จัด "ค่ายวิศวการบิน"
ดึงนายกสมาคมเครื่องบินจำลอง-อาจารย์นายเรืออากาศ อบรมเยาวชนผู้รักการบิน
หวังปูพื้นก่อนจัดค่ายสร้างเครื่องบินดับเพลิง ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
จัดค่ายวิศวกรรมการบินครั้งที่ 1ระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-3 เม.ย.52 ณ
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร โดยมีนักเรียนมัธยมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ
100 คน ซึ่งทีมข่าววิทยาศาสตร์
ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมดังกล่าวด้วย
ดร.สวัสดิ์
ตันติพันธุ์วดี หัวหน้าโครงการค่ายวิศวกรรมการบิน
ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า
กิจกรรมค่ายนี้เป็นกิจกรรมต่อยอดจากโครงการห้องปฏิบัติการออกแบบและสร้างเครื่องบิน
Cozy ซึ่งเป็นเครื่องบินเล็กขนาดบรรทุก 4 คนนั่ง และบินได้ด้วยความเร็ว 350
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการสร้าง
เครื่องบินเล็กกำลังทำอยู่
แต่ผมมองว่า อยากให้เด็กได้ประโยชน์มากกว่านี้ จึงจัดค่ายนี้ 2 ครั้ง
โดยอีกครั้งจะจัดขึ้นปลายเดือน เม.ย. ซึ่งจะคัดเด็กจากทั่วประเทศอีก 100 คน
สำหรับค่ายนี้เป็นค่ายสร้างวิทยุบังคับ ลำเล็ก คนนั่งไม่ได้ ที่เลือกวิทยุบังคับ
เพราะเห็นว่ามีคนทำอยู่ เราเห็นสมาคมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับเขาตระเวณให้
ความรู้ตามโรงเรียนต่างๆ กว่า 3,000 แห่ง จึงเชิญเขามาร่วม
แต่เราได้ต่อยอดจากสิ่งที่เขาทำ จากเครื่องบินบังคับ 2 ช่องสัญญาณ เพิ่มเป็น 4
ช่องสัญญาณ" ดร.สวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้
หัวหน้าโครงการค่ายวิศวกรรมการบินอธิบายว่า เครื่องบินแบบบังคับ 2 ช่องสัญญาณ
คือเครื่องบินแบบที่ใช้ช่องสัญญาณวิทยุ 2 ช่อง และคันบังคับอีก 2 ช่อง
บังคับเครื่องบินที่มีมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว ซึ่งติดอยู่ที่ปีกเครื่องบินทั้งสองข้าง
โดยบังคับให้เครื่องบินขึ้น-ลง และเลี้ยวซ้าย-ขวา
นอกจากนี้เครื่องบินชนิดนี้ยังเป็นเครื่องบินราคาถูกที่สุดในตลาด ประมาณลำละ
300-400 บาท จนถึง ประมาณพันบาท ทั้งนี้ราคาขึ้นอยู่กับขนาดมอเตอร์
ขนาดและคุณภาพของวัสดุ
ในค่ายนี้เราอยากให้เด็กทำเครื่องบิน
4 ช่องสัญญาณ แต่จะเริ่มจากให้เด็กทำเครื่องบิน 2 ช่องสัญญาณก่อน
เนื่องจากไม่ใช่เด็กทุกคนที่ทำเครื่องบิน 2 ช่องสัญญาณได้
จากนั้นจึงขยายสู่การทำเครื่องบิน 3-4 ช่องสัญญาณ"
ดร.สวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ดร.สวัสดิ์บอกว่า
ได้ซื้อซอฟต์แวร์ออกแบบเครื่องบิน
ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีสอนในระดับอุดมศึกษาและโรงเรียนนายเรืออากาศ
มาใช้เพื่อการอบรมในค่าย และได้เชิญ นาวาอากาศโท ดร.ณัฐพล นิยมไทย
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมอากาศยาน โรงเรียนนายเรืออากาศ
ซึ่งสอนการใช้โปรแกรมออกแบบเครื่องบินอยู่แล้ว
มาอบรมให้เยาวชนในค่าย
เมื่อจบค่าย เด็กๆ จะได้เครื่องบินแบบ
2 ช่องสัญญาณ และ 4 ช่องสัญญาณ
โดยในวันสุดท้ายจะมีการแข่งขันทดสอบการบินเพื่อดูว่าเครื่องบิน บินได้จริงหรือไม่
สำหรับเด้กกลุ่มที่เข้ารับการอบรมนี้
คาดหวังว่าจะเป็นกลุ่มที่เข้าอบรมต่อยอดการผลิตเครื่องบินที่ใช้มอเตอร์ใหญ่ขึ้น
โดยเล็งไว้ว่าเป็นเครื่องบินดับเพลิง ที่บินไปแตะผิวน้ำ และมีน้ำเข้ามาในเครื่องได้
แต่ทั้งนี้จะคัดเลือกจากการพิจารณาใบสมัคร ซึ่งเด็กที่ไม่ได้เข้าอบรมครั้งนี้
แต่มีความรู้อยู่บ้างก็มีโอกาสได้รับคัดเลือกเช่นกัน"
ดร.สวัสดิ์ระบุ
ทางด้าน นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล
นายกสมาคมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ
ซึ่งเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องบิน ได้บรรยายว่า
อากาศยานนั้นแบ่งเป็น อากาศยานที่เบากว่าอากาศและอากาศยานที่หนักกว่าอากาศ
โดยอากาศยานที่เบากว่าอากาศนั้นลอยตัวได้ด้วยการขยายตัวของอากาศ
และอากาศไม่มีทางไปไหน ถูกคลุมอยู่ในถุง ทำให้อากาศยานลอยตัวขึ้น ตัวอย่างเช่น
บอลลูนหรือเรือเหาะ เป็นต้น
ส่วนอากาศยานที่หนักกว่าอากาศนั้น
ลอยตัวขึ้นสู่ท้องฟ้าไม่ได้ทันที
ต้องมีแรงกระทำให้เกิดการเคลื่อนที่และการเปลี่ยนแปลงของพลังงานศักย์ไปเป็นพลังงานจลน์
ลอยได้โดยลักษณะของปีกที่ด้านบนโค้งและด้านล่างตรง
ซึ่งอากาศทั้งสองด้านต้องลอยมาชนกันพร้อมกันที่ปลายปีก
ทำให้เกิดความต่างของความกดอากาศ
โดยอากาศด้านบนจะมีความเร็วมากกว่าอากาศด้านล่างปีก และมีความดันอากาศน้อยกว่า
จึงเกิดแรงยกจากใต้ปีก อากาศยานประเภทนี้ อาทิ เครื่องบิน ว่าว
เป็นต้น
สำหรับแรงที่มีกระทำต่ออากาศยานขณะบิน
นายพิศิษฐ์บอกว่ามีทั้งหมด 4 แรง คือ 1.แรงขับ
ซึ่งเกิดจากเครื่องยนต์หมุนทำให้ยานเกิดความเร็วและความต่างของความดันที่ปีก
แล้วเกิด 2.แรงยก
และเมื่ออากาศยานเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจะเกิดแรงเสียดทานอากาศกลายเป็น
3.แรงหน่วงหรือแรงต้าน ทำให้ยานเคลื่อนที่ช้าลง
และแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากน้ำหนักของเครื่องบิน
ทำให้้เกิดสมดุลกับแรงยกอากาศ
ทางด้าน 4 หนุ่มน้อยจากแดนสะตอ
ด.ช.กัมพล หวานขัน ด.ช.ศักดิ์โสภณ ชุมอักษร ด.ช.ณัฐชัย เครือฮ่อง และ ด.ช.วชิรวิทย์
เสนาคำ นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนสภาราชินี จ.ตรัง ซึ่งรวมกลุ่มกันเป็นทีม "Blue
Sky บอกกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์
ว่าเขาทั้งสี่เล่นเครื่องบินบังคับเป็นงานอดิเรกอยู่แล้ว และยังเป็นสมาชิก
"ชมรมเครื่องบินเล็กบังคับวิทยุ จ.จตรัง ซึ่งมีสมาชิกหลากหลายวัย และจะใช้เวลาว่าง
รวมทั้งเสาร์-อาทิตย์ร่วมกิจกรรมกัน
พร้อมกันนี้สมาชิกกลุ่มบลูสกายทั้งสี่ยังเข้าร่วมโครงการสร้างเครื่องบินเล็ก Cozy
ก่อนมาร่วมกิจกรรมในค่ายวิศวกรรมการบินนี้ด้วย
ส่วน นายภูเบศ
วจีวรสิทธิ์ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนดรุณสิขาลัย ซึ่งร่วมเข้าค่ายวิศวกรรมการบิน
บอกกับเราว่าเข้าร่วมกิจกรรมนี้เพราะมีความสนใจในด้านวิศวกรรม
แต่กำลังค้นหาตัวเองว่ามีความถนัดทางด้านไหนเป็นพิเศษ
และคาดว่าหลังจากจบค่ายแล้วเขาจะสร้างเครื่องบินจำลองอย่างง่ายได้.
ที่มา :
ย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
5 เมษายน 2552 12:21 น. |