หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


แนวรบฝั่งตะวันตกเหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง - ผลกระทบแห่งสงครามชาติพันธุ์ในพม่า 1

โดยคุณ : omaha เมื่อวันที่ : 10/09/2010 21:16:10


มาอย่างนี้ก็ต้องอาศัยสองขาเหมือนชาวบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงจุดตรวจของทหารจีนเพราะไม่มีวีซ่า ยิ้มกว้างๆ  รถขับเคลื่อนสี่ล้อมาส่งครึ่งทางก่อนถึงด่าน ๕๐๐ เมตรลงเดินข้ามเขาที่ดูเหมือนว่าจะไม่สูงนักแต่ก็เล่นเอาหายใจแทบไม่ทัน ผู้นำทางทหารคะฉิ่นในชุดชาวบ้านเดินเร็วกว่าหลายเท่า


เดินประมาณสองชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึงหลักเขตแดนจีน -พม่า/รัฐคะฉิ่น
 

ด่านของกองกำลังคะฉิ่นอิสระที่ "ปาเจา"


ใกล้ๆด่านเป็นตลาดนัดสามวัน (ทุกๆสามวันจะมีตลาดนัดที่นี่)




ความคิดเห็นที่ 1



เห็นธงของแนวร่วมและพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยโบกสะบัดไปพร้อมๆกับธงของคะฉิ่นอิสระแต่ไกล


และนี่คือบ้านพักรับรองของฐานที่มั่นคะฉิ่นอิสระ  ที่นานๆจะได้รับแขกแปลกหน้าสักครั้ง
 

หลุมฝังศพของอดีตประธาน "บราง เซ็ง" มองเห็นเด่นเป็นสง่าแต่ไกล เขาได้พักผ่อนชั่วนิรันดร์ ณ ฐานที่มั่นปาเจา

อย่างที่ผมได้กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ต้นว่า กองกำลังคะฉิ่นอิสระภายใต้การนำของ "บราง เซ็ง" สร้างความแข็งแกร่งให้กับขบวนการคะฉิ่นนานัปการ  แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ประธาน “บราง เซ็ง” เสียชีวิตอย่างปัจจุบันทันด่วนด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เพราะกว่าจะนำขึ้นรถจาก “ปาเจา” ลงเขามาที่เมืองซิม่าแล้วต่อไปยังเมือง “หมั่งฉี” เพื่อขึ้นเครื่องบินมายังคุนหมิง  กว่าจะถึงโรงพยาบาลก็อาการโคม่าเสียแล้ว  “บราง เซ็ง” เสียชีวิตที่คุนหมิงในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ด้วยวัยเพียง ๖๔ ปีขนาดเลขาธิการฝ่ายความมั่นคงสูงสุดของไทยไปเยือนถึงโรงพยาบาลจนวาระสุดท้ายของเขา ที่ทราบเพราะเห็นภาพถ่ายที่บ้านพักภรรยาของประธาน "บราง เซ็ง" ขณะนอนพักรักษาตัวอยู่ที่คุนหมิง
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:26:40


ความคิดเห็นที่ 2




ฝ่ายต่างประเทศของคะฉิ่นอิสระ


ทั้งบรรยายและเล่าความเป็นมา คนชี้โน่นชี้นี่คือ "ลุงเจมส์ ลุมด่าว" ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร "ซาว เซ็ง" และ "ซาว ตู" ผู้นำคะฉิ่นรุ่นแรกที่เดินทางมายังชายแดนไทย ณ บ้านถ้ำงอบ ส่วนคนหันหลังคือ "ดร.ตูจา มานาม" ผู้นำคะฉิ่นรุ่นที่สองและปัจจุบันคือเลขาธิการพรรคฯ

กองกำลังคะฉิ่นอิสระนับว่าเป็นกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้มแข็งอีกกลุ่มหนึ่ง  ทางตอนเหนือของพม่ามีฐานที่มั่นและกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่ “ปา เจา – Pa Jau” ชายแดนพม่า-จีน มีกำลังรบ ณ ปัจจุบันประมาณ ๘,๕๐๐ – ๑๐,๐๐๐ คน  แม้จะเป็นสมาชิกของ NDF แต่ก็ได้เจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ สร้างความไม่พอใจให้กับสมาชิกกลุ่มอื่นๆไม่น้อย  ผู้นำคะฉิ่นอธิบายว่าจำเป็นต้องเจรจาหยุดยิงเพราะถูกขนาบทั้งจีนและอินเดียสองประเทศยักษ์ใหญ่ที่อยู่คนละค่าย  จีนไม่ต้องการที่จะให้ประเด็นของผู้ลี้ภัยสงครามชาวคะฉิ่นกลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศประกอบกับจีนมีผลประโยชน์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพม่าค่อนข้างมาก 
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:27:14


ความคิดเห็นที่ 3


ขณะที่อินเดียต่อรองให้ความช่วยเหลือกับคะฉิ่นในหลายๆด้านเพื่อให้กองกำลังคะฉิ่นยุติให้ความช่วยเหลือและให้ที่พักพิงแก่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลอินเดียในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จากวันนั้นถึงวันนี้ยังไม่มีข้อยุติใดๆระหว่างคะฉิ่นอิสระกับรัฐบาลพม่า  ยังไม่มีการวางอาวุธแต่อย่างใด  ต่างฝ่ายต่างคุมเชิงกันอยู่และแบ่งเขตการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการทำไม้ เหมืองหยกและแม้แต่เหมืองทองคำซึ่งมีการขุดค้นและทำเหมืองกันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้  ซึ่งงานอย่างนี้พ่อค้าจีนรับไปเต็มๆ  ส่วนเรื่องที่ต้องตกลงกันภายหลังหยุดยิงก็คือการเข้าร่วม “สมัชชาแห่งชาติ (National Convention)” ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าบอกว่าต้องหาขอยุติกับกองกำลังติดอาวุธต่างๆโดยสันติวิธีนั่นคือร่วมกันร่าง “รัฐธรรมนูญ” ให้ถูกใจทุกๆฝ่าย ตอนนี้ก็ร่างกันมาแล้ว ๑๑ ปีเต็มๆ ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้างไม่พอใจก็ยิงกันต่อคงต้องรอดูไปเรื่อยๆ  เพราะแนวรบฝั่งตะวันตกยังไม่เปลี่ยนแปลง


ประธานบราง เซ็ง ขณะเข้าร่วมประชุมกับ "พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า - Democratic Alliance of Burma/DAB ที่ "มาเนอพลอร์" ฐานที่มั่นกะเหรี่ยงอิสระบนฝั่งน้ำเมย ภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๕


ผู้นำ "พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า"  ประธานบราง เซ็งอยู่ในชุดเขียว หมวกเขียว ส่วนนายพลโบเม๊ยะใส่หมวกเบเร่ห์สีแดง

หมายเหตุ

เพื่อไม่ให้สับสน "แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ - National Democratic Front/NDF" คือแนวร่วมของกองกำลังชนเผ่าเท่านั้นแต่ไม่ทั้งหมด เพราะชนเผ่าบางส่วนเป็นแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (ธงขาว) ส่วน "พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า - Democratic Allince of Burma/DAB" คือพันธมิตรของกองกำลังชนเผ่ากับบรรดาพม่าแท้กลุ่มต่างๆและนักศึกษาพม่าที่หนีตายเข้าป่ามายังเขตยึดครองของกองกำลังชนเผ่า  ซึ่งกะเหรี่ยงอิสระรับเต็มๆเพราะอยู่ติดกับไทยและเป็นทางออกสู่โลกเสรีภายหลังเหตุการณ์จราจลในพม่าปีพ.ศ. ๒๕๓๑ ทั้งนี้ไม่รวมรัฐบาลพลัดถิ่นของพม่าที่จัดตั้งขึ้นโดย "พรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยแห่งพม่า - National Leauge for  Democracy/NLD" ภายหลังการเลือกตั้งปีพ.ศ. ๒๕๓๓
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:27:40


ความคิดเห็นที่ 4


ชุมชนคะฉิ่นในประเทศไทยเป็นชุมชนเล็กๆอยู่ที่บ้าน “หนองเขียว” ชื่อทางการใหม่ใช้ชื่อว่า “บ้านใหม่สามัคคี”  ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่คือครอบครัวของอดีตทหารคะฉิ่นและมวลชนที่ติดตาม “ซาว เซ็ง” และ “ซาว ตู” มาในช่วงแรกและ “บราง เซ็ง”ในช่วงหลัง 


ผู้หญิงคือ นอว์หลุยส์วิซ่า เบนสันอดีตนางงามพม่าแต่งงานกับนายพลกะเหรี่ยงอิสระแล้วหนีเข้าร่วมขบวนการกู้ชาติ "ซาว เซ็ง" คนยืนกลางผู้ก่อตั้งขบวนการคะฉิ่นอิสระ ส่วนคนขวาคือนายพลลี เวนฮ้วนที่บ้านถ้ำงอบ อ.เชียงดาว/ไชยปราการ ภาพจาก The Shan of Burma: Memoirs of a Shan Exile โดย Chao Tzang Yawnghwe/ เจ้าช้าง ณ ยองห้วย

ส่วนลูกๆหลานๆและครอบครัวของผู้นำบ้างก็ไปเรียนต่อต่างประเทศและในประเทศไทย บ้างก็ทำมาค้าขายอยู่ในเมืองเชียงใหม่ได้สัญชาติไทยไปเรียบร้อย  ชาวคะฉิ่นมักจะไปรวมตัวกันเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ ณ โบสถ์บ้านถ้ำหิน อำเภอดอยสะเก็ดของจังหวัดเชียงใหม่  วันดีคืนดี “มะหน่าว” ของชาวคะฉิ่นกลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของการตกแต่งสวนประเทศไทยไปเสียได้โดยเฉพาะในงานพืชสวนโลกที่ผ่านมา


ขากลับไม่กล้าออกทางเดิม ต้องมุดออกอีกทางเพราะทางการจีนได้กลิ่นคนแปลกหน้า บนเส้นทางบางช่วงก็อย่างที่เห็น


ไลซ่า คือเมืองชายแดนในเขตยึดครองของคะฉิ่นอิสระอีกแห่งหนึ่ง จาก "ปาเจา" ใช้เวลาหนึ่งวันเต็มๆบนคะฉิ่นไฮเวย์  ที่เห็นเป็นภูเขาอีกด้านคือเขตจีน

โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:29:53


ความคิดเห็นที่ 5


ขบวนการกู้ชาติไทใหญ่ (Shan Resistance Movement)

๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เมื่อเห็นว่ารัฐบาลพม่าภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีอูนุ มีแนวโน้มจะไม่ปฏิบัติตาม "ข้อตกลงที่ปางหลวง" ตามที่นายพลอ่อง ซานมิตรร่วมรบของอูนุที่ถูกสังหารไปก่อนหน้าได้ให้คำมั่นสัญญาไว้แก่ชนเผ่าต่างๆ  และถึงแม้ว่าประธานาธิบดีคนแรกของพม่าจะเป็นถึงเจ้าฟ้าไทใหญ่นั่นคือ "เจ้า โฉ่ย แต๊ก ณ ยองห้วย - Sao Shwe Thaik Yawnghwe" แต่เขาก็ไม่ผิดไปจากตรายางที่ไม่มีอำนาจอะไรเลย  คนหนุ่มอย่าง "ซอหยั่นต๊ะหรือเจ้าน้อย" ไม่อาจอยู่นิ่งดูดาย..


เจ้าน้อย มังกรผู้ก่อตั้งขบวนการ "หนุ่มศึกหาญ" กองกำลังต่อต้านพม่าของไทใหญ่กลุ่มแรก เขาคือ "เช เกววรา" ของนักรบไทใหญ่ในช่วงเริ่มต้น : ภาพจาก "เหนือแคว้นแดนสยาม" โดย ปราณี ศิริธร
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:30:36


ความคิดเห็นที่ 6




เจ้าน้อยหรือ “ซอหยั่นต๊ะ” และ “ปู่ลุงกุ่งนะ”  รวบรวมกำลังหนุ่มไทใหญ่จำนวน ๒๘ คนปืน ๘ กระบอก ที่เมืองจ๊อดชายแดนรัฐไทใหญ่- ไทยตรงข้ามบ้านเปียงหลวง และบ้านหลักแต่งอำเภอเวียงแหง จ.เชียงใหม่ปัจจุบัน ข่าวของ "หนุ่มศึกหาญ" ได้ลุกลามออกไปดั่งไฟลามทุ่งยามหน้าแล้ง ลุกลามไปถึงเมืองหาง เมืองสาด ท่าขี้เหล็ก เชียงตุงฯลฯ และเกือบทั่วทั้งรัฐไทใหญ่ในเวลาไม่ถึงเดือนในปีพ.ศ.นั้น


 

เจ้าโฉ่ย แต๊ก เจ้าฟ้าไทใหญ่แห่งเมืองยองห้วย  ประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่า


 


เจ้าโฉ่ย แต๊ก ตามสำเนียงไทใหญ่ (ในหนังสือบางเล่มอ่าน "ฉ่วย ไต้" ตามภาษาอังกฤษ)และมหาเทวีเฮือนคำ ในวัยหนุ่มสาวและพึ่งเศกสมรสก่อนที่จะต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองมากมาย  ในวาระต่อมา: ภาพจาก Burma Frontier Photographs 1918 - 1935 - The James Henry Green Collection


ชายหนุ่มไทใหญ่มากมาย เข้าร่วมขบวนการ "หนุ่มศึกหาญ" ในช่วงเริ่มแรกอย่างคึกคักด้วยหวังว่าในเวลาอันใกล้พวกเขาจะได้ประกาศอิสรภาพแห่งความเป็น "ไท" ภาพจาก "เหนือแคว้นแดนสยาม" โดย ปราณี ศิริธร


กองกำลัง "หนุ่มศึกหาญ" ใช้เวลาไม่ถึง ๒ ปีสามารถจัดกำลังรบได้ถึง ๑๑ กองพัน  แต่ก็อีกนั่นแหละ "อำนาจ" และการ "หลงแก่อำนาจ" กองกำลังหนุ่มศึกหาญจึงหนีไม่พ้นสัจธรรมของความแตกแยก และทำให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าของกองกำลังไทใหญ่  ต้องล้มลุกคลุกคลานนับแต่บัดนั้นจนแม้กระทั่งทุกวันนี้ ภาพจาก "เหนือแคว้น แดนสยาม"

โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:31:21


ความคิดเห็นที่ 7


พึ่งทราบว่ามีคนอินเรื่องไทใหญ่ไม่น้อย ยิ้มกว้างๆ  ถ้าจะว่าไปแล้วเฉพาะที่เชียงใหม่ก็มีฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าไม่ต่ำกว่า ๑๐ กลุ่มทั้งใต้ดินและบนดิน เดี๋ยวจะไปไกลขออนุญาตกลับมาถึงสาเหตุของแนวรบฝั่งตะวันตกอีกครั้งครับ


ข้อตกลงที่ปางหลวง

พิมพ์ใหม่ว่าดังนี้ครับ

The Panglong Agreement
Dated Panglong, 12th February 1947


A conference having been held at Panglong, attended by certain Members of the Executive Council of Governor of Burma, all Saohpas and representatives of the Shan States, the Kachins Hills and the Chin Hills:

The Members of the Conference, believing that freedom will be more speedily achieved by the Shans, the Kachins and the Chins by their immediate co-operation with the interim Burmese government:

The Members of the Conference have accordingly, and without dissentients, agreed as follows:-

1.   A representative of the Hill Peoples, selected by the Governor on the recommendation of representatives of the Supreme Council of the United Hill Peoples (SCOUHP), shall be appointed a Counsellor to the Governor to deal with the Frontier Areas.

2.   The said Counsellor shall also be appointed a Member of the Governor’s Executive Council, without portfolio, and the subject of Frontier Areas brought within the purview of the Executive Council by Constitutional Convention as in the case of Defence and External Affairs.  The Counsellor for Frontier Areas shall be given executive authority by similar means.


3.   The said Counsellor shall be assisted by two Deputy Counsellors representing races of which he is not a member.  While the two Deputy Counsellors should deal in the first instance with the affairs of their respective areas and the Counsellor with all the remaining parts of the Frontier Areas, they should by Constitutional Convention act on the principle of joint responsibility. 

4.   While the Counsellor, in his capacity of Member of the Executive Council, will be the only representative of the Frontier Areas of the Council, the Deputy Counsellors shall be entitled to attend meetings of the Council when subjects pertaining to the Frontier Areas are discussed.

5.   Though the Governor’s Executive Council will be augmented as agreed above, it will not operate in respect of the Frontier Areas in any manner which would deprive any portion of these Areas of the autonomy which it now enjoys in internal administration.  Full autonomy in internal administration for Frontier Areas is accepted in principle.

6.   Though the question of demarcating and establishing a separate Kachin State within a unified Burma is one which must be relegated for decision by the Constituent Assembly, it is agreed that such a State is desirable.  As a first step towards this end, the Counsellor for Frontier Areas and the Deputy Counsellors shall be consulted in the administration of such areas in the Myitkyina and the Bhamo District as are Part II Scheduled Areas under the Government of Burma Act of 1935.

7.   Citizens of the Frontiers Areas shall enjoy rights and privileges which are regarded as fundamental in democratic countries.

8.   The arrangements accepted in this Agreement are without prejudice to the financial autonomy now vested in the Federated Shan States.

9.   The arrangements accepted in this Agreement are without prejudice to the financial assistance which the Kachin Hills are the Chin Hills are entitled the receive from the revenues of Burma, and the Executive Council will examine with the Frontier Areas Counsellor and the Chin Hills financial arrangements similar to those between Burma and the Federated Shan States. 

Shan Committee                

Sd. Hkun Pan Sein            
( Saohpalong of Tawngpeng State)
Sd. Sao Shwe Thaike            
( Saohpalong of Yawnghwe State )
Sd. Sao Hom Hpa            
( Saohpalong of North Hsenwi State )
Sd. Sao Num               
( Saohpalong of Laika State )
Sd. Sao Sam Htun            
( Saohpalong of Mongpawn State )
Sd. Sao Htun E
( Saohpalong of Hasmonghkam State )

Kachin Committee

Sd. Sinwa Naw, Kyitkyina
Sd. Zau Rip, Myitkyina
Sd. Dinra Tang, Myitkyina
Sd. Zau Lawn, Bhamo
Sd. Labang Grong, Bhamo

( Representative of Hsahtung Saohpalong )      

Sd. Hkun Pung               
Sd. U Tin E               
Sd. U Kya Bu               
Sd. Sao Yape Hpa
Sd. U Htun Myint
Sd. Hkun Saw
Sd. Hkun Htee               

Chin Committee

Sd. Hlur Hmung, ATM, IDSM, B.E.M – Falam
Sd. Thawng Za Hkup, ATM, Tiddim
Sd. Kio Mang, ATM, Haka

Burmese Government
Sd. Aung San
( U Aung San )
12/2/47.
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:32:04


ความคิดเห็นที่ 8


ภายหลังข้อตกลงที่ปางหลวง  ก็ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. ๒๔๙๐ หรือ ค.ศ. ๑๙๔๗ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยเพียงฉบับเดียวของพม่านับตั้งแต่ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์จากอังกฤษ  จนกระทั่งนายพลเนวินกระทำการรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้  ในปีพ.ศ. ๒๕๐๕/ค.ศ. ๑๙๖๒ จากวันนั้นถึงวันนี้พม่าไม่เคยมีการใช้รัฐธรรมนูญอีกเลยนอกจากกฎอัยการศึก!  เนื้อหาที่สำคัญของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่ทำให้แนวรบฝั่งตะวันตกเหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง  อยู่ในหมวดนี้ครับ

Chapter x.
Right of Secession.


201.   Save as otherwise expressly provided in this Constitution or in any Act of Parliament made under section 100, every State shall have the right to secede from the Union in accordance with the conditions hereinafter prescribed.

202.   The right of secession shall not be exercised within ten years from the date on which this Constitution comes into operation.

ในบทนี้ได้ระบุไว้ว่าสิทธิในการแยกตนเองหรือการปกครองตนเองสามารถทำได้ภายหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ประกาศไช้อย่างเป็นทางการ ๑๐ ปี และรายละเอียดต่างๆได้ระบุไว้ในข้อถัดไป

203.   ( 1 ) Any State wishing to exercise the right of secession shall have a resolution to that effect passed by its State Council.  No such resolution shall be deemed to have been passed unless not less than two-thirds of the total number of members of the State Council concerned have voted in its favour.

( 2 ) The Head of the State concerned shall notify the President of any such resolution passed by the Council and shall send him a copy of such resolution certified by the Chairman of the Council by which it was passed.

204.   The President shall thereupon order a plebiscite to be taken for the purpose of ascertaining the will of the people of the State concerned.

205.   The President shall appoint a Plebiscite Commission consisting of an equal number of members representing the Union and the State concerned in order to supervise the plebiscite.

206.   Subject to the provisions of this Chapter, all matters relating to the exercise of the right of secession shall be regulated by law.


โฉมหน้าผู้นำไทใหญ่ "หนุ่มศึกหาญ" ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่ากลุ่มแรก

ที่น่าสนใจที่สุดก็คือฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าของไทใหญ่กลุ่มแรกหาใช่บรรดาเจ้าฟ้าทั้งหลายไม่ กลับเป็นสามัญชนและพระภิกษุที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของเจ้าฟ้าทั้งหลายและผู้ปกครองของพม่า  บรรดาเจ้าฟ้าไทใหญ่แทบพูดไม่ออกเพราะเจ้าฟ้าแห่งเมืองยองห้วยเป็นถึงประธานาธิบดี  แต่กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่าภายหลังจากที่นายพลเนวินทำการรัฐประหาร ท่านประธานาธิบดีของพม่าคนแรกซึ่งเป็นเจ้าฟ้าไทใหญ่ต้องเสียชีวิตอย่างน่าอนาถในคุกด้วยเวลาเพียงไม่กี่เดือน
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:32:44


ความคิดเห็นที่ 9


ประชาธิปไตยในพม่ายังไกลเกินเอื้อม การเยือนพม่าของทูตพิเศษแห่งองค์กรสหประชาตินายอิบราฮิม กัมบารีเมื่อเร็วๆนี้ คงจะช่วยให้สถานการณ์ในพม่าผ่อนคลายลงไปบ้าง แต่พม่ายังคงเผชิญกับปัญหาภายในที่อีรุงตุงนังมากว่า ๕๐ ปี  แม้ว่าสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะได้รับรายงานจากนายกัมบารีเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุปใดเป็นที่แน่ชัด

ความเป็นจริงก็คือว่าอย่างน้อยที่สุดประเทศมหาอำนาจ ๒ ประเทศคือจีนและรัสเซียอาจใช้สิทธิวีโต้ หากสมาชิกสภาความมั่นคงชาติอื่นๆประกาศคว่ำบาตรพม่า และยังมีชาติมหาอำนาจอีกชาติหนึ่งคืออินเดียแม้จะยังไม่ได้เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแต่ก็ถือว่าเป็นแคนดิเดต ที่มีโอกาศเข้าเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงฯ หากอินเดียไม่เห็นด้วยกับการคว่ำบาตรย่อมหมายความว่ารัฐบาลทหารพม่ายังคงมีแรงสนับสนุนจากประเทศใหญ่คือจีนและอินเดีย  ที่เป็นทั้งคู่ค้าทางเศรษฐกิจและการทหารควบคู่กันไป  ในขณะเดียวกันการยุติสงครามเพื่อสันติภาพและความขัดแย้งในพม่านั้นจำเป็นต้องมีการเจรจา ๓ ฝ่าย (Tri-Partite Dialogue)  นั่นคือ ฝ่ายทหาร ฝ่ายของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน (พรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ และพรรคเล็กอื่นๆ) และกองกำลังติดอาวุธชนเผ่าต่างๆทั้งที่มีการหยุดยิงและยังไม่มีการเจรจาหยุดยิง  ซึ่งกว่าจะบรรลุถึงจุดนี้คงต้องใช้เวลาอีกนานแสนนาน..


เป็นที่น่าสังเกตุว่าในรัฐไทใหญ่ไม่มีพระสงฆ์ออกมาประท้วง เพราะถูกควบคุมจากทหารพม่าอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่เกิดสงครามภายใน ส่วนภาพการประท้วงของพระสงฆ์ในเมืองใหญ่อย่างย่างกุ้งและมัณฑเลย์ที่โพสต์ทางอินเตอร์เนท เดี๋ยวนี้กลับกลายเป็นหลักฐานสำคัญสำหรับการไล่ล่าและจับกุมผู้ประท้วงไปเสียแล้ว ในภาพเป็นภาพของกองกำลังชนเผ่าในรัฐไทใหญ่ขณะปฏิบัติหน้าที่และรับฟังข่าวคราวการจราจลในพม่า ภาพผ่านดาวเทียมจากรัฐฉานโดย Free Burma Rangers 
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:34:06


ความคิดเห็นที่ 10


อ้างอิง คุณ Vinyuchon  จากเว็บ thaioctober.com
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่ 14/06/2009 02:37:13


ความคิดเห็นที่ 11


ขอบคุณครับได้ความรู้ดีดีเยอะเลย
โดยคุณ kean2442 เมื่อวันที่ 15/06/2009 06:41:33


ความคิดเห็นที่ 12


   ไม่เคยรู้มาก่อนเลย ว่ากองกำลังที่ยังต่อสู้กับรัฐบาลทหารพม่า มิได้อ่อนแอกว่าที่เข้าใจเลย พวกเขาต่อสู้โดยไม่อ่อนข้อแม้แต่น้อย แต่เพราะรัฐบาลไทยมีข้อตกลงผลประโยชน์ต่อกัน ข่าวสารของเหล่ากองกำลังต่อต้านรัฐบาลพม่าจึงไม่เปิดเผยอย่างละเอียดให้คนไทยทั่วไปรับรู้มากนัก

    ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูล

โดยคุณ panzer เมื่อวันที่ 15/06/2009 08:46:01


ความคิดเห็นที่ 13


ขอบคุณครับ   ท่านเจ้าของกระทู้ท่าทางจะรู้เรื่องความเป็นไปในพม่าได้ดีมาก   ถ้าไม่เป็นการรบกวนช่วยนำเสนอเรื่องกลุ่มรัฐฉานให้หน่อยนะครับในกระทู้หน้า    สภาพก่อนที่รัฐฉานจะวางอาวุธโดยเฉพาะในยุคขุนส่าและกลุ่มของจ้าวยอดศึกจะขึ้นมามีอำนาจ   จำนวนกลุ่มติดอาวุธที่เป็นเชื้อชาติไทใหญ่    สถานะภาพปัจจุบันของรัฐฉาน    เขตการครอบครองที่พม่าสามารถควบคุมได้ในปัจจุบันและเขตที่ยังอยู่ภายใต้การครอบครองของจ้าวขุนศึก  

     นอกจากนี้ผมอยากทราบเรื่องความเป็นไปในเขตตะนาวศรี(ดินแดนเก่าของเรา)    ซึ่งน่าจะมีคนไทยอยู่ในเขตนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว   สภาพกลุ่มติดอาวุธที่ยังคงมีอำนาจในเขตตะนาวศรีด้วยครับ

    ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

 

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 15/06/2009 09:23:25