อนาคตเรือดำน้ำไทย: เพื่อยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ในข้อเท็จจริง กองทัพเรือ มีแนวความคิดที่จะปรับปรุง และสร้างกำลังรบทางเรือให้เข้มแข็ง มีความทันสมัยเพื่อถ่วงดุลอำนาจทางทะเลกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชีย เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ทั้งการเดินเรือพาณิชย์ การคุ้มครองเรือประมง และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่นแหล่งก๊าซ ตลอดจนแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลไทย จากการติดตามข่าวสิ่งที่กองทัพเรือได้นำเสนอเรียกร้องขอมาโดยตลอดแต่ก็ยังไม่มีรัฐบาลใดเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์อันจะพึงได้รับนั่นก็คือ เรือดำน้ำ แต่ก็ใช่ว่าประเทศไทยเราจะไม่เคยมีเรือดำน้ำมาก่อนเลยก็หาไม่ แท้จริงแล้วประเทศเราเคยมีเรือดำน้ำมาก่อนซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศเป็นอย่างมาก
ในระยะแรกนั้น เรือดำน้ำเป็นกำลังรบที่ใหม่ ทรงอานุภาพทางทะเลมากที่สุด เพราะสามารถกำบังตัว หรือหลบหนีด้วยการดำน้ำ สามารถเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ซึ่งเรือผิวน้ำไม่สามารถเข้าไปได้ และมีอาวุธตอร์ปิโดอันเป็นอาวุธสำคัญที่เป็นอันตรายแก่เรือผิวน้ำมากที่สุด ไม่มีเครื่องมือค้นหา และอาวุธปราบเรือดำน้ำที่จะทำอันตรายแก่เรือดำน้ำได้ ดังเช่นปัจจุบันนี้ จึงนับได้ว่าเรือดำน้ำ เป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
โครงการนี้ได้กำหนดให้มี เรือ ส.(1) จำนวน 6 ลำ ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้อธิบายไว้ว่า เรือ ส. คือเรือดำน้ำสำหรับลอบทำลายเรือใหญ่ข้าศึก .. แต่ยังกล่าวให้ชัดไม่ได้เพราะยังไม่เคยลงแลลอง แต่ที่พูดถึงด้วยนี้โดยเห็นว่าต่อไปภายหน้าการศึกษาสงครามจะต้องใช้เป็นมั่นคง แต่ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ เวลานั้นเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่นาวีของมหาอำนาจในยุโรปกำลังพัฒนาและทดลองใช้อยู่
ต่อมาใน พ.ศ. 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ออกจากประจำการ และต้องจ้าง นาย ทหารเรือไทยและคนไทยได้มีโอกาสเห็นเรือดำน้ำจริงๆ เป็นครั้งแรกที่ไซ่ง่อน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2454 ในโอกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสอินโดจีนฝรั่งเศส ได้จัดเรือดำน้ำมาแล่น และดำถวายให้ทอดพระเนตรในบริเวณที่เรือพระที่นั่งมหาจักรีเทียบท่าอยู่
เรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย (มี 4 ลำ) 1. ร.ล.มัจฉาณุ ลำที่สอง (ร.ล.มัจฉาณุ ลำที่หนึ่ง เป็นเรือใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) 2. ร.ล.วิรุณ 3. ร.ล.สินสมุทร 4. ร.ล.พลายชุมพล เรือเหล่านี้ขึ้นระวางประจำการและ ได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญคือ เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจากที่ ร.ล.ธนบุรี และเรือตอร์ปิโดถูกเรือรบฝรั่งเศสยิงจมแล้ว เรือดำน้ำ 4 ลำได้ลาดตระเวนเป็นแถว อยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมงขึ้นไป นับเป็นการดำน้ำที่นานที่สุดตั้งแต่เริ่มมี หมวดเรือดำน้ำเป็นต้นมา
สำหรับกองเรือของไทยปัจจุบันมีกี่ลำสามารถดูได้ที่เรือรบหลวงราชนาวีไทย http://us.geocities.com/ming1627b/rtn-ship.htm เมื่อหันกลับมามองเรือดำน้ำของประเทศเพื่อนบ้านตอนนี้ประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับบ้านเราทั้งฝั่วอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่มีเรือดำน้ำคือ
ดูสรรพกำลังของกองเรือสิงคโปร์ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Republic_of_Singapore_Navy
ไม่แน่ครับว่าเรือดำน้ำเหล่านี้อาจจะเป็นภัยคุกคาม ที่สำคัญต่อการรักษาสมดุลย์ของกำลังทางเรือของชาติต่างๆ ในภูมิภาค รวมทั้งจะเสริมสร้างขีดความสามารถในการสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือของชาติที่มีเรือดำน้ำประจำการได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากการลาดตระเวนสอดแนมความเคลื่อนไหวของประเทศเพื่อนบ้านและการป้องปราม ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงของชาติครับ
อย่างไรก็ตามก็มีความหวังกับการผลักดันในเรื่องการทำการบาร์เตอร์เทรดแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรของไทยกับ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า (The diesel-electric submarine) มาใช้ประจำการมาอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าน่าจะมีประเทศเริ่มต้นที่จะยินดีทำการบาร์เตอร์เทรด ก็คือ. รัสเซีย, จีน และสวีเดน ฯลฯ
ทางด้านรัสเซียนั้น รัสเซียมี เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล (Kilo class ) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำ ที่มีเสียงเงียบมากซึ่งยากแก่การตรวจจับ จนชาติตะวันตกให้สมญานามว่า หลุมดำแห่งมหาสมุทร A Black Hole in the Ocean. และมีระบบโซน่าตรวจการณ์ (Highly-sensitive passive sonar)ได้ไกลกว่า เรือดำน้ำของชาติตะวันตก ประกอบในการต่อสู้ประลองยุทธทางทะเล ของ ทร.อินเดีย เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล ที่มีระบบตรวจจับที่ไกลกว่า ของอินเดีย สามารถใช้โซน่าประจำเรือตรวจจับ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า แบบ 209 (TYPE 209) ของอินเดีย ที่ผลิตจากเยอรมัน แล้วยิงตอร์ปิโดทำลายเรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า แบบ 209 (TYPE 209) ได้เสียก่อนที่ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า แบบ 209 (TYPE 209) จะตรวจพบ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล เสียอีก
รัสเซียมีความประสงค์จะจัดจำหน่าย เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล ให้แก่ประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศอาเซียน และเดิมรัสเซียได้เคยเสนอขายและนำเอา เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล ของรัสเซีย มาแวะจอดให้ไทยเราชมถึงท่าเรือของไทย และรัสเซียยังได้ยื่นข้อเสนอแก่ เวียดนามลูกค้าขาประจำผู้ซื้ออาวุธของรัสเซีย ด้วยเงื่อนไขที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือให้เวียดนามจัดหาเรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล จากรัสเซีย โดยวิธี บาร์เตอร์เทรดแลกเปลี่ยนเรือดำน้ำของเขากับสินค้าเกษตรของเวียดนาม
ทางด้านของจีนนั้น น่าจะยินดีทำการบาร์เตอร์เทรดแลกเปลี่ยนเรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้าของเขากับสินค้าเกษตรของไทย โดยไม่ต้องจัดหาซื้อมาด้วยเงินสด แม้จีนจะไม่ใช่ประเทศที่ต่อเก่งเชี่ยวชาญในการผลิตต่อเรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า แต่จีนก็พยายามพึ่งพาตนเองและพัฒนาความสามารถในการผลิตต่อเรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า มาโดยตลอด ข้อดีของ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ของจีนก็คือ มีการผสมผสานเอาระบบอำนวยการเรือ, โซน่า และเครื่องยนต์ จาก ทั้ง รัสเซีย , ฝรั่งเศส และเยอรมัน มาติดตั้งในเรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ของจีน อีกทั้งในเรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้ารุ่นหลังๆของจีนได้มีการติดตั้งระบบตอร์ปิโด 533mm wire-guided torpedos และ ระบบขีปนาวุธ YJ-82 AshMs ของจีน และ คลับเอส (AShM Club S และ LACM Club S) ของรัสเซีย ซึ่งสามารถยิงจากใต้น้ำ ไปโจมตีได้ทั้งเรือรบของศัตรู และยิงจากใต้น้ำไปโจมตีจุดยุทธศาสตร์บนพื้นดิน ได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งมีราคาเรือถูกว่า เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ที่ต่อจากประเทศตะวันตก สองถึงสามเช่นกันกับของรัสเซีย
แต่เมื่อทาง ทร.ไทย ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไปเยี่ยมชมเรือแล้ว กลับพบว่าเรือดังกล่าวสมรรถนะของเรือดังกล่าวของจีน ยังล้าสมัยและยังไม่พัฒนาไปได้ดีเท่าที่ควร จึงเชื่อว่า แผนแบบ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ของจีน ที่จีนจะเสนอทำการบาร์เตอร์เทรดแลกเปลี่ยนเรือดำน้ำของเขากับสินค้าเกษตรของไทย น่าจะเป็นระหว่าง เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นซ่ง (Song class diesel-electric submarine Type 039) และ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นหยาง (Yuan class diesel-electric submarine Type 039A)
ส่วนทางด้านสวีเดน เนื่องจากสวีเดนได้เสนอข้อตกลงทำการบาร์เตอร์เทรดแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรของไทยกับ บ.JAS-39 กริเป้น โดยมีข้อเสนอของแถมอีกมากมาย ประกอบกับรัฐบาลไทยในสมัยท่านนายกฯบรรหาร ได้เคยมีโครงการจะจัดหา เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นก็อตแลนด์ (A-19 Gotland class diesel-electric submarine) ผลิตโดย บริษัทค็อกคูม (KOCKUM) จากสวีเดนมาประจำการใน ทร.ไทย แต่ขณะนั้นได้ประสพปัญหาถูกสื่อของทั้งสวีเดนและไทย ออกข่าวโจมตีกล่าวหาว่ามีการให้ค่าคอมมิชั่นในการจัดซื้อให้แก่คนในรัฐบาลไทย รัฐบาลในสมัยนั้น จนเป็นเหตุให้ถูกระงับโครงการจัดหา เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นก็อตแลนด์ (A-19 Gotland class diesel-electric submarine)
ผมหวังเพียงว่ารัฐบาลจะตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับเรือดำน้ำซัก 6 ลำในเร็ว ๆ นี้ครับ โดยที่ต้องตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดหาอย่างโปร่งใสด้วยครับ เพราะอนาคตผมคิดว่าสงครามทางทะเลจะคุกรุ่นขึ้นเพราะใต้ทะเลก็จะมีแต่เรือดำน้ำของประเทศยักษ์ใหญ่ และประเทศเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งในราชอาณาจักรไทยจำเป็นต้องสร้างแสนยานุภาพไม่ให้ด้อยกว่าใครครับ
|
โดย อาคม ที่มา : http://www.oknation.net |
ตอบแบบตรงๆ ถ้ากองทัพเรืออยากได้เรือดำน้ำสองลำตามแผนบริหาร
หนึ่ง รัฐบาลต้องจัดเก็บภาษีให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่าช่วงเศรษฐกิจดี ถึงสองเท่า
สอง ประชาชนไทยก็ต้องให้ความร่วมมืออย่างมากถึงมากที่สุดในการจ่ายภาษี เพื่อจะได้มีอาวุธไปต่อกรกับอริศัตรูได้ คนไทย หกสิบห้าล้านคนก็ต้องจ่ายภาษีกันหน้าชื่นตาบาน
อีกทั้งตัดงบประมาณด้านสังคมทิ้งให้หมดแล้วมาลงด้านอาวุธเรือดำน้ำอย่างเดียว พอๆกับซื้อเครื่องบินเจ็ตหนึ่งฝูงบินเลย
ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ทั่วไปการซื้ออาวุธมันไม่ใช่การลงทุนที่เพิ่มผลผลิต เมื่อซื้อมาก็คิดค่าเสื่อมราคาตามบัญชีทันทีมิต้องสงสัย
กองทัพเรืออยากได้ รัฐบาลเห็นความสำคัญ แต่ปัจจัยทรัพยากรคือ money จะเอาจากไหนครับ แค่ให้งบประมาณผ่านสภาผู้แทนผมว่าสามารถทำให้รัฐบาลสั่นคลอนได้แน่นอนชัวร์ ถ้าจัดซื้อเรือดำน้ำอีกทีหนึ่ง
ปล.ทำไมที่จันทบุรีถึงไม่มีฐานทัพเรือหล่ะครับ ผมว่ามันน่าจะสำคัญกว่าฐานทัพเรือสัตหีบซะอีก เพราะตั้งอยู่ด้านนอกของอ่าวไทย ไม่ได้อยู่ด้านในเหมือนสัตหีบ และอีกอย่างสัตหีบก็อยู่ใกล้กันกับฐานทัพเรือกรุงเทพฯ ฐานทัพเรือสองแห่งมันไม่ใกล้กันเกินไปเหรอครับ
ตอบปัญหาสำหรับท่านนี้ คือว่า ฐานทัพเรือโดยทั่วไปต้องมีรูปเป็นอ่าว ป้องกันลมพายุได้ดี และความลึกของฐานทัพเรือต้องลึกพอที่จะให้เรือขับน้ำระวาง 10000 ตันจอดเทียบท่าเรือได้
การจะเลือกท่าเรือก็ต้องดูภูมิประเทศให้ดี ว่าตรงตามข้อกำหนดที่ว่านี้ได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าจะสร้างแบบสร้างบ้านบนบกไม่ใช่นะฮะ มันค่อนข้างยากนิดนึงและการสร้างท่าเรือแบบขนาดใหญ่ ราคาแสนจะแพงมากๆ พอๆกับสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเลยก็ว่าได้ อีกทั้ง ฐานทัพเรือในประเทศไทยก็มีครอบคลุมหมด ทั้งฐานทัพเรือกรุงเทพ ฐานทัพเรือสมุทรปราการ
ฐานทัพเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสงขลา ฐานทัพเรือพังงา แค่สี่ฐานนี้ก็น่าจะเพียงพอกับการปฏิบัติการทางสงครามได้แล้วไม่ต้องสร้างเยอะหรอกครับแพงบริหารงานลำบาก
เอาแค่สร้างท่าเรือพาณิชย์ทางใต้ตามจังหวัดต่างๆ การพัฒนาแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ตั้งแต่ประจวบ ลงไปจนถึงปัตตานี เป็นนำความเจริญตามมุมมองของรัฐบาลแต่ว่า เกิดการต่อต้านแบบขนานใหญ่ในภาคใต้ของเราอย่างมากจนถึงมากที่สุด ไม่รู้เป็นเพราะอาไรกันหนอ
มาลงชื่อแสดงตัวตน ว่าอ่านนะ ฮ่าฮ่าฮ่า
ทะเลวิ่งตามเหม่งเป็นคลื่น