หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


หากว่าการเริ่มอุตสาหกรรมอากาศยานในประเทสไทยเริ่มต้นด้วย....

โดยคุณ : sturmovik เมื่อวันที่ : 17/04/2009 10:03:18

ผมมีคำถามที่อยากฟังความเห็นของเพื่อนๆ ทุกคนครับว่าหากอุตสาหกรรมทางการบินในประเทศเริ่มต้นด้วยการผลิตอะไหล่เถื่อนที่เจ้าของลิขสิทธิเค้าไม่ทำแล้ว อย่าง av-8
a-7 mig-21 f-4 f-5 g-222 เป็นต้น รวมถึงเครื่องที่อะไล่หายากและเป็นที่นิยมอื่นผมจึงมีคำถามว่า
1.จะสามารถผลิตได้หรือไม่ในแง่ของกฎหมาย
2.หากมีฝีมือการทำอะไหล่ดีขึ้นจนผลิตได้ทั้งลำจะสามารถนำมาประกอบขายเป็นลำได้หรือไม่
3.เครื่องบินแต่ละเครื่องมีจุดร่วมกันหรือไม่
หากมีก็สามารถนำจุร่วมนั้นมาทำอะไหล่ชนิดเดียวที่สามารถติดตั้งได้กับ บ. ทุกแบบ เช่นฐานล้อนั้นมีจุดร่วมกันท่ทุกเครื่องต้องใช้นั่นก็คือล้อหากมาโมแจ็กต่อให้สามารถติดตั้งให้กับทุกเครือง ที่ใช้แจ็กเหมือนกันได้เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิตและประกันว่าจะมีอะไหล่ใช้ตลอดอายุการใช้งาน
3ข้อนี้อยากให้เพื่อนๆลองทำประชาพิจารณ์หน่อยตรับโดยเฉพาะข้อ3ผมอยากรู้ว่าข้อนี้จะเป็นไปได้หรือไม่




ความคิดเห็นที่ 1


หุหุ....ตกใจคำว่าอะไหล่เถื่อนจัง

เรื่องของกฎหมายนี่ผมไม่ทราบเหมือนกันครับแต่ถ้าให้เดานะครับ ถ้ายังอยู่ในสายการผลิตอยู่ก็คงทำไม่ได้ครับ ( มั้ง ) ถ้าได้ MIG-21 F-4 คงไม่ต้องครับบ้านเราไม่มีครับ หรือ จะเอาไปขายต่างชาติดี อันนี้ก็น่าคิดครับ แต่ถ้าดูเรื่องเทคโนโลยีแล้วหากจะผลิตอะไหล่ที่ค่อนข้างซับซ้อนคงจะเร็วไปครับ

1.ไม่ทราบครับ

2.ถ้าประกอบเป็นเครื่องคงต้องรออีกนานครับ เพราะ ต้องการปัจจัยหลายอย่างครับ เช่น ความรู้ เทคโนโลยี บุคลากร ทุนสนับสนุน เป็นต้นครับ แต่ถ้าหากลอกเค้ามาทั้งแบบก็คงอาจโดนเล่นได้ครับ

3.น่าจะมีนะครับ เช่น พวกข้อต่อ น้ำมันหล่อลื่น หมุด ไฟ เป็นต้นครับ

เรื่องล้อนั้นหากใช้ร่วมกันน่าจะเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะ เครื่องบินไม่ได้มีแบบเดียวครับ น้ำหนักที่กดทับก็จะต่างกันครับ อย่างบ.ลำเลียงก็ต้องการยางที่รับน้ำหนักมากๆได้ บ.ขับไล่ก็ต้องการยางที่ทนความร้อนสูงๆได้เนื่องจากความเร็วในการขึ้นและลงของมันจะทำให้เกิดความร้อนที่ค่อนข้างมากและอาจสึกไวครับ แต่ถ้าเป็นบ.ที่ขนาดและหน้าที่คล้ายๆกันก็อาจใช้ร่วมกันได้ครับ

โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 16/04/2009 09:55:34


ความคิดเห็นที่ 2


กระทู้นี้น่าคิดครับ การผลิตหรือดัดแปลงชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ

นอกเหนือจากการซื้อหามาถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ปกติเรามักจะได้ยินคำว่า ช่างเราฝีมือดีสามารถซ่อมกินตัวได้ ยกตัวอย่าง การซื้อ Alphejet 25 เครื่องเข้าประจำการเป็นการประจำการจริง 20 ที่เหลือสำรองเป็นอะไหล่ เพื่อบริหารจัดการการซ่อม หรือการซ่อมและดัดแปลง A-7 ของกองบินทหารเรือ ซึ่งเราพบว่าต้องมีการดัดแปลง,สร้างใหม่ชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ขึ้นมาใหม่

ความเห็นผม ช่างเราและมาตราฐานการซ่อมบำรุงเราไม่แพ้ใครในเอเซียครับ ยกเว้นแต่ 2 ข้อครับ

1 การสนับสนุนการใช้งานของเครื่องบินของกองทัพ ครับ

2 สำคัญกว่าข้อ 1 คือ งบประมาณครับ

กระทู้สร้างสรรค์ช่วยคิดช่วยออกไอเดีย นะครับ

โดยคุณ KNIVEMAN1 เมื่อวันที่ 16/04/2009 10:13:35


ความคิดเห็นที่ 3


ติดลิขสิทธิ์ครับ ไม่ฉะนั้นอาจจะถูกฟ้องแบบฟิลิปปินส์ ที่พัฒนา ฮ. ได้แต่ถูก Boeing ฟ้อง สุดท้ายต้องทำลายเครื่องต้นแบบและเครื่องจักรทิ้งครับ

ไม่ต้องผลิตเถื่อนหรอกครับ ไปซื้อสิทธิบัตรการผลิต ง่ายกว่าครับ คำถามสำคัญก็คือ คุ้มค่าหรือเปล่าเท่านั้นเอง ถ้าคุ้มก็น่าทำ ถ้าไม่คุ้ม ถึงน่าภูมิใจแต่ก็ไม่น่าทำครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 16/04/2009 20:57:26


ความคิดเห็นที่ 4


เคยได้ยินข่าวประเทศอินเดียผลิตอะไหล่  F-16 ปลอมออกขายครับ แต่นั่นก็นานมาแล้ว  ไม่รู้ว่าตอนนี้ยังมีการผลิตอยู่หรือเปล่า
โดยคุณ ppk8837 เมื่อวันที่ 16/04/2009 22:00:29


ความคิดเห็นที่ 5


ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับ จากประสบการณ์ที่เคยพัฒนาเครื่องจักรมาบ้างครับ

สิทธิบัตรมีวัตถุประสงค์เพื่อ ป้องกันการ Copy เพื่อขาย (ทำซ้ำเพื่อการค้า) ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดต่อผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรนั้น ๆ ครับ

ซึ่งจะเห็นว่าไม่ครอบคลุม การศึกษาและพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ครับ เพราะฉะนั้นเราสามารถทำการ  Reverse Engineering (วิศวกรรมย้อนกลับ) จากสิ่งประดิษฐ์ที่เค้าสร้างขึ้นมาแล้วได้ครับ แต่ทั้งหมดก็ต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้านะครับ

ยกตัวอย่างโครงการของกองทัพอากาศ บ.ชอ.๒  ครับ ซึ่งถือเป็นการ Reverse Engineer รูปแบบหนึ่งครับ คือขั้นต้นเรานำแบบ(Drawing) ของต้นแบบมาคำนวณใหม่ และออกแบบอีกครั้งเพื่อหาเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไมส่วนนี้ต้องออกแบบอย่างนี้นะ แล้วลองสร้างดูว่าทำแล้วมีปัญหาอะไรหรือเปล่า เป็นอย่างที่เราได้คำนวณไว้หรือไม่ ซึ่งเมื่อเสร็จโครงการแล้ว เราก็จะได้องค์ความรู้สำหรับการสร้างสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ แล้วครับ

ทีนี้เราก็ต้องมาออกแบบสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของเราเอง(เพื่อไม่ให้โดนฟ้อง) ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้อาจจะแตกต่างจากต้นแบบที่เราได้ศึกษามา โดยอาจจะมีการปรับปรุงโน่นนิด นี้หน่อยก็พอครับ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องบินก็หน้าตกแปลกออกไปนิดหน่อย ความเร็วมากกว่ากันซัก 20 Knot มีจำนวนอะไหล่น้อยลง  เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ เปลี่ยนระบบความคุมการบินใหม่ ก็ถือว่าไม่เป็นการ Copy แล้วครับ(ฝรั่งจะชอบใช้คำว่าได้แรงบันดานใจมาจาก....)  ทีนี่เราก็สามารถทำขายได้แล้วครับ

แต่ก่อนอื่นต้องขอเปลี่ยนคำว่า"อะไหล่ปลอม" ก่อนครับ  เพราะอะไหล่ปลอมหมายถึงอะไหล่ที่ ทำขึ้นมาโดยการลอกเลียนแบบเพื่อการค้า ซึ่งไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตร ทั้งนี้อาจจะมีคุณภาพเทียบเท่าหรือด้อยกว่าของแท้ครับ

โดยผมอยากให้เปลี่ยนเป็น ชุดแต่ง(Kit) คือเป็นอะไหล่แท้ซึ่งผลิตจากเรา ^^ โดยมีคุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าของเดิมครับ ซึ่งจะปลอดภัยในการทำตลาดมากกว่าครับ หวังว่าคงจะเข้าใจนะครับ

กลับมาที่คำถามครับ

1. สามารถผลิตได้ครับแต่ต้องมั่นใจว่า แตกต่างจากของเดิมและดีกว่าหรือเทียบเท่าครับ
2. ผลิตได้ทั้งลำยิ่งดีครับ ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค้า แต่ต้องมั่งใจว่าแตกต่างและดีกว่าครับ
3. ครับหลาย ๆ แบบใช้ Common spare part(อะไหล่) เดียวกันครับ ยกตัวอย่างระบบ APU ของเครื่องบิน Gripen ,UH-60,UH-47,T-50 ซึ่งมีอะไหล่บางส่วนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ แต่ปัญหาคือบางครั้งอะไหล่พวกนี้ต้องใช้ความละเอียดในการปรับตั้งสูงครับ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดคือระบบ Gear Auto ในรถยนต์ครับ ซึ่งคนที่จะทำการปรับตั้ง Gear Auto ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในทางเครื่องกลระดับเทพ+ไฟฟ้า รวมไปถึงเครื่องมือและโปรแกรมเพื่อ Trun ให้ระบบ Computer สามารถทำงานได้เหมาะสมกับ Machine ครับ ทั้งหมดทั้งบวงต้องลงทุนครับ ทั้งคนทั้งเครื่องจักรครับ แต่ผมเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของคนไทยครับ

 ปล.เรื่องฟิลิปปินส์ไม่แน่ใจในรายละเอียดครับ แต่อาจจะโดน Force จากการเมืองหรือเปล่าครับ ???

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 16/04/2009 23:03:21