เรื่องอาวุธรัสเซียนี่ ถ้าเป็นรถถัง รถหุ้มเกราะ หรือเรือ ยกให้สองโป้งเลยว่าเด็ดสะระตี่ เหมาะกับกองทัพประเทศไม่ค่อยมีเงิน เพราะเทคโนโลยีแบบล้ำอนาคตไม่ค่อยมี อาศัยหนังเหนียว ปืนแรง อึด ทน โดนไม่ค่อยยุบ สนิมไม่ค่อยกิน ถ้าจะยิงกันแบบนัดเดียวจอด ก้อต้องอาศัยอาวุธที่หนักจริง ๆ ลำสมัยจริง ๆ ถึงจะเอาอยู่ในนัดเดียว
แต่ถ้าเป็นเครื่องบินล่ะก้อ ความคล่องตัวเหนือกว่าเครื่องบินอเมริกาและยุโรปเยอะ แต่ว่าแหม๋ ทั้งมิกทั้งซู ซดน้ำมันแบบไม่เกรงใจยาจก แถมอะไหล่ซับพอร์ตก้อไม่ค่อยดี
ตระกูล SU ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ 2 ที่นั่ง ภาระกิจหลักคือคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด ในการเดินทางไปทิ้งระเบิดเป้าหมายที่อยู่ไกล ๆ ดังนั้น การใช้งานมันต้องมีการเตรียมการที่ใช้เวลามากกว่าเครื่องบินขับไล่ขนาดเบา จึงไม่น่าจะเหมาะในการใช้งานทางภารกิจตั้งรับ
การพันตูในอากาศแบบด็อกไฟท์ เครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่จะมีความเสียเปรียบเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาในเรื่องความคล่องตัว ก้อสมัยสงครามเวียดนาม เอฟ.111 ของสหรัฐเป็นฝ่ายโดนมิก-21 ยำเอาโหม่งดิน หัวบานมาไม่รู้ว่ากี่เครื่อง
สำหรับเครื่องบินขับไล่รัสเซียที่เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดเบา คือตระกูลมิก ซึ่งมันก้อตั้งรับซะจนรุกไปไหนไม่ไหว ซดน้ำมันหยั่งกับเททิ้ง จนใคร ๆ พูดกันว่า มิก 29 น่าจะบินรักษาพื้นที่ได้ไม่เกินหัวสนามบินเท่านั้น
เครื่องบินของ ทร. น่าจะเป็นพวกปีกสามเหลี่ยม ติดฮาร์พูน หรือเอ็กโซเซ่ต์ หรือขีปนาวุธทำลายเรือแบบอื่น ๆ เหตุผลคือปีกสามเหลี่ยมมันสามารถลอยตัวเหนือยอดคลื่นได้ดีกว่าปีกธรรมดาอ่ะคับ
เมื่อทราบข่าวถึงกองเรือข้าศึกกำลังจะล่วงล้ำเข้าน่านน้ำ ปีกสามเหลี่ยมพร้อมอาวุธทะยานขึ้นจากฐานบินกองบินทหารเรือ เมื่อเรด้าร์จับเป้าได้ก้อลดระดับเพดานบินลงเหนือยอดคลื่นเพื่อหลบเรด้าร์ข้าศึก ล็อกออนเป้าเสร็จ ซัดด้วยฮาร์พูนแล้วผละออกกลับฐานทัพได้
เรือหลักถูกทำลายลงแล้ว เหลือเรือกระจิบกระจ้อย ค่อยเป็นหน้าที่ของ หมู่เรือ รล.นเรศวร ตามเก็บสแปร์อีกที
ประเทศในยุโรป ที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดมหาสมุทร จึงนิยมออกแบบเครื่องบินขับไล่เป็นแบบปีกสามเหลี่ยมกัน เพื่อใช้ในการสกัดกั้นกองเรือข้าศึกอีกภารกิจหนึ่งไม่ว่าจะเป็นมิราจ 2000 ราฟาล ยูโร ไฟท์เตอร์ มาจนถึง JAS-39 ปีกสามเหลี่ยมทั้งนั้นอ่ะคับ
การที่ ทอ.เลือก JAS-39 มาเป็น บข.ฝูงใหม่เพื่อคุ้มครองกองทัพเรือ ผมว่าสู้ให้ทหารเรือเค้าคุ้มครองน่านน้ำที่รับผิดชอบเองมันน่าจะถูกต้องกว่า
ลูกประดู่เชี่ยวชาญนาวี ย่อมรู้ทุกพิกัดของท้องทะเล เอาคนที่ไม่รู้ไปทำ กลัวกว่าจะหากันเจอ เรือก้อจะจม เครื่องบินก้อจะร่วง ข้าศึกก้อจะพาเหรดมายึดหัวหาดแบบไร้ผู้ต่อต้านชิวชิว ๆ สบาย ๆ
ขอบคุณท่าน u3616234 ครับ ว่าแล้วเชียว ปีก Delta เกี่ยวอะไรกับ "ลอยตัวเหนือยอดคลื่น" ก็ยอดคลื่นมันไม่เกี่ยวอะไรกับหลักอากาศพลศาสตร์เลยนิ....
คับถูกต้อง ทฤษฎีปีกสามเหลี่ยมนั้น ไม่เคยปรากฎในตำรากลศาสตร์เล่มไหนดอกคับ แต่ว่ามันเกิดจากการค้นพบว่า ปีกสามเหลี่ยมนั้นเมื่อบินต่ำ จะเกิดปรากฎการณ์ "เบาะอากาศ"ที่ใต้ปีก ที่สามารถสร้างแรงยกในระดับต่ำได้ดี ทำให้เครื่องบินสามารถบินต่ำด้วยความเร็วสูงได้ นอกเหนือจากการไต่ระดับ หรือเร่งความเร็ว
รัสเซียนำการค้นพบนี้ไปสร้างยานคล้าย ๆ โฮเวอร์คราฟของสหรัฐ ที่วิ่งได้ทั้งบนบกและในน้ำคับ
และประเทศยุโรปที่มีพื้นที่ติดมหาสมุทรนั้น ต่างก้อทำแต่เครื่องบินขับไล่ปีกสามเหลี่ยมออกมาทั้งนั้น และสามารถติดขีปนาวุธนำวิถีชนิดเรี่ยยอดคลื่นกันออกมาเป็นรายแรกของโลก ก้อเพราะประเทศในกลุ่มยุโรป ไม่ว่าอังกฤษ หรือสเปน ฝรั่งเศส ต่างก้อเชี่ยวชาญเรื่องทหารเรือกันเป็นหลัก ดังนั้น การที่ประเทศเหล่านี้เอาแต่สร้างเครื่องบินปีกสามเหลี่ยม ติดอาวุธนำวิถีทำลายเรือนั้น ก้อด้วยเหตุผลดังกล่าวแหล่ะคับท่าน
ทร.ไทยควรได้รับการสนับสนุนให้ใช้เครื่องบินขับไล่-โจมตีที่ทันสมัย เพราะพื้นที่น่านน้ำของเรา 1,500 ไมล์นั้น ถือว่าไม่น้อยนะคับ ลำพังกำลังกองเรืออย่างเดียว อาจไม่ทันสมัยพอที่จะดูแลป้องกันพื้นที่ทั้งหมดได้ และอาจไม่ทันการเมื่อเกิดภัยคุกคามทางทะเลด้วยกองทัพเรือที่เหนือกว่าของข้าศึก
เครื่องบินขับไล่ของ ทร. จึงควรมีมาตรฐานเดียวกับประเทศที่เค้าเชี่ยวชาญทางทะเล เช่น กลุ่มประเทศยุโรปอ่ะคับ ปีกสามเหลี่ยม 2 เครื่องยนต์รุ่นอื่น ๆ น่าจะพอหาได้อ่ะคับ ภารกิจหลักของ ทร.คือคุ้มครองน่านน้ำ ก้อน่าจะใช้รุ่นที่ติดเอ็กโซเซ่ต์ หรือฮาร์พูน หรือตัวอื่น ๆ ก้อได้
ผู้ใหญ่ก้อควรเปิดใจกว้างนะคับ ทหารเรือเค้าเป็นสุภาพบุรุษ ไม่ยุ่งเกี่ยวเรื่องการเมืองมาตั้งนานแล้ว พื้นที่ ๆ ยึดเค้ามาสมัยกบฎแมนฮัตตัน ก้อเห็นว่าส่งคืนกันเรียบร้อยแล้วก้อยังดีใจ ยังไงก้อช่วยพัฒนากองทัพเรือให้แข็งแกร่งพอที่จะป้องปรามข้าศึกทางทะเล จะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงยิ่งขึ้นนะคับ
พี่ครับ อยากทราบค่าตัวคร่าวๆของบ.ทั้ง4รุ่นที่กล่าวมาครับ
แล้วไอ้รุ่น F-15 active ตัวนี้ทำไมมันไม่เห็นเกิดบ้างเลยครับ(รึว่าผมไม่รู้)
มันติดปีกคาร์นาร์ด แล้วท่อท้ายที่ปรับทิศทางได้(เห็นในเกมส์น่ะครับ มันปรับได้) ความสามารถในการบินน่าจะดีขึ้นเทียบกับพวก SU-xx ด้วยกัน
แล้วเหตุผลอันใดที่ทำให้มันเงียบเหลือเกิน..สำหรับเจ้านี้
เรียนท่าน B7-R ชื่อนี้ดูคุ้นๆ เหมือนเป็น สถานที่ๆหนึ่ง ใน ACE COMBAT ZERO เลย
5555.......งั้นผมขอเป็น The Demon Lord of The Round Table แล้วกัน
ราคาเครื่องบิน ที่ว่ามาข้างต้น แพงระยับ กันทั้งนั้น ราคาล่าสุด ปี 2008 - 2009
F-15K ของ เกาหลีใต้ F-15SG ของ สิงคโปร์ และ F-15 SE ( Silent Eagle ) ราคา 100 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 เครื่อง ( เฉพาะตัวเครื่องไม่รวมอาวุธ )
หาเครื่องคิดเลขมาคูณเอาเองน่ะครับ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ประจำวันที่ 10 เมษายน 2552 จาก ธนาคาร กรุงเทพ
1 ดอลลาร์ สหรัฐ = 35.57 บาท ( 36 บาท ไปเลย ขาดแค่ 3 สตางค์ )
1 ยูโร = 46.99 บาท ( 47 บาท นั่นแหล่ะ )
ราคา F-15 เอา 100 x 36 = ผลลัพธ์ที่ออกมา 3,600 ล้านบาท
F/A-18 E/F ราคาเครื่องละ 60 ล้าน US Dollar
RAFALE C ราคาเครื่องละ 82.3 ล้าน US Dollar หรือ 64 ล้าน ยูโร
82.3 x 36 =
หรือ คิดจากเงิน ยูโร เอา 64 x 47 =
RAFALE M ราคา เครื่องล่ะ 90.5 ล้าน US Dollar หรือ 70 ล้าน ยูโร ( วิธีคิเหมือนข้างบน )
EUROFIGHTER 2000 ( TYPHOON )
ราคา เครื่องล่ะ 77.7 ยูโร หรือ 68.9 ล้าน *ปอนด์
*ใครดูบอล อังกฤษบ่อยจะรู้ดี ว่า 1 ปอนด์ มันเท่าไหร่
1 ปอนด์ เท่ากับ 52 บาท ไทย
ถ้าเป็นอย่างที่ท่าน X-1 กล่าวมาข้างต้น เครื่องบินขับไล่ DELTA-WING 2 เครื่องยนต์
ก็จะมีแค่ RAFALE กับ TYPHOON
แค่ RAFALE C ก็ โคตะระ แพงแล้ว ถ้าจะเอารุ่น ที่ผลิตสำหรับกองทัพเรือจริงๆ อย่าง RAFALE M ก็ยิ่งแพงเข้าไปใหญ่เลย
แต่มันคงไม่จำเป็นต้องใช้ RAFALE M หรอก เพราะเราไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน ไว้ใช้ กับ RAFALE M
แค่ RAFALE C หรือ RAFALE B รุ่น STANDARD F-3 ที่ อัพเกรด ให้ยิง EXOCET ได้ ก็น่าจะใช้ได้แล้ว
ส่วน TYPHOON ราคาก็แพง กว่า RAFALE ขึ้นมาอีก คุณภาพ + ประสิทธิภาพ ก็พอๆกัน
ใน Website ต่างประเทศ เขายกให้ RAFALE เหนือกว่า TYPHOON ใน ภารกิจ โจมตี
เอา JAS-39 ติด บั้งไฟ เพิ่มอีก กระบอกสิครับ พอเครื่องยนต์หลักเสีย ก็เปิด โหมด บั้งไฟ บินต่อ อิอิอิ มี AFTER BURNER ด้วย
ทร.ไทย ก็ประกาศ ความต้องการมาแล้วครับ ว่าอยากจะได้ เครื่องบิน ขับไล่/โจมตี และ คุ้มกันกองเรือ อยู่ 8 เครื่อง
นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ไป Copy มาจาก เว๊บ ท่าน AAg-th ครับ
บันทึก 8 รายละเอียดความต้องการเครื่องบินโจมตีทางทะเลของ ทร.
8.1 ประเภท : บ.โจมตีทางทะเล
8.2 โครงการ : 8 เครื่อง ระยะเวลาโครงการ : 2553-2555
8.3 ขีดความสามารถที่ต้องการ
8.3.1 โจมตีเรือผิวน้ำและเป้าหมายในทะเล
8.3.2 ป้องกันภัยทางอากาศให้แก่กองเรือ
8.3.3 สนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดทั้งบกและในทะเล
8.4 คุณลักษณะสำคัญ
8.4.1 ปฏิบัติงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
8.4.2 รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า300ไมล์ทะเล
8.4.3 ติดตั้งอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-พื้นสำหรับทำลายเรือผิวน้ำระยะไม่ต่ำกว่า 40 ไมล์
8.4.4 ติดตั้งระเบิดทำลายเป้าหมายบนบกและในทะเล
8.4.5 ติดตั้งอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ
8.4.6 มีอายุการใช้งานและสายการผลิตที่สามารถสนับสนุนอะไหล่ในการซ่อมบำรุงได้ไม่ต่ำกว่า 20 ปี
8.4.2 รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า300ไมล์ทะเล
JAS-39 GRIPEN ก็มีความสามรถ ครับ เนื่องจากมี รัศมี ปฏิบัติการ 432 ไมล์ทะเล ( เสียอย่างเดียว มันมีแค่ 1 เครื่องยนต์ เท่านั้นเอง )
RAFALE ALL VERSION : รัศมี ปฏิบัติการ 1,000 ไมล์ทะเล + ( 1,852 กิโลเมตร + )
F/A-18E/F :
TYPHOON :
*Combat Radius = รัศมี ปฏิบัติการ
8.4.3 ติดตั้งอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-พื้นสำหรับทำลายเรือผิวน้ำระยะไม่ต่ำกว่า 40 ไมล์
JAS-39 C/D ติดตั้ง RBS-15F ไม่ทราบระยะยิง
RAFALE B/C/M F-3 ติดตั้ง EXOCET AM-39 ไม่ทราบระยะยิง
F/A-18 E/F ติดตั้ง AGM-84 HARPOON ระยะยิง ตามรุ่นเลย
-AGM-84D: 220 km (120 nm)
-AGM-84E: 93 km (50 nm)
-AGM-84F: 315 km (170 nm)
-AGM-84H/K: 280 km (150 nm)
TYPHOON ติดตั้ง AGM-84 HARPOON ได้เช่นกัน
และยังสามารถ ติดตั้ง Penguin Missile ได้อีกด้วย
ระยะยิง ของ Penguin
Penguin MK2 ระยะยิง 34 กิโลเมตร +
Penguin MK3 ระยะยิง 55 กิโลเมตร+
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ครับ
ผมจะเอา RAFALE แง้ๆ อยากได้ RAFALE พอแม่ไม่ซื้อให้ ก็ล้มตัวลงไป นอนดิ้น กับพื้น แล้วร้องไห้ พลัน เปล่งเสียวออกมาว่า จะเอา จะเอา
Rafale เป็นเครื่องขนาดเดียวกับ Typhoon ครับ รัศมีการปฏิบัติการ(Combat Radius) ไม่มีทางถึง 1,000ไมล์ทะเลแน่ครับ ส่วนตัวคิดว่าจะใกล้เคียงกันคือราว 350-400ไมล์ทะเลครับ
RBS-15F น่าจะมีระยะยิงที่ 70กิโลเมตรขึ้นไปครับ
ขอบคุณมากครับท่านTOP SECRET สำหรับคำตอบ ผมเองก็อยากไดRafaleเหมือนกัน เห็นราคาแล้วท่าจะยาก 555 82.3 ล้านUSD
เข้ามา Share เรื่องปีกเครื่องบิน @ low level ครับ
ตำรางเรื่องปีกเครื่องบินแบบ Delta มีครับ อยู่ในวิชาอากาศพลศาสตร์ (aerodynamic) ครับ เอกสารงานวิจัยก็หาได้ใน Google ครับ
จริง ๆ แล้วปีกเครื่องบินทุกแบบสามารถสร้าง Ground Effect ได้ทั้งนั้นครับ จะมากน้อยแล้วแต่แบบของปีก โดยลักษณะของ Ground Effect นี้จะมีลักษณะเหมือนมีแรงที่ค่อยฝืนให้เครื่องบิน ไม่ชนกับพื้นดินครับ ซึ่งยิ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักบินในการบินต่ำ ๆ ครับ
อันนี้เป็นเอกสารงานวิจัยเรื่องเรือ Hover craft ครับ คงจะใช้ที่คุณ X-1 พูดถึงนะครับ
http://www.hypercraft-associates.com/redefiningsealevel.pdf
สำหรับในกรณีเครื่องบินปีก Delta นั้นจะมี Ground Effect ซึ่งเสริมต่อการบินต่ำด้วยความเร็วสูง มากกว่าแบบอื่นครับ จะเห็นได้จาก Clip VDO ต่อไปนี้ครับ ^^ (มันนะ.....มันบ้าไปแล้ว.......=_=")
http://www.youtube.com/watch?v=pVgSlaNXHeg&feature=related
วันนี้จะมาคิดเป็นค่เงินบาท ไทย เลยดีกว่าครับ
1.F-15K / F-15SG & F-15SE ราคาค่าตัวเริ่มต้น อยู่ที่ 3,600 ล้าน บาท ไทย
2.F/A-18 E/F ราคาค่าตัวก็อยู่ที่ประมาณ 2,160 ล้านบาท
แต่ถ้าเป็น F/A-18F Block 2 เวอร์ชั่น ออสเตรเลีย ก็ตกอยู่ที่ประมาณ 80 ล้าน ยูเอส ดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทย ได้ 2,880 ล้านบาท
3.RAFALE C คิดจาก ค่าเงินดอลลาร์ ก็ตกเครื่องล่ะ 2,962.8 ล้านบาท
ถ้าคิดจาก ค่าเงิน ยูโร ก็ตกเครื่องล่ะ 3,008 ล้านบาท
*ทำไม คิดจากเงินยูโร มันแพงกว่า ฟะ
3.1 RAFALE M จากค่าเงิน ดอลลาร์ เครื่องล่ะ 3,258 ล้านบาท คิดจากเงิน ยูโร เครื่องล่ะ 3,290 ล้านบาท
4.TYPHOON คิดจากเงิน ยูโร เครื่องล่ะ 3,651.9 ล้านบาท
คิดจากเงิน ปอนด์อังกฤษ เครื่องล่ะ 3,582.8 ล้านบาท
**เรต ราคา ก็น่า จะบวกลบ ไม่น่าจะมากหรือน้อย ผันผวนตามค่าเงิน
เป็น ราคามาตรฐาน ไม่รวมค่าอาวุธ และ ค่าใช้จ่ายในการฝึกนักบิน
อันนี้ก็ต้องดู แพคเกจ ที่แต่ล่ะ บริษัท จะเสนอให้ บางบริษัท อาจจะแถม อาวุธ ให้เลยก็เป็นได้
เรียนท่าน AAG_th เรื่อง รัศมี ปฏิบัติการ ผมไปเอาข้อมูล มาจาก Wikipedia ครับ อ้างอิงข้อมูล จาก Wikipedia ครับ
เอา อัตราเปรียบเทียบระยะทาง มาฝาก เพื่อนๆ ด้วยครับ
1 ไมล์บก = 1.609 กิโลเมตร
1 ไมล์ทะเล = 1.851 กิโลเมตร
ตามที่ ทร.ไทย วาง สเป๊ค ไว้ว่า ต้องมี พิสัยปฏิบัติ การ ไม่ต่ำกว่า 400 ไมล์ทะเล
400 ไมล์ทะเล = 740.4 กิโลเมตร
เครื่องบินที่กล่าวมาข้างต้น มีความสามารถ ปฏิบัติการได้หมดเลย ครับ
ยกเว้น Typhoon ผมว่าคงไม่ใช่แล้วครับ ทำไม Typhoon ถึงบินได้ระยะทาง ที่สั้นกว่า JAS-39 GRIPEN
*ผมเอาข้อมูล มาจาก Wikipedia ผิดพลาดประการใด ขออภัย
ส่วน อาวุธ ที่ยิงจาก อากาศ-สู่-พื้น ( เรือ ) กำหนดให้มี พิสัย การยิง ไม่ต่ำกว่า 40 ไมล์
40 ไมล์ ( ในที่นี้น่าจะหมายถึง ไมล์บก )
40 ไมล์บก = 64.36 กิโลเมตร
ไปหาข้อมูลมาครับ EXOCET ได้ทำการปรับปรุงรุ่นใหม่ออกมา ก็คือ EXOCET AM-39 BLOCK 2 MOD 2
EXOCET AM39 Block2 Mod2 พัฒนามาเพื่อติดตั้งกับ RAFALE F3 มีระยะยิง ถึง 70 กิโลเมตร ครับ
ข้อมูลจาก www.MBDA-SYSTEM.com ครับ
เครื่องบินใน ตัวเลือก ถ้านับเฉพาะ 2 เครื่องยนต์
และไม่นับ เครื่องจาก รัสเซีย
ก็จะมีเครื่องที่ ราคาใกล้เคียงกัน คือ F/A-18E/F กับ RAFALE C
แต่ทั้ง 2 ตัวเลือกก็ยังถือว่า แพง อยู่ดี แต่ถ้าให้ผมคิดแบบ ไม่ลำเอียงน่ะ
อยากได้ F/A-18F Block2 เหมือนรุ่น ที่ ออสเตรเลีย สั่งซื้อ
จำนวน 6 เครื่อง + EA-18G Growler 2 เครื่อง
1 หมู่บิน 4 เครื่อง ออกปฏิบัติการ จะมี F/A-18F จำนวน 3 เครื่อง และ EA-18G อีก 1 เครื่อง ไว้ทำสงคราม อิเล็กทรอนิกส์.............อย่างนี้ เท่ห์ ไม่เบา
ขนาด F-22 ยังโดน EA-18G ก่อกวน เรดาร์ จนโดนมาแล้ว..........นับประสาอะไร กับเครื่องรอบบ้าน
*EA-18G ราคาพอๆกับ F-15 เลย คือ 100 ล้าน ยูเอสดอลลาร์
แหะๆ ก็ได้แค่คิดครับ มันคงเป็นไปไม่ได้
**แต่ใน สเป๊ค ที่ ทร.ไทย กำหนดไว้ ไม่ได้ระบุไว้ว่า ต้องการเครื่องบินขับไล่ 2 เครื่องยนต์ซ่ะหน่อย
จะตัด F-16 E/F Block 60 ไปได้ไง
ต้องอธิบายก่อนครับว่า พิสัยการบิน(Range) กับ รัศมีการรบ(Combat Radius) มีความแตกต่างกันครับ
คราวๆคือ "พิสัยการบิน" จะหมายถึงว่า บ.แบบนั้นถ้าเติมน้ำมันเต็มถังแล้วจะสามารถบินไปได้ไกลสุดเท่าไรครับ
ส่วน "รัศมีการรบ" จะหมายถึงว่า บ.ลำนั้นสามารถเติมน้ำมันเต็มถังติดอาวุธพร้อมรบแล้วออกบินปฏิบัติการในรัศมีเท่าไรจากสนามบินที่บินขึ้นและกลับมาลงจอดครับ
แน่นอนว่า"พิสัยการบิน"นั้นจะมีค่ามาก"รัศมีการรบ" ครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ แบบของอากาศยาน แบบการบิน(เพดานบินสูง เพดานบินต่ำ) และอาวุธที่ติดตั้งไปด้วย
แต่โดยทั่วไป บ.ขับไล่ในยุคปัจจุบันจะมีรัศมีการรบที่ 300-400ไมล์ทะเลเป็นอย่างต่ำครับ และมีพิสัยการบินเกิน 1,000ไมล์ทะเลขึ้นไปครับ
ส่วนตัวคิดว่าในความต้องการของกองทัพเรือนั้นยังไม่ต้องการ บ.สงคราม Electronic ในลักษณะเดียวกับ EA-18G Growler ครับเนื่องจาก บ.แบบนี้จะมีราคาแพงกว่า บ.รุ่นพื้นฐานและสหรัฐฯมักจะไม่ขายให้ต่างประเทศครับ ถึงแม้ว่าสหรัฐฯอาจจะขาย Growler ให้ออสเตรเลียจริง แต่อาจจะไม่ขายให้ไทยก็ได้ครับ ดังนั้น บ.โจมตีสมรรถนะสูงจำนวน 8ลำ หรือ2หมู่บิน(4*2ลำ) จะเหมาะสมกว่าครับ
อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำรุ่นใหม่ในอนาคตของสหรัฐฯนอกจาก Harpoon แล้วยังจะมี NSM ของนอร์เวย์ซึ่งจะนำมาติดตั้งกับหลายๆแบบแทน Penguing อย่าง F-16 F-35 ครับ ซึ่ง F/A-18F อาจจะติดได้ด้วย แต่ NSM ยังอยู่ในการทดสอบขั้นต้นๆครับ แต่พวก Exocet กับ RBS-15F นั้นส่วนตัวว่ายากที่จะนำมาติดกับ บ.สหรัฐฯ อย่าง F-16 หรือ F/A-18 ครับ
คุณ Freedom ( แฟนกันดั้มป่าว ) ผมงงครับว่าพิมพ์อะไรมา เอาตามที่ผมเข้าใจนะ
1.ต่อเติมเรือหลวงจักรีให้เครื่องบินสามารถขึ้นลงได้
>>>>จะว่าไปเครื่องบินมันก็ขึ้นลงได้ครับแต่ต้องเป็นขึ้นลงทางดิ่งเท่านั้นครับ เช่น AV-8 F-35B เป็นต้นครับ แต่ถ้าเป็นบ.ที่ขึ้นลงปกติไม่ได้แน่ๆครับ ต่อเติมยังไงก็ไม่พอครับ เพราะ มันไม่คุ้มจะทำอย่างที่ว่าคงต้องเอาเรือจักรีมาต่อกันสองลำละมั้งครับ ( อันนี้ไม่แน่ใจครับว่าต้องเพิ่มทางวิ่งเท่าไหร่ ) ต่อใหม่ดีกว่าเยอะครับ
2.ติดอาวุธเพิ่มให้เรือจักรี
>>ปัจจุบันมีระบบอาวุธตามนี้นะครับ อาวุธป้องกันตัวแบบ SADRAL 3แท่นยิงและปืน ขนาดเท่าไหร่จำไม่ได้ 2 แท่นยิง แต่เคยได้ยินมาว่าเรือลำนี้ตอนแรกออกแบบให้รองรับ VLS ได้ ไม่รู้ปัจจุบันความสามารถนี้ยังใช้ได้อยู่รึป่าว ถ้าได้ก็ติดเลย แต่มีเงินไหมต้องดู 555 ปัญหาเดิมๆครับ
เค้าว่า................... ถ้าลูกประดู่หล่ะก็................... ดีลเล่อร์จากจีนแน่นปึ๊กส์............................ มีนายทหารที่เกษียณนั่งเป็นบอร์ดอยู่หลายคน......................... สังเกตสิพี่น้อง.......................... เรือรบของเรา ปตอ.ของเรา มีของจีนเป็นกระดูกสันหลังเน่อ.......................
เอาไม่เอา มันไม่ได้อยู่ที่ของ ดีไม่ดี มันอยู่ที่ของใคร และก็เท่าไหร่..................................อาวุธหลายชนิด หลับตาข้างเดียวก็รู้แล้วว่ายี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนจะมีพาร์ทซัพผอร์ทยาวนาน.......................แต่ผลงานที่ผ่านมามันออกแนวหมอลำเรื่องตลอด อันนี้มันเกิดจากอะไร ทำมัยทุกคนถึงแกล้งทำเป็นไม่รู้...............................??????????????????