ไม่มีกฎบังคับครับ ว่าผู้บังคับการเรือจะต้องจมไปกับเรือ แต่มันเป็นไปทางด้านความรู้สึกและความรับผิดชอบเฉพาะบุคคล สมมุตินะครับเมื่อเกิดสงครามแล้วเรือต้องจมลง(กรณีนี้คือสุดความสามารถที่จะคงเรือให้รอดกลับไปได้) คนที่ลงเรือลำเดียวกันหลายคนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ไม่สามารถหนีออกไปได้ ต้องจมลงไปกับเรือ ซึ่งผู้บังคับการเรือย่อมต้องรู้ดี อีกทั้งผู้บังคับการเรือถือว่าเป็นผู้ที่รับผิดชอบทุกชีวิตในเรือ จะทนหนีเอาตัวรอดแล้วปล่อยลูกน้องที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขในเรือลำเดียวกันจมหายไปกับเรือต่อหน้าต่อตานั้นรอดออกมาได้คงมีความรู้สึกผิดอย่างแรง ไหนๆก็ได้ชื่อว่า ลูกประดู่ ถ้าดอกจะโรยก็ขอโรยไปพร้อมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่พากันตายยกลำนะครับ การมีชีวิตรอดกลับมาสามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้อีกมากครับ การที่สูญเสียนั้นมันมีบ้างแต่ต้องหาวิธีให้มีคนรอดมากที่สุด หากต้องเสียไปนั่นคือสุดความสามารถจะแก้ไขให้คงอยู่ต่อไปได้แล้ว
เคยได้ยินคำว่า "ของหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ใหม้" ไม๊ครับ
ลองนึกดูนะครับว่าเรือ prince of wales ราคาจะเท่าไหร่น้อ.... จบเรื่องไปพร้อมกับเรือดีกว่า...... 55555+
ล้อเล่นนะครับ
ที่เด็กทะเลเขียนมาก็ใช่ครับ ถ้ามีโอกาสลองไปหา "นาวิกศาสตร์" เล่มเก่าๆมาอ่านครับ กินใจมาก เรื่อง "เกียรติศักดิ์นักรบ" ซึ่งเขียนเกี่ยวกับทหารญี่ปุ่นไว้เยอะมาก
ส่วนเรื่อง เรือกราฟเช นี่คือบทเรียนที่กองทัพเรือไทยไม่ได้จดจำไว้เป็นตัวอย่างที่ดี
ความเร็วเรือ นับเป็นอาวุธที่สำคัญอย่างยิ่งของเรือไม่แพ้อาวุธประจำเรือเลย
อย่างกรณีของเรือกราฟเช ปืนก็มีขนาดเล็กกว่าของเรืออังกฤษนั่นคือยิงได้ใกล้กว่า ความเร็วเรือก็ต่ำกว่าเรือของอังกฤษ
ผลที่ออกมาก็คือ จะหนีก็ไม่ได้ จะไล่(เข้าไปให้อยู่ในระยะของปืนเรือ)ก็ไม่ทัน
บทเรียนที่กองทัพเรือไทยไม่ได้เรียนรู้ไว้ ไม่แน่นะถ้าเรือหลวงธนบุรี มีความเร็วสูงกว่านั้น เรื่องที่อ่านในวันนี้อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้?....ใครจะรู้
เป็นประเพณีของชาวเรือสากลครับว่าถ้ามีการสั่ง"สละเรือใหญ่" ทหารกลาสียศต่ำสุดจะได้ลงเรือเล็กก่อนและตามด้วยนายทหารที่มีลำดับหน้าที่สูงขึ้นไป โดยผู้บังคับการเรือจะเป็นคนสุดท้ายที่ลงเรือเล็กครับ นั้นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ผบ.เรือบางลำจึงเลือกที่จะจบชีวิตตนเองไปพร้อมกับยเรือ
จะว่าเรือปืนหนักป้องกันฝั่ง หรือ Coastal defence ship นั้นเป็นเรือที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในประเทศเล็กในยุโรปที่มีพื้นที่ทางทะเลไม่มากนัก(แต่ขนาดก็ใหญ่กว่าของไทยมากเช่นเรือของสวีเดนหรือนอร์เวย) ซึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็เหมือนกับเรือประจัญบานครับที่กลายเป็อาวุธที่ตกสมัยไป เนื่องจากจุดอ่อนของเรือปืนหนักป้องกันฝั่ง คือการที่ติดอาวุธหลักที่ปืนใหญ่ขนาดหนักในขณะที่ใช้ตัวเรือขนาดเล็กนั้นทำให้เมื่อรวมกับเกราะน้ำหนักโดยรวมเมื่อเทียบอัตราแรงขับของเครื่องยนตร์แล้วทำให้เรือแบบนี้จะแล่นได้ช้าถ้าเทียบกับเรือแบบอื่นๆครับ (ถ้าจำไม่ผิดในช่วงที่ไทยต่อเรือชุด ร.ล.ศรีอยุทธยา จากญี่ปุ่นนั้นประเทศอื่นๆไม่มีการต่อเรือแบบนี้แล้วครับ)
เท่าที่อ่านมา เรือ กราฟเช
ตอนปะทะกับเรือราดตระเวนอังกฤษ 3 ลำ
มันยิงจนเสียหายหนักนี่ส่วนมันพังเล็กน้อย