พอดีได้ มาเป็นไฟล์ pdf จากเว็บ ทบ.ครับเลยเอามาให้อ่านเล่นๆ
คุณลักษณะของรถถังที่พึงประสงค์สำหรับหน่วยทหารม้า
คำนำ
เอกสารคุณลักษณะของรถถังที่พึงประสงค์ สำหรับหน่วยทหารม้า
ฉบับนี้ ดำเนินการโดยคณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก ตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 1484/51 ลง 24 ตุลาคม 2551 การดำเนินการดังกล่าว จัดทำเพื่อรองรับตามอนุมัติหลักการให้ปลดประจำการยุทโธปกรณ์ที่ล้าสมัยของกองทัพบก ตามหนังสือ ที่ กห 0407.6/209 ลงวันที่ 16 พ.ค. 51 และแผนพัฒนาเหล่า ม. ปี 50 54 เพื่อกำหนดรูปแบบคุณลักษณะของรถถังที่จะทดแทนรถถัง เอ็ม 41 เอ 3 ที่จะปลดประจำการ ตามอนุมัติดังกล่าว
โดยคุณลักษณะทั่วไป ของรถถังที่จะจัดหาทดแทน รถถัง เอ็ม.๔๑ มีดังนี้
๑. เป็นรถถังหลัก ( Main Battle Tank ) มีน้ำหนัก ๒๗ ตันขึ้นไป
๒. พลประจำรถ ๓-๔ นาย
๓. แผ่นเกราะเป็นเหล็กกล้า หรือเกราะหลายชั้น
๔. เครื่องยนต์ดีเซล หรือเครื่องยนต์ดีเซล ที่สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลายประเภท ( Multi Fuel ) ระบายความร้อนด้วยน้ำ หรืออากาศ
๕. อาวุธหลัก ปืนใหญ่รถถังกว้างปากกลำกล้องตั้งแต่ ๑๐๕ มม. ขึ้นไป และมีระบบจุดอ้าง ปากลำกล้อง ( MRS Muzzle Reference System ) เป็นแบบลำกล้องมีเกลียว หรือแบบลำกล้องเรียบ พร้อมอาวุธรอง ปืนกลร่วมแกนและปืนกลต่อสู้อากาศ มีเครื่องยิงลูกระเบิดควัน
๖. สามารถทำการยิงปืนใหญ่รถถังขณะเคลื่อนที่ได้ ( Stabilizer )
๗. มีระบบควบคุมการยิงคอมพิวเตอร์แบบทันสมัย ได้แก่ มีเครื่องหาระยะด้วยด้วยแสงเลเซอร์ มีระบบตรวจการณ์ และกล้องเล็ง เป็นแบบจับภาพด้วยความร้อน ( Thermal imaging System )
๘. มีกล้องตรวจการณ์เวลากลางคืนของพลขับ
๙. เครื่องมือสื่อสารเป็นระบบ FM ที่สามารถใช้งานกับทุก Mode ที่มีประจำการอยู่แล้ว ในกองทัพบก ซึ่งสามารถรองรับระบบสื่อสารที่ทันสมัยได้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบสั่งการภายในรถ ( Intercom )
๑๐. มีระบบอุปกรณ์ผจญเพลิง
๑๑. เป็นตระxxxลรถถัง ซึ่งยังคงมีสายการผลิต และมีประจำการอยู่แล้วในประเทศผู้ผลิต รวมทั้งสามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อม ได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี
คุณสมบัติของรถถังหลัก (MBT) ที่จะจัดหาเพื่อใช้ในกองทัพไทย
1. ต้องเป็นรถถังที่มีสมรรถนะและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีขีด
ความสามารถเทียบเคียง และไม่ด้อยไปกว่ารถถังที่มีประจำการ หรือกำลังจัดหาใหม่ในประเทศรอบบ้าน
2. ต้องมีความเหมาะสมในสภาพภูมิศาสตร์ในการวางกำลังป้องกันประเทศ และยังสามารถปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น ๆ ได้
3. การจัดหารถถัง หรือยานรบจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนากองทัพในด้านต่าง ๆ ต่อไป ในเรื่องของบุคลากร การถ่ายทอดเทคโนโลยีของรถถัง การฝึกศึกษา เพื่อสามารถดูแลรถถังหรือยานรบได้เองในอนาคต โดยใช้หลักการพึ่งพาตนเอง เป็นหลัก
คุณลักษณะเฉพาะของรถถังหลัก (MBT) ที่จะจัดหาเพื่อใช้ในกองทัพไทย
คุณลักษณะเฉพาะจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. คุณลักษณะเฉพาะทางยุทธวิธี
2. คุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค
คุณลักษณะเฉพาะทางยุทธวิธี
1. ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
1.1 มีขีดความสามารถปฏิบัติการรบในเวลากลางวัน/กลางคืนและ
ในขณะทัศนะวิสัยจำกัดได้เป็นอย่างดี
1.2 เครื่องยนต์มีอัตราส่วนกำลัง : น้ำหนักไม่น้อยกว่า 18 แรงม้าต่อ
ตัน*
1.3 ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 400 กิโลเมตร
1.4 ความเร็วสูงสุดบนถนนไม่น้อยกว่า 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง
1.5 สามารถข้ามเครื่องกีดขวางได้ไม่น้อยกว่า 0.70 เมตร
1.6 สามารถข้ามคูกว้างได้ไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร
1.7 ความสามารถในการไต่ลาดตรงไม่น้อยกว่า 60% , ลาดข้างไม่น้อยกว่า 30%
1.8 น้ำหนักกดพื้นไม่มากกว่า 0.91 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร*
1.9 การลุยข้ามน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 เมตร
2. ความอยู่รอด
2.1 มีระบบอุปกรณ์ผจญเพลิง
2.2 มีระบบป้องกันนิวเคลียร์ชีวเคมี
3. อำนาจการยิง/การทำลายสามารถทำการยิงระบบอาวุธประจำรถถังในขณะเคลื่อนที่ ทั้งในเวลากลางวัน/กลางคืน และทัศนะวิสัยที่จำกัดได้
หมายเหตุ
* อัตราส่วนกำลัง : น้ำหนักไม่น้อยกว่า 18 แรงม้า/ตัน พิจารณาจาก
เครื่องยนต์ที่มีใช้ในรถถังหลัก (MBT) ที่มีประจำการ
* เป็นน้ำหนักกดพื้นของรถถังที่มีประจำการอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน(ถ. PT- 91)
คุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค
1. ตัวรถ
- แผ่นเกราะเป็นวัสดุผสมที่มีใช้ในรถถังหลักและมีสายการผลิตในปัจจุบัน
2. ระบบขับเคลื่อน
- เครื่องยนต์ดีเซล สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลายประเภท ระบายความร้อนด้วยน้ำหรืออากาศ
- เครื่องเปลี่ยนความเร็ว เป็นแบบอัตโนมัติ
3. ระบบเครื่องพยุงตัวรถ ใช้คานรับแรงบิดร่วมกับระบบไฮดรอลิค
4. เครื่องควบคุมการยิง
- มีระบบควบคุมการยิงด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
- มีระบบกล้องตรวจการณ์และกล้องเล็งเป็นแบบจับภาพด้วยความร้อน( Termal Imaging system )
- มีเครื่องหาระยะด้วยแสงเลเซอร์
- มีระบบรักษาการทรงตัวของปืน
- เครื่องควบคุมการยิงเล็งตรงหลัก/รอง/เพิ่มเติม
5. ระบบเครื่องควบคุมป้อมปืน เป็นแบบควบคุมด้วยมือและระบบ
ไฮดรอลิคควบคุมด้วยไฟฟ้า
6. อาวุธหลัก ปถ.ประเภทลำกล้องมีเกลียวหรือประเภทลำกล้องเรียบ กว้างปากลำกล้อง ตั้งแต่ 105 มิลลิเมตรขึ้นไป พร้อมด้วยอาวุธรอง ปืนกลร่วมแกนและ ปืนกลต่อสู้อากาศยานมีเครื่องยิงลูกระเบิดควัน
7. มีกล้องตรวจการณ์เวลากลางคืนของพลขับ
8. เครื่องมือสื่อสารเป็นระบบ เอ็ฟ.เอ็ม. ที่สามารถ ใช้งานกับทุกโหมด(Mode) ที่มีประจำการอยู่แล้วใน ทบ. ซึ่งสามารถรองรับระบบสื่อสารที่ทันสมัยได้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบควบคุมสั่งการ ภายในรถ (Intercom)
9. การซ่อมบำรุง การใช้งาน และปรนนิบัติบำรุงระดับ พลประจำรถสามารถทำได้โดยพลประจำรถและช่างซ่อมบำรุงของหน่วย
10. สามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมได้ในระยะเวลาไม่ น้อยกว่า 15 ปี
แถมอีกนิด นี่ได้จาก web ศูนย์กลางทหารม้าครับ เผื่อในนี้มีนายหน้าค้าอาวุธอยู่จริงๆ^_^
คณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก ขอเชิญชวน ผู้ที่สนใจ ( บริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน ) และมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กองทัพบกกำหนด นำเสนอข้อมูลแบบรถถัง ที่มีคุณลักษณะทั่วไป ตรงตามความต้องการของกองทัพบก โดยเสนอข้อมูลแบบรถถัง และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. ผู้สนใจ (บริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน) ที่มีแบบรถถัง ตรงตามคุณลักษณะทั่วไป ที่กองทัพบก กำหนด ดังรายละเอียดข้างต้น ซึ่งคณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก ได้ประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ กองทัพบก (www.rta.mi.th/ ) และเว็บไซต์ศูนย์การทหารม้า (www.rta.mi.th/62300u/) นอกจากนี้แล้ว คณะทำงานฯ ได้ส่งหนังสือถึงผู้สนใจ (บริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน) โดยตรง ซึ่งอาจไม่ทั่วถึงทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) ที่รับทราบข้อมูล การประชาสัมพันธ์ ของคณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก นำเสนอแบบรถถัง ที่มีคุณลักษณะทั่วไปตามที่กำหนด ได้ตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคม ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ โดยส่งข้อมูลถึง ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า / ประธานคณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร ถนนพหลโยธิน ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ๑๘๐๐ โทร./โทรสาร. ๐๓๖- ๒๑๑-๕๙๘, ๐๓๖-๒๑๑๕๙๙ หากพ้นกำหนด ผู้สนใจ (บริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน) ที่เสนอข้อมูลล่าช้า จะถือว่าสละสิทธิ และไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ จากคณะทำงานฯ
๒. ผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) จะต้องเสนอรายละเอียด แหล่งข้อมูล และรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการเบื้องต้น ดังนี้
๒.๑ คุณสมบัติของผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) ซึ่งเป็นคุณสมบัติเบื้องต้น ที่ผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) จะต้องมี เนื่องจากเป็นการเสนอข้อมูลแบบยุทโธปกรณ์ ผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ หรือความสามารถเฉพาะเท่านั้น คุณสมบัติในเบื้องต้นของผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน) ประกอบด้วย
๒.๑.๑ ความเป็นบริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน เอกสารการจดทะเบียนในประเทศไทย หรือการจดทะเบียน ในประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูต กับประเทศไทย
๒.๑.๒ ในกรณีที่ผู้เสนอข้อมูลแบบรถถัง เป็นบริษัทผู้แทนของผู้ผลิตรถถัง จะต้อง มีหนังสือแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนจากบริษัทผู้ผลิต
๒.๒ ความเชื่อถือของบริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน ที่เสนอข้อมูล
๒.๒.๑ การไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุไว้ในบัญชีรายชื่อ ผู้ทิ้งงานของทางราชการ และได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
๒.๒.๒ ฐานะทางการเงินที่เชื่อถือได้ โดยมีหลักฐานอ้างอิงและสามารถให้กองทัพบก ตรวจสอบได้
๒.๒.๓ ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา (ถ้ามี) เช่น เคยจำหน่ายรถถังใด ยุทโธปกรณ์ใด กับประเทศต่าง ๆ การติดตั้งระบบต่าง ๆ หรืออื่น ๆ เป็นต้น
๒.๒.๔ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน เครื่องมือ ฐานะทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งต้องมีหลักฐานที่อ้างอิงได้
๒.๓ ข้อมูลรถถัง ที่บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน ที่เสนอให้คณะทำงานพิจารณายุทโธปกรณ์ มาใช้ในกองทัพบก จะต้องไม่เป็นรถถังต้นแบบ และยังคงอยู่ในสายการผลิต มีมาตรฐานสากล หรือได้รับการรับรองจากองค์กร สถาบันที่สากลยอมรับ
๒.๔ ห้วงเวลา และสถานที่รับข้อมูล
๒.๔.๑ ห้วงเวลาเปิดรับข้อมูล ( วันที่ ๕ มีนาคม ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒) ทั้งนี้ คณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจ ( บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) ทางเว็บไซต์ ทบ. (www.rta.mi.th/ ) และเว็บไซต์ ศม. (www.rta.mi.th/62300u/ ) รวมทั้งการส่งหนังสือถึงผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน ) โดยตรง
๒.๔.๒ สถานที่รับข้อมูล
๒.๔.๒.๑ การส่งเอกสารประสานงาน ให้ผู้ที่สนใจ ( บริษัทผู้ผลิต/ บริษัทผู้แทน) ส่งถึง ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า / ประธานคณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร ถนนพหลโยธิน ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ๑๘๐๐๐
๒.๔.๒.๒ โทรสาร ๐๓๖ ๒๑๑๕๙๘, ๐๓๖-๒๑๑๕๙๙
๒.๔.๒.๓ โทร. ๐๓๖ ๒๑๑๕๙๘, ๐๓๖-๒๑๑๕๙๙
๒.๔.๒.๔ E- mail : cavalry.center06@ gmail.com , ssrss3773@hotmail.com
๒.๔.๓ ห้วงเวลาประเมินยุทโธปกรณ์ (การตรวจสอบ และ/หรือการทดสอบยุทโธปกรณ์ ) กำหนดไว้ในห้วง พ.ค.-ก.ค.๕๒
๓. รายละเอียดของข้อมูลยุทโธปกรณ์ที่ กองทัพบก ต้องการ
๓.๑ คุณลักษณะทั่วไปของรถถัง เป็นไปตามที่ กองทัพบก กำหนด ดังรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น
๓.๒ ราคา / หน่วย (Unit Price) ค่าใช้จ่ายในการใช้ยุทโธปกรณ์ (Operation Cost) และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษายุทโธปกรณ์ ( Maintenance Cost ) ที่เป็นรายปี หรือจำนวนครั้งในการใช้งานหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่สามารถกำหนดเป็นตัวชี้วัดได้
๔. เงื่อนไข
๔.๑ การประเมินยุทโธปกรณ์ ได้แก่ การตรวจสอบและ / หรือการทดสอบยุทโธปกรณ์ ผู้สนใจ ( บริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน ) ที่ผ่านการดำเนินการตามขั้นตอนที่ ๒ สามารถดำเนินการได้ ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร ถนนพหลโยธิน ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย หรือ ณ โรงงานผู้ผลิต ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) ต้องเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ที่ใช้ในการดำเนินการทั้งสิ้น และการดำเนินการตรวจสอบและ/หรือการทดสอบยุทโธปกรณ์ เป็นการดำเนินการ โดยไม่มีข้อผูกพันใดๆกับกองทัพบก
๔.๒ วิธีการประเมิน ประกอบด้วย การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ การทดสอบทางเทคนิค การทดสอบการใช้งาน เป็นต้น โดย กองทัพบก จะเป็นผู้กำหนดหัวข้อการตรวจสอบ และ/หรือการทดสอบ
๔.๓ ความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น สิทธิอุตสาหกรรม (Industrial Right) สิทธิบัตร (Patent) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต / บริษัทผู้แทน) หากเกิดความเสียหายกับกองทัพบก ผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และชดใช้ค่าเสียหายให้กับกองทัพบก ๔.๔ การนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ เพื่อมาประเมินนั้น เป็นความรับผิดชอบของผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต/บริษัทผู้แทน) โดยกองทัพบก จะอำนวยความสะดวก ให้ตามความจำเป็น ๕. รายละเอียด ของการเปิดรับข้อมูลยุทโธปกรณ์ที่นำเสนอนี้ เป็นรายละเอียดเบื้องต้นที่สำคัญ และผู้ที่สนใจ ( บริษัทผู้ผลิต,บริษัทผู้แทน ) จะต้องมี ในการเปิดรับข้อมูลนั้น คณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก สามารถที่จะมีหนังสือเสนอผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต,บริษัทผู้แทน) เพื่อขอข้อมูลรายละเอียด ,เอกสาร เพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ ในการดำเนินการทั้งหลาย ระหว่างผู้ที่สนใจ (บริษัทผู้ผลิต,บริษัทผู้แทน) และคณะทำงานพิจารณารถถังมาใช้ในกองทัพบก จะไม่มีข้อผูกพันต่อการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพบกใดๆทั้งสิ้น
โอ้ยตาลาย
ขอบคุณครับ
ถ้ากล่าวถึงรถถังยุคใหม่ค่ายอเมริกา หรือนาโต้เดิม ............... แพงระเหบิด.............................. ที่พอเป็นไปได้ก็คงของค่ายอดีตวอซอแผค หรือไม่ก็เป็นจีน.............................. ได้ยินมาว่า เค-2 (รถถังดำน้ำได้ชนิดเดียวของโลก (ขอร้องถ้าจะซื้อจริงๆ อย่าเอาเรื่องนี้มาโฆษณาหลอกชาวบ้านนะจ๊ะ)) นี่ก็ระยับระเบิดระเบ้อเหมือนกัน..........................
รถถังอดีตโซเวียตไม่น่าเกลียดครับ ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่แยกไปจาก ที-80 หรือ ที่แยกไปจากที-72 ทั้งคู่แจ๋วหมด..................แต่ใจจริงรัก เวอร์ชั่น ที-72ครับ ดูสุขุมนุ่มลึกดี............................ แต่ ที่-80 ก็ดุดันจัดจ้าน เล็กแบนกล้ามใหญ่ปืนโต ดูแล้วเหมือนป๊อบอาย .................. ที่สำคัญ เคยดูสารคดี พี่เล่นตีโค้งแคบๆความเร็วสูงแบบไม่กลัวสายพานหลุด ดูแล้วสะใจเจงๆ พับผ่า โคลนดินสาดกระจายนึกว่าดูโมโตครอส งัยงั้น.........................และที่ติตาคือมีฉอต กระโดดจั๊มลอยคว้างกลางอากาศ แล้วซัลโวร้อยยีบห้า ฟ้าว..ววว กรึ้ม ตุบๆ แกร้กๆๆๆๆ......................... เห็นแล้วนึกถึงใครไม่รู้แถวขอนแก่น ...........................
เอางั้นหรอครับ t90หรอครับจะดีจริงหรอครับ
งั้นผมตามไปด้วยแล้วกัน T90....อีกคนครับ....!
ผมว่าคงไม่แคล้วจากยูเครนอีกนั่นแหละ ข้อเสนอมันยั่วใจดี
ผมลุ้นตัวนี้ครับ
T-90 S
1.8 น้ำหนักกดพื้นไม่มากกว่า 0.91 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร*
^
* เป็นน้ำหนักกดพื้นของรถถังที่มีประจำการอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน(ถ. PT- 91)
อ่านแล้ว เหมือนว่ารถถังที่หนักๆทั้งหลายของNATO น่าจะเกินนะครับ คงเป็นตระกูล T มั้งครับ...(อย่าเป็น Type ล่ะกัน...)
ส่วนของ T-90
เท่ากับ = 8.7 t/m2 กำลังรับแรงแบกทานปลอดภัยบ้านเราประมาณ 12-15 t/m2 แถวๆภาคเหนือ, อีสานและกลางตอนบน แต่ถ้าเป็นกทม.ดินอ่อนก็ประมาณ1-5 t/m2
จากสเปคที่เขียนไว้ดูเหมือนใกล้ๆ ตระกูล T นะครับ
.......จากสเป็คดูยังไงๆ รถถัง ตระกูล T-90/84-120และ PT-91 อัตราขับต่อน้ำหนัก T-90 กับ PT-9 ผ่านเฉียดๆ T-84 อัตราขับสูงสุด กินขาดรถถังนาโต้เลย
....หากเป็นตามนี้จริงเรียกว่า ท.บ.คงเปิดตัวรับรถถังที่ไม่ใช้ระบบอาวุธมาตราฐานนาโต้ น่ะครับ
ไม่ค่อยรู้เรื่องรถถังแต่ชอบ Black Engel ครับสวยดี ^^
จากเอกสารนี้น่าจะชัดเจนครับว่ารถรบที่จะมาแทน M41A3 นั้นจะเป็น ถ.หลัก ซึ่งอาจมองได้ว่ายุทธศาสตร์การวางกำลัง ถ.ของกองทัพบกนั้นอาจจะเปลี่ยนจาก ถ.เบาไปสู่ ถ.หลักหรือไม่ก็ไม่ทราบนะครับ
ตามที่เคยนำเสนอไปแล้วครับว่าสิงคโปร์ได้จัดหา ถ.หลักแบบ Leopard2A4 มือสองจากเยอรมนี 66คัน โดยอีก30คันที่จัดหานั้นจะถูกถอดเป็นอะไหล่
คาดว่าเยอรมนีน่าจะมี Leopard2A4 สำรองไว้ประมาณ 500กว่าคันครับ ซึ่งความต้องการ ถ.หลัีกของไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 200คัน แน่นอนว่าถ้าเลือก Leopard2A4 คงต้องมัการจัดหา ถ.มาใช้เป็นอะไหล่อีกเกือบ100คันครับ (200+100)
ช่วงนี้เองรถรบทหารราบ(IFV) แบบ Marder ของเยอรมนีส่วนหนึ่งก็จะถูกปลดประจำการเพื่อนำ IFV แบบ Puma มาใช้แทนครับ ถ้ากองทัพบกยังมีความต้องการ รสพ.หรือ IFV เพิ่มเติมก็น่าจะจัดหามาครับซึ่งคาดว่าน่าจะราคาไม่แพง แต่เรื่องการซ๋อมบำรุงต้องคิดอีกที่ครับว่าอาจจะจะหาอะไหล่สำรองล่วงหน้าเช่นกัน(Marderผลิตมาตั้งแต่ปลายปี 1970s)
อย่างไรก็ตามในบันมึกความต้องการระบุว่าต้องการรถถังที่ยังอยู่ในสายการผลิตและมีอะไหล่สนับสนุนไม่ตำกว่า15ปีครับ ก็เป็นไปได้ว่ากองทัพบกอาจจะต้องการจัดหา ถ.หลักใหม่จากโรงงาน ซึ่งคุณสมบัติโดยร่วมนั้นต้องเป็น ถ.หลักแท้ครับไม่ใช่รถหุ้มเกราะสายพานติดปืนใหญ่รถถัง ซึ่งส่วนใหญ่ตัวถังเป็นอลูมิเนียม
อย่างไรก็ตามตัวเลือก ถ.หลักใหม่ในปัจจุบันที่มีการผลิตนั้นก็มีไม่มากนักครับและส่วนใหญ่ก็มีราคาแพงด้วย
ส่วนตัวอยากจะตัดตัวเลือกที่เป็น ถ.จากกลุ่มยุโรปตะวันออกเช่น ยูเครน โปแลนด์ เชค ที่ส่วนมากเป็ฯการลอกแบบจาก T-72 หรือ เป็นสายการผลิตเดิมของ T-80 รวมถึง ถ.ของรัสเซียหรือจีนไปก่อนครับ เนื่องจาก ทบ.น่าจะมีประสบการณ์ในการใช้ ถ.หลักต่างค่ายคือ Type 69-II ของจีนมาระยะหนึ่งซึ่งน่าจะประสบปัญหาพอสมควร
อย่างไรก็ตามถ้าดูจากการจัดหา BTR-3E การจัดหา ถ.จากยูเครนโดยเปลี่ยนระบบอุปกรณ์และอาวุธหลักส่วนหนึ่งตามมาตรฐาน NATO เช่น ปถ.120mm, ปก.ร่วมแกน 7.62*51mm NATO, ปก.หนักต่อสู้อากาศยาน M2 .50cal และ ย.ดีเซลเยอรมัน รวมถึงระบบสื่อสารมาตรฐาน NATO แบบเดียวกับ PT-91M ของมาเลเซียซึ่งมีรูปแบบคล้ายๆกันก็เป็นไปได้ครับ
แต่ถ้าเป็น ถ.หลักของยุโรปตะวันตกเช่น Leopard2A6 ก็มีราคาแพงครับ Challenger2 ก็แพงเช่นกันและไม่ทราบว่าปิดสายการผลิตไปหรือยัง
Leclerc ก็แพงมากครับ
ถ.หลักแบบอื่นๆที่เป็นระบบตะวันตกเช่น K1A1 ของเกาหลีใต้นั้นก็น่าสนใจครับราคาดูไม่น่าจะแพงนัก(คันละ $4 Million) แต่นอกจากเกาหลีใต้แล้วยังไม่มีประเทศใดสนใจจัดหา ถ.แบบดังกล่าวไปใช้งานครับ
เห็นความเห็นท่านAAG_th1 เรื่องรถรบแล้วนึกถึงเจ้านี้แฮะ
สพ.ทบ. | 3.2.12 โครงการจัดหายานเกราะ (ผูกพันปี 52 - 54) | ||
52 72 14 2 05 22 00 8420 (121 คัน) (ทบ. 1398) | 1,000,000,000 | 1,000,000,000 |
ข้อมูลเก่า หรือใหม่ไม่ทราบครับ...ไม่รู้ว่าเป็นแผน 9 ปีเก่า หรือว่าเป็นข้อมูลใหม่
อยากได้ Merkava อ่ะครับ ไม่รู้ว่าเจ้าของเค้าส่งเข้าประกวดหรือเปล่า
เหตุผลเพราะอิสราเอลออกแบบมาเพื่อใช้แทน M60 กับ M48 และมีประวัติการรบมาโดยตลอดคับ
Ground pressure: 0.9kg/sq.cm / 0.96kg/sq.cm. (รุ่น MK1 กับ MK3) เท่าทีหาได้ เกินไปนิดแต่เอาจริงๆน่าจะปรับปรุงให้ตามสเปกได้
คือว่าถ้าเราเลือกแล้วเซ็นสัญญาเรียบร้อย แล้วเราจะได้ชุดแรกเมื่อไหร่คับ ก็ขอให้ดีที่สุดก็แล้วกัน...(ที90อิอิ)
เชียร์รถถังจา ยูเครนครับ ไม่อยากให้ใช้
รถถังจากจีนแล้วครับ........เอาเป็นT90แล้ว
กันนะครับ
โดยส่วนตัว ไม่เชียร์รถถังจากค่ายวอร์อว์แพค ด้วยเหตุผลที่เคยกล่าวไว้(ตอนไหนวะ) คือปืนใหญ่จริง แต่กระสุน125 ประสิทธิภาพการเจาะเกราะกลับน้อยกว่ากระสุน 120 กระสุน2ส่วนยังทำให้การขนลูกกระสุนไปได้น้อยกว่า ระบบออโต้โหลดเชื่อถือไม่ค่อยได้ ถ้าเปลี่ยนมาติดปืน120 (อย่าง T84-120) ก็ไม่ค่อยมั่นใจว่ามันจะดีไหม(อย่างศูนย์ถ่วง ความแม่นยำอันเนื่องมาจากแพลตฟอร์มการยิง )
ถ้าจะให้พิจารณา ยังอยากได้ ASCOD LT105 ซึ่งเป็นถ.เบาอยู่ครับ
และที่น่าสนใจในวิกิ กล่าวว่า
LT-105 Light Tank - A light tank, designed for the export market, with a 105 mm gun. 15 have been sold to the Royal Thai Army. The turret was designed by General Dynamics
หรือ CV 90105 น่าจะมีค่าตัวไม่เกิน 7ล้านยูโร (คำนวณจากรุ่น30มม. ของฟินแลนด์ ค่าตัว 2.67 ล้านยูโร+ค่าปืน+คอมฯ+ค่าน้ำร้อนน้ำชา)
ทั้งสองตัวทำจากเหล็ก และมีเกราะเสริมเป็นเซรามิคครับ
ซึ่งถ้าสั่งเจ้า2ตัวนี้ ทบ.ก็สามารถพิจารณาซื้อรุ่นย่อยอื่นๆได้อีก เช่น พวกที่เป็นIFV หรือรุ่นติดปืนค. หรือรุ่นสำหรับลาดตะเวณ (เผื่อมาแทนสกอร์เปี้ยน)
ผมยังยืนยันว่า การรบสมัยนี้ MBT น่าจะใกล้หมดสมัยแล้วครับ
....ถ้ามองจริงๆแล้ว รถถังหลักจากอดีตประเทศสหภาพโซเวียต นั้น มีอัตราการจัดหาเข้าประจำการในต่างประเทศน้อยมากเลยนะครับ เช่น T-80/84 มีเกาหลีใต้กับ ตรุกี ใช้แต่ก็จำนวนไม่มาก PT-91 มีเพียงมาเลเซีย เท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันรถถังหลักอย่าง T-90 ถูกนำเข้าประจำการในหลายประเทศเช่น ซาอุฯ อินเดีย เป็นต้น(ถึงประเทศจะน้อยแต่จำนวนเข้าประจำการมันเยอะ)
.....โดยหลักๆ รถถังในหลายประเทศเลือกที่จะปรับปรุงรถถังหลักของตนมากกว่าหารถถังใหม่เข้าประจำการ โดยในกรณีนี้ผู้ใช้รถถัง ตระกูล T-62/64/72/80 เอามาดัดแปลงเองให้ทันสมัยเทียบเท่ารถถังหลักในยุคปัจจุบันซะมาก นอกจากนั้นยัง ดัดแปลงเองขายเองก็ด้วยเช่น T-72CZ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รถถัง T มีความอ่อนตัวในการดัดแปลงได้ดี
...ส่วนประเทศอื่นๆก็ผลิตใช้กันเองหมดล่ะครับ
....ส่วนจำนวนการจัดหาเข้าประจำการส่วนตัวอยากให้พอต่อการทดแทนของเก่าและเพิ่มพวก ยานช่วยรบจำพวก IFV แทน V-150 M-41 น่ะครับ เพราะยุคนี้และอนาคต รถถังเสี่ยงต่อจรวดนำวิถีและอากาศยาน จนถึง ยานรบขนาดเบาที่มีความอ่อนตัว ในการซุ่มยิงและเคลื่อนตัวในที่ยากๆได้มากกว่ารถถังซัดกันโดดๆ
ไม่มีทางเป็นT-72ครับ ถ้าพัฒนาจาก T-72 เป็นไปได้
- ต้องเป็นรถถังที่มีสมรรถนะและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีขีด
ความสามารถเทียบเคียง และไม่ด้อยไปกว่ารถถังที่มีประจำการ หรือกำลังจัดหาใหม่ในประเทศรอบบ้าน
-เป็นตระกูลรถถัง ซึ่งยังคงมีสายการผลิต และมีประจำการอยู่แล้วในประเทศผู้ผลิต รวมทั้งสามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อม ได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี
ต้องรอดูครับ ^^
เห็นด้วยกับท่านnok เรื่อง รถถังควรติดแอร์ครับ รวมถึงรถหุ้มเกราะล้อยาง / รถสายพานลำเลียงพลต่างๆ ครับ ไม่มีแอร์คงเป็นเตาอบดีๆ นี่เอง
สำหรับประเทศไทย รถถังที่กองทัพบกจะจัดหา ควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้ครับ
1. ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากกทม รถติดอากาศร้อน
2. ต้องมีแผ่นยางที่ตีนตะขาบ เพราะถนนในกทม.จะพังหาไม่มี
3. น้ำหนักไม่ควรมาก เพราะสะพานในกทม. บางแห่ง ขนาดรถบรรทุก หนักเกิน 12 ตันยังผ่านไม่ได้
4. ต้องมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ขนาดควรพอๆ กับ M-41 เพราะ ถนน ซอย หลายแห่งแคบ
5. เครื่องยนต์ควรเป็นเครื่องเบนซินที่ใช้ E85 หรือเติม NGVได้ เพราะถูกกว่าดีเชล และผบ........เวลาไม่ได้อะไรดังใจก็สั่งให้เคลื่อนรถถังออกมาวิ่งเล่นในกทม. ดังนั้นจึงน่าจะต้องเข้าช่องเติมน้ำมันหรือแก๊สในปั้มน้ำมัน/แก๊สในกทม. ได้โดยเฉพาะปตท. ที่พลประจำรถถังจะได้แวะพักผ่อนซื้อขนมเครื่องดื่มที่ 7-11 ได้ครับ