เหมือนได้ข่าวว่า ทอ.ฟิลิปปิน สนใจเครื่องบิน บ.ชอ.2 ของไทยเป็นจริงรึเปล่า....และถ้าจะเข้าประจำการเป็นเครื่องฝึกและโจมตีแทน AU-23ของ ทอ.ไทยได้หรือไม่....
ผู้รู้ทุกท่านช่วยแสดงความคิดเห็นหน่อยคับ...
จริงๆแล้ว เครื่องบินที่ ทอ.วิจัยพัฒนา และรวมถึงการซื้สิทธิบัติมาทำเอง(เอาแบบยุคหลังกึ่งพุทธกาลนะ) มีอยู่หลายแบบ ได้แก่ บ.ทอ. หนึ่งสี่ ห้า แฟนเทรนเน่อร์ และล่าสุด บ.ชอ.สอง (กำลังพัฒนาเป็น บ.ทอ.ติดเครื่อง เทอร์โบพร็อพ)...................
รุ่นที่ประสบผลสำเร็จงดงามคือ บ.ทอ.สี่ ซึ่งถูกพัฒนาเป็น บ.ฝ.สิบเจ็ด จันทรา (มิใช่จันคารานะจ๊ะ) มีการสร้างเข้าประจำการถึง สิบสองลำ และใช้ในราชการถึงสิบห้าปี รุ่นที่ท่าทางน่าจะเวอร์สุดแต่พลิกล็อค คือ บฝ.สิบแปด แฟนเทรนเน่อร์ แม้จะเป็นการสร้างตามแบบที่ได้วิจัยของต่างประเทศในรูปสิทธิบัติการสร้าง และมีจำนวนสั่งทำเข้าประจำการในกองทัพมากกว่าสามสิบลำ แต่การใช้งานจริงมีความปลอดภัยต่ำ จึงต้องปลดประจำการเร็วกว่าที่ควรเป็น แม้ขณะที่เปิดสายผลิต จะได้รับสัญญาจากบ.แม่(ชื่อ อะไรน้า ฟลุคๆ ซอยยาว อะไรเทือกนี้แหล่ะ แหม่ แต่ชื่อดั๊นไปคล้ายกะรถดับเพลิงที่เล่นเอาหล่อเล็กตกเก้าอี้ด้วยสิ) ให้สร้างส่วนปีกเพื่อส่งมอบในรูปซับคอนแทร้คฯ แต่อย่างว่าอ่ะ ในแง่การตลาดของต้นสังกัดคงไม่ดีนัก สังเกตจาก ไม่เห็นมีชาติไหนเค้าสั่งสร้างเข้าประจำการเป็นล่ำเป็นสันซักคน ไทยเป็นชาติเดียว (อีกแล้วคับถั้น......) ดังนี้ ในเรื่อง ค้าๆขายๆ ก็มีอันต้องพับไป ของที่ทำเองก็ดันใช้ไม่ได้ ส่วนไอ้ที่จะส่งออก ต้นสังกัดก็ดั๊น บ่อมีไก๊ ....................เรียบร้อยโรงเรียน ฟลุ๊ค ซอยยาว........................... มีต่อ
ทีนี้มาเรื่อง บ.ชอ.สอง ..................................... โดยวิถีทางอันเป็นรูปแบบการพัฒนา โครงการนี้ใช้หลักการ รีเอ็นยิเนียริ่ง ซึ่งฟังดูมันก็เข้าท่านะ เป็นวิชาการทางวิศวกรรมดีอยู่หรอก แต่ถ้าแปลไทยเป็นไทย (แบบไทยบ้าน ตาสีตาสา) ก็ต้องบอกว่า เป็นการใช้ความรู้ทางวิศวกรรม เพื่อลอกผลงานเค้านั่นแหล่ะ................นี่เกิดสร้างมาแล้วเวิร์ค ดังเปรี้ยงปร้าง ลูกค้าสั่งออร์เดอร์ทำกันระวิง มาเช็ตติ เค้าจะมาขอทวงค่าลิขสิทธิ์รึเปล่ามิทราบ.............................เอ้าคิดไปทำไมไกลตัว เอาใกล้ๆก่อนดีฝ่า เน๊อะ.......................
ว่าด้วย เอสเอฟ-สองหกศูนย์ ของมาเชตตี อิตาลี่ นี่ เคยประจำการในฝูงฝึกของทอ. ในนาม บ.ฝ.สิบห้ามาแล้ว ซึ่งปลดประจำการลงตรงปี สี่สอง นี่เอง โดยรับบทเป็นเครื่องบินฝึกศิษย์การบินระดับมัธยม (จริงๆน่าจะเป็นสาย ปวช มากกว่า เพราะมัธยมสายตรงสามัญ เค้าจะไปบิน ที-สามเจ็ด ทวินนี่กัน).......................
ทุกวันนี้ ทอ.ไทยเรา มีเครื่องฝึกมัธยมปีกตรึงแบบเดียว คือ พีซี-เก้า เห็นเค้าว่าเทียบได้กะเครื่องไอพ่นเลยนะนั่น ทีนี้ถ้าจะว่าไป เรามีเครื่องฝึกที่แรงน้อยกว่าซักหน่อย เน้นประหยัด เอาไว้ฝึกนักบินที่จะไปบินตรวจการณ์ หรือ ลำเลียง เครื่องแบบนี้ถือว่าน่าสน ทีสำคัญคือจะได้ช่วยยืดอายุ พีซี-เก้าให้ใช้ได้อีกนานโข....................
งานนี้ถือว่าไอเดียเจ๋ง.......................... คือเป็นที่รู้กันแล้วว่าเครื่องรุ่นนี้ป้อปปูล่าร์ งานนี้ถ้าทำใช้แล้วเว้อร์ค จำนวนสั่งสร้างมากพอที่จะการันตีเรื่องอะไหล่ได้ เชื่อว่าหลายๆกองทัพที่เคยใช้เอสเอฟ-สองหกศูนย์ น่าจะให้ความสนใจ........................... นี่มีข่าวขนาดว่าแค่วิจัย (ว้าวหรูจัง วิจัย???) พี่ปินส์ยังให้ความสนใจซะแล้ว.......................
ก็ขออวยพรให้ประสบผลสำเร็จ ทั้งในแง่เทคนิคส์ และ ในเรื่องการค้าควบคู่ไปด้วยกันนะครับ.........................ถ้าดัง โปรเจคหน้า วิจัยและสร้างเองเลย รีเอ็นยิเนียริ่ง ในชิวิตจริงมันหมิ่นเหม่ ครับ...................
เงอะ จริงเหรอครับ ผมวิ่งในบอร์ดฟิลิปปินส์ทุกวัน ยังไม่เห็นเขาพูดกันเลยครับ ^ ^"
ผมว่างานแรก ก่อนที่คิดจะไปขายให้ใคร ........ เอามันเข้าประจำการให้ก่อนครับผม ..... วิจัยให้ได้ผล เอามาแทน CT-4A/E รวมถึง T-41D ให้ได้ก่อนครับ น้อยคนที่จะซื้อของที่ไม่เคยประจำการในประเทศผู้ผลิต (และนั่นก็คือประเทศไทย - -a)
ส่วนเรื่องเข้าประจำการแทน Peacemaker ก็ต้องถามอีกนั่นแหละครับว่าทอ.ยังมีคงภารกิจแบบ Peacemaker ไว้หรือไม่ .... ความจริงส่วนตัวผมนะครับ จะมีภารกิจหรือไม่ ทอ.ก็ควรที่จะจัดหามาครับ อย่างน้อยลง 604 (6 ลำ), ลงโรงเรียนการบิน (สัก 24 ลำ), ลง บน.5 (สัก 20 ลำ) แค่นี้ก็คุ้มค่าที่จะเปิดสายการผลิตแล้วครับ แล้วก็ให้รัฐบาลถามกันไปว่าหน่วยงานไหนต้องการเครื่องบินบ้าง ทบ. ทร. เกษตร ป่าไม้ กระทรวงทรัพฯ .... รวมความต้องการ เผลอ ๆ ได้สักร้อยลำครับ
ทำเถอะครับ เลิกเสียทีคำว่า "สร้างเพื่อหาประสบการณ์" .... เพราะผมก็ไม่เข้าใจว่าหาไม่คิดจะใช้ประสบการณ์นั้นแล้วจะหาประสบการณ์ไปทำอะไร .... ผมฟังคนสวีเดนพูดแล้วจี๊ด เพราะเขาบอกว่าบ้านเขาจะได้ใช้หรือไม่ไม่รู้ แต่เขาก็จะซื้ออาวุธที่เขาผลิตเอง ซื้อเกินความตอ้งการด้วย ซื้อมาเก็บก็ไม่สนใจ แค่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมการทหารในประเทศ .... เทคโนโลยีจาก Gripen ก็ควรจะต้องเอามาใช้ เอามาถ่ายทอดให้หน่อวยงานอื่น ถ้าทอ.จะยังกั๊กไว้คนเดียว ยังจะหาประสบการณ์โดยไม่คิดจะใช้อยู่แบบนี้ .... ยกเลิก deal ของ Gripen แล้วไปซื้อ F-16 มาเถอะครับ!
ผมยังรอฟังจากทอ.และท่านผบ.ทอ.อยู่นะครับว่าทอ.จะทำอย่างไรกับบ.ชอ.2 (ซึ่งจะต้องกลายมาเป็น บ.ชอ.6) และเทคโนโลยีที่ได้รับถ่ายทอดมาครับ ยังไงผมยังมั่นใจว่าท่านเป็นคนเก่ง อย่าทำให้ทุกคนที่มองดูท่านอยู่ผิดหวังเลยนะครับ
เอาเป็นว่า บ.ชอ.๒ คงจะสร้างได้แค่เครื่องเดียว...และไม่สามารถสร้างขายใครได้..เพราะจะผิดกฎหมาย..ง่ายๆ เพราะ บ.ชอ.๒ คือกอปปี้ SF-260 มาทั้งดุ้น...
แต่โครงการ พัฒนา บ.ทอ.๖ หละก็ไม่แน่ครับ
รูปแบบการพัฒนา บ.ฝึกใบพัดเพื่อใช้ประจำการเป็นจำนวนมากและส่งออกน่าจะดูแบบแผนการพัฒนาจาก KT-1 ของเกาหลีใต้ด้วยส่วนหนึ่งครับ เพราะ บ.KT-1 นี้จริงๆต้นแบบก็มาจาก PC-9 และ T-6 Texan II ซึ่งที่เคยทราบมาในช่วงการพัฒนาแรกๆมีการเชิญผู้ชำนาญการจาก Pilatus สวิสเซอร์แลนด์มาทำการอบรมการออกแบบเครื่องบินครับ
อย่างไรก็ตามถ้า บ.ฝึกใบพัดแบบใหม่ของไทยสร้างออกมาสำเร็จและสามารถผลิตใช้งานได้เป็นจำนวนมากๆจริง โอกาสในการแข่งขันในภูมิภาคนี้ก็คงมีไม่มากนักอยู่ดีครนับ ถ้าเทียบกับ บ.แบบอื่น เช่น KT-1 ของเกาหลีใต้เองก็ได้รับการจัดหาจากอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก และตุรกีก็จัดหาไปเพราะพร้อมกับสิทธิบัตรในการผลิตประกอบเองในประเทศครับ เพราะ KT-1 นี้ถ้านับจริงๆโครงการเริ่มพัฒนาต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า20ปีครับ
เอาใจช่วยครับ ขอให้ บ.ทอ.๖ ได้แจ้งเกิดแล้ว Go inter ซะทีครับ
เอาเถอะ ผมจะรอดูว่า บ.ทอ.๖ จะแจ้งเกิดในกองทัพหรือเป็นแค่เครื่องต้นแบบเพื่อหาประสปการณ์
ขออนุญาต Share ความเห็นครับ
ตีลูกให้ถึงดวงจันทร์ ถึงพลาดก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว
ปล. เคยได้ยิ่งในโฆษณาครับ
เป็นการพิสูจน์อะไรบางอย่างของ ทอ เพราะเป็นเหมือนข้อสอบเลยครับ
เพราะพูดถึง ทร เอง ก็พิสูจน์หน่วยงานของ ทร ให้เราเห็นเสมอ จนตัวผมเข้าใจว่า สิ่งที่ ทร ทำ ต้องการนำมาใช้งาน เพื่อลดการพึ่งพาจริงๆ
จริงๆ ผมว่า ทั้ง บ.ชอ๒ บ.ทอ.๖ และถ้าเวอร์คจริง กลายเป็น บ.ฝ.๒๐ เราน่าจะต้องขออนุญาติผลิตจากเจ้าของทั้งหมดครับ........................
เรื่องมีอยู่ว่า ทอ.ต้องการเครื่องบินฝึกเข้าประจำการอีก ๑ ฝูง เพื่อใช้งานควบคู่กับ บ.ฝ.๑๙ (เหมือนกรณี แฟนเทรนเน่อร์ คู่กับ ที-๓๗ ทวินนี่) แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมการสร้างเครื่องบินของไทย เครื่องฝูงนี้ ทอ.จะสร้างขึ้นด้วยตัวเอง...................
และเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการวิจัยพัฒนา (และ/หรือ ทอ. เองอาจตระหนัก และเข้าใจในการประเมินขีดความสามารถของตัวเอง อย่างเช่นกรณีความล้มเหลวของ บ.ทอ.๕) เครื่องที่จะสร้างจึงต้องใช้แผนแบบจากแหล่งอื่น ........................... และเพื่อเป็นการไม่ก้าวผิดเป็นครั้งที่สอง(เช่นกรณี เครื่องฝึกแฟนเทรนเน่อร์) แผนแบบที่เลือกมานั้น ควรเป็นเครื่องบินที่ใช้งาน หรือเคยใช้งานในกองทัพ และผ่านการยอมรับจากนักบินแล้วว่า ใช้งานได้อย่างดีและปลอดภัย..........................มีต่อ
ภาพ เอสเอฟ-๒๖๐ เมื่อครั้งประจำอยู่ที่ฝูงฝึกการบิน โรงเรียนการบินกำแพงแสน
เอสเอฟ-๒๖๐ คือคำตอบ............................ ตลอดระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปี ที่เครื่องบินรุ่นนี้รับใช้กองทัพอากาศ ได้รับการการันตีแล้วว่า น่าจะเป็นเครื่องบินที่ดีหากได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคสมัย และนำกลับเข้ามาใช้ประจำการอีกครั้งหนึ่ง..............................
ปัญหาหลักติดอยู่ที่ว่า สายการผลิตได้ปิดตัวลงนานแล้ว และเชื่อว่าพาร์ทหลายตัว บริษัทเจ้าของการผลิต น่าจะเลิกทำไปแล้ว ................ซึ่งนั่นก็จะได้เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาเพื่อนำเอาสิ่งที่สามารถจัดหามาได้ตามแก่ความเหมาะสมของกาลเวลา เพื่อนำมาพัฒนาให้เครื่องชนิดนี้กลับมาเปิดสายการผลิตได้อีกครั้ง ในเวอร์ชั่นเมดอินไทยแลนด์ .................... การแก้ปัญหา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอยู่ในขั้นวิจัยจะทำอย่างไรนั้นจะได้กล่าวในลำดับต่อไป................... มีต่อ
ภาพ....เอสเอฟ-๒๖๐ พีที เปิดตัวโดยเจ้าของผู้ผลิตในปี ๒๕๒๖ ในเวอร์ชั่น เครื่องเทอร์โบพร้อพ ของโรนสรอย แรงขับ ๓๕๐ แรงม้า ใช้งานในหลายกองทัพ ปัจจุบันได้ทะยอยปลดประจำการ และหลายลำตกอยู่ในเมือนักเล่นเครื่องบินผู้มากทรัพย์..............................
ลำดับขั้นการวิจัยและพัฒนา
ขั้นแรก เป็นการร่ายมนต์เรียกวิชาของเหล่ายอดฝีมือ ................. ขั้นนี้เป็นการสร้างเครื่องบินในเวอร์ชั่นเดิม โดยพาร์ทต่างน่าจะเป็นของเท่าที่มีอยู่และจัดหาได้ วัตถุประสงค์ขั้นตอนนี้คือ การเสริมสร้าง และทบทวนทักษะงานสร้างและประกอบเครื่องบินเป็นหลัก .... ................ผมเชื่อว่าพาร์หลายตัว น่าจะเป็นของที่ยังพอมีในท้องตลาด ในส่วนที่จัดหาไม่ได้ อาจพึ่งพาพาร์ทเก่าเท่าที่มีอยู่หลังปลดประจำการเอสเอฟ-๒๖๐ เมื่อหลายปีก่อน สำหรับ โครงสร้างและลำตัว เชื่อว่าคงไม่พ้นมือระดับอ๋อง ที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างและประกอบ แฟนเทรนเน่อร์มาแล้วหลายสิบลำ................................. ผลงานที่ออกมา ได้รับการตั้งชื่อเป็น บ.ชอ.๒ ..........................
ขั้นที่สอง เมื่อกระบวนการลับฝีไม้ลายมือผ่านเป็นผลงานออกสู่สาธารณชนเป็นรูปร่างใช้ได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบ.................เอาหล่ะ ทีนี้เอาจริงหล่ะนะ....................อย่างที่กล่าว การนำเครื่องบินรุ่นเก่ากลับเข้าประจำการอีกครั้งหนึ่งนั้น ก็ควรต้องได้รับการพัฒนาให้เหมาะสม ทันยุคทันสมัย................. การเลือกเอาโครงงานซึ่งเป็นผลของการต่อยอดจากบริษัทผู้ผลิตในอดีต มาสานต่อให้สมบูรณ์อีกครั้ง จะเป็นการลดภาระการค้นคว้าวิจัยลงไปได้อีกเยอะ................ เอสเอฟข๒๖๐ พีที คือหัวข้อที่จะได้กล่าวต่อไป............มีต่อ
การปิดสายการผลิตลงเป็นเวลานาน ทำให้การจัดหาพาร์เพื่อสนับสนุนการประกอบสร้าง จากแหล่งเดิมมีโอกาสเป็นไปได้น้อย.......................
ในขั้นตอนต่อไปนี้ จะเป็นเรื่องของการประยุกต์ เพื่อจัดหาพาร์ทจากแหล่งใหม่ .....................
ดังที่ทราบ ถ้าเป็นเรื่องของโครงสร้างและลำตัวนั้น เราพึ่งพาตัวเองได้ แต่ถ้าเป็นชิ้นงานที่ซับซ้อน งานนี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตภายนอกซึ่งเขามีความชำนาญ และเป็นผู้ผลิตพาร์ทป้อนแก่บริษัทผลิตเครื่องบินทั่วโลก และที่สำคัญคือ ชิ้นส่วนนั้นๆไถ้เกิดเค้าเลิกทำการผลิตไปนานแล้ว การจัดหาการทดแทนจากแหล่งอื่น ซึ่งก็อาจมีคุณสมบัติทางกายภาพแตกต่างจากชิ้นส่วนเดิมที่เคยใช้ นั่นเป็นการแก้ปัญหาระดับน้องๆงานวิจัย.................... ยกตัวอย่างเช่น แลนดิ้งเกียร์ ในกรณีรุ่นที่ใช้เลิกผลิต การจัดหารุ่นที่มีคุณสมบัติและขนาดใกล้เคียงเพื่อนำมาติดตั้งใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย .............. เพราะอากาศยานจะเน้นความสำคัญเรื่องจุดศนย์ถ่วง การเปลี่ยนพาร์ท ซึ่งอาจมีขนาด น้ำหนัก หรือจุดยึดติดที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ซีจีเปลี่ยนแปลง และนั่นย่อมส่งผลต่อหลักอากาศพลศาสตร์............................... ไม่แน่ เปลี่ยนแลนดิ้งเกียร์ใหม่ อาจส่งผลให้ต้องขยายพื้นที่ปีก หรือเพิ่มความยาวของดุมใบพัด ........................ฟังแล้วมันหมูใหมหล่ะท่าน.................................มีต่อ...............
เข้าไป update ข้อมูลของ บ.ทอ.๖ กันหน่อยครับ
http://www.dae.mi.th/PrototypeDesign_6_Aircraft.htm
หวังว่าวันเด็กปี 54 คงจะได้ชมเป็นขวัญตานะครับ
คู่แข่งรายสำคัญของ บ.ทอ.๖
เป็นทางแยกที่สำคัญโดยจะเลือกระหว่าง CT-4F หรือ บ.ทอ.๖ ดีนะ
ข้อมูลของ CT-4F ครับ
http://www.thaic-130.com/content_954_16395_TH.html3
http://www.aerospace.co.nz/cms_resources/Australian%20Aviation%20CT-4F.pdf
ปล. จาก User จะกลายเป็น Developer ได้ไหมนะ
บ.ทอ.๖ ก็คือ บ.ชอ.๒ ที่เปลี่ยนเครื่องยนต์จาก ลูกสูบนอน เป็นเทอร์โบ ครับ...จากนั้นก็พัฒนาปีกให้แข็งแรงเพื่อติดอาวุธได้ด้วย...
...การวิจัยและพัฒนาอากาศยานแบบต่างๆ ของกองทัพอากาศ สามารถดำเนินการได้ เป็นรูปธรรม แต่การพัฒนาเพื่อสร้างเข้าประจำการยังติดระบบราชการ และระเบียบการบินต่างๆ อยู่มาก...หากจะสร้างเพื่อขายได้นอกเหนือจากการประจำการใน ทอ. อาจจะต้องโอนงานสร้างไปให้ TAI เพราะมีศักยภาพ และมีการขออนุญาตหรือสามารถพัฒนาไปสู่การขอใบอนุญาตของ FAA ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลได้..เมื่อนั้น บ.ทอ.๖ จะเป็นเพียงต้นแบบที่พัฒนาไปสู่การเปิดสายการผลิต ในรูปของชื่อ มาตราฐาน เช่น T-1A "กินรี" เป็นต้น.......
สุดท้ายอยู่ที่รัฐบาล.....รัฐบาลต้องซื้อเองครับ...สั่งซื้อ ๕๐ เครื่องแรก แบบที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ เขาทำ...ซื้อเพื่อเปิดสายการผลิต...แล้วก็มอบให้ โรงเรียนการบิน ทอ. ประเดิม ๒๐ เครื่อง สถาบันการบินพลเรือน ๒๐ เครื่อง อีก ๑๐ เครื่องให้โรงเรียนการบิน ทบ. .....จากนั้นราคาจะถูกมีมาตรฐาน..ก็จะมีการจัดสร้างเพิ่ม...อาจจะเป็น T-1 B รุ่นใช้งานพลเรือน....T-1 C รุ่นส่งออกทางทหาร...T-1 D รุ่นติดอาวุธ ....ฯลฯ
ถ้าเอกชนอยากเข้ามาแจมนี่ ทอ จะว่าไงบ้างครับท่านท้าว เตรียมการรองรับหรือเปล่าครับ หรือว่าเป็นไปไม่ได้