น่าชมเชยครับ ที่ไม่หยุดโครงการฯ
ขอโทษครับที่รูปไม่ขึ้น
www.rtaf.mi.th
งง...ไม่ขึ้น
ข่าวนี้หรือเปล่าครับ ^^
http://www.swsdc.rtaf.mi.th/html/activities_news/activities_news52/frb/bome.html
หวังว่าต่อไป Gripen จะติดอาวุธชนิดนี้ได้ด้วยนะครับ
ชุดระเบิดร่อนนี้มีลักษณะเดียวกับชุดปีกระเบิดร่อนแบบ Long Shot ครับ ซึ่ง ศว.ทอ.นั้นพัฒนามากว่า4ปีแล้วนับตั้งแต่มีข่าวออกมา
ซึ่งก็เห็นมีการทดสอบกับ F-16 หลายครั้งครับ ทั้งระเบิด Laser หรือ ระเบิด CBU เป็นต้น
เห็นทดสอบหลายครั้งแล้ว ไม่รู้ว่าได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง บอก ๆ กันบ้างก็ได้นะครับ ^-^
อ๋อ...ลืมของคุณ Mr.Bean ครับ ที่เอาข่าวมาฝาก */|*
เพียงแต่ JSOW นำวิถีด้วยตนเอง แต่เจ้า MK82 ติดปีกของเราคิดว่ายังคงต้องชี้เป้าด้วยเรเซอร์จากภาคพื้น
ระยะร่อนของ JSOW ไกลถึง 70 ก.ม.แต่ถ้าปล่อยระดับต่ำจะอยู่ที่ราวๆ 25 ก.ม. ไม่รู้ว่าจรวดร่อนของเราจะมีระยะเท่าไร
คิดว่าระยะร่อนของเราไม่น่าจะต่ำกว่า 15 ก.ม. เพราะหากต่ำกว่านี้เครื่องบินอาจโดนสอยจากระบบต่อต้านอากาศยานของเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากระบบต่อต้านอากาศยานระยะใกล้จะอยู่ที่ราว 10-15 ก.ม.
แล้วไม่รู้ว่าชุดปีกร่อนนี้จะใช้ติดกับ MK84 ได้ด้วยหรือไม่
ไม่แน่ใจว่างานนี้ใครลอกใครกันแน่ แต่สงสัยฝรั่งน่าจะลอกเราครับ ^^
http://www.lockheedmartin.com/data/assets/14007.pdf
เพราะเท่าที่เคยลองศึกษาข้อมูลดูโครงการนี้มีแนวความคิดมาตั้งแต่ปี 38 แล้วครับ แต่หยุดไปเนื่องจากสมัยนั้นเทคโนโลยี GPS/INS ยังไม่ดีเท่าปัจจุบัน พึ่งจะกลับมาเริ่มทำอีกครั้งก็เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้วครับ
ระยะยิงของ Long Shot ที่ผลิตจาก lock heed นั้นอยู่ที่ 50+ nm (90+ km)
ครับ สำหรับของเราผมเชื่อว่าต่ำ ๆ ก็น่าจะซัก >25 nm (>45km) ครับ
อื่ม.....ของเราตัวนี้เข้าใจว่าช่วงแรกจนไปถึง Mid-cours นำวิถีด้วย GPS/INS ครับ ส่วนช่วง Terminal นั้นอาจจะเป็น Laser หรือ GPS ก็ได้แต่ Laser จะแม่นยำกว่าครับ
ปล.ถ้าคนไทยทำได้ดี ก็เอามาคุย ๆ กันบ้างนะครับ อย่างน้อย ๆ ก็สร้างความภาคภูมิใจให้คนไทยได้อีกหลายคนครับ
เราให้ฝรั่งช่วยครับ แต่ผมไม่รู้ว่าทอ.จะจริงจังกับโครงการนี้แค่ไหน เพราะที่ผ่าน ๆ มาคนทอ.พูดแต่เพียงว่าเป็นเพียง "โครงการต้นแบบเพื่อหาองค์ความรู้" ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าจะหาองค์ความรู้มาทำไมถ้าเกิดทอ.ไม่คิดจะใช้องค์ความรู้นั้น ถ้าไม่คิดจะตั้งเป้าหมายของโครงการให้มากกว่านี้ เพราะถ้าทอ.ตั้งเป้าหมายของมันว่า จะทำเข้าประจำการให้ได้ล่ะก็ ถึงแม้มันล้มเหลว ก็ยังน่าชื่นมครับ
ก็รอดูครับผม
By Marc Selinger |
LE BOURGET, France - Several precision weapons under development by Lockheed Martin Corp. have made progress within the past year, according to a company official. The Long Shot wing kit, which converts "dumb" bombs and other weapons of 1,000 pounds or less into satellite-guided munitions, has moved closer to entering production since Lockheed Martin highlighted it a year ago at the 2004 Farnborough Air Show, said Randy Bigum, vice president of strike weapons at Lockheed Martin. Bigum said the company is negotiating with several potential foreign customers and hopes to have its first production contract by years end. Among the matters to be decided is whether the wing kit would be built in the United States, a foreign country or both, Bigum told The DAILY June 16. Although Boeings popular Joint Direct Attack Munition (JDAM) already converts dumb bombs into smart weapons, Long Shot avoid the kinds of expensive modifications that aircraft often need to use JDAM, Bigum said. With Long Shot, the pilot can send targeting information to weapons using a small, wireless electronic device strapped to his leg. เท่าที่ค้นดูแล้ว Lockheed Martin ขายไอเดียเมื่อปี 2004 (พ.ศ.2547) แล้วเริ่มผลิตครั้งแรกปี 2005 (พ.ศ.2548) หากไทยเริ่มกลับมาทดสอบเมื่อ 4 ปีที่แล้วตามที่ท่าน Red@Baron บอก ก็เป็นเวลาใกล้เคียงกัน แต่ฝรั่งเงินหนากว่าผลิตไปแล้ว ขายให้กองทัพสหรัฐได้แล้วด้วย |
ดูจากรูป ที่ท่าน RED BARON ลงไว้ มันไม่ค่อยเหมือน จรวดร่อน สักเท่าไหร่
มันดูเหมือน ระเบิด นำวิถี ด้วย เลเซอร์ และ ดาวเทียม มากกว่า
มันเหมือนกับ GBU-12 PAVEWAY ครับ
สวัสดีครับทุกท่าน...และขออนุญาติ จขกท.แก้ไขชื่อ หน่วยงาน ครับ...
เดิม ศว.ทอ. ทดสอบระเบิดร่อนกับ F-16 ตรงที่ขีดเส้นใต้ ผิดครับ จะต้องเป็น ศวอ.ทอ. ย่อมาจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธ กองทัพอากาศ ครับ... และตอนนี้กำลังเปลี่ยนชื่อหน่วยใหม่มาเป็น ศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ ครับ...
ขอบคุณทุกท่านที่รักกองทัพอากาศไทย....
ชมภาพเก่า ๆ ของ GBU-12 จากข่าวของ ศวอ.ทอ. กันครับ
http://www.swsdc.rtaf.mi.th/html/Others/DT2003.html
http://www.swsdc.rtaf.mi.th/html/activities_news/activities_news47/november/november1.html
http://www.swsdc.rtaf.mi.th/html/activities_news/activities_news49/november/swpkh.html
http://www.swsdc.rtaf.mi.th/html/activities_news/activities_news50/febuary/GBU.htm
http://www.swsdc.rtaf.mi.th/html/activities_news/activities_news50/july/GBU-12.html
ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับ GBU-12 เมื่อปี 36
เป็นกรณีศึกษาให้ USA ที่ไม่ขาย Popeye ให้ทอ.ไทยครับ แสดงให้เค้าเห็นว่าเราก็มีความสามารถพัฒนาเองได้ครับ
ครับเจ้าตัวนี้คือ GBU-12 ติดชุดแต่ง(ชุด Kit) Long Shot ที่เราพัฒนาขึ้นมาเองครับ
สำหรับเรื่องที่คุณ Skyman บอกว่าฝรั่งมาช่วยพัฒนานั้นผมก็เป็นหวังว่าคงไม่ใช้คนจาก Lockheed นะครับ ไม่อย่างนั้นเราก็คงจะทำขายแข่งเค้าไม่ได้ครับ ผมเห็นด้วยกับความคิดของคุณ Skyman ที่บอกว่า ท.อ. เราเน้นพัฒนาองค์ความรู้เกิดไปครับ องค์ความรู้ที่ไม่ได้ใช้งานจริงก็ไม่ต่างอะไรกับอาหารที่กินเข้าไปแล้วไม่ย่อย อิ่มเหมือนกันครับ แต่ก็ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
แปลกนะครับที่ ท.อ. เราทำของขายไม่เก่ง แต่ทำเครื่องบินโฟมงานวันเด็กขายเก่งจังเลย ^^ แซวเล่นนะครับ จะบอกว่าหลักการเดียวกันครับ ขาย Know-How ให้คนที่มีทุนทำขายก็ได้ครับ ไม่ต้องเก็บองค์ความรู้ไว้เอง
ส่วนเรื่อง Knowles Sharing นั้นแนะนำให้ไปดูบริษัทที่อยู่ใกล้ ๆ กรมช่างทหารอากาศครับ ลอง ๆ เข้าไปขอดูงานเค้าก็ได้ครับ อีกอย่างตอนนี้เค้าสามารถสร้างเครื่องจักรใหญ่ ๆ ได้ด้วยตัวเองแล้วนะครับ
ปล.^^ ไทยแลนด์สู้ ๆ ครับ
หากพิจารณาจากข้อมูลมติรัฐมนตรีปี 2536 (1993) ประกอบกับคำบอกเล่าของท่าน Skyman ก็แสดงว่าตามข้อมูลใน Wiki ที่กล่าวว่าเป็นไอเดียในทศวรรษที่ 1990 แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นของใคร
ดังนั้นก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นไอเดียของไทยตามมติฯ ปี 36 แล้วไปจ้างให้ Texas Instruments ค้นคว้า แต่พลาดตรงเรื่องลิขสิทธิ์ บ.Texas Instruments เลยเอาข้อมูลไปสร้างขาย
ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง แล้วทำไมกองทัพอากาศจึงยังอยู่ในช่วงการพัฒนาวิจัยกันอยู่อีก เพราะหากจ้างให้ฝรั่งค้นคว้าพัฒนา เขาก็น่าจะส่งผลการค้นคว้าพัฒนาที่เสร็จสิ้น พร้อมผลิตใช้งานให้กับเรานะ
วิจารณาเล่นๆ ไม่มีสาระอะไรสำคัญ แต่พูดก็พูดเถอะ เจ้า JSOW นี้ออกมาบดบังรัศมีของเจ้า AGM-142 หรือเจ้าป๊อบอาย เกือบมิด ด้วยราคาที่ถูกกว่าเกือบ 5 เท่าตัว
ก็แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของกองทัพอากาศ เพราะฉะนั้นเจ้า JAS-39 ก็ต้องเหมาะสมสำหรับประเทศไทยแน่นอน 5..5..5 (ไหง วกมาเข้าน้องหยาดได้ไงเนี่ยะ)
กรรม...ต้องขออภัยอย่างแรง ข้อมูลที่ค้นมาไม่ครบถ้วน เป็นแค่ส่วนเดียวที่เกี่ยวข้องกับ Longshot
เจ้า JSOW นี้แท้จริงแล้วเป็นแนวคิดมาตั้งแต่ในทศวรรตที่ 1990 แล้ว โดย JSOW ได้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจากการที่ได้รับรางวัล Laurels Award จากนิตยสารรายสัปดาห์ Aviation Week & Space ในปี 1996
JSOW AGM-154A เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐ ปี 1999 (Texas Instruments)
JSOW AGM-154C เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐ ปี 2005 (Lockheed Marting)
Sorry นะ
ศวทอ นี้สร้างชื่อเสียงเยอะครับ
ใน ทอ ยังมีหน่วยงานอย่างนี้ น่าภูมิใจครับ
ไม่ได้เอาไปรบแต่ต้องพัฒนาครับ
ขอปรบมือให้
ครับโครงการนี้ต้องขอชมวิสัยทัศน์ ศวอ.ทอ. ครับ เพราะชุด Kit นี้ทำให้ GBU-12 เดิม ๆ กลายเป็นอาวุธที่น่ากลัวขึ้นมาทันทีเลยครับ แต่ก็ขอตินิดหนึ่ง ถึงเรืองความล้าช้า ก็เข้าใจได้ครับกับระบบราชการไทยทั้งนี้เชื่อว่าทุกคนได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วครับ ขอตบมือให้ครับ
จะสังเกตได้ว่าพักหลัง ๆ เริ่มมีผู้ใหญ่ให้ความสนใจ และให้ความสำคัญกับโครงการนี้มากขึ้นครับ คงเป็นเพราะอยากจะช่วยกันให้สำเร็จลุล่วงเร็ววันครับ ยังไงก็เป็นกำลังใจให้นะครับ
ส่วนที่ผมบอกว่าชุด Kit นี้ทำให้ GBU-12 ธรรมดาหน้ากลัวขึ้นนั้น นอกจากจะเป็นเรื่องของระยะยิงที่ไกลมากขึ้นแล้ว ยังเป็นเพราะการที่เราใช้ระบบนำวิถีถึง 3 ระบบรวมอยู่ในชุดเดียวกัน Laser+GPS+INS ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้จะทำงานเสริมกันตลอดเวลา ถ้ามีระบบใดระบบหนึ่งเกิดมาปัญหาไป ระเบิดก็ยังคงสามารถวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้อย่างแม่นยำครับ
หรืออย่างในกรณีที่ระบบ GPS มีปัญหา โดยอาจจะเกิดจากถูก Jaming หรือดาวเทียมถูกทำลาย ซึ่งถ้าหากเป็นระเบิดแบบ JDAM รับรองได้ว่าเสียหมาไม่ต่างอะไรกับระเบิดธรรมดา เพราะมีเพียงระบบ GPS อย่างเดียวในการนำวิถีเท่านั้น
นี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หลาย ๆ ประเทศยังคงไม่ให้การยอมรับระบบของ JDAM เนื่องจากจุดอ่อนข้อนี้ด้วยครับ โดยยังคงนิยมใช้ GBU-10,12 เดิม ๆ มากกว่าครับ แม่ระยะยิงจะน้อยนิดไม่เกิน 14 km ก็ตาม แต่เมื่อติดชุด Kit นี้ไปแล้วระยะยิงเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่า อีกทั้งมีระบบ Sensor ถึง 3 ชุดน่ากลัวมากครับ
ก็เพราะเหตุผลเหล่านี้แหละครับสหรัฐถึงต้องทำตามเรา
ขอแก้ไขข้อมูลเองแล้วกัน แจ้งให้ วมต.ลบ คคห.นานแล้ว แต่ยังไม่เห็นดำเนินการ
.....
JSOW AGM-154C เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐ ปี 2005 (Lockheed Martin)
ที่ถูกต้องคือ บริษัทผู้ผลิต JSOW AGM-154C ก็เป็นบริษัท Texas Instruments เช่นเดียวกันกับ JSOW AGM-154A
สำหรับเจ้า JSOW นั้นอาจเป็น concept เดียวกันกับเจ้าปีกร่อนของไทย แต่หน้าตาอาจจะไม่ค่อยใกล้เคียงกันเท่าไร
แต่ถ้าเป็น Longshot ของ Lockheed Martin หน้าตาจะเหมือนกับของไทยยังกับแกะ
แล้วก็เลยเอาข่าวล่ามาฝากกันอีก สำหรับแพะอีกตัวของเจ้าปีกร่อนไทย
Boeing Teams With TAK To Develop Wing Assembly For 2,000-Pound JDAM ER
by Staff Writers
St. Louis MO (SPX) Apr 17, 2009
Boeing has announced an agreement with Times Aerospace Korea, LLC (TAK) to jointly develop a wing assembly for the 2,000-pound Joint Direct Attack Munition Extended Range (JDAM ER).
"This teaming agreement is a prime example of Boeing Weapons Programs efforts to form strategic partnerships as we develop the systems our global customers need," said Debra Rub, Weapons Programs vice president.
"Our alliance with TAK is an important step forward in bringing the expanded capability of JDAM ER to the warfighter."
Under the teaming arrangement signed Feb 27, Boeing and TAK will co-develop, test, and field a JDAM ER wing kit to convert the 2,000-pound JDAM into a JDAM ER.
Over the course of the 40-month development program, Boeing will provide support to TAK as the Korean company further develops its aerospace capabilities, including preparations for production of the JDAM ER wing assembly.
Upon successful completion of the development and flight-test programs, TAK will become Boeings primary supplier for the 2,000-pound JDAM ER wing assembly.
JDAM is a low-cost guidance kit that converts existing unguided free-fall bombs into accurately guided "smart" weapons.
The JDAM kit consists of a tail section that contains a Global Positioning System/Inertial Navigation System and body strakes for additional stability and lift.
The incorporation of the Extended Range wing kit extends JDAMs standoff range. The baseline JDAM has been sold to the U.S. Air Force and the U.S. Navy, as well as to 22 international customers.
บ.โบอิ้งดอดไปจับมือกับบ.ในเกาหลีใต้ผลิต
ขอแก้ไขข้อมูลด้วยครับเรื่อง JDAM เดิม ๆ มีระบบนำวิถีด้วยกัน 2 ชุดครับคือ GPS และ INS แต่ของเรามีถึง 3 ชุดตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ถ้า sensor ตัวใดตัวหนึ่งทำงานผิดปกติ จะ Cross Check จาก sensor 2 ตัวที่เหลือครับ (ต้องใช้กระเปาะชี้เป้าเข้าช่วยด้วยนะครับ)
แต่ถ้ามี sensor 2 ตัวแบบ JDAM ถ้า sensor ตัวใดตัวหนึ่งผิดปกติ จะเป็นการยากเพราะชุดควบคุม(MCU) ต้องตัดสินใจเลือกว่า sensor ตัวใดยังใช้งานได้ครับ และตัวใดที่มีปัญหา แต่ถ้าใช้งานได้ทั้ง 2 แต่ถูก jamming GPS อันนี้ก็ซวยไป ระเบิดวิ่งไปตกไหนก็ไม่รู้ครับ
เข้าใจว่า JDAM ER(Extended Range) อันนี้ก็เป็นชุด kit เหมือนกับของเราครับ JDAM จะได้เปรียบพวก GBU ตรงที่ราคาถูก(ถ้าซื้อมากกว่า 40000 ชื้น) แต่ถ้าซื้อน้อย ๆ ก็แพงกว่า โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าใน JDAM จะสามารถใช้งานได้ดีในสงครามระดับความขัดแย้งต่ำ ๆ เท่านั้นครับ สงครามใหญ่ ๆ อาจจะมีปัญหาได้ครับ
ปล.JDAM ER คิดถึง Boeing 777 ER (Extended Range)
http://www.alibaba.com/product-gs/204729732/_1000mW_output_GPS_Jammer_blocker/showimage.html
GPS Jammer เผื่อใครสนใจครับ
ขอขอบคุณครับที่ให้ความสนใจกับโครงการพัฒนาปีกร่อนนำวิถีของ ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศของเราครับ สำหรับโครงการนี้ไม่ได้มีการหยุดหรือยกเลิกโครงการแต่อย่างใด แต่กลับมีการคิดค้นพัฒนาเพื่อให้เข้าสู่ขั้นตอนการผลิตเพื่อใช้งานในกองทัพอากาศและภายในประเทศให้ได้เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ แต่เหตุที่โครงการนี้เงียบไปเพราะ นายทหารโครงการท่านต้องรับผิดชอบงานมากมายครับ แต่ผมขอรับรองว่าโครงการนี้ไม่เงียบแน่นอน เพราะมีนักวิจัยที่เก่งเป็นนายทหารโครงการคับ
มีข้อสงสัยครับว่า ชุดปีกร่อนถ้าใช้ร่วมกับ f16 ต้องขออนุญาติสหรัฐไหมครับ ถ้า jas 39 มาแล้วไ้ด้โปรแกรม อย่างนั้นเราสามารถเขียนโปรแกรมโดยไม่ต้องขอทางสวีเด็นก็ได้สิครับ ถ้าชุดปีกร่อนสำเร็จ สามารถพัฒนาร่วมกับทางสวีเด็นแล้วทำขายได้สิครับ ( ถ้า TI ไม่ฟ้องร้อง) |
โครงการพัฒนาปีกร่อนนำวิถีได้เปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็น" โครงการวิจัยและพัฒนาชุดปีกร่อนนำวิถีด้วยระบบ GPS" คับ โครงการนี้ไม่ได้เงียบหายไปไหนคับ ยังคงเดินหน้าดำเนินโครงการต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการที่นายทหารโครงการได้ทุ่มเทอย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่นายทหารโครงการมีภารกิจต้องรับผิดชอบควบคู่กันไป ยังไงก็สำเร็จคับโครงการนี้เพื่อพัฒนาสู่ขั้นตอนการผลิตเพื่อใช้งานในกองทัพอากาศและภายในประเทศให้ได้เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ ของกองทัพและกระทรวงกลาโหม