นอนรอครับ....สงสัยเหมือนกัน
ในการเข้าตรวจค้น จับกุม ในพท.ล่อแหลมที่ต้องมีการพิสูจทราบให้ชัดเจนที่สุดนั้น UAV ใช้งานได้ดีครับ
แต่เนื่องจากอัตตราที่จัดลงในพท.เท่าที่จะพูดกันได้ มันไม่เพียงพอต่อการเรียกใช้ในหลายๆภารกิจนั้นเองครับ จึงทำให้มันไม่ทันท่วงทีในหลายๆครั้งซึ่งคงเป็นที่มาของข้ออ้างที่เค้าว่าครับ
เท่าที่ได้พูดคุยกันถ้ามีการจัดอัตตราUAVลงในหน่วยย่อยลงอีกหน่อย คงจะได้ประสิทธิภาพจากเจ้าตัวนี้มากขึ้น
เพราะพท.กว้างใหญ่กว่าจะเรียกมาจากที่ตั้งได้ในกรณีที่เกิดเหตุกว่าจะมาถึงมันก็ช้าเกินไป แต่ถ้าเป็นภาระกิจอย่างที่กล่าวข้างต้นซึ่งเป็นการบินสอดแนมนี้ ได้ผลดีครับ
ซึ่งผมคิดเองว่าเจ้าBollonที่จะมาก็คงจะได้ประโยชน์ตรงนี้แหละครับท่าน
ใช้ได้สิครับ ใช้ที่ไหนก็ได้เว้นแต่ฝนตกหนักๆถึงจะไม่เอาขึ้น UAVไม่ได้มีขนาดเดียวใหญ่ๆอย่างพรีเดเตอร์เท่านั้นนะครับ เล็กๆเท่ากระด้งหรือเล็กกว่านั้นก็มี ผมเคยทดลองบินยูเอวีเรฟเว่น(Raven)ที่เป็นยูเอวีขนาดเล็ก(SUAV)มาแล้วในการสาธิตที่ประจวบฯ มันเวิร์คมาก บินง่าย บินต่ำๆกลางวันแสกๆยังมองไม่เห็น แต่ส่งภาพกลับมาชัดมาก กรรมาธิการทหารเอาข้อมูลมาจากไหนว่าใช้ไม่ได้ ในอิรักแท้ๆที่อันตรายกว่าภาคใต้เสียอีกอเมริกันยังใช้เรฟเว่นตั้งเกือบหมื่นลำ!
พอดีไม่ได้ฟังที่กรรมธิการพูดครับ แต่ได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับระบบบอลลูนตรวจการณ์ของ Lockheed มาส่วนหนึ่ง
เจ้า aerostat วัตถุประสงค์ของมันคือ ป้องกันบุคคลและทรัพย์สินที่มีความสำคัญคับ เช่น ถ้าเราส่งมันขึ้นไปที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี เราจะมองเห็นทุกอย่างในระยะ 10 กิโลเมตรรอบๆ ศาลากลางตลอดเวลาเพื่อเฝ้าระวังภัยคุกคามที่จะทำอันตรายกับศาลากลางจังหวัด นอกจากนี้เจ้า aerostat มันยังมีเซ็นต์เซอร์อินฟาเรดและอื่นๆ อีกเพียบ
ในขณะที่ UAV ตามความเห็นของผมหากเรานำมาใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังป้องกัน จำเป็นที่จะต้องส่งขึ้นบินตลอดเวลา ซึ่งค่าบำรุงรักษาคงสูงมากเพราะต้องบินตลอด 24 ชัวโมง และยังมีโอกาสที่ภัยคุกคามจะหลุดลอดจากกล้องของ UAV ด้วยครับ
พอดีจำ Link ไม่ได้ครับ
ช่างกล้านะ ระวังคราวหน้าไม่ได้ขึ้น KC-135 อีกนะ ^^ คุณโย
ไม่ได้ฟังที่กรรมธิการพูดเหมือนกันครับ
แต่ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า เดิมนั้น UAV ธรรมถูกออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงของนักบิน ในการทำภาระกิจ ลาดตระเวณ ตรวจสอบ ชี้เป้าหมาย และรวมถึงไปโจมตี(เพิ่มภายหลัง) หรือภาระกิจใด ๆ ก็ตามที่มีความเสี่ยงสูง แต่่ไม่ต้องการเครื่องบินที่มีขีดความสามารถสูงมากนัก ผมเห็นด้วยกับการใช้งานในภาระกิจเหล่านี้ แต่ต้องไม่ปฏิบัติงานนานติดต่อกันมากเกินไป เพราะธรรมดาของเครื่องบินจะมีชิ้นส่วนที่ทำการเคลื่อนไหวตลอดเวลาอยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่อาจะเกิดความผิดผลาดหรือขัดตัว เนื่องจากการใช้งานหนักก็ยิ่งมีมากขึ้นตามระยะเวลาที่อยู่ในอากาศ(Flight Time) โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้งานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานแรมเดือนแรมปี แม้ว่าเราจะมีการซ่อมบำรุงและดูแลรักษาตามรอบแล้วก็ตาม จริงอยู่ว่า UAV ไม่มีนักบิน แต่ถ้าเราสูญเสีย UAV ก็หมายถึงการสูญเสีย Sensor และอุปกรณ์ราคาแพงไปด้วย
เพราะฉะนั้นสำหรับผม UAV แบบเรือเหาะ คือ Solution ที่น่าสนใจตัวหนึ่งใน 3 จังหวัดเราไม่มีภัยคุกคามสำหรับอากาศยาน และเรือเหาะมันสามารถขึ้นลงในแนวดิ่งได้ ในกรณีฉุกเฉินสามารถลงจอดเพื่อซ่อมบำรุงได้ โดยที่อุปกรณ์ sensor ที่สำคัญไม่ได้รับความเสียหาย อีกทั้งความซับซ้อนของตัวระบบเองและการควบคุมก็น้อยกว่าเครื่องบินทั่ว ๆ ไปเพราะฉะนั้นโอกาสผิดพลาดก็น้อยลง การซ่อมบำรุงก็น้อยลง ยังไงซะก็คงต้องลองใช้ดูครับ ^^
ปล. Simple is the best ครับ :)
น่าจะช่วงกลางคืน หรือตอนเร่งด่วนต่างหากที่UAV จะตอบสนองไม่ได้เต็มที่ แต่ยังเห็นว่าUAVมีความสำคัญมาก
เพราะมุมที่มองจากที่สูงทั้งหมดคนทำไม่ได้ คิดว่าผู้พูดคงไม่ได้ว่า UAV เลวร้ายไปทั้งหมด แต่คงอาจจะพูดว่า มี UAV แล้วสถานการณ์ยังเหมือนเดิมมากกว่า ซึ่งถ้าพูดอย่างนี้ UAV ไม่มีความสามารถจะทำให้สถานการณที่เกิดขึ้นลดลงได้
และเห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนUAVลงไปในหน่วยที่ดูแลพื้นที่ครับ
แนวดิ่งอย่างบอลลูน อยู่ได้นานๆซูมได้ระยะไกลมากๆ อันนี้ถือว่า หมัดเด็ดครับ