สงครามที่ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษในแนวรบฝั่งตะวันตก สงครามนิรนามที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย อาทิผู้ลี้ภัย แรงงานอพยพ ยาเสพติด เหยื่อแห่งทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หญิงและชายผู้ขายบริการ อาชญากรรมที่เป็นผลต่อเนื่อง
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าพวกเขาต่างมาจากทุกสารทิศของฝั่งฟากสาละวินด้านตะวันตกของไทย ทำไมเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์พม่าล่มสลาย ชนชาติว้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่ายังคงถูกเรียกว่า
"ว้าแดง" แต่ว้าแดงก็เป็นชื่อที่แสลงต่อสังคมไทยไม่น้อย เมื่อสื่อไทยต่างประณามว่าพวกเขาคือผู้ค้าและผู้ผลิตยาเสพติดที่เรียกว่า
"ยาบ้า" ที่ส่งผลให้สังคมไทยในหลายๆส่วนที่ค่อนบ้า... ต้องบ้า..มากขึ้นไปอีก กะเหรี่ยงแดงกลับไม่ใช่ฝ่ายซ้ายแต่เป็นฝ่ายขวา โปรดติดตาม
ฟากฟ้าสาละวิน แนวรบฝั่งตะวันตก
หมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงริมฝั่งสาละวิน
นาข้าวที่พึ่งดำเสร็จ สีเขียวขจีงามตา
ชาวบ้านบางส่วนยังคงปักดำ นี่คือวิถีของผองชนลุ่มน้ำสาละวิน
เมื่อข้าวเริ่มโต ฝูงควายก็ได้พักผ่อนกินอยู่อย่างอิ่มหมีพีมัน
คนพึ่งควาย ควายอยู่เพื่อคน
ป่าสาละวินไม่เคยทำให้โลกร้อน แต่คนต่างหากที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
สาละวินไม่ใช่สายน้ำร้าย แต่คนต่างหากที่กำลังจะทำร้ายเธอ พวกเขาลืมแม้แต่ความเป็นแม่ของเธอ แม่...ผู้ที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มชื้นและชีวิตโดยไม่เลือกว่าผองชนเหล่านั้นจะเป็นใคร..และเป็นคนชั้นใด?
มันเป็นสงครามที่ยืดเยื้อ มันคือสงครามที่ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชนเผ่าและชาติพันธุ์
สงครามนิรนามที่ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ
ความคิดเห็นที่ 1
ในธรรมชาติที่สวยงามนั้น...มีการสู้รบ
นักรบแห่งหน่วยจรยุทธ์ของกองทัพกะเหรี่ยงแดง สูบชาลูท (บุหรี่พม่า) อย่างอารมณ์ดี
สงครามกลางเมืองในพม่านั้นประทุขึ้นนับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ มูลเหตุของสงครามที่รัฐบาลพม่าต้องเผชิญสามารถอธิบายพอสังเขปดังนี้คือ ๑ อุดมการณ์ที่แตกต่าง ๒. กลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการแยกตัวออกมาเป็นอิสระและปกครองตนเอง รัฐบาลพม่าต้องขับเคี่ยวกับศึกหลายด้านชนิดที่ว่าต่อเนื่องและยาวนานแม้ทุกวันนี้สงครามยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ
อาจกล่าวได้ว่าสงครามกลางเมืองในพม่าเป็นสงครามที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกปัจจุบันนี้ก็ว่าได้ บทบาททางการเมืองภายในพม่าในช่วงหลังสงครามและภายหลังได้รับเอกราชนอกเหนือจากกลุ่มชาติพันธุ์แล้วการขับเคี่ยวทางการเมืองเห็นจะเป็นบทบาทของมิตรร่วมรบที่กลับกลายมาเป็นศัตรูในภายหลังของฝ่ายเรียกร้องเอกราชที่มี
นายพลอ่องซาน เป็นผู้นำในนามกลุ่ม
๓๐ สหาย (Thirty Comrades) หรือจะแปลแบบการทูตว่า
คณะตรีทศมิตร ก็คงได้ แต่ผมขอเรียกตามศัพท์ฝ่ายซ้ายว่า
๓๐ สหาย ก็แล้วกัน บรรดา ๓๐ สหายนี่เขาเรียกตัวเองว่า
ทะขิ่น ภาษาพม่าหมายถึง
เจ้านาย ไม่ก็
ฯพณฯ ท่าน อะไรทำนองนี้ ต่อจากนี้ไปหากมีการกล่าวถึงคำว่า
ทะขิ่น ก็หมายความว่าบุคคลนั้นเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะกู้ชาตินามว่า
๓๐ สหาย ก็แล้วกันครับ
ศัตรูอันดับแรกของรัฐบาลประชาธิปไตยพม่าภายใต้นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าคือ
อูนุ (ทะขิ่นนุ) หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชคือ
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า (Communist Party of Burma) และกลุ่มชาติพันธุ์ที่มี
กะเหรี่ยง เป็นผู้นำในการประกาศตัวแยกออกจากพม่าเพื่อสถาปนา
รัฐกะเหรี่ยง มาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๙๒
กะเหรี่ยง เป็นหัวหอกในการประกาศตนเป็นอิสระก่อนพม่าได้รับเอกราชด้วยซ้ำไป แม้นายพลอ่องซานบิดาแห่งเอกราชพม่าและ
พ่อของนาง อ่องซาน ซู จี ได้พยายามโน้มน้าวให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้มารวมตัวกันเพื่อหาข้อยุติในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษภายใต้ชื่อ
สหภาพพม่า ที่เมืองปางหลวง (ป๋างโหล๋ง - สำเนียงไทใหญ่)ในรัฐไทใหญ่หรือรัฐฉาน (Shan State) เมื่อวันที่
๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ จนเป็นที่มาของ
ข้อตกลงแห่งปางหลวง (Panglongs Agreement) ซึ่งมีสาระสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในข้อตกลงที่ว่า
ภายหลังจากการรวมตัวกันและได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วภายใน ๑๐ ปีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆสามารถที่จะตัดสินอนาคตของตนเองได้ว่าจะรวมอยู่ภายใต้ธงของ สหภาพพม่า หรือจะแยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งกลุ่มต่างๆที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นมีตัวแทนจาก ไทใหญ่/ฉาน คะฉิ่น และฉิ่น เท่านั้นที่เข้าร่วมประชุมและร่วมลงนามในข้อตกลงปางหลวง แต่ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่ไม่ยอมเข้าร่วมอาทิ มอญ ยะไข่/อาระกัน ว้า นากา ลาฮู/มูเซอร์ พะโอ/ตองซู่ ปะหล่อง โกก้าง ฯลฯ รวมทั้ง
กะเหรี่ยง (แยกเป็นกะเหรี่ยง กอทูเล- รัฐกะเหรี่ยง และ กะเหรี่ยงแดง แห่งรัฐคะยา) ภายหลังข้อตกลงที่ปางหลวงไม่นานนายพลอ่องซานก็ถูกสังหารโดยผู้ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของเขาก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเพียงไม่กี่เดือน
ทะขิ่นนุ (อูนุ) มิตรร่วมรบเพื่อเอกราชของเขาจึงได้รับการสืบทอดอำนาจต่อมา จากข้อตกลงที่ปางหลวงทำให้กลุ่มที่เข้าร่วมประชุมเริ่มทวงสัญญาเมื่อเวลาใกล้ถึง ๑๐ ปี ในระหว่างนี้รัฐบาลพม่าต้องทำสงครามกับ
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า และ
กะเหรี่ยง ไปพร้อมๆกัน ในเวลาต่อมากลุ่มกะเหรี่ยงได้จัดตั้งพันธมิตรร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระหรือปกครองตนเองขึ้นในชื่อ
แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Front NDF)
นักรบกะเหรี่ยงแดงแห่งลุ่มน้ำสาละวิน พร้อมอาวุธคู่กาย
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 01:40:24
ความคิดเห็นที่ 2
ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าในอดีตและปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ก่อตั้งเมื่อ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่กรุงย่างกุ้ง ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๙ได้มีการแยกตัวออกมาของกลุ่มที่ต้องการให้การปฏิวัติเป็นไปแบบรุนแรงเร้าร้อนและเรียกตนเองว่า พรรคคอมมิวนิสต์พม่า ธงแดง (Communist Party of Burma- Red Flag) นำโดย ทะขิ่นโซ มีฐานที่มั่นแถบภูยะไข่หรือเทือกเขาแห่งอาระกันและพม่าตอนบน ต่อมา ทะขิ่นโซ ถูกทหารพม่าจับได้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ทำให้ถึงจุดอวสานของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า - ธงแดงไปโดยปริยาย ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่เป็นต้นกำเนิดยังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการทหารต่อไปและเป็นที่รู้จักกันในนาม พรรคคอมมิวนิสต์พม่า ธงขาว (Communist Party of Burma White Flag) มีฐานที่มั่นสำคัญในระยะเริ่มต้นแถบเทือกเขาพะโค (Pegu Yoma), เทือกเขาแห่งอาระกัน/ยะไข่ (Arakan Yoma) และในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีแต่ในหลายปีต่อมาถูกกองทัพพม่าตีต้องถอยร่นไปตั้งฐานที่มั่นติดชายแดนจีนในตอนเหนือของรัฐไทใหญ่/รัฐฉาน พรรคคอมมิวนิสต์พม่า(ธงขาว)มีประธานพรรคฯตามลำดับต่อไปนี้ ทะขิ่นทาน ทุน (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๘๘ ๒๕๑๑) ทะขิ่นซิน (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ๒๕๑๘) และ ทะขิ่นบา เต็น ติน (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ๒๕๓๒) ส่วนเลขาธิการพรรคคนสุดท้ายคือ "คิน หม่อง ยี" เท่าที่จำได้จากเวบของป้าซอท์ล (๒๕๑๙ ข้าเอง-www.2519me.com)ได้บันทึกไว้ว่าเคยมีอดีตนักรบท.ป.ท. หลายท่าน ที่ถูกส่งไปจีนขากลับมาเมืองไทยต้องผ่านฐานที่มั่นแห่งสุดท้ายของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่ ปางซางหลังจากพำนักอยู่ระยะหนึ่งก็ได้วางแผนเดินทางกลับมาตุภูมิหวังจะทำการปฏิวัติต่อผ่านทางรัฐไทใหญ่และต้องผ่านเขตยึดครองของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าหลายต่อหลายกลุ่ม และกว่าจะเดินทางมาถึงแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่นักรบท.ป.ทเหล่านี้ยังไม่ทราบว่าสงครามประชนที่ต้องต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของพคท./ทปท.ได้ยุติลงแล้ว
คูรบ กับนักรบผู้โดดเดี่ยว ณ แนวรบฝั่งตะวันตก เขาจะคิดถึงใครบ้างหรือเปล่าหนอ...? การสลายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (ธงขาว)ในปีพ.ศ. ๒๕๓๒ เนื่องจากมีการยึดอำนาจภายในและการไม่ยอมรับอำนาจของส่วนกลาง (Mutiny)โดยชนชาติว้าซึ่งเป็นกองกำลังทหารหลัก พวกว้ากล่าวหาว่าคณะกรรมกลางส่วนใหญ่มีแต่พม่าไม่มีชนเผ่าเป็นสมาชิก แถมยังเอารัดเอาเปรียบชนเผ่าที่เป็นสมาชิกพรรคฯ เท่าที่ทราบจากทหารว้าเมื่อครั้งไปผมเยือน ปางซาง ในปีพ.ศ. ๒๕๓๗ ทะขิ่นบา เต็น ติน ถูกอุ้มใส่แคร่ไม้ไผ่เพราะแก่มากแล้วหาบข้ามน้ำข่ามอบให้กับทางการจีนรับตัวไปยังสถานคนชราที่ เมืองอ่า เขตปกครองพิเศษ ลานซาง/ล้านช้าง ในมณฑลยูนนานตรงข้ามกับ ปางซาง ปัจจุบันทางการจีนได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำข่าค่อนข้างถาวรเชื่อมโยงระหว่างเมืองอ่ากับปางซาง |
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2007, 11:39:14 AM โดย Vinyuchon » |
บันทึกการเข้า |
สุดฝันที่ปลายฟ้า..มุ่งหาสัจธรรม.. | | |
Vinyuchon
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2007, 22:55:15 PM » |
|
แนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่าและเขตงาน๑ . เขตงาน ๑๐๑ (War Zone 101) ในรัฐคะฉิ่น กองกำลังหลักเป็นนักรบคะฉิ่น เมื่อฐานที่มั่นใหญ่ถูกว้ายึดและยุบ พรรคฯต้องยุติบทบาทด้วยสิ้นเชิงพร้อมๆกับการเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า แนวร่วมส่วนนี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กองทัพประชาธิปไตยใหม่-คะฉิ่น ( New Democratic Army Kachin หรือ NDA K) มีผู้นำเป็นชาวคะฉิ่นชื่อ ติง ยิง (Ting Ying) กองกำลังติดอาวุธปัจจุบันประมาณ ๘๐๐ ๑,๒๐๐ ๒. เขตงานโกก้าง (เขตงานพิเศษ - ชาวโกก้างเป็นชาวพม่าเชื้อสายจีน) ภายหลังการเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กองกำลังพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า ( Myanmar National Democratic Alliance Party/Army MNDAP/MNDAA) นี่ก็ตั้งชื่อเสียหรู ผู้นำช่วงมีการหยุดยิงใหม่ๆผู้นำคือสองพี่น้องตระกูล เฟิ้ง คือ เฟิ้ง จ่า ชิน และ เฟิ้ง จ่า ฟู แต่ก็นั่นแหละเมื่อมีอำนาจก็ต้องมีการโค่นอำนาจในเวลา ๓ ปีต่อมา สองพี่น้องตระกูล หยาง ก็เข้ายึดอำนาจพวกเขาคือ หยาง มู่ เหลียง และ หยาง มู่ อาน พื้นที่เขตงานนี้ผมไม่เคยไปเพราะไปค่อนข้างยากและเข้มงวดหลายอย่าง ประกอบกับภาษาจีนไม่ค่อยแข็งแรง กลุ่มโกก้างขึ้นชื่อในเรื่องของการแปรฝิ่นดิบให้เป็นเฮโรอีนยาเสพติดประเภทต่างๆตามลำดับหลังของเจ้าผงนรก และเป็นผู้ค้ายาเสพติดรายสำคัญในพม่า พวกเขาเป็นทั้งคนกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและนักการตลาด กองกำลังติดอาวุธน่าจะพอๆกับกลุ่มคะฉิ่น เนื่องจากพื้นที่ยึดครองไม่กว้างขวางมากนัก ๓. อดีตศูนย์กลางพรรคฯ ได้เปลี่ยนเป็นกองบัญชาการใหญ่ของ กองทัพแห่งสหรัฐว้า (United Wa State Party/Army) มีอดีตกรรมการกรมการเมืองหนึ่งเดียวของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่มีเชื้อสายชนเผ่าว้าคือ เจ้ายี่ลาย ปัจจุบันเขาเป็นอัมพาตครึ่งตัวเรียกว่าแทบจะไม่มีอำนาจอะไร ข่าวบางกระแสก็ว่าเขาเสียชีวิตแล้ว คนที่สองแต่ผมว่าเขาเป็นหมายเลขหนึ่งตัวจริงคือ เปา โย ชัง หรือ ต้า ปัง ผู้เป็นทั้งฝ่ายบริหารและผ.บ.ทหารสูงสุดของกองทัพว้าปัจจุบันและทรงอำนาจที่สุด เมื่อหลายปีที่ผ่านมาได้มีการโยกย้ายประชาชนว้ามายังภาคใต้ของรัฐไทใหญ่/ฉาน ประชิดชายแดนไทยตามยุทธศาสตร์ แบ่งแยกแล้วปกครอง ของกองทัพพม่า ถ้าว่าไปแล้วมันก็คือยุทธวิธีคลาสสิคตามตำราพิชัยยุทธไม่มีผิด ผู้ที่สนใจติดตามข่าวสงครามยาเสพติดมักจะได้ยินชื่อ เมืองยอน และคำว่า ว้าแดง อยู่เสมอๆทั้งนี้สื่อไทยเรียกตามชื่อพรรคในอดีตเพื่อเข้าใจได้ง่ายและจูงใจในเชิงข่าว การสร้างเมืองยอนและอพยพชาวว้าและชนเผ่าเล็กๆมาตั้งถิ่นฐานทางภาคใต้ของรัฐไทใหญ่ติดชายแดนไทย เป็นแผนที่จะให้มีการเผชิญหน้ากันกับกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการแย่งผลประโยชน์ทางการค้าและสิทธิเหนือดินแดน กองกำลังติดอาวุธน่าจะอยู่ระหว่าง ๑๕,๐๐๐ ถึง ๒๐,๐๐๐ คน มวลชนของว้ามีน้อยเมื่อเทียบกับกองกำลังไทใหญ่ สิ่งที่ทำให้กองทัพอยู่ได้คงหนีไม่พ้นยาเสพติด
ส่งกำลังใจสู่แนวหน้า บรรยากาศภายในแนวหน้าของกองกำลังกะเหรี่ยงแดง/คะยา เมื่อมีดารามาเยือนฐานที่มั่น | | |
ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าในอดีตและปัจจุบัน
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า ก่อตั้งเมื่อ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่กรุงย่างกุ้ง ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๙ได้มีการแยกตัวออกมาของกลุ่มที่ต้องการให้การปฏิวัติเป็นไปแบบรุนแรงเร้าร้อนและเรียกตนเองว่า
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า ธงแดง (Communist Party of Burma- Red Flag) นำโดย
ทะขิ่นโซ มีฐานที่มั่นแถบภูยะไข่หรือเทือกเขาแห่งอาระกันและพม่าตอนบน ต่อมา
ทะขิ่นโซ ถูกทหารพม่าจับได้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ทำให้ถึงจุดอวสานของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า - ธงแดงไปโดยปริยาย
ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่เป็นต้นกำเนิดยังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการทหารต่อไปและเป็นที่รู้จักกันในนาม
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า ธงขาว (Communist Party of Burma White Flag) มีฐานที่มั่นสำคัญในระยะเริ่มต้นแถบเทือกเขาพะโค (Pegu Yoma), เทือกเขาแห่งอาระกัน/ยะไข่ (Arakan Yoma) และในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีแต่ในหลายปีต่อมาถูกกองทัพพม่าตีต้องถอยร่นไปตั้งฐานที่มั่นติดชายแดนจีนในตอนเหนือของรัฐไทใหญ่/รัฐฉาน พรรคคอมมิวนิสต์พม่า(ธงขาว)มีประธานพรรคฯตามลำดับต่อไปนี้
ทะขิ่นทาน ทุน (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๘๘ ๒๕๑๑)
ทะขิ่นซิน (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ๒๕๑๘) และ
ทะขิ่นบา เต็น ติน (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ๒๕๓๒)
ส่วนเลขาธิการพรรคคนสุดท้ายคือ "คิน หม่อง ยี" เท่าที่จำได้จากเวบของป้าซอท์ล (๒๕๑๙ ข้าเอง-www.2519me.com)ได้บันทึกไว้ว่าเคยมีอดีตนักรบท.ป.ท. หลายท่าน ที่ถูกส่งไปจีนขากลับมาเมืองไทยต้องผ่านฐานที่มั่นแห่งสุดท้ายของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่
ปางซางหลังจากพำนักอยู่ระยะหนึ่งก็ได้วางแผนเดินทางกลับมาตุภูมิหวังจะทำการปฏิวัติต่อผ่านทางรัฐไทใหญ่และต้องผ่านเขตยึดครองของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าหลายต่อหลายกลุ่ม และกว่าจะเดินทางมาถึงแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่นักรบท.ป.ทเหล่านี้ยังไม่ทราบว่าสงครามประชนที่ต้องต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของพคท./ทปท.ได้ยุติลงแล้ว
คูรบ กับนักรบผู้โดดเดี่ยว ณ แนวรบฝั่งตะวันตก เขาจะคิดถึงใครบ้างหรือเปล่าหนอ...?
การสลายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (ธงขาว)ในปีพ.ศ. ๒๕๓๒ เนื่องจากมีการยึดอำนาจภายในและการไม่ยอมรับอำนาจของส่วนกลาง (Mutiny)โดยชนชาติว้าซึ่งเป็นกองกำลังทหารหลัก พวกว้ากล่าวหาว่าคณะกรรมกลางส่วนใหญ่มีแต่พม่าไม่มีชนเผ่าเป็นสมาชิก แถมยังเอารัดเอาเปรียบชนเผ่าที่เป็นสมาชิกพรรคฯ เท่าที่ทราบจากทหารว้าเมื่อครั้งไปผมเยือน ปางซาง ในปีพ.ศ. ๒๕๓๗ ทะขิ่นบา เต็น ติน ถูกอุ้มใส่แคร่ไม้ไผ่เพราะแก่มากแล้วหาบข้ามน้ำข่ามอบให้กับทางการจีนรับตัวไปยังสถานคนชราที่
เมืองอ่า เขตปกครองพิเศษ
ลานซาง/ล้านช้าง ในมณฑลยูนนานตรงข้ามกับ
ปางซาง ปัจจุบันทางการจีนได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำข่าค่อนข้างถาวรเชื่อมโยงระหว่างเมืองอ่ากับปางซาง
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 01:43:07
ความคิดเห็นที่ 3
แนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่าและเขตงาน
๑ . เขตงาน ๑๐๑ (War Zone 101) ในรัฐคะฉิ่น กองกำลังหลักเป็นนักรบคะฉิ่น เมื่อฐานที่มั่นใหญ่ถูกว้ายึดและยุบ พรรคฯต้องยุติบทบาทด้วยสิ้นเชิงพร้อมๆกับการเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า แนวร่วมส่วนนี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
กองทัพประชาธิปไตยใหม่-คะฉิ่น ( New Democratic Army Kachin หรือ NDA K) มีผู้นำเป็นชาวคะฉิ่นชื่อ
ติง ยิง (Ting Ying) กองกำลังติดอาวุธปัจจุบันประมาณ ๘๐๐ ๑,๒๐๐
๒. เขตงานโกก้าง (เขตงานพิเศษ - ชาวโกก้างเป็นชาวพม่าเชื้อสายจีน) ภายหลังการเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
กองกำลังพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า ( Myanmar National Democratic Alliance Party/Army MNDAP/MNDAA) นี่ก็ตั้งชื่อเสียหรู ผู้นำช่วงมีการหยุดยิงใหม่ๆผู้นำคือสองพี่น้องตระกูล
เฟิ้ง คือ เฟิ้ง จ่า ชิน และ เฟิ้ง จ่า ฟู แต่ก็นั่นแหละเมื่อมีอำนาจก็ต้องมีการโค่นอำนาจในเวลา ๓ ปีต่อมา สองพี่น้องตระกูล
หยาง ก็เข้ายึดอำนาจพวกเขาคือ
หยาง มู่ เหลียง และ หยาง มู่ อาน พื้นที่เขตงานนี้ผมไม่เคยไปเพราะไปค่อนข้างยากและเข้มงวดหลายอย่าง ประกอบกับภาษาจีนไม่ค่อยแข็งแรง กลุ่มโกก้างขึ้นชื่อในเรื่องของการแปรฝิ่นดิบให้เป็นเฮโรอีนยาเสพติดประเภทต่างๆตามลำดับหลังของเจ้าผงนรก และเป็นผู้ค้ายาเสพติดรายสำคัญในพม่า พวกเขาเป็นทั้งคนกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและนักการตลาด กองกำลังติดอาวุธน่าจะพอๆกับกลุ่มคะฉิ่น เนื่องจากพื้นที่ยึดครองไม่กว้างขวางมากนัก
๓. อดีตศูนย์กลางพรรคฯ ได้เปลี่ยนเป็นกองบัญชาการใหญ่ของ
กองทัพแห่งสหรัฐว้า (United Wa State Party/Army) มีอดีตกรรมการกรมการเมืองหนึ่งเดียวของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่มีเชื้อสายชนเผ่าว้าคือ
เจ้ายี่ลาย ปัจจุบันเขาเป็นอัมพาตครึ่งตัวเรียกว่าแทบจะไม่มีอำนาจอะไร ข่าวบางกระแสก็ว่าเขาเสียชีวิตแล้ว
คนที่สองแต่ผมว่าเขาเป็นหมายเลขหนึ่งตัวจริงคือ เปา โย ชัง หรือ ต้า ปัง ผู้เป็นทั้งฝ่ายบริหารและผ.บ.ทหารสูงสุดของกองทัพว้าปัจจุบันและทรงอำนาจที่สุด
เมื่อหลายปีที่ผ่านมาได้มีการโยกย้ายประชาชนว้ามายังภาคใต้ของรัฐไทใหญ่/ฉาน ประชิดชายแดนไทยตามยุทธศาสตร์
แบ่งแยกแล้วปกครอง ของกองทัพพม่า ถ้าว่าไปแล้วมันก็คือยุทธวิธีคลาสสิคตามตำราพิชัยยุทธไม่มีผิด ผู้ที่สนใจติดตามข่าวสงครามยาเสพติดมักจะได้ยินชื่อ
เมืองยอน และคำว่า
ว้าแดง อยู่เสมอๆทั้งนี้สื่อไทยเรียกตามชื่อพรรคในอดีตเพื่อเข้าใจได้ง่ายและจูงใจในเชิงข่าว การสร้างเมืองยอนและอพยพชาวว้าและชนเผ่าเล็กๆมาตั้งถิ่นฐานทางภาคใต้ของรัฐไทใหญ่ติดชายแดนไทย เป็นแผนที่จะให้มีการเผชิญหน้ากันกับกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการแย่งผลประโยชน์ทางการค้าและสิทธิเหนือดินแดน
กองกำลังติดอาวุธน่าจะอยู่ระหว่าง ๑๕,๐๐๐ ถึง ๒๐,๐๐๐ คน มวลชนของว้ามีน้อยเมื่อเทียบกับกองกำลังไทใหญ่ สิ่งที่ทำให้กองทัพอยู่ได้คงหนีไม่พ้นยาเสพติด
ส่งกำลังใจสู่แนวหน้า บรรยากาศภายในแนวหน้าของกองกำลังกะเหรี่ยงแดง/คะยา เมื่อมีดารามาเยือนฐานที่มั่น
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 01:43:38
ความคิดเห็นที่ 4
๔. เขตงาน ๘๑๕ ฐานที่มั่นอยู่ทางภาคตะวันออกของรัฐไทใหญ่/ฉานและอยู่ทางเหนือของเมืองเชียงตุง หากดูจากแผนที่จีนในมณฑลยูนนาน ก็จะอยู่ตรงข้ามกับเมือง ท่าล้อ หรือจะเรียกแบบสำเนียงจีนเพิ้ยนๆอย่างผมว่า ต้าลั่ว ก็คงพอถูไถปัจจุบันเรียกฐานที่มั่นแห่งนี้ว่า เมิงลา หรือ เมืองลา มีชื่อเป็นทางการภายหลังหยุดยิงว่า กองกำลังพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Alliance Army) กองกำลังติดอาวุธไม่น่าจะเกิน ๕,๐๐๐ คน ผู้นำกองทัพชื่อ จายเลื่อน ลูกครึ่งไทใหญ่-จีนมีชื่อจีนอีกชื่อหนึ่งคือ หลิน หมิงเฉียน เขาเคยเป็นแม่ทัพภาคตะวันออกของกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่มาก่อน ต่อมามีข้อขัดแย้งภายในของไทใหญ่ว่าจะรับอาวุธจาก พรรคอมมิวนิสต์พม่า หรือไม่ ในสมัยนั้นจีนยังคงส่งออก การปฏิวัติ และยังให้การสนับสนุนพรรคลูกน้อง จายเลื่อนตัดสินใจเข้าเป็นแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์รับอาวุธและแยกวงจากกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ รายละเอียดอีกเล็กน้อยจะได้เล่าในภายหลังครับ
พูดถึงเมืองลาเคยมีนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวมากมายผ่านด่านทางอำเภอแม่สายเข้าเชียงตุงแล้วต่อไปเมืองลา จุดประสงค์ก็คือจะไปเล่นการพนันเพราะมีบ่อนที่นั่น เหมือนๆกับบริเวณสามเหลี่ยมทองคำแต่ที่น่าทึ่งมากกว่านั้นคือมี กระเทยไทย ไปหากินที่นั่นด้วย อย่างที่เรียกว่าการแสดง คาบาเร่ แถมยังมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์และอยู่ในรายการท่องเที่ยวของบริษัททัวร์ที่คุนหมิงอีกต่างหาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการทัวร์ของสิบสองปันนา ล่าสุดได้ข่าวว่าพวกคุณเธอไปทำมาหากินถึงเมือง ไหม่ จา ยาง เขตยึดครองของ กองกำลังคะฉิ่นอิสระชายแดนรัฐคะฉิ่น - จีน
เมืองลา เคยถูกทางการจีนตัดกระแสไฟฟ้าหลายครั้ง เหตุเพราะมีคนจีนมากมายหลั่งไหลเข้าไปเล่นการพนันที่นั่น บ้างหมดเนื้อหมดตัวก็หันไปค้ายาเสพติด เรียกว่าทั้งค้าทั้งเสพเลยทีเดียว แม้จะคาดโทษไว้สูงแต่ก็นั่นแหละยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ สร้างความปวดหัวให้ทางการจีนไม่น้อยเพราะผลที่ตามมานอกจากจะต้องดูแลผู้ติดยาแล้ว ปัญหาเรื่องเอดส์และอาชญากรรมก็สูงขึ้นด้วย แน่นอนครับภาคตะวันออกของรัฐไทใหญ่ส่วนนี้ก็เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นอันอุดม
๕. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งรัฐไทใหญ่ ( Shan State Communist Party) กองกำลังกลุ่มไทใหญ่ช่างมีมากมายหลายกลุ่มเหลือเกิน เพราะทั้งหักหลัง แย่งอำนาจเปลี่ยนข้าง ถ้าไม่ติดตามให้ดีเล่นเอาปวดหัวเหมือนกัน อย่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งรัฐไทใหญ่นี่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นำโดยขุนศึก โมเฮ็ง หรือ กอนเจิง ในปีพ.ศ. ๒๕๐๑ ขุนศึก กอนเจิง ขอตั้งกรรมการพรรคฯเฉพาะไทใหญ่แยกออกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่า แต่ส่วนกลางไม่เห็นด้วยเขาจึงนำกำลังเกือบ ๕๐๐ คนมอบตัวกับรัฐบาลพม่า ด้วยจิตใจใฝ่รบเขากลับมาเข้าร่วมกับกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่อีกครั้งเมื่อ หนุ่มศึกหาญ ได้รับการสถาปนาขึ้นในปีเดียวกัน ผมจะได้เล่าต่อไปในส่วนของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์
๖. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งยะไข่/อาระกัน (Communist Party of Arakan) กองกำลังกลุ่มนี้แยกตัวออกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ธงแดงที่นำโดย ทะขิ่นโซ ด้วยเหตุผลด้านชาติพันธุ์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นำโดย จ่อ ซาน รี มีจุดมุ่งหมายเพื่อสถาปนา สาธารณรัฐสังคมนิยมอาระกัน แต่ก็ไปไม่ถึงดวงดาวและต้องยุติบทบาทการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธในปีพ.ศ. ๒๕๒๓ โดยที่ "จ่อ ซานรี"เองได้มอบตัวกับทางการพม่า
ส่วนสหายในป่าที่ไม่เห็นด้วยยังคงกระจัดกระจายอยู่ในเทือกเขาอาระกัน ท้ายสุดถูกทหารพม่าตีแตก ต้องถอนกำลังเขาไปยังเขตของบังคลาเทศในส่วนที่เรียกว่า เทือกเขาแห่งจิตตะกอง(Chittagong Hill Tracts ทั้งอดีตธงขาวและธงแดง และกองกำลังชาติพันธุ์ยะไข่/อาระกันต้องจับมือกันอีกครั้งกลายเป็นแนวร่วมของกองกำลังชาติพันธุ์ในชื่อ แนวร่วมแห่งชาติอาระกัน (National United Front of Arakan)
นักรบรุ่นจิ๋ว ไม่มีโอกาสได้เล่นเพราะต้องไปเป็นทหารแห่งกองทัพอาระกัน (Arakan Army) พวกเขาเพิ่งได้รับอาวุธที่ลำเลียงจากชายแดนไทย-พม่า ผ่านเขตควบคุมของกองพลน้อยที่ ๔ ของกะเหรี่ยงอิสระจากนั้นลำเลียงผ่านเกาะแก่งต่างๆของทะเลอันดามัน สู่มหาสมุทรอินเดียแล้ววกเข้าไปยังอ่าวเบงกอล ใช้เวลาถึง ๓ เดือน หนูน้อยนักรบยิ้มแป้นตั้งท่าให้เราถ่ายรูป เมื่อผมบอกล่ามว่า "เขาลืมรูดซิบกางเกงตัวใหม่" เลยทำท่าเขินน่ารักออกอย่างนั้น
ผมขอเพิ่มเติมเรื่อง เทือกเขาแห่งจิตตะกอง (Chittagong Hill Tracts) อีกสักเล็กน้อย เทือกเขาแห่งจิตตะกองนี่เชื่อมโยงพื้นที่สามประเทศคือพม่า บังคลาเทศและอินเดีย เทือกเขาแห่งนี้นับว่าเป็นสวรรค์ของนักรบปฏิวัติอีกแห่งหนึ่งของแนวรบฝั่งตะวันตกโดยแท้ เพราะจะเป็นที่รวมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของทั้งสามประเทศ ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าก็มี กลุ่มอาระกัน นักศึกษาพม่า และมุสลิมโรฮิงยา ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลบังคลาเทศก็คือ กลุ่มพุทธที่เป็นชนเผ่าดั้งเดิมชื่อ จั๊กมา - Chakmas ปัจจุบันกลุ่มพุทธต่อต้านรัฐบาลมุสลิมกลุ่มนี้ได้ยุติบทบาทการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธแล้ว เมื่อมีการเจรจาสันติภาพไม่กี่ปีที่ผ่านมาโดยรัฐบาลบังคลาเทศได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะให้เขตเทือกเขาจิตตะกองเป็นเขตปกครองพิเศษของชนเผ่าจั๊กมา ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอินเดียที่ต้องการแยกตัวและปกครองตนเองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียกองกำลังที่สำคัญมีดังนี้ กองกำลังนากา (Naga Army National Socialist Council of Nagalim) หากโอกาสอำนวยและมีเวลาผมจะเล่าเรื่องพวกนากาให้ได้รับทราบเป็นการเฉพาะ กองกำลังพยัคฆ์แห่งตรีปุระ (Tripuras Tiger Force) และญาติของพวกเราเอง แนวร่วมเพื่อการปลดแอกแห่งอาหม (United Liberation Front of Ahom - ULFA) กองกำลังอาหมต้องการที่จะปลดปล่อยรัฐอัสสัมออกจากอินเดียปัจจุบันยังไม่มีการเจรจาหยุดยิง สรุปผมเรียกเทือกแห่งนี้ว่า Revolutionary Bazaar ก็แล้วกัน
นักศึกษาพม่า แนวร่วมที่กระจัดกระจายไปเกือบทุกเขตงานภายหลังเหตุการฯ "สิงหาคมทมิฬ" ปี ๒๕๓๑
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 01:44:51
ความคิดเห็นที่ 5
นักศึกษาหญิงพม่า กำลังซุบซิบกับเพื่อนว่ามีคนจาก "โยเดีย" มาเยือน คนพม่าส่วนใหญ่ยังคงเรียกคนไทยว่า "โยเดีย หรือ ยูเดีย" หมายถึงพวกที่มาจากอโยธยา ที่นี่เป็นค่ายนักศึกษาพม่าในแนวหลังริมฝั่งสาละวิน
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 01:45:52
ความคิดเห็นที่ 6
แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ - กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ (National Democratic Front NDF)
๑. กองกำลังปลดปล่อยกะเหรี่ยงแห่งชาติ (Karen National Liberation Army) ชื่อทางการของพรรคคือ
สหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติ (Karen National Union KNU) คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักพวกเขาในนาม
กะเหรี่ยงอิสระ เส้นทางการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสรชนของกะเหรี่ยงน่าสนใจไม่น้อย พวกเขาสู้จนแทบไม่มีแผ่นดินจะอยู่ แตกแยกเป็นเสี่ยงๆกระสานซ่านเซ็นไปทั่วทุกหัวระแหง ชนชาวกะเหรี่ยงต้องกลับกลายเป็นผู้ลี้ภัยสงครามของแนวรบฝั่งตะวันตกจำนวนมากที่สุดของบรรดาผู้ลี้ภัยทั้งหมดในประเทศไทย
กองกำลังปลดปล่อยกะเหรี่ยงแห่งชาติ ในวันรำลึกถึงการปฏิวัติประจำปีพ.ศ. ๒๕๓๗ ก่อนฐานที่มั่นแห่งนี้จะถูกตีแตกเพียงปีเดียว
นายพลโบเม๊ยะ อดีตผู้นำกะเหรี่ยงอิสระผู้ล่วงลับ ภาพถ่ายปี พ.ศ. ๒๕๓๗
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 01:46:16
ความคิดเห็นที่ 7
สถาปนาสหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติคือ
ซอว์ บา อู ยี (Sa Ba U Gyi) เมื่อ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ ก่อนพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในช่วงแรกกะเหรี่ยงยังเป็นกลุ่มที่ต้องการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเป็นอิสระในการปกครองตนเอง ขณะเดียวกันกองกำลังติดอาวุธก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาไล่เรี่ยกันคือวันที่
๑๖ กรกฎาคมโดย มาน บา ซาน (Mahn Ba Zan) ใช้ชื่อว่า องค์กรป้องกันตนเองแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Defence Organisation KNDO) แล้วทั้งสององค์กรกะเหรี่ยงต้องมุดลงใต้ดินเมื่อพม่าไม่ยอมให้กะเหรี่ยงแยกตัวออกไปเป็นอิสระในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ภายหลัง
ศึกอินเส่ง (The Battle of Insein) ซึ่งห่างจากเมืองย่างกุ้งไม่ถึง ๑๐ กิโลเมตร กองกำลังกะเหรี่ยงผสมคะฉิ่นหมายยึดกรุงย่างกุ้ง แต่ถูกตีตลบหลังโดยทัพพม่าที่นำโดย
ทะขิ่นชู หม่อง หรือ นายพลเนวิน เสนาธิการคนใหม่ของกองทัพพม่าในรัฐบาลอูนุ กองกำลังของกะเหรี่ยงส่วนกลางและแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ต้องถอยร่นมาตั้งหลักยังรัฐกะเหรี่ยงปัจจุบัน ที่ซึ่งพวกเขาเรียกแผ่นดินนี้ว่า
กอทูเล หมายถึง แผ่นดินที่ต้องปกป้อง บ้างก็แปลว่า ดินแดนแห่งดอกไม้และพฤกษา กองกำลังกะเหรี่ยงอิสระ ได้มีการรวมตัวกันเพื่อความเป็นเอกภาพอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ในชื่อ
Karen National United Party - KNUP ใช้ชื่อกองกำลังว่า Kawthoolei Armed Forces KAF แล้วเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น
Karen Peoples Liberation Army ผมขออนุญาตไม่แปลทั้งหมดเพราะชื่อกองกำลังออกจะคล้ายๆกัน ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๐๖
ซอว์ ฮันเตอร์ ประธานสภาปฏิวัติได้ทำสัญญาสันติภาพกับรัฐบาลพม่า ส่วน
ซอว์ บา อู ยี เสียชีวิตในการรบที่ คอคะเล็ก (Kawkareik) เมืองยุทธศาสตร์สำคัญห่างจากเมืองเมียววดีตรงข้ามอำเภอแม่สอด จังหวัดตากไปประมาณ ๘๐ ไมล์ เขาถูกตัดหัวเสียบประจาน ส่วนร่างกายถูกสับเป็นชิ้นๆ
กองกำลังส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับ
ซอว์ ฮันเตอร์ ได้รวมตัวกันอีกครั้งโดยการนำของ
มาน บา ซาน ร่วมผู้บังคับการ กองพันสาละวิน (Salween Battalion) แห่งภาคตะวันออกของกอทูเล เขาเป็นอดีตทหารผ่านศึกของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โบเม๊ยะ (Bo Mya) นักรบหนุ่มจากหมู่บ้านเล็กๆนอกเมืองผาอัน (Pa-an) ทั้งนี้ได้ใช้ชื่อระหว่างที่ดูใจกันว่า
Karen National United Front KNUF ส่วนกองทัพใช้ชื่อว่า
Karen National Liberation Army - KNLA
ผู้นำกะเหรี่ยงในช่วงเริ่มแรกภายหลังถอนกำลังสู่กอทูเล แถวหน้านั่งจากซ้าย ซอว์บา เต็น (ยังมีชีวิต) นายพลโบเม๊ยะ (เสียชีวิตแล้ว) นายพลโช่ย ซาย (อดีตผบ.กองพลน้อยที่ ๖ ตรงข้ามบ้านเปิ้งเคิ้ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก เสียชีวิตแล้ว) มาน บา ซาน (เสียชีวิตแล้ว) อีกสองคนแถวหน้าไม่รู้จัก ส่วนคนยืนแถวหลังรู้จักคนยืนกลางเพียงคนเดียวคือนายพล หม่อง หม่อง อดีตเสนาธิการเสียชีวิตแล้วเช่นกัน ภาพจากหนังสือ Memoirs on my true past experiences that I wish to disclose โดย Saw Bo Mya
หลังจากดูใจกันพอควรจนกระทั่งปีพ.ศ. ๒๕๑๘ จึงได้มีการรวมกองกำลังทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว โดยมี มาน บา ซาน เป็นประธาน นายพลโบเม๊ยะเป็นรองประธาน และมี ซอว์ บาเต็น (Saw Ba Thien) เป็นเลขาธิการ ส่วนพรรคกลับไปใช้ชื่อ สหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติ (Karen National Union) ตามรอยของ ซอว์ บา อู ยี บิดาแห่งการปฏิวัติกะเหรี่ยง และกองทัพยังคงใช้ชื่อ Karen National Liberation Army - KNLA จนทุกวันนี้ กองกำลังติดอาวุธก่อนฐานที่มั่นริมฝั่งแม่น้ำเมย ณ มาเนอพลอหรือทุ่งแห่งชัยชนะ จะถูกตีแตกในเดือนมกราคมปีพ.ศ.๒๕๓๘ เนื่องจากแตกแยกกันภายในของกะเหรี่ยง กำลังรบน่าจะอยู่ระหว่าง ๘,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ คน
สหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติได้ชื่อเป็นกองกำลังที่แข็งแกร่งกลุ่มหนึ่งในบรรดาสมาชิก แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Front NDF) ที่ขับเคี่ยวกับกองทัพพม่ามาตั้งแต่เริ่มต้นของการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
นายพลโบเม๊ยะ ในบั้นปลายของชีวิตยังคงอุทิศให้กับการต่อสู้จนกระทั่งวาระสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา ภาพนี้เป็นภาพที่ผมถ่ายไว้เมื่อปีแล้ว ระหว่างการฉลองครบรอบ ๕๗ ปีแห่งการปฏิวัติ ณ บ.ก.กองพลน้อยที่ ๗ ของกะเหรี่ยง
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 01:47:56
ความคิดเห็นที่ 8
ขอยาวในกระทู้เดียวเลยน่ะครับ
กองกำลังปลดปล่อยกะเหรี่ยงแห่งชาติ ณ วันนี้ ต้องเผชิญกับปัญหากับกลุ่มที่แยกตัวออกไป ไม่ว่าจะเป็นกองกำลังที่ใช้ชื่อใหม่ว่า "กองทัพกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย" (Democratic Karen Buddhist Army - DKBA) กลุ่ม "Gods Army" (ปัจจุบันยุติบทบาทโดยสิ้นเชิง) กลุ่ม "Karens Peace Army และล่าสุดผ.บ.กองพลน้อยที่ ๗ ได้เจรจาหยุดยิงกับกองทัพพม่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากส่วนกลาง
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 01:56:57
ความคิดเห็นที่ 9
ปัจจุบันที่แห่งนี้คือกองบัญชาการใหญ่ของ
"กองทัพสหรัฐว้า" (United Wa State Army/Party) ณ เมืองปางซางตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น
"ปางคำ"แล้ว
ทะขิ่นบา เต็น ติน ประธานพรรคคอมมิวนิสต์พม่าคนสุดท้าย ภาพนี้จากหนังสือ Land of Jade: A Journey Through Insurgent Burma เขียนโดย Bertil Lintner อดีตนักข่าวและนักเขียนของ Far Eastern Economic Review ชาวสวีเดนนักข่าวชาติตะวันตกหนึ่งเดียวหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ลักลอบเข้าพม่าผ่านทางภาคอีสานของอินเดียเข้าสู่พม่าในเขตยึดครองของคะฉิ่นอิสระ ผ่านฐานที่มั่นพ.ค.พ.แล้วมอบตัวกับทางการจีน ณ ชายแดนรัฐไทใหญ่-จีนพร้อมภรรยาและลูกที่เกิดในแผ่นดินนาการะหว่างการเดินทางผจญภัยซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้นถึง ๑๘ เดือน จากนั้นเขาถูกเนรเทศไปยังฮ่องกงและอยู่ในบัญชีดำห้ามเข้าประเทศอินเดียและพม่า ภรรยาของเขาเป็นอดีตทหารกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ปัจจุบันทั้งคู่ปลูกบ้านและพำนักอยู่นอกเมืองเชียงใหม่
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:03:39
ความคิดเห็นที่ 10
ตลาดซีเหม็ง
การเดินทางของผมกับคณะและผู้นำทางชาวว้าภายหลังจากถึงเมืองชายแดนจีน
"ลานซาง/ล้านช้าง" ในจังหวัดยูนนาน การที่จะข้ามไปยังเมืองปางซางเลยทีเดียวไม่ง่ายนักเพราะทางการจีนค่อนข้างเข้มงวด เราต้องอ้อมไปยังเมือง
"ซีเหม็ง - Ximeng" เขตปกครองพิเศษของว้าใน จากนั้นจึงข้ามไปยังฝั่งพม่าในเขตยึดครองของ
UWSA เดินทางไปยัง
"เมืองเงิน" เพื่อต่อไปยัง
"ปางซาง" ระหว่างทางมีเรื่องราวน่าสนใจอย่างที่ชาวตุลาไทยจะได้ชม
การเดินทางถนนหนทางไม่ค่อยดีนัก ต่างจากฝั่งจีนมากมายเราต้องใช้ฬ่อในการขนสัมภาระ
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:06:14
ความคิดเห็นที่ 11
นาข้าวที่ปลูกลดหลั่นอย่างนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นฝีมือของว้าที่อยู่ฝั่งจีนเข้าไปทำนาข้าวยังฝั่งพม่า พวกเขาคือคนสองแผ่นดิน
ชาวว้าในพม่าส่วนใหญ่ยังคงทำไร่เลื่อนลอย และพืชเศรษฐกิจสำคัญที่พวกเขาสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนก็คือการปลูกฝิ่น เหมือนๆกับม้ง อะข่า/อีก้อและลาฮู/มูเซอร์ในประเทศไทย
ไร่ฝิ่นในพม่าปลูกกันมากในรัฐคะฉิ่น และในรัฐไทใหญ่/ฉาน ในเขตว้ามีการปลูกฝิ่นกันอย่างเสรี จนทำให้พม่าได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกฝิ่นอันดับต้นๆของโลกคือแข่งกันอยู่อันดับหนึ่งและสองกับอัฟกานิสถาน
เป็นไงครับดอกฝิ่นสวยอย่างนี้ มีทั้งคุณอนันต์และโทษอย่างมหันต์ เมืองไทยตอนนี้หาดูไม่ง่ายนักแต่ในเขตยึดครองของว้าไร่ฝิ่นดูเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนบ้านเราปลูกผักกาดหรือกระหล่ำปลี
สงครามยาเสพติดในประเทศไทย มันคือสงครามที่ไม่รู้จบ ตราบใดที่พม่ายังเป็นแหล่งวัตถุดิบมากมายมหาศาลอย่างที่เห็นนี้ แม้แต่องค์กรสหประชาชาติที่รับผิดชอบโดยตรงอย่าง UNDP - United Nations Development Program และ UNODC - United Nations Office on Drugs and Crime ก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้มากนักเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งอ้างเสมอว่าการปลูกฝิ่นอยู่ในเขตของกองกำลังติดอาวุธโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตของว้าและไทใหญ่ ในความเป็นจริงแล้วรัฐบาลทหารพม่ามีส่วนรู้เห็นและได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มว้า UWSA
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:07:35
ความคิดเห็นที่ 12
หมู่บ้านว้าตามรายทาง แทบมองไม่เห็นต้นไม้เพราะถูกถากถางทำไร่ฝิ่น มาตั้งแต่เมื่อครั้งพรรคคอมมิวนิสต์พม่ายังเฟื่องฟู
ตลาดสามวันและตลาดห้าวัน ว้ายังคงมีธรรมเนียมจัดตลาดนัดทุกสามวันหรือทุกห้าวันวนเวียนไปตามหมู่บ้านต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนและซื้อสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจีน
ก่อนจะถึงเวียงเงิน เรามีหน่วยคุ้มกันที่ส่งมาจากปางซาง คณะของผมต้องใช้เวลาถึงสองวันเดินทางอ้อมจุดตรวจของทหารจีน
หน่วยรักษาความปลอดภัย
ทหารว้าสับเปลี่ยนกำลังระหว่างทาง โดยรถบรรทุกเมดอินไชน่า
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:08:30
ความคิดเห็นที่ 13
รถบรรทุกทหารว้า
พ่อค้าฝิ่นชาวจีนที่มาซื้อฝิ่นดิบถึงถิ่นของว้า นี่ซื้อขายกันข้างทางเลยทีเดียวจากนั้นก็จะนำไปส่งให้กับขาใหญ่อีกต่อหนึ่ง สังเกตุดูข้างๆตาชั่ง บ้างใช้ลูกปืนอาร์ก้า บ้างใช้เหรียญเงินรูปีของอินเดียเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก นัยว่าขึ้นอยู่กับคุณภาพของฝิ่นดิบ ส่วนราคาก็จะแตกต่างกันออกไป ฝิ่นเกรดเอจะใช้เหรียญเงินรูปีอินเดียตั้งแต่ครั้งอาณานิคมของอังกฤษพลิกดูด้านหลังเป็นภาพของพระนางวิคตอเรีย น่าทึ่งจริงๆ
แผงซื้อขายฝิ่นดิบในหมู่บ้าน
นี่เล่นบ้องโตเลยทีเดียว พวกเขาเป็นเพียงผู้ปลูกแบ่งไว้ใช้บ้างในครัวเรือน แต่ยังคงอยู่อย่างยากไร้
ร้านขายของมักจะมีตาชั่งอยู่หน้าร้านเสมอเพื่อรับซื้อฝิ่นดิบ เหมือนกับการซื้อขายสินค้าทั่วไปไม่ใช่เรื่องแปลก
ใครใคร่ค้า ค้า ใครใคร่ซื้อ ซื้อ
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:09:41
ความคิดเห็นที่ 14
บางทีวิถีชีวิตของชาวว้าอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน หากแต่ว่าวิถีเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับคนไม่กี่คน
เจ้ายี่ลาย อดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์พม่าหนึ่งเดียวที่เป็นว้า วันนี้เขาคือประธานพรรคสหรัฐว้า
เรื่องจริงที่ว่าในพื้นที่ของว้า คะฉิ่นและหลายๆส่วนของรัฐไทใหญ่/ฉาน เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกฝิ่นและให้ผลผลิตค่อนข้างสูง เหมือนบ้านเราทางเหนือในอดีต เคยมีผู้เสนอในเวทีการเมืองระหว่างประเทศว่าทำไมไม่ให้พม่าปลูกฝิ่นได้ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศเสียเลยเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เหมือนอย่างในตุรกี ทัสมาเนียของออสเตรเลีย อินเดียหรือแม้แต่ในอเมริกา แต่ก็ถูกคัดค้านเพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์และการกีดกันทางการค้าครับ เพราะ
"มอร์ฟีน" มีสารสำคัญที่ได้มาจากฝิ่นและประเทศเหล่านี้มีรายได้ที่ผูกขาดเป็นกอบเป็นกำจากการปลูกฝิ่นเพื่อการผลิตมอร์ฟีน และยังมียาอีกหลายชนิดที่ได้มาจากฝิ่น
เขาหละ "เป่า โย ชาง" ผู้นำในการโค่นอำนาจพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ปัจจุบันเขาคือผบ.สูงสุดของกองทัพสหรัฐว้า ที่คนอย่าง "เว่ย แซ๊ยะ กังและ "บังรอน" ยังต้องไปซุกปีก
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:11:49
ความคิดเห็นที่ 15
หลังจากเดินทางมาวันกว่าๆ ก็มาถึงกองบัญชาการใหญ่ของกองทัพสหรัฐว้า
รัฐบาลพม่าให้ชื่อใหม่เป็นทางการว่า "ปางคำ" แต่ชาวว้ายังคงเรียกชื่อเดิมว่า "ปางซาง" คนที่ยืนเต๊ะท่าอยู่ตรงป้ายคือผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลางของปางซางนะครับ เขาเป็นอดีตนักรบของพ.ค.พ. ภายหลังเหยียบกับระเบิดในการรบกับทหารพม่ากระทั่งถูกตัดขาข้างหนึ่ง ภายหลังการบำบัดเขาถูกส่งมาประจำที่โรงพยาบาลของพ.ค.พ. ที่เห็นภาพอยู่ด้านหลัง จนกระทั่งเกิดการล้มอำนาจพ.ค.พ.เขายังคงทำหน้าที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ผ่านเข้าไปเราก็เจอหน่วยรักษาความปลอดภัยตัวน้อยอย่างนี้ สังเกตให้ดีตราบนหมวกมีสัญญลักษณ์ภูเขาและมีดาวแดงเปล่งประกายอยู่ข้างบน
"ทหารว้า" ชาวว้าแท้ๆ มีผิวสีน้ำตาลเข้มประมาณ "บราวชูการ์" นักมนุษยวิทยาจัดให้พวกเขาอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับ "มอญ-เขมร" ในอดีตพวกเขาคือชนเผ่าที่มีธรรมเนียมการล่าหัวมนุษย์เพื่อบวงสรวงให้กับความเชื่อในหลายๆด้าน
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:13:22
ความคิดเห็นที่ 16
เมื่อถึงปางซางด้วยความเหน็ดเหนื่อย เรานอนกันแต่หัวค่ำภายหลังจากการดื่มกินกับ "ฝ่ายต่างประเทศ"
พอตื่นเช้าเราไม่รีรอที่จะไปเยือนตลาดเช้าปางซาง และที่น่าสนใจที่สุดคือการซื้อขายฝิ่นดิบในตลาด
ฝิ่นคือสินค้าเศรษฐกิจในโลกซีกนี้ คุณไม่มีเงินแต่มีฝิ่นก็สามารถแลกซื้อสินค้าได้ ทุกคนมีสิทธิทัดเทียมกันแม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้า ราคาฝิ่นดิบในขณะนั้นหมายถึงช่วงที่ผมไปเยือน ๑ จ๊อย เท่ากับ ๘๐๐ หยวน ปัจจุบันราคาประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๕๐๐ หยวน ลองคำนวณดูนะครับตามอัตราแลกเปลี่ยน แต่ต้องไม่ลืมว่ากว่า "ชาวฝิ่น" จะได้ฝิ่นดิบขนาดนั้นต้องใช้พื้นที่กว้างขวางพอสมควร บางพื้นที่ ๕- ๑๐ ไร่อาจได้ฝิ่นดิบเพียง ๑ จ๊อยเท่านั้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินหมายเหตุ ในพม่ามาตราชั่งตวงวัดยังคงนิยมใช้ระบบ
"จ๊อย" หมายถึงว่า
๑ จ๊อย (ในภาษาไทใหญ่และ
"เป้ยตะ"ในภาษาพม่า)
มีน้ำหนักเท่ากับ ๑.๖ กิโลกรัม ในหลายพื้นที่ของพม่าตราชั่งมาตรฐานจะหล่อโลหะเป็นรูปหงส์สำหรับถ่วงน้ำหนัก แต่ที่นี่ใช้ลูกปืนอาการ์และเหรียญเงินรูปีของอินเดียยุคอาณานิคมถ่วงน้ำหนักแทน ส่วนฝรั่งมันเรียก
Viss ผมเองก็จนปัญญาว่ามันทำไมเรียกของมันอย่างนั้น
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:14:55
ความคิดเห็นที่ 17
ยังมีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ ขอเล่าเพียงคร่าวๆสำหรับ "ว้า" เพียงเท่านี้ก่อนครับ ไม่เช่นนั้นจะยาวไป
ทหารว้ากับกิจวัตรประจำวัน
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:15:31
ความคิดเห็นที่ 18
ขออนุญาตย้อนกลับไปยังกองกำลังสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ของแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Front - NDF) อีกครั้ง
กองกำลังคะฉิ่นอิสระ (Kachin Independence Army/Organisation KIA/KIO)
หญิงคะฉิ่นในชุดตามประเพณีดั้งเดิม
หมายเหตุ ชาวคะฉิ่นยังมีกลุ่มย่อยแตกออกไป (Sub-group) อีกหลายกลุ่ม การแต่งตัวก็จะแตกต่างกันออกไปตามเผ่า ส่วนในภาพคือการแต่งตัวของผู้หญิงคะฉิ่นกลุ่มใหญ่ที่เรียกตัวเองว่า "จิงป่อ" ซึ่งรวมไปถึงชาวคะฉิ่นในเขตปกครองพิเศษของจีน ที่คนจีนมักจะเรียกพวกเขาว่า "จิงป่อ สุ้"
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:15:59
ความคิดเห็นที่ 19
นักรบคะฉิ่น ณ ฐานที่มั่น "ปา เจา - Pa Jau"
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:16:33
ความคิดเห็นที่ 20
คะฉิ่นอิสระ
ก่อนจะมาเป็นคะฉิ่นอิสระ อดีตกองพันคะฉิ่น (Kachin Rifles) ที่จัดตั้งโดยอังกฤษได้ร่วมกับกะเหรี่ยงก่อการกบฏต่อรัฐบาลพม่าโดยกองกำลังคะฉิ่นภายใต้การนำของ
หน่อ เซ็ง (Naw Seng) รับผิดชอบก่อการทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐไทใหญ่
ในวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เมืองตองยี/ตองกี (ไทใหญ่เรียก เวียงโต๋นตี) ได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของกำลังผสมคะฉิ่น กะเหรี่ยง กะเหรี่ยงแดงและพะโอโดยสิ้นเชิง (และช่างเป็นเรื่องบังเอิญที่มีนักข่าวไทยท่านหนึ่งคือท่าน สมบูรณ์ วรพงษ์ ท่านได้ไปผจญภัยในรัฐไทใหญ่แถมยังได้พบกับ "ลุงคำตัน" (พท.พโยม จุลานนท์) ระหว่างลี้ภัยการเมืองช่วงนี้พอดี จึงเป็นที่มาของหนังสือเรื่อง รถเที่ยวสุดท้ายจากตองยี ) จากชัยชนะครั้งนี้ทำให้
หน่อ เซ็ง มั่นใจว่าถึงเวลาแล้วที่คะฉิ่นจะทำการปลดปล่อยเพื่อการปกครองตนเองบ้างจึงได้ตั้งกองกำลังของตนเองขึ้นใช้ชื่อว่า
กองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติปองยอง (Pawng Yawng National Defence Force คะฉิ่นเรียกตนเองว่า ปองยองหรือหวุ่นปอง) อย่างไรก็ตามในระยะแรกๆผู้นำชุมชนของคะฉิ่นส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับ
หน่อเซ็ง ในการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ปีถัดไปในเดือนเมษายน ๒๔๙๓ หน่อเซ็งพร้อมกำลังทหารคะฉิ่นประมาณ ๓๐๐ คนเนรเทศตัวเองจากชุมชนคะฉิ่นสู่แผ่นดินใหญ่จีนเพื่อการกลับมาร่วมรบในนามพรรคอมมิวนิสต์พม่าภายหลังจากใช้เวลาอยู่ในจีนถึง ๑๘ ปี กระนั้นก่อนจากไปเขายังได้กำชับให้ผู้หมวดหนุ่มลูกน้องคนสนิท
ซาว เซ็ง (Zau Seng)ให้ช่วยกะเหรี่ยงรบกับพม่าต่อไป และ
ซาว เซ็ง คนนี้คือผู้นำของกองกำลังคะฉิ่นอิสระในเวลาต่อมา
มิใช่เพียงชายถือปืนสู้ หญิงก็สู้ได้ไม่แพ้กัน นักรบหญิงคะฉิ่นแห่งกองพลน้อยที่ ๓ ป้อมวาราบุม ใหม่จายัง
Kachin Independence Army ก่อตั้งเมื่อ ๕ กุมภาพันธุ์ พ.ศ. ๒๕๐๔ ภายหลังคำมั่นสัญญา ณ เมืองปางหลวงไม่ได้เป็นไปตามข้อตกลงตามที่ได้มีการลงนามกันไว้ สามพี่น้องคะฉิ่นนาม
ซาว เซ็ง (Zau Seng), ซาว ตู (Zau Tu) และ ซาว ดาน (Zau Dan) ได้จัดตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาลพม่าขึ้นที่เมืองแสนหวีในภาคเหนือของรัฐไทใหญ่ จากนั้นขบวนการกู้ชาติจึงได้ขยายตัวไปทั่วทั้งรัฐคะฉิ่น
ในช่วงแรกขบวนการกู้ชาติของคะฉิ่นต้องขับเคี่ยวกันทางอุดมการณ์ระหว่างกันไม่น้อยเพราะชาวคะฉิ่นส่วนหนึ่งคือแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์แบบเครือญาติและระบบหัวหน้าเผ่ายังคงเป็นขนบธรรมเนียมที่เหนียวแน่นแยกกันแทบไม่ออกว่ามันเป็นการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์หรือเพื่อความอยู่รอดของชนเผ่า ประมาณปีพ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อเป็นการเปิดประตูสู่โลกเสรีนิยม
ซาว เซ็ง และ ซาว ตู น้องชายคนรองได้ยกกำลังทหารคะฉิ่นส่วนหนึ่งมุ่งสู่ชายแดนไทย - พม่า ด้านอ. เชียงดาวและไชยปราการโดยเข้าเป็นพันธมิตรกับ
นายพลลี เวน ฮ้วนแห่งกองทัพที่ ๓ ของอดีตทหารจีนคณะชาติ (ก๊กมินตั๋ง) ซึ่งมีฐานปฏิบัติการอยู่ที่บ้านถ้ำงอบ อ.เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ คะฉิ่นอิสระแม้จะอยู่ติดกับจีนแต่กลับเข้าเป็นสมาชิกของ
สันนิบาตต่อต้านคอมมิวนิสต์โลก (World Anti-communist League)โดยการสนับสนุนของจีนคณะชาติในปี ๒๕๑๖ ที่ไต้หวัน
ป้อมวาราบุม เป็นป้อมของทหารอังกฤษสร้างไว้เมื่อครั้งพม่ายังเป็นอาณานิคม ป้อมตั้งอยู่ตรงกลางชายแดนพม่า - จีนพอดิบพอดีส่วน
ซาว ดาน คุมกำลังทหารคะฉิ่นด้านชายแดนพม่า- จีนซึ่งต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายด้านจากทั้งกองกำลังทหารฝ่ายรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ที่สาหัสก็คือการเผชิญหน้ากับพรรคคอมมิวนิสต์พม่าไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงเรื่องเขตยึดครอง ประกอบกับพ.ค.ม. มีความพยายามที่จะจัดตั้งให้คะฉิ่นอิสระเป็นแนวร่วมให้ได้แต่คะฉิ่นอิสระก็อิสระสมชื่อ
พวกเขาบอกว่าไม่ชอบท่าทีของกรรมการกลางพ.ค.ม.และกลิ่นอายของพวกเรดการ์ดพม่าที่รับเอาการปฏิวัติวัฒนธรรมมาจากจีนแถมยังหาว่าคะฉิ่นอิสระคือสุนัขรับใช้จักรวรรดินิยม ในที่สุดการเผชิญหน้าระหว่างคะฉิ่นอิสระกับพ.ค.ม.ด้วยกำลังอาวุธก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้การสู้รบยาวนานต่อเนื่องถึง ๘ ปีนับตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นต้นไป
ซาว ดาน อดีตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้งนักรบคะฉิ่นเสียชีวิตจากการซุ่มโจมตีของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
การสร้างป้อมของอังกฤษเพื่อเป็นการป้องกันการโจมตีของนักรบคะฉิ่นในยุคนั้น ปัจจุบันคือบก.กองพลที่ ๓ ของ KIA
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:18:02
ความคิดเห็นที่ 21
นักรบหญิงคะฉิ่นอิสระ ที่ป้อมวาราบุม
เซา บ๊อก ตัน - Zau Bok Than คนล่างผบ.กองพลน้อยที่ ๓ และกรรมการกลางของคะฉิ่นอิสระ ขณะนำคณะของผมชมป้อมวาราบุม ป้อมแบบเดียวกันนี้มีถึงห้าป้อมเรียงรายตามแนวชายแดนรัฐคะฉิ่น - จีน มีอยู่ป้อมหนึ่งที่นายทหารอังกฤษพลาดท่าในการรบกับทหารคะฉิ่นยุคล่าอาณานิคมคือร้อยโทแฮริสัน ป้อมนั้นจึงตั้งชื่อใหม่ว่า "ป้อมแฮริสัน" (Harrison Fort) ปัจจุบันอยู่ในเขตควบคุมของทหารพม่าจึงไม่มีโอกาสได้ชม
บ้านของอดีตนายพลลี แห่งกองทัพที่ ๓ ของอดีตทหารจีนคณะชาติ (ก๊กมินตั๋ง)ที่บ้านถ้ำงอบ อ.เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เขาเป็นคนหนึ่งที่ผู้นำคะฉิ่นยุคแรกให้ความสนิทชิดเชื้อเมื่อยกกำลังทหารคะฉิ่นมายังชายแดนไทย เมื่อพูดถึงนายลี ก็คงหนีไม่พ้นที่จะพูดถึงนายพลต้วน ชี เหวนแห่งกองทัพที่ ๕ ณ ดอยแม่สลอง ซึ่งจะกล่าวในภายหลังเพราะสองคนนี่มีบทบาทค่อนข้างมากในการสนับสนุนการสู้รบของฝ่ายรัฐบาลกับพ.ค.ท. และสองคนนี่ยังเป็นคู่กัดกับกองกำลังขุนส่าเพื่อควบคุมเส้นทางการค้าฝิ่นและเฮโรอีนในรัฐไทใหญ่และบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:19:08
ความคิดเห็นที่ 22
ผู้สืบทอดงานของซาว ดานคือ ซาว ใหม่ ต่อมาคือเสนาธิการทหารกองกำลังคะฉิ่นอิสระ
ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ณ ฐานที่มั่นคะฉิ่นใกล้บ้านถ้ำงอบ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ) เกิดความพยายามยึดอำนาจโดยนายทหารหนุ่มนาม
เซ็ง ตู ได้ลอบสังหารผู้นำของเขาคือ
ซาว เซ็ง และ ซาว ตู สองพี่น้องเสียชีวิตทั้งสองคน
ทหารหนุ่มรายงานไปยังกองบัญชาการใหญ่ว่าผู้นำของเขาไม่ใส่ใจการปฏิวัติใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยในประเทศไทย เป็นที่ทราบกันดีว่ากองกำลังคะฉิ่นมิเพียงต้องการติดต่อกับโลกเสรีทุนนิยมเท่านั้นหากยังต้องดูแลการค้าในตลาดมืดชายแดนไม่ว่าจะเป็น หยกและฝิ่นดิบเพื่อแลกกับอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่อีกด้านหนึ่งของวงในขบวนการคะฉิ่นด้วยกันว่าเป็นการแย่งชิงอำนาจกันภายใน ไม่นานทหารหนุ่ม
เซ็ง ตู ก็ถูกลอบสังหาร
ผู้นำใหม่หลังจากนี้คืออดีตครูใหญ่โรงเรียนมัธยมมิชชั่นคณะแบบติสท์แห่งมิตจินา
บราง เซ็ง และ
ซาว ใหม่ แม้จะไม่เห็นด้วยกับอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ผู้นำคะฉิ่นภายใต้การนำของทั้งสอง ได้ดำริที่จะยุติสงคราม ๘ ปีกับพ.ค.ม.
ดังนั้นในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ได้มีการพบปะกันระหว่างผู้นำคะฉิ่นและผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่คุนหมิงเพื่อยุติการสู้รบ และมีข้อตกลง ปฏิบัติการร่วมทางการทหาร ต่อต้านรัฐบาลพม่าบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค โดยคะฉิ่นอิสระยอมรับการช่วยเหลือด้านอาวุธจากจีนผ่าน พ.ค.ม. (ขณะนั้นจีนยังให้ความช่วยเหลือ) ภายใต้การนำของ
บราง เซ็ง คะฉิ่นอิสระต้องดำเนินนโยบายการทูตตีไพ่สองหน้า หน้าหนึ่งต้องรักษาผลประโยชน์กับพ.ค.ม.และจีน ส่วนอีกหน้าหนึ่งรักษามิตรกับก๊กมินตั๋งและไทยมหามิตรของสหรัฐฯ ผมมองว่าชนชาติเล็กๆและไกลปืนเที่ยงอย่างคะฉิ่นรู้จักใช้การทูตให้เป็นประโยชน์ให้กับชนเผ่าได้อย่างน่าชมโดยเฉพาะภายใต้การนำของ
มาราน บราง เซ็ง
ทหารสื่อสารแห่งกองพลน้อยที่ ๓ กำลังติดต่อกับบ.ก.ใหญ่ที่ "ปาเจา" เพื่อรายงานว่าจะมีผู้ไปเยือนจากประเทศไทย คะฉิ่นอิสระมีการจัดแบ่งกำลังทหารทั้งหมด ๕ กองพลน้อย (คือไม่เต็มทั้ง ๑๐ กองพัน) กองบัญชาการใหญ่ปัจจุบันอยู่ที่ "ปาเจา" กองพลที่ ๑ คุมพื้นที่ชายแดนอินเดีย - รัฐคะฉิ่น กองพลที่ ๒ คุมพื้นที่เหมืองหยกเมือง "พะกั้น" กองพลที่ ๓ เปิดประตูการค้าสู่จีนอยู่เหนือเมืองลุยลีของจีนไปไม่ถึงสองชั่วโมงโดยรถยนต์ กองพลที่ ๔ อยู่ใกล้เมืองแสนหวีและเมืองกุ๊ดข่ายทางภาคเหนือของรัฐไทใหญ่และบ.ก.ใหญ่อยู่เหนือกองพลที่ ๓ ขึ้นไปอยู่ตรงข้ามเมือง "ซิม่า" ของจีน ส่วนฝ่ายต่างประเทศอยู่ที่เชียงใหม่นี่เอง
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:19:37
ความคิดเห็นที่ 23
บราง เซ็งผู้นำคะฉิ่นอิสระ ที่นำนโยบายทางการทูตมาใช้กับขบวนการต่อสู้ของคะฉิ่นให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและนอกประเทศ คนนั่งข้างคือ "นายพลซาว ใหม่" เสนาธิการทหาร น่าเสียดายที่เขาเสียชีวิตอย่างกระทันหันเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตกด้วยวัยเพียง ๖๔ ปี ภาพจาก Land Of Jade: A Journey Through Insurgent Burma โดย Bertil Lintner
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:20:09
ความคิดเห็นที่ 24
ภาพหายากอีกภาพหนึ่งของกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ภายหลังสมัชชาพรรคฯครั้งที่ ๓ และเป็นกรรมการรุ่นสุดท้ายภาพนี้ถ่ายเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อนว้ายึดอำนาจเพียง ๔ ปี
แถวนั่งจากซ้ายไปขวา เป เตา, เย ทุน. ทิน ยี, คิน หม่อง ยี (คนนี้คือเลขาธิการพรรคที่บรางเซ็งไปเจรจาถึงคุนหมิงเพื่อยุติสงคราม ๘ ปี ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่), ทะขิ่น บา เต็น ติน (คนแก่ใส่แว่นนั่งกลาง ประธานพรรคฯ เสียชีวิตแล้ว), เมียว มิน, จ่อ เม๊ยะ, ยิน หม่อง, เม๊ยะ มิน,
แถวยืนด้านหลังจากซ้ายไปขวา เอ เยว, จ่อ มิน, ลี ซิลู (คนนี้คืออดีตเรดการ์ดจีน ที่อาสาสมัครมาร่วมงานปฏิวัติพม่า เสียชีวิตแล้ว), ติน หล่าย, เจ้า ยี่ ลาย (ผู้นำว้าหนึ่งเดียวในคณะกรรมการกลางที่เป็นส่วนหนึ่งของการยึดอำนาจ พ.ค.ม.), ทะขิ่นจ่อ ซอว์ (นายพลจัตวา), จาย อ่องวิน, ซาน ทู, ทุน ลิน, ไม่รู้จักชื่อ, ซาว ใหม่ (คนละคนกับ "ซาวใหม่" แห่งคะฉิ่นอิสระแต่ก็รู้จักกันอยู่เพียงแต่อยู่คนละขั้ว ซาวใหม่คนนี้คงจะเป็นคนเดียวกันกับที่ "พี่หมอต๊ะ" ที่อ้ายแสนไชยพูดถึงได้พบปะขณะพี่หมออยู่ที่ปางซางเมื่อเกือบ ๓๐ ปีมาแล้ว)คนสุดท้ายคือเสือแท่นผ.บ. ๘๑๕ เมิงลา ภาพจาก Burma In Revolt: Opium and Insurgency Since 1948 โดย Bertil Lintner เช่นกัน
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:20:34
ความคิดเห็นที่ 25
สู่ปาเจา ฐานที่มั่นคะฉิ่นอิสระ
|
|
ทหารพิทักษ์คะฉิ่นบนฐานที่มั่นปาเจา โปรดติดตามอาจต้องรอนานอีกนิดเพราะถึงเวลาต้องเดินทางสู่แนวรบอีกด้านหนึ่งแล้วครับ
เมืองซิหม่า(Xima) ชายแดนจีนมีสถาพอย่างที่เห็นยังคงความไว้ของเมืองชนบท ภูเขาที่เห็นด้านหลังคือพรมแดนจีน -พม่าอันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการใหญ่คะฉิ่นอิสระ (Kachin Independence Army/Organisation)
เสาแบบนี้เห็นมีเกือบทุกเมืองชายขอบของจีน ไม่ทราบว่าเขียนว่าอย่างไร?
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:23:01
ความคิดเห็นที่ 26
อ้างอิง คุณ
Vinyuchon จากเว็บ thaioctober.com
โดยคุณ omaha เมื่อวันที่
14/06/2009 02:29:02