จะดีไหมที่ไทยเรากำลังศึกษา นิวเคลียร์ฟิวชัน เพราะไม่มีกาก กัมตภาพรังสีต่างๆออกมา อีกทั้งเกิดความร่วมมือกันหลายประเทศ คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย รัสเซีย จีนและ 20 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการไอเทอร์ (ITER: International Thermonuclear Experimental Reactor)
ปล. ใครมีข้อมูลความรู้ก็มาเเบ่งปันกันน่ะครับ
พลังนิวเคลียร์ฟิวชั่น เป็นสุดยอดปรารถนาครับ แต่ปัญหาคือยังไม่สามารถทำได้บนโลกครับ ฟิวชั่น คือการรวมตัวกันของอะตอม ตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป กลายเป็นอะตอมเดี่ยว ซึ่งที่ทำได้แล้วคือ ใช้อะตอมไฮโดรเจนชนิดดิวทีเรียม 2 อะตอมนำมาหลอมรวมกันเป็นอะตอมลิเทียม 1 อะตอมครับครับ ซึ่งจะทำให้ มวลหายไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งมวลจำนวนนี้เองที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงาน เช่น สมมุติว่า ไฮโดรเจนดิวทีเรียมหนัก อะตอมละ 1.1 กรัม เมื่อนำมา 2 อะตอม ก็จะเป็น 1.1 + 1.1 = 2.2 กรัม แต่เมื่อนำมารวมกันกลายเป็นลิเทียม จะหนักเพียง 2 กรัม จะเห็นว่าน้ำหนักหายไป 0.2 กรัม (ตัวเลขสมมุติ ครับ ) น้ำหนักจำนวนนี้แหล่ะ ที่จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน ตามสมการ E = mc^2 ครับ
แต่ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยความร้อนเป็นล้านองศาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด ซึ่งที่ทำได้ในขณะนี้ คือ ความร้อนจากระเบิดปรมณูเท่านั้น( เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชั่นของยูเรเนียมและพลูโตเนียมครับ) ปัญหาในปัจจุบันคือ อุณหภูมิล้านองศา เราไม่สามารถหาภาชนะอะไรมากักเก็บความร้อนขนาดนี้แล้วถ่ายเทพลังงานไปใช้งานได้ครับ ถ้ามันอุณหภูมิแค่ไม่กี่พันองศาแบบปฏิกิริยาฟิชชั่นเรายังใช้อิฐทนไฟ หรือวัสดุที่ทนความร้อนสูงๆ ได้ แต่ก็ยังไม่มีสสารอะไรในโลกทนความร้อนได้เป็นล้านองศาครับ แล้วก็ใช้ Heavy water มาเป็นตัวถ่ายเทความร้อนครับไปให้กับน้ำธรรมดาเพื่อต้มน้ำเป็นไอน้ำอีกที ซึ่งเป็นหลักการนำเอาพลังงานนิวเคลียร์ฟิชชั่นมาใช้ในปัจจุบันครับ
ปัจจุบันก็มีความพยายามจะใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามาควบคุมปฏิกิริยา แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จครับ ผมว่าคงอีกนานกว่าจะหาวิธีนำมาใช้ได้ จริงๆ ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งเรียกว่า Cold Fusion แต่ก็ยังดูเหมือนเป็นเรื่องเพ้อฝันอยู่ เพราะเป็นการหลอมรวมธาตุในอุณหภูมิต่ำ