หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สำหรับผู้พิสมัย ถ.หลัก น้ำหนักกว่าครึ่งร้อยตัน

โดยคุณ : กบ เมื่อวันที่ : 16/05/2009 17:27:35

ไม่ต้องสงสัย ทำมัยเหล่าม้าฟ้หม่นจึงไม่ค่อยปลื้ม ถ.น้ำหนักมากๆ   .........................ดูคลิปนี้แล้ว รู้สึกรักและเอ็นดู  ยี่สิบตัน ติดร้อยห้าและสเตบิไล้เซ่อร์ นามว่า สติงเรย์ จริงๆ

http://www.youtube.com/watch?v=T1cvfDMPmaY&feature=related





ความคิดเห็นที่ 1


   ผมอยากจะแนะนำว่า ความต้องการของรถถังน่าจะเน้นที่จำนวนมากกว่ารุ่น หรือมาจากประเทศนั้นประเทศนี้ หรือเทคโนโลยีแบบไหนก็ตาม ขนาดโรงงานผลิดM-1ของอเมริกาปิดโรงงานไปแล้ว เพราะเทคโนโลยีมันมาถึงจุดสูงสุดแล้ว อิสราเอลยังใช้M-60อยู่เลยเหมือนบ้านเรา แต่มาผลิตกระสุนเจาะเกราะ ตามภาระกิจให้รถถังดีกว่า

   รถถังมีจำนวนมาก ต่างหากที่มีผลในสงคราม ถ้า...น่านฟ้าเป็นของเรา รถถังคือป้อมปืนเคลื่อนที่ได้ แต่ยิงครั้งละหนึ่งนัด ยิงได้แม่นยำ ถ้ายิ่งมีจำนวนมากๆๆยิ่งมีอำนาจมหาศาล เอารถถังหนักไว้หน้า แถวแรก รถถังเบาไว้แนวที่สองประสานการยิง จะเห็นภาพเลย รถถังไม่ได้สำคัญที่รุ่นไหน(ดูจากสงครามโลก ของนาซีกับรัสเซีย) แต่สำคัญที่จำนวนเหมือนรถถังแลกหมัดกัน ใครเหลือแยะกว่าชนะ นักบินชื่อ อูริด รูเดลเปงนักบินสตูลก้าติดปืนยิงรถถังในสงครามโลกครั้งที่สอง ยิงรถถังได้มากมาย แถมยิงสบายกว่า รถถังยิงรถถังด้วยกัน เพราะปืนกลอากาศของรถถัง ยังไงก้อไม่ทันกินเครื่องบิน จนต้องมีรถหุ้มเกราะติดปืนต่อสู้อากาศยานที่ยิงพื้นราบก็ได้สนับสนุนไปอีก ตกลงขบวนรถถังยิ่งใหญ่โตเข้าไปอีกนี่ไม่นับรถขนกระสุนอีก 

  แต่จิงๆในสภาพสงครามสมัยใหม่ การขนรถถังมหาศาลไปลุยกลับจะไม่มีอีกแล้วในภูมิภาคบ้านเรา รถถังเพียงไม่กี่คันก็ใช้เน้นการยึดครองเมือง จนกลายเป็นสงครามในเมือง กลายเป็นว่า ทหาราบตัดสินแพ้ชนะ รถถังเป็นเพียงปืนใหญ่ยิงถล่มบังเกอรที่กำบังมากกกว่า

   ในอิรักรถถังอเมริกันโดนยิงไปมากมาย จากการวางระเบิดซุ่มโจมตี ผมดูในอินเตอร์เน็ต แท้ที่จิงรถถังจะเคลื่อนเข้าไปเมื่อมีการคุ้มกัน ทั้งทหารราบ ฮ. และพลสไนเปอร์ที่มองหาพวกซุ่มยิงรถถังพร้อมแล้วเท่านั้น รถถังจึงจะออกโรง เพื่อแลกความเสี่ยงของชีวิตทหาร

     รถถังจีนน่าสนใจ ทั้งจำนวน ราคา เงื่อนไขผ่อนง่ายๆสบายๆๆ ยังไงส่ะ รถถังกลับเป็นเป้าที่ทำลายได้ดาย ด้วยอาวุธของทหารราบ ทำให้เน้นที่จำนวน เพื่อทดแทนความสูญเสียที่มีแน่นอน

    น้ำหนักอะไร มันเป็นการหาเพื่อจัดรูปแบบของกองทัพ ที่เจาะจงให้เข้ากับสภาพพื้นดินของไทย คิดไปปวดหัวครับ สงครามจิงๆๆปาซูก้า จรวดต่อสู้รถถัง หรือแม้แต่ระเบิดขวด(โมโลตอฟ คอตเทล)รอทำลายรถถังอยู่ไม่ว่ารุ่นไหนๆก็ตาม ซื้อมา เพราะรอพวกนี้ทำลาย

โดยคุณ panzer เมื่อวันที่ 16/05/2009 06:27:37


ความคิดเห็นที่ 2


    เมืองไทยคำว่ารถถัง ยังเป็นที่สงสัยว่า จะใช้ประโยชน์ได้มากขนาดไหนกัน สงครามสมัยใหม่ทำให้รถถังเป็นเป้าที่อยากทำลาย แถมง่ายดายด้วยจรวดประทับบ่า ผมชอบสงครามโลกครั้งที่สองมาก เลยเหงแล้วว่ารถรถังเป็นอาวุธที่น่ากลัวมาก จนตัวมันเป็นเป้าที่น่าทำลายมาก ในรัสเซียที่โล่งแยะสุดๆๆจึงเกิดฉากสงครามรถถังบ่อยมาก แต่ในยุโรปตะวันตกป่าทึบมากมาย รถถังมักถูกบาซูก้ายิงในระยะใกล้แทบทุกครั้ง ยังไงด้านข้างก็ยังยิงง่ายเกมือนเดิม ยิ่งรบในเมืองด้วยแล้ว รถถังจบทันที มาถึงปัจจุบัน รถถังก็เป็นการรบรูปแบบเดิมจุดอ่อนเดิมๆๆ

   เมืองไทยมีพื้นที่ให้ใช้รถถังก้อคงใช้ได้ก้อภาคกลาง อีสาน ส่วนใต้ ยังสงสัยว่ามีพื้นที่ราบแยะขนาดไหน

   อเมริกาในสงครามเวียดนาม ใช้รถถังบุกแค่ครั้งเดียวมั้งครับที่เคยได้อ่าน พวกเวียดกงเปิดทางให้ขบวนรถถังอเมริกันวิ่งสบายจิง แต่กลางคืนนี้สิ ที่ขบวนรถถังอเมริกันกลัว

  แล้วแบบนี้รถถังสมัยใหม่ควรเลือกถูกๆๆดีกว่า แต่เน้นกลยุทธ์ให้รถถัง ในอีรัก เหงรถถังวิ่งในเมืองเดี่ยวๆๆจิง แต่เขามีฮ.บินสนับสนุน เคยมองบนฟ้าให้อีก ตกลงการมีรถถังวุ่นวายดีแท้ ต้องคุ้มกันรถถังตลอด

  เพราะเอาเข้าจิง รถถังมีไว้ซ้ำข้าศึกที่ถอยหรืออ่อนแอมากกว่า เวียดกงใช้รถถังบุกยึดทำเนียบเวียดนามใต้ เพราะทหารอเมริกันถอยออกไปแล้ว เหมือนต้องการอวดภาพชัยชนะมากกว่า ทั้งที่รบมาตลอดใช้รถถังเปงแกนหลักน้อยสุดๆ เคยได้อ่านครั้งเดียวว่ามีรถถังเวียดนามเข้าโจมตีอเมริกันจนเละ แต่เช้ามาอเมริกันตามไปทำลายส่ะรถถังหมด เพราะรถถังเวียดนามลงอุโมงไม่ได้ เป้านิ่งแท้ๆๆ

   ยิ่งได้ดูภาพกลุ่มรถถังเขมรแดงในนิตยาสารน์สมรภูมิตอนเด็กๆ รถถังT-72 กับพวกสายพานโดนรุมยิงพินาศหมด ไม่แปลกใจ เพราะสภาพพื้นที่เปงป่าโปร่งก็จิง แต่ง่ายกับการซุ่มโจมตี

    รถถังจะได้ใช้จิงๆๆเมื่อเราครองน่านฟ้าได้แล้วเท่านั้น แล้วที่เหลือจะเหงว่ารถถังไม่ว่าแบบไหนก็จะน่ากลัวหมดครับ

   

โดยคุณ panzer เมื่อวันที่ 16/05/2009 05:44:04


ความคิดเห็นที่ 3


แฟนๆรถถังนาโต้คิดว่าถ้าไทยมีการจัดหารถถังพิกัดน้ำหนักทะลุ 55ตันขั้นไป จะมีสภาพแบบนี้ป่าว  เพราะจำได้ว่าเคยท่านสมาชิคบางท่าน ลงภาพ M-41 จมโคลนไปไหนไม่ได้

หากมีสิทธิเจอสภาพนี้ในบ้านเราบ่อยๆ ตัวเลือกรถถังตระกูล T น่าสนอย่างแรงนะครับ (แค่จมโคลนเอามาพิจารณาเลยเนาะ)

รถถังอีกรุ่นที่น่าสนใจจากรัสเซียเช่นกัน แนวรถถังเบาแต่ลงน้ำได้ เบากว่าสติงเรย์ หมัดหนักกว่าด้วยปืน 125 ม.ม.  ขนส่งทางอากาศก็ได้


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 13/04/2009 00:47:16


ความคิดเห็นที่ 4


ครับ  สามสิบกว่าตันสำหรับ รถถัง ที  ถือว่าไม่หนักเกินไป............................. ก่อนหน้าที่เราจะได้สติงเรย์  เราเคยสนใจจะซื้อสิทธิบัติ ถ.เบา ของเยอรมันมารุ่นหนึ่ง กะเปิดสายเองเลยร้อยกว่าคัน แต่ก็แห้ว(ตอนนี้เหลือรถซึ่งมีแต่ช่วงล่าง(ไม่มีป้อม เป็นรสพ.ต้นแบบ) เป็นอนุสรณ์งานค้นคว้าอยู่หนึ่งคัน).............................. งานนั้นถ้าสืบดูแล้ว เธอไม่ใช่ถ.เบาครับ เพราะ นน. สามสิบตันพอดี จัดเป็นรถถังหลักรุ่นเบา คลาสเดียวกับ อาแอมอิ๊ก ๓๐ หรือ ที-๕๕ ได้เลย.............................

สำหรับคลิปต่อไปนี้ ขอตั้งชื่อว่า ถึงร้าวก็รัก

http://www.youtube.com/watch?v=zrw20j0ga6Q&feature=PlayList&p=76E2E38126725027&playnext=1&playnext_from=PL&index=28

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 13/04/2009 00:55:41


ความคิดเห็นที่ 5


ประเด็นของ ถ.หลักที่เหมาะสมกับกองทัพไทยนั้นไม่ได้อยู่ในส่วนน้ำหนักอย่างเดียวครับ ยังขึ้นอยู่กับระบบอื่นๆเช่นระบบเครื่องยนตร์ ความเข้ากับได้กับระบบเครือข่ายสื่อสาร และอาวุธประกอบของรถเช่น ปืนใหญ่หลัก ปก.ร่วมแกน และปืนต่อสู้อากาศยานบนป้อม ผบ.รถ เป็นต้น

ถ.Type 69-II เป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีดังกล่าวครับ ซึ่ง ถ.จีนนั้นใช้กระสุน ปถ.100มม.คนละมาตรฐาน กับ ปถ.105มม.ซึ่งเป็นปืนใหญ่รถถังหลักของกองทัพ แต่ถ้ามีการจัดหา ถ.หลัใหม่ไม่ว่าจะเป็นระบบ NATO ซึ่งใช้ ปถ.120mm หรือระบบรัสเซียที่ใช้ ปถ.125mm ก็ต้องมีการจัดหากระสุนปืนใหญ่ใหม่อยู่ดีครับ แต่ในส่วน ปก.ร่วมแกน และ ปก.ต่อสู้อากาศยานนั้นยังเป็นระบบจีนคือ 7.62*54R และ 12.7*108mm รัสเซียอยู่ครับ ปัจจุบัน Type-69-II ส่วนหนึ่งก็ได้รับการติด ปถ.ขนาด 105มม.ของจีนใหม่ซึ่งยิงกระสุน NATO ได้ครับ

ซึ่งถ้ามีการจัดหา ถ.จากรัสเซียหรือแหล่งอื่นที่ใช้แบบแผนใกล้เคียงกัน ก็น่าจะทำในลักษณะเดียวกับ PT-91M ของมาเลเซียที่จัดหาจากโดยนอกจาก ปถ.125mm แล้วมีการติด ปก.ร่วมแกนใหม่เป็นขนาด 7.62mm NATO และติด ปก.หนัก M2 .50cal แทนครับ

อย่างไรก็ตามแนวทางแก้ของเรื่อง ถ.หลักในระยะยาวกับไทยนั้นควรจะเป็นการพัฒนา ถ.เองในประเทศครับ แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้าน technology และความเหมาะสมหลายๆประการแล้วกองทัพไทยก็ยังคงต้องจัดหา ถ.จากต่างประเทศอยู่ครับ

แต่โดยส่วนตัวแล้วแนวทางการจัดหารถรบของกองทัพบกที่ผ่านมาก โดยเฉพาะระบบที่เป็นค่ายรัสเซียจีนแต่ติดระบบเครื่องยนตร์และระบบสื่อสารมาตรฐาน NATO ที่ผ่านมานั้นก็สามารถใช้งานได้ดีในระดับหนึ่งก็จริง แต่ถ้าเทียบกับ ถ.มาตรฐาน NATO แท้ๆแล้วก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 13/04/2009 01:55:13


ความคิดเห็นที่ 6


เห็นด้วยครับ คุณกบ
พื้นที่ที่ไม่เป็นระนาบ  สายพานจะกระจายน้ำหนักออกไมได้ไม่เต็มที่ครับ เนื่องจากแรงกดจะอยู่ตรงพื้นที่สูงกว่าเท่านั้น


โดยคุณ tuntuntun เมื่อวันที่ 14/04/2009 00:19:50


ความคิดเห็นที่ 7


เลิกพูดเรื่องการเข้ากันไม่ได้ของระบบสื่อสารได้แล้ว
บริษัทที่อาจารย์ผมทำงานด้วย เค้าประมูลงานติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร
ให้กับรถถังใหม่ทั้งระบบมาแล้ว ฉะนั้นเรื่องพวกนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคเลย
มันก็เป็นข้ออ้างของพวกที่ไม่อยากให้กองทัพได้มีของดีราคาไม่แพงไว้ใช้
ก็พวกนายหน้านั่นแหละที่ไม่อยากให้กองทัพ
ซื้อของที่อื่นที่มันไม่ได้เป็นนายหน้า
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่ 13/04/2009 03:28:13


ความคิดเห็นที่ 8


The 3.9-billion-baht deal calls for the army to buy the bodies of 96 BTR-3E1 armoured vehicles from the Ukraine. It also signed a contract to use engines and communications systems made in Germany.

http://www.bangkokpost.com/news/local/14757/coup-fallout-delays-apcs

การจัดหา รสพ.Type 85 จากจีนเมื่อประมาณ 20ปีก่อนก็เป็นในลักษณะนี้ครับคือใช้ ย.และระบบสื่อสารจากเยอรมันครับ

โดยระบบสื่อสารของ ถ.ที่เป็นค่ายตะวันออกเดิมอย่างเช่น T-84 ของยูเครนเองก็มีการเสนอให้ติดตั้งระบบสื่อสารมาตรฐาน NATO ได้ครับ

ในส่วนของ PT-91M ของมาเลเซียเองถ้าจำไม่ผิดในส่วนระบบสื่อสารก็ติดระบบของบริษัท Sapura ของมาเลเซียเองครับ เข้าใจว่าก็น่าจะเป็นระบบสื่อสารในมาตรฐาน NATO ครับ โดยบริษัทนี้ผลิตระบบสื่อสารร่วมกับ Thales ฝรั่งเศสหลายระบบ ซึ่งPT-91M เองก็ติดตั้งระบบกล้องเล็งและระบบนำร่องของ Sagem ครับ
http://www.ste.com.my/products-repeaters.htm
http://www.ste.com.my/products-trc.htm
โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 13/04/2009 09:32:18


ความคิดเห็นที่ 9


เลิกพูดเรื่องน้ำหนักด้วยครับ

ต้องพูดเรื่องน้ำหนักต่อพื้นที่ผิวของสายพานครับ ต่อให้รถถังหนักร้อยตัน หากพื้นที่ผิวของสายพานพอ มันก็จะไม่จมครับ
โดยคุณ tuntuntun เมื่อวันที่ 13/04/2009 12:12:48


ความคิดเห็นที่ 10


ผมว่าน่าจะเลิกห่วงเรื่อง น้ำหนัก ได้แล้วนาครับเพราะก่อนเอารถถังออกวิ่งก็น่าจะมีการสำรวจดูก่อนนาครับว่าพื้นที่นั้นมันดินออ่นหรือดินแข็ง คงไม่มีใครเอารถถังวิ่งไปมั่วๆให้ตกหล่มเล่นแน่นอน อย่างสติงเรย์ ที่เอาไปวางกำลังทางภาคเหนือ หรือภาคกลางตอนเหนือนั้น ที่มันไม่มีปัญหาก็เพราะ พื้นดินมันย่อมแข็งกว่าทางภาคกลางตอนล่างแถบอยุธยาหรือนครนายกแน่นอน ดังนั้นผมว่าถ้าจะเอารถถังหนักเกิน ยี่สิบตันมาวิ่งแถบนี้ผมว่าก็ไม่รอดเหมือนกันครับ ผมดูแล้วน่าจะเป็นพวก รสพ, น่าจะเหมาะกว่าครับ สำหรับพื้นที่รอบๆ กรุงเทพนี้

ในประเทศรอบบ้านเราอย่างมาเลย์หรือเขมร หรือพม่านี่เขาก็ใช้รถถังหลักเกินห้าสิบตันไว้ใช้เหมือนกัน เช่น ตระกูล ที แบบต่างๆ ยกเว้นอินโดเท่านั้นที่มี พวก บีเอ๊มพี มาใช้บ้าง ซึ่งผมว่าดีทีเดียวกับพื้นที่ดินอ่อนๆครับ

สรุปแล้วผมว่าคงต้องเลือกรถถังให้เหมาะกับงานหรือพื้นที่ครับเพราะรถถังแบบเดียวย่อมไม่เหมาะกับทุกพื้นที่แน่ๆครับ ใช้ให้มันถูกฝาถูกตัวครับดีที่สุด

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 14/04/2009 05:08:28


ความคิดเห็นที่ 11


ถูกต้องครับ........................เรโชน้ำหนักต่อ พท. สายพาน เป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจรณา.........................เป็นว่าใช้คำพูดผิด

 

แต่มีเรื่องนึง จะขอนำมาเล่าให้ฟัง

พอดีผมอยู่ในแวดวงการก่อสร้าง เรื่องทรานสิท กะ แอดเส็สโร้ด นี่ เป็นเรื่องฝังในสายเลือดผมเลย ........................

ผมมีตัวอย่างเป็นข้อเท็จจริงให้พิจารณานะครับ..................

 

คือ ถ้าเทียบเรโช แรงกดต่อพท.หน้าสัมผัสล้อ ระหว่าง รถหกล้อกะรถสิบล้อ อันไหนจะต่ำกว่ากัน  ตอบได้เลย สิบล้อ .................ซึ่งถ้าวิ่งบนถนนดำ ล้อยิ่งมากยิ่งแหล่ม บรรทุกได้มาก ทางหลวงไม่ไถ...............................

ครับ ฟังดูแล้ว เหมือนว่า รถบรรทุก สิบล้อ/สิบสองล้อ มันน่าจะวิ่งผ่าทางเกวียนแฉะๆเป็นเนินขึ้นๆลงๆ เข้าไปส่งวัสดุข้างในโน่นให้ผมได้...................

แต่ความเป็นจริงคือ รถยิ่งใหญ่ยิ่งหนัก ต่อให้ล้อมากแค่ไหน มันจะจมติดหล่มก่อนชาวบ้านเค้าเลย โดยเฉพาะภูมิประเทศที่ไม่ระนาบ......................

 

ครับอันนั้นเป็นเรื่องของล้อนะครับ  แต่ถ้าเป็นสายพาน เชื่อว่าการแชร์น้ำหนักคงต้องดีกว่าแน่ๆ ....................... เอาเป็นว่า  ว่าตามพี่ท่านก็แล้วกันครับ  เปลี่ยนจากน้ำหนักมากเป็น แรงกดต่อ พท. สายพานมากก็แล้วกัน ซึ่งถ้าเปิดสเป็คดูแล้ว รถถังใหญ่ มากกว่ารถถังเบาทั้งนั้นครับ............................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 13/04/2009 22:33:03


ความคิดเห็นที่ 12


Access Road = ถนนทางเข้า

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 13/04/2009 22:35:54


ความคิดเห็นที่ 13


ตามที่ท่านdata ได้กล่าวไว้ข้างต้น ผมก็ว่า เลือกรถถังหลักในอยู่พื้นที่ชายแดนหรือภูมิภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ตอนล่าง ไม่ใช่ที่ราบลุ่มภาคกลาง ส่วนในกรณีพื้นที่ดินนิ่ม ภาคกลางหรือภาคใต้ ก็ใช้รถหุ้มเกราะสายพาน/รถถังเบาแทนน่ะครับ

ในกรณีแรงกดต่อสายพาน ส่วนตัวเคยซ่อมรถสายพานและเคยขับบ้าง(แท็คเตอร์กับแม็คโครเน้อ) แท็คเตอร์ดี- หน้าสายพานกว้าง ดินพึ่งถมใหม่ๆพอเจอฝนดินนิ่มยุบตัว ดี-20/31พี จมยากยังพอลุยไหว กลับกัน รุ่นดี4 น้ำหนักรถมาก หน้าสายพานก็กว้างพอๆกันแต่ว่า จมดินดีมากหน้าสายพานกว้างจริงแต่น้ำหนักมันกดให้รถติดดินเลยล่ะไปไหนไม่ได้ แม็คโครก็เช่นกัน พีซี-120 กับ 1200

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 14/04/2009 08:35:47


ความคิดเห็นที่ 14


 

ที่ท่านกบพูดถึงรถถังเยอรมันที่เราตั้งใจจะผลิตเองสมัยนู้น (ปี28) คือ TH301 TAM ซึ่งเป็นรถถังหลักของกองทัพบกอาร์เจนตินา หลัก30ตัน ติดปืนไรน์เมทัล105มม สมรรถนะพอๆกับ Leopard1A4 แต่เกราะบางกว่าเพราะพื้นฐานมาจากยานเกราะMarderของกองทัพบกเยอรมันี นึกถึงแล้วยังเสียดาย ลักษณะพิเศษคือเครื่องยนต์อยู่ด้านหน้าเหมือนMerkava ป้อมปืนอยู่กลางค่อนมาทางท้าย และติดตั้งถังน้ำมันสำรองที่ท้ายรถได้คล้ายๆกับรถถังตระกูล T-72/80/90

สมัยนั้นที่เข้ามาทดสอบ เจ้าTAM นี่ก็โชว์สมรรถนะยอดเยี่ยมและไม่มีอาการชำรุดร้ายแรงปรากฎเหมือนคู่แข่ง นึกแล้วก็เสียดายถ้าวันนั้นผลิตเองได้ วันนี้อาจจะผลิตอะไรต่อเนื่องมาได้อีกหลายอย่างแล้ว กลายเป็นกองทัพพอเพียงที่พึ่งพาตัวเองได้ไปอีกระดับหนึ่ง เสียดายครับ

 


โดยคุณ oldbot เมื่อวันที่ 16/04/2009 07:34:41