549...ความน่าจะเป็นที่เป็นตัวเลือกเดิม คือ JAS-39 + ERIEYE ก็น่าจะมีสูง หรือ อาจจะเป็น SU-30
ตามความเห็นผม น่าจะเป็น
กรณีสถานะ เศรษฐกิจในปัจจุบัน
ฝูง 102 = F-16 C/D มือสอง (บข.19 ข/ค)
ฝูง 103 = F-16 A/B (บข.19 / ก)
ฝูง 211 = F-5 E/F (บข.18 ข/ค)
ฝูง 403 = F-16 A/B (บข.19/ก)
ฝูง 701 = F/A-18 C/D (บข.20/ก)
พร้อมจัดหา ERIEYE
กรณีไม่เกิดเหตุการณ์ ปี 2549
ฝูง 102 = JAS-39 C/D (บข.21/ก) หรือ SU-30 (บข.21)
ฝูง 103 = F-16 A/B (บข.19/ก)
ฝูง 211 = F-5 E/F (บข.18 ข/ค)
ฝูง 403 = F-16 A/B (บข.19/ก)
ฝูง 701 = F/A-18 C/D (บข.20/ก)
พร้อมจัดหา ERIEYE
ตามท่านจูลดาสครับ................................. จริงๆแล้ว เอฟ-18 ทั้งหมด ยังไงก็ต้องจัดลงที่ฝูง 102 ครับ .................... ทั้งนี้เพื่อให้คงกำลังรบเครื่องบินขับไล่ 5 ฝูง จะเห็นว่าก่อนหน้านั้น มีการแบ่ง แอล-39 ออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อจัดตั้งฝูง 102 หลังจากโครงการเอฟ-18 ลงตัวแล้ว จึงยุบฝูงแอล-39 ไปรวมกับฝูง 101 และ 401 .................................
ในหัวข้อสุดท้าย ผมมองต่างไปนิดนึงครับ คือกรณีโครงการเอฟ-18 ไม่ถูกเลิกล้ม อนาคตในการมองหาเครื่องบินของกองทัพอากาศอาจไม่ใช่กริเพ่น จึงเป็นเรื่องที่คาดเดาความเป็นไปได้ยาก แต่ที่แน่นอน ถ้าไม่เกิดกรณีอัปยศปี 49 ฝูงบินขับไล่เราจะเป็นดังนี้
ฝูง 102 103 และ 403 เป็น เอฟ-16
ฝูง 701 จะเป็น กริเพ่น และ ซู-30 โดยการซื้อแบบบาเตอร์เถรด
ฝูง 211 จะเป็นไทกริส และ เสือสองบางส่วนจาก 701 ที่ยังบินได้
ซึ่งจริงๆแล้ว ผบ.ทอ.ในสมัยนั้นคือ พล.อ.อ. คงศักดิ์ เคยมีไอเดียจะขายทอดตลาด เอฟ-5 ทั้งหมด แต่ก็ต้องระงับไว้ ซึ่งถ้าเป็นดังนั้น ซู-30น่าจะอยู่สุราษฐ์ กริเพ่น จะอยู่อุบล ................................
เหตุการณ์ปี 2549 (น่าจะหมายถึงการปฏิวัติหรือเปล่า) มีผลอะไรเหรอคับ
ทำไมผลการจัดหาเครื่องบินขับไล่ ถึงมีความแตกต่างกัน