หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพอากาศปฏิเสธข่าวขอเพิ่มงบประมาณจัดหาอากาศยาน

โดยคุณ : ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ : 08/06/2009 11:00:39

กองทัพอากาศปฏิเสธข่าวขอเพิ่มงบประมาณจัดหาอากาศยาน

ตามที่ได้ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชน สรุปได้ว่ากองทัพอากาศจะเสนอของบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี      เพื่อจัดหาอากาศยาน รวม ๒ โครงการ คือ

โครงการจัดหาเครื่องบินกริพเพน ระยะที่ ๒ จำนวน ๖ เครื่อง และโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ระยะที่ ๑ จำนวน ๔ เครื่อง นั้น

  กองทัพอากาศขอเรียนข้อเท็จจริงให้ทราบว่า ในการดำเนินการจัดหาอากาศยานใน ๒ โครงการดังกล่าว กองทัพอากาศได้ดำเนินการบรรจุเข้าไว้ในแผนงบประมาณประจำปี ๒๕๕๓ ตามขั้นตอนการปฏิบัติของราชการ          แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างการเสนอเรื่องตามลำดับขั้นตอนดังกล่าว ทางรัฐบาลได้มีการทบทวนว่าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งได้ปรับยอดงบประมาณของส่วนราชการต่างๆ ลง      รวมถึงโครงการของกองทัพอากาศด้วย คือ

๑.  โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบิน F-5 B/E ระยะที่ ๒ เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ กองทัพอากาศได้ขอจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน จำนวน ๑๒ เครื่อง ในวงเงินงบประมาณ ๓๔,๔๐๐ ล้านบาท และผูกพันงบประมาณเป็นเวลา ๑๐ ปี แต่กองทัพอากาศได้รับการอนุมัติ                จากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการเป็น ๒ ระยะ โดยให้จัดหาในระยะแรกจำนวน ๖ เครื่อง ผูกพันงบประมาณเป็นเวลา ๕ ปี และเครื่องบินจะเข้าประจำการในปี ๒๕๕๔ ส่วนในระยะที่ ๒ อีก ๖ เครื่องนั้น ให้กองทัพอากาศดำเนินการขออนุมัติ     ในภายหลัง จึงทำให้กองทัพอากาศต้องยืนยันที่จะขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กองทัพอากาศเริ่มดำเนินการจัดหาเครื่องบินกริพเพนเพิ่มอีก จำนวน ๖ เครื่อง ในปี ๒๕๕๓ ถึง ๒๕๕๗ เพื่อให้เป็นไปตามอัตราความต้องการอากาศยานขั้นต่ำสุดต่อ ๑ ฝูงบิน จำนวน ๑๒ เครื่อง เพื่อให้กองทัพอากาศมีขีดความสามารถรองรับกับภารกิจ      การเตรียมและใช้กำลังทางอากาศต่อภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการป้องกันผลประโยชน์ของชาติ   ด้านต่างๆ ทางตอนล่างของประเทศได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

๒.  โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ระยะที่ ๑       เป็นการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิต จำนวน ๔ เครื่อง ทดแทนเฮลิคอปเตอร์ที่ปฏิบัติ  ภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตเดิมที่ประจำการอยู่ คือ ฮ.๖ (UH-1H) ซึ่งมีอายุการใช้งานกว่า ๔๐ ปี โดยได้รับการบรรจุเข้าประจำการตั้งแต่ ปี ๒๕๑๑ และจะทยอยปลดประจำการตามลำดับ ซึ่งจะจัดหาพร้อมเครื่องช่วยฝึก อะไหล่ อุปกรณ์ค้นหาและช่วยชีวิต อาคารสถานที่ ณ ฐานบินที่หน่วยบินเฮลิคอปเตอร์ประจำการ รวมทั้งการฝึกเจ้าหน้าที่       ในวงเงิน ๕,๐๐๐.-ล้านบาท  ใช้ระยะเวลา ๓ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕ เพื่อให้กองทัพอากาศดำรงศักยภาพ         และขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยชีวิตในภาพรวมทั้งทางทหารและพลเรือน ในฐานะเป็นหน่วยงานหลัก      ด้านกำลังทางอากาศของประเทศไว้ พร้อมกับมุ่งพัฒนาเสริมสร้างสู่ความเป็นสากลก้าวสู่ระดับภูมิภาค

  เนื่องจากปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ไปแล้ว       โดยทั้ง ๒ โครงการใหญ่ดังกล่าวของกองทัพอากาศไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ และจากข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏ     ในสื่อมวลชน ประกอบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน อาจทำให้เกิดความสับสนต่อสาธารณชน          ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารงานของรัฐบาล

กองทัพอากาศจึงขอนำเรื่องดังกล่าวกลับมาปรับแผนงาน เพื่อดำเนินการเมื่อสถานภาพงบประมาณของประเทศเอื้ออำนวย โดยอยู่ในกรอบงบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับการจัดสรรแม้ว่ากองทัพอากาศจะได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๓ ลดลง           แต่กองทัพอากาศได้ตระหนักถึงภาวะการณ์ที่ประเทศต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงได้ชะลอการเสนอความต้องการงบประมาณเพิ่มเติมที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ไว้ก่อน โดยจัดทำเป็นความต้องการงบประมาณที่มุ่งเน้นเฉพาะงานจัดซื้อจัดจ้างที่ก่อให้เกิดการสร้างงานในประเทศ ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในวงเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่สูงนัก ซึ่งรัฐบาลมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะจัดสรรเพิ่มเติมให้ได้ ประกอบด้วยการจ้างงานเพื่อซ่อมปรับปรุงอาคารสำนักงาน บ้านพักอาศัย และระบบสาธารณูปโภคของกองทัพอากาศ นอกจากนั้นกองทัพอากาศได้พิจารณาถึงการจัดหาสิ่งอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศโดยใช้วิธีจ้างบริษัทและแรงงานในประเทศให้ดำเนินการที่ถือว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ด้วย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ





ความคิดเห็นที่ 1


ด่วน...

ทอ.ดึงเรื่องการขอจัดซื้อ GRIPEN 39 และ ฮ.กู้ภัย ออกจากการพิจารณาของ ครม.ในวันพุธนี้แล้วครับ...

เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 01/06/2009 04:48:15


ความคิดเห็นที่ 2


ผมว่า น่าจะปัดฝุ่นโครงการ บาร์เตอร์เทรด เคาวน์เตอร์เทรด สินค้าเกษตร...กลับมาอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแผนงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดหาอาวุธปี 2554 ขึ้นไป....

เพื่อโครงการจัดหาอาวุธของ กองทัพ เป็นลักษณะขออนุมัติโครงการต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

กองทัพ + กระทรวงพาณิชย์ + กระทรวงเกษตร + กระทรวงการคลัง...นั่งคุยกันวางแผน เป็นขั้นบันได...เหมือนวางแผนการรบนั่นแหล่ะครับ...

แผน A ประเทศที่ขาย ไม่รับ...หรือ รับแบบมีเงื่อนไข...ฯลฯ ถ้า แผน A ใช้ไม่ได้ ก็ใช้ แผน B....แผน C, D, E, F...

ขืนนั่งรอแต่งบประมาณภาษี...ผมว่ากว่าจะอนุมัติ คงรอไปปี 2554...

ถ้าปีนี้ 2552 มีการเลือกตั้งใหม่

กว่ารัฐบาลใหม่ จะเข้าที่  และมาทบทวนอนุมัติอีกที ก็เข้าปีพิจารณาปี 2553...และปีหน้า ผมว่ามันคงไม่ได้ดีไปกว่า ปีนี้แน่ ๆ...ผมว่า ปีหน้า ก็ยังต้องดึงเรื่องออกมาอีก...กว่าจะอนุมัติ ผมว่า ปี 2554...และไม่แน่ว่า อนุมัติแล้ว เศรษฐกิจมันยังจะดีขึ้นรึไม่...ดูเหมือนว่า เรากำหนดอนาคตไม่ได้เลย....

อย่างน้อย การนำ บาร์เตอร์เทรด เคาวน์เตอร์เทรด มาทำในช่วงระหว่างรอการอนุมัติ มันอาจจะมีทางออกอีกทางหนึ่ง...ไม่ใช่ มีทางเลือกเดียว คือ รองบประมาณภาษี...

และห้ามตั้งคำถามว่า ใครจะเอาสินค้าเกษตร แลก อาวุธ...

เพราะต้องลองคุย ลองเจรจาก่อน ขอเงื่อนไข หรือเสนอเงื่อนไขความต้องการของเราไปให้เขาพิจารณาก่อน...ซึ่งอาจจะซื้อแพงหน่อย เช่น ของราคาเงินสด 100 $ แต่ใช้สินค้าเกษตรซื้อ จะซื้อในราคา 120 $  แบ่งเป็นเงินสด 90 $ + สินค้าเกษตร 30 $ โดยใช้สัญญาซื้อสินค้าเกษตร 20 $ +เงินสดอีก 20 $ วางมัดจำ...ก็เท่ากับประเทศไทย ไม่ได้ไม่เสีย และแถมมีมูลค่าการส่งออกไปล่วงหน้าแล้ว 20 $ และเมื่อทำครบสัญญา ก็เหมือนได้ส่วนลดเงินสด 10 $ เป็นต้นครับ...

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/06/2009 06:36:53


ความคิดเห็นที่ 3


วันนี้เข้ามาชมผบ.ทอ.ว่า ........ เยี่ยมครับ ทำแบบนี้ เล่นแบบนี้ ถูกใจครับ!
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/06/2009 06:58:04


ความคิดเห็นที่ 4


อ้อลืมไป .... คือจะบอกว่า ทำไม่ดี ผมก็ต้องขออนุญาตใช้สิทธิด่าในฐานะประชาชน แต่ถ้าทำดี ผมก็ขออนุญาตใช้สิทธิชมเช่นกัน ..... ผมบอกแล้วว่าท่านเป็นคนเก่ง ผมคาดหวังไว้เสมอ ยังไงก็หวังว่าท่านจะแสดงฝีมือต่อไปเรื่อย ๆ นะครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/06/2009 07:04:41


ความคิดเห็นที่ 5


ตรงนี้หมายความว่ากองทัพอากาศจะไม่มีการจัดหา บ.Gripen ชุดที่2 และ ฮ.กู้ภัย ในงบประมาณปี ๕๓ แล้วใช่หรือไม่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/06/2009 08:29:05


ความคิดเห็นที่ 6


juldas��ยังหวัง จะได้ SU หรือครับ ตื่นได้แล้ว โอกาศ มันน้อยยิ่งกว่า ได้ F35 เสียอีก�
โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 01/06/2009 08:30:56


ความคิดเห็นที่ 7


--- เจ๋งครับผม ออกตัวเหมือนจะไม่ดี แต่จบได้ดี ^o^
โดยคุณ myth เมื่อวันที่ 01/06/2009 09:21:26


ความคิดเห็นที่ 8


ความเห็นนี้ สำหรับท่าน u3616234 โดยเฉพาะครับ..

ผมว่า ท่าน u3616234 นั่นแหล่ะครับ...ตื่นได้แล้ว...ฝันแต่เรื่องเดิม ๆ...วนเวียนอยู่กับความฝันเดิม ๆ...ไม่เบื่อมั่งหรือครับ....หัดกล้า ฝัน ที่จะปลูกข้าวบนดาวอังคาร มั่งนะครับ...เพราะ คนไทย มันน่าจะทำได้ มากกว่า ให้ คนไทย สร้างยานอวกาศ โคลัมเบีย ไปดาวอังคาร น่ะครับ...

ที่ผมให้ความเห็น...มันไม่ใช่เฉพาะ อดีต ครับ...มันเป็นปัจจุบัน กับ อนาคต ครับ...การทำงานถ้าไม่ใช่ เช้าชาม เย็นชาม...ปัญหา ที่มันเกิดเหมือนเดิม...อะไร ๆ ก็เหมือนเดิม...มันก็ต้องมีการหาหนทางแก้ไขปัญหา...

คนทำงานเป็น...คือ คนที่ทำงานไปด้วย แก้ไขปัญหาปัจจุบันไปด้วย แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปด้วย...และไม่ควรที่จะต้องแก้ปัญหาเดิม ๆ ซ้ำ ๆ...เพราะนั่น หมายถึง การทำงานที่ผ่านมาไม่เคยมีการแก้ปัญหาเลย...

ถ้ายัง รอมีเงินภาษี มาซื้ออาวุธ เหมือนเดิม...ปัญหามันก็จะเกิดเหมือนเดิม...ก็ควรต้องพิจารณาเปิดตา มองออกไป นอกบ้าน บ้างนะครับ...ว่า เพื่อนบ้าน เขาทำกันอย่างไร...อย่ามัว แต่ชื่นชมว่า เราดีกว่า พม่า ลาว กัมพูชา ก็เพียงพอแล้ว...

ถ้าท่านคิดถึง ชีวิตหลังเกษียณ ก็หัดคิดวางแผนทำในสิ่งที่ท่านชอบบ้างนะครับ...อย่าไปยึดติดกับ อดีต ที่ ชีวิตหลังเกษียณ จะต้องทำแค่ ปลูกต้นไม้ ปลูกกล้วยไม้ เลี้ยงหลาน ก็คงพอแล้ว...ปัจจุบัน ชีวิตมันมีอะไรให้ทำอีกมากมายครับ...

ขอยกตัวอย่าง...คุณ HUGH LETTERLY ที่ทำ เรซิ่น เรือขาย ยี่ห้อ LOOSE CANNON อายุเขาก็มากแล้ว น่าจะ 70 - 80 แล้ว แต่เขาก็ยังสามารถทำคุณประโยชน์ สร้างความสุข ให้กับคนหลายคนทั่วโลก ที่ชื่นชอบ โมเดลเรือ และสามารถช่วย สร้างเศรษฐกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับ ประเทศของเขา ได้อีกด้วย...ลองตื่นลืมตาขึ้นมา มองธรรมชาติ นอกบ้าน บ้านนะครับ...

โต้คารม ด้วยไมตรี นะครับท่าน...

 

 

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/06/2009 12:18:07


ความคิดเห็นที่ 9


................สวัสดีเพื่อนๆในเว็บทุกท่าน.........ผมขอออกความเห็นด้วยคน กล่าวคือ. ผมขอสนับสนุนการกระทำของท่าน ผบ.ทอ.ในครั้งนี้ด้วยคน เพราะกลยุทธย่อมพลิกผันตามสถานการณ์ เการชะลอการจัดหา บ.กริเปน-39 อีก 6 ลำนี้ คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด แต่ด้วยฐานะทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ความจำเป้นบีบบังคับ ก็มีความจำเป็นต้องใคร่ครวญว่า จะทำอย่างไรถึงจะผ่าทางตันนี้ไปได้ ปีหน้าฟ้าใหม่ หรือในอนาคตข้างหน้า บ.กริเปน-39 อีก จำนวน 6 ลำที่เหลือคงต้องโผล่ขึ้นมาจนครบฝูงแน่ๆ แต่ต้องรอค่อนรอยคอรอระยะเวลากันอีกสักนิด..........แต่ถ้าอยากย่นระยะเวลาให้สามารถจัดหาได้เร็วขึ้น และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ช่วยระบายสินค้าของไทยเราให้สามารถส่งออกได้มากยิ่งขึ้น....คำตอบสุดท้ายคงหนีไม่พ้น คำว่า.....เค้าเตอร์เทรด...หรือบาร์เตอร์เทรด...แลกเปลี่ยนกัน....เหมือนตามที่  ท่านjuldas ท่านได้เสนอเข้ามา  แม้จะเป้นสิ่งที่ยาก แต่ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  .....เพียงแต่ว่าจะหาใครมาเสียสละมาจัดทำสิ่งนี้ให้ประเทศชาติเราได้หรือเปล่า .......เพราะการรอแบมือขอเงิน..มันง่ายกว่าการลงมือช่วยกันหาเงิน.......ครับ/สกายนาย
โดยคุณ สกายนาย เมื่อวันที่ 01/06/2009 22:34:44


ความคิดเห็นที่ 10


ตอนนี้ประเทศกำลังลำบาก ผมว่ากองทัพได้ทำถูกต้องแล้ว แต่ก็มาคิดต่อไปถ้า ประเทศของเราไม่ดีขึ้นเราจะทำยังไงต่อไปดี เพราะตอนนี้เรากำลังพัฒนา ขึ้นไป หา genaration 4.5 เป็นงานหนักที่จะก้าวไปยืนบนขาตัวเองโดนที่อุปกรณ์ไม่พร้อม ผมกลัวว่า ระบบต่างๆที่ได้มา รวมถึงการถ่ายทอดเทดโนโลยีจะ หายไปเหมือนกับที่ผ่านๆมา ต่างคนต่างซื้อ ต่างคนต่างมีความเห็น จึงสร้างทางเดินต่างๆกันออกไป ตอนนี้มีคนเลือกทางเดินให้เราแล้ว เราจึงไม่มีสิทธิเลือกแล้ว มีแต่ลุยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดยคุณ O.B. เมื่อวันที่ 02/06/2009 00:17:27


ความคิดเห็นที่ 11


ผมอ่านความเห็นของท่านจูลดาสมาไม่เห็นท่านจะกล่าวถึง ซู 30 ตรงไหนนี่ครับ

เพียงแต่ท่านเสนอแนวคิดบราเตอร์เทรด ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของระบบเศรศฐกิจในระบบทุนนิยม ที่เราสามารถพลิกแพลง เลือกที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของภาวะเศรษฐกิจโลกได้

และมันเป็นแนวคิดที่มีมานานแล้ว อยู่ที่ว่าจะเลือกที่จำนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่ ไม่ใช่ ใครบางคนเป็นคนคิดขึ้ืนมาใหม่ ๆ ไม่นานมานี้ แล้วเค้าเลือกนำมาใช้ในเมืองไทยเป็นคนแรก ถ้าคุณแอนตี้เขาก็ควรจะแยกแยะบ้างคนเรามันมีทั้งดีและไม่ดีั อะไรดีก็เอามาใช้ไม่ดีก็ดูไว้เป็นบทเรียน ไม่ใช่เกลียดเขาก็เกลียดสิ่งรอบข้างอะไร ๆ ที่เขาคิดเขาทำทั้งหมด "ต่อให้สิ่งนั้นมีดียังไง ให้ตายถ้าคนที่ข้าเกลียดเป็นคนคิดเป็นคนทำข้าก็ไม่เห็นดีเห็นงามด้วยหรอก" แบบนี้เขาเรียกว่าคนคิดไม่เป็น เป็นพวกทิฐิ อีโก้สูง ถ้าประเทศไทยมีคนแบบนี้เยอะ ๆ ประเทศไทยคงจะเจริญน่าดูชม
โดยคุณ ท.กองหนุน เมื่อวันที่ 02/06/2009 14:09:22


ความคิดเห็นที่ 12


เรื่องการแลกเปลี่ยนสินค้า...เอาเป็นว่าตื่นได้แล้วครับทุกท่าน..เรื่องนี้ไม่มีชาติไหนเขาเอากับเราครับ...เป็นแค่หลักการเจรจา...แต่พอจะเอาจริงๆ แค่ Mi-17 ยังจะเอาเงินเลยครับ...ช่วงนี้ใครๆเขาจะเอาเงินทั้งนั้นเศรษฐกิจแบบนี้ครับ......
โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 02/06/2009 20:58:00


ความคิดเห็นที่ 13


ผมก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับ ป๋าjuldas ครับ ถ้าเรามาทบทวนดูเกี่ยวกับบาร์เตอร์เทรด จำได้ว่าเคยมีการเจรจาแล้วกับสวีเดนตอนนั้น แต่เรากลับมาซื้อด้วยเงินงบประมาณ ซึ่งฝูงสองหากนำเรื่องนี้มาเจรจาอีกครั้งไม่เห็นจะแปลกอะไร ไม่จำเป็นว่าต้องบาร์เตอร์เทรดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สัดส่วนการบาร์เตอร์เทรดนั้นมันช่วยในการที่ต้องชำระเป็นตัวเงินน้อยลงทำให้ลดภาระเรื่องงบประมาณการจัดหาไปได้ส่วนหนึ่งและสินค้ายังได้ระบายออกต่างประเทศ ประเทศเรานั้นพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักนะครับ หากต่างชาติลดการใช้จ่าย การส่งออกเราก็จะลดลงตาม การมีบาร์เตอร์เทรดมันช่วยได้อีกทางนะครับ แต่หากมีการเลื่อนการจัดหา JAS-39 ชุดสองในช่วงนี้มันจำเป็นก็เห็นด้วยครับ
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 02/06/2009 21:05:46


ความคิดเห็นที่ 14


ขอแสดงความเห็นนะครับ
อย่างแรก เสี่ยโย ต้องลำบากหมุนเงินแน่นอน อิอิอิ
อย่างที่สอง ผมชื่นชมผู้นำเหล่าทัพที่มองที่ข้อเท็จจริงและสภาพในปัจจุบันของประเทศ
ต่อมา เรื่อง Barter Trade ใครที่เรียนเศรษฐศาสตร์มา เราก็จะรู้ถึงความยุ่งยากในระบบนี้ เพราะมันผูกโยงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มากกว่าเงินสด สินค้ามาเงินไป แน่นอนที่สุด ใครจะยินดีรับความเสี่ยงนี้ ผู้ซื้อหรือผู้ขาย

โดยคุณ yaiterday เมื่อวันที่ 02/06/2009 21:23:31


ความคิดเห็นที่ 15


เรื่อง บาร์เตอร์เทรด ผมว่า ไม่ใช่ไม่มีใครเอา...

เพียงแต่ ผู้เจรจา มีความสามารถเพียงพอหรือไม่ ? เจรจา ต่อรองเป็นหรือเปล่า ?

ถามว่า...สวีเดน ปัจจุบัน ขาย Jas-39 ประเทศไหน ได้หรือไม่ ?

คำถามอีกว่า...ความต้องการของ ทอ. คือ 1 ฝูง = 18 ลำ....

แล้ว สมมติว่า สวีเดน ตกลงว่า ถ้าคุณซื้อเพิ่มเป็น 12 ลำ (ซึ่งเป็น Lot 2 ไม่ได้รวมกับ Lot1)...แต่ใช้บาร์เตอร์เทรด...ตกลงเป็นถัวเฉลี่ยว่า เป็นเงินสด ลำละ 90 $ เป็น สินค้าเกษตร 30 $ หมายถึงว่า

คุณจ่ายเงินสดเพิ่มเป็น 1,080  $ ขณะเดียวกัน คุณมีมูลค่าการส่งออก เป็น 360 $ หักกลบ ลบกัน เท่ากับ คุณเสียเงินสดเป็น 720 $ คุณจ่ายเพิ่มจากเดิม 220 $ แต่คุณได้ บ.เพิ่มอีก 6 ลำ (จากเดิมคุณจ่าย 500 $ เพื่อได้ บ. อีก 6 ลำ)

การเจรจาต่อรอง ไม่ใช่ หน้าที่ของ กลาโหม...

เป็นหน้าที่ของ พาณิชย์ กับ นายกฯ...

กลาโหม มีหน้าที่ คือ คุณต้องการ อาวุธอะไร เมื่อไหร่ งบประมาณเท่าไหร่...

นอกเหนือจากนั้นคือ หน้าที่ของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง...และนายกฯ...

เพื่อตอบสนอง ความมั่นคง ของ กลาโหม ครับ...

เพียงแต่ กลาโหม เวลาเจรจาเรื่องซื้ออาวุธ...ต้องแจ้งหรือสร้างความคิดนิยมว่า...เรื่องการเงิน ไม่ใช่เรื่องของผม...ผู้ขายต้องไปเจรจากับรัฐบาลเอง...ซึ่งในการค้าปัจจุบัน...ถามว่า ไลน์การผลิต Jas-39 หรือ ไลน์การผลิต อุตสาหกรรม เขาจะมีอัตราการผลิตยอดคุ้มทุนอยู่ว่า...

ผลิตเท่าใด จึงจะได้ ต้นทุนที่..ถูกที่สุด....

ยิ่งยอดการสั่งซื้อน้อย...ต้นทุนยิ่งสูง...ผู้ซื้อ...ย่อมซื้อแพง....

ผมว่า ปัญหา มันอยู่ คอมมิชชั่น มากกว่าอย่างอื่นครับ...เพราะถ้ามีการ บาร์เตอร์เทรด หรือ เคาน์เตอร์เทรด...คนเกี่ยวข้อง มันมากกว่า กลาโหม...มันมีอีกหลายกระทรวง...

มาเลเซีย กับ อินโดฯ ก็ใช้ผลิตภัณท์ แลกเปลี่ยนบางส่วน คือ น้ำมัน...ไม่ได้ใช้ เงินสด ล้วน ๆ เหมือนเมืองไทย...และรัสเซีย เอง ก็มีน้ำมันจำนวนมาก เพียงพอที่จะส่งออกด้วย...แล้ว ทำไม รัสเซีย ถึงยอมแลกเปลี่ยนในจำนวนเงินบางส่วนตรงนั้น ? 

คำถามว่า เมืองไทย ไม่มีน้ำมัน...แล้ว สวีเดน มีความต้องการอะไร ?

ผมจึงเป็นหน้าที่ของผู้ชำนาญการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่ หน้าที่ของกลาโหม...ที่จะคิดเอง...หรือเจรจาเอง ครับ...

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 03/06/2009 11:32:34


ความคิดเห็นที่ 16


การทำบาร์เตอร์เทรด หลายคนมองไปที่สินค้าเกษตร แต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่แค่นั้น ต้องลองมองดูว่าประเทศคู่ค้าเขามีความต้องการอะไรที่เราผลิตได้ อาจจะเป็นสินค้าเกษตร แต่ไม่จำเป็นต้องเป็น ข้าว ผัก ผลไม้ หรือ กุ้ง ไก่ แต่อาจจะเป็นพวก น้ำมันปาล์ม หรือยางพาราได้ไหม สินค้าอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตรก็ได้ อย่างเอทานอล น้ำตาล ผลไม้แปรรูป เราผลิตเกินความต้องการ เราเอาไปแลกได้ไหม หรือสินค้าอุตสาหกรรรม เราก็มี เขาสนใจไหม อุตสาหกรรมพลาสติก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และ รถยนต์สำเร็จรูป เขาเอาไหม อย่าคิดว่าจะแลกไม่ได้ บางทีที่เขาผลิตได้ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของเขา คิดง่ายๆ ทำไมประเทศที่ผลิตรถยนต์ได้เองอย่าง อังกฤษ ถึงสั่งออร์เดอร์ รถมิตซูบิชิ ไทรทัน จากเราหลายพันคัน คิดกันแค่นี้จะมีคำตอบ แต่ว่าเราต้องมีการเจรจาครับ
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 04/06/2009 23:49:39


ความคิดเห็นที่ 17


โดยกองทัพอากาศ ใช้วิธีจ้างบริษัทและแรงงานในประเทศ

ผมว่า น่าจะปัดฝุ่นโครงการ บาร์เตอร์เทรด เคาวน์เตอร์เทรด สินค้าเกษตร...กลับมาอีกครั้งนึง

อ้อลืมไป .... คือจะบอกว่า ทำไม่ดี ผมก็ต้องขออนุญาตใช้สิทธิด่าในฐานะประชาชน แต่ถ้าทำดี ผมก็ขออนุญาตใช้สิทธิชมเช่นกัน .....

และถ้าได้ SU หรือCOPTER มาโดยรับสินค้าทางการเกษตรไปแทน

มันแปลกตรงไหน เศรษฐกิจแบบนี้

วันนี้เป็นวันที่บอกความประจักษ์อยู่เรื่องหนึ่ง ที่เราหลายคนอยากให้เกิดขึ้น หากเราพึ่งพาตัวเองได้ เรื่องทั้งหลายก็จะไม่ตึงเครียดขนาดนี้

เพราะที่ผ่านมา มีคนพูดเสมอว่า ลงทุนไม่คุ้ม ฝีมือห่วยแตก เทคโนตามไม่ทัน สมัยนี้นะเขาเล่นระบบ COMPOSITE ASSEMBLYกันหมดแล้ว

อันไหนทำได้ก็ทำ  ทำไม่ได้ก็ซื้อ มันทำให้อ่อนตัวในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ อย่าดูถูกกันเอง เพราะการดูถูก เท่ากับการปิดโอกาศตัวเองครับ

 

 

 

โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 08/06/2009 00:00:38