911 ถ้าจะใช้เป็นฐานฝึกปล่อย UAV หรือ DRONE จะได้ไหมครับ
คือคิดว่าน่าจะสามารถ จำลองการปฏิบัติการในทะเล โดยใช้ UAV&DRONE เป็นส่วนหนึ่งในการ ตรวจการณทางท้องทะเล หรือใช้เป็นการฝึก ในการปฏิบัติการเชิงยุทธการ เช่นทำเป็น DRONE โจมตี UAV ติดอาวุธเป็นต้น
ผมว่าช่วยประหยัด เรื่องค่าใช้จ่ายเครื่องบินตรวจการณ์ได้เยอะนะครับ(IDEA) ถ้าทำได้นี่แจ๋วเลย
ได้ครับ
ผมเคยเสนอความคิดแบบนี้ไปหนนึงแล้วเมื่อไม่นานนี้เอง
เครื่องบินประจำบน 911 ไม่ต้องหาเข้าประจำการแล้ว แต่ใช้ UAV แทน ถูกกว่าในทุกด้าน แต่แน่นอนขีดความสามารถก็ลดลงด้วย จริงๆแล้วผมเห็นด้วยที่จะให้ ท้องน้ำเป็นของปลา (ฉลามเหล็ก) ท้องฟ้าเป็นของนก(เหล็ก) แต่ UAV จะช่วยอุดช่องว่างที่จะเกิดขึ้นได้ทางยุทธวิธี
เพียงแต่จะเป็นรุ่นไหน ของประเทศอะไร ถึงจะตอบสนองความต้องการนี้
General characteristics
Performance
Armament
2 hard points
UAV ที่จะปฏิบัติการบน ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ คุณสมบัติเบื้องต้นควรจะเป็นอากาศยานแบบที่ทำการบินขึ้นลงทางดิ่งครับ MQ-8 Fire Scout
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/81/USS_Nashville_LPD-13_with_Fire_Scout.jpg
หรือที่เป็นแบบรางดีดอย่าง Scan Eagle (ซึ่งเวลาลงจอดต้องใช้ตาข่างกางรับ)
http://www.defenselink.mil/transformation/images/photos/2006-08/Hi-Res/060823-N-8547M-040.jpg
ซึ่งการใช้ บ.UAV ลักษณะนี้จะมีประโยชน์มากสำหรับการตรวจการณ์ในทะเลครับ
แต่การใช้ บ.UAV ที่ขึ้นลงตามปกติและติดอาวุธได้เช่น MQ-9 Reaper นั้นไม่น่าจะสามารถปฏิบัติการจากดาดฟ้า ร.ล.จักรีนฤเบศรได้ครับ คงจะปฏิบัติการจากฐานบินบนฝั่งมากกว่า และ บ.UAV ติดอาวุธก็ดูจะไม่อยู่ในความต้องการของกองทัพเรือครับ
จะได้ หรือ ไม่ได้...ก็คงต้องมีการทดสอบ หรือ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการแสดงผล ครับ...เช่น บริษัทฯ นี้ รับทำครับ...(ถ้ามี กะตังค์)
10:49 GMT, March 2, 2009 SINGAPORE | ScanEagle, a long-endurance, fully autonomous unmanned aircraft system (UAS) developed by The Boeing Company [NYSE: BA] and subsidiary Insitu, today successfully completed a ship-based trial with the Republic of Singapore Navy (RSN).
The trial included both an RSN LST (Landing Ship, Tank) and a frigate. ScanEagle was launched and recovered from the ships helicopter decks, flying day missions using an electro-optical camera payload and night missions using an infrared camera payload.
During the flights, the ScanEagle UAS successfully demonstrated sea-based launch and recovery capabilities and the ease with which the physical ground support equipment and control hardware can be integrated onboard. All tactical objectives and operational scenarios set for the flights were achieved.
"ScanEagle performed exceptionally well during the trials and proved it has the potential to be an asset for building the RSNs organic ship-based unmanned aerial vehicle capability," said Andrew Duggan, ScanEagle program manager for Boeing Defence Australia. "The ScanEagle UAS adds another dimension to persistent situational awareness for the ships crew and generates actionable intelligence, surveillance and reconnaissance information."
Boeing Defence Australia provided a complete maritime ScanEagle system for the trial, including a ground control station, communication links, launcher and SkyHook recovery system. A Boeing Insitu team deployed to Singapore for the entire trial.
The ScanEagle UAS has operated from a variety of maritime platforms, most notably U.S. Navy ships since 2005, achieving 1,500 launches and recoveries. It has also operated from a UK Royal Navy Type 23 frigate and from commercial vessels.
Boeing Defence Australia began operating ScanEagle in December 2006. Since then, it has surpassed 16,000 flight hours supporting Australian Land Forces overseas as well as delivering in-country operator and field maintainer training.
ขอบคุณท่าน JULDASครับสำหรับข้อมูล
ทดสอบใกล้บ้านเรานี่เองครับ
คงช่วยได้เยอะมากนะครับที่ผ่านมาก็พึ่งเรดาร์ ประมวลผล ข่าวกรอง และเครื่องบินตรวจทะเล
ถ้ามีตัวช่วยคงประหยัดได้เยอะ เช่น เรือที่ลอยลำอยู่ในน่านน้ำ ถ้าอยากตรวจสอบ และลอยลำไม่ไกลรัศมี UAV ถ้าเราอยากทราบ ก็ใช้มันบินเข้าไปดู อาจจะได้คำตอบที่ชัดเจนที่สุด ว่า เขามาทำอะไรผิดกฎหมายหรือเปล่าเป็นต้น
เข้าหลัก ประหยัด,ประสบการ,ประสิทธิภาพ,ประกาศศักยภาพ,ประชาชนประสบสุข เลยนะครับ
เท่าที่ดูการพัฒนากองรบ ของ ทร. ในขณะนี้...ผมว่า UAV อาจจะมาเร็ว ๆ นี้ก็ได้ครับ...ซึ่ง ความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า...น่าจะเป็น UAV แบบปฏิบัติการจากบนฝั่งมากกว่า...ตอนแรก ผมก็คิดว่า น่าจะเป็น UAV แบบ ติดตั้งบนเรือ...แต่เมื่อมองถึงภาวะเศรษฐกิจ...และการพัฒนา หน่วยสงครามพิเศษ ของ ทร. และ การจัดหาอาวุธของ นย.
ประกอบกับ ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การปฏิบัติการลาดตระเวณด้วย UAV น่าจะประหยัดงบประมาณมากกว่า...รวมถึงใช้ในภาระกิจ SAR ได้ด้วย....และน่าจะพอเป็นเหตุ-ผล ในการของบประมาณของ ทร. ซึ่งเป็นไปตามแผนการจัดหา...จาก รัฐบาล...
ในจำนวน 9-12 ลำ...ความเห็นส่วนตัว...ผมมองไปที่ UAV จาก อิสราเอล...ที่ ทร.ในหลายประเทศ มีการจัดหาเข้าประจำการ...ทั้ง ออสเตรเลีย และ อินเดีย...
ตอนนี้ ผมเชียร์ Heron...(ทำไมถึงเชียร์ Heron เพราะดูลักษณะแล้ว อนาคตน่าจะสามารถพัฒนาติดตั้งระบบติดตั้งต่าง ๆ จากของเดิมได้...และในแง่การตรวจการณ์ทางทะเล) สำหรับงบประมาณ ราคาน่าจะ 80 - 100 ล้านเหรียญ...หรือ อาจจะต่ำกว่า โดยเป็นราคาที่อาจจะไม่เป็นการเปิดเผยโดยทั่วไป...
ถ้าดูจากคุณสมบัติของ UAV ตามโครงการของกองทัพเรือแล้วส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็น บ.ลักษณะเดียวกับ Searcher ที่กองทัพบกมีใช้มากกว่าครับ เพราระบุไว้ว่าต้องการ บ.ที่มีระยะปฏิบัติการ 100ไมล์ทะเลขึ้นไปแต่ไม่กำหนดระยะเวลาใช้งานและเพดานบิน