คือว่าผมได้ไปที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศมานะครับ
แล้วไปสะดุดตากับซากเครื่องบินลำเลียง
ก็เลยเดินไปดูใกล้ เฮ้ย ทำไมหน้าตามันคล้าย ๆ
กับ G-222 จังว่ะ เลยอยากจะถามพี่ ๆ ในบอร์ดว่า
มันใช่ G-222 หรือเปล่าครับ
แล้วตอนแรกเราซื้อ G-222 มากี่ลำ ปัจจุบันทำการบินได้กี่ลำ ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
ใช่หรือเปล่า
ใช่ G-222 ครับผมก็เพิ่งไปเห็นมาแต่ก็นานสักพักและครับ งงอยู่เหมือนกันว่าทำไมเอามาไว้ที่นี่ เห็น ปีก วางอยู่ข้างๆด้วยแต่ข้างในไม่มีอะไรเหลือแล้วครับตอนผมไปดู ประตูด้านหน้าแง้มไว้เลยคครับพอเห็นข้าง WoW.....
จำได้ว่า
-เป็นตัวเดียวกับที่คุณskyman ถ่ายให้เห็นขณะขนย้ายครับ
(กลางถนนเลย)
-ท้าวทองไหลเคยโพสไว้ว่า จากที่ประจำการ 3 ตัว ยังมีใช้งานได้อีก 2 ตัวครับ
ความเห็นผม
เข้าใจว่าเรื่องการsupply อะไหล่ แต่ถ้ามองเป็นโอกาสให้ทางTAI บริหารจัดการเรื่องนี้เต็มที่ ผมทำงานเอกชนเราเรียกเรื่องนี้ว่า OUTSOURCE กองทัพมีหน้าที่ใช้งานอย่างเดียวพร้อมจ่ายเงินต่อปี และเป้าหมายที่จะใช้งานเครื่องปีละกี่ชั่วโมงก็ว่าไป กับกำหนดอัตราการพร้อมรบ หรือ พร้อมใช้งาน(ผมอาจจะใช้ศัพท์ไม่ถูกต้องนะ)
ซึ่งแนวความคิดนี้ เหมือนที่ กองทัพอเมริกาใช้บริหารจัดการ
F-117 ครับ
รูปนั้นไม่ใช่ผมถ่ายครับ เป็นรูปที่คนในพันทิปห้อง Blueplanet ถ่ายไว้ครับ
G-222 ใช้งานเต็มที่เพียง 4 - 5 ปีเท่านั้น และหลังจากนั้นความพร้อมรบก็ตกลงตลอด ตัวลายพรางนี้ ถ้าจำไม่ผิดคือหนึ่งในสามตัวที่ถูกเก็บรักษาสภาพที่ดอนเมืองครับ ไม่กี่ปีหลังจากเข้าประจำการ ตอนนี้เหลือบินได้ 3 ตัว ข่าวล่าสุดคือเหลือเพียง 2 ตัว และอีกไม่นานก็คงจะต้องปลดแน่ ทั้ง ๆ ที่อายุและโครงการอากาศยานยังเหลือให้บินได้เป็นสิบปี
ผมยังอยากได้ยินคำอธิบายของทอ.อยู่ว่า ทำไมภาษีของผมมันถึงกลายเป็นแบบนี้? เพราะผมถือว่ามันคือหายนะของภาษีของประชาชนอันหนึ่ง
รู้สึกเสียดายของครับ
เครื่อง G-222 ได้มาใหม่ๆตอนผมมัธยมได้มังครับ
ก็น่าจะราวๆ 10 ปีได้
ไม่แน่ใจมีปัญหาในเรื่องรอการจัดซื้อจัดหาอะหลั่ยรึเปล่า
-อะหลั่ยราคาสูง
-ไม่มีภารกิจในการใช้งาน
-การซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่ากับปฏิบัติการ
ฯลฯ
น่าจะลองให้ท่านผู้รู้มาวิเคราะห์ให้ชมกันนะครับ
เป็นกรณีศึกษาได้เลย กลับกัน C-47, F-5 E/F ฯลฯ
ใช้ได้ตั้งแต่รุ่นพ่อยันรุ่นลูกเลยครับ
กระทู้นี้ปูเสื่อรอชมครับ
ขออภัยครับรูปใหญ่เกิน
เด็กใหม่ครับ
อยากให้รูปมันไปอยู่มุมซ้าย แนะครับ
งง...
G-222 และ C-27 ไม่มีลูกค้าเพิ่มเติมมานานแล้ว และ อเลเนียก็ปิดสายการผลิต G-222 ไปนานแล้ว เข้าใจว่า G-222 อัพเกรดขึ้นเป็น C-27 ไม่ได้ด้วย ทำนองเดียวกับ C-130H ไม่สามารถอัพเกรดไปเป็น C-130J
ความเห็นผม ถ้าทอ.ยังสามารถซ่อมบำรุงได้ตามมาตราฐานของกองทัพ และคงอัตราการพร้อมรบได้ ก็น่าจะประจำการได้อีกนานครับ และสามารถช่วยแบ่งเบาภารกิจของ c-130 ได้อีกด้วย ยกเว้นแต่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณในการซ่อมบำรุง
การปรับปรุง G 222 เป็น C 27 Spartan ติดเรื่องการละเมืดลิขสิทธิ์ครับผม โดย G 222 ผลิตโดย Fiat/Alenia แค่ C 27 Spartan ผลิตโดย Lockheed Martin