คือผมอยากทราบตัวย่อ ของเรือตรวจการณ์ปืนอะครับ
คือ PGB ย่อมาจากอะไรอะครับ และผมมีความคิดว่า
เรือตรวจการณ์ปืนน่าจะเพิ่มอาวุธอะไรไปอีกซักนิดนะครับ
เผื่อว่าถ้าโดนโจมตีจะได้ป้องกันตัวได้ (ความคิดส่วนตัวครับ)
ขอบคุณมากครับ
PGB = Patral Gun Boat (ไม่แน่ใจ ผู้รู้ยืนยันด้วยครับ)
ภาระกิจของเรือตรวจการณ์ปืน คือ
- ตรวจการณ์เพื่อป้องกันการแทรกซึมทางทะเล
- ป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัด
- ป้องกันการลักลอบขนสิ่งผิดกฎหมาย
- ค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
แค่อาวุธที่ติดตั้งนี้ก็ไม่ธรรมดาแล้ว ในต่างประเทศ (ที่รวยๆ) ภาระกิจเหล่านี้ถูกยกให้เป็นหน้าที่ของ ยามชายฝั่ง Coast Guard ซึ่งอาวุธที่ติดตั้งบนเรือ และความเร็วเรือ ไม่ต่างจากของกองทัพเรือไทยเท่าไหร่ เพียงแต่จะมีขนาดใหญ่กว่า น้ำหนักมากกว่า เพื่อการออกปฎิบัติหน้าที่ได้หลายวัน และจะมีความทนทะเลได้มากกว่า (Sea State)
เรือตรวจการณ์ปืนของกองทัพเรือไทยมี 2 ชุด จำนวน 9 ลำ คือ
http://www.navy.mi.th/ptrl/link/ptrl_satt.php
http://www.navy.mi.th/ptrl/link/ptrl_huahin.php
ในขณะที่เรือเร็วโจมตีปืน มี 1 ชุด จำนวน 3 ลำ คือ
http://www.navy.mi.th/ptrl/link/ptrl_chonburi.php
และกำลังปรับปรุงให้เป็นเรือเร็วโจมตีปืน 1 ชุด จำนวน 3 ลำ คือ
http://www.navy.mi.th/ptrl/link/ptrl_prab.php
ขอบคุณมากครับ ท่านน่าคิด
อย่างนี้ OPV กับเรือตรวจการณ์ปืน ก็มคุณลักษณะคล้ายกันมากเลยสิครับ
หรือมันคืออย่างเดียวกัน
จะว่าไปจริงๆเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งก็คือเรือที่ออกแบบให้มีความคงทนทะเลและพิสัยปฏิบัติการเท่ากับเรือคอร์เวตหรือเรือฟริเกตแต่มีอำนาจการยิง(ในภาวะปกติ)เท่ากับเรือตรวจการณ์ปืนนั้นละครับ
ซึ่งการต่อเรือลักษณะนี้นั้นจะเหมาะสมกับการปฏิบัติการในยามปกติซึ่งประหยัดกว่าเรือรบหลักที่มีความทันสมัยและซับซ้อนกว่าอย่างเรือฟริเกตครับ
PGM ย่อมาจาก COASTAL PATROL CRAFT
แปลเป็นไทย เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ตกฝ.)
กองทัพเรือ มีเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ประกอบด้วย
เรือต.11-19 รวม 9 ลำ
เรือต.110 รวม 1 ลำ
เรือต.81-83 รวม 3 ลำ
เรือต.91-99 รวม 9 ลำ
เรือต.991-993 รวม 3 ลำ กำลังจะต่อ ต.994-996 รวม 3 ลำ
รวมทั้งหมด 25(28) ลำ
ขออนุญาติ จขกท. ถามในกระทู้นี้หน่อยนะครับ ว่า....
จากภาพเรืองหลวงชลบุรี (ใน คห. คุณน่าคิด)...ที่บริเวณกลาง-ท้ายตัวเรือ
ที่ทาสีดำไว้ เพื่อวัตถุประสงค์การพราง สวยงาม หรืออย่างอื่นครับ
ขอบคุณครับ
ถ้าจำไม่ผิด ทาสีดำ เพราะ มันมีเขม่าไอเสียจากเครื่องยนต์ครับ ถ้าจำผิดต้องขออภัยอย่างแรงครับ
ว่าแต่เหตุใด ทร.จึงไม่มีเรือ ต.990 เอ่ย จาก ต.99 แล้วไป ต.991 เลย
เข้าใจว่าเลขสองตัวหน้าคือ "99" นั้นจะเป็นเลขชุดเรือ ครับและเลขตัวที่สามจะเป็นหมายเลขที่บอกว่าเป็นเรือลำดับที่เท่าไร
ซึ่งเรือ ต.ที่มีจำนวนเรือในชุด10ลำขึ้นไปก็จะใช้เลข 10 ต่อเป็นหมายตัวที่3จากเลขชุดเรือครับ(คือเพิ่มเลขไปอีกหลัก)
เช่น ชุดเรือ ต.21 ต่อจากเรือ ต.29 ก็จะเป็นเรือ ต.210 ไปจนถึง ต.212ครับ
หลังจากนั้นก็จะเป็นชุดเรือ ต.213 ที่มีเรือในชุดคือ ต.213-ต.227
ชุดเรือ ต.91 นั้นก็จะมี เรือ ต.91-ต.99 ครับ ซึ่งเรือ ต.91 และ เรือ ต.991 นั้นเป็นเรือคนละชุดกันครับ
ซึ่งเลขที่บอกลำดับที่ของเรือนั้นจะไม่ที่เป็นเลข 0 ครับ
คืออย่างนี้ เรื่องอักษรย่อภาษาอังกฤษ ที่บอกประเภทของเรือ
เพื่อนๆอาจจะ งง!! ว่าทำตัวย่อจึงไม่สัมพันธ์กับคำแปล
เข่น PGM ทำไมจึงแปลเป็น COASTAL PATROL CRAFT
แปลเป็นไทยว่า เรือตรวจการณ์ใกล้ (ตกฝ.)
ผมได้รับคำอธิบายจากผู้รู้ว่า คำย่อนั้นเป็นการกำหนดรหัสของฝรั่ง
ซึ่งบางครั้งจะไม่ยึดถือตามคำแปล
ขอยกตัวอย่างที่ตัวย่อไม่ตรงกับคำแปล อีกประเภทหนึ่ง คือ
ตัวย่อ PG แต่ตัวเต็มกับแปลเป็น PATROL CRAFT
แปลเป็นไทยว่า เรือตรวจการณ์ปืน (ตกป.)
และเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ชื่อเรียก คำย่อ คำเต็ม (ทั้งไทยและอังกฤษ)
ของเรือประเภทต่างๆ(โดยเฉพาะที่มีใช้ในราชนาวีไทย)
ทางกองทัพเรือ เคยรวบรวม ตีพิมพ์ลงใน
นิตยสารนาวิกศาสตร์ ฉบับพฤษภาคม 2541
ท่านใดสนใจอยากเก็บไว้เป็นข้อมูล
ลองหาอ่านดู นะครับ
อนึ่ง ตัวย่อ PGB(ของ จขกท.) ไม่มี เรือประเภทนี้ ครับ