หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


F-22 RAPTOR มันเป็นเครื่อง Stealth จริงหรือ!

โดยคุณ : TOP SECRET เมื่อวันที่ : 08/04/2009 00:29:15

   เป็นกระทู้ต่อเนื่องจาก ท่าน ICY_CMU  เนื่องจากช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้า แล้วเกรงว่ากระทู้นั้นจะตกไปแล้ว เลยไปขุดมา ถกใหม่อีกครั้ง

 

    เนื่องจาก EA-18G  GROWLER  ได้สอย เอาเจ้า F-22 ตกด้วย AMRAAM ( การซ้อมรบทางอากาศ ) 

   ใช้ AMRAAM  แสดงว่า ต้องยิงจากระยะไกล!

 แสดงว่า คุณสมบัติ STEALTHที่มีอยู่ใน F-22 มันก็ไม่ได้ ดีอย่างที่หลายๆคนคิดเอาไว้

  และ ระบบ เรดาร์ ของ F-22 แทนที่จะยิง EA-18G  ได้ก่อน แต่กลับโดน EA-18G ยิงก่อนซะงั้น  ทั้งๆ ที่ทั้งคู่ ก็ใช้ AMRAAM  เหมือนกัน

 *แต่เราอาจคิดได้อีกแง่หนึ่งว่า  EA-18G เป็นเครื่อง สงครามอิเล็กโทรนิกส์  อาจจะมีการต่อต้าน สัญญาณ เรดาร์ ของ F-22 ก็เป็นได้

 

   ส่วนเรื่องการรบ แบบ DOGFIGHT เมื่อ 2-3 ปี ที่แล้ว  F/A-18E  ก็เคย ยิง F-22 ตก ในการซ้อมรบ แบบ DOGFIGHT มาแล้วเช่นกัน

    ผมมองว่า  F-22 และ F-35  ยังไม่มีความน่าเชื่อถือเท่าที่ควร

ในอนาคต บข.21   ผมมองว่า  F/A-18 E/F  BLOCK II หรือ BLOCK III  น่าจะเหมาะสม กับ ทอ.ไทย  เฉกเช่นเดียวกันกับ

  SU-35 ติด เรดาร์ IRBIS-E 

 RAFALE  รุ่น STANDARD F-4  ติด เรดาร์ AESA

 JAS-39 NG  AESA RADAR &  Stealth Technology

 TYPHOON 

** ในตัวเลือกที่ผมมองว่า อาจจะเป็นเครื่องบินขับไล่ ที่ดีที่สุดในโลก ก็คือ SU-35  ติด เรดาร์ IRBIS-E

   F-22  ขนาดเจอ EA-18G ยังโดนยิงเลย  นับประสาอะไร ถ้าเจอ SU-35

และเรื่องการ Dogfight  มัน มีท่อท้ายเครื่องยนต์ ที่ปรับทิศทางได้ มันก็เป็นเลิศเรื่องการ Dogfight เช่นกัน

  เฉกเช่น ที่เพื่อนๆ สมาชิกหลายคนที่ได้ไปดู SU-30 MKM ของเพื่อนบ้าน บินโชว์ผลาดแผลง มาแล้วนั่นเอง





ความคิดเห็นที่ 1


    ผมว่าน่ะ ถ้าให้มาซ้อมรบ กับ JAS-39 C/D แล้วใช้อาวุธแบบเดียวกัน ผมว่า ยังมีลุ้นเลย ที่ JAS-39 จะเป็นฝ่าย มีชัยชนะ เหนือ F-22 ทั้งในการรบระยะไกล และการรบ แบบ Dogfight

 

    เมื่อไม่นานมานี้ รัฐมนตรี กลาโหม เนเธอร์แลนด์ ออกมาสนับบสนุน การจำลองเกมการรบ ของ ออสเตรเลีย  ที่ทดสอบ เอา F-35  บินขึ้นสกัดกั้น การบุกของ SU-35

    ผลก็คือ  F-35  ไม่ สามารถต้านทานการบุก ของ SU-35 ได้

 

  ผมก็อยากจะรู้ว่า มันสู้ไม่ได้ แล้วจะซื้อมาทำ ( ซาก ) อะไรก็ไม่รู้.......................

 ผมคิดว่า ถ้าจัด ฝูงบิน แบบผสมผสาน  เช่น F/A-18 E/F Block 2 หรือ 3  บินรบคงบคู่ไปกลับ EA-18G GROWLER  นี่อาจจะได้ผลมากกว่าก็เป็นได้

 

     ในใจก็แอบชอบ F/A-18 E/F  ติด AESA เรดาร์ อยู่เหมือนกัน  ไม่รู้ มีสิทธิ์ ที่จะเกิดเป็น บข.21 หรือไม่   หรือว่าจะมาเกิดกับ ทร.ไทย ก็ยินดี

 

    แต่ยังไงๆ ตัวเลือก อันดับ 1 ในใจ ก็คือ RAFALE F4  AESA RADAR  แห่ะๆ ขนาด F/A-18E  มันยังยิง F-22 ตกได้ แล้วเครื่องที่มี ความคล่องตัวมากกว่า และ ระบบ เรดาร์ ( ที่กำลังพัฒนาอยู่ในตอนนี้ ) มันเหนือกว่า F/A-18E/F แน่นอน

   และแน่นอนซ่ะล่ะ มันต้องสู้กับ F-22 RAPTOR  ได้อย่างแน่นอน  โดน METEOR สอยแน่ๆ

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 30/03/2009 11:11:48


ความคิดเห็นที่ 2


ยิงโดย AIM-120 ไม่ได้หมายความว่าต้องยิงจากระยะไกลเสมอไปครับ ยกตัวอย่าง AIM-120C ยิงไม่ 105 km แต่ก็สามารถยิงได้ใกล้สุดประมาณ 3.6 km ครับ เพราะฉะนั้นจะหมายถึงต้องทำการยิงตั้งแต่ 3.6 ถึง 105 km เท่านั้นครับ

ผมเชื่อครับว่า F-22 สามารถล่องหนได้แต่ไม่สมบูรณ์แบบครับ โดย RCS ที่ลดลงนั้น ถ้าตรวดจับจากระยะใกล้ก็ไม่น่าที่จะลดลงจากเดิมมากนัก ทั้งนี้จะมีประสิทธิภาพสูง ก็ต่อเมื่อศัตรูอยู่ในระยะไกลเท่านั้นครับ ผมคิดว่าในระยะประมาณ 10 nm  Radar ทั่ว ๆ ไปก็น่าจะสามารถตรวดจับ F-22 ได้ครับ (ประมาณ F-16 A/B )

ซึ่งก็ไม่แปลงที่ EA-18G  จะใช้การ jamming ระบบ Radar ของ F-22 เพื่อไม่ให้สามารถ Lock ได้ รวมไปถึงใช้ระบบวิเคราะห์สัญญาณ Radar ทำการวิเคาระห์ต่ำแหน่งโดยประมาณของ F-22 แล้วบินเข้าหา จนใก้ลพอที่ Radar  AESA สามารถตรวจจับ F-22 ได้ หลังจากนั้นก็ใช้ AIM-120 ยิงออกไป ทั้งนี้เชื่อว่าไม่ได้อยู่ในระยะยิงของ AIM-9

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 30/03/2009 11:47:57


ความคิดเห็นที่ 3


เห็นด้วยกับทั้งสองท่านครับ

แต่ที่เค้าบอกว่า EA-18G ยิง F-22 ตกด้วย AIM-120 นั้นอาจเป็นอย่างที่ท่าน Red@Baron ว่าไว้ก็ได้ครับ มันไม่จำเป็นเสมอไปครับว่า " ฉันมีแอมแรมนะจะต้องสอยเธอให้ได้ในระยะไกล " จะยิงในระยะใกล้ที่สุดของตัวจรวดเองก็ได้ครับ และ ที่สำคัญนั้นมุมยิงนั้นก็มีผลอยู่บ้างครับด้านหน้านั้นจะเป็นด้านที่ RCSค่อนข้างต่ำและด้านข้างครับ แต่หางหันท้องหรือหลังเข้าหา EA-18G จะทำให้ RCS ใหญ่ขึ้นบ้างครับและช่วงนั้น EA-18Gอาจหันด้านหน้าเข้าหาอยู่ก็เป็นได้ครับทำให้ F-22 จับไม่ได้ ( เคยได้ยินมาว่าโดน F-18 ยิงด้วยปืนกลในระยะที่ใกล้มากๆแต่ที่สำคัญที่จอ HUD ของตัว F-18 เองสามารถระบุตำแหน่ง F-22 ด้วยเรดาร์ได้อยู่ครับ )

แต่....อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด คือ F-22 นั้นยังใหม่มากเมื่อเทียบกับ บ.อื่นๆของสหรัฐ จึงทำให้นักบินไม่ชินมือครับ นอกจาากนี้มันเพิ่งประกาศพร้อมรบไปเมื่อไม่นานนี้เองและนักบินชั่วโมงบินก็ไม่สูงมาก จึงทำให้ยังไม่คุ้นเครื่องว่าต้องบินอย่างไร )

หรือ......สหรัฐมันขี้อวด พูดเกินจริงก็เป็นได้ครับ เพราะ จากข้อมูลมันโดน เครื่องบินยุค4.5 สอยได้อย่างสบน้ำสมเนื้อและอาจมีลุ้นถ้าเอา เครื่องบินยุค 4 มาต่อสู้ด้วยและด้วยความที่ราคามันสูงมากๆทำให้ถูกลดจำนวนลงอาจทำให้ประสิทธิภาพต่อจำนวนต่ำลง เลยต้องอวดเกินจริงเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้มากขึ้น

ปล.ตัวเลือกในอนาคตคาดว่า บ.4.5 น่าจะมีภาษีกว่าครับเพราะ ไม่แพงมาก ประสิทธิภาพสูง ที่สำคัญสามารถต่อสู้กับ บ.ยุคที่5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยครับ ( อยากให้เป็น JAS-39 รุ่นใหม่  F-18E/F  SU-30  SU-35 หรือ จากยุโรปก็ได้ครับ )

โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 30/03/2009 22:20:00


ความคิดเห็นที่ 4


A: According to the information I know, the modern AWACSs today like E-2C Hawkeye 2000 and E-3C are capable to the detect the target of RCS = 1m2 class 250~300 km away.

And their maximal effective detection range to the fighters in the world should be:
  • F-15C & Su-27 (RCS = 10~15m2): 450 ~ 600 km
  • Tornado (RCS = 8 m2): 420 ~ 500 km
  • MIG-29 (RCS = 5 m2): 370 ~ 450 km
  • F/A-18C (RCS = 3 m2): 330 ~ 395 km
  • F-16C (RCS = 1.2 m2): 260 ~ 310 km
  • JAS39 (RCS = 0.5 m2): 210 ~ 250 km
  • Su-47 (RCS = 0.3 m2): 185 ~ 220 km
  • Rafale (RCS = 0.1~0.2 m2): 140 ~ 200 km
  • F-18E (RCS = 0.1 m2): 140 ~ 170 km
  • MIG-42 (RCS = 0.1 m2): 140 ~ 170 km
  • EF2K (RCS = 0.05~0.1 m2): 120 ~ 170 km
  • F-35A (RCS = 0.0015 m2): 50 ~ 60 km
  • F/A-22 (RCS < or = 0.0002~0.0005 m2): < or = 30 ~ 45 km

ผมก็ไม่ได้หมายถึง จะยิงจาก ระยะไกล เป็น 100 กิโลเมตร หรอกครับท่าน

 เพราะ เรดาร์ ของ SUPER HORNET  มันจับ F-22 ที่ระยะนั้นไม่ได้หรอก

  ระยะที่ SUPER HORNET จะตรวจจับได้ ก็ประมาณ  20 กิโลเมตร ถึง 40 กิโลเมตร

  ซึ่งเป็นระยะเกินสายตา................นั่นคือความหมายของคำว่า ไกล ที่ผมหมายถึง

  ส่วนที่เห็นในตาราง ที่จะตรวจจับ F-22  ได้ที่ระยะ  30 ถึง 45 กิโลเมตร คือ เรดาร์ ของ AWACS

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 31/03/2009 05:44:35


ความคิดเห็นที่ 5


ผมว่าการรบน่าจะเกินขึ้นในระยะที่ไม่ไกลมากนัก เพราะดูจากหลักนิยมของยุโรปซิครับ เขาถึงออกแบบ eurofighter ออกมาซึ่งใครได้เคยดูสารคดีของเจ้าตัวนี้แล้วทึ่งมากครับ แคล่วคล่องว่องไว และยังมีขีดความสามารถรบนอกระยะสายตาได้ด้วย สุดยอดครับ
โดยคุณ wit453 เมื่อวันที่ 31/03/2009 06:10:49


ความคิดเห็นที่ 6


    โดนจับแกวได้แล้วล่ะ F-22 

 อย่างนี้ถ้อเจอกับเครื่อง JAMMER  ก็ไปไม่เป็นเลยครับ

 อันนี้เขาเรียกว่า ระบบ Active Cancellation

  ระบบต่อต้าน สัญญาณ เรดาร์ข้าศึก...........มันก็มีอยู่ในเครื่อง JAMMER หรือ เครื่องที่ มีหน้าที่ทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์

 

     มีต่อ เดี๋ยวไปค้นคว้าหาข้อมูล เกี่ยวกับการ JAMMING มาก่อน

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 31/03/2009 06:20:34


ความคิดเห็นที่ 7


The Thales SPECTRA (Système de Protection et dÉvitement des Conduites de Tir du Rafale, Self-Protection Equipment Countering Threats to Rafale Aircraft) is an integrated defensive aids suite developed by Thales Group for the Dassault Rafale series of fighter aircraft.

All elements of the Thales SPECTRA system are built into the airframe, and have high levels of automation and system integration. SPECTRA includes radar detectors, laser warning receivers and infrared missile approach warning. Active elements of the system include chaff and flare dispensers, and radio frequency jamming. SPECTRA also has ELINT functions, for recording and analysing the characteristics of hostile emitters and their locations.

Thales Group and Dassault Aviation have mentioned stealthy jamming modes for the SPECTRA system, to reduce the aircrafts apparent radar signature. It is not known exactly how these work or even if the capability is fully operational, but it may employ active cancellation technology, such as has been tested by Thales and MBDA. Active cancellation is supposed to work by sampling and analysing incoming radar and feeding it back to the hostile emitter out of phase thus cancelling out the returning radar echo.

Future upgrades of the system will include the ability to datalink several Rafales together, sharing SPECTRA data among various units of a fighter group.

 

     น่าจะเป็นระบบที่คล้ายๆกันกับ EA-18G GROWLER

 

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 31/03/2009 06:56:16


ความคิดเห็นที่ 8


  ลืมบอก เครดิต เมื่อสักครู่เป็นข้อมูล ที่ ดูดมาจาก Wikipedia ครับผม

 

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 31/03/2009 07:08:37


ความคิดเห็นที่ 9


ผมเข้าใจว่า Stealth ไม่ได้หมายความว่าจะมองไม่เห็นจาก เรดาร์ของ Sam หรือ เครื่องบินข้าศึกคับ  แต่สัญญาณจาก F-22 จะอ่อนมากจนไม่สามารถจับเป้าเพื่อใช้อาวุธนำวิถีได้  ในกรณีที่ EA-18G ยิง F-22 ได้อาจเป็นไปได้ว่า F-22 ไม่ได้หันหน้าเข้าหา EA-18G แต่อาจจะกำลังเลี้ยวโดยการเอียงปีกและหันข้างเข้าหา EA-18G ทำให้สัญญาณจาก F-22 ชัดขึ้นจนสามารถใช้อาวุธนำวิธีได้คับ  ในกรณีนี้ผมเข้าใจว่าเครื่องบินรบรุ่นไหนๆ ก็คงสามารถยิง F-22 ได้คับ   หากข้อมูลผิดพลาดรบกวนผู้รู้แก้ไขให้ด้วยคับ

 

โดยคุณ panzerlied เมื่อวันที่ 31/03/2009 08:26:27


ความคิดเห็นที่ 10


^
^
^
^

ครับท่านเข้าใจถูกแล้วครับ

F-22 ใช้หลักการในการหลบหลีกสัญญาณเรดาร์ด้วยการออกแบบเหลี่ยมมุมต่างๆ วัสดุดูดซับเรดาร์ ( วัสดุต้นแบบชื่อว่า RAM ครับ )และสีเคลือบครับโดยเป็นหลักการทางกายภาพ ดังนั้นหากหันด้านท้องหรือหลังเข้าหาเรดาร์ RCS จะเพิ่มขึ้นสูงมากๆครับ โดยอาจเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น คือ F-22 หันท้องเข้าหา EA-18G เรดาร์ของ EA-18G สามารถจับ F-22 ได้และหาตำแหน่งที่แน่นอนจากสัญญาณอ่อนๆที่จับได้ก่อนหน้าครับ

โดยเรื่องที่กล่าวข้างต้นนั้นจะหมดปัญหาไปมากครับหากมีระบบเกราะหักเหหรือระบบพลาสม่าเกิดขึ้นจริง เพราะ มันจะดูดซับเรดาร์และหักเหออกไปในทิศทางที่ไม่แน่นอนจึงอาจกล่าวได้ว่าในระยะเกินสายตานั้นมันอาจล่องหนได้เกือบ 100% ทีเดียวครับแต่ปัญหาคือเทคโนโลยีของมนุษย์ยังไม่สามารถกระโดดได้ไกลขนาดนั้นครับ

ปล.ส่วนตัวคิดว่าการออกแบบให้บ.เป็นกึ่งล่องหนและเพิ่มประสิทธิภาพของเรดาร์น่าจะมีภาษีมากกว่าครับ แต่ยังไง F-22 ก็ยังมีความอยู่รอดในสนามรบค่อนข้างมากอยู่ครับด้วยเทคโนโลยี Stealth ของมันเอง

โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 31/03/2009 09:08:21


ความคิดเห็นที่ 11


ต้องขอโทษคุณ TOP SECRET ด้วยครับเพราะคำว่าไกลมันไม่ได้เป็น
ค่าทางวิทยาศาสตร์และยากที่จะตีความว่ามันคือเท่าไรก็แน่ ซึ่งคนแต่ละคนคงจะรู้สึกและเข้าใจคำ ๆ นี้ไม่เหมือนกัน แต่สำหรับผมอาจจะเข้าใจว่าคำนี้หมายถึงไกลไปหน่อยเท่านั้นเองครับ แต่วัตถุประสงค์ผมก็แค่ต้องการ Share เท่านั้นครับ :)

สำหรับในกรณีนี้โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเป็นจริง ๆ แล้วข้อมูลที่หลุดออกมานั้นน่าจะเป็นเหตุผลทางการตลาดซะมากกว่าครับ เพราะ Boeing และสหรัฐเองคงต้องการให้มีปริมาณผู้ใช้งานเครื่องบินตระกูล F-18E/F มาก ๆ ครับ ก็เลยยอมให้ข้อมูลพวกนี้หลุดออกมา เพื่อแสดงให้ลูกค้าเชื่อว่า F/A-18 E/F/G ไม่ได้เป็น Slow Hornet อย่างที่กล่าวกันและมีขีดความสามารถในการทำภาระกิจครองอากาศได้ดีเพียงพอ จนสามารถเอาชนะ F-22 ได้ครับ

สำหรับเหตุผลประกอบนั้นก็เนื่องมาจากระบบ Radar ของ F-22 เองสามารถทำงานได้ทั้ง Passive Mode และ Active Mode เพราะฉะนั้นเมื่อทำการรบจริง ๆ แล้วในกรณีนี้นักบินควรเลือกใช้ระบบ Passive Mode มากกว่า โดยอาศัยสัญญาณจากเครื่อง Jamming และ Radar ของ F-18 ในการประมาณตำแหน่ง และบินเข้าหาในทิศทางที่ได้เปรียบ(ด้านหลัง) ซึ่งก็ต้องบอกว่า ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะชนะครับ  

อีกทั้งในกรณีนี้เข้าใจว่า F-22 เองอาจจะไม่ได้พยายามใช้ระบบ Jamming ของตัวเองรบกวนระบบ Radar ของ F-18 เพราะถ้าทำจริงระยะยิงของจรวดน่าจะเข้ามาอยู่ในระยะของ AIM-9 หรือเท่าที่มีข่าวหลุดออกมาอาจจะทำให้ Radar AESA ของ F-18 เสียได้ครับ โดยใช้การยิงคลื่น Microwave เข้าไปตรง ๆ ทำให้ระบบ Radar ร้อนและอัตราขยายสัญญาณลดลงจนไม่สามารถใช้งานได้
 
อีกทั้งจริง ๆ แล้วเรื่องของการฝึกนั้นใครจะยิงใคร ใครจะถูกยิงมันก็น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาครับ เพราะนักบิน F-22 เองก็ต้องฝึก Dog fight กับเครื่องบินอื่น ๆ ทั้ง F-15 ,F-16 อยู่แล้วแต่ทำไมไม่มีข่าวว่า F-16 ยิง F-22 ได้บ้างเลยนะแปลกจัง ^^ 

ปล.ข่าวเรื่อง APG-77 สามารถเผา Radar ของศัตรูได้นี้ไม่ Confirm นะครับแต่มีความเป็นไปได้สูงครับ เพราะแปลกที่ Texas Instrument เข้ามาออกแบบ Radar ตัวนี้ด้วยครับ

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 31/03/2009 13:13:51


ความคิดเห็นที่ 12


F-22 เป็นเครื่องบิน สเตล ก็จิง แต่ มันแค่บิดเบียนสัญญาณเรดาร์เท่านั้นทำให้มองไม่เห็น F-22 ในเรดาร์ แต่ยังมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

โดยคุณ acecombat เมื่อวันที่ 01/04/2009 22:04:46


ความคิดเห็นที่ 13



^
^
^
^

ครับท่านเข้าใจถูกแล้วครับ

F-22 ใช้หลักการในการหลบหลีกสัญญาณเรดาร์ด้วยการออกแบบเหลี่ยมมุมต่างๆ วัสดุดูดซับเรดาร์ ( วัสดุต้นแบบชื่อว่า RAM ครับ )และสีเคลือบครับโดยเป็นหลักการทางกายภาพ ดังนั้นหากหันด้านท้องหรือหลังเข้าหาเรดาร์ RCS จะเพิ่มขึ้นสูงมากๆครับ โดยอาจเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น คือ F-22 หันท้องเข้าหา EA-18G เรดาร์ของ EA-18G สามารถจับ F-22 ได้และหาตำแหน่งที่แน่นอนจากสัญญาณอ่อนๆที่จับได้ก่อนหน้าครับ

โดยเรื่องที่กล่าวข้างต้นนั้นจะหมดปัญหาไปมากครับหากมีระบบเกราะหักเหหรือระบบพลาสม่าเกิดขึ้นจริง เพราะ มันจะดูดซับเรดาร์และหักเหออกไปในทิศทางที่ไม่แน่นอนจึงอาจกล่าวได้ว่าในระยะเกินสายตานั้นมันอาจล่องหนได้เกือบ 100% ทีเดียวครับแต่ปัญหาคือเทคโนโลยีของมนุษย์ยังไม่สามารถกระโดดได้ไกลขนาดนั้นครับ

ปล.ส่วนตัวคิดว่าการออกแบบให้บ.เป็นกึ่งล่องหนและเพิ่มประสิทธิภาพของเรดาร์น่าจะมีภาษีมากกว่าครับ แต่ยังไง F-22 ก็ยังมีความอยู่รอดในสนามรบค่อนข้างมากอยู่ครับด้วยเทคโนโลยี Stealth ของมันเอง


---------------------------------------------------

ขออนุญาติแจมนะครับ

เท่าที่ทราบ อัมราม 120  ใช้เรดาห์  เซมิ แอคทีพ  คือ เครื่องบินส่งสัญญาณไปยังเป้าหมายแล้วยิง อัมรามออกไป  และยังคงส่งสัญญาณออกไปต่อเนื่องจนกว่าจรวดจะเข้าสู่เป้าหมายโดยการจับคลื่นที่สะท้อนจากเป้าหมาย  ถ้า เอฟ-22  ถูกจับได้ตอนขณะเลี้ยวหรือทำมุมกว้างสุดที่สะท้อนเรดาห์ได้  หลังจากนั้นเครื่องต้องเข้าสู่ท่าบินอื่นซึ่งก็น่าจะทำให้สะท้อนเรดาห์ได้น้อยลง  แต่ทำไมอัมราม จึงยังคงจับเรดาห์ที่สะท้อนจากเป้าหมายได้จนเข้าสู่เป้าหมายได้

.

.

หมายเหตุ   ขนาดระยะใกล้ยังมีข่าวว่า AIM -9X  ของเอฟ-22 ยังล็อกเป้าบางครั้งไม่ได้

โดยคุณ seesaning เมื่อวันที่ 02/04/2009 11:47:32


ความคิดเห็นที่ 14


AIM-7 ที่เป็น Semi-Active Radar ส่วน AIM-120 เป็น Active Radar ครับ

ต้องบอกว่าผลจากการซ้อมรบในครั้งนี้นั้นได้มาจาก การจำลองการทำงานจรวดจาก Computer เท่านั้นนะครับ แล้วมันอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไปก็เป็นไปได้ครับ ขึ้นอยู่กับว่าคนออกแบบระบบจำลองการรบนั้นจะใส่ Factor และข้อมูลจากการทดสอบเข้าไปละเอียดแค่ไหน

สำหรับ F-22 และ F-35 เห็นด้วยครับว่าโอกาสที่จรวดประเภท Semi-Active จะสามารถยิงโดนนั้นมีน้อยมากครับเพราะ คลื่น Radar ที่สะท้อนกลับมามีน้อยและไม่มีทิศทางที่แน่นอน ยากต่อการวิเคราะห์ของ Radar ในตัวลูกจรวด อีกทั้งตัวส่งและตัวรับสัญญาณ Radar ไม่ใช้ตัวเดียวกัน โอกาสที่สัญญาณจะกระจัดกระจายหรือไม่สะท้อนกลับไปที่จรวดยิ่งมากขึ้นไปอีกครับ

ส่วนจรวดพวกที่เป็น  Active  Radar นั้นตัวส่งและรับสัญญาณอยู่ในตัวเดียวกัน โอกาสที่สัญญาณจะกระจัดกระจายก็น้อยลง ระยะที่ระบบนำวิถีของจรวดจะ lock F-22 ได้นั้นผมเชื่อว่าน้อยลงแน่ครับ(<10 km) แต่ยังไงซะในระยะใกล้ ๆ มันก็ไม่น่าจะหายไปซะทีเดียว คงมีสัญญาณอ่อน ๆ สะท้อนกลับมาบ้างครับ อีกทั้งลูกจรวดยังสามารถรับข้อมูลต่ำแหน่งของเป้าหมายจาก Radar ของเครื่องบินที่ยิงจรวดออกมาผ่านทางระบบ  Data-link ได้อีกด้วยครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นแบบการสื่อสารทางเดียวอยู่ก็ตามครับ(AIM-120D เป็น two-way comuniction)   

ส่วนเรื่อง AIM-9X นั้น ถ้าหมายถึง Lock IR ไม่ได้ก็อาจเป็นไปได้ครับ  F-22 อาจจะสามารถทำให้ตัวเครื่องมีอุณหภูมิเท่าหรือใกล้เคียงกับอากาศรอบข้างก็เป็นไปได้ แต่ก็งง ๆ อยู่ว่าเค้าใช้หลักการอะไร???   เพราะอากาศที่ความเร็ว 800-900 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสมในปีกเลยหรอ?? แล้วความร้อนนี้หายไปอยู่ที่ไหน?? วัสดุอะไรจะถ่ายเทควมร้อนได้ดีขนาดนั้น ??? ผมยังสงสัยอยู่ครับ

รายละเอียดที่นี้ครับ จรวดนำวิธีด้วย Radar ครับ  เค้าเขียนดีครับ

http://www.aerospaceweb.org/question/weapons/q0187.shtml

 นี้เป็นภาพ IR ของ Tyhoon ครับ นี้ขนาดพึ่ง Take-off นะครับ


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 02/04/2009 14:43:04


ความคิดเห็นที่ 15


ก็เป็นไปได้อยู่้นะครับ ถ้าผิวของ F-22 ทำจากวัสดุประเภทคาร์บอนไฟเบอร์ เคลือบผิวด้วยวัสดุประเภทเทปลอน ก็จะช่วยลดกันเสียดสี และการสะท้อนของเรดาห์ได้ดีกว่าครับ แต่วัสดุประเภทนี้เปราะมาก ๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าเค้าทำได้ยังไง

โดยคุณ tantongs เมื่อวันที่ 04/04/2009 01:29:07


ความคิดเห็นที่ 16


แต่จะว่าไม่ได้หรอกครับ เพราะเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ อเมริกา ไปไกลกว่าเราประมาณ 20-30 ปี ครับ เค้าอาจจะทำในสิ่งที่เราไม่รู้ได้อีกเยอะครับ
โดยคุณ tantongs เมื่อวันที่ 04/04/2009 01:51:42


ความคิดเห็นที่ 17


เซรามิค ไงครับ แบบเดียวกับที่ทำเกราะกระสวยอวกาศ สามารถคายความร้อนได้เร็วมากครับ  เผาเสร็จเอามือจับได้เลย 

การดูแลรักษาที่ยาก ทำให้อัตราความพร้อมรบต่ำ อาจจะเกิดจาก วัสดุRAM และ ตัวช่วยในการกระกระจายความร้อน ซึ่งแต่ละอย่างก็ดูแลได้ยากครับ

โดยส่วนตัวเอฟ-22 อาจจะเป็นก้าวกระโดดที่ไกลเกินไปสำหรับบ.ขับไล่ครับ

บ.ทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์อย่างบี-2 สเตลธ์เป้นสิ่งสำคัญ และไม่จำเป้นที่จะต้องบินบ่อยมากเท่าบ.ขับไล่ ทำให้การดูแลรักษาเป็นปัญหาน้อยกว่าบ.ขับไล่ ซึ่งจุดสำคัญคือ การที่นักบินต้องบินภารกิจบ่อยกว่าบ.ทิ้งระเบิด โดยส่วนตัวคิดว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบที่ซับซ้อนมากมายขนาดนั้น คอนเซ็บท์ ดูแลง่าย และ  บินได้บ่อย โดยส่วนตัว ผมว่ายังจำเป็นกับบ.ขับไล่ ครับ 

เอฟ-22 หิ้วอาวุธได้น้อยกว่าเอฟ-15 

เอฟ-22 ดูแลยากกว่าเอฟ-15

แค่2อย่างนี้ก็พอเพียงที่จะทำให้ผม ไม่ชอบเอฟ-22เลยครับ

ส่วนเรื่องแจมแล้วจ๋อย ที่โกรวเลอร์ยิงแรปเตอร์ตก โดยส่วนตัวคิดว่า ถ้าลองโดนแจม ไม่ว่าบ.อะไรก็ตกครับ  แต่มันดันเป็นเอฟ-22 บ.ที่คนคิดว่าโคตรเทพนี่แหละครับ

พูดอย่างยุติธรรม

ข้อบกพร่องของเอฟ-22 คือตัวมนุษย์ที่ออกแบบมันเองนั่นแหละครับ

โดยดีไซน์และคอนเซปท์ มันแจ๋ว แต่เทคโนโลยีบางอย่างอาจจะยังตามไม่ทันครับ  เช่นเทคโนโลยีวัสดุRAM ที่ยังดูแลรักษายาก 

 

หมายเหตุ RAM=Radar Absorbent Material วัสดุดูดซับเรดาร์  

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 06/04/2009 07:59:54


ความคิดเห็นที่ 18


จากข้อมูลของทั้งคุณ tantongs และ คุณ Icy_CMU น่าสนใจครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ท.อ. สหรัฐก็ผิดมากที่กำหนด Requirement ของ F-22 ให้มันเทพเกินไป จนไม่สามารถทำให้ใช้งานได้อย่างมีเสถรียรภาพและประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ ขนาดองค์ความรู้ที่สหรัฐมีอยู่ในปัจจุบันยังยากต่อการดูแลรักษาเลย ถมเงินเข้าไปเท่าไรก็ยังช่วยอะไรไม่ได้มากนัก -_-"

ผมชักเป็นห่วงอนาคตของ F-35 ซะแล้วครับ ดูแนวโน้มแล้วคงไม่น่าจะสามารถหามาใช้งานได้ภายใน 20 ปี เพราะช่วงแรกเชื่อว่าคงมีปัญหาความพร้อมรบสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องปฏิบัติในสภาพอากกาศร้อนชื้นอันเนื่องมาจากคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้สร้าง Air-Farme  ต้องรอจนกว่า F-35 จะ miner-change ก่อนหรือปรับปรุง Block การผลิตใหม่ ถึงจะกล้าซื้อมาใช้

ปล.สงสัย jas-39 E/F ของเสี่ยโยจะขายดีเป็นเทน้ำเททิ้งก็คราวนี้ละครับ ^^  

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 07/04/2009 13:08:43


ความคิดเห็นที่ 19


ข่าวปัญหาของ F-22

http://www.f-16.net/news_article2579.html

http://forum.stirpes.net/militia-military/14836-f-22-raptors-makers-knew-10-years-corrosion-problem-costing-millions.html

 

 


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 07/04/2009 13:29:16