หลักการทำงานของปืนลูกเลื่อนที่มีอยู่ในโลกตอนนี้ แบ่งออกเป็นหลักๆสองแบบครับ คือ......................
แบบหน้าลูกเลื่อนปิด กะ หน้าลูกเลื่อนเปิด.................................
หลักการทำงานแบบแรกเห็นได้บ่อย เหมือนปืนสั้นแบบที่เราใช้ทั่วไป ขอเวลานอกมีต่อ..............................
หน้าลูกเลื่อนปิด มีวงรอบการทำงานคือ เมื่อดึงคันรั้งโครงนำลูกเลื่อนถอยหลัง ลูกเลื่อนจะถอยไปดันสปริงและขึ้นนก เมื่อปล่อยลูกเลื่อนเป็นอิสระ หน้าลูกเลื่อนจะเคลื่อนไปด้านหน้า ดันกระสุนในแม็กกาซีนเข้าสู่รังเพลิง กลไกจะขัดกลอนปิดรังเพลิง เป็นอันพร้อมยิง เมื่อทหารลั่นไก สปริงจะดีดไปที่เข็มแทงชนวนตีไปที่จอกกระทบแตกท้ายกระสุนเกิดการระเบิด แก้ซร้อนจะดันหัวกระสุนออกจากลำกล้อง ทีนี้ถ้าเป็นระบบดีเลย์โบแบ็ค แรงส่วนหนึ่งของกระสุนจะดันชุดลูกเลื่อนถอยหลัง เกิดวงรอบต่อเป็นการปลดกลอนและคัดกระสุนออก ขึ้นนก และดันกระสุนเข้ารังเพลิงขัดกลอนเป็นการเริ่มวงรอบการทำงานใหม่ ถ้าผู้ยิงปรับตำแหน่งการยิงไปที่ออโต้ ตราบใดที่นิ้วยังกดไกค้าง ปืนก็จะทำงานต่อเนื่องจนกระสุนหมด ..........................ทีนี้ถ้าเป็นระบบแก้ซ เค้าใช้แรงขับในลำกล้องหรือแก้ซร้อนส่วนหนึ่งให้ไหลกลับย้อนมาดันหน้าลูกเลื่อนให้ถอยหลัง สังเกตได้ว่าปืนระบบแก้ซ จะมีท่อแก้ซเล็กๆคู่กับลำกล้องอยู่อันนึง นั่นแหล่ะ ท่อแก้ซย้อน......................................................
ทีนี้มาที่แบบหน้าลูกเลื่อนเปิด....................... แบบนี้มีวงรอบการทำงานคล้ายแบบแรก แต่ต่างกันอยู่นิสนึงตรงที่ ตำแหน่งพร้อมยิง แทนที่กระสุนจะเข้าไปนอนอยู่ในรังเพลิง ขัดกลอนรอการเหนี่ยวไกให้นกตีเข็มแทงชนวน ปรากฏว่าปืนแบบนี้ จังหวะพร้อมยิงลูกปืนจะหยุดรออยู่นอกรังเพลิง ทันทีที่ผู้ยิงเหนี่ยวไก ลูกเลื่อนจะดันลูกปืนเข้ารังเพลิงขัดกลอน แล้วนกจะหลุดตามไปตีเข็มแทงชนวนเกิดแก้ซร้อนดันหัวกระสุนออก แล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามวงรอบ......................มีต่อ
แก้หน่อย .................. เมื่อทหารลั่นไก สปริงจะดีดนกไปตีที่เข็มแทงชนวน เข็มแทงชนวนตีไปที่จอกกระทบแตกท้ายกระสุนเกิดการระเบิด แก้ซร้อนจะดันหัวกระสุนออกจากลำกล้อง
ระบบหน้าลูกเลื่อนเปิดเนี่ย เค้าออกแบบไว้ให้สำหรับปืนที่ยิงกลเป็นจังหวะนานๆ พวกนี้ลำกล้องจะร้อนมาก การที่ลูกปืนไปนอนรอในรังเพลิงนานๆ โอกาสที่กระสุนจะร้อนและเกิดลั่นขึ้นเองจะมีสูงมาก ก๊อให้มานอนรอนอกห้องเสีย..................................
ทีนี้ข้อเสียก็คือ เมื่อมันเป็นอะไรที่พิเศษ โอกาสขัดลำก็จะมากอยู่สักหน่อย และที่สำคัญคือ นึกถึงเวลาตั้งท่ารอจะยิง ลำกล้องทั้งลำตั้งแต่ปากถึงรังเพลิงกลวงโบ๋อ้าซ่ารอพี่อยู่ ทีนี้ถ้ามีอันต้องลงน้ำจมโคลน โอกาสที่ลูกปืนจะเข้ารังเพลิงได้ปกติก็ยากขึ้น.......................
ทีนี้ลองเดาดูจิ๊ เอ็ม-หกสิบ ของเรา ยิงจากหน้าลูกเลื่อนเปิด หรือ ปิด
เท่าที่ทราบตอบได้ว่า
เอ็ม-๑๖ เอชเค-๓๓ อาก้า สไตร์เออก์ ยิงที่หน้าลูกเลื่อนปิด ส่วน ทาเวอร์ ยิงที่หน้าลูกเลื่อนเปิดขรับ...................... ใครทราบเหตุผลมั่งว่าปืนเล็กๆหยั่งงี้ ทำไมต้องยิงจากหน้าลูกเลื่อนเปิด ????????????? .......................
อีกอันหนึ่ง อาก้า เอ็ม-๑๖ สไตร์เออรก์ ทาเวอร์ ใช้ระบบแก้ซย้อน ส่วน เอชเค และ ฟามาส ใช้ ดีเลย์ โบว์แบ็ค (แรงถอยของกระสุน)
ไม่ทราบครับ ทำไมต้องพร้อมยิงตอนหน้าลูกเลื่อนเปิดและระบบแก๊สกับการถอยหลังของส่วนเคลื่อนที่ คุณกบคิดว่าระบบไหนจะทำให้ปืนติดขัดน้อยกว่ากันครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องระบบการทำงานของปืนเล็กครับท่านกบ เป็นสมาชิกที่นี่มานานแต่ผมไม่ค่อยรู้เรื่องหลักการทำงานของปืนเล็กเลย