ปล่อยให้ภารกิจปราบปรามผู้ก่อการร้าย ตกไปอยู่กับในเงื้อมมือเครื่องบินฝึกมานาน.................... ตอนนี้ถึงคิว ของเครื่องปราบผู้ร้ายสายพันธุ์แท้บ้างแล้ว........................
วันเวลาผ่านไป ยักษ์ใหญ่เหลือยักษ์เดียว วันนี้สิ่งที่สร้างความรำคาญให้ยักษ์ กลับเป็นแมลงหวี่....................
ล่าสุดเห็นว่า ทอ.อิรัค(ในสังกัดไอ้กัน) สนใจจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาไว้ใช้หนึ่งฝูง เอาไว้ตรวจการณ์ไล่ล่าแขกถือ อาร์พีจี ที่หมายตาเล็งไว้เห็นเป็น ที-6-2 ซึ่งมะกันถือสืทธิบัตร.............................
ที-67 ถือกำเนิดขึ้น ด้วยคงมองเห็นช่องเล็กๆ พอที่จะสร้างโอกาสและกำไรงามๆ....................... แม้ยังอยู่ในขั้นการพัฒนา หากแต่อนาคต ถ้าทอ.มะกันปิ๊งปั๊ง เลือกเข้าประจำการ เธออาจเป็นนกน้อยอีกตัว ซึ่งมือชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ รุ่นพี่เช่น โอวี-10..............
ทอ.ไทย สนมั๊ย...............??????
อิรักเป็นประเทศแรกที่มีการจัดหา AT-6B จากสหรัฐฯไปใช้งานอย่างน้อยจำนวน 8ลำจากความต้องการ 36ลำครับ
ซึ่ง AT-6B เป็น บ.ฝึกโจมตีเบาใบพัด ย.ที่พัฒนามาจาก บ.ฝึกแบบ T-6 Texan II โดยมีการปรับปรุงติด Glass Cockpit ระบบ Sensor แจ้งเตือนการถูกยิงด้วยอาวุธปล่อย และระบบตรวจจับเป้าหมาย Electro-Optical โดย AT-6B มีตำบลอาวุธใต้ปีก 6ตำบลสามารถติดตั้งอาวุธได้หลายแบบเช่น กระเปาะปืนใหญ่อากาศ .50cal, กระเปาะจรวด 2.75", ระเบิดธรรมดาและระเบิดนำวิถี Laser เป็นต้น
ทั้งนี้อิรักมีความต้องการจัดหา บ.ฝึกยั้นมัธยม T-6A Texan II สำหรับฝึกนัดบิน ราว 20ลำด้วย
สำหรับ บ.ลักษณะเดียวกันกับกองทัพอากาศไทยนั้น ส่วนตัวคิดว่าในปัจจุบันดูเหมือนจะยังไม่มีสถานการณ์หรือความขัดแย้งในระดับที่จำเป็นต้องใช้ บ.ลักษณะดังกล่าวนักครับ เช่นในชายแดนภาคใต้เองก็ไม่จำเป็นถึงขนาดต้องใช้ บ.ใบพัดติดอาวุธเหมือกับ OV-10 หรือ AU-23 สมัยปราบปราม ผกค.ครับ ตามแนวชายแดนตะวันตก หรือทางตะวันออกเองที่อาจจะเกิดการรบตามแบบเพื่อขับไล่กองกำลังที่รุกล้ำเข้ามานั้น การใช้ บ.โจมตี ย.Jet หรือ บ.ขับไล่อาจจะดูเหมาะกว่าในสถานการณ์รบตามแบบครับ
หรือในกรณีที่จะใช้ บ.ลักษณะดังกล่าวจริงการพัฒนา บ.ทอ.๖ ให้ติดอาวุธได้ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจครับ แต่ส่วนตัวว่ายังเร็วไปที่จะกล่าวถึงในขณะนี้ครับเพราะ บ.ต้นแบบยังไม่ได้สร้างออกมาและทำการบินเลยครับ