อยากทราบว่าปืนซุ่มยิง M82A1 Barrett ในกองทัพไทยนั้นได้มีการจัดหามาหรือป่าวครับ
ถ้ามีพอจะทราบหรือป่าวครับว่าประจำการในหน่วยใด
(เห็นในหนังที่เกี่ยวกับทหาร มะกันในอีรัก เค้าใช้กันดูเเล้ว อำนาจการยิงรุนเเรงมากๆ)
ความคิดเห็นที่ 1
เท่าที่ทราบก็มีใน รบพิเศษ ครับ ที่อื่นไม่แน่ใจ หาดูได้จากภาพข่าวตอนฝึกโชว์ ผ.บ.ท.บ. ครับ
โดยคุณ lasvegas เมื่อวันที่
26/03/2009 00:53:50
ความคิดเห็นที่ 2
เท่าที่ทราบ มีคณะบุคคลในกองทัพบก กำลังทดลองทำปืนซุ่มยิงขนาดกระสุน ๑๒.๗ เพื่อนำมาใช้งานอยู่ครับ
โดยคุณ
CoffeeMix เมื่อวันที่
26/03/2009 03:51:57
ความคิดเห็นที่ 3
"เท่าที่ทราบ มีคณะบุคคลในกองทัพบก กำลังทดลองทำปืนซุ่มยิงขนาดกระสุน ๑๒.๗ เพื่อนำมาใช้งานอยู่ครับ"
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
อยากให้กองทัพให้ความสำคัญมากๆครับ ให้มีกองกำลังส่วนนี้ให้มีประสิทธิภาพและในปริมาณที่เยอะ คิดว่าคงได้เปรียบในการทำสงครามที่ดีมากๆ ถ้ามีสักหมื่นชุด ศัตรูเดินเท้าและยานยนต์ไม่ต้องเข้ามาแล้วครับ โดนสอยร่วงหมด
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่
26/03/2009 07:05:01
ความคิดเห็นที่ 4
มีครับ มีหลายกระบอก ตอนนี้มีคนทำสติถิได้สูงสุด 1800 ม. ครับ
โดยคุณ dboy เมื่อวันที่
26/03/2009 07:28:10
ความคิดเห็นที่ 5
ขอดูภาพหน่อยก็คงดีนะครับใครมีบ้างเอ่ย
โดยคุณ
wut เมื่อวันที่
26/03/2009 10:08:58
ความคิดเห็นที่ 6
>>>>> มีครับ มีหลายกระบอก ตอนนี้มีคนทำสติถิได้สูงสุด 1800 ม. ครับ
ท่าน dboy ครับ ...ไม่ทราบว่าเป้าที่ระยะ 1,800 ม. มีขนาดเท่าไรครับ
โดยคุณ
Tidthom เมื่อวันที่
26/03/2009 11:46:43
ความคิดเห็นที่ 7
ถ้าทำสถิติได้ที่ 1800 ม. ก็แปลว่าสมรรถนะพอๆ กับ M82A1 Barrett เลยทีเดียว เพราะระยะหวังผลของ M82A1 Barrett คือ 1850 ม. และมีระยะยิงสูงสุดคือ 6800 ม. เพราะฉะนั้นของไทยเราก็คงมีระยะยิงไกลสุดพอๆ กันเนื่องจากใช้กระสุนขนาด 12.7 มม.เหมือนกัน
โดยคุณ
monsoon เมื่อวันที่
28/03/2009 00:26:59
ความคิดเห็นที่ 8
การยิงเป้าได้ถึง 1800 เมตรนี่เก่งมากๆ แต่น่าจะอย่างที่ท่าน Tidthom ทัก เป้าอะไร หรือเอาอะไรเป็นเป้า เป้าขนาดเท่าใด เป้าเท่าคนหรือเป้าเท่าบ้าน
การคิดทดลองทำปืนซุ่มยิงขนาด ๑๒.๗ นี่ก็น่าสนใจ ถ้าทำได้นี่สุดๆของเชิงช่างเลย สมัยก่อนปืนเถื่อนขนาด ๑๑ มม. ทำกันเกลียวลำกล้องยังได้ไม่ถึงครึ่งของลำกล้องปืนที่น่าจะราวๆ ๕ นิ้ว นี่ทำปืนยาว เอาว่าถ้าทำเกลียวในลำกล้องปืนที่ยาวเท่าๆกับของปืนไรเฟิลล่าสัตว์ ลำกล้องยาว ๒๒ นิ้วได้ ก็น่าจะข้ามขั้นจากสมัยนั้นหลายขุม (ขอร้องอย่าบอกว่า ทำปืนซุ่มยิงที่ลำกล้องไม่มีเกลียว หรือหยิบเอาลำกล้องจากปืนกลมาใช้) ในงานDefence & Security 09 ขอความกรุณาเอามาอวดครับ จะดีใจมากๆ ปืนจะสวยไม่สวยไม่สำคัญ การทำเกลียวลำกล้องปืนยาวได้นี่ ผมขอเรียกว่าการปฏิวัติเลย เป็นการปฏิวัติที่ดีในเรื่องของช่างฝีมือ
โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่
28/03/2009 22:35:26
ความคิดเห็นที่ 9
การทำเกลียวลำกล้องปืนยาว มันต้องใช้เทคนิคความรู้ขั้นสูงขนาดนั้นเลยหรือครับ..
ถ้าผมคิดอีกแง่หนึ่งว่า การทำให้ลำกล้องปืนยาวด้วยเหล็กชั้นดีและมีเกลียวมันไม่ใช่เรื่องอยาก (ใช่หรือเปล่าครับ) แต่การจะคิดคำนวนที่ทำให้ลูกกระสุนที่ยิงออกไปมีความเม่นยำได้ประสิทธิภาพสูง นั้นเป็นเรื่องอยากกว่า อย่างนี้หรือเปล่าครับ..
**หรือการแค่การทำให้ลำกล้องปืนยาวมีเกลียวมันเป็นเรื่องอยากจริงๆ ที่คนในประเทศเรายังไม่มีองค์ความรู้เพียงพอ
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่
29/03/2009 02:21:26
ความคิดเห็นที่ 10
การทำเกลียวลำกล้องปืนไม่ได้ยากเย็นอะไรนักหนา
ขอให้มีเครื่องจักรครบก็ทำได้แล้ว
ในการทำเกลียวลำกล้อง ในปัจจุบันเท่าที่รู้มามี 3 วิธี
1 การใช้ใบมีดกลึงทำเกลียว
2 การทุบขึ้นรูป
3 การใช้ไฟฟ้า
วิธีการที่ 1 เป็นวิธีการเก่าแก่ในการทำเกลียวลำกล้องปืน
ใช้ใบมีดกลึงสอดเข้าในท่อที่ทำลำกล้อง ชักออกมาทางปากลำกล้อง
ทำซ้ำๆกันหลายครั้งจนได้เกลียวที่ลึกตามที่ต้องการ วิธีนี้เสียเวลามาก
วิธีการที่ 2 เป็นวิธีการที่เก่าพอๆกับวิธีแรก
ใช้ใบมีดสอดเข้าไปในท่อที่จะทำลำกล้อง
แล้วใช้ค้อนไฮโดลิกทุบท่อที่จะทำลำกล้อง จนได้ร่องเกลียวของลำกล้องลึก
ตามที่ต้องการ วิธีการนี้ผลิตได้เร็ว
แต่ข้อเสีย คือ ต้องเอาลำกล้องที่ทำเกลียวไปกลึงผิวภายนอกอีกครั้ง
แต่ก็ไม่ได้ผิวลำกล้องที่สวยงาม ยังมีร่องรอยของการทุบอยู่
วิธีการที่ 3 เป็นวิธีการใหม่ล่าสุดเท่าที่รู้
ใช้ไฟฟ้าดึงเอาโลหะออกมาจนเป็นร่องเกลียว
วิธีนี้รวดเร็วมาก แต่ร่องเกลียวที่ได้จะตื้นกว่า 2 แบบแรกมาก
แต่ก็พอให้กระสุนหมุนตัวได้ และได้ลำกล้องที่มีผิวสวยงาม
ไม่มีร่องรอยการทุบของเครื่องจักร
มีบางท่านกล่าวไว้ว่าการทำเกลียวลำกล้องแบบที่ 3
จะได้ลำกล้องที่มีคุณภาพมากกว่า 2 แบบแรก
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่
30/03/2009 05:52:07
ความคิดเห็นที่ 11
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่
30/03/2009 14:02:01
ความคิดเห็นที่ 12
โดยคุณ
CoffeeMix เมื่อวันที่
31/03/2009 21:55:56
ความคิดเห็นที่ 13
ขอขอบคุณที่ช่วยยกเทคนิคการทำลำกล้องมา (หากใครต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ ขอให้ดูในเว็บ ลองหาจากคำว่า rifling gun barrel)แต่ผมขอแบ่งการ Rifling เป็นสองยุคครับ (เรียกอย่างนี้เพื่อให้รู้ว่า Rifle คืออะไร)
ถ้าเป็นยุคแรก (เทคโนโลยี Cut กับ Button)ที่เริ่มมาราว 650ปีมาแล้วและมีวิวัฒนาการเรื่อยมาการทำเกลียวลำกล้อง หรือ Riflingเป็นเรื่องทั้งศาสตร์และศิลป์ คือจำเป็นต้องมีทั้งความรู้ เครื่องมือที่ดี และทักษะ ฝีมือทางช่าง เครื่องมือยุคเก่าไม่สามารถผลิตผลงานที่ดีออกมาได้เอง
ส่วนยุคใหม่เริ่มจากเจ้าเทคโนโลยี Hammer Forge ไปถึงแบบการทำร่องด้วยไฟฟ้า(เครื่อง Hammer Forge ที่ใช้ในการทำอย่างอื่นเช่น มีด ก็มี แต่เป็นเครื่องคนละตัวกับที่ใช้ทำRifling) เครื่องราคาแพงมาก โรงงานใหญ่ๆเท่านั้นที่มีปัญญาหามาใช้ ถ้ามีก็ใช้ปัมพ์ลำกล้องปืนออกมาได้ นาทีละแท่ง เรื่องทักษะคงหมดไป แต่เครื่อง Hammer Forge นี่ ทำเกลียวลำกล้องแบบ Polygonal อย่างเดียวกับในHK33 ที่นิยมในปืนสั้น ส่วนปืนยาวทางฝั่งอเมริกาไม่นิยม โดยเฉพาะในปืนยาวที่ต้องการความแม่นยำสูง ทางเยอรมันใช้เกลียวลำกล้องแบบ Polygonalใน HK PSG-1 ซึ่งก็เป็นปืนลำหรับSniper
เราน่าจะมีเครื่องทำเกลียวลำกล้องแบบ Hammer Forge ที่ซื้อไว้ตามโครงการ ปลย.๑๑ ถ้าจะเอามาทำลำกล้องขนาดอื่น ผมจะดีใจมากๆ
ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีแบบไหน การลงมือทำ ผมถือว่าเป็นการปฏิวัติไปในทางที่ดี ทั้งนั้น
สำหรับความลึกของร่องเกลียวนี่สำคัญ ผู้รู้เขาสอนกันมาว่า
ถ้าร่องลึกมากเวลายิงแก๊สจากการระเบิดของดินปืนจะออกมากวนลูกกระสุนตอนกำลังจะพ้นลำกล้องทำให้ไม่ค่อยแม่น
ร่องตื้นๆจะดีกว่าในเรื่องนี้ แต่การยิงปืนก็เหมือนกับเอากระดาษทรายร้อนๆไปถูในลำกล้องร่องเกลียวตื้นๆจะสึกหายไปเร็วมาก อายุการใช้งานลำกล้องจะต่ำ ซึ่งก็เป็นข้อเสียในอีกแง่หนึ่ง
โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่
01/04/2009 19:32:45
ความคิดเห็นที่ 14
มีคนเล่าถึงเรื่องราวการQC ลำกล้องปืน มีการจัดเกรดงานไว้อย่างนี้ครับ
กลุ่มแรก เรียกว่า Olympic grade งานออกมาสมบูรณ์แบบ เก็บไว้ให้ทีมชาติแข่งขันในงานที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศเท่านั้น
กลุ่มสอง เรียกว่า Sniper grade เก็บไว้แจกจ่ายให้หน่วยแม่นปืนใช้เท่านั้น
ทั้งสองกลุ่มถือว่าเป็นงานช่างที่เป็นทรัพยสมบัติของชาติไม่มีขาย
กลุ่มที่สาม Premium grade เอามาขายได้ ใส่ในปืนชั้นดีแพงๆ หรือขายเป็นลำกล้องพิเศษไว้ใช้แข่งแมชต์ทั่วๆไป
กลุ่มที่สี่ เอามาจัดลงปืนที่ขายชาวบ้าน
กลุ่มที่ห้า เขาว่ายุบ หลอมทำใหม่ แต่เคยเจอที่วางขายบ้านเรา หลายกระบอกติดตั้งศูนย์แปลกๆผมว่าเขาเอามาขายในประเทศที่ ลูกค้าไม่สามารถเคลมเรื่องคุณภาพ
ผมไม่แน่ใจว่า วันนี้ยังเป็นอย่างนี้หรือไม่
โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่
01/04/2009 19:40:52
ความคิดเห็นที่ 15
ลองเอาคำนี้ "rifling gun barrel" ไปค้นใน youtube
เจอเทคนิคนี้ ไอเดียดีมากครับ..
ตามลิ้งค์ครับ ยังแปะยูตู๊บไม่เป็น...
http://www.youtube.com/watch?v=5MIjTnOPMCM
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่
02/04/2009 08:11:10