วิจารณ์แซ่ดรัฐทุ่ม 350 ล้านซื้อเรือเหาะติดกล้อง สู้กลุ่มป่วนใต้! |
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2009 10:18น. | |
ทีมข่าวอิศรา
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ 10 มี.ค.2552 ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 350 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจัดหา ระบบเรือเหาะ พร้อมกล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อใช้ในกิจการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในภารกิจตรวจการณ์ทางอากาศ อันเป็นหนึ่งในยุทธการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อ เป็นงบประมาณกลางปี 2552 ตามการเสนอของ กอ.รมน.โดยให้เหตุผลต่อ ครม.ว่า กอ.รมน.ยังขาดยุทโธปกรณ์ตรวจการณ์อากาศเพื่อปรับกลยุทธ์ให้ทันต่อการแก้ไข สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่
สำหรับระบบเรือเหาะดังกล่าวนี้ จะเป็น เรือบอลลูน ขนาดใหญ่ ใช้สำหรับตรวจการณ์บนอากาศ โดยจัดซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา เฉพาะตัวเรือบอลลูนมีราคา 260 ล้านบาท กล้องส่องกลางวันและกลางคืนรวม 2 ตัว ราคา 70 ล้านบาท ส่วนอีก 20 ล้านบาท ใช้สำหรับจัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารภาคพื้น ซึ่งทั้งหมดจะรวมเป็นระบบเรือเหาะ 1 ชุด พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) กล่าวตอนหนึ่งในรายการ ลับ ลวง พราง เรดิโอ ทางสถานีวิทยุคลื่นเอฟเอ็ม 100.5 เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าการจัดซื้อเรือเหาะก็เพื่อตอบสนองงานด้านยุทธการในการแก้ไข ปัญหาความไม่สงบ โดยบอลลูนหรือเรือเหาะดังกล่าว จะติดตั้งกล้องอินฟาเรดไว้ที่ตัวบอลลูน สามารถตรวจการณ์ระยะไกลได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ผู้ดำเนินรายการถามว่า การใช้บอลลูนหรือเรือเหาะบินตรวจการณ์ จะกลายเป็นเป้าให้กลุ่มก่อความไม่สงบดักยิงทำลายหรือไม่ พ.อ.ปริญญา ตอบว่า ไม่มีความเสี่ยงในประเด็นนี้ เนื่องจากเรือเหาะจะลอยสูงกว่าระยะยิงของกลุ่มผู้ไม่หวังดี ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) ซึ่งเป็นหน่วยควบคุมการใช้กำลังในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การใช้บอลลูนหรือเรือเหาะติดกล้อง เป็นไปตามยุทธการป้องปรามการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ โดยงบประมาณที่ใช้ 350 ล้านบาทนั้น สามารถจัดซื้อเรือเหาะได้ 1 ชุด อย่างไรก็ดี เขาปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นว่า การทุ่มงบประมาณจำนวนดังกล่าวมีความคุ้มค่าหรือไม่เพียงใด อนึ่ง เมื่อข่าวการอนุมัติงบประมาณถึง 350 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อ เรือเหาะ หรือ เรือบอลลูนติดกล้อง เผยแพร่ออกไป ได้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากหลายฝ่ายถึงความเหมาะสมและประสิทธิผลของโครงการนี้ แหล่งข่าวระดับสูงจากกองบัญชาการกองทัพไทย ตั้งข้อสังเกตว่า แผนยุทธการที่ใช้เรือเหาะเป็นเครื่องมือตรวจการณ์นั้น เหมาะกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จริงหรือไม่ เพราะเป็นสงครามในลักษณะก่อการร้ายที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีแฝงตัวอยู่ในหมู่ บ้าน ชุมชน ปะปนกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้จัดตั้งเป็นกองกำลังที่มีฐานปฏิบัติการชัดเจนเพื่อต่อสู้กับเจ้า หน้าที่รัฐ เวลานี้เดินสวนกันในตลาดยังไม่รู้เลยว่าใครเป็นคนร้าย แล้วการใช้เรือเหาะขึ้นไปถ่ายภาพจะมีประโยชน์อะไร แหล่งข่าวตั้งคำถาม นอกจากนี้ ยังมีประเด็นน่าสังเกตอีกประการหนึ่งว่า ฝ่ายความมั่นคงโดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงมาตลอดว่าสถิติการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ลดลง และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับที่น่าพอใจ ประกอบกับเพิ่งทุ่มกำลังพลกว่า 6,000 นาย เข้าไปปฏิบัติการในหมู่บ้านสีแดงจำนวน 217 หมู่บ้านทั่วทั้งสามจังหวัด ในโครงการ "หมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุข" หรือ "หมู่บ้าน 3 ส." ตามยุทธศาสตร์เอาชนะที่หมู่บ้าน จึงเกิดคำถามถึงความจำเป็นของการจัดซื้อเรือเหาะเพื่อเอ็กซเรย์พื้นที่ เนื่องจากมีกำลังทหารอยู่ในหมู่บ้านสีแดงทุกแห่งแล้ว ขณะที่แหล่งข่าวในวงการผลิตอาวุธ กล่าวว่า เทคโนโลยีเรือเหาะตรวจการณ์ใช้มาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จึงไม่แน่ใจว่าจะมีประสิทธิภาพเท่าทันกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันหรือไม่ ยุทธการของกลุ่มก่อความไม่สงบจะใช้วิธีก่อการร้ายในเมือง จึงไม่ทราบว่าการใช้เรือเหาะจะป้องกันการก่อเหตุรุนแรงได้ตรงไหน หรือหากจะอ้างว่าใช้เพื่อป้องปรามการรวมตัวกันของบรรดาแนวร่วม หรือค้นหาแหล่งฝึก ก็ยังมีคำถามเรื่องประสิทธิผลของเรือเหาะอยู่ดี เพราะจุดเด่นของกลุ่มก่อความไม่สงบคือเคลื่อนที่เร็ว หากเราจับภาพการรวมตัวประชุมกันของบรรดาแนวร่วมได้ เราจะไล่จับเขาทันหรือไม่ เพราะเขาอาจรู้ตัวก่อน เนื่องจากเรือเหาะมีขนาดใหญ่ สังเกตเห็นได้ง่ายมากโดยเฉพาะในเวลากลางวัน อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวในวงการผลิตอาวุธรายนี้ ชี้ว่า ประสิทธิภาพของเรือเหาะขึ้นอยู่กับกล้องที่ติดตั้งบนบอลลูน และระบบสื่อสารกับภาคพื้นดิน ซึ่งคุณภาพของกล้องเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสิน ใจจัดซื้อ ผมว่างบประมาณมันสูงมาก น่าจะนำมาใช้ซ่อมหรืออัพเกรดเฮลิคอปเตอร์ของหน่วยงานความมั่นคงให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้นจะดีกว่า ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ก็มีศักยภาพทั้งการตรวจการณ์และไล่ล่า น่าจะเหมาะสมกว่าจัดซื้อเรือเหาะบอลลูน แหล่งข่าว ระบุ
|
ผมว่าเขาไอเดียดี แต่ผมว่าน่าจะหาอะไรที่ดีกว่านี้น่ะครับ
คือดูแล้วบอลลูนมันก็น่าจะประหยัดดีครับ ลอยเอื่อย ๆ ได้นาน ๆ พวกนี้เขาจะมีกล้องทั้งกล้องถ่ายภาพกลางวันและกล้องอินฟาเรดถ่ายภาพกลางคืน แล้วส่งเข้าสู่สถานีภาคพื้นดินได้เลย ดูแล้วมันก็น่าจะ Work คัรบ ก็ถือว่าไอเดียดี
แต่แบบ ผมว่าเงิน 350 ล้าน ส่วนตัวคิดว่าน่าจะนำไปซื้ออย่างอื่นมาในภารกิจนี้มากกว่าน่ะครับ
ลองไปดูรายงานการปฏิบัติการของทอ. ส่วนมากหน่วยที่ร้องขอเที่ยวบินมาจะร้องขอเที่ยวบินในการถ่ายภาพ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนครับ ผมว่าในภารกิจแบบนี้ ลองไปหาเครื่องบินลาดตระเวนถูก ๆ มาใช้ น่าจะ Work กว่านะครับ แบบพวก DA42 OPALE ซึ่งมันก็คือเครื่อง Twin Star เครื่องบินฝึกของทอ. ที่ติดระบบตรวจการณ์น่ะครับผม ผมว่าความอ่อนตัวในภาคใต้มันน่าจะมากกว่าการใช้บอลลูนซึ่งก็เป็นยานไร้คนขับแบบหนึ่ง DA42 OPALE ราคาไม่ได้แพงมาก แต่ก็มีระบบตรวจการณ์ที่ทันสมัย ถ้าไม่อยากบินเอง มันก็มีโหมด UAV ให้บังคับจากพื้นดินได้ด้วย เงิน 350 ล้าน น่าจะซื้อได้สัก 3 ลำนะครับจำนวนไม่น่าจะหนีไปไหนมากนัก
คือใจผมยังคิดว่าเทียบกับบอลลูนแล้ว DA42 OPALE หรือแม้แต่ UAV ที่เป็นใบพัดมีปีกไปเลย ไม่อย่างงั้นก็อาจจะไปหา RQ-11 Raven เพิ่มก็ได้ครับ เงิน 350 ล้าน ซื้อได้ตั้ง 35 ระบบ 1 ระบบมี 3 ลำ เท่ากับ 105 ลำ แจกให้ทหารแบกใส่เป้ไปคนละอำเภอยังไหวเลยครับ ผมว่าน่าจะมีความอ่อนตัวในการทำภารกิจมากกว่าน่ะครับ อีกทั้งภารกิจที่ทำได้น่าจะหลากหลายกว่าด้วย
อีกอย่าง เรามีบอลลูนที่ทร.พัฒนาเองอยู่แล้วน่ะครับ ไม่รู้ไปถึงไหนแล้วอ่ะ
คือผมก็ไม่กล้าพูดไปเลยว่ามันดีหรือไม่ดี เพราะตัวเองยังไม่รู้ข้อมูลมากน่ะครับ ก็ถือว่าเป็นความเห็นหนึ่งแล้วกันครับผม ^ ^
อ้ออีกอย่างมันมีได้ใช่แน่นนอนครับ และภารกิจถ่ายภาพหรือสังเกตุการณ์ ก็เป็นภารกิจที่ถูกร้องขอให้ทำมากที่สุดของกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ 9 ของกองทัพอากาศครับ ปี 51 ทอ. ปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพในเวลากลางคืนโดยใช้กล้องอินฟาเรด (FLIR) จำนวน 77 เที่ยวบิน คิดเป็น 126.7 ชั่วโมงบิน ปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพในเวลากลางวันโดยใช้กล้องดิจิตอลจำนวน 33 เที่ยวบิน คิดเป็น 48.6 ชั่วโมงบินครับ
ไม่จำเป็นว่าใครจะต้องยืนยิ้มฟันขาวให้ครับ เรื่องนี้มันมีงานให้ได้ใช่แน่นอน ความเห้นส่วนตัวผมที่โพสตั้งแต่ต้นจึงคิดว่า ไอเดียเขาดีเรื่องหาบอลลูนมาใช้ แต่ผมว่าน่าจะมีที่ดีกว่านี้ครับ
ยังไงภารกิจนี้ขาดไม่ได้ครับ
เห็นด้วยกับคุณ Oldtimer ครับ
สำหรับผมมองว่า 350 ล้านไม่แพงเกินไปสำหรับเทคโนโลยีใหม่ครับ เพราะเมื่อมองดี ๆ แล้วต่อไป การพัฒนาเรื่องเหาะเองจะมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทั้งในกองทัพและในภาคเอกชนเอง โดยเอกชนนั้นน่าจะนำมาใช้ในรูปแบบของสถานีทวนสัญญาณ ระบบส่งสายไร้สายแบบ WI MAX หรือ G3 เพราะมีระยะทำการครอบคลุมมากกว่า Cell side ทั้ว ๆ ไปมากครับ อีกทั้งสามารถทำงานได้ยาวนาน ซึ่งตอนนี้ทำได้ 30 วัน ต่อไปอาจจะพัฒนาถึงขั้นเป็นปี อีกทั้ง Operation cost ก็ถูกมาก ๆ ด้วยครับ
อีกทั้งมันสามารถเข้ามาอุดช่องว่างของ ดาวเทียมและ UAV ได้พอดีเลยครับ ยกตัวอย่างเช่น
UAV ไม่สามารถติดตามเป้าหมายใด ๆ ต่อเนื่องได้นานเกิน 36 ชั่วโมง หรือถ้าหากต้องการที่จะติดตามให้ได้นานจริง ๆ แล้วละก็จำเป็นต้องมี UAV อย่างน้อย 3-4 ชุด (ชุดหนึ่งอาจจะ 1-4 ลำแล้วแต่แบบ) ด้วยกับครับ เพราะจำเป็นต้องมีรอบของการบำรุงรักษา ชิ้นส่วนซึ่งเป็น moving part และเครื่องยนต์ เพราะตลอดเวลาที่ทำการบินชิ้นส่วนต่าง ๆ นั้นต้องทำงานตลอดเวลา เพื่อให้สามารถบินวนอยู่เหนือเป้าหมายที่หยุดนิ่งเป็นเวลานาน ๆ ได้ นี้ยังไม่นับรวม Operation cost ที่น่าจะสูงว่าเรือเหาะอยู่พอสมควรครับ
ส่วนดาวเทียมนั้นก็มีข้อจำจัดเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องกล้องที่มีความละเอียดสูงกำลังขยายสูง เพราะตัวดาวเทียมเองนั้นจะต้องลอยอยู่สูงจากพื้นโลกอย่างน้อย 400-1000 Km
สามารถทำงานได้ตลอด 24 Hr ก็จริง Operation cost กลาง ๆ (เพราะจ่ายเป็น Investment cost ไปแล้ว) แต่ไม่สามารถลอยอยู่เหนือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้นาน + Zoom ภาพไปด้วย (ใครที่เล่นกล้องคงพอจะรู้) Ex. ลองนึกภาพ ชายคนหนึ่งถือกล้อง DSLR นั่งรถ Minibus วนรอบอนุสาวรีย์ชัยฯ แล้วพยายามที่จะถ่ายหน้ารูปปั้นนักบิน ดูซิครับว่ามันยากขนาดไหน ^^
ต่างจากที่เรือเหาะหรือบอลลูน สามารถติดตามเป้าหมายได้ตลอดระยะเวลา 1 เดือนเต็ม จะหยุดอยู่เฉย ๆ หรือจะวิ่งช้า ๆ ซัก 100 Km/hr ก็ทำได้ โดยบินที่ความสูง 5-7 km ซึ่งในอนาคตคาดว่าน่าจะพัฒนาให้อยู่แถว ๆ 60,000-100,000ft (20-33km) เพื่อให่พ้นระยะทำการของ SAM จะได้สามารถเอาไปใช้ในสนามรบที่มีเทคโนโลยีสูงๆได้
ในกรณีนี้เข้าใจว่าเราคงจะเลือกที่จะติดตั้งระบบ FLIR ซึ่งสามารถศึกษาและติดตามลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้ต้องสงสัยคนหนึ่งได้ ไม่ว่าเค้าจะไปที่ไหนเราจะตามไป ทำอะไรนอกอาคารเรารู้หมด ส่วนในอาคารอาศัยการติดตั้งเครื่องดักฟัง หรือถ้าเค้าใช้มือถือเราก็ใช้บอลลูนเป็นตัวรับสัญญาณได้ ก่อนส่งต่อให้หน่วยงานอื่นเพื่อวิเคราะห์ต่อไปครับ นอกจากนั้นหากมีการที่ติดตั้ง FLIR 2 ระบบพร้อมกัน โดยสามารถทำงานได้พร้อมกันด้วยแล้ว น่าจะสามารถสร้างภาพแบบ FLIR stereo effect >> More Detail ได้ด้วย ซึ่งจะได้รายละเอียดภาพ IR แบบที่เห็นความลึกของภาพ ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ต่อการวิเคาระห์ภาพในกรณีที่เป้าหมายหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า
ผมเข้าใจว่าด้วยสาเหตุประมาณนี้ จึงเห็นหลาย ๆ ประเทศทั้ง UAS และ อิสราเอล เริ่มนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานครับ เราควรดีใจนะครับ ว่าเราก็เริ่มใช้งานเทคโนโลยีนี้พร้อม ๆ กับคนอื่น (แต่น่าจะมีการพัฒนาด้วยนะครับ)
สำหรับเทคโนโลยี UAV นั้นคิดว่าควรมีการพัฒนาต่อไป แต่ต้องมีการ Clear Requirement ให้ชัดเจนมากกว่านี้ อาจจะหมายรวมถึงต้องเพิ่มคุณสมบัติในการติดอาวุธเบาเข้ามาด้วย เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ UAV แบบที่เป็นเรือเหาะซึ่งกำลังจะมาในอนาคตอันใก้ลนี้ครับ
ระวัง..นักข่าวลวง....อิอิ
ผมก็ยังสงสัยเหมือนเดิมครับ
http://thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=8717&topic=ทุ่ม350ล.ซื้อเรือเหาะ ไว้ต่อกรกับโจรป่วนใต้
แหล่งข่าว = www.thaifighterclub.org
เหอๆๆๆ