โดย นายอภิสิทิธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต่างประเทศมีความสนใจลงทุนในโครงการเหล็ก แต่การลงทุนของต่างประเทศจะต้องลงทุนในพื้นที่ที่มีเงื่อนไขชัดเจนคือ ต้องมีความต้องการเรื่องน้ำ ท่าเรือ และปัจจัยอีก 2-3 ปัจจัย ขณะเดียวกัน ก็จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และจะต้องให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม เพราะว่าที่สุดแล้ว โครงการนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องอยู่บนความยอมรับของพื้นที่ และจะต้องประสานกับผู้ที่สนใจที่จะลงทุนจากต่างประเทศด้วย
เผย4บ.ต่างชาติจ้องลงทุนเหล็ก
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจได้พิจารณานโยบายส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตเหล็กขั้นต้น เพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง ทั้งที่มีเสียงคัดค้านต่อต้านจากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) หลายแห่งกรณีการตั้งโรงงานเหล็กของบริษัท สหวิริยาสตีล จำกัด (มหาชน) โดย สศช.แจ้งที่ประชุมว่า มีบริษัทผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก 4 ราย แสดงความสนใจมาลงทุน ซึ่งหากมีการลงทุนเกิดขึ้น จะลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเหล็กคุณภาพสูงเฉลี่ยประมาณปีละ 180,000-200,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ผลิตเหล็ก 4 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท ARCELOR MITTAl จากเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก 2.บริษัท นิปปอน สตีล คอร์ปอเรชั่น จากญี่ปุน 3.บริษัท JFE จากญี่ปุ่น และ 4. BAOSTEEL จากจีน ทั้งหมดสนใจลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเหล็กขนาดใหญ่ วงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท โดย สศช.ศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างโรงงานไว้แล้ว ได้แก่ บริเวณแหลมช่องพระ อ.ประทิว จ.ชุมพร บริเวณบ้านแหลมทวด อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี บริเวณบ้านบางปอ อ.สีชล จ.นครศรีธรรมราช รวมถึงพื้นใน อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงทุนผลิตเหล็กต้นน้ำครั้งนี้ เป็นผลต่อเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระหว่างนั้นนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือกับบริษัทนิปปอน สตีล และบริษัทเจเอฟอี สตีล ที่สนใจมาลงทุนในไทย แต่ทั้งสองบริษัทต้องการให้รัฐบาลยืนยันถึงนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
ที่มาข่าว :http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1236778254&grpid=01&catid=05
สรุปแล้ว เราก็จะต้องรับจ้างเขาผลิตเหล็กอีกแล้วใช่ไหมครับเนี่ย ?
อ่านแล้วรู้สึกดี แต่ยัง งงๆ กะวรรคท้าย ที่ท่าน จขกท หยอดไว้................... คือ ต้องทำความเข้าใจกับการเปิดโอกาสให้ต่างชาติลงทุนก่อนครับ......................
คือเรื่องของเรื่อง ถ้าเป็นผู้ประกอบการชาวไทยทำเอง อันนั้นเป็นเลิศ แต่ความเป็นจริงคือ เรา บ่มีไก๊......................... ถามว่า การลงทุนระดับแสนล้านนี่ นักลงทุนไทยพอมีปัญญามั๊ย ผมเชื่อว่าพอมี แต่ปัญหามีอยู่ว่า สร้างโพรดัคมาแล้ว มันทำตลาดไม่ได้ คือขายของไม่ได้ การลงทุนระดับ แสนล้านนี่ มันเป็นลักษณะการสร้างฐานการผลิต ซึ่งทำออกขายทั่วโลก ไม่ใช่แค่ขายในประเทศที่เข้าไปตั้งโรงงานนั้นๆ....................
ผมยกตัวอย่างเช่น การตั้งโรงงานโตโยต้าในไทย ยุ่นเข้ามาตั้งโรงงานทำรถแล้วก็ส่งรถขายออกนอก บางส่วนขายในไทย ........................ ถามว่านักลงทุนไทยมีปัญญาทำอย่างนี้มั๊ย ตอบ มี แต่การสร้างผลิตพันธ์ภายใต้ชื่อสินค้าหนึ่งแล้วนำออกขายเป็นเทน้ำเทท่านั้นเป็นเรื่องยาก..................................... สร้างโพรดัค สร้างง่าย แต่สร้างแบรนมันยาก พี่น้อง...................สยามวีเอ็มซี ใครเคยได้ยินชื่อรถยี่ห้อนี้มั่ง ................. นี่แหล่ะตัวอย่าง..........................
กลับมาที่การลงทุน..................... ผมว่าการให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนบ้านเรานี่ ดีกว่านักลงทุนเราเองตั้งเยอะ.......................
อยู่ดีๆ มีคนขนเงินเข้ามาบ้านเราแสนล้าน เอามาตั้งโรงงาน จ้างคน จ้างงาน ถามว่า แสนล้านนี่ เราต้องส่งออก ขายทัวร์กี่ปีกี่ชาติ........................
ส่งออก ต้องใช้วัตถุดิบจากการนำเข้า สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเก่งก็สิบเปอรเซนต์ ส่งออกมูลค่า แสนล้าน กำไรอย่างเก่งก็หมื่นล้าน............................ นำเที่ยว กว่าจะได้แสนล้าน น้องหนูพัทยาสงสัยต้องทำงานกันจน ..... ปลิ้น.................................... ใครก็สนับสนุนการเข้ามาลงทุน ที่ผ่านมามีไอ้และอีบ้าบางคนมันเผาทุ่งไล่หนู ไล่นักลงสิงคโปร์ออกบ้าน ตั้งกฏหมายบ้าบอคอแตก เวียตนามส้มหล่น รับไปหลายหมื่นล้านดอลล่าร์..........................
เอาเป็นเลาๆ พอเห็นทางสว่างหรือยัง
สวัสดีครับพี่กบ ชอบคำว่าไอ้กับอีบ้าบางคน โดนมากๆ เวียดนามได้ทั้งอินเทลและไมรโคซอร์พเลยอิจฉามากๆ
อุตสาหกรรมที่ผมเสียดายอีกอย่างคืออุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์ที่ คุณ ชาญ �อ้ศวโชค �พยายามให้สยามประเทศมีอุตสาหกรรมต้นน้ำทางอิเลกทรอนิกส์ปัจจุบันหายไปกับกาลเวลา�