คือผมค้างคาใจมานานแล้วครับว่า เมื่อในอดีตอยุธยา อันเป็นเมืองหลวงเก่าของเรา รอดพ้นจากเงื้อมมือข้าศึกมาได้หลายต่อหลายครั้ง เป็นเพราะอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบทำให้ข้าศึกต้องจำกัดเวลาในการยกกำลังพลมาเข้าตีเมืองให้ได้ก่อนน้ำหลาก ทำให้อยุธยารอดพ้นมาหลายต่อหลายครั้ง
แต่เมื่อย้ายกรุงมาสร้างกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ ซึ่งจุดที่สร้างกรุงเทพฯ ไม่ได้มีแม่น้ำล้อมรอบเหมือนอยุธยา แต่มีแม่น้ำแค่ด้านที่ติดกับพระราชวังเท่านั้น
ดังนั้นผมสงสัยว่าถ้าเกิดสงครามครั้งใหญ่เหมือนกับเช่นครั้งกรุงศรีอยุธยา พี่ๆคิดว่าในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เราจะสามารถรับมือทัพข้าศึกที่มีกำลังมากกว่า1 แสนถึง2 แสนคนได้หรือไม่ครับเพราะเราไม่มีแม่น้ำล้อมรอบเหมือนกับอยุธยา ดังนั้นการศึกอาจจะใช้เวลายาวนานถ้าข้าศึกเข้ามาล้อมเมืองเหมือนกับที่มาล้อมอยุธยา
และพี่ๆคิดว่าคลองรอบกรุงเทพมีความสำคัญกับจุดยุทธศาสตร์ในอดีตมากแค่ไหนและกรุงเทพจะสามารถรับมือข้าศึกได้นานหรือไม่ครับเพราะไม่มีเรื่องน้ำมาช่วยขับไล่ข้าศึกแล้ว
3.พี่ๆคิดว่าในปัจจุบันนี้ถ้าเกิดไม่มีเมืองทางเหนือมาช่วยในกรณีที่ข้าศึกสามารถยึดทางเหนือไว้ได้หมดแล้ว ขีดความสามารถและกำลังพลของทหารทัพภาค1กับทัพภาค4 จะมีเพียงพอในการทำสงครามหรือไม่ครับ ในกรณีที่ข้าศึกมีขนาดประเทศใหญ่หรือเท่ากับเรา
เอาแค่นี้ก่อนแล้วกันครับพี่ กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อให้พี่ๆลองวิเคราะห์ให้ปวดหัวเล่นเท่านั้นครับ เหอะๆๆๆๆๆๆ คริๆๆๆ
แผนที่กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ครับ
มามั่วนะครับ
เอายุคอยุธยาก่อน อยุธยาจริง ๆ แล้ว ใช้ยุทธศาสตร์ป้อมค่าย คือเอาเมืองเป็นที่ตั้งรับอย่างที่เราเคยเรียนกันมา แต่โดยเนื้อแท้แล้วก็ต้องอาศัยกำลังพลจากหัวเมืองเหนือลงมาเพื่อกระหนาบอีกรอบครับ สังเกตดูได้เลยว่า ถ้าเมื่อไรขาดกำลังคนจากทางหัวเมืองเหนือแล้ว ก็จบครับ รอวันเช็คบิล
ยกเว้นกรณี พม่าล้อมกรุงศรีฯ สมัยสมเด็จพระนเรศวรฯ เพราะพระองค์ทรงกวาดต้อนคนในหัวเมืองเหนือมาอยู่ที่อยุธยาหมดแล้วครับ
-----------------------------------------------
ยุครัตนโกสินทร์
เราเปลี่ยนหลักนิยมไปแล้วนี่ครับ เราจะใช้กำลังทหารไปยันไว้ที่ชายแดนแทนเพราะถ้าปล่อยให้มาอยู่ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาได้ ก็มีความเสี่ยงสูงครับที่จะแพ้
จริง ๆ กรุงเทพฯ สมัยนั้น หมายถึงแค่พระนครชั้นในเท่านั้นนะครับ ที่เขาเรียกว่า [b]เกาะรัตนโกสินทร์[/b] เพราะฉะนั้นกรุงเทพฯ จึงมีคูล้อมเสมือนหนึ่งอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบไม่ต่างกันครับ
ที่สำคัญยังมีเมืองธนบุรีที่จะช่วยกรุงเทพฯ รบ ซึ่งต่างจากอยุธยาที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวครับ และ สภาพชัยภูมิแบบนี้ ร.๑ เองก็ทรงมีประสบการณ์มาแล้ว ในคราวศึกเมืองพระพิษณุโลก ที่อะแซหวุ่นกี้มาขอดูตัวนั่นหละครับ เพราะฉะนั้น พระองค์น่าจะทรงชำนาญการรบแบบนี้มากครับ
สรุป ถ้าพม่าจะต้องการทำศึกให้ชนะ ก็ต้อง
1.. ยึดหัวเมืองล้านนาทั้งหมดจาก เจ้ากาวิละ เสียก่อน
2.. ต้องทำลายแนวต้านทานที่เมืองพิษณุโลกให้แตกให้ได้
3..ต้องสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคกลางไว้ได้ทั้งหมด
จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่งานง่าย ๆ เลยครับ ที่พม่าจะบุกมาถึง กรุงเทพฯ ได้สบาย ๆ เหมือนตอนปลายกรุงศรีฯ อยุธยา เพราะอย่างน้อย ๆ สมัยกรุงธนบุรี ทางสยามก็ปรับหลักนิยมใหม่หมดแล้วครับ และ หลักนิยมนี้ก็ยังคงมีมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ครับ ซึ่งก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า พม่าไม่สามารถทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ตลอดมา ๒๐๐ กว่าปีมาแล้วนั่นเองครับ
เคยดูสารคดี คลองบางลำภู(เส้นสีดำ) นั้นแหละครับคือคูเมือง และกำแพงเมืองชั้นนอก ความกว้างลึกนี่น้องๆแม่น้ำครับ(ในสมัยนั้น) เหมือนคลองบางกอกใหญ่ เป็นคลองที่ขุดไม่ใช่คลองธรรมชาติครับ มีป้อมเรียงรายตลอดรอบเมืองไม่แน่ใจว่ากี่ป้อมครับ บางป้อมก็รื้อทิ้งไปแล้ว เค้าถึงเรียกบริเวณนี้ว่า"เกาะรัตนโกสินทร์"ครับ สรุปก็คือยุทธศาสตร์การสร้างเมืองในสมันนั้นนิยมทำเป็นเกาะ ไม่เป็นเกาะก็ขุดให้เป็นเกาะซะ..ส่วนข้าศึกยกมาจะตั้งรับได้หรือไม่นั้นไม่ทราบครับ เพราะยังไม่เคยมีข้าศึกรุกเข้ามาถึงกำแพงเมืองจนบัดนี้..เพราะยุทธวิธีของกรุงเทพฯเปลี่ยนไปเป็นส่งกองทัพไปยันข้าศึกที่ชายแดน ไม่ได้ตั้งรับในเมืองแบบอยุธยาครับ ทราบแค่นี้แหละครับ แหะ แหะ.....
ท่าน lordsri ตอบได้ดีและตรงจุดจริงๆครับ ผมว่าพระเจ้าตากและ ร.1 คงวิเคราะห์ได้ว่าหลักนิยมตั้งรับเดิมของอยุธยาผิดพลาดมาตั้งแต่ต้นแล้ว
และที่ต้องคิดอีกข้อ ผมว่าน่าจะมาจากระบบอาวุธสมัยใหม่เมื่อเข้าสู่ยุคของกรุงเทพแล้ว มันดีขึ้นมาก กำแพงเมืองและคูน้ำเริ่มจะมีประโยชน์น้อยลง
ส่วนผมยังแปลกใจว่าทำไมพระเจ้าตากท่านจึงไม่เลือกเกาะของการท่าเรือปัจจุบันมาเป็นเมืองหลวงใหม่ เพราะเกาะนี้แม่น้ำเจ้าพระยานั้นโค้งงอจนเกือบครบรอบ 360 องศาเลย สามารถขุดคลองตัดให้เป็นเกาะโดยใช้ระยะทางสั้นๆได้ และมีขนาดเล็กกว่าอยุธยาด้วย (มีขนาดระหว่างเกาะรัตนโกสินทร์กับเกาะอยุธยา
คำถามนี้มาก็จังหวะพอดี ได้ไปอ่านนิตยาสาร สารคดี ฉบับล่าสุด
มีเรื่องของ เดินรอยตามเจ้าอนุวงศ์แห่งล้านช้าง
สมัยก่อนยังไม่มีขอบเขตเป็นรัฐ ดังนั้นจึงมีแค่เมืองและอาณาจักร
เช่น ล้านช้างก็ อยู่แถบๆลาว ซึ่งมีหัวเมืองเป็นอิสระต่อกันได้แก่
หลวงพระบาง เวียงจันทร์ และจำปาสัก
พม่า แถบนั้น เขาเรียกกันว่าพวกอังวะ หรือ มอญ
ถ้าทางใต้ก็ พวกรัฐกลันตัน ตรังกานู ปัตตานี
ส่วนไทยเรา พม่าเขาเรียกเราว่า พวกโยเด
เวียดนามเขาเรียกว่า เว้ ครับ
เขาเขียนไว้อย่างละเอียด พร้อมรูปถ่ายต่างๆ ว่า คราวที่รัชกาลที่ 3 โดนเจ้าอนุวงศ์ตีเข้ามาถึงเมืองพิมายหรือ นครราชสีมา อำเภอเมืองปัจจุบัน ได้มีการยกทัพหลวงไปช่วยถึง 4 สายด้วยกัน ตั้งแต่ยกไปทางสระบุรี ยกไปทางหล่มสัก
ยกไปทางบุรรีรัมย์ และยกไปทางด้านจังหวัดชัยภูมิถ้าอ่านแล้วจำไม่ผิด
ซึ่งคราวนั้นเป็นการยกทัพที่ยิ่งใหญ่มากครั้งหนึ่งในการป้องกันเมืองพระนคร นำโดยเจ้าบดินเดชานี่ละครับ ซึ่งในคราวนั้นแม่ทัพไทยได้ พรรณนาถึง เหล้าข้าราชการไทย ไม่ค่อยมีผู้มีประสบการณ์ในการรบเพราะร้างราจากการศึกมานานโข และศึกเจ้าอนุวงศ์อันนี้เป็นการเริ่มต้น
สงครามอันยาวนานระหว่างสยามกับเว้ ครับ ยาวจนไม่มีใครชนะ
และเป็นเหตุการณ์ของการอพยพ ผู้คนจากฝั่งโขงประเทศลาว
มาก่อร่างสร้างเมืองในแถบที่ราบสูงอีสาน จนก่อกำเนิดจังหวัดทั้งหลายในภาคอีสานนี่ละครับ
อ่ามาพูดถึงการตั้งรับเมืองพระนครกันดีกว่า
ถ้าสังเกตให้ดีประตูเมืองของเมืองรัตนโกสินทร์อยู่ทางปากทางเข้าวัดบวรอะครับ ถ้าไปดูก็จะรู้ว่าเล็กขนาดรถหกล้อผ่านได้คันเดียวเอง
ถ้าข้าศึกก็คืออังวะ ส่วนมากก็มรกันหลายสาย ไม่ชอบมาสายเดียว
เดินมาประกบกะว่าตีกระหนาบกันให้ตายไปข้างนึง การวางผังเมืองของ
กรุงรัตนโกสินทร์ก็คล้ายๆกับกรุงศรีอยุธยา สร้างให้เป็นเกาะ ป้องกันศัตรูได้ และบังเอิญว่า ผมเคยเดินทางไปก็หลายที่มาเล่าให้ฟังว่า จังหวัดที่มีคูเมืองมาแต่โบราณและก็มีมาถึงปัจจุบันมีดังนี้คือ
เชียงใหม่ กำแพงเพชร สุโขทัย ลำพูน ลำปาง โคราช ร้อยเอ็ด อุยธยา
กรุงเทพ สุพรรณบุรี พิษณุโลก เพชรบุรี เท่าที่ทราบมีแค่นี้ละครับ
ถ้ามองประวัติศาสตร์การติดต่อของคนไทยสมัยก่อนให้ดี
จะมีคลองส่งถึงกัน เช่นจาก จังหวัดเพชรบุรี มาถึง กรุงเทพ ไปโผล่อยุธยา และสามารถเดินทางไปโผล่ถึงระยองได้เลยโดยทางเรือ
อันนั้นก็คือเส้นทางการเดินทัพของสยามอีกเช่นกัน และด้วยเส้นทาง
เดินเท้าจากเพชรบุรี(เมืองแฝดอยุธยาซึ่งเคยเจริญกว่าเมืองธนบุรี) ไปโผล่ฝั่งทะเลอันดามันซึ่งก็คือ เมืองทวาย มะริด ด้วยเส้นทางนี้จะต้องผ่านอยู่สองที่คือ ทางด่านสิงขรจังหวัดประจวบคีรีขัน และทางด่านเจดีย์สามองค์ (ซึ่งเส้นทางนี้ยังเป็นถนนลูกรังแค่ 60 กิโลเมตรในฝั่งพม่่า )
อันเส้นทางนี้คือเส้นทางซึ่งก่อกำเนิดโดยพ่อค้าชาวเปอเซียน ไว้สำหรับขนส่งสินค้าผ่านทางเกวียน ไปลงเรือที่ท่าเรือที่ทะเลอันดามัน
นับว่าเป็นเส้นทางที่มีความคึกคักอย่างมากและมีมาแต่โบราณ จะมาขาดตอนก็ช่วง ไทยเราปิดกั้นไม่ยอมรับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใน
สมัยสงคราม คอมมิวนิส ทำให้เหล่าเยาวชนไทยไม่รับรู้ถึงวัฒนธรรมระหว่างคนพม่า คนลาว คนเวียดนาม และอื่นๆอีกมากมาย ช่างน่าเสียดายยิ่งครับ เท่าที่รู้ก็งูๆปลาๆเท่านี้ละครับ
ขอขอบคุณพี่ๆทุกคนนะครับสำหรับความรู้ดีๆ ที่มีแบ่งปันกัน ขอยอมรับว่า คำตอบสุดยอดทุกคน ผมเข้าใจอะไรขึ้นเยอะเลย ผมก็เพิ่งรู้ว่า อ่อที่แท้ต้นสายปลายเหตุของเหตุการณ์ที่เรารบกับญวนก็เพราะเหตุนี้นี่เอง ขอบคุณพี่ๆทุกคนครับ
ประวัติศาสตร์ของทางราชการนั้น มีไว้เพื่อแจ้งให้พลเมืองว่าควรจะรู้อะไรบ้างอย่างไรบ้างเพื่อที่ทางราชการจะได้ปกครองได้ง่ายๆครับ ดังนั้นประวัติศาสตร์จริงๆ กับประวัติศาสตร์ของทางราชการ บางเรื่องจึงต่างกันอย่างฟ้ากับเหว อะไรทำนองนี้ครับ
ส่วนอันไหนจริงอันไหนเท็จก็ต้องอยู่ที่คนอ่าน ว่าควรจะเลือกเชื่อตรงไหนหรือไม่เลือกเชื่อตรงไหนครับ เพราะเรื่องจริง ประวัติศาสตร์จริงๆ นั้นบางครั้งไม่สามารถเผยแพร่ต่อสาธารณะได้ครับ เพราะอาจจะทำให้ผู้ปกครองอาจไม่พอใจได้ ประวัติศาสตร์บางเรื่องอาจทำให้โครงสร้างทางสังคมหรือการเมืองถึงกับล่มสลายได้ครับถ้าหากมีการเผยแพร่ความจริงออกมา
ท่าน data อธิบายได้โดนใจจริงๆ