หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ระบบลวงต่อต้านอาวุธนำวิธี

โดยคุณ : poom1.1 เมื่อวันที่ : 25/03/2009 17:56:31

คือ ผมส่งสัยมานานแล้วครับว่าเวลาที่เครื่องบินถูกล็อคเป้าหรือมีจรวดวิ่งเข้าหาจะมีการแจ้งเตือนจากนั้นนักบินก็จะเร่งความเร็วหนีหากไม่พ้นก็จะปล่อยระบบเป้าลวงต่างๆ แต่ตามที่เห็นในหนังหรือเกมจะเห็นว่า นักบินจะทำการหักหลบอย่างลวดเร็วตาม ซอกเขา ตึก หรือแม้แต่สันเขาผมเลยสงสัยครับว่าเรื่องจริงทำได้ไหม นักบินเองจะเกิดอาการ G-LOCK ไหมครับ

ขอบคุณครับ





ความคิดเห็นที่ 1


โทษทีครับหัวข้อพิมพ์คำว่า วิถี ผิดครับ
โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 16/03/2009 05:42:41


ความคิดเห็นที่ 2



น้อง poom ครับน้องก็มีคำตอบอยู่ในคำถามของน้องเองแล้วครับ


Quote
แต่ตามที่เห็นในหนังหรือเกมจะเห็นว่า
โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 16/03/2009 09:13:03


ความคิดเห็นที่ 3


อ๋อครับ....แฮ่ๆ สรุปว่าไม่ได้ใช่ไหมครับ ก็คือได้แค่ระบบเป้าลวงต่างๆ

ขอบคุณครับ อ๋อลืมอย่างนึงแล้วถ้าทำอย่างที่ว่าโอกาศเกิด G-LOCK จะสูงไหมครับ

โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 16/03/2009 10:31:06


ความคิดเห็นที่ 4


สามารถทำได้ครับ แต่ต้องไม่เกินข้อจำกัดของเครื่องบินครับ

วินาทีนั้นเป็นเรื่องของการหนีตายครับ นักบินต้องทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ เพื่อมีชีวิตครับ

การเลี้ยวหลบอย่างรวดเร็ว เป็นการลดโอกาสที่จรวดจะระเบิดใก้ลกับจุดสำคัญของเครื่องบิน จรวดบางรุ่นถูกออกแบบมาเพื่อฆ่านักบินโดยเฉพาะ(ตระกูลไพธอน) ถ้าไม่หลบและปล่อยเป้าล่วงรับรองว่าตายครับ หรือแม้แต่การบินสวนกับลูกจรวดตรง ๆ และเร็ว ๆ อาจจะทำให้ระบบฉนวนเฉี่ยดระเบิดของจรวดทำงานผิดผลาดหรือไม่ทำงานได้ครับ เพราะในมุม Head on ของเครื่องบินทุกแบบมี RCS ต่ำสุด และมีอัตราการปล่อยรังสี IR ต่ำกว่ามุมอื่น ๆ ครับ

          แต่หมดทั้งบวงเป็นเรื่องของโอกาส และประสบการณ์ซึ่งต้องแลกมาด้วยชีวิตครับ ในปัจจุบันจรวดรุ่นใหม่ ๆ หลาย ๆ แบบยังไม่มีใครรู้ว่าจะหลบยังไง มีแต่ความน่าจะเป็น และน่าจะหลบได้ แต่เมื่อเกิดสงครามไปซักระยะ ผมเชื่อครับว่าสุดท้ายมนุษย์จะสามารถเอาชนะ
Computer ได้ครับ คล้าย ๆ กับสมัยสงครามเวียดนามที่ Mig-21 สามารถเอาชนะ AIM-7 และเข้ามายิง F-4 ด้วยปืนได้ครับ แต่นั้นก็ตอนที่มีนักบินเวียดนามเก่ง ๆ ลองผิดลองถูกต้องตายไปหลายคนแล้วครับ สมัยนี้ก็เช่นกันผมเชื่ออย่างนั้นไม่ว่า AIM-120 หรือ AA-12 เองก็ต้องมีจุดอ่อนด้วยกันทั้งนั้นครับ เพียงแต่ตอนนี้เรายังไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหนเท่านั้นเองครับ  

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 16/03/2009 11:54:42


ความคิดเห็นที่ 5


แล้วมันมีวีธีจัดการกับเครื่องบินอย่างไรบ้างครับ

อย่างในหนังเรื่อง behind enemy line 1 ตอนที่พระเอกหนีตอนแรฟๆน่ะครับ

จรวดก่อนที่มันจะถึงตัวเครื่องบิน..รุสึกมันจะยิงอะไรเข้าไปที่ท้ายเครื่องก่อนที่ตัวมันจะพุ่งชนเป้าหมาย..แล้วรุ่นอื่นๆมันระเบิดใส่เวลากระทบ..หรือยังไงครับ

โดยคุณ snake เมื่อวันที่ 16/03/2009 16:37:49


ความคิดเห็นที่ 6


เนื่องจากถ้าให้ตอบจริง ๆ จะมีเนื้อหาและรายละเอียดเยอะมากครับ งั้นผมขออนุญาตส่งเป็น Link ให้ลองเข้าไปอ่านกันดู แล้วถ้าสงสัยอะไรถามได้นะครับ

บินต่ำ ๆ ลดระยะยิงของจรวดนะ (หลักการของงานพลังงาน)

http://www.canit.se/~griffon/aviation/text/missiles/aam.html

A2A missile (มีวิธีการหลบด้วย)

http://www.absoluteastronomy.com/topics/Air-to-air_missile

BVR Tactic (ไปเป็นหมู่ดีกว่า ไปลำเดียว)

http://www.sci.fi/~fta/chap6.htm

http://www.sci.fi/~fta/chap6b.htm

เป้าลวง (ไม่มีใครอยากใช้ถ้าไม่จำเป็น)

http://www.absoluteastronomy.com/topics/Flare_(countermeasure)

http://www.absoluteastronomy.com/topics/Chaff_(radar_countermeasure)

อุปกรณ์เสริม

http://www.vectorsite.net/avcobra_1.html

http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/an-alq-144.htm

http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/equip/an-alq-131.htm


ตอบคุณ Snake ครับ
  ก็จรวดเดิม ๆ นี้แหละครับ ผมไม่ได้กวนนะครับ ตอบจริง ๆ แต่ต้องใช้ปัญญานิดหน่อย อาจจะยิงแบบ
Multi-shot หรือยิงแบบมี Tactic ก็ได้ครับ เป็นหลักการเดียวกับการใช้อาวุธอื่น ๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็นมีดหรือปืน ในสมัยก่อนเมื่อมีคนคิดค้นมีดขึ้นมาใช้ก็คง ยังนึกไม่ออกหลอกครับว่าจะป้องกันได้อย่างไร แต่ต่อมาพอผ่านไปซักระยะคนก็คิดออกว่าน่าจะมีเกราะหรือโล่เพื่อป้องกัน แต่ก็นั้นแหละครับมันก็ยังมีคนใช้มีหรือดาบธรรมดาแทงทะลุเกราะหรือโล่ได้ เพราะเค้ารู้จุดอ่อนครับ เช่นเดียวกับปืนครับ สมัยนี้ทหารมีทั้งเสื้อเกราะมีทั้งหมวก (ต่อให้ใส่ทั้งตัวเลยอะ) รบกันที่ไรก็ยังตาย เพราะเมื่อเราพยายามที่จะแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ใช้ปัญญาวิเคาระห์ให้ดี ๆ  ก็จะทำให้กระทบกับอีกสิ่งหนึ่งอย่างแน่นอนครับ(ส่วนใหญ่จะเป็นข้อดีซะด้วย)  

>> ส่วนเรื่องการทำงานของจรวดผมจะกลับมาตอบให้ดึก ๆ นะครับ  

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 17/03/2009 05:50:17


ความคิดเห็นที่ 7


jas-39 ปล่อย Flare


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 17/03/2009 06:30:50


ความคิดเห็นที่ 8


ALQ-144-IRCM เอาไว้ป้องกันจรวด IR แบบ SAM-7


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 17/03/2009 06:32:31


ความคิดเห็นที่ 9


ขอบคุณทุกๆท่านมากครับ
โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 17/03/2009 08:10:31


ความคิดเห็นที่ 10


การเลี้ยวไปมาจะทำให้จรวดเสียพลังงานในการไล่ตามด้วยส่วนนึงครับ เพราะถ้าบินหนีตรงๆ ยังไง บ. ก็ช้ากว่าจรวดอยู่แล้ว (ยกเว้นว่าเราอยู่สูง บ.ของเราเร็วนิดนึง และจรวดถูกยิงมาจากระยะยิงไกลสุดของจรวดแบบนั้น ก็อาจหนีพ้นได้) และเมื่ออยู่ใกล้พื้นดินการจับเป้าของจรวดจะทำได้ยากขึ้น (เพราะ มีการสะท้อนจากพื้นดิน เป็นต้น) โอกาสสลัดหลุดเมื่อปล่อยเป้าลวงออกไปจะมีมากขึ้นด้วย

ทุกวันนี้มีความพยายามในการเอาชนะจรวดมากขึ้นครับ ตัวอย่างของอุปกรณ์ใหม่ๆ คือ เป้าลวงลากท้าย (towed decoy) เช่น ALE-50 AETD, ALE-55 FOTD หรือ BOL-2D เพื่อเอาชนะจรวดนำวิถีด้วยเรดาร์ และอีกตัวนึง คือ มาตรการต่อต้านอินฟราเรด (IRCM) โดยใช้การแจมหัวนำวิถีด้วยแสง UV หรือ laser เพื่อเอาชนะจรวดนำวิถีด้วยอินฟราเรด

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 17/03/2009 08:58:11


ความคิดเห็นที่ 11


การปล่อยเป้าลวงก็มีหลักอยู่ครับ คือให้ปล่อยเป็นชุด แล้วเปลี่ยนทิศทางของเครื่องบินทันที ปล่อยแล้วเลี้ยว ๆ ไม่ใช่ปล่อยมั่วซั่ว แต่ flare ก็ใช้ได้แค่กับจรวดพวกนำวิถีด้วย infared เท่านั้น
ส่วนจรวดนำวิถีด้วยเรดาร์ก็ต้องพึ่ง chaff เอา ซึ่งเป็นแผ่นอะลูมิเนียมเล็กๆจำนวนมาก ปล่อยออกไปกวนคลื่นเรดาห์

แต่ถึงยังไงจรวดก็จะไม่ตามเราติดแบบในเรื่อง behind enemy line แน่นอนครับ
ถ้าผ่านเราไปแล้วรอบนึงมันก็ไม่เหลือเชื้อเพลิงและความเร็วมากพอแล้วละครับ จรวดจะจุดระเบิดเป็นระยะเวลาสั้นๆ แค่ 5-10วินาที เพื่อเร่งไปถึงความเร็วสูงสุดคือประมาณ 2-4mach ที่เหลือก็เป็นเรื่องของพลังงานจลน์ละครับ

ต้องยอมรับว่าจรวดนำวิถีสมัยใหม่พัฒนาไปมาก มีความน่าเชื่อถือสูง ยิ่งกับบ.ที่ไม่มีระบบแจ้งเตือน ..รอดยากครับ
โดยคุณ beam408 เมื่อวันที่ 17/03/2009 15:08:29


ความคิดเห็นที่ 12


ขอบคุณครับ
โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 17/03/2009 23:00:06


ความคิดเห็นที่ 13


เห็นพูดถึงฉากนี้กันเยอะ จัดไป......

http://www.youtube.com/watch?v=GEH1HLMdv4k&feature=related

 

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 18/03/2009 07:49:38


ความคิดเห็นที่ 14


การทดสอบ AIM-9X ลองสักเกตดูนะครับว่า IR AAM  นั้นจะไม่ค่อยกระทบเป้าตรง ๆ ส่วนใหญ่จะเฉี่ยดซะมากกว่า  

 

http://www.youtube.com/watch?v=4g4_jzqBJnA&feature=PlayList&p=9401544131ED2D74&playnext=1&playnext_from=PL&index=30

 

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 18/03/2009 07:59:12


ความคิดเห็นที่ 15


OK งั้นผมขอตอบเรื่องรายละเอียดของตัวจรวดแล้วกันนะครับ  โดยแยกเป็นส่วน ๆ ดังนี้ครับ

เรื่องหัวรบของตัวจรวดปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบครับ

1.       Fragment ครับลักษณะเป็นก้อนโลหะเหลี่ยม ๆ ล้อมรอบระเบิดอีกที (คล้ายระเบิดมือ) เมื่อเกิดระเบิดก้อนพวกนี้จะเป็นสะเก็ดระเบิดพุ่งทะลุ ตัวถังของเครื่องบินครับ โดยจะออกแบบให้สะเก็ดระเบิดพุ่งไปรอบ ๆ ตัวแนวรัศมีของจรวดครับ  จรวดส่วนใหญ่จะเลือกใช้หัวรบแบบนี้ครับ

2.       Blast  คล้ายๆ  กับ Fragment ทิศทางของสะเก็ดจะพุ่งไปด้านหน้าของจรวดมากกว่าครับ


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 18/03/2009 08:20:53


ความคิดเห็นที่ 16


 แบบ Blast   ครับ


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 18/03/2009 08:22:23


ความคิดเห็นที่ 17


เรื่อง sensor จุดระเบิด ปัจจุบันมีด้วยกัน 4 แบบดังนี้ครับ

1.      Contact  เป็นชนวดจุดระเบิดแบบธรรมดาครับ ใช้การสัมผัสของลูกจรวดกับเป้าหมายครับ ความเร็วในการตอบสนองช้าที่สุดในทุกแบบ แต่ความแน่นอนสูงสุดครับ มีใช้ใน MICA ,METEOR, R77,AIM-120

2.      Laser  เป็น sensor ที่ใช้การส่งแสง laser ออกไปข้างหน้าเพื่อวัดระยะของเป้าหมายครับ  เมื่อเข้ามาใกล้พอก็จะจุดระเบิด sensor แบบนี้จะติดตั้งกับ SRAAM รุ่นใหม่ ๆ ทุกแบบครับ เพราะสามารถออกแบบให้รวมอยู่ในหัว IR seeker ได้ครับ ข้อดีทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ แต่ข้อเสียของ Laser แรงต่ำ มีความเข้มไม่สูงพอที่จะทะลุผ่านเมฆหรือควันได้ครับ

3.      Radar คงเดาได้ว่าพวกนี้จะมาพร้อมกับ BVRAAM  ใช้ครับ ไหน ๆ ก็มี Radar แล้วก็ใช้ Radar นี้วัดระยะแล้วเอามาคำนวณการจุดระเบิดเลย ข้อดี มีของอยู่แล้ว แม่นยำ ข้อเสีย Jamming Radar ได้

4.      Proximity แปลว่า ความใกล้เคียง คือ sensor แบบนี้เมื่อเข้าไปใกล้ ๆ วัตถุต่าง ๆ แล้วจะทำงาน ได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับตัวจรวด โดยมีรัศมีครอบคลุมรอบตัวจรวดเลย แยกออกเป็น 3 แบบด้วยกัน

a.      Inductive Proximity ใช้การเหนี่ยวนำวัตถุที่เป็นโลหะ ซึ่งมีค่าเหนี่ยวนำไฟฟ้าที่มากพอ sensor ก็จะทำงาน  เหมาะสำหรับใช้ยิงเครื่องบินที่สร้างจากโลหะ แต่ไม่เหมาะกับเครื่องบินสมัยใหม่

b.      Capacity  Proximity ใช้ค่าความจุไฟฟ้าของวัตถุชนิดต่าง ๆ มีข้อดีคือสามารถตรวดจับวัตถุทุกชนิดที่เข้ามาใกล้ได้ แม้แต่น้ำก็สามารถตรวจจับได้ เหมาะสำหรับใช้ยิงเครื่องบินที่สร้างจากวัสดุ Composit  แต่ก็อาจจะต้องระวังอย่าไปยิงตอนฝนตกนะครับ

c.       Magnetic Proximity อาศัยอำนาจแม่เหล็กครับ เหมาะกับเป้าหมายที่เป็นโลหะเช่นกันกับ Induct-prox.

 

ต่อมาระบบนำวิธี คงรู้อยู่แล้วว่ามีด้วยกัน 2 แบบหลัก ๆ คือ

1.      IR ส่วนใหญ่จะใช้กับ SRAAM เพราะสามารถใช้ยิงเป้าหมายทางอากาศได้ทุกแบบ แบ่งออกเป็น 3 แบบครับตอนนี้

a.      IR  InfraRed ธรรมดา เป็นจรวดรุ่นเก่า ๆ หรือพวก Sam เก่า ๆ รวมถึง sam แบบประทับบ่ายิงด้วย จะถูกหลอกได้ง่าย ๆ ด้วย flare

b.      IIR หรือ imaging infraRed เริ่มตั้งแต่ยุคของ AIM-9L จนมาถึง AIM-9Xที่สามารถยิงได้ทุกทิศทางครับ

c.       IR+ I คือ InfraRed+ Inertial อันนี้ใหม่หน่อย ใช้ sensor วัดความเฉื่อยเข้ามาร่วมด้วย มีใช้ใน R-73M2

2.      Radar  ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใช้ยิงเครื่องบินครับ จริง ๆ แล้วก็สามารถยิง ฮ. ได้ครับแต่ถ้า ฮ. เกิดลอยอยู่นิ่ง ๆ ขึ้นมาจรวดที่นำวิถีด้วย Radar ก็จะมองไม่เห็นครับ มี 2 แบบด้วยกันครับ

a.      Semi –Active Radar มีใช้ใน AIM-7 แต่ไม่ค่อยแม่นยำ และยิงยากต้องรักษาให้เป้าถูก lock ด้วยเรดาร์อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจรวดจะกระทบเป้า

b.      Active Radar อันนี้ก็คือ AIM-120 ในปัจจุบัน ยิงและ lock ด้วย Radar ในช่วงแรก เมื่อ Radar ของจรวดทำงานจะพุ่งเข้าหาเป้าหมายโดยอัตโนมัติครับ

 

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 18/03/2009 09:33:11


ความคิดเห็นที่ 18


โอ้ขอบคุณอีกครั้งครับ 555 บ่อยและนะเรา

เสพความรู้เต็มที่เลย

โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 18/03/2009 10:55:54


ความคิดเห็นที่ 19


ภาพ IR ของ A-10


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 25/03/2009 06:11:38


ความคิดเห็นที่ 20


ภาพ IIR จาก AIM-9X


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 25/03/2009 06:12:49


ความคิดเห็นที่ 21


Thermal IR ของ F-18

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 25/03/2009 06:15:50


ความคิดเห็นที่ 22


Thermal IR ของ F-18 เอาใหม่

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 25/03/2009 06:17:00


ความคิดเห็นที่ 23


Thermal IR ของ F-18 เอาใหม่อีกที


โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 25/03/2009 06:17:56


ความคิดเห็นที่ 24


 ตอบคุณ Champ ในกระทู้ http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=8797

สำหรับผมคิดว่า ระบบ Flare เดิมของ F-16 และ F-5 นั้นสามารถรับมือกับ Sam แบบ MANPAD ได้ครับเพราะพวกนี้ไม่มีระบบป้องกันการล่วง
แต่ก็อย่าประมาทนะครับ ถ้าเกิดศัตรูเราเลือกยิงโดยใช้วิธีเดียวกันกับที่
ใช้ยิง F-5 เราในสมรภูมิบ้านร่มเกล้าซึ่งยิงมาถึง 7 ลูกพร้อม ๆ กัน 
โอกาสโดนก็มีมากขึ้นเยอะครับ  


Ex ผมเข้าใจว่าเราคงสามารถคำนวณได้ดังนี้ครับ ค่า Pk ของลูกจรวด
SAM แบบ MANPAD จากปกติ 0.3 (30%) ถ้ายิงใส่เครื่องบินพร้อม ๆ
กัน 7 ลูกจะมีค่า Pk เป็นเท่าใด ?
 
Pk = 1-(1-0.3)^7  ซึ่งได้เท่ากับ  0.917 % หรือ 91.7 % เชียวนะครับ

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 25/03/2009 06:56:33