ตามที่รัฐบาลรัสเซียค้างชำระหนี้ค่าข้าวไทยเป็นเงินประมาณ 36.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนายก รัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผู้แทนการค้าไทยเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ดังกล่าว
กองสนเทศเศรษฐกิจ
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
คงต้องเพิ่มเงินอีก4-5ร้อยล้านครับน่าจะหักจากค่าตัวของ Mi-17 น่าจะสูสีกันหน่อย
ที่มาของหนี้มาจากดครงการนี้ครับ
สินเชื่อเพื่อการส่งออก
การค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) / ชำระเงินแบบทวิภาคี ( Bilateral Payments Arrangement: BPA)
1. ความเป็นมา
1.1 ระบบการชำระเงินแบบทวิภาคี (BPA) หรือ Account Trade เป็นระบบการค้าขายสินค้าในรูปแบบหนึ่งที่คู่ค้าทั้งสองฝ่ายไม่ต้องชำระเงินโดยตรงในทันที แต่ให้มีการบันทึกบัญชีระหว่างกันไว้ และจะทำการหักกลบลบหนี้ (Net Settlement) เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ผ่านธนาคารตัวแทน ของทั้งสองประเทศ ฝ่ายที่มีฐานะเป็นลูกหนี้จะชำระเงินเฉพาะส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ย ตามอัตราดอกเบี้ยและสกุลเงินที่กำหนดไว้
1.2 วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศผ่านกลไกแบบทวิภาคี (เนื่องจากไม่ต้องใช้เงินสกุลหลักอีกทั้งคู่ค้าทั้งสองฝ่ายไม่ต้องชำระเงินโดยตรงในทันที) / เพื่อลดการใช้เงินสกุลแข็งและไม่ต้องชำระเงินผ่านศูนย์กลางการเงินเช่น New York ในกรณีเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ / เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ส่งออกในกรณีขายให้แก่ประเทศที่ขาดแคลนเงินสกุลแข็ง/ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
1.3 รูปแบบ BPA แบ่งเป็น แบบที่มีธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมโครงการกับแบบไม่มี
1.4 ข้อดีของการทำ BPA คือช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ ลดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินและอื่นๆ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธนาคารตัวแทน สร้างความมั่นใจระหว่างผู้ส่งออกทั้ง 2 ประเทศเนื่องจากมีธนาคารตัวแทน(รัฐบาล) เข้ามาช่วยค้ำประกันความเสี่ยงในการค้า เป็นต้น ส่วนความเสี่ยงของธนาคารตัวแทนได้แก่ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากการชำระเงินด้วยสกุลเงินที่แตกต่างกับความเสี่ยงทางการค้าและการเมืองอันเนื่องมาจากการรับรองการชำระเงินภายใต้ L/C
การค้าแบบหักบัญชีมีวิธีปฏิบัติเหมือนกับวิธีทำการค้าระหว่างประเทศตามปกติ เพียงแต่ไม่ต้องใช้เงินตราสกุลหลักในการชำระเงินเท่านั้น แต่ต้องมีการเปิด L/C เช่นกันแต่จะมีเครดิตมากกว่าเนื่องจากมีธนาคารตัวแทนของแต่ละประเทศเป็นผู้ค้ำประกัน L/C
1.5 รัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เป็นธนาคารตัวแทนในการดำเนินการเรื่องการค้าแบบหักบัญชี ซึ่งธสน.ได้ศึกษารูปแบบดังกล่าวไว้ 3 แบบ ได้แก่ การค้าแบบให้เครดิตฝ่ายเดียว(Trade Financing Account) การค้าแบบให้เครดิตซึ่งกันและกัน(Bilateral Payment Account) และการค้าแบบให้เครดิตอย่างต่อเนื่อง (Revolving Term Credit Account) การจะเลือกแบบใดหรือเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมโดยคำนึงถึงระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศคู่ค้า
1.6 ที่ผ่านมาธสน.ได้ดำเนินการการค้าแบบหักบัญชีโดยเน้นแบบ BPA กับประเทศต่าง ๆ รวม 12 ประเทศ ( ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2546) ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหภาพพม่า อิหร่าน ปากีสถาน ซิมบับเว เกาหลีเหนือ บังคลาเทศ ลาว สหพันธรัฐรัสเซีย ปาปัวนิวกินี
1.7 ข้อสังเกต
- ความคิดในการทำการค้าแบบหักบัญชีมีมานานแล้ว แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ด้วยเห็นว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่าการค้าตามวิธีการปกติ เนื่องจากมีต้นทุนและอาจไม่คุ้มค่า การผลักดันให้มีการดำเนินการจึงเป็นการคำนึงถึงความคุ้มค่าในด้านอื่นๆที่มิใช่ด้านเศรษฐกิจ เช่น ด้านการเมืองหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กรณีของไทยได้พัฒนาแนวความคิดมาจากการทำ BPA ของมาเลเซีย
- ความแตกต่างระหว่าง Account Trade, Counter Trade, Barter Trade คือAccount Trade จะเป็นการที่ฝ่ายลูกหนี้ชำระเฉพาะส่วนต่างของมูลค่าสินค้าที่ซื้อขายพร้อมอัตราดอกเบี้ย แต่ Counter Trade จะต้องมีการชำระเงินค่าสินค้าเป็นบางส่วน ส่วนที่เหลือจึงชำระเป็นสินค้า ส่วน Barter Trade เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันโดยไม่มีการชำระเงินค่าสินค้า
- รัฐบาลต้องเร่งทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการเกี่ยวกับวิธีการทำการค้าแบบหักบัญชี ให้มากขึ้น โดยต้องแยกบทบาทของรัฐบาลกับภาคเอกชนให้ชัดเจน
- Account Trade จะทำให้ผู้ส่งออกขาดรายได้หรือเสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากไม่มีการใช้เงินตราสกุลหลักในการชำระเงินค่าสินค้า
- รูปแบบการทำ Account Trade และ Counter Trade มีความคล้ายคลึงกันและมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้เงินสกุลหลัก ดังนั้น จึงอาจเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน
- ความสำเร็จของ Account Trade ขึ้นอยู่กับความต้องการสินค้าที่แตกต่างกันของประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ รัฐบาลจึงต้องเลือกประเทศคู่ค้าที่มีสินค้าส่งออกต่างจากประเทศไทยและควรเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูปเพื่อนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการส่งออก
- รัฐบาลควรส่งเสริมให่มีบริษัทการค้าระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยในการขายสินค้าที่ต้องนำเข้าจากประเทศคู่ค้าเพื่อมาหักบัญชีกัน
ปี 2537 มติครม.อนุมัติขายข้าวให้รัสเซียตามโครงการ BPA จำนวน 200,000 ตันวงเงิน 79.83 ล้านเหรียญUSD แต่ทางรัสเซียผิดชำระหนี้หลายงวดและมียอดค้างชำระหนี้อยู่ที่ 36.44 ล้านเหรียญUSD (ยังไม่รวมดอกเบี้ย) เลยมีแนวทางที่จะให้ชำระหนี้ด้วย Mi-17V5 , ANSAT หรือ อาวุธตามที่ ทบ.ต้องการ
สำหรับหนี้ที่มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับชำระคืนมากที่สุด คือ หนี้ข้าวรัสเซีย เพราะมีการเจรจากันในหลักการและวิธีการที่จะชำระคืนหนี้ค่าข้าวให้ไทยแล้ว
ปัจจุบัน รัสเซียเป็นหนี้ค่าข้าวไทยมูลค่า 40.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติในหลักการการรับชำระหนี้จากรัสเซียไว้ 4 แนวทาง คือ 1.เจรจาให้รัสเซียจ่ายเป็นเงินสด 40.54 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมดอกเบี้ย 2.แลกกับเฮลิคอปเตอร์รุ่น MI 17V5 จำนวน 3 ลำ มูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 997 ล้านบาท และอีก 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้ชำระเป็นเงินสด
3.แลกเปลี่ยนเฮลิคอปเตอร์เหมือนแนวทางที่ 2 แต่ที่เหลือ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และให้แลกเปลี่ยนเป็นสินค้าตามที่กองทัพบกต้องการ และ 4.ตามข้อเสนอใหม่ของกองทัพบก รับชำระหนี้เป็นเฮลิคอปเตอร์รุ่น ANSAT เพื่อนำไปใช้ในภารกิจภาคใต้ ซึ่งกองทัพบกได้ขออนุมัตินำเข้า 8 ลำ เป็นงบผูกพัน 2,000 ล้านบาท โดยให้หักจากค่าข้าวก่อน 40.54 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท ที่เหลือ 800 ล้านบาท ไทยจ่ายชำระค่าเฮลิคอปเตอร์เป็นเงินสด
ผมละ สงสาร ทร.จริงๆๆ ไม่เคยจะได้ของสำคัญมากๆๆเลย
เมื่อไรเขาจะมองความสำคัญของเรือดำน้ำสักที ไม่ซื้อให้ก็
ต่อเอง อะไรก็ทัพบก เพราะผมคนหนึ่งละ ทำงานที่
กองทัพบก อยากให้ ทร. ก่อนแต่ไม่มีอำนาจขนาดนั้นนี่สิ